ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๓. “มรณสติ”  (อ่าน 5492 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๓. “มรณสติ”
« เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 04:12:07 pm »
0
ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๓. “มรณสติ”
โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย



มรณสติ คือ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์เป็นกัมมัฏฐานชั้นสูงสุด เพราะว่าเมื่อระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว จิตก็จะสลดสังเวชถอนจากอารมณ์อื่น ๆ ความตายเป็นการดำเนินถึงที่สุดของชีวิตคนเรา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วยังจะมีอะไรเหลืออยู่อีก

นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก
นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไร

สิ่งทั้งปวงที่เกี่ยวข้องพัวพันอยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของทิ้งทั้งหมด ถึงไม่อยากทิ้งมันก็ต้องละไปโดยปริยาย เราตายแล้วมันก็ทอดทิ้งลงทันที จึงว่ามรณสติ นั้นเป็นยอดของกัมมัฏฐาน ใครจะพิจารณาอะไร ๆ ก็ตามเถิด ถ้าหากพิจารณามรณสติแล้ว จิตยังไม่รวมลงไปได้ ยังไม่เกิดสลดสังเวช ยังไม่ละ ยังไม่ถอน ก็หมดกัมมัฏฐาน ไม่มีอะไรเหลือแล้ว

มรณสตินี้ พระพุทธเจ้าทรงถามภิกษุทั้งหลายว่าภิกษุทั้งหลายเธอพิจารณามรณสติอย่างไร ภิกษุบางองค์กราบทูลว่า ข้าพระองค์พิจารณามรณสติแล้ว กลัวว่าชีวิตจะไม่ข้ามวันข้ามคืนไปได้ กลัวจะตายก่อนไม่ทันฉันบิณฑบาต บางองค์พิจารณาขณะฉันอยู่ ก็กลัวว่าจะตายก่อนฉันไม่ทันเสร็จ แม้ถึงอย่างนั้นพระองค์ยังตรัสว่าประมาทอยู่

เมื่อ ผู้ใดพิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจเช้าออกนั้น จึงจะเป็นผู้ไม่ประมาท หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย เป็นอยู่อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท

วัน หนึ่ง ๆ เราคิดถึงความตายสักกี่ครั้ง วัน เดือน ปี ล่วงไป ๆ ไม่เคยนึกถึงความตายสักทีเลยก็มี จึงว่าเป็นผู้ประมาท ความประมาทคือความเลินเล่อเผลอสติ ไม่มีสติในตัว ความประมาทจะพาไปถึงไหน

ความประมาทคือหนทานแห่งความตาย คำว่า “ ทางแห่งความตาย ” นั้นยังไม่ทันตายหรอก แต่ผู้ประมาทได้ชื่อว่าตายแล้ว เพราะการไม่มีสติก็เหมือนกับคนตาย

ความ ไม่ประมาท คือมีสติอยู่ทุกเมื่อ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นทางแห่งความไม่ตายที่มีสติ สติรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อทุกขณะนั่นแหละ เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตาย

เรา ตายตั้งแต่เกิดมา มันเปลี่ยนสภาพไปเรื่อย ๆ เรียกว่าตายเป็นเด็กเป็นเล็ก เป็นหนุ่มเป็นสาว จนกระทั่งอายุ 40-50 ปี แก่เฒ่าชรา มันเปลี่ยนสภาพไปโดยลำดับ จนกระทั่งตาย ส่วนด้านจิตใจก็ห่าวงนั่นห่วงนี่พัวพันเกี่ยวข้องอะไรต่าง ๆ เอาไว้ มันไม่อยู่คงที่ ทิ้งอารมณ์นี้แล้วไปจับอารมณ์อื่นต่อไป

นั่นก็เรียกว่าตายเหมือนกัน ตายจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อารมณ์อื่น
นั่นแหละ ความตายโดยยังไม่ทันตายแท้จริง
ให้ พิจารณาความตายโดยปริยายเสียก่อน เมื่อความตายจริง ๆ มาถึง มันมีอีกอย่างหนึ่ง การตายไม่ใช่ตายง่าย ๆ ทีเดียวอย่างเรานึกคิด บางทีเส้นโลหิตแตกแล้วตายก็มีหัวใจวายตายก็มี ตายเร็ว ๆ อันนั้นไม่ต้องทรมาน ทรกรรมอันที่ตายทรมานนั้นยังมีมากกว่านั้นอีก ความเจ็บป่วยมีอาการตั้งนาน ๆ ปี บางทีเป็นอัมพาตขยับไม่ได้ จนกระทั่งมือเท้าอะไรก็ยกไม่ได้ จะกินจะถ่ายก็มีคนป้อนคนพยุง อันนั้นเรียกว่ามัจจุราชมันให้ให้มาผจญเสียก่อน


ธรรมดา เข้าตีข้าศึก เขาต้องตีปีกซ้าย ปีกขวา ตัดทางลำเลียงอาวุธ และอาหารเสียก่อนทำลายทีละเล็กทีละน้อย ยังเหลือแต่กองทัพใหญ่จึงค่อยบุกเข้าตีทีเดียว อันนี้มัจจุราชมาผจญก็เหมือนกัน แขนหัก แข้งขาขาดไป ตายไปเป็นชิ้นส่วนเสียก่อน บางทีเจ็บหัว ปวดท้อง บางทีลำไส้อักเสบ โรคภัยไข้เจ็บสารพัดทุกอย่าง จะต้องทรมาน ทรกรรมนั่งนอนอยู่กับที่ไม่สามารถพลิกตัวได้ แต่ใจยังไม่ทันแตกดับ เป็นการทรมานอย่างแสนสาหัส เพราะว่าเราไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ถึงแม้จะเคยทำความพากเพียรภาวนามามากเท่าไรก็ตามเถิด พอถึงตรงนั้นแล้ว มันยากที่สุดที่จะดำรงสติให้อยู่ในตัวของเราได้ ที่ท่านว่า

มรณสติให้ระลึกถึงความตาย คือให้ตั้งสติไว้ตรงนั้นเอง

แท้ที่จริงความตายนั้นไม่เท่าไรหรอก ก่อนที่จะตายนั่นซีมันสำคัญ จะตั้งสติรักษาจิตด้วยอาการอย่างไรให้มันคงที่ จะไม่ให้หวั่นไหว ตรงนั้นมันสำคัญที่สุด

 

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี สนทนากับกับในหลวง

การ เจ็บปวดเล็ก ๆ น้อยๆ ที่บังเกิดขึ้นในตัวของเรานั้น ต้องหัดพิจารณาความตายว่า มันจะต้องมีมาอย่างนี้ ๆ เดี๋ยวนี้มันยังไม่ทันเป็นจริง เมื่อมันเป็นจริงขึ้นมาแล้ว ทุกด้านทุกทางมันจะเสื่อมโทรมลงไปหมด ตาก็ไม่เห็นหนทางหูก็ไม่ได้ยินเสียง เนื้อกายนี้ไม่รู้สึกตัว แต่ยังมีใจอยู่ความวุ่นวาย ความเดือดร้อน กระสับกระส่ายจะต้องมีอยู่

คน เราเมื่อจะถึงที่สุดเวลาจะตายจริง ๆ มันต้องตัดหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่สติที่เรารักษาไว้ดีแล้วก็จะไม่ปรากฏ มันจะปรากฏแต่ กรรมนิมิต คตินิมิต จะไปเกิดใน “ สุคติ ” หรือ “ ทุคติ ” ต้องมีกรรมนิมิตปรากฏไปตามกรรม เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดมิจฉาจาร เป็นต้น นี้เรียกว่า “ กรรมชั่ว ”

กรรม นิมิต นั้นคือเห็นสัตว์ที่เราเคยฆ่า เห็นด้วยใจสัตว์นั้นมาไล่ชนหรือรุมล้อมทำร้ายเราให้เจ็บปวดร้องครวญครางจน ปรากฏเสียงออกมาให้คนทั้งหลายได้ยินก็มี เหมือนกับที่เราได้ทำเขาเมื่อยังมีชีวิตอยู่

คติ นิมิต ในทางที่ชั่วนั้น เช่น ปรากฏเห็นด้วยใจว่าผู้ที่ทำบาปเช่นเดียวกันกับเรานั้น ตายไปแล้วได้ทนทุกข์ทรมานด้วยอาการต่าง ๆ เช่น เห็นร่างกายของเขามีแต่โครงกระดูก หาเนื้อหนังมิได้ คนไหนมีเนื้อหนัง คนอื่นสัตว์อื่นก็มาเฉือนเนื้อหนังเอาไปบริโภคกินหมด ดังนี้เป็นต้น แต่ตัวยังไม่ตาย เมื่อคตินั้นมาปรากฏเห็นเฉพาะตนแล้ว ก็กลัวแสนกลัวหาที่สุดมิได้ กลัวตนจะไปเป็นอย่างผู้นั้น แล้วแน่ในใจที่สุดว่า ตนจะต้องไปเป็นอย่างนั้นโดยเหตุมีอันบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น

กรรม นิมิต คตินิมิต ของความดีนั้นตรงกันข้าม บุคคลผู้ทำความดีไว้ในเมื่อมีชีวิตอยู่เป็นต้นว่า เคยได้ไปทอดผ้าป่ามหากฐิน และสิ่งอื่น ๆ อะไรก็ตาม เมื่อจวนจะตายไม่มีสติแล้ว กรรมนิมิตและคตินิมิตจะมาปรากฏเช่นเดียวกับกรรมชั่ว แต่กรรมดีมันให้เพลิดเพลินเจริญใจ เป็นต้นว่า ไทยทานที่ตนทำไปแล้วเมื่อยังมีชีวิตอยู่ แม้มีปริมาณเล็กน้อย แต่มีกรรมนิมิต คตินิมิต ที่ปรากฏเห็นเป็นของมาก มากจนเหลือที่เราจะพรรณนาได้ครบถ้วนเมื่อเห็นนั้นแล้วก็อยากได้ แล้วก็มีหวังจะได้ในวันหนึ่งข้างหน้า โดยมีสิ่งบันดาลให้ได้จริง ๆ

บาง คนบอกว่า เมื่อเราจะตายต้องรักษาสติไว้ ไม่คิดถึงกรรมชั่ว ความข้อนั้นเป็นความประมาทของเขาเองเขาคิดเดาเอาเฉย ๆ มันจะรักษาได้อย่างไรในเมื่อมันไม่มีสติ มีกรรมนิมิต เป็นเครื่องชักจูงให้เป็นไปเอง ในการที่ปล่อยให้เป็นเอง ไม่สามารถจะกลับคืนมาแก้ตัวอีกได้ฉะนั้น ทำเสียเดี๋ยวนี้ตั้งแต่เป็นมนุษย์อยู่ และเมื่อถึงคราวจะตายนั้นแล้ว มันเป็นเองหรอก ทำดีมาก ทำชั่วมาก มันก็เป็นไปตามเรื่องที่ทำเอาไว้ มันเป็นเอง เกิดเองของมันต่างหาก

คนเราตายจริง ๆ เมื่อไม่มีลมแล้ว แต่ลมกับใจมันคนละอันกัน ที่แพทย์เรียกว่า “ โคม่า” นั้น มันถึงที่สุดของชีวิตในตอนนั้นแล้ว แต่ยังไม่สิ้นไปที่เกิดของลมในทางศาสนาท่านกล่าวไว้ว่า ลมเกิดจากสวาบ คือ กะบังลม กะบังลมมันวูบ ๆ วาบ ๆ อยู่อย่างนั้น มันเป็นเหตุให้เกิดลม มันทำให้เกิดความอบอุ่น เมื่อมันมีความอบอุ่นมันก็ไหวตัววูบ ๆ วาบ ๆ เมื่อลมยังมีอยู่ แต่จิตมันจากร่างไปแล้ว มันจะไปเกิดที่ไหนก็เป็นไปแล้ว ไปพร้อมด้วยกรรมนิมิต คตินิมิตนั้น ไม่มีหลงเหลืออยู่อีก มีแต่ร่าง

ถ้า ไม่มีกรรมนิมิต คตินิมิต บางทีมันฟื้นขึ้นมาอีกเพราะลมยังไม่หมด วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เขาเอาออกซิเจนเข้าช่วย ออกซิเจนก็ช่วยได้แต่ลมเท่านั้น แต่จิตมันเคลื่อนแล้ว มันจะไปไหนมันก็ไปตามเรื่องของมัน

เรื่อ งมรณสติ เป็นของสำคัญที่สุด เพราะเราทุกคนยังไม่เคยตาย เป็นแต่อนุมานเอา เมื่อพิจารณาแล้วเกิดความสลดสังเวช จิตมันก็แน่วแน่อยู่ในที่เดียวนั่นแหละจึงให้พิจารณามรณสติจะได้ประโยชน์ เห็นชัดตามความเป็นจริง หัดให้มันชำนิชำนาญ แต่ถึงขนาดนั้นแล้ว เวลาจะตายจริงๆ ไม่ทราบว่าจะตั้งสติให้มั่นคงได้หรือเปล่า



อ้างอิง
จากหนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 4 ฉบับ 43
ที่มา http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=21323



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2010, 04:15:24 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ