ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อนุสสติ ๑๐ : พุทธานุสสติกถา  (อ่าน 632 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อนุสสติ ๑๐ : พุทธานุสสติกถา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2023, 11:48:34 am »
0



อนุสสติ ๑๐ ประการ

(๑๒๓) ก็แหละ นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายในอนุสสติ ๑๐ ประการ ที่ทรงแสดงไว้ในลำดับแห่งอสุภกัมมัฏฐาน ดังต่อไปนี้ :-

     สตินั่นเอง ชื่อว่า อนุสสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ อีกอย่างหนึ่ง สติอันสมควร แก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานอันควรจะเป็นไป แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนุสสติ

    ๑. ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ คำนี้ เป็นชื่อของสติอันมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์

    ๒. ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธัมมานุสสติ คำนี้ เป็นชื่อของสติอันมีพระธรรมคุณเป็นอารมณ์ มีความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น

    ๓. ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสสติ คำนี้เป็น ชื่อของสติอันมีพระสังฆคุณเป็นอารมณ์ มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น

    ๔. ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่า สีลานุสสติ คำนี้เป็นชื่อ ของสติอันมีคุณแห่งศีลเป็นอารมณ์ มีความเป็นของไม่ขาดเป็นต้น

    ๕. ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้นปรารภการบริจาค ชื่อว่า จาคานุสสติ คำนี้ เป็นชื่อของสติอันมีคุณแห่งการบริจาคเปินอารมณ์ มีความเป็นผู้เสียสละอย่างเด็ดขาดเป็นต้น

    ๖. ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า เทวตานุสสติ คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีคุณ คือ ศรัทธาเป็นต้นของตน โดยตั้งเทวดาทั้งหลายไว้ในฐานเป็นพยานเป็นอารมณ์

    ๗. ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้นปรารภมรณะ ชื่อว่า มรณานุสสติ คำนี้เป็น ชื่อของสติ อันมีความขาดแห่งอินทรีย์คือ ชีวิตเป็นอารมณ์

    ๘. สติอันนึกถึงซึ่งรูปกายอันต่างด้วยผมเป็นต้น หรือสติอันนึกไปในกาย ชื่อว่า กายคตาสติ นั้นด้วย นึกถึงซึ่งรูปกายหรือนึกไปในกายด้วยชื่อว่า กายคตาสติ แทนที่ จะกล่าวว่า กายคตสติ กล่าวเสียว่า กายคตาสติ เพราะไม่ทำรัสสะ คำนี้เป็นชื่อ ของสติอันมีนิมิต คือชิ้นส่วนของกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์

    ๙. ความระลึกเกิดขึ้น ปรารภลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ชื่อว่า อานาปานสติ คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีนิมิตคือลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นอารมณ์

  ๑๐. ความระลึกเนือง ๆ เกิดขึ้น ปรารภความสงบ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ คำนี้ เป็นชื่อของสติอันมีนิพพานอันเป็นที่สงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์






พุทธานุสสติกถา : วิธีเจริญพุทธานุสสติกัมมัฏฐาน

(๑๒๔) ในอนุสสติ ๑๐ ประการนี้ อันโยคีบุคคลผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อย่างไม่หวั่นไหว มีความประสงค์เพื่อที่จะเจริญพุทธานุสสติเป็นประการแรก จึงไป ณ ที่อันสงัด หลีกเร้นอยู่ ณ เสนาสนะอันสมควร แล้วพึงระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเนือง ๆ โดยนัยที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า :-

     พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
     ๑. อิติปิ อรหํ เป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้
     ๒. อิติปิ สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แม้เพราะเหตุนี้
     ๓. อิติปิ วิชชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ แม้เพราะเหตุนี้
     ๔. อิติปิ สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดี แม้เพราะเหตุนี้
     ๕. อิติปิ โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก แม้เพราะเหตุนี้
     ๖. อิติปิ อนุตฺตโร ปุริสทมุมสารถิ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ชั้นยอดเยี่ยม แม้เพราะเหตุนี้
     ๗. อิติปิ สตฺถา เทวมนุสสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แม้เพราะเหตุนี้
     ๘. อิติปิ พุทโธ ทรงเป็นพุทธ แม้เพราะเหตุนี้
     ๙. อิติปิ ภควา ทรงเป็นภควา แม้เพราะเหตุนี้
         ด้วยประการฉะนี้

อนุสสรณนัย

นัยสำหรับระลึกเนือง ๆ ในพระพุทธคุณเหล่านั้น ดังนี้ คือ โยคีบุคคลย่อมระลึก เนือง ๆ ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แม้เพราะเหตุนี้ ฯลฯ ทรงเป็นภควา แม้เพราะเหตุนี้ (อธิบายว่า ให้ยกเอา คำว่า อิติปิ แปลว่า แม้เพราะเหตุนี้ มาประกอบเข้ากับ พุทธคุณทั้ง ๙ บท)

@@@@@@@

๑. อธิบายบท อรหํ

(๑๒๕) ในพระพุทธคุณ ๙ นั้น โยคีบุคคลย่อมระลึกเนือง ๆ ว่า พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้นทรงได้พระนามว่า พระอรหํ เป็นประการแรก เพราะเหตุเหล่านี้ คือ

เพราะเป็นผู้ไกล ๑
เพราะเป็นผู้กำจัดอริทั้งหลาย ๑
เพราะเป็นผู้หักซึ่งกำทั้งหลาย ๑
เพราะเป็นผู้ควรแก่ไทยธรรมทั้งหลายมีปัจจัยเป็นต้น ๑
เพราะเป็นผู้ไม่มีที่ลับในการกระทำบาป ๑

(๑) ข้อว่า เป็นผู้ไกล

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไกล คือทรงดำรงอยู่ในที่ไกล แสนไกลจากสรรพกิเลสทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ทรงกำจัดเสียแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลาย พร้อมทั้งวาสนาด้วยพระอริยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงทรงได้พระนามว่า อรหํ เพราะเหตุเป็นผู้ไกล

_____________________________
๑ ดูเทียบ องฺ. ฉกก. (ไทย) ๒๒/๑๐/๔๒๑

พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดไม่ทรงประกอบด้วยกิเลสอันใด และไม่ทรงประกอบด้วยโทษสิ่งใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระนาถะของโลก เป็นผู้ไกลจากกิเลสและโทษเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงทรงปรากฏพระนามว่า อรหํ

(๒) ข้อว่า เป็นผู้กำจัดอริทั้งหลาย

(๑๒๖] อนึ่ง อริ คือกิเลสทั้งหลายเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงกำจัดแล้วด้วยพระอริยมรรค เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะเหตุเป็นผู้กำจัดซึ่งอริทั้งหลาย
แม้เพราะเหตุที่อริทั้งหลาย อันได้แก่กิเลสมีราคะ เป็นต้น แม้ทุก ๆ อย่างอันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระ นาถะของโลก ทรงกำจัดแล้วด้วยศาสตรา คือ พระปัญญา ฉะนั้น พระองค์จึงทรงปรากฏพระนามว่า อรหํ ฉะนี้

(๓) ข้อว่า เป็นผู้หักซึ่งกำทั้งหลาย

(๑๒๗) อนึ่ง สังสารจักรนี้ใด มี ‘ดุม’ สำเร็จด้วยอวิชชาและภวตัณหา มี ‘กำ’ สำเร็จด้วยอภิสังขารมีปุญญาภิสังขาร เป็นต้น มี ‘กง’ สำเร็จด้วยชราและมรณะ เอา ‘เพลา’ อันสำเร็จด้วยอาสวะและสมุทัยสอดเข้าแล้ว ประกอบเข้าใน ‘ตัวรถ’ คือ ภพ ทั้งสาม แล่นไปตลอดกาลไม่มีเบื้องต้นและที่สุด

กำทั้งหลายแห่งสังสารจักรนั้นทุก ๆ ที่ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง ประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี ศีล ด้วยพระบาททั้ง ๒ คือ วิริยะ ณ ดวงพระศรีมหาโพธิ์ ทรงจับขวัญ คือ พระพุทธญาณอันทำให้สิ้นสูญ ทรงหักแล้ว เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะเหตุที่ทรงหักซึ่งกำทั้งหลาย

(๑๒๘) อีกประการหนึ่ง สังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุด รู้ไม่ได้ เรียกว่า สังสารจักร แหละ สังสารจักรนั้น มีอวิชชาเป็นดุม เพราะเป็นมูลเหตุ ชราและมรณะ เป็นกง เพราะเป็นปลายเหตุ ปฏิจจสมุปบาทธรรมที่เหลือ ๑๐ ประการเป็น เพลา มีอวิชชาเป็นมูลเหตุ และเพราะมีชราและมรณะเป็นปลายเหตุ

ในบรรดาปฏิจจสมุปบาทธรรมเหล่านั้น ความไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา แหละอวิชชาในกามภพเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในกามภพ อวิชชาในรูปภพเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในรูปภพ อวิชชาในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายในอรูปภพ สังขารทั้งหลายในกามภพเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิวิญญาณในกามภพ

ในภพ ๒ นอกนี้ก็มีนัยเช่นนี้ ปฏิสนธิวิญญาณ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่นามรูปในกามภาพ ในรูปภพเหมือนกัน ส่วนในรูปภพ ปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามอย่างเดียว

นามรูปในกามภพเป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๖ ในกามภพ
นามรูปในรูปภพเป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๖ ในรูปภพ
อายตนะ ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๖ ในกามภพ
อายตนะ ๓ ในรูปภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๓ ในรูปภพ
อายตนะ ๑ ในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ๑ ในอรูปภพ
ผัสสะ ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๖ ในกามภพ
ผัสสะ ๓ ในรูปภพเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๓ ในรูปภพ
นั่นแหละ เวทนา ๖ ในกามภพเป็นปัจจัยแก่กองตัณหา ๖ ในกามภพ
เวทนา ๓ ในรูปภพเป็นปัจจัยแก่กองตัณหา ๓ ในรูปภพนั้น
นั่นแหละ เวทนา ๑ ในอรูปภาพ เป็นปัจจัยแก่กองตัณหา ๑ ในอรูปภพ
ตัณหานั้น ๆ ในภพนั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่ อุปาทานนั้น ๆ
ธรรมทั้งหลายมี อุปาทาน เป็นต้น เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายมี ภพ เป็นต้น

ถาม :  ข้อนี้ อย่างไร.?
ตอบ : บุคคลบางคนในโลกนี้คิดว่า เราจักบริโภคกามคุณทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ก็ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ เพราะมีกามุปาทานเป็นปัจจัย
     เขาย่อมบังเกิดในอบาย เพราะความบริบูรณ์แห่งทุจริต
     กรรมอันเป็นเหตุให้บังเกิดในอบายนั้นของบุคคลนั้นเป็น กรรมภพ
     ขันธ์ทั้งหลายที่บังเกิด เพราะกรรมเป็น อุปปัตติภพ
     ความบังเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ชาติ
     ความแก่หง่อมแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ชรา
     ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น มรณะ

อีกบุคคลหนึ่งปรารถนาว่า เราจักเสวยสวรรค์สมบัติ ดังนี้แล้ว จึงประพฤติ สุจริตเหมือนอย่างนั้นนั่นแล เขาย่อมบังเกิดในสวรรค์เพราะความบริบูรณ์แห่งสุจริต ค่าว่ากรรมอันเป็นเหตุให้บังเกิดในสวรรค์นั้นแห่งบุคคลนั้นเป็น กรรมภพ เป็นต้น ก็นัยเดียวกัน นั่นเทียว

อนึ่ง อีกบุคคลหนึ่งปรารถนาว่า เราจัดเสวยสมบัติในพรหมโลก ดังนี้แล้ว เจริญเมตตากัมมัฏฐาน เจริญกรุณากัมมัฏฐาน เจริญมุทิตากัมมัฏฐาน เจริญ อุเบกขากัมมัฏฐาน เขาย่อมไปบังเกิดในพรหมโลก เพราะความบริบูรณ์แห่งการเจริญกัมมัฏฐาน ค่าว่ากรรมอันเป็นเหตุให้บังเกิดในพรหมโลกนั้นของบุคคลนั้น กรรมภพ เป็นต้น ก็นัยเดียวกัน นั่นแล

อีกบุคคลหนึ่งปรารถนาว่า เราจักเสวยสมบัติในอรูปภพ ดังนี้แล้วก็เจริญสมาบัติทั้งหลาย มีอากาสานัญจายตนสมาบัติเป็นต้น เหมือนอย่างนั้น นั่นแล เขาย่อมไปบังเกิดในอรูปภพนั้น ๆ เพราะความบริบูรณ์แห่งการเจริญสมาบัติ
     กรรมอันเป็นเหตุให้บังเกิดในอรูปภพนั้นของบุคคลนั้นเป็น กรรมภพ
     ขันธ์ทั้งหลายบังเกิด เพราะกรรมเป็น อุปปัตติภพ
     ความบังเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ชาติ
     ความ แก่หง่อมแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น ชรา
     ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็น มรณะ ฉะนี้
     แม้ในการประกอบความทั้งหลาย ซึ่งมีอุปาทานที่เหลือเป็นมูล ก็นัยเดียวกันนี้

ความรู้ในการกำหนดปัจจัยอย่างนี้ว่า อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผลเกิด แต่เหตุ แม้อวิชชาและสังขารทั้ง ๒ นั้นก็เป็นผลเกิดแต่เหตุ นี้เป็น ธรรมฐิติญาณ ความรู้ในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผลเกิดแต่เหตุ แม้อวิชชาและสังขารทั้ง ๒ นั้น ก็เป็นผลเกิดแต่เหตุ ทั้งในกาลเป็นอดีต ทั้งในการเป็นอนาคต เป็นธรรมฐิติญาณ นักศึกษาพึงทำทุก ๆ บทให้พิสดารโดยนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้ นั่นเทียว

     ในบรรดาธรรมเหล่านั้น อวิชชากับสังขาร จัดเป็นสังเขป อัน ๑
     วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา จัดเป็นสังเขป อัน ๑
     ตัณหา อุปาทาน และภพ จัดเป็นสังเขป อัน ๑
     ชาติ ชราและมรณะ จัดเป็นสังเขป อัน ๑

     แหละ ในสังเขปเหล่านั้น สังเขปต้นจัดเป็น อดีตอัทธา (อดีตกาล)
     ๒ สังเขปกลางจัดเป็น ปัจจุบันอัทธา (ปัจจุบันกาล)
     ชาติ ชราและมรณะ จัดเป็น อนาคตอัทธา (อนาคตกาล)

    อนึ่ง ในบรรดาธรรมเหล่านั้น
    โดยที่ถือเอาอวิชชาและสังขาร ทีเป็นอันถือเอาตัณหา อุปาทานและภพด้วย
    ดังนั้น ธรรม ๕ อย่างนี้ จัดเป็นกรรมวัฏในอดีต
    ธรรม ๕ มีวิญญาณเป็นต้น จัดเป็นวิปากวัฏในปัจจุบัน
    โดยที่ถือเอา ตัณหา อุปาทานและภพ ก็เป็นอันถือเอา วิชชาและสังขารด้วย
    ดังนั้น ธรรม ๕ อย่างนี้ จัดเป็น กรรมวัฏในปัจจุบัน เพราะเหตุ ธรรม ๕ มีวิญญาณเป็นต้น

ท่านแสดงไว้โดยอ้างเอาชาติ ชราและมรณะ ธรรม ๕ เหล่านี้จัดเป็น วิปากวัฏในอนาคต ธรรมเหล่านั้นโดยอาการจึงเป็น ๒๐
     อนึ่งในบรรดาธรรมเหล่านั้นระหว่าง สังขารกับวิญญาณจัดเป็น สนธิ อัน ๑
     ระหว่างเวทนากับตัณหาจัดเป็น สนธิ อัน ๑
     ระหว่างภพกับชาติจัดเป็น สนธิ อัน ๑

พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ทรงเห็น ทรงรู้ ทรงแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาทธรรม อันมีสังเขป ๔ อัทธา ๓ อาคาร ๒๐ สนธิ ๓ ด้วยประการฉะนี้

ความรู้นั้น ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้โดย ประการต่าง ๆ ด้วยเหตุนั้น ความรู้ในการ กำหนดปัจจัย ท่านจึงเรียกว่า ธรรมฐิติญาณ พระผู้มีพระภาคครั้นทรงรู้ธรรมเหล่านั้นด้วยธรรมฐิติญาณ ตามความเป็นจริงแล้ว ทรงเบื่อหน่ายในธรรมเหล่านั้น คือ ทรงสำรอก ทรงหลุดพ้น ชื่อว่า ทรงหัก คือ ทรงรื้อ ทรงทำลายซึ่งกำทั้งหลายแห่งสังสารจักร อันมีประการดังกล่าวมาแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า พระอรหํ เพราะทรงหักกำแห่งสังสารจักรทั้งหลาย แม้ด้วยประการอย่างนี้

เพราะเหตุที่กำทั้งหลายแห่งสังสารจักรอันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นนาถะของโลก ทรงทำลายมาด้วยดาบ คือ พระญาณ ฉะนั้น พระองค์จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า พระอรหํ

(๔) ข้อว่า เป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น

(๑๒๙) อนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมควรซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวร เป็นต้น และ ควรซึ่งการบูชาชั้นพิเศษ เพราะพระองค์ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นยอด

     แหละ เพราะเหตุนั้นนั่นแล เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ชั้นมเหศักดิ์เหล่าหนึ่งเหล่าใดนั้นย่อมไม่ทำการบูชา ณ ที่อื่น ๆ เป็นความจริง ท้าวสหัมบดีพรหมได้บูชาพระตถาคตเจ้า ด้วยพวงแก้วขนาดเท่าเขาสิเนรุ
     แหละเทวดา ทั้งหลายชั้นอื่น ๆ และมนุษย์ทั้งหลาย มีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น ก็ได้ทรงบูชาตามควรแก่กำลัง

อนึ่ง แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชก็ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์จำนวน ๙๖ โกฏิ สร้างพระอาราม อุทิศไว้ในชมพูทวีปทั่วไปถึง ๘๔,๐๐๐ แห่ง ไม่ต้องพูดถึงการบูชาชั้นพิเศษอื่น ๆ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงพระนามว่า พระอรหํ แม้เพราะเหตุที่ทรงเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น

เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเป็นนาถะของโลก พระองค์นี้ย่อมสมควรซึ่งการบูชาชั้นพิเศษพร้อมทั้งปัจจัย ทั้งหลาย ฉะนั้น พระองค์ผู้เป็นพระชินเจ้า จึงทรงสมควร ต่อพระนามอันนี้ คือ พระอรหํ ในโลก ซึ่งเป็นพระนามที่ สมควรแก่ความหมาย

(๕) ข้อว่า ไม่มีที่ลับในการทำบาป

[๑๓๐] อนึ่ง พวกคนพาลแต่สำคัญตนว่า เป็นบัณฑิตจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลก ย่อมทำบาปในที่ลับ เพราะกลัวเสียชื่อเสียง ฉันใด พระผู้มีพระภาคนั้นย่อมไม่ทรง กระทำเหมือนอย่างนั้น ในกาลไหน ๆ ฉะนั้น พระองค์จึงทรงได้พระนามว่า พระอรหํ แม้เพราะเหตุไม่มีที่ลับในการทำบาป

เพราะเหตุที่ขึ้นชื่อว่าที่ลับในการทำบาปทั้งหลายย่อม ไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคผู้คงที่ ฉะนั้น พระองค์จึงทรง ปรากฏพระนามว่า พระอรหํ เพราะไม่มีที่ลับนั้น

     พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมุนีพระองค์นั้น
     เพราะเหตุ เป็นผู้ไกล ๑
     เพราะเหตุ เป็นผู้กำจัดอริ คือ กิเลสทั้งหลาย ๑
     เป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร ๑
     เป็นผู้ควรแก่ไทยธรรมทั้งหลาย มีปัจจัยเป็นต้น ๑
     ไม่ทรงกระทำบาปทั้งหลายในที่ลับ ๑
     บัณฑิตจึงถวายพระนามว่า พระอรหํ คือ เป็น พระอรหันต์ เพราะเหตุนั่น



๒. อธิบายบท สมมาสมฺพุทโธ

(๑๓๑) ก็แหละ พระผู้มีพระภาคทางได้พระนามว่า สมฺมาสมฺพุทโธ เพราะเหตุ ที่เป็นผู้ตรัสรู้สรรพธรรมทั้งหลายโดยชอบด้วย ด้วยพระองค์เองด้วย เป็นความจริง อย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้สรรพธรรมทั้งหลาย โดยชอบด้วย ด้วยพระองค์เองด้วย คือ
ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง โดยความเป็นธรรมอันควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้ โดยความเป็นธรรมอันควรกำหนดรู้
ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายอันควรละ โดยความเป็นธรรมอันควรละ
ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายอันควรทําให้แจ้ง โดยความเป็นธรรมอันควรทำให้แจ้ง
ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายอันควรเจริญ โดยความเป็นธรรมอันควรเจริญ

แหละด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ว่า :-

สิ่งที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เราได้รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง สิ่งที่ควรละเราได้ละแล้ว สิ่งที่ควรทำให้แจ้ง เราได้ทำให้แจ้งแล้ว และสิ่งที่ควรเจริญเราได้เจริญแล้ว พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้ตรัสรู้ (๑)

(๑๓๒) อีกประการหนึ่ง จักษุเป็นทุกขสัจ ตัณหาเก่าอันเป็นสมุฏฐาน โดยความเป็นมูลเหตุแห่งจักษุนั้นเป็นสมุทยสัจ ความไม่ดำเนินไปแห่งจักษุและตัณหาทั้งสองเป็นนิโรธสัจ ปฏิปทาที่เป็นเหตุรู้นิโรธเป็นมัคคสัจ พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้สรรพธรรมทั้งหลายโดยชอบด้วย ด้วยพระองค์เองด้วย แม้โดยการยกขึ้นทีละบท ๆ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ แม้ในโสตะ ฆานะ ชิวหา กายและมโนทั้งหลาย ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้

อายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น กองแห่งวิญญาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ผัสสะ ๖  มีจักขุสัมผัสเป็นต้น เวทนา ๖ มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น สัญญา ๖ มีจักขุ สัญญาเป็นต้น เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น กองแห่งตัณหา ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจารเป็นต้น

ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น กสิณ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ สัญญา ๑๐ ด้วยอํานาจแห่งอุทธมาตกสัญญาเป็นต้น อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อัปปมัญญา ๔ มีเมตตาภาวนา เป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ และ องค์แห่งปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมมีชาติและชรา เป็นต้น โดยอนุโลมมีอวิชชาเป็นต้น นักศึกษา พึงประกอบเข้า โดยนัยนี้นั่นแล

______________________________________________
(๑ ) ดูเทียบ ม. ม. (ไทย) ๑๓/๓๙๙/๔๙๗, ขุ. ส. (ไทย) ๒๕/๕๖๔/๖๓๗

การประกอบความบทหนึ่งในธรรมเหล่านั้น (มีตัวอย่าง) ดังต่อไปนี้ คือ ชรา และมรณะ เป็นทุกขสัจ ชาติ เป็นสมุทยสัจ ความสลัดออก ซึ่งทุกขสัจและสมุทยสัจ แม้ทั้ง ๒ เป็นนิโรธสัจ ปฏิปทาเป็นเหตุรู้แจ้งซึ่งนิโรธสัจ เป็นมัคคสัจ พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ ทรงรู้โดยอนุโลม ทรงรู้โดยปฏิโลม ซึ่งสรรพธรรมทั้งหลายโดยการยกขึ้นทีละบท ๆ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ก็แหละ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ เพราะเหตุที่เป็นผู้ตรัสรู้สรรพธรรมทั้งหลายโดยชอบด้วย ด้วยพระองค์เองด้วย ฉะนี้

@@@@@@@

๓. อธิบายบท วิชชาจรณสมฺปนฺโน

(๑๓๓) ก็แหละ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า วิชชาจรณสมฺปนฺโน เพราะเหตุที่พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาทั้งหลายด้วย ด้วยจรณะด้วย ใน ๒ ประการนี้ วิชชา ๓ ก็ดี วิชชา ๘ ก็ดี ชื่อว่า วิชชา ,  วิชชา ๓ นักศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในภยภรวสูตร(๑)  วิชชา ๘ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในอัมพัฏฐสูตร(๒) นั่นเถิด

จริงอยู่ ในอัมพัฏฐสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสวิชชา ๘ โดยกำหนดเอาอภิญญา ๖ บวกด้วยวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ ธรรม ๑๕ ประการ คือ
     - สีลสังวร ๑
     - ความรักษาทวารที่อินทรีย์หก ๑
     - ความรู้จักประมาณในโภชนะ ๑
     - การประกอบความเพียร ๑
     - สัทธรรมเจ็ด(๓) ๑
     - รูปาวจรฌานสี่ ๑

พึงทราบว่า จรณะ จริงอยู่ ธรรม ๑๕ ประการ นี้เท่านั้น ตรัสว่าเป็นจรณะ เพราะเหตุที่เป็นทางดำเนินไปสู่ทิศอมตะของพระอริยสาวก สมดังที่ตรัสไว้ว่า มหานามะ อริยสาวกในศาสนานี้ย่อมเป็นผู้มีศีล ดังนี้ เป็นอาทิ คำทั้งหมดทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในมัชฌิมปัณณาสก นั่นเถิด(๔)

พระผู้มีพระภาค ทรงประกอบแล้ว ด้วยวิชชา ๘ นี้ และจรณะนี้ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงทางใต้พระนามว่า ชาจนชันปันโน

________________________________
(๑) ดูเทียบ ม. ม. (ไทย) ๑๒/๕๒-๕๔/๔๑-๔๓
(๒) ดูเทียบ ที. ส. (ไทย) ๙/๒๗๙/๑๐๐-๑๐๑
(๓) สัทธรรม ๗ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วีริยะ สติ ปัญญา
(๔) ดูเทียบ ม. ม. (ไทย) ๑๓/๒๔/๒๖

ในสมบัติ ๒ ประการนั้น วิชชาสมบัติ ยังความเป็นพระสัพพัญญูของพระผู้มีพระภาคให้บริบูรณ์ จรณสมบัติยังความเป็นผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระผู้มีพระภาคให้บริบูรณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงทราบสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ของสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงชักนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทรงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ด้วยความเป็นผู้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา เหมือนดั่งศาสดาอื่นๆที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระสาวกทั้งหลายของพระองค์จึงเป็นผู้ปฏิบัติดี ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชั่ว เหมือนอย่างพวกสาวกของศาสดาทั้งหลายผู้มีวิชชาและจรณะวิบัติ ซึ่งมีแต่ทำตนให้เดือดร้อน เป็นต้น

@@@@@@@

๔. อธิบายบท สุคโต

(๑๓๔) พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า สุคโต เพราะมีการทรงดำเนินไปงามอย่างหนึ่ง เพราะเสด็จไปสู่ฐานะอันดีอย่างหนึ่ง เพราะเสด็จไปโดยชอบอย่างหนึ่ง เพราะตรัสโดยชอบอย่างหนึ่ง

จริงอยู่ แม้การดำเนินไป ท่านเรียกว่า คตะ แหละการดำเนินไปนั้นของพระผู้มีพระภาคเป็นการงาม คือ บริสุทธิ์ หาโทษมิได้

ก็แหละ การดำเนินไปงามนั้น ได้แก่ อะไร.?

(๑) ข้อว่า ทรงดำเนินไปงาม ได้แก่อริยมรรค จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคนั้น เสด็จไปไม่ละทิศอันเกษม ด้วยการดำเนินไปนั้น จึงทรงได้พระนามว่า สุดโต เพราะมีการดำเนินไปงาม ด้วยประการฉะนี้

(๒) ข้อว่า เสด็จไปสู่ฐานะอันดี พระผู้มีพระภาคเสด็จไปสู่ฐานะอันดี คือ พระนิพพานอันเป็นอมตะ ดังนั้น จึงทรงได้พระนามว่า สุดโต แม้เสด็จไปสู่ฐานะอันดี

(๓) ข้อว่า เสด็จไปโดยชอบ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคนั้น เสด็จไปโดยชอบ คือไม่เสด็จกลับมาสู่กิเลสทั้งหลาย ที่ทรงละแล้วด้วยมรรคนั้น ๆ อีก สมดังคำที่พระสารีปุตตเถระกล่าวไว้ว่า กิเลสเหล่าใด ที่ทรงละแล้วด้วยโสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคไม่มา ไม่คืนมา ไม่กลับมาสู่กิเลส เหล่านั้นอีก ดังนั้น จึงทรงได้พระนามว่า สุคโต ฯลฯ กิเลสเหล่าใดที่ทรงละแล้ว ด้วยอรหัตมรรค พระผู้มีพระภาคไม่มา ไม่คืนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก ดังนั้น จึงทรงได้พระนามว่า สุคโต(๑)

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จไปโดยชอบ คือ ทรงทำแต่ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่โลกทั้งปวง ด้วยพระสัมมาปฏิบัติ โดยทรงบำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ทัศ นับจำเดิมแต่บาทมูลแห่งพระทีปังกรพุทธเจ้า ตราบเท่าถึงประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่ง พระโพธิญาณ คือ เสด็จไปอย่างไม่เข้าไปสู่ริมทางเหล่านี้ คือ สัสสตทิฏฐิ ๑ อุจเฉททิฏฐิ ๑ กามสุขัลลิกานุโยค ๑ อัตตกิลมถานุโยค ๑ จึงทรงได้พระนามว่า สุคโต แม้เพราะเสด็จไปโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

(๔) ข้อว่า ตรัสโดยชอบ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคนั้น ย่อมตรัสโดยชอบ คือตรัสแต่พระวาจาที่สมควร ในฐานะอันสมควร จึงทรงได้พระนามว่า สุคโต แม้เพราะตรัสโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ในอธิการนี้มีสูตรสาธกดังต่อไปนี้ คือ :-

    ตถาคตรู้วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่เจริญใจของคน อื่น ๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
    ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริงของแท้ แต่ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่เจริญใจของ คนอื่น ๆ แม้วาจา ตถาคตก็ไม่ตรัส

___________________________
(๑) ดูเทียบ ขุ. ม. (ไทย) ๒๙/๓๘/๑๓๘-๑๓๙

    อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที เจริญใจของคนอื่น ๆ ใน ตถาคตย่อมรู้จักกาลในอัน ทีจะใช้วาจานั้น
    ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ และวางนั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของคนอื่น ๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจา น
    ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริงของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ ของคนอื่น ๆ แม้วาจานั้น ตถาคตก็ไม่ตรัส
    อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ ประกอบ ด้วยประโยชน์ ทั้งวาจานั้นเป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของคน อื่น ๆ ข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลในอันที่จะใช้วาจานั้น (๑)

นักศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนาม สุดโต แม้เพราะตรัส โดยรอบ ด้วยประการดังพรรณนามา


_______________________
(๑) ดูเทียบ ม. ม. (ไทย) ๑๓/๘๖/๘๘

(ยังมีต่อ)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อนุสสติ ๑๐ : พุทธานุสสติกถา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2023, 02:55:35 pm »
0



๕. อธิบายบท โลกวิทู

(๑๓๕) ก็แหละ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า โลกวิทู เพราะเป็นผู้ทรง รู้แจ้งโลก แม้โดยทุก ๆ ประการ เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงรู้แจ้ง ทรงเข้าพระทัยทรงทะลุปรุโปร่ง ซึ่งโลกโดยทุก ๆ ประการ คือ โดยสภาวะ ได้แก่ ความเป็นจริง โดยสมุทัย ได้แก่เหตุเป็นแดนเกิด โดยนิโรธ ได้แก่ความดับ โดย นิโรธุบาย ได้แก่อุบายบรรลุถึงซึ่งความดับ

     เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
     อาวุโส ณ ที่สุดของโลกใดแล สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ณ ที่สุดของโลกนั้น เราไม่กล่าวว่า เป็นสิ่งที่จะพึงรู้พึงเห็น พึงบรรลุถึงด้วยการเดินไป
     อาวุโส แหละ ครั้นยังไม่ได้บรรลุถึงซึ่งที่สุดของโลก เราไม่กล่าวว่า ได้ทำถึงซึ่งที่สุดของทุกข์
     อาวุโส ก็แต่ว่า เราบัญญัติเอาโลก ความเกิดขึ้นแห่งโลก ความดับแห่งโลก และปฏิปทาอันส่งให้ถึงซึ่งความดับแห่งโลก ตรงที่กเฬวรากอันยาวประมาณวา ซึ่งมีสัญญามีใจครองนี้นั่นเทียว

     ในกาลไหนๆ บุคคลไม่พึงบรรลุถึงซึ่งที่สุดของโลก ด้วยการเดินไป อนึ่ง ครั้นยังไม่บรรลุถึงซึ่งที่สุดของโลก ที่ จะพ้นจากทุกข์หามีไม่
     เพราะเหตุฉะนั้น แหละ ท่านผู้มีปัญญาหลักแหลม รู้แจ้งโลก ถึงซึ่งที่สุดของโลก อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว สงบแล้ว รู้ที่สุดของโลกแล้ว จึงไม่ปรารถนาซึ่งโลกนี้และโลกหน้า (๑)

(๑๓๖) อีกนัยหนึ่ง โลกมี ๓ อย่าง คือ สังขารโลก ๑ สัตวโลก ๑ โอกาสโลก ๑ , ในโลก ๓ นั้น

     - สังขารโลก นักศึกษาจึงทราบในอาคตสถานว่า โลกหนึ่ง คือ สัตว์ ทุกจำพวกดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร(๒) 
     - สัตวโลก พึงทราบในอาคตสถาน ว่าโลกเที่ยงบ้าง ว่าโลกไม่เที่ยงบ้าง (๓)
     - โอกาสโลก จึงเห็นในอาคตสถานว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนไปรอบตัว ทำทิศ ทั้งหลายให้สว่างอยู่ โดยที่มีประมาณเท่าใด โดยที่มี ประมาณเท่านั้น โลกมีจํานวนตั้ง 9,000 อํานาจของท่าน ย่อมปกแผ่ไปในโลกเหล่านั้น (๔)

_______________________________________________
(๑) ดูเทียบ องฺ. จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๔๕/๗๕, ส. ส. (ไทย) ๑๕/๑๐๗/๑๑๙
(๒) ดูเทียบ ข. ป. (ไทย) ๒๑/๑๑๒/๑๗๓
(๓) ดูเทียบ ที. สี. (ไทย) ๔/๔๒๑/๑๘๔
(๔) ดูเทียบ ม. มู. (ไทย) ๑๒/๕๐๓/๕๔๐

พระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ นั้น โดยทุก ๆ ประการ จริงอย่างนั้น แม้ สังขารโลก พระผู้มีพระภาคนั้นทรงรู้แจ้ง โดยทุก ๆ ประการอย่าง ว่า
    โลกหนึ่ง คือ สัตว์ทุกจำพวกดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร,
    โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
    โลก ๓ คือ เวทนา ๓ อย่าง,
    โลก ๔ คือ อาหาร ๔ อย่าง
    โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
    โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
    โลก ๗ คือ วิญญาณ ๗
    โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
    โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
    โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐,
    โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒,
    โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ (๑)

_______________________________
(๑) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๒๑/๑๑๒/๑๗๓-๑๗๔

อีกประการหนึ่ง โดยเหตุที่พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงทราบอาสยะ ทรงทราบ อนุสัย ทรงทราบจริต ทรงทราบอธิมุติ ของสัตว์แม้ทุกหมู่เหล่า ทรงทราบสัตว์ ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก ผู้มีอินทรีย์แก่ ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการเลว ผู้ที่จะสอนให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่จะสอนให้รู้ยาก ควรรู้ ไม่ควรรู้ ดังนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ผู้ทรงรู้แม้สัตว์โลกโดยประการทั้งปวง

(๑๓๗) ก็แหละ สัตว์โลกพระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้งด้วยประการใด แม้โอกาสโลก พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งด้วยประการนั้น จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงทราบว่า
     จักรวาลหนังโดยส่วนยาวและส่วนกว้าง ประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ โดยรอบปริมณฑลทั้งหมด ประมาณ ๓,๖๑๐,๒๕๐ โยชน์
     ในจักรวาลนั้นมีแผ่นดิน อันนี้กล่าวโดยความหนาประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์
     แผ่นดินนั้นมีน้ำตั้งอยู่บนลม รองรับไว้โดยความหนาประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์
     มีลมต้นขึ้นสู่นภากาศรองไว้โดย ความหนาประมาณ ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์
     นี้เป็นความดำรงอยู่ของโอกาสโลก

แหละ ในจักรวาลอันดำรงอยู่อย่างนี้นั้น มี ภูเขาสิเนรุ เป็นภูเขาที่สูงที่สุด หยั่งลงใน มหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น มีภูเขาใหญ่ทั้งหลาย คือ
        ๑. ภูเขายุคนธระ
        ๒. ภูเขาอิสินธระ
        ๓. ภูเขากรวีกะ
        ๔. ภูเขาสุทัสสนะ
        ๕. ภูเขาเนมินธระ
        ๖. ภูเขาวินตกะ
        ๗. ภูเขาอัสสกัณณะ
อันวิจิตรไปด้วยวัตนะนานาชนิดราวกะว่าภูเขาทิพย์ หยั่งลึกลงไปและสูงขึ้นไปโดยประมาณกึ่งหนึ่งๆ แต่ภูเขาสิเนรุนั้นตามลําดับ ภูเขาใหญ่ทั้ง ๗ นั้นอยู่โดยรอบภูเขาสิเนรุ เป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เทวดาและยักษ์อาศัยอยู่แล้ว
        (ลำดับที่ ๘) มีภูเขาหิมวา สูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด
       
มีต้นชมพู นคะ วัดโดยรอบลำต้น ๕ โยชน์ ลำต้นสูง ๕๐ โยชน์ กิ่งยาว ๕๐ โยชน์ แผ่กิ่งออกไปโดยรอบได้ ๓๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไปก็เท่านั้น ด้วยอานุภาพแห่งต้มชมพูนั้น โลกจึงประกาศว่า ชมพูทวีป

     แหละ ประมาณแห่งต้นชมพูนั้นใด ประมาณนั้น นั่นแล
     เป็นประมาณของต้นจิตรปาฏลี ของพวกอสูร
     เป็นประมาณของต้นสิมพลี ของครุฑ
     เป็นประมาณของต้นกระทุ่ม ในอปรโคยานทวีป
     เป็นประมาณของต้นกัปปพฤกษ์ ในอุตตรกุรุทวีป
     เป็นประมาณของนก ในปุพพวิเทหทวีป
     เป็นประมาณของต้นปาริจฉัตตกะ บนสวรรค์ชั้นดาวดีงส์
     ด้วยเหตุนั้นแล ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า

ต้นไม้เกิดประจำภพ คือ
     ต้นปาฏลี ๑
     ต้นสิมพลี ๑ 
     ต้นชมพู ๑
     ต้นปาริจฉัตตกะของพวกเทวดา ๑
     ต้นกระทุ่ม ๑
     ต้นกัปปพฤกษ์ เป็น ๗ ทั้งต้นซึก ๑

ภูเขาจักรวาล หยั่งลึกลงไปในมหาสมุทร ๗๐,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไปก็เท่ากันนั้น ภูเขาจักรวาลนี้ ตั้งล้อมโลกธาตุ ทั้งหมดนั่นไว้

ในโลกธาตุนั้น วงกลมแห่งพระจันทร์ ๔๙ โยชน์ วงกลมแห่งพระอาทิตย์ ๕๐ โยชน์
ภพดาวดึงส์ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ ภพอสูร อเวจีมหานรก และชมพูทวีป เหมือนกัน
อปรโคยานทวีป ๗,๐๐๐ โยชน์ ปุพพวิเทหทวีปเหมือนกัน อุตตรกุรุทวีป ๘๐,๐๐๐ โยชน์

แหละในโลกธาตุนั้น ทวีปใหญ่ทวีปหนึ่ง ๆ มีเกาะเล็กเกาะน้อยทวีปละ ๕๐๐ เกาะ สิ่งทั้งหมดแม้นั้น นับเป็นจักรวาลอันหนึ่ง นับเป็นโลกธาตุอันหนึ่ง ในระหว่าง แห่งจักรวาลเหล่านั้น มีโลกันตริกนรกอันหนึ่ง ๆ

พระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้ง ทรงทราบ ทรงทะลุปรุโปร่ง จักรวาลอันไม่มีที่สุด ซึ่งโลกธาตุยันไม่มีที่สุด ดังพรรณนามานี้ ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด แม้โอกาสโลก พระผู้มีพระภาคก็ทรงรู้แจ้งโดยทุกประการเหมือนอย่างนั้น แม้ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า โลกวิทู เพราะเป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก โดยทุก ๆ ประการ

อธิบายบท อนุตฺตโร

[๑๓๘) ก็แหละ บุคคลผู้ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคนั้นย่อมไม่มี เพราะไม่มีใคร ๆ ที่ประเสริฐกว่าพระองค์โดยคุณทั้งหลาย เป็นความจริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงครอบงำเสียซึ่งชาวโลกทั้งสิ้น

แม้ด้วยพระคุณคือ ศีล แม้ด้วยพระคุณคื อสมาธิ ปัญญา วิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผู้ไม่มีผู้เสมอ เป็นผู้ไม่มีผู้เหมือน เป็นผู้ไม่มีผู้เปรียบ เป็นผู้ไม่มีผู้ทัดเทียม เป็นผู้ไม่มีบุคคลเทียบเคียง

แม้ด้วยพระคุณ คือศีล แม้ด้วยพระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ เหมือนอย่าง ที่ตรัสไว้ว่า
   "ภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าเรามองไม่เห็นบุคคลอื่นที่สมบูรณ์ด้วยศีล ยิ่งกว่าเราตถาคต ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกพร้อมทั้งมารโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์(๑) ดังนี้เป็นต้น"
    นักศึกษาจึงกล่าวความพิสดารพระสูตรทั้งหลาย เช่น อัคคัปปสาทสูตร(๒) เป็นต้น และพระคาถาทั้งหลายเช่นพระคาถาว่า น เม อาจริโย อตฺถิ(๓) เป็นต้น นักศึกษาจึงกล่าวให้พิสดารเถิด

____________________________________________
(๑) ดูเทียบ สํ. ส. (ไทย) ๑๕/๑๗๓/๒๓๓, องฺ. จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๒๑/๓๓
(๒) ดูเทียบ องฺ. จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๓๔/๕๓-๕๕, ขุ. อิติ. (ไทย) ๒๕/๙๐/๔๖๑-๔๖
(๓) ดูเทียบ ม. ม. (ไทย) ๑๒/๒๕๕/๓๑๐, วิ. ม. (ไทย) ๔/๑๑/๑๗

อธิบายบท ปุริสทมุมสาร

(๑๓๙] พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า ปุริสทมุมสารถ เพราะอรรถ วิเคราะห์ว่า ทรงขับ อธิบายว่าทรงฝึก ทรงนำไป ซึ่งบุรุษผู้ควรฝึกทั้งหลาย บทว่า ปุริสทมุม ในคำว่า ปุริสทมุมสารถ ได้แก่ดิรัจฉานบุรุษบ้าง มนุษยบุรุษบ้าง อมนุษยบุรุษบ้าง ที่ยังไม่ได้ฝึก แต่ควรเพื่อจะฝึก

เป็นความจริง แม้ดิรัจฉาน บุรุษทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว ทรงทำให้หมดพิษสงแล้ว ทรงให้ดำรงอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลายแล้ว เช่น
     พญานาคชื่อ อปลาละ พญานาคชื่อ จูโฬทระ พญานาคชื่อ มโหทระ พญานาคชื่อ อัคคิสิขะ พญานาคชื่อ ธุมสิขะ พญานาคชื่อ อรวาฬะ และช้างชื่อ ธนปาลกะ เป็นต้น
     แม้มนุษย์บุรุษทั้งหลาย เช่น สัจจกนิคัณฐบุตร อัมพัฏฐมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โสณทันตพราหมณ์ กูฏทันตพราหมณ์ เป็นต้น
     แม้อมนุษยบุรุษทั้งหลาย เช่น อาฬวกยักษ์ ศูจิโลมยักษ์ ขรโลมยักษ์ และ ท้าวสักกเทวราช เป็นต้น ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว ทรงแนะนำแล้ว ด้วยวินโยบายทั้งหลายอันวิจิตร

อนึ่ง พระสูตรนี้ความว่า เกสี เราย่อมแนะนำบุรุษที่ควรฝึกทั้งหลาย ด้วยวิธีละเอียดบ้าง ย่อมแนะนำด้วยวิธีหยาบบ้าง ย่อมแนะนำทั้งด้วยวิธีละเอียดและวิธีหยาบบ้าง(๑) ดังนี้เป็นต้น นักศึกษาพึงยกมาบรรยายให้พิสดาร ในเรื่องฝึกบุรุษที่ควรฝึกนี้

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงสอนคุณอันอัศจรรย์ มีปฐมฌาน เป็นต้น ให้แก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายซึ่งมีศีลบริสุทธิ์แล้วเป็นต้น และทรงสอนมัคคปฏิปทา ชั้นสูงขึ้นไปให้แก่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ลำดับพระโสดาบันเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมทรงฝึก แม้ซึ่งบุคคลทั้งหลายผู้ที่ฝึกแล้วเหมือนกัน

____________________________
(๑) ดูเทียบ องฺ. จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๑๑๑/๑๗๐
(๑) ดูเทียบ ม. อุ. (ไทย) ๑๔/๓๑๒/๓๗๙

@@@@@@@

๖. อธิบายบท อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ

อีกนัยหนึ่ง บทว่า อนุตฺตโร กับบทว่า ปุริสทมฺมสารถิ นี้ เป็นบทที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั่นเทียว เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงขับบุรุษ ที่ควรฝึกทั้งหลายได้ โดยประการที่เขาทั้งหลายนั่งอยู่โดยบัลลังก์อันเดียว ให้แล่นไปสู่ทิศทั้ง ๔ ได้อย่างไม่ขัดข้อง

เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกชั้นยอดเยี่ยม

แหละ พระสูตรนี้ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึกอันนายควาญช้างฝึกแล้ว ย่อมแล่นไปได้เพียงทิศเดียวเท่านั้น ดังนี้เป็นต้น อันนักศึกษาจึงพรรณนาให้พิสดารในอธิการนี้

@@@@@@@

๗. อธิบายบท สตฺถา เทวมนุสฺสานํ

(๑๔๐] พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า สตฺถา เพราะอรรถว่า เป็นผู้ทรงสั่งสอนด้วยประโยชน์ชาตินี้ประโยชน์ชาติหน้าและปรมัตถประโยชน์ทั้งหลายอย่าง สมควรกัน อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า สตฺถา เพราะ อรรถว่า เป็นเหมือนนายกอง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำหมู่ อรรถาธิบายในอธิการนี้ นักศึกษาพึงทราบแม้ตามนัยแห่งนิเทศพระบาลี มีอาทิ ดังนี้ว่า

      นายกองเกวียน ย่อมนำหมู่เกวียนให้ข้ามพ้นกันดารไปได้ คือพาข้ามพ้นโจรกันดาร สัตว์ร้ายกันดาร ทุพภิกขภัยกันดาร และกันดารคืออดน้ำ คือพาข้ามพ้นไปให้บรรลุถึงซึ่งภูมิประเทศ อันมีความเกษมฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงเป็นนายกองทรงเป็นผู้นำหมู่ ทรงนำหมู่ สัตว์ทั้งหลายให้ข้ามกันดารไปได้ คือทรงให้ข้ามชาติกันดาร(๑) ฉันนั้น

บทว่า เทวมนุสฺสานํ แปลว่า ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คำนี้ตรัสไว้ด้วย กำหนดเอาเวไนยสัตว์ขั้นอุกฤษฎ์ และด้วยกำหนดเอาขั้นภัพพบุคคล คือ บุคคลผู้ควรตรัสรู้ แต่แท้จริงพระผู้มีพระภาคทรงเป็นศาสดา แม้ของจำพวกสัตว์ดิรัจฉานด้วย โดยทรงประทานพระอนุสาสนีให้ ฝ่ายข้างสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้น ครั้นได้สำเร็จ อุปนิสัยสมบัติด้วยการฟังพระธรรมแต่พระผู้มีพระภาคแล้ว เพราะเหตุอุปนิสัยสมบัติ นั้นนั่นแล ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งมรรคและผลในอัตภาพที่ ๒ บ้าง ในอัตภาพที่ ๓ บ้าง เป็นความจริง เรื่องนี้มีตัวอย่าง เช่น มัณฑกเทพบุตร เป็นต้น

_______________________________
(๑) ดูเทียบ ขุ. ม. (ไทย) ๒๙/๑๙๐/๕๓๖-๕๓๗

เรื่องมัณฑุกเทพบุตร

ได้ยินมาว่า ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชาวเมืองจัมปานคร อยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณีชื่อ คัคครา มีกบตัวหนึ่งได้ถือนิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาค บังเอิญคนเลี้ยงลูกโคคนหนึ่ง เมื่อจรดไม้พลองลง ได้จรดกดเอากบนั้นตรงที่ศีรษะ กบนั้นได้ถึงแก่ความตายลง ในขณะนั้นนั่นเทียว แล้วได้ไปบังเกิดอยู่ บนวิมานทองสูง ๑๒ โยชน์ในภพดาวดึงส์สวรรค์

แหละ มัณฑกเทพบุตรนั้น ซึ่งเป็นเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น เห็นตนถูกห้อมล้อมด้วยหมู่นางเทพอัปษรในวิมานทองนั้น จึงพิจารณาดูว่า เอ.! แม้เราก็ชื่อว่าได้มาบังเกิด ณ ที่นี่แล้ว เราได้สร้างกรรมอะไรไว้หนอ มองไม่เห็นกรรมชนิดไหนอย่างอื่น นอกจากการถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาค ทันใดนั้น มัณฑกเทพบุตรนั้น จึงได้เหาะมาพร้อมทั้งวิมาน กราบนมัสการพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคอยู่

     พระผู้มีพระภาคถึงจะทรงทราบอยู่ก็ตรัสถามว่า
     ใคร.? รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มีผิวพรรณอันงามยิ่ง บันดาลทิศทั้งปวงให้สว่างไสว นมัสการกราบเท้าเราอยู่

     มัณฑกเทพบุตรกราบทูลว่า
    “ในชาติก่อน ข้าพระองค์ได้เป็นกบอยู่ในนา มีน้ำเป็นโคจร ขณะข้าพระองค์ฟังธรรมของพระพุทธองค์อยู่ คนเลี้ยงลูกโคได้ฆ่าแล้ว”

พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมโปรดแก่มัณฑกเทพบุตรนั้น ธรรมมาภิสมัย คือ การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่ ปาณสัตว์ทั้งหลายถึง ๘๔,๐๐๐ ฝ่ายเทพบุตรดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ยิ้มแย้มกลับไป ฉะนี้แล



๘. อธิบายบท พุทโธ

[๑๔๑) ก็แหละ พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า พุทโธ เพราะทรงรู้อะไร ๆ ที่ควรรู้ ซึ่งมีอยู่อย่างทั่วถ้วนนั่นเทียว ว่าอำนาจแห่งวิโมกนติกญาณ (คือพุทธญาณทั้งปวง)

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระนามว่า พุทโธ แม้เพราะเหตุทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ เพราะเหตุตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยพระองค์เองบ้าง เพราะเหตุยังหมู่สัตว์อื่น ๆ ให้ตรัสรู้สัจจะ ๔ บ้าง

แหละ เพื่อที่จะให้เข้าใจอรรถาธิบายนี้ อย่างแจ่มชัด นักศึกษาพึงทำให้พิสดาร ซึ่งนัยที่มาในนิเทศ(๑) หรือนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรค(๒) แม้ทั้งหมด ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า พุทโธ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงได้พระนามว่า พุทโธ เพราะทรงยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย

________________________________
(๑) ดูเทียบ ขุ. ม. (ไทย) ๒๔/๑๙๒/๕๕๑-๕๕๒
(๒) ดูเทียบ ขุ. ป. (ไทย) ๓๑/๑๖๒/๒๕๒

@@@@@@@

๙. อธิบายบท ภควา

(๑๔๒) ก็แหละ คำว่า ภควา นี้ เป็นชื่อเรียกพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้เป็นครูชั้นประเสริฐโดยพระคุณ เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ด้วยความคารวะ ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวไว้ว่า

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐ คำว่า ภควา เป็นคำชั้นสูง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นครูและเป็นผู้ควรแก่การคารวะ ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์ผู้จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา

อีกประการหนึ่ง นามมี ๔ ชนิด คือ
      อาวัตถุกนาม ๑
      ลิงคิกนาม ๑
      เนมิตติกนาม ๑
      อธิจจสมุปปันนนาม ๑
อธิบายว่า ชื่อ ซึ่งตั้งตามที่ต้องการโดยโวหารของ ชาวโลกชื่อว่า อธิจจสมุปปันนนาม

ในนาม ๔ ชนิดนั้น
     ชื่อมีอาทิอย่างนี้ คือ วจฺโฉ-โคเด็ก ทมฺโม-โคหนุ่ม พลิพทฺโท-โคเปลี่ยว ชื่อว่า อาวตฺถิกนาม
     ชื่อมีอาทิอย่างนี้ คือ ทณฺฑี-พญายม ฉตฺตี-พระราชา สิขี-นกยูง กรี-ช้าง ชื่อว่า ลิงฺคิกนาม
     ชื่อมีอาทิอย่าง คือ เตวิชฺโช พระอรหันต์ผู้สําเร็จวิชา ๓ ฉฬภิญโญ พระอรหันต์ผู้สําเร็จอภิญญฺ ๖ ชื่อว่า เนมิตติกนาม
     ที่ตั้งขึ้นโดยมิได้มุ่งถึงความหมายแห่งคำ มีอาทิอย่างนี้ คือ นายสิริวัฑณกะ นายธนวัฑฒกะ ชื่อว่า อริจจสมุปปันนนาม

แหละนามว่า ภควา นี้ เป็นเนมิตติกนาม พระนางเจ้ามหามายามิได้ทรงขนานถวาย พระเจ้าสุทโธทนมหาราชมิได้ทรงขนานถวาย หมู่พระประยูรญาติ ๘๔,๐๐๐ มิได้ทรงขนานถวาย เทวดาผู้วิเศษทั้งหลายมีท้าวสักกะและท้าวสันดุสิต เป็นต้น ก็มิได้ทรงขนานถวาย

จริงอยู่ แม้ท่านพระธรรมเสนาบดีก็ได้กล่าวไว้ดังนี้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (นามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตมรรค) เป็นบัญญัติที่สำเร็จประจักษ์แจ้งพร้อมกับการได้พระสัพพัญญูตญาณ ณ โคนโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย(๑)

_______________________
(๑) ดูเทียบ ขุ. ม. (ไทย) ๒๙/๘๔/๒๔๘

(๑๔๓] แหละนามว่า ภควา นี้ มีพระคุณเหล่าใดเป็นนิมิต เมื่อจะประกาศพระคุณเหล่านั้น พระสังกาจารย์ทั้งหลายจึงได้ประพันธ์คาถาไว้ ดังนี้ :-

พระผู้มีพระภาคนั้น นักปราชญ์ถวายพระนามว่า ภควา เพราะทรงเป็นผู้มีโชค (ภคี) เพราะทรงเป็นผู้ส้องเสพ (ภชี) เพราะทรงเป็นผู้มีส่วน (ภาคิ) เพราะทรงเป็นผู้จำแนก (วิภตฺตวา) เพราะได้ทรงทำการหักกิเลสบาปกรรม เพราะทรงเป็นครู เพราะทมเป็นผู้มีบุญบารมี (ภาคฺยวา) เพราะทรงเป็นผู้มีพระองค์อันอบรมดีแล้ว ด้วยญายธรรมทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะทรงเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งภพ

ส่วนอรรถาธิบายแห่งบทนั้น ๆ ในคาถานี้ นักศึกษาพึงทราบตามนัยตรัสไว้ ในคัมภีร์นิเทสนั่นเถิด(๑)

____________________________
(๑) ดูเทียบ ขุ. ม. (ไทย) ๒๙/๘๔/๒๔๔-๒๔๙

(๑๔๔) แต่ยังมีนัยอื่นอีกดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้มีบุญบารมี ทรงเป็นผู้พัก กิเลสบาปธรรม ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยโชคทั้งหลาย ทรงเป็นผู้จำแนก ทรงเป็นผู้ส้องเสพ ทรงเป็นผู้ตายความโปเกิด ในภพทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงทรงได้พระนามว่า ภควา

อธิบายบท ภาคฺยวา

ในบทเหล่านั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ นักศึกษาพึงทราบว่าแทนที่จะเฉลิมพระนามว่า ภาคฺยวา เพราะพระผู้มีพระภาคนั้นทรงมีพระบารมี เช่น ทานศีล เป็นต้น อันถึงความ ยอดยิ่งพร้อมที่จะบันดาลให้บังเกิดโลกิยสุขและโลกุตตรสุขได้ ก็ไปเฉลิมพระนามเสียว่า ภควา ทั้งนี้ เพราะถือเอาลักษณะแห่งภาษา มีการเติมอักษรใหม่และยักย้ายอักษรเป็นต้น หรือเพราะถือเอาลักษณะที่บวกเช้ากัน เช่น ปิโสทร ศัพท์ เป็นต้น ตามนัยแห่งศัพทศาสตร์

อธิบายบท ภคฺควา

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคนั้น ได้ทรงหักเสียแล้วซึ่งกิเลสอันเป็นเหตุให้ เกิดความกระวนกระวายและความเร่าร้อนจำนวนแสน อย่างสิ้นเชิง อันต่างด้วยโลกะ โทสะโมหะและมนสิการอันเคลื่อนคลาด อันต่างด้วยอหิริกะและอโนตตัปปะ โกธะ และอุปนาหะ มักขะและปลาสะ อิสสาและมัจฉริยะ มายาและสาเถยยะ ถัมภะและ สารัมภะ มานะและอติมานะ มทะและปมาทะ ตัณหาและอวิชชา

       อันต่างด้วย อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ มลทิน ๓ วิสมะ ๓ สัญญา ๓ วิตก ๓ ปปัญจธรรม ๓
       อันต่างด้วยวิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อคติ ๔ ตัณหุปปาทะ ๔ อุปาทาน ๔
       อันต่างด้วยเจโตขีละ ๕ วินิพันธะ ๕ นิวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕
       อันต่างด้วยวิวาทมูล ๖ ตัณหากายะ ๖ 
       อันต่างด้วย อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘ ตัณหามูลกะ ๙ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทิฏฐิ ๖๒ และตัณหาวิจริต ๑๐๘
       หรือเมื่อว่าโดยสังเขป พระผู้มีพระภาคได้ทรงหักเสียแล้วซึ่งมาร ๕ จําพวก คือ กิเลสมาร ๑ ขันธมาร ๑ อภิสังขารมาร ๑ เทวปุตตมาร ๑ มัจจุมาร ๑
       ดังนั้น แทนที่จะเฉลิมพระนามว่า ภคฺควา เพราะพระผู้มีพระภาคได้ทรงหักเสียง อันตรายเหล่านั้น ก็ไปเฉลิมพระนามเสียว่า ภควา

จริงอย่างนั้น ในความข้อนี้ ท่านสังคีติกาจารย์ประพันธ์ศา ไว้ดังนี้ :-

พระผู้มีพระภาค น เป็นผู้ทรงหักราคะ เป็นผู้ทรงหักโทสะ เป็นผู้ทรงพักโมหะ เป็นผู้ทรงหาอาสวะมิได้ บาปธรรมทั้งหลาย พระองค์ทรงหักแล้ว ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์ จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา ฉะนี้

ก็แหละ สมบัติคือพระรูปกาย ของพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงไว้ซึ่งพระลักษณะ อันเกิดแต่บุญตั้ง ๑๐๐ ชนิดนั้น เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยพระคุณ คือ ความเป็นผู้ทรงมีบุญบารมี สมบัติ คือ พระธรรมกาย เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยพระคุณ คือ
     ความเป็นผู้มีโทสะอันหักแล้ว
     ภาวะที่พระพุทธองค์มีคนชั้นโลก ๆ และคนชั้นปัญญาชนทั้งหลายรู้จักมากก็ดี
     ภาวะที่พระพุทธองค์อันเหล่าคฤหัสถ์และหมู่บรรพชิตทั้งหลายเข้าถึง
     และเป็นผู้ทรงสามารถในอันช่วยบำบัดทุกข์กายทุกข์ใจแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตเหล่านั้น
     ผู้เข้าถึงแล้วก็ดี ความเป็นผู้ทรงมีพระอุปการะแก่เขาเหล่านั้นด้วยอามิสทานและธรรมทานก็ดี ความเป็นผู้ทางสามารถในอันประกอบเขาเหล่านั้นไว้ด้วยโลกิยสุขและโลกุตตรสุขก็ดี
     ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยพระคุณทั้ง ๒ เหมือนอย่างนั้น

อธิบายบท ภเคที ยุตฺโต

ก็แหละ เพราะเหตุที่ในทางโลก ศัพท์ว่า ภค ย่อมใช้ได้ในสภาวธรรม ๖ อย่าง คือ อิสริยะ ๑ ธัมมะ ๑ ยสะ ๑ สิริ ๑ กามะ ๑ ปยัตตะ ๑

     - เป็นความจริง อิสริยะ คือ ความเป็นใหญ่ในพระหฤทัยของพระองค์ชั้นเยี่ยม หรือพระอิสริยะที่ ชาวโลกรับรองกันอันบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง มีอันบันดาลร่างกายให้ละเอียด และบันดาลร่างกายให้เบาเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคนั้น มีอยู่
     - ธัมมะ คือ พระธรรมชั้นโลกุตตระของพระผู้มีพระภาคนั้น มีอยู่
     - ยสะ คือ พระยศอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ที่พระองค์ทรงได้มาด้วยพระคุณตามความเป็นจริง อันแผ่คลุมไปทั่วโลกทั้ง ๓ ของ พระผู้มีพระภาคนั้น มีอยู่
     - สิริ คือ พระสิริโสภาแห่งพระอวัยวะทุกส่วนอันบริบูรณ์ ด้วยประการทั้งปวง ซึ่งสามารถให้เกิดความชวนขวายในอันอยากชมพระรูปพระโฉม และให้เกิดความเลื่อมใสของพระผู้มีพระภาคนั้น มีอยู่
     - กามะ คือพระประสงค์อันหมาย ความบังเกิดแห่งประโยชน์ที่ทรงประสงค์ เพราะประโยชน์ใด ๆ จะเป็นประโยชน์ ของพระองค์ก็ตาม จะเป็นประโยชน์ของผู้อื่นก็ตาม ที่พระองค์ทรงประสงค์แล้ว ทรงปรารถนาแล้ว ประโยชน์นั้น ๆ ก็เป็นอันสำเร็จสมพระประสงค์ทั้งนั้น และ
    -  ปยัตตะ คือ พระสัมมาวายามะอันเป็นต้นเหตุให้บรรลุถึงซึ่งความเป็นครูของโลกทั้งปวง ของพระผู้มีพระภาคนั้น มีอยู่

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคนั้น แม้เพราะทรงประกอบ ยกธรรม ๖ อย่างนี้ชาวโลกจึงขนานพระนามว่า ภควา โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ภคา อสฺส สนฺติ แปลว่า ผู้มีภคธรรม ๖ อย่าง ฉะนี้

อธิบายบท วิภตฺตวา

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้จำแนก อธิบายว่า ทรงเป็นผู้แจก ทรงเป็นผู้เปิดเผย ทรงเป็นผู้แสดงซึ่งสรรพธรรม โดยประเภททั้งหลายมีกุศล ประเภทเป็นต้นอย่างหนึ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายมีกุศลธรรมเป็นต้น โดยเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น อย่างหนึ่ง ซึ่งทุกขอริยสัจ

     เพราะอรรถว่า บีบคั้นยันปัจจัยปรุงแต่ง เร่าร้อนและแปรผัน ซึ่งสมุทยอริยสัจ เพราะอรรถว่า ประมวลมา เป็นเหตุประกอบไว้และกางกั้น ซึ่งนิโรธอริยสัจ
     เพราะอรรถว่า ประมวลมา เป็นเหตุประกอบไว้และกางกั้น ซึ่งนิโรธอริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นที่สลัดออก สงัด อันปัจจัยมิได้ปรุงแต่งและเป็นอมตะ ซึ่งมัคคอริยสัจ
     เพราะอรรถว่า นําออก เป็นเหตุ เห็นแจ้งและเป็นอธิบดีอย่างหนึ่ง ฉะนั้น แทนที่จะเฉลิมพระนามว่า วิภตฺตวา แต่ไปเฉลิมพระนามเสียว่า ภควา ดังนี้

อธิบายบท ภตฺตวา

ก็แหละ เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงคบ ทรงส้องเสพ ทรงกระทำให้มากซึ่งทิพพวิหารธรรม พรหมวิหารธรรม และอริยวิหารธรรมทั้งหลาย(๑) ซึ่ง กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก ซึ่งสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และ อนิมิตตวิโมกข์ และทรงคบ ทรงส้องเสพ ทรงกระทำให้มาก ซึ่งอุตริมนุสสธรรมอย่างอื่น ๆ ทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตตระ ฉะนั้น แทนที่จะเฉลิมพระนาม พระองค์ว่า ภตฺตวา แต่ไปเฉลิมพระนามเสียว่า ภควา ดังนี้

_________________________________
(๑) ทิพพวิหารธรรม ได้แก่ รูปาวจรฌาน พรหมวิหารธรรม ได้แก่ เมตตาฌานเป็นต้น อริยวิหารธรรม ได้แก่ ผลสมาบัติ (ฎีกา)

อธิบายบท ภเวสุ วนฺตคมโน

อนึ่ง เพราะเหตุที่การท่องเที่ยวไปในภพทั้ง ๓ คือตัณหาในภพ ๓ อันพระผู้มีพระภาค อันทรงคายออกแล้ว ฉะนั้น แทนที่จะเฉลิมพระนามพระองค์ว่า ภเวสุ วนฺตคมโน แต่ไปเฉลิมเสียว่า ภควา ดังนี้ โดยยกเอา ภ อักษรจากภวศัพท์ เอา ค อักษรจากคมนศัพท์ เอา ว อักษรจากวนฺตศัพท์ แล้วทำเป็นทีฆสระ เหมือนอย่างในทางโลก แทนที่จะพูดว่า เมทน ส ท ส มาลา แต่ก็พูดเสียว่า เมขลา ฉะนี้ (โดยเอา เม จาก เมหนสุส เอา ข จาก ขสฺส เอา ลา จากมาลา แล้วประสมกันเป็นเมขลา แปลว่า เครื่องประดับที่ลับ, สายรัดเอว)



องค์ฌาน ๕ เกิด

(๑๔๕) เมื่อโยคีบุคคลนั้นระลึกถึงพุทธคุณทั้งหลายอยู่เนือง ๆ ว่า พระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุนี้และเหตุนี้....พระผู้มีพระภาคนั้นเป็น ภควา เพราะเหตุนี้และเหตุด้วยประการดังพรรณนามา สมัยนั้นจิตของเธอจะไม่ถูกราคะรบกวน จะไม่ถูกโทสะรบกวน จะไม่ถูกโมหะรบกวน สมัยนั้นจิตของเธอย่อมจะปรารภตรงดิ่งถึงพระตถาคตเจ้า(๑)

เมื่อโยคีบุคคลนั้น มีจิตตรงเพราะมุ่งหน้าต่อพระกัมมัฏฐาน มีนิวรณ์อันข่มไว้แล้ว เพราะไม่มีราคะเป็นต้นรบกวนอย่างนี้แล้ว วิตก และ วิจาร อันโน้มเอียงไปในพระพุทธคุณย่อมดำเนินไป ด้วยประการฉะนี้

     เมื่อโยคีบุคคลตริตรึกและพิจารณาถึงพระพุทธคุณอยู่ ปีติย่อมเกิดขึ้น
     เมื่อโยคีบุคคลมีใจประกอบด้วยปีติ ความกระวนกระวายกายและใจย่อมสงบลง ด้วยความสงบอันมีปีติเป็นปทัฏฐาน
     เมื่อโยคีบุคคลมีความกระวนกระวายสงบแล้ว ความสุขทั้งทางกายทั้งทางใจย่อมเกิดขึ้น
     เมื่อโยคีบุคคลมีความสุข จิตที่มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ย่อมเป็นสมาธิ
     องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกันโดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้

____________________________________________________
(๑) ดูเทียบ อง. ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๑๐/๔๒๑, อง, เอกาทสก. (ไทย) ๒๔/๑๑/๕๑๑

กัมมัฏฐานนี้สำเร็จเพียงอุปจารฌาน

ก็แหละ เพราะเหตุที่พระพุทธคุณทั้งหลายเป็นสภาวธรรมที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงพระคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้นอัปปนา ถึงเพียงขั้นอุปจาระ เท่านั้นเอง ฌานนี้นั้นถึงซึ่งอันนับได้ว่า พุทธานุสสติฌาน เพราะเหตุที่บังเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งการระลึกถึงพระพุทธคุณนั่นแล

อานิสงส์การเจริญพุทธากัมมัฏฐาน

แหละ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งพุทธานุสสติกัมมัฏฐานนี้ ย่อมเป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา ย่อมบรรลุถึงซึ่งความไพบูลย์ด้วยศรัทธา ความไพบูลย์ด้วยสติ ความไพบูลย์ด้วยปัญญา และความไพบูลย์ด้วยบุญ เป็นผู้มากไปด้วยปีติ และปราโมทย์ เป็นผู้กำจัดเสียได้ซึ่งโทษภัยอันน่ากลัว เป็นผู้สามารถอดกลั้นได้ต่อทุกขเวทนา ย่อมได้ความมั่นใจว่าอยู่ร่วมกับพระศาสดา

แม้สรีระร่างของภิกษุนั้นอันพุทธานุสสติครอบครองแล้ว ย่อมกลายเป็นสิ่งที่ควรแก่การบูชา เป็นเสมือนเรือนพระเจดียสถาน ฉะนั้น จิตของภิกษุนั้นย่อมน้อมไปในพุทธภูมิ

แหละ ถึงคราวที่ประจวบเข้ากับสิ่งที่จะพึงล่วงละเมิด หิริและโอตตัปปะย่อมจะปรากฏ แก่ภิกษุนั้น เป็นเสมือนเห็นพระศาสดาอยู่ต่อหน้า ฉะนั้น

อนึ่ง ภิกษุผู้ประกอบ เนือง ๆ ซึ่งพุทธานุสสติกัมมัฏฐานนั้น เมื่อยังไม่ได้แทงตลอดคุณวิเศษยิ่งๆ ขึ้นไป (ในชาตินี้) ก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

เพราะเหตุฉะนั้นแล โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี จึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในพุทธานุสสติภาวนา ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ดังพรรณนามานี้ ในกาลทุกเมื่อเทอญ

                  กถามุขพิสดารในพุทธานุสสติกัมมัฏฐานประการแรก ยุติลงเพียงเท่านี้






ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : pinterest
ข้อธรรมจาก : คัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะเถระ รจนา | สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) แปลและเรียบเรียง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ