ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญแบบนี้ ได้ บุญ อย่างไร อยากให้ช่วยอธิบาย หน่อยครับ  (อ่าน 3899 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำบุญแบบนี้ ได้ บุญ อย่างไร อยากให้ช่วยอธิบาย หน่อยครับ

   1.ทำบุญ กับพระที่ทุศีล ไม่ดี ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   2.ทำบุญ กับพระที่มีศีล แต่ไม่ได้ภาวนา คืออยู่ไปวัน ๆ  เรียน ทำงานศาสนา ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   3.ทำบุญ กับพระที่ภาวนา แต่ไม่เป็นพระอริยะ ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   4.ทำบุญ กับพระที่เป็นพระอริยะ บุคคลล ได้บุญมาน้อยประการใด
 
   5.ทำบุญ ถวายสังฆทาน ได้บุญมากกว่า 4 ข้อที่ผ่านมาใช่หรือไม่ ?

      thk56
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำบุญแบบนี้ ได้ บุญ อย่างไร อยากให้ช่วยอธิบาย หน่อยครับ

   1.ทำบุญ กับพระที่ทุศีล ไม่ดี ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   2.ทำบุญ กับพระที่มีศีล แต่ไม่ได้ภาวนา คืออยู่ไปวัน ๆ  เรียน ทำงานศาสนา ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   3.ทำบุญ กับพระที่ภาวนา แต่ไม่เป็นพระอริยะ ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   4.ทำบุญ กับพระที่เป็นพระอริยะ บุคคลล ได้บุญมาน้อยประการใด
 
   5.ทำบุญ ถวายสังฆทาน ได้บุญมากกว่า 4 ข้อที่ผ่านมาใช่หรือไม่ ?

      thk56

1  ได้บุญน้อยที่สุึด
2   ได้บุญมากขึ้น
3  ได้บุญมากขึ้น
4  ได้บุญมากขึ้น
5 ได้บุญมากขึ้น

แต่ระัดับบุญนั้นไม่รู้ว่าจะวัดได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔๒)

      [๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มี-พระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด ฯ
      ...........ฯลฯ.............


     [๗๑๐] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ
     ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑
     ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒
     ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
     ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
     ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕
     ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖
     ให้ทานแก่พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗
     ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘
     ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙
     ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐
     ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑
     ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒
     ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓
     ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔ ฯ



     [๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น
     บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
     ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
     ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า
     ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า
     ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้
     จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้งในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ


     [๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
     ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๑
     ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒
     ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓
     ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔
     เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕
     เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖
     เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ



    [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
     ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
     แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ


    [๗๑๔] ดูกรอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน
    ดูกรอานนท์ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
    บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
    บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
    บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ

    [๗๑๕] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร
    ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
    อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ


    [๗๑๖] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร
    ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามกปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
    อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ

    [๗๑๗] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร
    ดูกรอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามกปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
    อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ ฯ


    [๗๑๘] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร
    ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
    อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ
    ดูกรอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง ฯ



    [๗๑๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้วได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ต่อไปอีกว่า
               (๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดีเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง
                    ให้ทานในคนทุศีลทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ
               (๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
                    ให้ทานในคนมีศีลทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ
               (๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
                    ให้ทานในคนทุศีลเราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
               (๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
                    ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
               (๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
                    ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย


                     จบ ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒
                     จบ วิภังควรรค ที่ ๔



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๙๑๖๑ - ๙๓๑๐. หน้าที่ ๓๘๗ - ๓๙๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9161&Z=9310&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=706
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://www.dmc.tv/, http://xn--72c9a3a4bn.dmc.tv/, http://www.kunkroo.com/


อธิบายศัพท์
   
    ทักษิณา ทานเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ
    ปาฏิปุคคลิก เฉพาะบุคคล, ไม่ทั่วไป, ถวายเป็นส่วนปาฏิปุคคลิก คือ ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์

    สงฆ์ หมู่, ชุมนุม
       1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),
           ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
       2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง


    เผดียง บอกแจ้งให้รู้,บอกนิมนต์,บอกกล่าวหรือประกาศเชื้อเชิญเพื่อให้ร่วมทำกิจโดยพร้อมเพรียงกัน; ประเดียงก็ว่า
    โคตรภูสงฆ์ พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัด ปฏิบัติเหินห่างธรรมวินัย แต่ยังมีเครื่องหมายเพศ เช่น ผ้าเหลืองเป็นต้น และถือตนว่า ยังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่, สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา
    ทายก (ชาย) ผู้ให้
    ปฏิคาหก ผู้รับทาน, ผู้รับของถวาย


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2013, 07:35:49 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
ทักขิณาวิภังคสูตร
๑๒. อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร 
(ยกมาแสดงบางส่วน)
   
    ส่วนทานที่ให้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีลห้ามีผลมากกว่านั้น.
    ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศิลสิบมีผลมากกว่านั้นอีก.
    ทานที่ถวายแก่สามเณรที่บวชในวันนั้นมีผลมากกว่านั้น
    ทานที่ถวายแก่ภิกษุผู้อุปสมบทมีผลมากกว่านั้น
    ทานที่ถวายแก่ภิกษุผู้อุปสมบทนั้นแลผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรมีผลมากกว่านั้น
    ทานให้แก่ผู้ปรารภวิปัสสนามีผลมากกว่านั้น.
    ก็สำหรับผู้มรรคสมังคีโดยที่สุดชั้นสูง ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าปฏิบัติแล้ว.
    ทานที่ให้แก่บุคคลนั้นมีผลมากกว่านั้นอีก.

    .......ฯลฯ............


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=706
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ทำบุญแบบนี้ ได้ บุญ อย่างไร อยากให้ช่วยอธิบาย หน่อยครับ

   1.ทำบุญ กับพระที่ทุศีล ไม่ดี ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   2.ทำบุญ กับพระที่มีศีล แต่ไม่ได้ภาวนา คืออยู่ไปวัน ๆ  เรียน ทำงานศาสนา ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   3.ทำบุญ กับพระที่ภาวนา แต่ไม่เป็นพระอริยะ ได้บุญหรือ ไม่ บุญที่ได้ จัดระดับแล้วอยู่ระดับไหน ?

   4.ทำบุญ กับพระที่เป็นพระอริยะ บุคคลล ได้บุญมาน้อยประการใด
 
   5.ทำบุญ ถวายสังฆทาน ได้บุญมากกว่า 4 ข้อที่ผ่านมาใช่หรือไม่ ?

      thk56


 ans1 ans1 ans1

      ข้อแรก  เป็นปาฏิปุคคลิกทาน(ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์)
                คำว่า "พระทุศีล" ของคุณ rainmain
                เมื่อกับพระสูตร น่าจะเป็น "ปุถุชนผู้ทุศีล"
                เมื่อเทียบกับอรรถกถา น่าจะเป็น "ภิกษุผู้อุปสมบท"
                ดังนั้นให้ทานพระทุุศีล ย่อมมีผลมากกว่าให้เณรและสัตว์เดียรัจฉาน


      ข้อสอง  เป็นปาฏิปุคคลิกทาน(ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์)             
               คำว่า "พระมีศีล" ของคุณ rainmain
               เมื่อกับพระสูตร น่าจะเป็น "บุคคลผู้มีศีล"
               เมื่อเทียบกับอรรถกถา น่าจะเป็น "ภิกษุผู้อุปสมบทนั้นแลผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร"
               ดังนั้น ให้ทานพระมีศีล ย่อมมีผลมากกว่าให้พระทุศีล


      ข้อสาม  เป็นปาฏิปุคคลิกทาน(ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์)
               คำว่า "พระที่ภาวนา แต่ไม่เป็นพระอริยะ" ของคุณ rainmain 
               เมื่อกับพระสูตร น่าจะเป็น "บุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม"
               เมื่อเทียบกับอรรถกถา น่าจะเป็น "ผู้ปรารภวิปัสสนา"
               ดังนั้น ให้ทานพระที่ภาวนา แต่ไม่เป็นพระอริยะ ย่อมมีผลมากกว่า พระมีศีลแต่ไม่ภาวนา


      ข้อสี่    เป็นปาฏิปุคคลิกทาน(ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์)
               คำว่า "พระที่เป็นพระอริยะ" ของคุณ rainmain 
               เมื่อกับพระสูตร น่าจะเป็น "ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง"(โสดาปัตติมรรค)
               เมื่อเทียบกับอรรถกถา น่าจะเป็น "ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล"
               ดังนั้นให้ทานพระที่เป็นพระอริยะ ย่อมมีผลมากกว่าพระที่ภาวนา แต่ไม่เป็นพระอริยะ
               อย่างไรก็ตามพระอริยะมีอยู่หลายระดับ ขอให้ดูทักษิณาปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการ
               ตั้งแต่ประการที่ ๑ ถึงประการที่ ๑๐ ผลของทานจะไล่จากมากไปหาน้อย คือ
               ประการแรกจะได้ผลสูงสุด ที่เหลือก็ลดหลั่นกันลงไป


      ข้อห้า   เป็นสังฆทาน ต้องเป็นพระ ๔ รูปขึ้นไป
               ในพระสูตรใช้คำว่า "ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์"
               พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์"
               แถมยังตรัสอีกกว่า แม้สงฆ์นั้นจะทุศีล แต่ก็มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
               ดังนั้นการทำสังฆทาน ย่อมมีผลมากกว่า ปาฏิปุคคลิกทาน(ข้อแรกถึงข้อสี่)


       อย่างไรก็ตาม การให้ทานจะให้ผลสูงสุดก็ต่อเมื่อ
       ผู้ให้และผู้รับต้องมีจิตที่ปราศจากราคะ ดังพุทธพจน์ที่ว่า
       "ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย"

      :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2013, 09:26:12 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แล้ว ถ้าได้ทำบุญ กับพระที่พึ่ง ออกจาก นิโรธสมาบัติ หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ มีอานิสงค์ มากน้อยประการใดครับ เพราะ ผมเห็นมีประกาศ ทำบุญ พระออก นิโรธกรรม หลายรูป หลายองค์ นะครับ

   thk56
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ

Skydragon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ans1

มีคำกล่าวว่า  ทำบุญมาก แต่ ได้บุญน้อย   ทำบุญ แต่ ได้บุญมาก
   แสดงว่า ปริมาณของบุญ มิได้ อยู่ิสิ่งที่เป็น ทาน

  เคยฟังในรายการ RDN เรื่อง ทอกกฐิน มีชาวสวน ร่วมทำบุญกฐิน กับ เศรษฐี อนาถบิณฑิกะ ( ถ้าจำไม่ผิด ) ได้ออกเงิน ถวายเข่มใน กองกฐิน เทวดาแส่ซ้อง สรรเสริญ ผลบุญทันตา ได้เป็น เศรษฐีอย่างรวดเร็วข้ามคืน ....


   ผลแห่งทาน น่าจะมิได้เกี่ยวกับ เรื่อง ผู้รับเท่านั้น น่าจะเกี่ยวกับผู้ให้ ด้วย และ ความบริสุทธิ์ ของทานด้วย นะครับ

 :25:
 
บันทึกการเข้า