ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือ อย่างไร ช่วยอธิบายกันหน่อย  (อ่าน 6595 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากพระสูตรนี้นะครับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=23&item=49&items=12&preline=0
   "ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา"


"ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่าเราหุงหากินได้ สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษีวามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษีวาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน คือข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี"


ที่ยกมาเป็นส่วนที่พระพุทธเจ้าจำแนกอานิสงส์ผลบุญ โดยวัดจากการดำเนินจิต ในขณะทำทานเพื่อไปเสวยทิพย์สมบัติที่ปราณีตแตกต่างกัน กล่าวคือ
1.ให้ทานหวังผล --- จาตุมหาราชิกา
2.ให้ทานเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีที่ควรทำ --- ดาวดึงส์
3.ให้ทานด้วยเจตนาเพื่อรักษาประเพณีอันดีงาม --- ยามา
4.ให้ด้วยคิดว่าต้องอนุเคราะห์สมณะที่หุงหาอาหารเองไม่ได้ --- ดุสิต
5.ให้ด้วยคิดว่าจะดำเนินรอยตามผู้ประเสริฐ(ฤาษี)ที่ควรเอาอย่าง --- นิมมานรดี
6.ให้ด้วยปีติโสมนัสอย่างแรงกล้า --- ปรนิมมิตวสวัสตี



ขอกล่าวถึงท้าวสักกะเทวราช(พระอินทร์) ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ได้บำเพ็ญคุณงามความดีในข้อ2. นี้เป็นแบบอย่างไว้แล้วในสมัยที่ยังเป็นมนุษย์ชื่อ มฆะมานพ
การทำดีเพราะคิดว่าเป็นสิ่งดีงาม  ก็น่าชื่นชมว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์คนหนึ่งควรทำที่สุดแล้ว

แต่ว่าเพียงท่านตั้งจิตให้เป็นอย่างอื่น(ข้อ3-6)ก็น่าจะได้อยู่ชั้นที่ปราณีตกว่านี้หรือเปล่า

ถ้าผู้ยังใหม่ในศาสนา อาจงงได้ว่าทำไมข้อ2.ทำดีด้วยคิดว่าเป็นสิ่งดีที่ควรทำ จึงได้อานิสงส์น้อยกว่า ข้อ3,4,5

และข้อ3-5 ดังกล่าวมีรายละเอียดอย่างไรขอผู้รู้ช่วยขยายความด้วยภาษาง่าย ๆหน่อย ที่ไม่ต้องตีความยากเหมือนในพระสูตรข้างบน

ปล.อยากบอกคนใกล้ชิดให้ทำทานแบบตั้งเจตนาให้ถูก  ด้วยการพรรณาอานิสงส์ของสวรรค์  ถ้าเกิดเขาถามจุดนี้ จะได้ไม่ใบ้รับประทานครับ... ^_^

จากคุณ    : Up_To_You


บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต้นในพระสูตร ก็มีเนื้อเรื่องหลายตอนนะครับ ยกมาตอนหนึ่ง

   พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์  [๕.  พราหมณวรรค]
                    ๙.  สุภสูตร
  หน้าที่ 543 - 544




        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “มาณพ    ธรรม    ๕    ประการ    ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ    เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ    เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต    เพื่อ
อบรมจิตไม่ให้มีเวร    ไม่ให้มีความเบียดเบียน
            ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พูดจริง    เธอรู้สึกว่า    ‘เราพูดจริง’    จึงได้ความรู้อรรถ
ได้ความรู้ธรรม    ได้ความปราโมทย์    ประกอบด้วยธรรม    ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยกุศลนี้    ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต    เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร    ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน
            ภิกษุในธรรมวินัยนี้    เป็นผู้มีความเพียร
          ...  เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
          ...  เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย    ...
            ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มากด้วยการบริจาค    เธอรู้สึกว่า    ‘เราเป็นผู้มากด้วย
การบริจาค’    จึงได้ความรู้อรรถ    ได้ความรู้ธรรม    ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วย
ธรรม    ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้    ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร    ไม่ให้มีความเบียดเบียน
            ธรรม    ๕    ประการนี้    ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ    เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ    เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต    เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร    ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน”
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 thk56 
    คุณ microne ที่มาช่วยเพิ่มเติม แต่เรื่องนี้ ก็รออ่านอยู่เช่นกัน คะ


   :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบอกครับว่า  เนื้อหาที่จขกทเอามาอ้างอิง  มันเป็นการเข้าใจผิดใจอรรถของพระสูตรครับ
จุดมุ่งหมายของพระสูตร  ไม่ได้ต้องการเน้นให้ปฏิบัติ  แต่เป็นการเน้นเพื่อไม่ให้ปฏิบัติครับ
นี้เป็นเป็นการสอนให้เกิด  สัมมาทิฐิในเรื่องของศีลพรตปรามาสครับ

อ่านในวรรคแรกๆจะเข้าใจว่าเป็นการสอนให้ปฏิบัติ  แต่วรรคจบจะบอกครับว่า
ไม่ควรปฏิบัติเช่นนั้น  มันขัดกับจุดประสงค์ของพระพุทธเจ้าในเรื่องนิพพาน
นิพพานในในพระสูตรบทนี้  ดูตรงที่ยังต้องกลับมาเหมือนเดิม นั้นก็คือยังต้อง
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ผู้มีทุกข์อีกครับ

ประเด็นสำคัญในพระสูตรก็คือ  ทำทานอย่าหวังผล  ทำด้วยคิดว่าสิ่งที่ทำเป็นแค่
เครื่องปรุงแต่งจิต อย่าไปยึดมั่นกับสิ่งนี้


ปล.  การอ่านพระสูตรต้องอ่านให้หมดทุกวรรค ทุกตอนด้วยสมาธิ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


     เรื่องนี้คงไม่มีคำตอบที่แน่นอน เพราะวิบากกรรมเป็นเรื่องอจินไตย
     เราไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า มันมีกลไกอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น
     อย่างไรก็ตามเมื่อเข้ามาคุยแล้ว ก็ต้องหาประเด็นที่น่าสนใจมาคุยต่อยอดกัน ให้ได้อัธยาศัย

     คุณMICRONE ยกทานสูตร ในเว็บ http://www.84000.org/ มาแสดง
     ผมขอเสริมโดยการนำ"อรรถกถาทานสูตร"มาเปรียบเทียบ ดังนี้

     พระสูตร
     1.ให้ทานหวังผล --- จาตุมหาราชิกา
     2.ให้ทานเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีที่ควรทำ --- ดาวดึงส์
     3.ให้ทานด้วยเจตนาเพื่อรักษาประเพณีอันดีงาม --- ยามา
     4.ให้ด้วยคิดว่าต้องอนุเคราะห์สมณะที่หุงหาอาหารเองไม่ได้ --- ดุสิต
     5.ให้ด้วยคิดว่าจะดำเนินรอยตามผู้ประเสริฐ(ฤาษี)ที่ควรเอาอย่าง --- นิมมานรดี
     6.ให้ด้วยปีติโสมนัสอย่างแรงกล้า --- ปรนิมมิตวสวัสตี
     7.ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต --- เทวดาชั้นพรหม


     อรรถกถาทานสูตร
     ทานที่ ๑ ชื่อว่า ตณฺหุตฺตริยทานํ การให้อันยิ่งด้วยความอยาก.
     ทานที่ ๒ ชื่อว่า วิตฺตีการทานํ ให้ด้วยความยำเกรง
     ทานที่ ๓ ชื่อว่า หิโรตฺตปฺปทานํ ให้ด้วยความละอายและเกรงกลัว
     ทานที่ ๔ ชื่อว่า นิรวเสสทานํ ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ
     ทานที่ ๕ ชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยทานํ ให้แก่พระทักขิเณยยบุคคล
     ทานที่ ๖ ชื่อว่า โสมนสฺสูปวิจารทานํ ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส
     ทานที่ ๗ ชื่อว่า อลงฺการปริวารทานํ ให้เป็นเครื่องประดับและเป็นบริวาร (แห่งจิต)


    ปัญหาที่ว่า ทำไมข้อ ๒ มีอานิสงส์น้อยกว่า ข้อ ๓-๕ ขอให้เปรียบเทียบว่า
    ข้อ ๒ คือ ให้ด้วยความยำเกรง แต่ข้อ ๓ คือ ให้ด้วยความละอายและเกรงกลัว
    จะเห็นว่า ข้อ ๒ จะไม่มีความละอาย ความละอายนี้เองที่ทำให้ข้อ ๓ มีอานิสงส์มากกว่าข้อ ๒
    ข้อสังเกตนี้อาจอธิบายได้ระดับหนึ่ง เพื่อให้เห็นกันชัดยิ่งขึ้นผมจะนำพระสูตรใน
    พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า) มาเปรียบเทียบให้ดู




  เทวดาชั้นจาตุมมหาราช
   ๑. ให้ทานอย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน
   ๒. ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ ให้ทานด้วยคิดว่า  ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’


   เทวดาชั้นดาวดึงส์
   ๑. ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน
   ๒. ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’
   ๓. แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี


  เทวดาชั้นยามา
   ๑. ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน
   ๒. ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’
   ๓. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
   ๔. แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป


   เทวดาชั้นดุสิต
   ๑. ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน
   ๒. ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’
   ๓. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
   ๔. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’
   ๕. แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’


  เทวดาชั้นนิมมานรดี
   ๑. ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน
   ๒. ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’
   ๓. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
   ๔. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’
   ๕. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’
   ๖. แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราให้ทานและจำแนกทานนี้ เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษีเวสสามิตตฤาษี ยมคัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสป-ฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว ฉะนั้น’


   เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
   ๑. ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน
   ๒. ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’
   ๓. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
   ๔. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’
   ๕. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’
   ๖. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจักให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษีวามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษีวาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว’
   ๗. แต่ให้ทานด้วยคิดว่า‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส


   เทวดาชั้นพรหม
   ๑. ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน
   ๒. ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’
   ๓. มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
   ๔. มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’
   ๕. มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’
   ๖. มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจักให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษีอังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษีและภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว
   ๗. ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชมโสมนัส’
   ๘. แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต

________________________________
เรียบเรียงมาจาก  ทานมหัปผลสูตร มหายัญญวรรค   
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd23.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.buriramtime.com/ , http://www.dhammasavana.or.th/


    ans1 ans1 ans1
   
    ขอให้สังเกตว่า การให้ทานแต่ละชั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน เริ่มจาก ๒ ข้อ จนถึง ๘ ข้อ
    เทวดาชั้นจาตุมมหาราช ให้ทานโดยหวังผลเพื่อเอาไว้บริโภคในโลกหน้า
    แต่เทวดาชั้นพรหมไม่ได้หวังผลเหมือนเทวดาชั้นจาตุมมหาราช แต่ให้ทานแค่เอาไว้ประดับจิต
    ด้วยลักษณะที่แตกต่างนี้เองอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดให้มีอานิสงส์ที่ต่างกัน
    มีคนกล่าวว่าทำบุญอย่าหวังมาก หวังมากยิ่งได้น้อย หวังน้อยจะได้มาก ไม่หวังเลยจะได้ไม่รู้จบ
    ทฤษฎีนี้มีสูตรอยู่ว่า
    ทำบุญ ๑๐๐ หวัง ๑๐๐ ผลคือ ๑๐๐/๑๐๐ เท่ากับ ๑
    ทำบุญ ๑๐๐ หวัง ๕๐ ผลคือ ๑๐๐/๕๐ เท่ากับ ๒
    ทำบุญ ๑๐๐ หวัง ๐ ผลคือ ๑๐๐/๐ เท่ากับ infinity (ไม่รู้จบ)
    เห็นด้วยหรือไม่ครับ.?

     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 08, 2013, 12:24:43 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ยกทานมากล่าวพูดคุยเสมือนเป็นเรื่องใกล้ตัว เราท่านทำทานกันอย่างไรบ้าง ผมทุกวันนี้หาได้มากน้อยเป็นทำทำแล้วก็แล้วกันไม่ไปตามคิดเอาอะไร หวังอะไร ให้ผีให้เทวดารับรู้อนุโมทนาหรือเปล่า ไม่รู้! เพียงคิดคิดแล้วอย่าทิ้งคาใจซื้อหาทำไปให้เสมือนกินข้าวกินน้ำถ่ายทิ้ง ทิ้งแล้วจะไปตามเอาเป็นเจ้าของหรือ ไม่มีอะไรเป็นของเราให้ให้ไปบ้างเก็บตุนหนักหน่วงใจตายเอาอะไรไปได้บ้าง ชีวิตสุขทุกข์มีแต่หวงเป็นบ่วงลวงให้เขลาเห็นแก่ตัว ทุเรศ! พอแล้ว



http://www.ahlulbait.org/main/content.php?category=10&id=1289
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 08, 2013, 04:01:22 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภาพจาก http://210.246.159.139/


     อรรถกถาทานสูตรที่ ๙      
     บทว่า จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ ความว่า เป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่องแวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา.
     บทว่า พฺรหฺมกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ ความว่า เขาไม่อาจเกิดขึ้นในภูมินั้นได้ด้วยทาน
     ก็เพราะเหตุที่ทานนั้น เป็นเครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา
     ฉะนั้น เขาจึงทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นในภูมินั้นด้วยฌาน.

___________________________________________________
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหายัญญวรรคที่ ๕ ทานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=49


  ask1 : การให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือ อย่างไร ช่วยอธิบายกันหน่อย
  ans1 : ตามอรรถกถาทานสูตร เห็นชัดว่า ทานที่ทำนั้น นำไปช่วยในการทำสมถะและวิปัสสนา
  การอธิบายเรื่องนี้ต้องยกเอา วิธีปฏิบัติของกรรมฐานมัชฌิมาฯในห้องพุทธานุสติ ในส่วนพระลักษณะ
  มาอ้างอิง เรื่องนี้ค่อนข้างจะไม่เป็นที่เปิดเผย แต่เห็นแก่สมาชิกหลายท่านที่สนใจและมีจิตที่เป็นกุศล


  ในการเดินจิตในส่วนของห้องพุทธานุสตินั้น มีขั้นตอนหนึ่งที่เรียกว่า สัมปยุตธรรม ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ
  จะกล่าวเฉพาะแบบแรกเท่านัน การสัมปยุตธรรม คือ การตามระลึกถึงองค์ธรรมใดองค์ธรรมหนึ่ง
  เช่น ตามระลึกถึงบุญกุศล(ที่เราทำ) เมื่อสัมปยุตจนเต็มเปี่ยมแล้ว
  จิตจะมีความผ่องแผ้ว กายและจิตจะมีอานุภาพสูงขึ้น 
  การระลึกถึงบุญกุศลนั้น ผู้ที่เปี่ยมด้วยทานและศีล ให้ทำการระลึกย้อนหลังไปไม่เกิน ๓ วัน
  การสัมปยุตธรรมนี้ทำให้จิตตั้งมั่น พูดง่ายๆก็คือ สนับสนุนให้เกิดสติและสมาธิได้ง่ายขึ้น


  เพื่อนๆสังเกตไหมครับ ในอรรถกถาใช้คำว่า
  "เป็นเครื่องแวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา"
  คำว่า"สัมปยุต"นั้น ในกรรมฐานมัชฌิมาฯ ก็ใช้เหมือนกัน
  ขั้นตอนของกรรมฐานมัชฌิมาฯ ขอออกตัวก่อนว่า "ห้ามถาม"
  เนื่องจากตัวผมเองยังไม่ใช่ผู้สืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาฯ
  ขอคุยเท่านี้ครับ

   :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12
  กับทุกความเห็น คะ

  thk56
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


ยกทานมากล่าวพูดคุยเสมือนเป็นเรื่องใกล้ตัว เราท่านทำทานกันอย่างไรบ้าง ผมทุกวันนี้หาได้มากน้อยเป็นทำทำแล้วก็แล้วกันไม่ไปตามคิดเอาอะไร หวังอะไร ให้ผีให้เทวดารับรู้อนุโมทนาหรือเปล่า ไม่รู้! เพียงคิดคิดแล้วอย่าทิ้งคาใจซื้อหาทำไปให้เสมือนกินข้าวกินน้ำถ่ายทิ้ง ทิ้งแล้วจะไปตามเอาเป็นเจ้าของหรือ ไม่มีอะไรเป็นของเราให้ให้ไปบ้างเก็บตุนหนักหน่วงใจตายเอาอะไรไปได้บ้าง ชีวิตสุขทุกข์มีแต่หวงเป็นบ่วงลวงให้เขลาเห็นแก่ตัว ทุเรศ! พอแล้ว



http://www.ahlulbait.org/main/content.php?category=10&id=1289

 หมายความว่า ก็ทำบุญ สร้าง ทาน ไป เพียงเพื่่อ เป็นส่วนหนึ่ง ให้จิต เป็น กุศล อยู่ ใช่หรือ ไม่ครับ

  st12
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ