ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การละนิวรณ์ เป้าหมายแรกในการภาวนา เพื่อ วิปัสสนา  (อ่าน 9375 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค
 [๒.สามัญญผลสูตร] การละนิวรณ์  ๕
 
       การละนิวรณ์ ๕
       [๒๑๖]    ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์  อริยอินทรียสังวร  อริยสติ-สัมปชัญญะและอริยสันโดษอย่างนี้แล้ว  พักอยู่  ณ  เสนาสนะเงียบสงัด  คือ  ป่าโคนไม้  ภูเขา  ซอกเขา  ถ้ำ  ป่าช้า  ป่าชัฏ  ที่แจ้ง  ลอมฟาง  เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว    นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

       [๒๑๗]    เธอละอภิชฌา  (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)  ในโลก  มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา 
                  ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท  มีจิตไม่พยาบาท  มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตวอยู่  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท 
                  ละถีนมิทธะ  (ความหดหู่และเซื่องซึม)  ปราศจากถีนมิทธะ  กำหนดแสงสว่างมีสติสัมปชัญญะอยู่  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ 
                  ละอุทธัจจกุกกุจจะ  (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ)  เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน  มีจิตสงบอยู่ภายใน  ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ 
                  ละวิจิกิจฉา  (ความลังเลสงสัย)  ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว  ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่    ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา


        [๒๒๔]    มหาบพิตร  ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์  ๕  ที่ตนละได้แล้ว  เหมือนความไม่มีหนี้  ความไม่มีโรค  การพ้นโทษจากเรือนจำ  ความเป็นไทแก่ตัวเอง  และภูมิสถานอันสงบร่มเย็น
 
        [๒๒๕]    เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเห็นนิวรณ์  ๕  ที่ตนละได้แล้ว  ย่อมเกิดความเบิกบานใจ  เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ  เมื่อใจมีปีติ  กายย่อมสงบ  เธอมีกายสงบย่อมได้รับความสุข    เมื่อมีความสุข   จิตย่อมตั้งมั่น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2013, 11:26:18 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
นิวรณ์ จะละได้ มาจากเหตุปัจจัยอย่างไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 11, 2013, 11:42:22 am »
0


[๒๑๖]    ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์  อริยอินทรียสังวร  อริยสติ-สัมปชัญญะและอริยสันโดษอย่างนี้แล้ว  พักอยู่  ณ  เสนาสนะเงียบสงัด  คือ  ป่าโคนไม้  ภูเขา  ซอกเขา  ถ้ำ  ป่าช้า  ป่าชัฏ  ที่แจ้ง  ลอมฟาง  เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว    นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

    1. ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์
    2. อริยอินทรียสังวร
    3. อริยสติ-สัมปชัญญะ
    4. อริยสันโดษอย่างนี้แล้ว
    5.พักอยู่  ณ  เสนาสนะเงียบสงัด  คือ  ป่าโคนไม้  ภูเขา  ซอกเขา  ถ้ำ  ป่าช้า  ป่าชัฏ  ที่แจ้ง  ลอมฟาง
    6. เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว
    7. นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า


   7 ประการนี้เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำ ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยในการละนิวรณ์

     


 
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
1. ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 11, 2013, 11:56:22 am »
0
1. ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์
 
    อริยสีลขันธ์ คือ อะไร ?

       อริยะ คือผู้ที่หนีไกลจากข้าศึก ( คือ กิเลส )
       สีล คือ การเว้นจากการทำชั่วบาป อันเป็นการเบียดเบียนตนเอง และ ผู้อื่น
       ขันธ์ คือ กอง หมวด หมู่

   คำแปลโดยรวม
       การตั้งอยู่ในกองแห่งการเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเป้าหมายอันหนี่ไกลจากกิเลส
   
    ในโอวาทปาฏิโมกข์ กล่าวคุณนี้ไว้ 2 อย่าง ซึ่งจัดเป็น อริยสีลขันธ์

     1. การเป็น บรรพชิต ( ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต )
     2. การเป็น สมณะ  ( ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ )
     ๏ การไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1 ความสำรวมในปาติโมกข์ 1


บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
2. อริยอินทรียสังวร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 11, 2013, 12:00:22 pm »
0
2. อริยอินทรียสังวร

    อริยอินทรียสังวร หมายถึง อะไร ?

    ยกคำว่า อริยะ ไว้อ่านตาม อริยะศีลขันธ์
   
    อินทรีย์ หมายถึง ความเป็นใหญ่ ของอารมณ์ ในที่นี้ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ
    สังวร  หมายถึง ความระมัดระวัง 

    โดยรวม หมายถึง การสำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อเป้าหมายการเป็นพระอริยะ

   

   
       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2013, 12:15:58 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
3. อริยสติ-สัมปชัญญะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 11, 2013, 12:35:05 pm »
0
3. อริยสติ-สัมปชัญญะ

   อริยสติ-สัมปชัญญะ หมายถึง อะไร ?
   
     คำศัพท์ตรงนี้คงไม่ต้องยกแล้ว เพราะว่าท่านทั้งหลาย คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว กับคำว่า สติ และ สัมปชัญญะ แต่คงให้ความหมายรวม ๆ ไว้ดังนี้

    อริยสติ-สัมปชัญญะ หมายถึงการระลึกนึกถึง และ รู้ตั่วทั่วพร้อม เพื่อธรรมคือ พระนิพพาน ( เริ่มแปลแบบเข้าเรื่อง แล้วนะ ) 

    ที่นี้ความหมาย ก็อธิบายกันไป แต่ขอให้ทราบรวม ๆ ว่า เหตุที่จะเกิด สติ และ สัมปชัญญะ ได้นั้นก็คือ ความไม่ประมาท ( อัปปมาทะ ) เพราะความประมาทชื่อว่าเป็นธรรมใหญ่ ของ สติ และ สัมปชัญญะ ดังนั้นในระดับการภาวนา จึงใส่ความไม่ประมาทลงไป ถึงระดับ อริยาบถหลัก อิริยาบถย่อย เพื่อประคองสติ สัมปชัญญะ ให้สมบูรณ์ เพื่อการพอกพูนธรรม ที่ชื่อว่า วิปัสสนา นั่นเอง





     
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
4. อริยสันโดษอย่างนี้แล้ว
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 11, 2013, 12:47:51 pm »
0
4. อริยสันโดษอย่างนี้แล้ว
   
     อริยสันโดษ หมายถึง การพอใจพอเพียงในความเป็นอยู่ด้วยปัจจัย 4 มีเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค และ ที่อยู่อาศัย เพียงเพื่อเป้าหมายในการทำพระนิพพานให้แจ้ง

     ดังนั้นจะเห็นว่า พระสมณะ บรรพชิต ภิกษุ ที่มีคุณธรรมก็จะละจากการเป็นผู้ถูกมัดดองด้วยปัจจัย 4 เพราะปัจจัย 4 มีมากก็ไม่ดี พาลทำให้กิเลสฟูฟ่องขึ้นได้

     ยกตัวอย่าง การครองผ้าสามผืน จัดเป็นธุดงค์ แต่เพราะความไม่ัสันโดษ มีผ้าครองมากกว่า ก็ต้องทุกข์มากกว่า บางรูปบางองค์ สันโดษไม่ได้เมื่อตายก็ไปเกิดเป็นเล็นอยู่ในจีวร อย่างนี้ก็มี




     
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 thk56
 น่าจะอธิบายยังไม่จบ ใช่หรือไม่คะ เพียงเริ่ม บาท ทั้ง 4 เพื่อการละนิวรณ์

 :25:
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำสอนของพระพุทธเจ้าโคตมะ มิได้ให้สาวกไปถือศีล หรือรักษาศีล การถือศีลหรือการักษาศีล เป็นคำสอนของพราหมณ์ ศีลในพุทธศาสนาคือการมีศีล ซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับศีลของพราหมณ์

ทำอย่างไรจึงจะมีศีล หรือทำอย่างไรศีลจะเกิดในตัวบุคคล?

มีปัญญาก็มีศีล เพราะ ผู้ที่มีความเห็นชอบ ก็จะมีความคิดชอบ ส่งผลให้การพูดการกระทำเป็นไปในทางที่ชอบ กล่าวคือ ศีลเกิดเพราะปัญญา หรือแสดงง่ายๆ ว่า เมื่อมีปัญญารู้ผิดรู้ชอบ รู้ชั่วรู้ดี รู้เหตรู้ผล ที่จะคิดไปลักทรัพย์ ฆ่าคน พูดปด ประกอบอาชีพผิดๆ ผิดลูกผิดเมีย หรือไปเป็นนักเลงสุรา ก็จะไม่เกิด ศีลแบบนี้เกิดขึ้นอย่างถาวรในตัวบุคคล เป็นศีลที่ประเสริฐ หรือ เป็นอริยศีล เกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว ผู้นั้นถือว่าเป็นคนดีโดยสันดาร อาจจะกล่าวได้ว่า ศีลในพุทธศาสนาเป็นบรรทัดฐานหรือเครื่องชี้วัดผลการเจริญสัมมาทิฏฐิของผู้ปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม

ผู้ที่ถือศีล โดยไม่รู้ หรือถือตามๆ กันมา จะวางตัวในกรอบของศีลได้เพียงครั้งคราวเท่านั้น และหาโอกาสที่จะผิดศีลเป็นประจำ ผู้ที่พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ กำลังกระทำการที่ฝืนธรรมชาติอย่างมาก เพราะคนเราถูกครอบงำด้วยอวิชชา คือการหลงตามความพอใจไม่พอใจ ไม่สามารถสั่งตัวเองได้ การจะบังคับตนให้เป็นคนดีตลอดไปนั้นเป็นไปไม่ได้ ผิดหลักของเหตุปัจจัย ไม่ใช่การปฏิบัติตามทางสายกลาง

ผู้ที่มีศีล คือ ผู้ที่เดินตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ การสร้างหรือการเจริญสัมมาทิฏฐิก่อนเป็นอันดับแรก และต้องปฏิบัติที่เหตุของการเกิดสัมมาทิฏฐิ คือ การสร้างวิชชาเพื่อดับอวิชชา เพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ และวิชชาทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ

หากพบคำว่า ศีล ที่มีกล่าวในพระไตรปิฎกทั้งหมด ให้ทราบว่าเป็นอริยศีล เป็นศีลที่เกิดในอริยบุคคล


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=29682
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เล่มที่ ๓๕ -หน้าที่๘๕ - ๘๗


                                       ๘.  อริยวังสสูตร

                               (ว่าด้วยอริยวงศ์  ๔ ประการ)


           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    อริยวงศ์   ๔   ประการนี้        ปรากฏว่าเป็นธรรม

อันเลิศ     ยั่งยืน     เป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน      ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว   ไม่เคย

ถูกทอดทิ้งเลย  (ในอดีตกาล)  ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่   (ในปัจจุบันกาล)      จักไม่ถูก

ทอดทิ้ง   (ในอนาคตกาล)        สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว

อริยวงศ์  ๔  ประการ  คืออะไรบ้าง?    คือ

            ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้   เป็นผู้สันโดษ  ด้วยจีวร  ตามมีตามได้     และ

เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้    ไม่ทำอเนสนา  (การแสวง

หาไม่สมควร)  เพราะจีวรเป็นเหตุ    ไม่ได้จีวรก็ไม่ทุรนทุราย     ได้จีวรแล้วก็ไม่

ติดใจสยบพัวพัน    เห็นส่วนที่เป็นโทษ       เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก

บริโภค(จีวรนั้น)    อนึ่ง  ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมี

ตามได้นั้น  ก็ภิกษุใด เป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในความ

สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น      ภิกษุนี้    เราเรียกว่า  ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์

อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน

            อีกข้อหนึ่ง    ภิกษุ    เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้     และ

เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้   ไม่ทำอเนสนา  (การ

แสวงหาไม่สมควร)  เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ     ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่ทุรนทุราย

ได้บิณฑบาตแล้ว ก็ไม่ติดใจสยบพัวพัน     เห็นส่วนที่เป็นโทษ    เป็นผู้มีปัญญา

เป็นเครื่องสลัดออก  บริโภค  (บิณฑบาตนั้น)        อนึ่ง       ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น         ก็ภิกษุใด  เป็นผู้ฉลาด

ไม่เกียจคร้าน   มีสัมปชัญญะ   มีสติมั่นในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตาม

ได้นั้น  ภิกษุนี้  เราเรียกว่า   ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์   อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมา

แต่เก่าก่อน

            อีกข้อหนึ่ง   ภิกษุ      เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้     และ

เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้   ไม่ทำอเนสนา   (การ

แสวงหาไม่สมควร) เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ        ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่ทุรนทุราย

ได้เสนาสนะแล้วก็ไม่ติดใจสยบพัวพัน    เห็นส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้มีปัญญาเป็น

เครื่องสลัดออก บริโภค (เสนาสนะนั้น )   อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น  เพราะความ

สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น     ก็ภิกษุใด  เป็นผู้ฉลาด  ไม่เกียจคร้าน

สัมปชัญญะ     มีสติมั่นในความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น    ภิกษุนี้

เราเรียกว่า   ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์    อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน

            อีกข้อหนึ่ง       ภิกษุเป็นผู้มีภาวนา   (การบำเพ็ญกุศล)      เป็นที่ยินดี

ยินดีแล้วในภาวนา    เป็นผู้มีปหานะ   (การละอกุศล)   เป็นที่ยินดี      ยินดีแล้ว

ในปหานะ      อนึ่ง      ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี

เพราะความยินดีในภาวนา   เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ยินดี   เพราะความ

ยินดีในปหานะนั้น   ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้าน  มีสัมปชัญญะ  มีสติมั่น

ในความยินดีในภาวนาและปหานะนั้น     ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์

อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.                         

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    นี้แล อริยวงศ์  ๔ ประการ   ที่ปรากฏว่าเป็นธรรม

เลิศยั่งยืน  เป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน    ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว   ไม่เคยถูกทอดทิ้ง

เลย  (ในอดีตกาล)     ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่   (ในปัจจุบันกาล)      จักไม่ถูกทอดทิ้ง

(ในอนาคตกาล)    สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย      ก็แล    ภิกษุ    ผู้ประกอบพร้อมด้วยอริยวงศ์ ๔

ประการนี้    แม้หากอยู่ในทิศตะวันออก   ...ทิศตะวันตก   ...ทิศเหนือ   ...ทิศใต้ 
 
เธอย่อมย่ำยีความไม่ยินดีเสียได้     ความไม่ยินดีหาย่ำยีเธอได้ไม่     ที่เป็นเช่น

นั้น   เพราะเหตุอะไร?      เพราะเหตุว่า     ภิกษุผู้มีปัญญา       ย่อมเป็นผู้ข่มได้

ทั้งความไม่ยินดี   ทั้งความยินดี.

                                                พระคาถา

                                 ความไม่ยินดี   หาย่ำยีภิกษุผู้มีปัญญา

                         ได้ไม่    ความไม่ยินดี    หาครอบงำภิกษุผู้มี
       
                         ปัญญาได้ไม่    แต่ภิกษุผู้มีปัญญาย่ำยีความ
   
                         ไม่ยินดีได้     เพราะภิกษุผู้มีปัญญาเป็นผู้ข่ม
       
                          ความไม่ยินดีได้

                                   ใคร       จะมาขัดขวางภิกษุผู้ละกรรม
       
                          ทั้งปวง     ผู้ถ่ายถอน (กิเลส) แล้วไว้  (มิให้
     
                          บรรลุวิมุตติ)  ได้         ใครจะควรติภิกษุ  (ผู้
           
                          บริสุทธิ์)           ดุจแท่งทองชมพูนุทนั้นเล่า

                          แม้เหล่าเทวดา       ก็ย่อมชม         ถึงพรหม

                          ก็สรรเสริญ.

                                          จบอริยวังสสูตรที่  ๘.
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คำสอนของพระพุทธเจ้าโคตมะ มิได้ให้สาวกไปถือศีล หรือรักษาศีล การถือศีลหรือการรักษาศีล เป็นคำสอนของพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เล่มที่ ๓๕ -หน้าที่๘๕ - ๘๗

๘.  อริยวังสสูตร (ว่าด้วยอริยวงศ์  ๔ ประการ)

     ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ เห็นส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค(จีวรนั้น)   

     อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ เห็นส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค(บิณฑบาตนั้น) อนึ่งไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น         

     อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ เห็นส่วนที่เป็นโทษ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภค(เสนาสนะนั้น) อนึ่งไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น     
           
     อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีภาวนา(การบำเพ็ญกุศล) เป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในภาวนา เป็นผู้มีปหานะ(การละอกุศล) เป็นที่ยินดี ยินดีในปหานะ อนึ่งไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดีเพราะความยินดีในภาวนา เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ยินดี เพราะความยินดีในปหานะนั้น   
           
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุผู้ประกอบพร้อมด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ แม้หากอยู่ในทิศตะวันออก ...ทิศตะวันตก   ...ทิศเหนือ   ...ทิศใต้ เธอย่อมย่ำยีความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีหาย่ำยีเธอได้ไม่ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร? เพราะเหตุว่า ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมเป็นผู้ข่มได้ ทั้งความไม่ยินดี ทั้งความยินดี.

     ใครจะมาขัดขวางภิกษุผู้ละกรรมทั้งปวง ผู้ถ่ายถอน(กิเลส)แล้วไว้(มิให้บรรลุวิมุตติ)ได้ ใครจะควรติภิกษุ(ผู้บริสุทธิ์) ดุจแท่งทองชมพูนุทนั้นเล่า แม้เหล่าเทวดาก็ย่อมชม ถึงพรหมก็สรรเสริญ.

                                          จบอริยวังสสูตรที่  ๘.


                                                
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2013, 02:14:22 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

sakda

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นบทความที่นาน ๆ มาครั้งที่พระอาจารย์หยิบยกมาให้เราได้ รู้เพื่อส่งเสริมการภาวนา

  thk56 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12 thk56
บันทึกการเข้า

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านมาแล้ว น่าจะเหลือ อีก สามข้อ ที่พระอาจารย์คงเก็บไว้อธิบายต่อ นะครับ

รออ่านอยู่ครับ

  st12 thk56
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถูกต้อง เรื่องนี้ กำลังจัดเป็นเสียงบรรยาย อยู่ เพราะพิมพ์แล้ว ช้า ได้น้อย อีกอย่างช่วงนี้ไม่ใคร่มีเวลาในด้านการ โพสต์ตอบ นะจ๊ะ

 เจริญธรรม / เจริญพร ทุกท่าน ทบทวนกรรมฐาน ให้เข้าใจไปด้วย ว่าเราขาดองค์ไหน ในทั้ง 7 นี้ ก็ต้องทำให้สมบูรณ์ ในธรรมทั้ง 7 นี้ ถึงจะละนิวรณ์ได้

  ถามว่า ทำไมต้องเสียเวลา ละนิวรณ์ ละกิเลสเลยได้หรือไม่ ?

  ก็ขอตอบว่า โดยอุปนิสัย สันดาน ของมนุษย์ แล้ว สละสิ่งใหญ่ นั้นได้ยากกว่า เช่น จะทำบุญ 1 ล้าน หรือ หมดเนื้อ หมดตัว กับ ทำบุญ 10 บาท 20 บาท อันไหนจะทำได้ง่ายกว่า

   ดังนั้นการละนิวรณ์ เป็นเหตุเบื้องต้น ละได้บ่อย ๆ กิเลสก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ เหมือนที่เขาว่า หินทับหญ้า ถ้าทับกันโดยสมบูรณ์เลย โบกปูน เข้าไปอีก จะมีหญ้าต้นไหน ขึ้นมาได้ จ๊ะ

  เอ้าทบทวนกันหน่อย

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ