ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บาลีวันละคำ‬ ธรรมาภิบาล  (อ่าน 6096 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บาลีวันละคำ‬ ธรรมาภิบาล
« เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 12:40:44 pm »
0
บาลีวันละคำ‬  ธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล
อ่านว่า ทำ-มา-พิ-บาน
ประกอบด้วย ธรรม + อภิบาล
(๑) “ธรรม”
บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ธ) และ ร ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)
: ธรฺ > ธ + รมฺม > มฺม : ธ + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้”
ธมฺม สันสกฤตเป็น ธรฺม เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม
ธมฺม > ธัมม > ธรรม มีความหมายหลายหลาก (ดูความหมายของคำว่า “ธรรม” ที่คำอื่นๆ เช่น “ธรรมทาน กับ วิทยาทาน” บาลีวันละคำ (823) 19-8-57 เป็นต้น)
ในที่นี้ “ธรรม” หมายถึงความยุติธรรม, ความถูกต้อง, ความเป็นธรรมในสังคม
(๒) “อภิบาล”
บาลีเป็น “อภิปาล” (อะ-พิ-ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก อภิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, จำเพาะ, ข้างหน้า) + ปาล (การระวังรักษา, การเก็บรักษา [guarding, keeping])
: อภิ + ปาล = อภิปาล แปลตามศัพท์ว่า “การระวังรักษาอย่างยิ่ง” หมายถึง การคุ้มครองป้องกัน (protecting)
“อภิปาล” ในภาษาไทยใช้ว่า “อภิบาล” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อภิบาล : (คำกริยา) บำรุงรักษา, ปกครอง. (ป., ส. อภิปาล).”
ธมฺม + อภิปาล = ธมฺมาภิปาล > ธรรมาภิบาล แปลตามศัพท์ว่า “การคุมครองป้องกันอย่างถูกต้อง”
“ธรรมาภิบาล” เป็นคำที่คิดขึ้นเทียบคำอังกฤษว่า good governance
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล good เป็นบาลีไว้หลายศัพท์ แต่ที่ใกล้เคียงที่สุดคือ dhammika ธมฺมิก (ทำ-มิ-กะ) = ถูกต้องชอบธรรม
และแปล governance เป็นบาลีว่า -
(1) pālanakkama ปาลนกฺกม (ปา-ละ-นัก-กะ-มะ) = วิธีดูแลรักษา
(2) pālana ปาลน (ปา-ละ-นะ) = การดูแลรักษา
good governance > ธมฺมิกปาลน : ธมฺมาภิปาล > ธรรมาภิบาล แปลตามความหมายว่า การปกครองที่เป็นธรรม คือการปกครองที่ถูกต้องชอบธรรม
เทียบตามนัยแห่งพระปฐมบรมราชโองการ “ธรรมาภิบาล” ก็คือ การครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน
ตรงกันข้ามกับการครองอำนาจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง
: ใจครองธรรม ความสุขล้ำก็ครองโลก
: ใจขาดธรรม ความระยำก็ครองโลก
--------------
(ตามคำขอของ Dejavu Monmon)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บาลีวันละคำ‬ ประชาธิปกศักดิเดชน์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 01:31:51 pm »
0
‪‎บาลีวันละคำ‬
ประชาธิปกศักดิเดชน์
อ่านว่า ปฺระ-ชา-ทิ-ปก-สัก-ดิ-เดด
ประกอบด้วย ประชา + อธิปก + ศักดิ + เดชน์
(๑) “ประชา”
บาลีเป็น “ปชา” (ปะ-ชา) รากศัพท์มาจาก ป (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ น ที่สุดธาตุ และ กฺวิ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์
: ป + ชนฺ + กฺวิ = ปชนกฺวิ > ปชน > ปช + อา = ปชา
“ปชา” นักเรียนบาลีมักแปลกันว่า “หมู่สัตว์” ทำให้ผู้ไม่คุ้นสำนวนบาลีเข้าใจไปว่าหมายถึงหมู่สัตว์เดรัจฉาน แต่ความจริงหมายถึง “หมู่คน” – (ดูความหมายของคำว่า “สัตว์” ที่คำว่า สตฺต บาลีวันละคำ (212) 6-12-55)
“ปชา” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดมาต่างกันไป” ซึ่งเป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะท่านว่าผู้คนแม้จะมีจำนวนเป็นพันล้านก็ไม่เหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว
“ปชา” หมายถึง คน, ผู้คน, รุ่นของคน, ผู้สืบตระกูล, ลูกหลาน, สัตว์โลก, มนุษยชาติ (progeny, offspring, generation, beings, men, world, mankind)
“ปชา” สันสกฤตเป็น “ปฺรชา” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ประชา”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ประชา : (คำนาม) หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส. ปฺรชา; ป. ปชา).”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ปฺรชา : (คำนาม) ‘ประชา,’ สันตติ, บุตร์หรือสุดา; ราษฎร, ประชาชนทั่วไป; progeny, offspring; people, subjects.”
(๒) “อธิปก”
บาลีอ่านว่า อะ-ทิ-ปะ-กะ รากศัพท์มาจาก อธิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) + ปติ (เจ้า, นาย) + ก (พยัญชนะลงท้ายศัพท์ ลงแล้วศัพท์นั้นมีความหมายเท่าเดิม ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ก-สกรรถ” - กะ-สะ-กัด), ลบ ติ ที่ (ป)-ติ (ปติ > ป)
: อธิ + ปติ = อธิปติ > อธิป + ก = อธิปก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่, อธิปกหรือผู้ปกครอง, ผู้มีอำนาจ (mastering, ruling or governed, influenced by)
ปชา + อธิปก = ปชาธิปก > ประชาธิปก แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่ชน, ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน
(๓) “ศักดิ์”
บาลีเป็น “สตฺติ” (สัด-ติ) รากศัพท์มาจาก -
(1) สกฺ (ธาตุ = สามารถ) + ติ ปัจจัย, แปลง กฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (นัยหนึ่งว่า ลบ กฺ ซ้อน ตฺ)
: สกฺ + ติ = สกฺติ > สตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่สามารถ” หมายถึง ความสามารถ, กำลัง, อำนาจ (ability, power)
(2) สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ติ ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ
: สสฺ + ติ = สสฺติ > สตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียน” หมายถึง หอก, หลาว; มีด, กริช, ดาบ (a spear, javelin; knife, dagger, sword)
บาลี “สตฺติ” สันสกฤตเป็น “ศกฺติ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ศกฺติ : (คำนาม) ‘ศักติ,’ กำลัง, แรง, ความกล้า; หอกหรือศรเหล็ก; เตชัส (หรือเดช) ของเทพดา, อันโรปยติเปนชายาของเธอ; นัยหรือความหมายของศัพท์; power, strength, prowess; an iron spear or dart; the energy of a deity, personified as his wife; signification or meaning of words.”
ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ศักดิ” พจน.54 บอกไว้ว่า -
“ศักดิ์ : (คำนาม) อํานาจ, ความสามารถ, เช่น มีศักดิ์สูง ถือศักดิ์; กำลัง; ฐานะ เช่นมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ; หอก, หลาว. (ส. ศกฺติ; ป. สตฺติ).”
(๔) “เดชน์”
บาลีเป็น “เตชน” (เต-ชะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ติชฺ (ธาตุ = ลับให้คม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อิ ที่ ติ-(ชฺ) เป็น เอ (ติชฺ > เตช)
: ติชฺ + ยุ > อน = ติชน > เตชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาเหลาให้แหลม” หมายถึง ลูกศร, ปลายลูกศร (an arrow, the point or shaft of an arrow)
สตฺติ + เตชน = สตฺติเตชน = ศักดิเดชน์ แปลว่า ลูกศรอันทรงอำนาจ
“ประชาธิปกศักดิเดชน์” เป็นพระนามเดิมในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์” พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐพระองค์ที่ 7 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
หมายเหตุ: บาลีวันละคำวันนี้มีความประสงค์เพียงแปลศัพท์เป็นคำๆ เพื่อให้รู้ว่าแต่ละศัพท์แปลว่าอะไรเท่านั้น มิได้มุ่งหมายแปลความหมายรวมในพระนาม
: แม้ไม่เห็นทาง ก็หาทางออกได้อย่างวิเศษ คือผู้มีเดชน์ที่แท้จริง
: มีทางมองเห็นอยู่ตรงหน้า แต่ไม่กล้าออก คือผู้กระจอกที่แท้จริง

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2016, 01:36:47 pm โดย ปัญญสโก ภิกขุ »
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
‪บาลีวันละคำ‬ สุภาพบุรุษ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 01:34:16 pm »
0
‪บาลีวันละคำ‬
สุภาพบุรุษ
อ่านว่า สุ-พาบ-บุ-หฺรุด
ประกอบด้วย สุภาพ + บุรุษ
(๑) “สุภาพ”
แปลงกลับเป็นบาลีว่า “สุภาว” (สุ-พา-วะ) รากศัพท์มาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย, สะดวก) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว
: สุ + ภู = สุภู + ณ = สุภูณ > สุภู > สุโภ > สุภาว แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ดีงาม”
สุภาว แปลง ว เป็น พ : สุภาว > สุภาพ
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“สุภาพ : (คำวิเศษณ์) เรียบร้อย เช่น เขาแต่งกายสุภาพตามกาลเทศะและความนิยม, อ่อนโยน, ละมุนละม่อม, เช่น เขาพูดด้วยน้ำเสียงสุภาพ ไม่กระโชกโฮกฮาก.”
“สุภาพ” เป็นบาลีไทย คือรูปคำเป็นบาลี แต่ความหมายเป็นของไทยคิดขึ้นเอง ความหมายตามภาษาไทยนี้ บาลีไม่ได้ใช้คำว่า “สุภาว” แต่ใช้คำว่า “อาจารสีลี” หรือ “อาจารสมฺปนฺน” (มีกิริยามารยาทเรียบร้อย) หรือ “สุสีล” (ความประพฤติเรียบร้อยงดงาม)
(๒) “บุรุษ”
บาลีเป็น “ปุริส” (ปุ-ริ-สะ) รากศัพท์มาจาก -
(1) ปุร (ธาตุ = เต็ม) + อิส ปัจจัย
: ปุร + อิส = ปุริส แปลว่า “ผู้ยังดวงใจของบิดามารดาให้เต็ม”
(2) ปุ ( = นรก) + ริส (ธาตุ = เบียดเบียน, กำจัด)
: ปุ + ริส = ปุริส แปลว่า “ผู้เบียดเบียนนรก” คือทำให้นรกว่าง เพราะเกิดมาทำให้บิดามารดาไม่ต้องตกนรกขุมที่ชื่อ “ปุตตะ”
(3) ปุริ ( = เบื้องบน) + สี (ธาตุ = อยู่)
: ปุริ + สี > ส = ปุริส แปลว่า “ผู้อยู่ในเบื้องสูง” หมายถึงเป็นหัวหน้า
(4) ปุร ( = เบื้องหน้า) + สี (ธาตุ = เป็นไป)
: ปุร + อิ = ปุริ + สี > ส = ปุริส แปลว่า “ผู้เป็นไปในเบื้องหน้า” หมายถึงผู้นำหน้า
(5) ป ( = ปกติ) + อุร ( = อก) + สี (ธาตุ = นอน)
: ป + อุร = ปุร + อิ = ปุริ + สี > ส = ปุริส แปลว่า “ผู้นอน บน อก โดยปกติ”
“ปุริส” สันสกฤตเป็น “ปุรุษ” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “บุรุษ”
ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า -
“บุรุษ : (คำนาม) ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะที่สุภาพ.”
พึงทราบว่า “ปุริส” ในภาษาบาลีไม่ได้เล็งที่ “ผู้ชาย” เสมอไป ในที่หลายแห่งหมายถึง “คน” หรือมนุษย์ทั่วไป ไม่แยกว่าชายหรือหญิง เช่นเดียวกับคำว่า man ในภาษาอังกฤษ แปลว่า “ผู้ชาย” ก็ได้ แปลว่า “คน” หรือมนุษย์ทั่วไปก็ได้
สุภาพ + บุรุษ = สุภาพบุรุษ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“สุภาพบุรุษ : (คำนาม) ชายที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะ และมีคุณธรรม เช่น เขาช่วยเหลือเธอตามหน้าที่สุภาพบุรุษ.”
เป็นที่เข้าใจกันว่า “สุภาพบุรุษ” ภาษาอังกฤษใช้ว่า gentleman
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล gentleman เป็นบาลีว่า -
(1) ayya อยฺย (ไอ-ยะ) = เจ้านาย, สุภาพบุรุษ, ผู้ทรงเกียรติ
(2) arya อริย (อะ-ริ-ยะ) = ผู้เจริญ
(3) mahāsaya มหาสย (มะ-หา-สะ-ยะ) = ผู้มีอัธยาศัย, ผู้มีใจอารี
คำว่า “สุภาพบุรุษ” ยังมีความหมายโดยนัยถึงการรู้จักรับผิดชอบ พูดจริงทำจริง มีสัจจะ ดังคำว่า “สัญญาสุภาพบุรุษ” คือรักษาสัญญาโดยไม่ต้องใช้กฎหมายบังคับ หรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างซื่อตรงแม้จะไม่มีใครสั่งหรือจับจ้องอยู่ก็ตาม
: ทำผิดแล้วยอมรับผิด
: เป็นศักดิ์ศรีที่ศักดิ์สิทธิ์ของสุภาพบุรุษ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2016, 01:37:09 pm โดย ปัญญสโก ภิกขุ »
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บาลีวันละคำ‬ เลศนัย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 01:36:17 pm »
0
บาลีวันละคำ‬
เลศนัย
พจน.54 บอกคำอ่านว่า เลด-ไน
ได้ยินคนเก่าอ่านกันว่า เลด-สะ-ไน
ประกอบด้วย เลศ + นัย
(๑) “เลศ”
บาลีเป็น “เลส” (เล-สะ) รากศัพท์มาจาก ลิสฺ (ธาตุ = ติดอยู่, ข้องอยู่) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อิ ที่ ลิ-(สฺ) เป็น เอ (ลิสฺ > เลส)
: ลิสฺ + ณ = ลิสณ > ลิส > เลส แปลตามศัพท์ว่า “เรื่องที่ติดข้องอยู่” หมายถึง การลวง, ข้ออ้างแก้ตัว, กลอุบาย, การแสร้งทำ (sham, pretext, trick)
“เลส” ในภาษาไทยใช้เป็น “เลศ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เลศ : (คำนาม) การแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที, มักใช้เข้าคู่กับคํา นัย เป็น เลศนัย. (ส.; ป. เลส).”
ข้อสังเกต :
๑ ในภาษาไทยมีคำว่า “อุปเท่ห์เล่ห์กล” คำว่า “อุปเท่ห์” เข้าใจกันว่าเลือนมาจากบาลีว่า “อุปเทส” (อุ-ปะ-เท-สะ อ่านแบบไทยว่า อุ-ปะ-เทด) = คำแนะนำ, คำสั่งสอน, การชี้แจง, การบ่งชี้
๒ พจน.สันสกฤตให้ความหมายคำว่า “อุปเทศ” ว่า คำแนะนำ, คำบอกหรือชี้แจง, คำสั่ง, คำสั่งสอน, มายา, การเริ่มแนะนำสั่งสอน, การบอกมนตร์หรือสูตรเบื้องต้น
๓ คำว่า “เท่ห์” เป็นเสียงโทเท่ากับ “เทส” ส กลายเป็น ห การันต์ในภาษาไทย
๔ คำว่า “เลส” ในบาลี ถ้า ส กลายเป็น ห การันต์ ก็ตรงกับ “เล่ห์”
๕ “เลส” ในบาลี = การลวง, ข้ออ้างแก้ตัว, กลอุบาย, การแสร้งทำ
“เล่ห์” ในภาษาไทย = กลอุบายหรือเงื่อนงําอันอาจทําให้คนอื่นหลงผิด เข้าใจผิด
“เลส” กับ “เล่ห์” จึงมีนัยสำคัญที่พึงสังเกต
(๒) “นัย”
บาลีเป็น “นย” (นะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก นี (ธาตุ = นำไป, รู้) + อ ปัจจัย, แผลง อี ที่ นี เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (นี > เน > นย)
: นี > เน > นย + อ = นย แปลตามศัพท์ว่า (1) “การเป็นไป” (2) “อุบายเป็นเครื่องแนะนำ” (3) “วิธีที่พึงแนะนำ” (4) “วิธีเป็นเหตุให้รู้” หมายถึง หนทาง, วิธีการ, แผน, วิธี (way, method, plan, manner)
“นย” ในภาษาไทยใช้ว่า “นัย” (ไน) พจน.54 บอกความหมายไว้ดังนี้ -
(1) เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง
(2) ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้
(3) ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย
(4) แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย
(5) แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง
เลส + นย = เลสนย > เลศนัย
ยังไม่พบศัพท์ที่ประกอบรูปเช่นนี้ในคัมภีร์ “เลสนย > เลศนัย” จึงเป็นคำไทยที่ปรุงขึ้นจากบาลีสันสกฤต แต่ก็ยังมีความหมายตามคำเดิมอยู่
พจน.54 บอกไว้ว่า -
“เลศนัย : (คำนาม) การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.”
“เลศนัย” ยังหมายถึงการกระทำที่ไม่ตรงไปตรงมา หรือไม่ซื่อ อย่างที่ภาษาไทยพูดว่า-ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนตร์ก็เอาด้วยคาถา
: ศัตรูที่ไม่เซอะซะ
: วางใจได้มากกว่าสมณะที่มีเลศนัย

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บาลีวันละคำ‬ ธรรมาภิบาล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 09:49:49 pm »
0

   ขออนุโมทนาสาธุ ครับ

   
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา