ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อะไรคือ มุขปาฐะ ?  (อ่าน 14469 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อะไรคือ มุขปาฐะ ?
« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 04:54:44 pm »
0
 ask1

อะไรคือ มุขปาฐะ ?
บันทึกการเข้า

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อะไรคือ มุขปาฐะ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 05:13:49 pm »
0
 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อะไรคือ มุขปาฐะ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 10:00:42 pm »
0
มุขปาฐะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เขียนว่า “มุขบาฐ” (มุก-ขะ-บาด)และ “มุขปาฐะ” (มุก-ขะ-ปา-ถะ) และให้ความหมายไว้ว่า :

“การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ”

“มุขปาฐะ” เขียนแบบบาลีเป็น “มุขปาฐ” อ่านว่า มุ-ขะ-ปา-ถะ ประกอบด้วยคำว่า มุข + ปาฐ = มุขปาฐ

“มุข” แปลตามรากศัพท์ว่า (1) “อวัยวะอันเขาเปิดเผย” (2) “อวัยวะเป็นเครื่องผูก” (3) “อวัยวะเป็นเครื่องเป็นไปแห่งประโยชน์สุข”

“มุข” หมายถึงอวัยวะ 2 อย่าง คือ “ปาก” และ “หน้า” จะหมายถึงอะไรต้องสังเกตที่บริบท

“ปาฐ” แปลว่า การอ่าน, การสวด, บทสวด, ข้อความในตัวบท, ถ้อยคำในคัมภีร์

“มุขปาฐ” จึงแปลว่า “ถ้อยคำที่จำมาจากปาก” เป็นคำบาลีที่เราคิดขึ้นตามวัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับคนที่ไม่รู้หนังสือ คือครูบอกข้อความให้ศิษย์ท่องโดยไม่ต้องเห็นลายลักษณ์อักษร

สำหรับเด็กวัด มีคำเรียกการเรียนแบบนี้ว่า “ต่อหนังสือค่ำ” เพราะมักทำกันในเวลาเย็นถึงค่ำ

ระบบ “มุขปาฐ” ทำให้เกิดคำเดียวกัน ออกเสียงเหมือนกัน แต่เอาไปเขียนต่างกัน เช่น

ชินสีห์ หรือ ชินศรี
แก่นจันทน์ หรือ แก่นจันทร์ หรือ แก่นจัน

ที่กลายไปจนจำไม่ได้ก็มี เช่น พระเพชฉลูกรรม (เพ็ด-ฉะ-หฺลู-กํา) ก็คือ พระวิศวกรรม หรือ พระวิษณุกรรม

ชาวบ้านไทยสมัยก่อนจึงมีชื่อเรียกง่ายๆ เขียนง่ายๆ เพราะได้ยินเสียงอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น

ระวัง : สตรีสมัยนี้ไม่พึงตั้งชื่อแปลกๆ สะกดยาก เช่น “ณมญาณ” (ผู้นอบน้อมความรู้) เพราะอาจถูกเปลี่ยนชื่อโดยระบบ “มุขปาฐ” ได้ง่ายๆ

บาลีวันละคำ (232)

27-12-55

เพชฉลูกรรม [เพ็ดฉะหฺลูกํา] น. พระวิศวกรรม.

มุข = ปาก, หน้า (ศัพท์วิเคราะห์)
- มุขิยติ วิวริยตีติ มุขํ อวัยวะอันเขาเปิดเผย
มุข ธาตุ ในความหมายว่าเปิด อ ปัจจัย
- มุนนฺติ พนฺธนฺติ เอเตนาติ มุขํ อวัยวะเป็นเครื่องผูก
มุ ธาตุ ในความหมายว่าผูก ข ปัจจัย
- หิตสุขํ มุขติ ปวตฺตติ เอเตนาติ มุขํ อวัยวะเป็นเครื่องเป็นไปแห่งประโยชน์สุข
มุข ธาตุ ในความหมายว่าเป็นไป อ ปัจจัย

ปาฐ = การอ่าน, การสวด, บทสวด, พระบาลี (ศัพท์วิเคราะห์)
ปาฐียเตติ ปาโฐ อาการอันเขาสวด, บทอันเขาสวด
ปฐ ธาตุ ในความหมายว่าสวด, พูด ณ ปัจจัย

ปาฐ (บาลี-อังกฤษ)
การอ่าน, การอ่านตัวบท,ข้อความในตัวบท, ตัวบท
reading, text-reading, passage of a text, text

มุข, มุข-
[มุก, มุกขะ-] น. หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึกหรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).

มุขบาฐ, มุขปาฐะ
 [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
บันทึกการเข้า