ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ปฐมสูตรแห่งพระพุทธศาสนา (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร)  (อ่าน 3202 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร )


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ระลึกว่าเรานั้นกราบลงแทบพระบาทพระพุทธเจ้า
จากนั้นให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าดังนี้ว่า
ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้แจ้งโลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นครูผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนเทวดาและมุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
(พุทธานุสสติกรรมฐาน)


เอวัมเม สุตัง
( ข้าพเจ้า ( คือพระอานนท์เถระ ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ )
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
( สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า )
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ
( เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี )
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
( ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า )

แล้วให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกว่าพระพุทธเจ้ามีพระกรุณาดุจห้วงมหันต์นพ
ได้ทรงเทศนาตรัสสอนพระธรรมนี้ๆ พระสูตรนี้ๆ ให้แก่เรา เพื่อเป็นทางเพื่อความหลุดพ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
ป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
(ธัมมนุสสติกรรมฐาน)


เทฺวเม ภิกขะเว อันตา

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้ )

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
( อันบรรพชิตไม่ควรเสพ )


โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค
( คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด )
โน ( เป็นธรรมอันเลว ) คัมโม ( เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน ) โปถุชชะนิโก ( เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ) อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ )

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค
( คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด )
ทุกโข ( ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส )
อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ )

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ )
สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ )
สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ )
สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( การระลึกชอบ )
สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
(ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ )

น้อมจิตเข้าพิจารณาในธรรมดังนี้

ชาติปิ ทุกขา ( แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ )
[น้อมจิตพิจารณาถึงความที่เราเกิดขึ้นมานี้ มีความทุกข์กายและใจอย่างไรบ้าง เช่น ไม่กินไม่ได้ ไม่นอนไม่ได้ ไม่ขี้ก็ไม่ได้ ไม่เยี่ยวก็ไม่ได้ แต่ละวันต้องดำเนินชีวิตลำบากายและใจอย่างไร ไม่ว่าคนรวย คนจน หรือสัตว์ใดๆ บุคคลใดๆ ต่อให้สุขสบายอย่างไรย่อมหนีไม่พ้นความทุกข์นี้
(คำว่า ชาติ แปลว่า การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า ชาตินี่รวมไปถึงความเกิด เกิดขึ้น ชนิด จำพวกในสิ่งต่างๆ คน สัตว์ สิ่งของ จนถึงสภาพธรรมปรุงแต่งใดๆ การเกิดขี้นของสังขารใดๆทั้งปวงด้วยไม่ว่าจะเป็น รูปธรรม และ นามธรรม ทั้ง 2 หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง(ปฏิจจสมุปบาท)เช่น เมื่อเกิดความโกรธเราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความความปารถนาใคร่ได้เราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความกำหนัดยินดีเรามีสภาพกายและใจอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เมื่อเราพรัดพรากเรามีสภาพกายและใจเป็นอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เป็นต้น)]


ชะราปิ ทุกขา ( แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงสภาพที่เมื่อแก่ชรา เมื่อเราแก่ตังลงการมองเห็นก็ฝ่าฟางลำบาก การจะขยับกายก็ลำบาก การเคี้ยวการกินก็ลำบาก จะไปไหนมาไหนก็ลำบาก จะขับถ่าย ขี้ เยี่ยวก็ลำบาก เวลาเมื่อเจ็บป่วยก็ทรมานไปทั้งกายและใจ อย่างนี้ๆเป็นต้นที่เรียกว่า แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง ( แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงความตายเป็นเบื้องหน้า เมื่อตายแล้วต้องวนเวียนในวัฏฏะสงสารอีกเท่าไหร่ และ ไม่รู้ว่าเมื่อตายไปจะเกิดในภพภูมิใด สัมภเวสี เปรต หรือ สิ่งใด เมื่อตายแล้วต้องไปชดใช้กรรมใดๆอีก เมื่อจะมาเกิดใหม่ก็ไม่รู้จะเกิดเป็นคนหรือสัตว์ แม้เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นขอทาน คนพิการ อยู่ยากลำบาก หรือ กินดีอยู่ดีก็ฌยังไม่รู้

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
( แม้ความโศกเศร้า ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ )

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ต้องการ อยากจะผลักหนีให้ไกลตนแต่ก็ต้องพบเจอโดยหนีไม่พ้น เราเป็นทุกข์ไหม]

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ( ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราต้องพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักคือ เลิกกับคนรักหรือคนรักตาย สัตว์ที่รักหายหรือตายไป ของที่รักพังทลายสูญหายไป เราเป็นทุกข์ไหม]

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
( มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราไม่ได้สิ่งใดๆตามที่ใจปารถนา คือ จีบสาวไม่ติด ทำกิจการงานแล้วผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่หวังไว้ ไม่ได้สิ่งของตามที่ใจปารถนา เราเป็นทุกข์ไหม]

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
( ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ )
[น้อมจิตหวนระลึกพิจารณาดังนี้
๑. รูปขันธ์ คือ ร่างกาย เมื่อเข้าไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตน เป็นคนนั้น เป็นคนนี้ จิตย่อมใคร่ปารถนาในกายให้ได้ให้เป็นไปตามที่ใจตนปารถนาไม่หยุด เมื่อไม่ได้ตามที่ใจปารถนาก็เป็นทุกข์ เมื่อเสื่อมโทรมก็เป็นทุกข์
๒. เวทนาขันธ์ คือ ความเสวยอารมณ์ความรู้สึก ความสุขกาย ทุกข์กาย ไม่สุขไม่ทุกข์ทางกาย ความสุขใจ ทุกข์ใจ อุเบกขาทั้งกุศลและอกุศล เมื่อเรารู้อารมณ์(สิ่งที่ใจรู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์)ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ใดๆแล้วเกิดเวทนา เมื่อเป็นสุขแล้วเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในตัวตนอุปาทานว่านี่เป้นเรานี่เป็นของเราว่า สิ่งนี้ๆทำให้เราเป็นสุข เราก็แสวงหา ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในสิ่งนั้นๆ เมื่อเราได้ประสบพบเจอในอารมณ์ใดๆที่ไม่เป็นไปตามที่เรานั้นตั้งความพอใจยินดีเอาไว้ว่าเป็นสุข เราก็เกิดความทุกข์ทันที ก็สำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจว่าสิ่งนี้ๆเป็นสุข เป็นทุกข์
๓. สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายของใจ เมื่อเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาสัญญาใดๆแม้ในเรื่องใดสิ่งใดที่ผ่านมาแล้ว เมื่อเข้าหวนระลึกถึงความทรงจำใดๆย่อมก่อให้เกิด ความปรุงแต่งจิตคิดไปต่างๆนาๆ เม่ื่อเสพย์ความพอใจยินดีก็ปารถนา เสพย์ความไม่พอใจยินดีก็อยากจะผลักหนีให้ไกลตน อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก่อให้เกิดเป็นทุกข์
๔. สังขาร คือ ความปรุงแต่งจิต สิ่งที่เกิดขึ้นประกอบกับจิต ดับไปกับจิต เช่น ความรัก โลภ โกรธ หลงใดๆ เมื่อใจเรามีความติดใจกำหนัดปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ ขุ่นมัวขัดเคืองใจ อัดอั้นคับแค้นกายและใจ ผูกเวร ผูกพยายาบาท ลุ่มหลงมัวเมา เมื่อเราเข้ายึดมั่นถือมั่นกับความปรุงแต่งจิตนั้นๆ มันเป็นทุกข์ใช่ไหม
๕. วิญญาณขันธ์ คือ ใจ ความรู้อารมณ์ เช่น รับรู้การกระทบสัมผัสใน สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เมื่อเข้าไปมั่นมั่นถือมัุ่นกับสิ่งที่รู้อารมณ์ใดๆโดยวิญญาณขันธ์นี้ ไม่ว่าจะมองเห็นสี เห็นรูปใดๆ แล้วพอใจยินดีเข้าไปยึดว่าสวยงาม ก็ติดใจเพลิดเพลินใคร่ปารถนายินดีที่จะเสพย์อารมณ์นั้นๆ เมื่อเห็นแล้วไม่ชอบพอใจยินดี ก็ว่าไม่สวยไม่งาม ก็ไม่ปารถนาอยากจะผลักไสให้ไกลตนก็เป็นทุกข์]


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ )
ยายัง ตัณหา ( ความทะยานอยากนี้ใด )
โปโนพภะวิกา ( ทำให้มีภพอีก )
นันทิราคะสะหะคะตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน )
ตัตระ ตัตราภินันทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ )

กามะตัณหา ( ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ -
[ความเห็นว่าเที่ยง(สัสสตทิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆมีอยู่ไม่สูญไป เช่น ตายแล้วก็เกิดใหม่อีกไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด])


ภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น [ความทะยานอยากปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆที่พอใจยินดี])

วิภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น -
[ความเห็นว่าขาดสูญ(อุจเฉททิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆสูญไม่มีอีก เช่น ตายแล้วจะไม่มีการกลับมาเกิดอีก])


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ )
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด )
จาโค ( ความสละตัณหานั้น ) ปะฏินิสสัคโค ( ความวางตัณหานั้น )
มุตติ ( การปล่อยตัณหานั้น ) อะนาละโย ( ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ )
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ ) สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ ) สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว ( ความเลี้ยงชีวิตชอบ ) สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( ความระลึกชอบ ) สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ )

[มีสติหวนระลึกพิจารณาถึงการดำเนินไปในชีวิตประจำวันของเรา ว่าเราต้องประสบพบเจอกับสิ่งใดๆบ้าง แลเมื่อได้รับการกระทบสัมผัสในอารมณ์ใดๆเหล่านั้นแล้ว เรามีความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งเสพย์เสวยอารมณ์ทางใจอย่างไรบ้าง หรือ มีความรู้สึกอาการทางกายอย่างไรบ้าง ให้กำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรานี้อยู่ให้เป็นประจำ จะทำให้เห็นแจ้งในทุกข์]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว )

[เมื่อเรากำหนดรู้ทุกข์ รู้ในอารมณ์ความรู้สึกอาการทางกายและใจเมื่อได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆแล้ว แลเห็นทุกข์ตามจริงอันเป็นผลจากการได้เสพย์ ไม่ได้เสพย์ หรือ ผลอันเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆที่ได้รับรู้กระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นแล้ว จิตใจเราย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นๆอารมณ์นั้นๆ เพราะเห็นว่ามันหาประโยชน์สุขไรๆอันแท้จริงไม่ได้นอกจากทุกข์เท่านั้น แลเห็นตามจริงว่าสุขที่ได้รับจากการเสพย์อารมณ์ไรๆทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นไปเพราะเกิดแต่ความติดใจเพลิดเพลิน กำหนัดยินดีเท่านั้น แล้วก็ต้องมาตะเกียกตะกายไขว่คว้าทะยานอยากหามาให้ได้สมกับความเพลิดเพลินใจปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ หรือ ทะยานอยากจะมีจะเป็นอย่างที่ตนเองตั้งความสำคัญมั่นหมายพอใจยินดีไว้ หรือ ทะยานอยากจะผลักหนีจากสิ่งอันที่ตนตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ว่าไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี ไม่เกิดเพลิดเพลิน มีแต่ความมัวหมองเศร้าหมองใจ หรือ ทุกข์อันเกิดแต่ความพรัดพรากบ้าง ไม่สมปารถนาบ้าง ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจไม่พึงปารถนาบ้าง ทุกข์อันเป็นไปในความเพลิดเพลินกำหนัดยินดีบ้าง เป็นต้น (นี่คือผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนดรู้ทุกข์)]

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล ควรละเสีย )
.
[ก็เมื่อเราได้กำหนดรู้ทุกข์ในชีวิตประจำวันอย่างแจ่มแจ้งแล้ว เราก็จะรู้เห็นเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้น เห็นว่าทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เกิดขึ้นมาแต่เหตุไรๆ แล้วเพียรละที่เหตุนั้นเสีย]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะนันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว )


อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง )

[เมื่อแลเห็นสมุทัยแล้ว รู้สิ่งที่ควรละแล้วความดับไปในทุกข์ในขั้นต้นย่อมเกิดขึ้นแก่กายและใจเราแล้ว เช่น ติดเหล้า เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ก่อนกิน โดยหวนระลึกถึงว่าทุกข์จากการกินเหล้าเป็นไฉน มึนเมา เจ็บป่วย เมื่อยล้า เงินไม่มี เสียงาน อารมณ์ร้อน ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ทั้งหมด เมื่อทำเสร็จแล้วก็เป็นทุกข์มหันต์ ระลึกถึงรสชาติที่ได้เสพย์มันว่า รสชาติมันเฟื่อนลิ้นเฟื่อนคอ เหม็นมีกลิ่นฉุน กินแล้วก็ร้อนคอร้อนท้องไม่อิ่มเหมือนข้าว หาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากความติดใจเพลิดเพลินแล้วก็มาผจญกับความสูญเสียอันหาประมาณมิได้ นี่เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ในเหล้า ทำให้เห็นคุณและโทษจากเหล้า จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในเหล้า สืบต่อให้เกิดความคิดวิเคราะห์ลงในธรรมและมีความเพียรตั้งมั่นที่จะออกจากทุกข์นั้น จิตย่อมน้อมหวนระลึกหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์เหล่านี้คือเหล้า เหตุที่ทำให้เราอยากกินเหล้าคือสิ่งใดหนอ เมื่อหวนระลึกพิจารณาถึงก็จะเห็นว่า ความอยากนี่เอง ทำไมถึงอยากกินเหล้า ก็เพราะเราคอยตรึกนึกถึงมันนี่เอง ทำไมตรึกนึกถึงเสมอๆ ทีเรื่องที่ควรตระหนักถึงกลับไม่คิดถึง เมื่อหวนระลึกถึงก็จะเห็นว่าเหตุนั้นเพราะเราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจกับเหล้าไว้มาก ที่เราให้ความสำคัญกับเหล้าเพราะสิ่งใดหนอ เมื่อหวนพิจารณาจะเห็นว่าเพราะเราพอใจยินดีในเหล้านี่เอง ก็เพราะพอใจยินดีในเหล้าเลยยึดมั่นถือมั่นเอาโสมนัสเวทนาจากเหล้ามาเป็นที่ตั้งแห่งจิตแทนสติ+สัมปชัญญะ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว เรารู้สมุทัยที่ควรละแล้ว เมื่อตั้งความเพียรที่จะละแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าเมื่อไม่พอใจยินดี ไม่ให้ความสำคัญในเหล้า ความอยากเหล้านี้ย่อมหายไป และ สภาพทางกาย สภาพแวดล้อม การเงิน ฯลฯ จะต้องดีขึ้นมากอย่างแน่นอน เมื่อเรามี ความเห็น ความคิดถึง ความตรึกถึง ความนึกถึง ความตรองถึง ความคำนึงถึง น้อมพิจารณาเช่นนี้ๆเป็นเบื้องต้นแล้ว จิตเราย่อมละวางความสำคัญมั่นหมายของใจในเหล้า ย่อมละความพอใจยินดีในอารมณ์ที่จะเสพย์ลง จิตใจเราย่อมแช่มชื่น ปราโมทย์ ผ่องใส อันเป็นผลเกิดจากกุศลจิตที่จะดับทุกข์นั้น ความดับทุกข์แม้เพียงแค่้คิดจะละเหตุนี้ ยังเกิดขึ้นแก่้เราเป็นเบื้องต้นแล้ว(แม้เป็นเพียงอุดมคติคือจากความคิดก็ยังสุขเลยนะครับ) เมื่อทำความดับทุกข์ให้แจ้ง กายและใจเราย่อมน้อมไปเพื่อปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งถึงความดับทุกข์อันแท้จริง ด้วยเห็นว่าเมื่อดับทุกข์เหล่านี้ได้แล้วผลลัพธ์มันเเป็นสุขเช่นนี้ๆ]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว )


อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล ควรให้เจริญ )

[เมื่อทำนิโรธให้แจ้งแล้ว เห็นความสุขอันเกิดแต่ความดับทุกข์นั้นแล้ว เริ่มแรกอาจจะเห็นว่ามีแนวทางมากมายหลายทางที่จะดำเนินปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์นั้น เมื่อเราได้เพียรปฏิบัติในทางพ้นทุกข์ให้มากแล้วเราก็จะเห็นว่า ทางพ้นจากทุกข์เหล่านั้น คือ มรรคมีองค์ ๘ นี้เอง (การเจริญปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ทั้งหลายหากถึงความเป็นสัมมาแล้ว จะสงเคราะห์ลงในมรรค ๘ ได้ทั้งหมด มรรค ๘ จึงเป็นเรือข้ามฝั่งที่ใหญ่มากเพียงลำเดียวที่พระพุทธเจ้าจอดไว้ให้เรา ขึ้นอยู่แต่ว่าเราจะขึ้นเรือลำนี้ไหม)
ดังนั้นที่เราควรเจริญปฏิบัติให้มาก คือ มีกายสุจริต วาจาสุริต มโนสุจริต อันเกิดแต่ ศีล พรหมวิหาร๔(พรหมวิหาร๔นี้ เบื้องต้นปฏิบัติให้เจริญเมตตาจิตให้มากให้สภาพจิตเกิดเมตตาต่อกันจนเกิดเป็นสมาธิจะให้ผลดีมาก) ทาน สมาธิ ปัญญา(ความรู้แจ้งรู้เห็นตามจริงอันเกิดขึ้นด้วย สัมปชัญญะ+สติ และ สมาธิอันควรแก่งาน หรือ เจริญปฏิบัติใน กุศลกรรมบท๑๐ เป็นต้น จนเข้าถึงมรรค๘ อย่างแท้จริง อันเป็นเหตุให้ นิโรธอันแท้จริงเกิดแก่เรา)]



ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว )


ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา
ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว )


เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น )


ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ๔ เหล่านี้ของเรา
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว )


อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา
เครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์ )


ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ
( ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว )
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
( ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 04:46:07 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
( พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว )
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
( พระภิกษุปัจจวัคคีย์ก็มีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า )

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
( ก็แล เมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ )
อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ
( จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ )
"ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ"
( ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" )

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
( ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว )
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
( เหล่าภูมิเทวดา ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

( ว่า นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ )

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
(เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น )

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
( พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า )

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ"

( "นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ดังนี้ ฯ" )

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
( โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ฯ )

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
( ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป )

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
( ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก )

อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
( ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ )

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ
( ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า )

อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ
( โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ )

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
( เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว
ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แล ฯ )

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 05:09:25 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

รอบ 3 อาการ12 หมายความถึง การหยั่งรู้ หยั่งเห็น ในอริยสัจ 4 ครบ 3 รอบ หยั่งรู้ หยั่งเห็นในทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค
วนเวียนไปจนครบ 3 ครั้ง ครั้งละ 4 รวมเป็น 12 ครั้ง จนชัดแจ้งและชัดเจน มีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ในอริยสัจ 4 จนไม่มีข้อกังขา เรียกว่าบริสุทธิ์ พระองค์ก็ทรงบรรลุ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.....เป็นวิสัยของพระโพธิสัตย์ทุกพระองค์ที่ต้องกระทำก่อนที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ..คือการพิจารณาในอริยสัจ 4 ครบสามรอบสามวาระ หรือที่เรียกว่า ญาณทัสนะ 3 อันได้แก่


1. สัจจญาณ
2. กิจจญาณ
3. กตญาณ


ในอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


ขอขอบพระคุณท่าน  พระรวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร  ที่มาจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11068


-------------------------------------------------------------------------------------------------


รอบ 3 อาการ12 หมายถึง การหยั่งญาณทัสสนะ ๓ ลงในอริยะสัจจ์ ๔ ขอรับ
ที่ว่า ญาณทัสสนะ ๓ คือ


๑. สัจจญาณ หยั่งรู้สัจจะ คือ
ความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจ คือ
ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย
ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ

๓. กตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ
ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว


ขอขอบพระคุณท่าน  Kanya  ที่มาจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=11068


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2014, 05:27:37 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


"วันที่ 5 มกราคม 2557 นี้ เป็นวันครบรอบวันตายของ คุณพ่อ กิมคุณ เบญจศรีวัฒนา เตี่ยของผม ครบ 1 ปี พอดี"


ผมจึงปารถนาจะนำพระปฐมสูตรแปลนี้มาเผยแพร่เพื่อให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย พร้อมด้วยการเจริญกรรมฐานไปพร้อมๆกับสวดมนต์ เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้เกิดความโยนิโสมนสิการ คือ หวนระลึก ตรึกตรองพิจารณา ให้รู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ ทางพ้นทุกข์ และ เป็นพื้นฐานในการเจริญปฏิบัติในพระธรรมวินัยนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนต่อไปครับ

หากผิดพลาดประการใดขอความกรุณาแนะนำด้วยครับ หากเป็นประโยชน์ ก็ใครขอท่านผู้เจริญในธรรมทั้งหลาย แผ่อุทิศส่วนบุญกุศลให้กับ "คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา" ด้วยครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2014, 07:51:04 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม