ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร ! ตามที่ระบุ มี  (อ่าน 2678 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 นิพพาน เป็นสภาวะที่สิ้นกิเลส พ้นจากกิเลส เช่น อวิชชา ตัณหา ราคะโทสะ โมหะ (ธาตุสูตร)
-----------
นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง (นิพพานัง ปรมัง สุขัง)
--------------
นิพพาน ไม่ใช่ตัวตน
[ อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194) ]
-------------------
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
(นิพพานสูตรที่ 1)
-----------------------
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอัน บุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ ฯ
(นิพพานสูตรที่ 2)
-----------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ฯ
(นิพพานสูตรที่ 3)
------------------------
ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยเมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดีเมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการจุติ
และอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
(นิพพานสูตรที่ 4)
---------------------------
"ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." จาก พาหิยสูตร (ขุ.ขุ.อ.25/50)
-----------------
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้. อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้. นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้. เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
(เกวัฏฏสูตร)
-----------------
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
ก็ ‪#‎สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ‬ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวย อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
‪#‎อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ‬ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของ ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี
ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
(ธาตุสูตร)
-----------
คติที่ไปของผู้สิ้นกิเลส เช่น พระพุทธเจ้า หรือ พระอรหันตสาวก
-----------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้วเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้วผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.
(พรหมชาลสูตร) (ที.สี.14/90)
---------------
คติของพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ ข้ามเครื่องผูกคือกามและโอฆะได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุขอันหา ความหวั่นไหวมิได้ ไม่มีเพื่อจะบัญญัติ เหมือนคติแห่งไฟลุกโพลงอยู่ที่ภาชนะสัมฤทธิ์เป็นต้น อันนายช่างเหล็กตีด้วยค้อนเหล็ก ดับสนิท ย่อมรู้ไม่ได้ ฉะนั้น ฯ
(ทัพพสูตร ที่ 1 และ ที่ 2)
---------------
[๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?
ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.
[๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้ เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก
พระพุทธเจ้า :: ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึง รู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.
วัจฉะ :: ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ ต่อหน้าเรา.
พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร จึงลุกโพลง ?
วัจฉะ :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่.
พระพุทธเจ้า :: ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?
วัจฉะ :: ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.
พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศ ไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ
วัจฉะ :: ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับ ไปแล้ว.
พระพุทธเจ้า :: ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ
บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ ใด รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ นั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่า รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด
ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี
ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้.
(อัคคิวัจฉโคตสูตร)
-------------
พระพุทธเจ้า :::: ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นมารผู้มีบาป เที่ยวแสวงหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ด้วยคิดว่า วิญญาณของโคธิกกุลบุตรตั้ง อยู่ ณ ที่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โคธิกกุลบุตร มีวิญญาณอันไม่ตั้งอยู่แล้ว ปรินิพพานแล้ว ฯ
มารผู้มีบาปถือพิณมีสีเหลืองเหมือนมะตูมสุก :::: ข้าพระองค์ได้ค้นหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ทั้งในทิศเบื้องบน ทั้งทิศเบื้องต่ำ ทั้งทางขวาง ทั้งทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วแล้ว มิได้ประสบ โคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหน ฯ
พระพุทธเจ้า :::: นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความอาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือโคธิกกุลบุตร ได้ถอนตัณหาพร้อม ด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ
(โคธิกสูตร)
-----------------------
ก็สมัยนั้นแล ปรากฏเป็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไป ทางทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ.
ลำดับนั้นเอง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็น กลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปทางทิศบูรพา ฯลฯ และอนุทิศหรือไม่?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละคือมารใจหยาบช้า ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งไหนหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้ว.
(วักกลิสูตร)
------------------
พระสารีบุตร ::: ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้
ว่าอย่างไร?
พระยมกะ ::::: ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่า
รูปแลไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้
ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้
(ยมกสูตร)
----------------
อ้างอิง
นิพพานสูตรที่ 1
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
นิพพานสูตรที่ 2
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
นิพพานสูตรที่ 3
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
นิพพานสูตรที่ 4
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
พรหมชาลสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php
ธาตุสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php
ทัพพสูตรที่ 1
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
ทัพพสูตรที่ 2
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
เกวัฏฏสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=7317&Z=7898
ยมกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
โคธิกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
วักกลิสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
อัคคิวัจฉโคตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
https://www.facebook.com/vajiramedhi/posts/10151425097236167
http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi

พระสารีบุตร ::: ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้ (กล่าวตอบ) ว่าอย่างไร?
พระยมกะ ::::: ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่า

รูปแลไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้

ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้

(ยมกสูตร)

 พระพุทธเจ้า :::: ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นมารผู้มีบาป เที่ยวแสวงหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ด้วยคิดว่า วิญญาณของโคธิกกุลบุตรตั้ง อยู่ ณ ที่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โคธิกกุลบุตร มีวิญญาณอันไม่ตั้งอยู่แล้ว ปรินิพพานแล้ว ฯ

มารผู้มีบาปถือพิณมีสีเหลืองเหมือนมะตูมสุก :::: ข้าพระองค์ได้ค้นหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ทั้งในทิศเบื้องบน ทั้งทิศเบื้องต่ำ ทั้งทางขวาง ทั้งทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วแล้ว มิได้ประสบ โคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหน ฯ

พระพุทธเจ้า :::: นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความอาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือโคธิกกุลบุตร ได้ถอนตัณหาพร้อม ด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ
(โคธิกสูตร)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=3885...

พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยัง วิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อมด้วยภิกษุเป็นจำนวนมาก. ได้ทอดพระเนตรเห็น ท่านพระวักกลินอนคอบิดอยู่บนเตียงแต่ไกลเทียว.

ก็สมัยนั้นแล ปรากฏเป็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไป ทางทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ.

ลำดับนั้นเอง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็น กลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปทางทิศบูรพา ฯลฯ และอนุทิศหรือไม่?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละคือมารใจหยาบช้า ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งไหนหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้ว.
(วักกลิสูตร)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=2680...

 [๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?
ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.

[๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้ เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก

พระพุทธเจ้า :: ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึง รู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.

วัจฉะ :: ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ ต่อหน้าเรา.

พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร จึงลุกโพลง ?

วัจฉะ :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่.

พระพุทธเจ้า :: ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?

วัจฉะ :: ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.

พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศ ไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ

วัจฉะ :: ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับ ไปแล้ว.

พระพุทธเจ้า :: ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ

บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ ใด รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ นั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่า รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น

ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด
ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี
ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้.
(อัคคิวัจฉโคตสูตร)

[๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?
ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.

[๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้ เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก

พระพุทธเจ้า :: ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึง รู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.

วัจฉะ :: ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ ต่อหน้าเรา.

พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร จึงลุกโพลง ?

วัจฉะ :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่.

พระพุทธเจ้า :: ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?

วัจฉะ :: ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.

พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศ ไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ

วัจฉะ :: ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับ ไปแล้ว.

พระพุทธเจ้า :: ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ

บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ ใด รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ นั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่า รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น

ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด
ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี
ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้.
(อัคคิวัจฉโคตสูตร)

ขอขอบคุณ ผู้ใช้เฟสบุ๊ค ชื่อ Ronbanchob Ron Apiratikul เป็นผู้รวบรวม (สาธุ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2016, 07:23:36 pm โดย ปัญญสโก ภิกขุ »
บันทึกการเข้า

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร ! ตามที่ระบุ มี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 10, 2016, 06:09:51 am »
0
 st11 st12 st12

 ถึงจะออกแนววิชาการ อยู่บ้าง แต่ก็ขออนุโมทนา สาธุ เพราะไม่เห็นท่านปัญญาสโก มาโพสต์ที่นี่นานแล้วนะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร ! ตามที่ระบุ มี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 10, 2016, 08:06:48 pm »
0
 like1 st11 st12
     ขออนุโมทนาสาธุ ครับท่าน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร ! ตามที่ระบุ มี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 28, 2016, 02:41:50 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ