ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ธรรมะ ปุจฉา
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 18
81  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / อบรม 11-18 มีนาคม 2556 ศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ รับคนนอก 10 ท่าน เมื่อ: มกราคม 24, 2013, 12:45:40 pm
หัวข้อการอบรม     คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่อบรม     11-18 มีนาคม 2556 รับคนนอก 10 ท่าน


   
หมายเหตุ   
 รายงานตัวเวลา ๐๘. ๓๐ - ๑๐.๓๐ น. วันสุดท้ายเลิกเวลา ๑๐.๔๕ น. สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการอบรม กรุณาลงชื่อเพื่อเข้ารับการอบรมนี้ 

ตารางเวลาการอบรม
เวลา   กิจกรรม
๐๔.๐๐ - ๐๔.๓๐    ตื่นนอน ทำกิจการส่วนตัว
๐๔.๓๐ - ๐๕.๓๐   ออกกำลังกาย จงกรม - สมาธิ
๐๕.๓๐ - ๐๗.๓๐   ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
๐๗.๓๐ - ๐๘.๓๐   อาหารเช้า
๐๘.๓๐ - ๑๑.๓๐   ต่อระยะจงกรม - สมาธิ
๑๑.๓๐ - ๑๒.๓๐   อาหารกลางวัน
๑๒.๓๐ - ๑๔.๓๐   จงกรม - สมาธิ
๑๔.๓๐ - ๑๕.๓๐    น้ำปานะ
๑๕.๓๐ - ๑๖.๓๐   จงกรม - สมาธิ
๑๖.๓๐ - ๑๘.๐๐    อาบน้ำ ทำกิจส่วนตัว อาหารว่าง
๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐   ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
๒๐.๐๐ - ๒๑.๓๐    จงกรม - สมาธิ
๒๑.๓๐ - ๐๔.๐๐    นอน

** หมายเหตุ ** กำหนดเวลาในตารางอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ผู้ที่สนใจกรุณาตรงสอบวันเวลากับท่านเจ้าภาพอีกครั้งหนึ่ง หากจะยกเลิกให้แจ้งก่อน ๒ อาทิตย์



การเตรียมตัวและข้อปฏิบัติ
ข้อ ๑. ต้องอยู่ครบ ๗ วัน ๘ คืน
ข้อ ๒. เตียมเสื้อผ้าและเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้พอเพียงตลอด ๗ วัน โดยไม่ต้องซัก
ข้อ ๓. กรุณานำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนและผ้าห่มมาเอง
ข้อ ๔. ควรสวมใส่เสื้อผ้าสีขาว หรือสีสุภาพเท่านั้น สุภาพสตรี ไม่ควรสวมกางเกงขาสั้นเสื้อคอกว้างและเสื้อผ้าที่รัดรูปหรือผ้าที่บางเกินไป
ข้อ ๕. งดใช้เครื่องสำอางค์และเครื่องประดับทุกชนิด ยกเว้น นาฬิกาข้อมือ
ข้อ ๖. ผู้ที่มีปัญหาในเรื่องสุขภาพ ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนว่า สามารถเข้ารับการอบรมได้หรือไม่ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคประสาทและโรคทางจิตทุกประเภท ไม่ควรเข้ารับการอบรม ควรรักษาทางแพทย์ให้หายขาดเสียก่อน
ข้อ ๗. ไม่รับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อและผู้ที่ติดยาเสพติด หรือ ผู้ที่เป็นโรคสังคมรังเกียจ
ข้อ ๘. ไม่ฟังเพลง ข่าวสารทางวิทยุหรือโทรทัศน์ รวมทั้งอ่านและเขียนหนังสือทุกประเภท
ข้อ ๙. งดใช้อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดโดยเด็ดขาด
ข้อ ๑๐. ห้ามออกนอกสถานที่และต้องอยู่จนครบระยะเวลาการอบรมตลอด ๗ วัน ๘ คืน
ข้อ ๑๑. ไม่อนุญาตให้เยี่ยมผู้เข้ารับการอบรม ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน หากต้องการฝากสิ่งของเครื่องใช้ โปรดติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อเอื้อให้เกิดความสงบทางจิตใจในการปฏิบัติธรรมของผู้เข้ารับการอบรม
ข้อ ๑๒. สำรวมการ วาจา ใจ โดยงดการพูดคุย ตลอดระยะเวลาของการอบรม ขอให้ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อผลที่ดีในการปฏิบัติธรรมของท่านเอง



ติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงได้ที่
http://www.vipassanacm.com/th/view_news.aspx?id=53
82  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / เจริญภาวนาบูชาพระพุทธบาทสี่รอยดอยแม่ปั๋ง–เชียงใหม่9วัดป่ากรรมฐาน ธรรมทาน ทัวร์ เมื่อ: มกราคม 24, 2013, 12:12:40 pm
<<< เจริญภาวนาบูชา พระพุทธบาทสี่รอย >>>
 << ทำบุญสร้าง “พระพุทธเมตตา” หน้าตัก 108 นิ้ว ณ วัดหนองก๋าย >>
 < ดอยแม่ปั๋ง – เชียงใหม่ 9 วัดป่ากรรมฐาน >

 - วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556
 เวลา 20.00 น. ออกเดินทางจากวัดปทุมวนาราม (วัดสระปทุม) ตรงข้ามสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปทุมวัน กรุงเทพฯ

 - วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2556
 รุ่งอรุณที่ วัดอรัญญวิเวก กราบนมัสการ หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป ถวายอาหาร-ถวายผ้าป่า-รับโอวาทธรรม-ทานอาหารเช้า
 กราบนมัสการ ครูบาเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น ถวายผ้าป่าร่วมสร้างพระเจดีย์ 12 ราศี-รับโอวาทธรรม ชมความงดงามของวัด
 กราบนมัสการ หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร วัดป่าหมูใหม่ ถวายผ้าป่า-รับโอวาทธรรม
 กราบนมัสการ หลวงปู่กวง โกสโล วัดป่านาบุญ ถวายผ้าป่า-ร่วมสร้างเสนาสนะ เปลี่ยนเดินทางโดยรถเล็ก เข้าที่พัก
 วัดพระพุทธบาทสี่รอย ทำกิจส่วนตัว-บริการอาหารกล่องมื้อเย็น ถวายเครื่องสักการบูชา พระพุทธบาทสี่รอย สถานที่
 ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากุสันนะ-พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ
 พระพุทธเจ้ากัสสปะ-พระพุทธเจ้าโคตมะ กราบนมัสการ ครูบาพรชัย ปิยวัณโณ ถวายผ้าป่า-สนทนาธรรม-เจริญภาวนา

 - วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2556
 รุ่งอรุณแห่งความสงบกลางขุนเขา-เจริญภาวนาบูชารอยพระพุทธบาท บริการกาแฟ-ไมโลร้อน ๆ
 เดินทางถึง วัดหนองก๋าย กราบขอพร หลวงพ่อชัยมงคล ถวายผ้าป่า-สมทบร่วมสร้าง “พระพุทธเมตตา” หน้าตัก 108 นิ้ว
 เพื่อประดิษฐานเป็น พระประธาตุอุโบสถ (ทรงเจดีย์คยาจำลอง) ของวัดหนองก๋าย
 กราบนมัสการ หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ ถวายผ้าป่า-รับโอวาทธรรม-รับพร-ทานอาหารเช้า
 กราบนมัสการ หลวงพ่อหนูพิน ฐานุตโม วัดป่าดอยแม่ปั๋ง กราบอัฐิธาตุ หลวงปู่แหวน สุจินโณ-หลวงปู่หนู สุจิตโต ณ เจดีย์พิพิธภัณฑ์

 - กลับถึงกรุงเทพฯ เวลา 04.00 น. ของวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2556 โดยสวัสดิภาพที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
 - ค่าบริการรถปรับอากาศ 2,500 บาท รวมรถเล็ก-อาหารเย็น-เครื่องดื่ม (เตรียมของถวายผ้าป่า 9 วัด-ชุดกันหนาว)

สนใจสอบถามข้อมูล และสำรองที่นั่ง
ได้ที่ 02-393-9151


จาก : http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=144163309071456&id=134594663361654


เมื่อสามปีที่แล้วเห็นมีงานประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอยประจำปี
ปีนี้ก็เลยไปเจอ ทรีบนี้ เลยเอามาฝาก สำหรับผู้ที่สนใจในธรรมะสัญจรกับทาง ธรรมทาน ทัวร์
83  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อยากภาวนากรรมฐาน เพื่อลดความดัน ต้องเริ่มทำอย่างไรคะ เมื่อ: มกราคม 24, 2013, 10:24:20 am
เริ่มที่ห้องกรรมฐานแรก ห้องปีติ ก็ได้แล้ว ห้องนี้เป็นการปรับธาตุ ศิษย์หลายคนจะรู้ดี พระอาจารย์บอกไว้ว่า ผู้ที่สามารถเข้ากรรมฐาน แล้วทำการ อนุโลม ปฏิโลม ล้างธาตุ หนุนธาตุ จะทำให้ธาตุกาย มีความปกติสมบูตร ไม่ค่อยเป็นโรคง่าย ความดัน เกี่ยวกับ ธาตุลมในกาย  ล่าสุดได้มีโอกาสฟังธรรมของท่านจเ้าอาวาส พระอาจารย์ภิทักดิ์ วัดศรีโอภาส จ.สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ท่านว่า มีหมอใหญ่มาบวชเป็นพระ พอพระรูปไหนป่วยท่านก็มาดูแลให้ ปรากฏว่า พอมาตรวจวัดความดัน พระอาจารย์ ก็ไม่เจอทัพะจร การเต้นของหัวใจ  ก็บอกพระอาจารย์ว่า พระอาจารย์หัวใจไม่เต้น  พระอาจารย์ว่า ไม่เต้นอะไร ก็เต้นอยู่เนี่ย ไม่เต้นก็ตายนะสิ ก็ทำการตรวจเช็คแล้วหลายต่อหลายรอบ แต่ก็ไม่เป็นผล พระอาจารย์มาบอกที่หลังว่า พระที่ท่านปฏิบัติกรรมฐานนะ ท่านสามารถที่จะควบคุณความดันได้ ท่านว่า เคยเห็นพระกรรมฐานเป็นความดันหรือ ดังนี้ เป็นตัวอย่าง แต่การที่จะกระทำกรรมฐานให่สามารถส่งผลได้เลยคงอาจจะไม่ง่ายซะทีเดียว เพราะก็ต้อง ปฏิบัติไปตามลำดับ สำหรับคนทั้วไป จึงเห็นสมควรว่าเราทุกท่านควรที่จะรีบปฏิบัติกัน เพราะเมื่อมีภัยมาถึงเรา เราจะก็ยังสามารถช่วยตัวเองได้ แต่ในกรณีนี้ เป็นผู้ป่วยเฉพาะ อาจจะมารอเหมือนคนปกติทั้วไปไม่ได้ คงต้องปรึกษากับพระอาจารย์ เป็นการส่วนตัว เพื่อให้ทันทั้วงที่กับการรักษา
84  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เรียนถามว่า พระสงฆ์ไป รพ. รักษาฟรี หรือไม่ ครับ ทำไมต้องมาบอกขอค่ายาด้วยครับ เมื่อ: มกราคม 24, 2013, 10:02:03 am
ตามธรรมดาทางรัฐจัดเข้าในระบบ สามสิบบาท และก็จะมีโรงพยายาบที่มีเป็นมูลนิธิ (เหมือนจะส่วนตัวของโรงพยาบาลนั้น ๆ ) และก็สุดท้าย โรงพยาบาลสงฆ์ ทั้งหมดนี้ พระสามารถเข้ารับการรักษาฟรี

ใรส่วนของสามสิบบาท ก็รักษาทั่วประเทศ ตามแนวทางของสามสิบบาท ( แต่พระไม่ต้องเสียเลยสักบาท รัฐออกให้ ) แต่ จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยายาลนั้น เท่านั้น ที่อื่น ได้เฉพาะ เหตุฉุกเฉิน ก็เหมือนกันกับทางโลก

ส่วนของที่เป็นมูลนิธิ ที่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ อาจจะมี (ไม่ทุกที่) ถ้าพระคุณเจ้ารู้ ก็สามารถไปรับการรักษาได้ โดยไม่ต้องเสียค่ารักษา แต่ข้อนี้ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ไม่เป็นที่รู้โดยทั้วไป เนื่องจากไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ทั้วไป อาจจะเป็นเพราะ เมื่อได้รับทรามกันมาก ก็จะแห่แหนกันไป จนอาจจะทำให้ทางมูลนิธิไม่สามารถที่จะรับค่าใช้จ่ายนี้ได้ (แนวนี้ ก็คงต้องแล้วแต่บุญกันแล้ว) และเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางแก่ผู้ป่วยที่จักต้องมีค่าใช้จ่ายมากในการรักษา แฝงเข้ามาบวชพระเพื่อต้องการที่จะรักษาตัว เพราะตัวเองไม่สามารถที่จะจ่าบค่ารักษาสูง ๆ ได้ เรื่องนี้ ทางแพทย์เขาดูแป๊ปเดียวก็รู้แล้ว ดูได้ไม่ยาก คือ มีอายุมาก เป็นโรคมาก เป็นโรคหนัก แต่พรรษาน้อย  เท่านี้ก็เข้าข่ายแล้ว แต่เขาก็รักษาให้นะ ก็ไม่ได้ว่าอะไร เพียงแต่มีการพูดคุยกันอยู่ว่า ถ้าพระกลุ่มนี้มีเพิ่มมาขึ้น ทางหน่วยงานเฉพาะที่รับจ่ายค่ารักษาให้อาจจะไม่สามารถจัดการได้ (ในอนาคตถ้ามีมาก)

ในส่วนของโรงพยาบาลสงฆ์ แน่นอนเป็นที่รู้โดยทั้วไป แต่พระสงฆ์ทั้งประเทศ ที่ต้องการจะเข้ารับการรักษา คงจะต้องเดินทางมาหาหมอกันเอง ไม่ว่าจะไปป่วยอยู่ที่ไหน เป็นการลำบากสำหรับพระสงฆ์ที่อยู่ไก ๆ
85  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / โครงการปฏิบัติธรรมชำระจิต "ปริวาสกรรม-บวชเนกขัมมะ" วัดถ้ำผาจม เชียงราย เมื่อ: มกราคม 23, 2013, 10:05:15 pm
งานปฏิบัติธรรมสัญจร ใกล้ๆ ที่จะมีนี้ก็ที่นี้เลย

      วัดถ้ำผาจม ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130

❤.โดย พระเดชพระคุณท่านพระครูเกษมวรกิจ ( พระอาจารย์วิชัย เขมิโย )
 ❤.ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม งาน "ปริวาสกรรม-บวชเนกขัมมะ" ประจำปี 2556
 ❤.ขึ้น 2ค่ำ เดือน3 ของทุกปี ปีนี้ตรงกับ
    วันที่ 12 ก.พ.ถึง 21 ก.พ. 2556 .9คืน 10วัน
 ❤.ติดต่อสอบถามที่.
    โทร.053 733129 ,053 731415
    โทรสาร.053 640773
    มือถือ. 087 8282360


❤.สถานที่...........สัปปายะ
 ❤.ครูบาอาจารย์....สัปปายะ
 ❤.เสนาสนะ........สัปปายะ
 ❤.อาหาร............สัปปายะ
 ❤.การไม่ทำบาปทั้งปวง
 ❤.การทำกุศลให้ถึงพร้อม
 ❤.การชำระจิตตนให้บริสุทธิ์

 ❤.ยินดีต้อนรับท่านสู่ “แดนธรรม เหนือสุดยอดในสยาม นาม ถ้ำผาจม”
 ❤.การเข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม “งานปริวาสกรรม-บวชเนกขัมมะ”
 ❤.การเดินทาง จาก กรุงเทพฯ ถึง อ.แม่สาย
       ๑. โดยทางเครื่องบินลงที่เชียงรายต่อรถไป อ.แม่สายประมาณ ๖๐ กม.
       ๒. โดยรถโดยสารปรับอากาศ ที่ขนส่งสายเหนือ มีสองเที่ยว เช้าและเย็น
           ปลายทาง อ.แม่สาย ต่อรถสองแถวเข้าวัดประมาณ ๕ กม.

 ❤.โครงการนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
     ขอท่านผู้ใจบุญช่วยประชาสัมพันธ์
     ...สิ่งที่จะต้องนำมาด้วย
           ๑. ชุดขาว ( สมาทานศีลแปด )
           ๒. เครื่องใช้ส่วนตัว

     ...เสนาสนะที่อยู่อาศัย
 ทางวัดจัดอำนวยความสะดวกให้เหมาะแก่การประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม
     ...อาหารขบฉัน ๒ มื้อ เช้า - เพล น้ำปานะ ๒ เวลา บ่าย - ค่ำ
 ทางวัดจัดเลี้ยงท่านผู้ปฏิบัติทุกท่าน

     ...ตารางเวลาการปฏิบัติธรรม ตลอดระยะเวลาอบรม
 ๐๓.๓๐ น. สัญญาณระฆัง/ประชุมพร้อมกันที่ลานธรรม / ศาลาเอนกประสงค์
 ๐๔.๐๐ น. บอกวัตร* ทำวัตร สวดมนต์ เช้า
 ๐๕.๐๐ น. ยืน เดิน นั่ง สมาธิ ภาวนา / ฟังธรรมบรรยาย โดยพระคณาจารย์
 ๐๖.๒๐ น. บอกวัตร - เก็บวัตร* ( เตรียมภาชนะ)
 ๐๖.๓๐ น. รับภัตต์* - น้ำปานะ ( อาหารเช้า )

             พักผ่อนตามอัธยาศัย
 ๐๗.๓๐ น. สัญญาณระฆัง/ประชุมพร้อมกันที่ลานธรรม / ศาลาเอนกประสงค์
 ๐๘.๐๐ น. ทำวัตรเช้า / แปล
 ๐๙.๐๐ น. ประกอบพิธีทำบุญตักบาตร ( การถวายทาน )

             รับบิณฑบาต*
             รับภัตตาหาร เพล* / ฟังธรรมบรรยาย โดยพระคณาจารย์
             อุบาสก อุบาสิกา รับประทานอาหาร
 ๑๐.๓๐ น. กราบพระรัตนตรัย / พักผ่อนตามอัธยาศัย
 ๑๒.๓๐ น. สัญญาณระฆัง/ประชุมพร้อมกันที่ลานธรรม / ศาลาเอนกประสงค์
 ๑๓.๐๐ น. ยืน เดิน นั่ง สมาธิ ภาวนา / ฟังธรรมบรรยาย
 ๑๔.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย โดยพระคณาจารย์
 ๑๕.๐๐ น. รับน้ำปานะ / เลิกประชุม

             พักผ่อนตามอัธยาศัย
 ๑๗.๐๐ น. สัญญาณระฆัง/ประชุมพร้อมกันที่ลานธรรม / ศาลาเอนกประสงค์
 ๑๘.๔๕ น. ทำวัตรเย็น
 ๑๙.๔๕ น. รับน้ำปานะ
 ๒๐.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยายพิเศษ โดยพระคณาจารย์
 ๒๑.๐๐-๒๑.๓๐ น. สมาทาน / บอกวัตร* พักผ่อนตามอัธยาศัย

 ...หมายเหตุ  ขณะร่วมปฏิบัติธรรมควรปิดเสียงสัญญาณเครื่องรับโทรศัพท์
                หากท่านใดมีเหตุจำเป็นไม่สะดวกจะอยู่ร่วมปฏิบัติตลอดงาน
                สามารถเข้าร่วมปฏิบัติธรรม ช่วงเวลาสั้นได้ตามโอกาสของท่าน
                หากท่านใดเกิดศรัทธาจะอยู่ปฏิบัติต่อ ทางวัดยินดีต้อนรับทุกท่าน
                ทางวัดขออนุโมทนาในกุศลและเจตนาคณะศรัทธาทุกท่านที่เข้าร่วมงานบุญในกาลครั้งนี้

ก็สามารถสัญจรไปปฏิบัติธรรมกันได้นะ๊จ๊ะ กุมภาอากาศดีสะด้วยใครที่ไป ถ่ายรูปมาฝากชาวธรรมกันบ้างละ


จาก : https://www.facebook.com/events/270782133050018/
86  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: กำหนดการปฏิบัติธรรม ปี 2556 ที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ไตรมาสแรก ( ม.ค.-มี.ค.56) เมื่อ: มกราคม 22, 2013, 10:05:45 pm




87  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระปิดตาย้อนยุค พระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม เมื่อ: มกราคม 22, 2013, 09:44:26 pm
พระปิดตาย้อนยุค พระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ



http://www.facebook.com/photo.php?fbid=522352674475614&set=a.248254268552124.66759.100001026573295&type=1&relevant_count=1
88  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ : ญาณทัสสนะ เมื่อ: มกราคม 22, 2013, 08:14:05 pm
สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
เนื่องในงานพิธีเฉลิมพระเกียรติ ๘๕ พรรษา ใต้ร่มพระบารมี
ณ วัดป่าดาราภิรมย์ พระอารามหลวง วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมคือสัมมาทิฏฐิ

     ปัญญาในธรรมนั้นเรียกได้ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ เป็นความเห็นตรง สัมมาทิฏฐินี้เป็นข้อสำคัญ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสไว้เป็นข้อแรกในมรรคมีองค์ ๘ คือเป็นองค์แรกของมรรคมีองค์ ๘ นั้น. เพราะฉะนั้น การทำสมาธิดั่งที่ได้กล่าวว่าทำสมาธิในการฟัง ก็เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรมอันเป็นสัมมาทิฏฐินี้เอง. ถ้าหากว่าไม่ได้ปัญญาในธรรมอันเป็นสัมมาทิฏฐินี้ ก็มิบรรลุถึงข้อที่ปฏิบัติและผลแห่งข้อที่ปฏิบัติ อันเป็นที่มุ่งในทางพุทธศาสนา.
     คำว่า พุทธศาสนา นั้นก็แสดงอยู่แล้วว่า เป็นศาสนาทางปัญญา เพราะพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ ก็คือทรงปัญญาตรัสรู้นั้นเอง. ฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นข้อสำคัญและปัญญาที่มุ่งวังก็คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นตรงนี้เอง. เมื่อได้ความเห็นชอบ ได้ความเห็นตรง ก็ย่อมจะได้ ปสาทะคือความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม เป็นผู้มาสู่สัทธรรมนี้ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าการมาสู่สัทธรรมนี้ ก็ต้องอาศัยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไวในพระธรรมความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระธรรมก็ต้องอาศัยสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบความเห็นตรงเป็นหลัก. ทุกคนย่อมมีความรู้ความเห็นซึ่งเป็นตัวปัญญาที่ได้มาแต่ชาติกำเนิดเป็นมนุษย์ซึ่งแปลอย่างหนึ่งว่า ผู้ที่มีใจสูงหรือผู้ที่มีความรู้สูง. ฉะนั้น จึงสามารถที่จะรู้สัจจะคือความจริงของสิ่งทั้งหลายได้ในขั้นธรรมดาสามัญทั่วไป. และเมื่อได้อบรมปัญญาที่ได้มาแต่ชาติกำเนิด อันเรียกว่า สชาติปัญญา ยิ่ง ๆ ขึ้นไปแล้วก็จะได้ความรู้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ได้สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ได้ความเห็นตรงที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.

รู้จักอกุศล รู้จักอกุศลมูล
     พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบไว้ทั่วไป ว่าคือความรู้ในอริยสัจทั้งสี่ รู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ รู้จักนิโรธความดับทุกข์ รู้จักมรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. ท่านพระสารีบุตรเถระก็ได้อธิบายสัมมาทิฏฐิแก่ภิกษุทั้งหลายที่ท่านประมวลไว้ใน สัมมาทิฏฐิสูตร โดยที่ท่านได้อธิบายกว้างขวางออกไปขยายความออกไป จับตั้งแต่เบื้องต้น โดยที่ท่านได้กล่าวตั้งเป็นกระทู้ขึ้นว่า ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบนั้นเป็นอย่างไรท่านก็อธิบายว่าได้แก่ ความรู้จักอกุศล ความรู้จักอกุศลมูล มูลเหตุของอกุศล ความรู้จักกุศล ความรู้จักกุศลมูล มูลเหตุของกุศล. ท่านก็ได้แสดงอธิบายขยายความต่อไปอีกว่าอกุศลนั้นได้แก่อะไร. ท่านก็ยกเอา อกุศลกรรมบถ คือ ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล ขึ้นแสดง.
     ทางกายอันเรียกว่ากายกรรมอันเป็นอกุศล ๓ คือ การทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑    การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ๑    การประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๑   ทั้ง ๓ นี้เป็นทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศลทางกาย.
     ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศลทางวาจาคือวจีกรรมมี ๔ ก็ได้แก่ พูดเท็จ ๑    พูดส่อเสียด ๑    พูดคำหยาบ ๑    พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ๑.    ก็รวมทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศลทางวาจาเป็น ๔.
     ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศลทางใจ ๓ ก็คือ อภิชฌา โลภเพ่งเล็งทรัพย์สิ่งของของผู้อื่น ๑    พยาบาทปองร้ายเขา ๑    มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าไม่มีบาป ไม่มีบุญ จะทำอย่างไรก็ไม่เป็นบาป จะทำอย่างไรก็ไม่เป็นบุญ ไม่มีผลของบาปบุญ และไม่มีบิดามารดา ไม่มีกรรมดีกรรมชั่ว ผลของกรรมดีกรรมชั่ว ไม่มีโลกนี้ไม่มีโลกหน้า ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบทั้งหลาย ปฏิเสธว่าไม่มีทั้งหมด. เหล่านี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม ๑    ก็รวมเป็นทางกรรมที่เป็นอกุศลทางใจ ๓.
     รวมเป็นอกุศลกรรมบถ ๑๐.  ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล ๑๐ นี้คือ อกุศล  สัมมาทิฏฐิก็คือ รู้จักทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศลทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ว่าเป็นอกุศลจริง
     อกุศลมูล  มูลเหตุของอกุศล ก็ได้แก่ โลภะ คือความโลภอยากได้ อันนำให้ประกอบอกุศลกรรม  โทสะ ความโกรธแค้นขัดเคือง อันนำให้ประกอบอกุศลกรรม  โมหะ ความหลงอันนำให้ประกอบอกุศลกรรม.  สัมมาทิฏฐิก็คือความรู้จักอกุศลมูลเหล่านี้ว่า  โลภะ  โทสะ  โมหะ  เป็นมูลเหตุของอกุศลกรรมทั้งหลายตามเป็นจริง.

รู้จักกุศล  รู้จักกุศลมูล
     ส่วนกุศลและกุศลมูลนั้นก็ตรงกันข้าม.  กุศลก็ได้แก่ กุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ คือทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล เป็นกายกรรม ๓ วจี ๔ มโนกรรม ๓ .
     กายกรรม ๓ ก็คือ เว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ เว้นจากความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย.
     วจีกรรม ๔ ก็คือ เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล.
     มโนกรรม ๓ ก็คือ ไม่โลภเพ่งเล็งทรัพย์สิ่งของ ๆ ผู้อื่น ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น และสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบตามคลองธรรม.
     ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ก็ตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ . สัมมาทิฏฐิก็คือ รู้จักกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ นี้  ว่าแต่ละข้อเป็นกุศลจริง.
     ส่วน กุศลมูล มูลเหตุของกุศลนั้น ก็ได้แก่ อโลภะ ความไม่โลภ ไม่อยากได้ โดยมีความสันโดษความพอใจอยู่ในทรัพย์สมบัติเฉพาะที่เป็นของตนเท่านั้นเป็นต้น  อโทสะ ความไม่โกรธแค้นขัดเคือง ก็โดยที่มีเมตตากรุณาเป็นต้น อโมหะ ความไม่หลง ก็คือ ความที่มีปัญญารู้ตามความเป็นจริงอันไม่ทำให้หลงใหล ไม่ให้ถือเอาผิด.

สุตะ จินตา ภาวนา
     สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ก็คือรู้จักกุศลมูลเหล่านี้ว่า ทุก ๆ ข้อเป็นมูลเหตุของกุศลจริง สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบดังนี้ เป็น ทิฏฐิ คือความเห็นเป็น ทัสสนะ คือความเห็น เป็น ญาณะ คือความรู้ หรือเป็นปัญญาคือความรู้ทั่วถึงที่จะต้องการเป็นขั้นต้นของทุก ๆ คนในโลก แต่ว่าจะได้สัมมาทิฏฐิคือ ความเห็นชอบดั่งนี้ได้ ก็ต้องอาศัยความที่ใช้ปัญญาที่มีอยู่เป็นพื้นในการประกอบปลูกปัญญาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
     ด้วยการฟังการเรียน อันรวมในคำว่า สุตะ
     ด้วยการคิดพินิจพิจารณา อันรวมเรียกว่า จินตา และ
     ด้วยการปฏิบัติอบรมต่าง ๆ ในข้อที่พึ่งปฏิบัติอบรมนั้น ๆ อันเรียกว่า ภาวนา.
     และเมื่อได้ประกอบปฏิบัติปลูกปัญญา อบรมปัญญา เพิ่มพูนปัญญาในทางที่ถูกต้องอยู่เสมอ ก็ย่อมจะได้ ปัญญาที่เป็นปัญญาถูกต้อง อันเรียกว่า สัมมัปปัญญา ได้สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบดังกล่าว.

กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ
     และข้อนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ในที่อื่นอีกว่า ก็ต้องอาศัย มิตตสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยมิตรอันหมายความว่าได้มิตรที่ดีงามอันเรียกว่ากัลยาณมิตร พระพุทธเจ้าเป็นยอดของกัลยาณมิตร. มารดาบิดาครูอาจารย์ทั้งหลายก็เป็นกัลยาณมิตร เพื่อนมิตรทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ทรงปัญญาสามารถที่จะให้คำแนะนำอบรมอันถูกต้องได้เรียกว่า กัลยาณมิตร. ต้องอาศัยกัลยาณมิตรนี้ประการหนึ่ง.
     อีกประการหนึ่ง ก็คือ โยนิโสมนสิการ ที่แปลว่า การทำไว้ในใจ จับให้ถึงต้นเหตุ ดังเช่น เมื่อกำหนดเพื่อรู้จักอกุศล ก็ต้องจับให้ถึงต้นเหตุว่ามีมูลเหตุมาจาก โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล และเมื่อกำหนดเพื่อรู้จักกุศล ก็ต้องจับให้ถึงต้นเหตุ ว่ามีต้นเหตุหรือมูลเหตุมาจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ดังกล่าว. ความใส่ใจคือความกำหนดใจพินิจพิจารณาจับเหตุของผลให้ได้ดังนี้คือ โยนิโสมนสิการก็ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการนี้อีกข้อหนึ่ง ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการนี้ย่อมเป็นเบื้องต้นของสัมมาปฏิบัติทุกอย่าง.
     ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นปัญญา หรือจะคลุมไปได้จนถึงศีลทั้งหมด ต้องอาศัยกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการมาตั้งแต่เบื้องต้น เหมือนอย่างอรุณเป็นเบื้องต้นของวัน.  กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการก็เปรียบเหมือนว่าเป็นอรุณเป็นเบื้องต้นของความสว่างของสัมมาปฏิบัติ คุณงามความดีทั้งสิ้นอันนับว่าเป็นความสว่างจึงต้องอาศัยกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการดั่งนี้. และในมวดธรรมบางหมวดก็ได้ตรัสอธิบายขยายความออกไปในทางปฏิบัติว่า ส้องเสพคบหาสัตบุรุษ คือคนดีก็ได้แก่กัลยาณมิตรนี้เอง.
     ฟังธรรมของคนดี มีโยนิโสมนสิการใส่ใจ คือนำเอาธรรมะที่ฟังมาใส่ไว้ในใจตั้งต้นแต่ตั้งใจฟัง ตั้งใจพิจารณาจับเหตุจับผลและปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
     ข้อใดที่พึงละก็ละ.
     ข้อใดที่พึงปฏิบัติก็ปฏิบัติ.
     ข้อใดที่พึงปฏิบัติก่อนก็ปฏิบัติก่อน.
     ข้อใดที่ปฏิบัติภายหลังก็ปฏิบัติภายหลัง.
     ดั่งนี้เป็นต้นเรียกว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และเมื่อมีทั้ง ๔ ข้อนี้ก็เป็นอันว่านำให้ได้สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ ความเห็นตรง นำให้ได้ความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระธรรม นำเข้ามาสู่สัทธรรมของสัตบุรุษ หรือธรรมที่ดี คือถูกต้อง คือพระธรรมวินัยนี้ดั่งนี้.

สัมมาทิฏฐินำมาซึ่งความสิ้นทุกข์
   เพราะฉะนั้นการปฏิบัติเพื่อให้ได้สัมมาทิฏฐิดังกล่าวนี้ พระสารีบุตรจึงได้นำมาอธิบายไว้เป็นประการแรก. และท่านยังได้กล่าวไว้ด้วยว่า เมื่อได้สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ รู้จักอกุศล รู้จักอกุศลมูล รู้จักกุศล รู้จักกุศลมูล อันนำให้ได้สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบ ความเห็นตรง ก็ย่อมจะนำให้ได้ความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระธรรมนำเข้ามาสู่ธรรมวินัยนี้. ที่ท่านเรียกว่านำเข้ามาสู่สัทธรรมนี้ ก็คือนำเข้ามาสู่พระพุทธศาสนา คำสังสอนของพระพุทธเจ้านี้นั่นเอง. และเมื่อเป็นดังนี้ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้ปฏิบัติละกิเลสที่นอนจมหมักหมมดองจิตสันดานอันเรียกว่า อาสวะ หรือเรียกว่า อนุสัย อันยกขึ้นมาก็คือว่าเป็นเหตุให้ละราคานุสัย กิเลสที่นอนจมหมักหมมจิตสันดานคือราคะ บรรเทาปฏิฆานุสัย อนุสัยคือปฏิฆะ ความกระทบกระทั่ง อันเป็นเบื้องต้นของกิเลสกองโทสะ ถอนทิฏฐิมานานุสัย อนุสัยคือทิฏฐิมานะ ละอวิชชา ทำวิชชาให้บังเกิดขึ้น จึงเป็นไปเพื่อการกระทำความสิ้นสุดแห่งกองทุกข์ได้ดังนี้.


89  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / สามารถร่วมทำบุญกันได้ , จักได้ร่วมทำบุญ สาธุ เมื่อ: มกราคม 21, 2013, 10:37:18 pm
จำได้ว่าเคยเห็นมีประกาศ เลขที่บัญชีที่จะสามารถร่วมทำบุญกันได้ แต่จำไม่ได้แล้วว่าเบอร์อะไร ใคร่ผู้รู้ช่วยบอก จักได้ร่วมทำบุญไป สาธุ
90  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระไตรปิฏกร่วมสมัย พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ เมื่อ: มกราคม 21, 2013, 10:30:02 pm

     รูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทาง สติปัญญา และความรู้ความสามารถ ตลอดถึงตำแหน่งหน้าที่การงาน ได้เข้ามาสร้างความแตกต่างทางสังคม ทั้งเชืืืื้อชาติ๓าษาและวัฒนธรรมประเพณีก็แยกมนุษย์ออกจากกันจนห่างไกลกลายเป็นความแตกแยก ประหนึ่งรอยร้าวที่ยากจะประสานสนิท มองมุมนี้ไม่เห็นทางที่มนุษย์จะรวมกันเป็นหนึ่งความเมตตาปรานีนับวันจะสูญหาย ต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่โดยมองว่าแม้มนุษย์จะแตกต่าง แต่ก็เหมือนกันตรงที่มีชีวิตจิตใจ มีเลือดเนื้อ มีความรู้สึกนึกคิด เขาก็มีจิต เราก็มีใจ ไม่ต่างกันเลย

     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
        "มหาบพิตร องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรมี ๔ ประการ คือ
             ๑. มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่าพระองค์ตรัสรู้เองโดยชอบ
             ๒. มีสุขภาพแข็งแรงโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุย่อยอาหารพอเหมาะพอดี
             ๓. ไม่มีมารยาสาไถย ไม่โอ้อวด เป็นคนเปิดเผย
             ๔. มีความเพียรพยายามที่จะละอกุศลธรรม เจริญกุศลธรรมเป็นคนบากบั่นมั่นคง
             ๕. มีปัญญาพิจารณาเห็นความเกิดดับ ทำทุกข์ให้สิ้นไป

     มหาบพิตร วรรณะ ๔ เหล่า คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน"

      พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า
           "พระองค์ผู้เจริญ ถ้าวรรณะ ๔ เหล่านั้นประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้จริง จะมีข้อแตกต่างกันบ้างไหม"

      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
            "มหาบพิตร อาตมาภาพกล่าวว่าวรรณะ ๔ เหล่านี้ ไม่แตกต่างกันแม้แต่น้อย เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งเก็บไม้สักแห้งมาก่อไฟให้ไหม้ลุกโชน ต่อมาชายอีกคนหนึ่งเก็นไม้สาละแห้งมาก่อไฟให้ลุกโชน ต่อมาชายอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะม่วงแห้งมาก่อไฟให้ลุกโชน และต่อมาก็มีชายอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะเดื่อแห้งมาก่อไฟให้ลุกโชน
    มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยเรื่องนั้นอย่างไร เปลวกับเปลว สีกับสี แสงกับแสงของไฟที่เกิดจากไม้ต่างๆ นั้นแตกต่างกันบ้างไหม"
            "ไม่แตกต่างกันเลย พระพุทธเจ้าข้า"
            "อย่างนั้นเหมือนกัน มหาบพิตร."

    ธรรมชาติคือสภาพความเป็นจริง ซึ่งดำเนินไปตามระบบกฏเกณฑ์ของมันสอดประสานสัมพันธ์ เช้า สาย บ่าย เย็น มืด สว่าง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรง และเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ เรียบๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ปรากฏการณ์บางอย่างเกิดขึ้นให้เราตื่นตระหนก แต่ไม่นานวันมันก็ค่อยๆ เลือนลับไปกับสายลมแสงแดด ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงแตกดับปรากฏให้เห็นอย่างไม่ขาดสาย นี้คือสัจจะอันเป็นนิรันดร์ สรรพชีวิตตกอยู่ในสภาพนี้มีความเสมอเหมือน ไม่มีใครเหนือใครในสัจธรรมชีวิต ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเราก็เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

    ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นความจริงขั้นมูลฐาน มันปรุงประกอบกันเองตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยมีเหตุปัจจัยต่างๆ มาสัมพันธ์เกื้อหนุนสำเร็จเป็นรูปนี้บ้าง รูปนั้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นรูปใหญ่ เล็ก หยาบ ละเอียดเพียงใด ก็ล้วนมาจากธาตุทั้ง ๔ ครั้นสำเร็จเป็นรูปร่างแล้วก็ค่อยๆ โตเติญใหญ่แปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และในที่สุดก็แตกดับกลับไปสู่สภาพเดิม

    จากดิน น้ำ ลม ไฟ ค่อยใหญ่ยิ่ง
กลายเป็นสิ่งสดสวยด้วยสีสัน
แล้วเสื่อมสิ้นอินทรีย์ทุกชีวัน
สูงสุดคืนสู่สามัญ นั่นความจริง ฯ


    คือความจริงตามธรรมชาติที่ใครไม่อาจสั่งบังคับและต้านทานมันไม่ขึ้นกับใคร ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของใคร ทว่าเป็นไปตามปรกติธรรมดา

    บนผืนหล้าใต้ฟ้าครามนี้ สรรพชีวิตกำลังดำเนินไปสู่ความเป็นธรรมดาสามัญเราท่านก็เหมือนกันมิใช่หรือ.


    "...ธรรมชาติคือสภาพความจริง
ซึ่งดำเนินไปตามระบบกฏเกณฑ์ของมัน
สอดประสานสัมพันธ์ เช้า สาย บ่าย เย็น
มืด สว่าง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่อย่าง
เที่ยงตรง และเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ เรียบๆ
อย่างไม่มีวันสิ้นสุด..."

91  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เราจะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ ไปทำไม ในเมื่อ ไม่มีอะไร ๆ ในโลกนี้ เป็นเราของเรา เมื่อ: มกราคม 21, 2013, 09:19:15 pm
ไม่ยาก ก็ออกบวชสิ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรือน
92  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เราภาวนา กรรมฐาน ประจำ แต่ไม่ได้สวดมนต์ แบบคนอื่น อย่างนี้เป็นไรหรือไม่คะ เมื่อ: มกราคม 21, 2013, 09:17:28 pm
เหตุที่ทำให้มนต์เสื่อมเป็นต้น
อสชฺฌายมลา  มนฺตา          อนุฏฺฐานมลา  ฆรา
มลํ  วณฺณสฺส  โกสชฺชํ        ปมาโท  รกฺขโต  มลํ.

                                        (ธมฺมปท)

  มนตราเว้นบ่นพร่ำ            เกิดมละ นา
คร้านเกียจแผ้วฆรา             ไป่เกลี้ยง
สกนธ์บ่ชำระ                     เหม็นสาบ ท่านเนอ
ประมาทเลินเล่อเพี้ยง           ทรัพย์ท่านเสียหายฯ

                                        (ญ.ญ.ม.)
   มนต์ไม่หมั่นสาธยายก็ลืมเลือน  บ้านเรือนไม่หมั่นปัดกวาดเช็ดถูก็สกปรก
ร่างกายไม่หมั่นขัดสีฉวีวรรณก็เศร้าหมอง มีหน้าที่เฝ้าดูแลแต่เผลอเรอ
ข้าวของก็เสียหาย ฯ

แต่หากจำได้ทำตามได้ ตามที่เราสวดได้ ก็คงไม่ต้อง (สำหรับผู้ที่จำได้แล้ว ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ที่อยู่ในบทต่าง ๆ )

แต่หากจะสวดเพื่อสืบทอดเพื่อทรงจำ เพื่อให้ผู้มาใหม่ได้ ได้ยินว่าเขาสวดกันอย่างไรสวดแบบไหนเป็นการสวดที่ถูกต้อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสืบต่อศาสนา ก็เป็นการดี

หลาย ๆ ครั้ง เวลาเราจะปฏิบัติ บางที่ก็ลืม จะจำได้ก็ต้องมาท่องมาสวดทวนกัน จึงจำได้ทำถูกตามคำที่พระพุทธองค์สอน

แต่ที่นี้ ตัวเราเองคงจะเป็นผู้ที่จะรู้ได้ดีที่สุดว่า เราจะสวดมนต์ตอนไหน จะนั่งกรรมฐานตอน คนอื่น มาพูดว่า เขาก็ไม่ได้ประโยชน์นอกจากเราเอง ถ้าท่านมาถึงตรงจุดนี้แล้ว ก็ไม่ต้องไปสนใจใคร

แต่ถ้าเป็นผู้มาใหม่ยังทำอะไรต่ออะไรไม่เป็น ก็คงต้องอาศัยกัลญานมิตรที่ดี ค่อยแนะนำบอกสอยเรา ดังนี้แล
[/color][/size]
93  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปุจฉา ขอเรียนถามลักษณะ ของสมาธิ ด้วยคะ ว่ามีลักษณะอย่างไร คะ เมื่อ: มกราคม 21, 2013, 08:57:50 pm
สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต , ความที่จิตตั้งมั่น

สมาธิ คือภาวะที่จิตมั่นคง แน่วแน่ ไม่หวั่นไหวฟุ้ีงซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอกด้วยอำนาจสติที่กำหนดจับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งไว้มั่นคง

สมาธิ จะเกิดได้ด้วยการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน

สมาธิเป็นคำเรียกย่อของอธิจิตตสิกขาซึ่งเป็นข้อหนึ่งในไตรสิกขา

สมาธิ ทั่วไปใช้หมายถึงการทำใจใช้สงบ การระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน เรียกว่า ทำสมาธิ จิตที่สงบได้ชั่วคราวเรียกว่า ใจเป็นสมาธิ

จากพจนานุกรม เพื่อการศึกษาพุทธศาสน์
อธบายศัพท์และแปลความหมาย คำวัด ที่ขาวพุทธควรรู้
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ , ราชบัณฑิต)
เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
โดย ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม


ประเภทของ สมาธิต่าง ๆ
   
      ขณิกสมาธิ        สมาธิชั่วขณะ
      อุปจารสมาธิ      สมาธิเฉียด ๆ , สมาธิจวนจะแน่วแน่
      อัปปนาสมาธิ      สมาธิแน่วแน่ , สมาธิแนบสนิท , สมาธิในฌาน
      สุญญตสมาธิ      สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง
                       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ
      อนิมิตตสมาธิ     สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
                       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ
      อัปปณิหิตสมาธิ  สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา
                       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ


พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๗
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
หน้าที่ ๖๒๑/๘๔๒      ข้อที่ ๑๔๖๖ - ๑๔๖๗


                       สมาธิกถา


    [๑๔๖๖] สกวาที    จิตตสันตติ (ความสืบต่อแห่งจิต) เป็นสมาธิ หรือ?
              ปรวาที    ถูกแล้ว

              ส. จิตตสันตติที่เป็นอดีต เป็นสมาธิ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. จิตตสันตติที่เป็นอนาคต เป็นสมาธิ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด มิใช่หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. หากว่า อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด
                  ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ
   
[๑๔๖๗] ป. สมาธิเป็นไปในจิตตขณะอันหนึ่ง หรือ?
           ส. ถูกแล้ว
           ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าผู้เข้าสมาบัติ หรือ?
           ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
           ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยฆาน
              วิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียง
              ด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียง
              ด้วยจิตสหคตด้วยราคะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตสหคตด้วยโทสะ ฯลฯ
              ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตสหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต
              สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ชื่อว่า ผู้เข้าสมาบัติ หรือ?
           ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
[๑๔๖๘]  ส. จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ?
           ป. ถูกแล้ว
           ส. ความสืบต่อแห่งอกุศลจิต เป็นสมาชิก หรือ?
           ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
           ส. จิตตสันตติที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโทสะ ฯลฯ ที่สหรคต
              ด้วยโมหะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะเป็นสมาธิ หรือ?
           ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
[๑๔๖๙]  ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ?
           ส. ถูกแล้ว
           ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรอาวุโส นิครนถ์ทั้งหลาย เรานี่แหละ
              พอที่จะไม่หวั่นไหวด้วยกาย ไม่กล่าววาจา เป็นผู้เสวยสุขโดยส่วน
              เดียว อยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วัน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
           ส. ถูกแล้ว
           ป. ถ้าอย่างนั้น จิตตสันตติ ก็เป็นสมาธิ น่ะสิ
                         สมาธิกถา จบ
                        -----------

94  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: มีคาถาทำให้ คนรักเรา แบบเมตตา หรือไม่คะ เมื่อ: มกราคม 21, 2013, 08:56:13 pm
ยิ่งอยากรู้ ก็ต้องยิ่งสวด จะได้รู้
95  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระพิมพ์ วัดพลับ เมื่อ: มกราคม 18, 2013, 06:10:49 pm
พระพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ วัดพลับ หรือวัดราชสิทธาราม แบบขรัวตาจัน




ผงสมเด็จ สุก ไก่เถื่อน เป็นพิมพ์บาทฐาน ของพระกรรมฐาน ในห้องปีต



http://www.facebook.com/photo.php?fbid=521134767930738&set=a.248254268552124.66759.100001026573295&type=1&relevant_count=1&ref=nf
96  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เราแผ่เมตตา แล้ว จะรู้ได้อย่างไร ว่าได้ผล เมื่อ: มกราคม 14, 2013, 01:39:56 pm
"เราแผ่เมตตา แล้ว จะรู้ได้อย่างไร ว่าได้ผล"

    ก็ผลจากการแผ่เมตตาได้เกิดขึ้น
       
          เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งเขาและเรา
          ถ้ายัง ก็จงทำให้มาก จงเมตตาให้มาก
          อาจจะวัต ได้จากสัตว์ เช่น ไก่ หรือนก สามารถที่จะเข้ามาจิกกินที่อุ้งมือของเราได้โดยไม่กลัว
          นี้แค่เล็ก ๆ น้อย

          [/color]
97  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / อดีตที่เคยรุ่งเรือง สุโขทัย ธรรมะสัญจร (แสวงธรรมส่วนตัว เก็บบุญข้ามปี) เมื่อ: มกราคม 14, 2013, 12:27:40 pm
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ราชวรวิหาร (วัดพระปรางค์)












[img ]http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/524798_470842659639114_1362043102_n.jpghttp://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/481162_470842869639093_965201642_n.jpg[/img]

[img ]http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/530295_470842856305761_1107536961_n.jpghttp://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/74971_470842906305756_1660540819_n.jpg :)[/img]

[img ]http://sphotos-g.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/407959_470842909639089_1335514793_n.jpg[/img]

























ใครจะรู้บ้างว่าเกี่ยวอะไร ยังไง กับกรรมฐานมัชฌิมา แต่ที่รู้ ๆ หลวงปู่มาเมืองลับแลที่นี่ จะเพราะอะไร ?
98  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เทวดา ตั้งแต่ ชั้น จาตุมหาราชิก จน ถึงพรหมสูงสุด จัดเป็นพราหมณ์ หรือ เป็นพุทธ เมื่อ: มกราคม 09, 2013, 10:36:29 pm
ภิกขาปรัมปรชาดก
99  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เทวดา ตั้งแต่ ชั้น จาตุมหาราชิก จน ถึงพรหมสูงสุด จัดเป็นพราหมณ์ หรือ เป็นพุทธ เมื่อ: มกราคม 09, 2013, 09:35:15 pm
อย่างในบทกรณียเมตตาสูตร
ก็มีที่ว่า
    ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา       สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
    เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ       พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

หรืออย่างใน บทสวดโมระปริตตัง
ที่ว่า
    เย  พราหมะณา  เวทะคุ  สัพพะธัมเม

ในที่นี้จะแปลว่าอะไร นี้เป็นตัวอย่าง
100  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: มีคาถาทำให้ คนรักเรา แบบเมตตา หรือไม่คะ เมื่อ: มกราคม 09, 2013, 01:06:40 pm
อยากเป็นที่รักที่เมตตาต้องสวดคาถาบทไหน ?
   คงต้องเริ่มที่ ความเมตตา มาจากข้างในตัวเราก่อน เราจึงจะส่งความเมตตานั้น ไปให้คนอื่นได้
   คาถาบทไหน ก็คงใช้ได้หมดทุกคาถาที่เป็นคาถาเมตตา ค่อยๆเรียนรู้ ค่อยๆ สวดไป

แล้วถ้าเราพูดชื่อคนที่เราอยากให้เค้าเมตตาเราไปด้วยจะได้มั้ย ?
  ก็ใช้ได้ แต่ก็จะได้เพียงหนึ่งคน เปรียบเหมือนฝน ที่ตกไม่ทั่วฟ้า เอาแบบตกทั่วฟ้าน่าจะดีกว่า ก็คือเราก็ให้สัพสัตว์ทั่วหมดนะแหละ

ถ้าเราส่งพลังจิตไปให้คนที่เรารักเวลาสวดเค้าจะรับรู้ได้หรือเปล่า ?
   อย่าว่าแต่เฉพาะเวลาสวดมนต์เลย ถึงแม้ไม่สวดมนต์อยู่ก็สามารถส่งได้
   ว่าแต่ว่า แล้วส่งได้ไหมละ นี้ก็เป็นวิชชาหนึ่ง ถ้าทำได้แล้ว ไม่สวดมนต์ก็ส่งได้
   ปัญหาข้อนี้คือ ยังส่งไม่เป็น ยังส่งไม่ได้


ถ้าอยากจะเป็นที่รักของผู้คน ก็เอาสิ่งที่พระพุทธองค์สอนไปใช้ ก็ได้แล้ว เช่น
     มงคล 38 ประการ
     กรณียเมตตาสูตร
     เป็นต้น

   สวดด้วย นำไปใช้ด้วย อาทิตย์เดียวก็เห็นผลแล้ว
101  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เทวดา ตั้งแต่ ชั้น จาตุมหาราชิก จน ถึงพรหมสูงสุด จัดเป็นพราหมณ์ หรือ เป็นพุทธ เมื่อ: มกราคม 09, 2013, 12:49:12 pm
ในพระสูตร คำเดียวกัน แต่คนละความหมาย มีมาก ต้องไปดูที่เชิงอรรถ ขยายความว่าอย่างไร แนะนำให้อ่านของมหาจุฬา มีเชิงอรรถ ขยายความไว้มาก อ่านแล้วทำให้เข้าใจได้ดี จุดประสงค์ของการกล่าวความไม่ผิดเพี้ยน ส่วนตัวที่ได้อ่านเ้จอมา มีความอีกนัยหนึ่งว่า อริยะ ต้องลอง อ่านดูให้มากหลายๆ พระสูตร จะเห็นความ ต่าง กัน ของในแต่ละพระสูตร
102  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เรียนถามความคิดเห็นเพื่อน ๆ กับการที่พระสงฆ์ ใช้ facebook และ line เมื่อ: มกราคม 09, 2013, 12:33:32 pm
ก็มาอยู่กันบนเน็ตเสียหมด แล้วพระคุณเจ้า จะไปเผยแผร่ศาสนาที่ไหนเหล่า

ก็คงต้องตามมา

แต่หากใช้ไปในทางอื่น ก็เห็นมิควร

ก็คงต้องดูว่า ใครใช้ทำอะไร

มันก็เป็นแค่เครื่องมือในการทำงานอย่างหนึ่ง เท่านั้นเอง

อย่างไปมองว่า อินเตอร์เน็ต โน้ตบุ๊ค เป็นเพียงแค่ของเล่น เป็นกิเลส

รู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์  ประโยชน์ก็เกิดขึ้นมาก
103  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรณียเมตตาสูตร ใช้สวดไล่ผี ใช่หรือไม่คะ ต้องสวดกี่จบ กี่ครั้ง และ ดูหนังสือสวด.. เมื่อ: มกราคม 09, 2013, 12:32:51 pm
เท่าที่ล่าสุดได้ยินเขาบอกมาว่า เปตรเทพ บอกมาว่า เป็นบทแผ่เมตตาที่แรงบทหนึ่งที่เหล่าเปตรและ อื่นๆ จะสามารถได้รับบุญได้อย่างมาก ซึ่งเมื่อได้รับส่วนบุญผลบุญกุศลแล้ว ก็เลยจากไป ไปในภพภูมิที่ดีขึ้น หรือไปเกิด จึงไม่ได้มาให้เราเจออีก (หรือมาหลอกเรา)

  จากเรื่องที่เล่ามานี้ จึงอาจจะทำให้หลายๆคน ไปเข้าใจว่า เป็นบทไล่ผี ปราบผี ซึ่มเมื่อมาดูที่คำแปลของบทนี้แล้ว ก็ไม่ได้เป็นการขับไล่แต่อย่างใด แต่กลับเป็นการแผ่เมตตามากกว่า

   ทีนี้คงจะเข้าใจกันแล้ว ว่าในส่วนของการไล่ผี ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับบทสวดกรณียเมตตาสูตร

  ทีนี้มากันที่ว่า สวดแล้วจะได้ผลมากน้อยประการใด

      การที่สวดได้โดยไม่ต้องดูหนังสือ ย่อมมีผลมากกว่าการสวดโดยเปิดดูหนังสือ
      การสวดโดยออกเสียงถูกต้อง ชัดเจน อักขระไม่วิบัติ ย่อมได้ผลมากกว่า ผู้สวดผิดเพี้ยน
      การสวด การว่าเป็นภาษาบาลี นั้น เป็นภาษากลางที่เหล่าโลกวิณญาณ
      (เอาเป็นว่า ดวงจิตที่ไม่ใช่มนุษย์โลก) เขาใช้กัน
      ถ้ากล่าวเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งในโลกเรานี้อาจจะส่งสารไปได้ ไม่โดยตรง 
      แต่คงอาศัยกำลังจิตที่มีความปรารถนาในเรื่องนั้นๆ ให้เป็นไป
      คล้ายๆ เวลาเราคลุกคลีกับสัตว์ ทำไมสัตว์ถึงรับรู้ความรู้สึกของเรา และเราก็เช่นกัน
      ผู้ที่มีพลังจิต ที่มีมาก  ย่อมได้ผลมากกว่า ไปถึงเขา ส่งถึงเขาได้มากกว่า ผู้ที่มีพลังจิตน้อย

สุดท้าย เปตรเทพ บอกว่า ถ้าปฏิบัติ 16 ข้อ ในกรณียเมตตาสูตรนี้ได้ จะเป็นที่รักของเหล่าเทวดา

ก็เห็นจะเป็นประโยชน์ ดีกว่า ที่จะเอาไปไล่ผี
104  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมปฏิบัตธรรมข้ามปี 31 ธ.ค.-1 ม.ค.56 ณ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม เมื่อ: ธันวาคม 12, 2012, 03:09:54 pm
105  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมปฏิบัตธรรมประจำเดือน ธันวาคม 1-5,31 ธ.ค.-1 ม.ค.56 ณ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม เมื่อ: ธันวาคม 12, 2012, 01:35:16 pm
106  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมปฏิบัตธรรม31 ธ.ค.-1 ม.ค.56 ณ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม เมื่อ: ธันวาคม 12, 2012, 09:21:25 am
107  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ใครรู้บ้าง ว่า วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคมนี้ เป็นวันอะไร ? เมื่อ: ธันวาคม 11, 2012, 06:37:59 pm
ตังใจว่าจะมานำเสนอ   แต่คงจะไม่ทันแล้ว ติดภารกิจ  ก็เลยรีบมาเฉลยกันก่อน

คำตอบคือ เป็นวันที่พระโมคคัลลานะนิพพาน

คงต้องรบกวนผู้มีศรัทธามาบอกเล่ารายละเอียดให้ฟังกัน (ให้ได้อ่านกัน)

ว่างอีกทีก็ปีน้า จะมาเขียนต่อ
108  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ใครรู้บ้าง ว่า วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคมนี้ เป็นวันอะไร ? เมื่อ: ธันวาคม 08, 2012, 05:08:44 pm
ถูกต้องจ๊ะ เกี่ยวกับพระสาวก  !   :smiley_confused1:
109  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: QA "ขึ้นกรรมฐาน กับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำอย่างไร ?" เมื่อ: ธันวาคม 08, 2012, 05:02:49 pm
เรื่อง อามิสบูชา

    ส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะกว่าจะสำเร็จได้นั้น บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ  ต้องอาศัยทั้งความอดทน ความพยายาม ทำให้เห็นได้ ในส่วนหนึ่งเลยว่า ผู้นั้น ๆ มีความอดทน มีความเพียรพยายาม มีความนอบน้อม มีความเคารพมากแค่ไหน

        เริ่มจากการหาซื้อวัสดุอุปกรณ์  ไหนจะตกแต่ง ให้ปราณีต เหล่านี้ ก็เป็นบุญมิใช่น้อยเลย ขนาด นางอะไรแล้วนะ ( :smiley_confused1: ลืม) ที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว แต่ไม่ทันได้ถวาย มีอุบัติเหตุ นางตายเสียก่อน แต่ก็ยังได้ไปเกิดในสวรรค์เลย

    เคยได้รู้มาว่า  จากการถวายถาดขึ้นกรรมฐานนั้น จะสามารถบอกความลับอะไร ๆ ของคนที่ขึ้นกรรมฐานได้ ซึ่งจะทำให้พระอาจารย์ผู้บอกกรรมฐานเรา  สามารถที่จะรู้ได้ตั้งแต่วินาทีแรกเลย ว่าเราจะปฏิบัติกรรมฐานออกมาเป็นแบบไหน แต่ก็เป็นความลับ บางอย่างก็พอจะพูดบอกกันได้ บางอย่างก็ต้องเก็บไว้ ข้อดีก็คือ เมื่อพระอาจารย์รู้ว่าเราเป็นอย่างไรแล้ว ก็สามารถที่จะช่วยบอก ช่วยแก้กรรมฐานให้ปฏิบัติได้  หลายคนที่ไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน จึงพลาดโอกาศเหล่านี้

     

     
110  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: มุมน่ารัก..ของ "สมเด็จพระเทพฯ" เมื่อ: ธันวาคม 08, 2012, 10:48:29 am
 :93:
111  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ใครรู้บ้าง ว่า วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคมนี้ เป็นวันอะไร ? เมื่อ: ธันวาคม 07, 2012, 07:24:12 pm
ก็มีปัญหามาให้คบคิดกันอีกแล้ว  ;)

ใครรู้บ้าง ว่า วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคมนี้ เป็นวันอะไร ?
   :72:

 ???   :smiley_confused1:   :41:

คำใบจะมีอยู่ที่นี่ : http://www.madchima.org/madchima/radiomad.php
112  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: QA "ขึ้นกรรมฐาน กับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำอย่างไร ?" เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 10:58:23 am


113  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดราชสิทธาราม เมื่อ: ธันวาคม 05, 2012, 09:38:12 pm


ภาพนี้ดูเข้ากับวันพ่อดี  เป็นพระราหุล ทำการกราบ พระพุทธะบิดา ที่ได้เสก็จมา เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นหน้า













114  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอเสนอให้ พระอาจารย์ พบลูกศิษย์ ทาง MSN อาทิตย์ ละครั้ง เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 10:45:22 pm
ใช้ได้จ๊ะ ยังใช้อยู่เลย :welcome:
115  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ๑ ทศวรรษ ประชาชนได้อะไรจากกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 09:14:16 pm
๑ ทศวรรษ ประชาชนได้อะไรจากกระทรวงวัฒนธรรม


   “วัฒนธรรม” เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติ และอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เปรียบเสมือน “รากแก้ว” ที่หยั่งรากลึกและหล่อหลอมความเป็นไทยให้คงอยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ที่นำพาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามายังประเทศไทยอย่างมากมาย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่สำคัญของคนไทย ทุกคนที่จะต้องช่วยกันธำรงรักษา “วัฒนธรรมของไทย” ให้สืบทอดต่อไปและนั่นก็คือ ภารกิจหลักของกระทรวงวัฒนธรรม
 
           ด้วยเหตุผลดังกล่าว “กระทรวงวัฒนธรรม” จึงตั้งขึ้นมาตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการตั้งแต่เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕ โดยปัจจุบัน มีหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (ซึ่งมีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตั้งอยู่ในภูมิภาคทุกจังหวัด)  กรมการศาสนา กรมศิลปากร กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ นอกจากนี้ยังมีองค์การมหาชน ๓ หน่วยงาน คือ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หอภาพยนตร์ และศูนย์คุณธรรม
 
           เนื่องจากทุกวันนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้มีวัฒนธรรมต่างชาติแพร่หลายเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งในบางครั้งก็สวนทางกับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันดีงามของคนไทย ดังนั้น งานด้านเฝ้าระวังของกระทรวงวัฒนธรรม จึงมีความสำคัญและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้รองรับงานที่มากขึ้นนี้ จึงมีการยกฐานะกลุ่มเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมให้เป็นสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มีศูนย์ฮอตไลน์ ๑๗๖๕ เปิดตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อรองรับการแจ้งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
 
 “งานด้านเฝ้าระวัง” จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนและเครือข่ายทางสังคมในการชี้เบาะแสและ ให้ข้อมูล ซึ่งจากการสรุปผลข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาที่อาจส่งผลทางวัฒนธรรม ในช่วงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ พบว่า การร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาของสื่อที่เป็นช่องทางสร้างความเบี่ยงเบนทาง วัฒนธรรม มีจำนวน ๗๙.๒% เช่นในกรณีที่ประชาชนร้องเรียนผ่านหมายเลข ๑๑๑๑ ว่าเว็บไซต์แห่งหนึ่ง เผยแพร่ข้อความของภาพยนตร์เรื่องน้ำตาลแดงมีความไม่เหมาะสม และการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาด้านการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมมีจำนวน ๒๐.๘๓% เช่น ในกรณีที่กลุ่มเชียงใหม่อารยะร้องเรียนเรื่องการให้สัมภาษณ์ของผู้หญิงไทย ที่ถ่ายภาพนู้ดในปฏิทินของบริษัทขายน้ำเมายี่ห้อหนึ่ง โดยระบุถึงการแก้ผ้าถ่ายนู้ด หลังจากที่ใช้ผ้าปิดบังของสงวนเพียงแค่ ๑๐ วินาทีเป็นต้น
 
 หรือ อย่างกรณีของความไม่เหมาะสมในการเล่นสงกรานต์ปี ๒๕๕๔ ซึ่งเกิดจากกรณีหญิงสาววัยรุ่นเต้นโชว์หน้าอกที่ถนนสีลม ก็เป็นเรื่องตัวอย่างหนึ่งของงานเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เพราะเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงและส่งผลให้เกิดการติติงจากสังคมอย่างมาก จนเป็นเหตุให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สั่งให้ “วัฒนธรรมจังหวัด” ไปตรวจตราและสอดส่องการเล่นสงกรานต์ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และพบว่ามีจังหวัดที่มีการเล่นสงกรานต์ไม่เหมาะสมมากถึง ๘ จังหวัด

และ ยังมีกรณีที่เครือข่ายผู้ปกครองและประชาชนร้องเรียนผ่านสายด่วน ๑๗๖๕ ของกระทรวงวัฒนธรรม ถึงความไม่เหมาะสมของตัวละครในเรื่อง “ดอกส้มสีทอง” ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๓ สุดท้ายผู้จัดละครต้องตัดฉากที่ไม่เหมาะสมออกไป
 
 กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
 พ.ศ. .... มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาภาพยนตร์ โดยเฉพาะรายการเกี่ยวกับเด็ก โดยภาครัฐจะเข้าไปสนับสนุนเงินทุนผ่านทางกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้าง สรรค์ ซึ่งในเบื้องต้นเงินมาจากกองทุนของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จำนวน ๕๐๐ ล้านบาท และในระยะต่อไปเงินที่นำมาสมทบในกองทุนฯ อาจจะนำมาจากการเก็บภาษีร้านคาราโอเกะ ร้านเกม และสื่อต่างประเทศ ๑%
 
 แต่สิ่งที่น่ากังวลใจมากสิ่งหนึ่งก็คือการที่เด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ถูก “มอมเมา” หรือรับวัฒนธรรมจากนานาประเทศได้ง่าย ดังนั้น ในหลายโครงการของกระทรวงวัฒนธรรมจึงมีการใช้อายุเด็กและเยาวชนตั้งแต่ ๑๘ - ๒๐ ปี มาเป็นเกณฑ์กำหนดในการดูแลและดำเนินงาน อย่างเช่นการจัดเรตติ้ง (Rating) ของภาพยนตร์ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ชมแต่ละวัย ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดเรตติ้งภาพยนตร์ โดยแบ่งระดับเป็น ๗ ประเภท ประกอบด้วย ประเภทที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้ดู ประเภทที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่ ๑๓ ปี ๑๕ ปี ไปจนถึง ๑๘ ปีขึ้นไป ประเภทที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีดู และ ประเภทที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร เนื่องจากมีเนื้อหาหมิ่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ก่อให้แตกความสามัคคี

ซึ่งเมื่อมีการจัดเรตติ้งภาพยนตร์แล้ว ทางกระทรวงวัฒนธรรมยังเห็นว่าควรจะมีการจัด “เรตติ้งเกม” ในหลักเกณฑ์เดียวกัน เพื่อสะดวกในการดูแลและตรวจสอบ โดยมีการกำหนด “เรตติ้งเกม” ทั้งหมด ๗ ประเภท ประกอบด้วย เกมที่เหมาะสำหรับผู้เล่นทุกวัย เกมที่เหมาะสำหรับผู้เล่นในช่วงอายุ   ๓ - ๕ ปี และ ๖ - ๑๒ ปี เกมที่เหมาะสำหรับผู้เล่นอายุตั้งแต่ ๑๓ ปี ๑๕ ปี ไปจนถึง ๑๘ ปีขึ้นไป และเกมที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีเล่น

และจากปัจจุบันที่ปัญหาร้านเกมกลายเป็นแหล่ง “มั่วสุม” ของเด็กและเยาวชน ทางกระทรวงวัฒนธรรมจึงได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยจัด “โครงการร้านเกมสีขาว” ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานร้านเกมโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังมีการต่อยอดในการร่วมมือกับภาคเอกชนจัดโปรแกรมติวเตอร์ออนไลน์ ซึ่งเป็นโครงการที่ให้นักเรียนที่มาเข้าใช้ร้านเกมสีขาวสามารถเข้ารับการติว ฟรีผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้ประกอบการร้านเกมจำนวนมากยิ่งขึ้น
 
 นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมยังได้เล็งเห็นถึงการให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของ “คน”ในสังคม ซึ่งนำมาสู่การมอบ “รางวัล” เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ “บุคคลสำคัญ” และสร้างขวัญและกำลังใจให้กับ “บุคคลที่ทำความดีให้แก่สังคม” ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงวัฒนธรรมได้ยึดถือและปฏิบัติมาช้านาน อาทิเช่น
 
 ·  กระทรวงวัฒนธรรมโดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  ได้ร่วมจัดพิธีการเฉลิมฉลองในโอกาส ๑๐๐ ปี ชาตกาล ตามที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ท่านศาสตราจารย์ (พิเศษ)  พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ๔ สาขา คือ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล พ.ศ. ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔
 
 ·  โครงการ คนดี คิดดี สังคมดี ที่เป็นการยกย่องและให้รางวัลแก่ผู้ทำความดี กล้าหาญ เสียสละ มีน้ำใจต่อสังคม และเพื่อเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นมีความกล้าที่จะทำความดี โครงการดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบโล่เชิดชูเกียรติแก่ตำรวจและแท็กซี่พลเมืองดีจำนวน ๓ ราย จากเหตุการณ์คนร้ายคลั่งก่อเหตุจี้รถและขับรถชนตำรวจ ใช้อาวุธทำร้ายตำรวจ แท็กซี่พลเมืองดี และจับแพทย์หญิงเป็นตัวประกัน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย
 
 กระทรวงวัฒนธรรม ยังได้จัดให้มีรางวัลแก่ศิลปินในสาขาต่าง ๆ ที่ร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะตลอดจนการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ให้สืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง อย่างเช่น
 
 ·  รางวัล “ศิลปินแห่งชาติ” ถือ เป็นรางวัลที่สร้างขวัญกำลังใจแก่ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะของชาติ และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีการพิจารณาใน ๓ สาขา คือ สาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ และสาขาศิลปะการแสดง ทั้งนี้ รางวัล “ศิลปินแห่งชาติ” เกิดขึ้นในสมัยที่นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ และด้วยความที่นายชวนเป็นผู้ก่อตั้งโครงการศิลปินแห่งชาติ จึงได้รับการยกย่องให้เป็น “ฐาปนันดรศิลปิน” ในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี ๒๕๒๘

·  รางวัล “ศิลปาธร” มี วัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชูเกียรติศิลปิน ร่วมสมัย รุ่นกลางที่มีอายุระหว่าง ๓๐ - ๕๐ปี ใน ๙ สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ เรขศิลป์ และการออกแบบ โดยรางวัล “ศิลปาธร” ในความรับผิดชอบของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี ๒๕๔๗

          การผลิตบุคลากรเฉพาะสาขาศิลปวัฒนธรรมรับใช้สังคมโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่ง จัดการศึกษาและส่งเสริมวิชาการตั้งแต่ระดับพื้นฐานวิชาชีพถึงวิชาชีพชั้นสูง ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ ช่างศิลป์ ทั้งไทยและสากล รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ทำการสอน ทำการแสดง ทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการ ตลอดจนส่งเสริม สืบสาน สร้างสรรค์ ทำนุบำรุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายของชุมชนในท้องถิ่น โดยผลิตบุคลากรแบ่งเป็น  ๓ ระดับ

·       เป็นช่างฝีมือประณีตทางนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ ช่างศิลป์ระดับผู้ปฏิบัติ
 
 ·       เป็นครูระดับชำนาญที่สามารถถ่ายทอดศิลปะสาขาต่างๆ ได้
 
 ·       เป็นระดับผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ เป็นศิลปินในศิลปะสาขาต่างๆ และมีฝีมือเชี่ยวชาญเป็นระดับชาติ
 
          ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นองค์การมหาชนในกระทรวงวัฒนธรรม ที่ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาข้อมูลทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลทางมานุษยวิทยาสำหรับการศึกษา ค้นคว้า และนำความรู้ทางมานุษยวิทยาขับเคลื่อนสังคมเพื่อฟื้นคุณค่าความเป็นมนุษย์  ให้มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมนุษยชาติทั้งมวล มนุษย์จะได้เข้าใจตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจอันดีและการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยให้บริการทางวิชาการด้านข้อมูลประเภทต่างๆ ผ่านสื่อผสม จัดทำสื่อวิชาการและสื่อโสตทัศนวัสดุ จัดแสดงนิทรรศการถาวรและหมุนเวียน  และให้บริการห้องสมุดเพื่อการสืบค้นข้อมูล

การอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถาน ถือเป็นหน้าที่โดยตรงของกรมศิลปากร ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงโบราณสถานที่เกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติด้วย อย่างเช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางภาคเหนือของไทยและประเทศพม่าเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ซึ่งทางกรมศิลปากรพบว่ามีโบราณสถานที่เสียหายในจังหวัดน่าน พะเยา แพร่ ลำพูน เชียงใหม่ และเชียงราย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย โบราณสถานที่สำคัญเสียหายถึง ๔ แห่ง

การเสนอขึ้นทะเบียนโบราณสถาน/โบราณวัตถุให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ก็เป็นอีกหน้าที่หนึ่งของกรมศิลปากร ซึ่งล่าสุดกรมศิลปากรได้เตรียมเสนอภูมิทัศน์โบราณสถาน ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ขึ้นบัญชีเบื้องต้น (Tentative List) ของมรดกโลก ต่อ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทาง วัฒนธรรมแล้ว ๓ แห่ง คือ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร  นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

ในส่วนของการปกป้อง คุ้มครอง และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อนำไปเผยแพร่สู่สายตาชาวโลกนั้น กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปกป้องคุ้มครอง ส่งเสริม และสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้วยการจัดทำบัญชีรายชื่อ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” เพื่อขึ้นทะเบียนคุ้มครองโดยใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน ๒๕ รายการ ได้แก่

สาขาศิลปะการแสดง  ๖ รายการ  ได้แก่  ปี่พาทย์  ละครใน  หุ่นกระบอก  ลิเกทรงเครื่อง  รำเพลงช้า-เพลงเร็ว แม่ท่ายักษ์ - ลิง 
 
 สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ๓ รายการ ได้แก่ ผ้ายก ผ้ามัดหมี่ การปั้นหล่อพระพุทธรูป 
 
 สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน ๑๕ รายการ เช่น นิทานศรีธนญชัย สังข์ทอง ขุนช้างขุนแผน ตำนานพระแก้วมรกต เป็นต้น

สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย ๑ รายการ คือ มวยไทย
 
 การอนุรักษ์และสืบทอดพระราชพิธี  กระทรวง วัฒนธรรมเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษา อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมถึงพระราชพิธีต่างๆ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดพระราชพิธีที่สำคัญต่างๆ อาทิ โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นอกจากนี้ ยังมีพระราชพิธีต่างๆ สำคัญประจำปี เช่น พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉัตรมงคล ฯลฯ  และพระราชพิธีที่สำคัญอื่นๆ เช่นกระบวนพยุหยาตราชลมารค และงานรำลึก ๑๐๐ ปี พระปิยะมหาราช เป็นต้น
 
 งานด้านการศาสนา  กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมการศาสนา  ทำหน้าที่ในการรับสนองงานพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี และศาสนพิธี เพื่อให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี และเพื่อดำรงความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย   ตลอดจนส่งเสริมให้ศาสนามีบทบาทนำในการร่วมเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์    ให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการด้านศาสนา ส่งเสริมการเผยแพร่หลักธรรม   และพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม  รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา  เพื่อนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ส่งเสริมศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต  เพื่อ สร้างภูมิคุ้มกันและให้เกิดความเข้มแข็งต่อสถาบันครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ โดยมีเป้าประสงค์สำคัญ เพื่อสร้างความมั่นคงในสถาบันหลักของชาติ  และนำทุนทางวัฒนธรรมของประเทศมาสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางสังคม และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยมี “ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์”  “ ลานบุญ ลานปัญญา” “ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม”และองค์การทางศาสนา  เป็นแหล่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของประเทศให้มีคุณธรรม จริยธรรม บนพื้นฐานแห่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทย  เพื่อสร้างความสุขและความสมานฉันท์ ตลอดจนเพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่อยู่ที่สบาย  เป็นสวรรค์แห่งเอเชีย ที่ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงคงอยู่เป็นอัตลักษณ์ของไทยสืบไป
 
           นอกจากนี้  ศูนย์คุณธรรม องค์การมหาชนในกระทรวงวัฒนธรรม ยังทำ หน้าที่ในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนประสานงานและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายองค์กรด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้มีพลังในการพัฒนาคุณภาพประชากรของชาติในด้านคุณธรรมจริยธรรม เพื่อรักษาดุลยภาพในการพัฒนาสังคมไทย โดยจัดกระบวนการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจัดต่อเนื่องมาแล้ว ๖ ครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๔ เพื่อให้เกิดการยอมรับและมีความมุ่งมั่นในการยึดถือนำไปสู่การปฏิบัติ การวิจัยและจัดการความรู้ เพื่อสืบค้น แสวงหา        องค์ ความรู้และต้นแบบด้านคุณธรรมและจริยธรรม มากกว่า ๒๐๐ รายการ อาทิ ต้นแบบจิตอาสา แผนที่ความดี ที่นำไปสู่นโยบายบริหารราชการแผ่นดินตามมติคณะรัฐมนตรี การจัดงานเปิดขอบฟ้าคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนผู้สนใจ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการวิจัยด้านคุณธรรมจริยธรรม และการสื่อสาร รณรงค์ และเผยแพร่องค์ความรู้ อาทิ กิจกรรมทำดีไม่ต้องเดี๋ยว เครือข่ายศูนย์เรียนรู้เชิงคุณธรรม ที่สอดคล้องกับพื้นที่และบริบทแต่ละแห่ง จัดทำภาพยนตร์สารคดีสั้น ๓ นาที ชื่อ ดอกไม้บาน...สื่อสารความดี เพื่อเผยแพร่กิจกรรมและกระบวนการสร้างคุณธรรมความดีในสังคมเผยแพร่ทางสถานี โทรทัศน์ และมีผลผลิตด้านสื่อสาธารณะจำนวน ๒๐๔ เรื่อง
 
 นอกเหนือจากภารกิจทางด้านสังคมและวัฒนธรรมแล้ว กระทรวงวัฒนธรรมยังมีภารกิจในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยสามารถทำรายได้ให้กับประเทศกว่า ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท แอนิเมชั่น และเกมของไทยสร้างรายได้กว่า ๔,๐๐๐ ล้านบาท กระทรวงวัฒนธรรมจึงจัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์และวี ดิทัศน์แห่งชาติ เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ผลิตภาพยนตร์ทุกประเภท รวมถึงเกมและแอนิเมชั่น โดยมีคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์เป็นผู้พิจารณาจัดสรรเงินสนับสนุน

นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมโดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ยัง ได้จัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ มีระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิต เผยแพร่ ถ่ายทำ จัดจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่สำคัญในตลาดโลก รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยเฉพาะการนำทุนมรดกทางวัฒนธรรมของไทย ซึ่งมีอยู่มากมายไปใช้ในการสร้างภาพยนตร์ เช่นเดียวกับประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น

ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจนั้น กรมศิลปากรได้จัดทำโครงการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จากมรดกวัฒธรรมขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้แก่ชุมชนหรือผู้สนใจได้ใช้เป็นแนวทางไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตน ตามความเหมาะสมกับเอกลักษณ์ของชุมชน โดยดำเนินการสร้างต้นแบบด้านศิลปกรรม จำนวน ๒๐ แบบ เช่นโคมไฟ ที่เสียบปากกา กระถางธูป ชุดถ้วยกาแฟ และแจกันรูปช้าง เป็นต้น
 
 อีกทั้ง ได้จัดทำเว็บไซต์ www.creativeculturethailand.com เพื่อเป็นฐานข้อมูลและเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ผลงานของผู้ผลิตไทย ตามโครงการวัฒนธรรมสรรค์สร้าง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ช่วยให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเข้าถึงสินค้าทางวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่ง ขึ้น โดยมีฐานข้อมูลของผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมในท้องถิ่นทั้งประเทศกว่า ๒,๐๐๐ รายการ แบ่งเป็น ๔ กลุ่มสินค้า คือ  กลุ่มสืบทอดทางวัฒนธรรม เช่น งานหัตถกรรม ท่องเที่ยว แพทย์แผนไทย และอาหาร เป็นต้น  กลุ่มศิลปะ เช่น ศิลปะการแสดง และทัศนศิลป์  กลุ่มสื่อ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อกระจายเสียง และกลุ่มงานสร้างสรรค์ เช่น งานออกแบบแฟชั่น โฆษณา ดนตรี และซอฟแวร์ เป็นต้น
 
 สุดท้าย เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่างๆ ของกระทรวงในอนาคต สอดรับกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป กระทรวงวัฒนธรรมได้เตรียมปรับบทบาทภารกิจในหลายๆ ด้าน อาทิ
 
 การถ่ายโอนงานการดูแลโบราณสถาน/พิพิธภัณฑ์ ไปให้ชุมชนหรือท้องถิ่น โดยกรมศิลปากรเองก็มีหน้าที่เสริมสร้างและส่งเสริมงานเครือข่ายการบูรณาการ เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการอนุรักษ์แหล่งมรดกทางศิลปกรรมในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งการอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่นนั้นเป็นสำคัญ เพราะโบราณสถาน / พิพิธภัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของชุมชนที่ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องหวงแหน และร่วมกันรักษาให้ดีที่สุด โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้เตรียมถ่ายโอนงานการดูแลโบราณสถาน/พิพิธภัณฑ์ ไปให้ชุมชนหรือท้องถิ่นดำเนินการ จำนวน ๑๔๐ แห่งในช่วงปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖

การปรับปรุงสถานที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อใช้อนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งมีจำนวนมาก คือ ภาพยนตร์ไทยประมาณ ๑,๕๐๐ เรื่อง ภาพยนตร์สารคดีประมาณ ๘,๐๐๐ เรื่อง ภาพยนตร์ข่าวประมาณ ๕๐,๐๐๐ ข่าว จึงเห็นว่าควรมีการโอนย้ายภารกิจการส่งเสริมและสนับสนุนภาพยนตร์ในส่วนของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไปไว้ที่หอภาพยนตร์ เนื่องจากหอภาพยนตร์เป็นองค์การมหาชนสามารถกำหนดหลักเกณฑ์และบริหารการส่ง เสริมภาพยนตร์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
 
  “วัฒนธรรม” เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ เป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ ความสามัคคี และความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น คนไทยทุกคนจะต้องหวงแหน ช่วยกันรักษาไว้ ซึ่งพลังที่สำคัญก็คือความร่วมมือของชุมชนและเครือข่ายของสังคม ขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเพียงอีกกลไกหนึ่งทางสังคม  ที่ช่วยขับเคลื่อนในการอนุรักษ์ รักษาขนบธรรมเนียม และมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าให้ สืบทอดต่อไป

จาก:http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3160
116  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เติมรัก เติมรสชีวิตให้สุข สดชื่น ด้วยพยัญชนะจาก ก ไก่ - ฮ นกฮูก เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 09:06:54 pm
เติมรัก เติมรสชีวิตให้สุข สดชื่น ด้วยพยัญชนะจาก ก ไก่ - ฮ นกฮูก

ในชีวิตที่สับสน วุ่นวาย และซับซ้อนเช่นปัจจุบัน แม้เราจะมีเครื่องอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ช่วยร่นทั้งเวลาและย่นระยะทางในการสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง และคนใกล้ชิด แต่ก็น่าแปลกที่หลายๆคนก็ยังรู้สึกเหงาหงอย เศร้าซึม จนดูเหมือนอยู่คนเดียว ท่ามกลางผู้คนมากมาย นั่นคงเป็นเพราะว่าคนสมัยนี้ แม้จะอยู่ในบ้านเดียวกัน ครอบครัวเดียวกัน ทำงานด้วยกัน หรืออยู่ใกล้กันไม่ว่าแบบใด ก็อาจจะเป็นประเภท “ ใกล้ตัว ไกลใจ ” หรือบางคนก็ “ ไกลทั้งตัว ไกลทั้งใจ ” เพราะขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จึงทำให้ไม่อบอุ่นและไม่ผูกพันซึ่งกันและกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการเติมรัก เติมรสชีวิต ด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทั้งในครอบครัว ที่ทำงาน ตลอดจนญาติสนิทมิตรสหายของเราให้ดีขึ้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเสนอแนะสิ่งควรทำ และไม่ควรทำ จากพยัญชนะ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก (บางตัว) ดังต่อไปนี้

-ก ที่ควรทำ ได้แก่ กอด พ่อแม่ ลูก สามี หรือภริยา วันละครั้ง เพื่อแสดงความรัก ความห่วงใยกอดเพื่อนเพื่อแสดงความเห็นใจ หรือให้กำลังใจ และก่อนนอน อย่าลืม กราบ พระ/สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือเพื่อขอบคุณและขอพรสำหรับวันต่อไป ก ที่ไม่ควรทำ คือ ก้าวร้าว ไม่ว่ากับใคร เพราะจะทำให้เป็นคนน่าเบื่อ ไม่น่าอยู่ใกล้ ไม่มีใครอยากให้ไปไหนด้วย กลัวไปทะเลาะวิวาทกับเขา

-ข ที่ควรทำ ได้แก่ ขอบคุณ จงกล่าวทุกครั้งที่มีคนทำอะไรให้ ขำขัน คือ ให้เป็นคนมีอารมณ์ดี อารมณ์ขัน ข.ที่ไม่ควรทำ คือ ขุดคุ้ย เอาเรื่องเก่ามาว่าไม่จบสิ้น หรือหาเรื่องมาประจานเขา

-ค ที่ควรทำ ได้แก่ ครุ่นคิด และ ใคร่ครวญ คือ คิดก่อนทำอะไรทุกครั้ง เพื่อมิให้ตัวเองและคนอื่นเสียใจภายหลัง ค ที่ไม่ควรทำ คือ คลั่งแค้น อย่าเป็นคนโกรธไม่รู้หาย อาฆาตไม่รู้จบ ทำให้คนอยู่ใกล้ไม่มีความสุข

-ง ที่ควรทำ ได้แก่ งดงาม ด้วยการทำตัวเราให้งดงามทั้งกาย วาจาและใจเสมอ ง้องอน เมื่อเราทำผิด หรือง้อเพื่อทำให้คนที่เรารักรู้สึกดีขึ้น และรู้จัก เงียบ ไม่โต้เถียงเสียบ้าง เพื่อให้เกิดความสงบสุข ง ที่ไม่ควรทำ คือ งก อยากได้เกินควร และไม่รู้จักแบ่งปัน

-จ ที่ควรทำ ได้แก่ รู้จัก จดจำ วันเกิด วันสำคัญของคนในครอบครัว เพื่อนฝูง คนรัก และทำอะไรเป็นพิเศษให้บ้าง ข้อสำคัญต้อง จริงใจ ไม่เสแสร้งหลอกลวง อันจะทำให้ต้องหวาดระแวงกันตลอดเวลา จ ที่ไม่ควรทำ คือ จู้จี้จุกจิก พิถีพิถันเกินเหตุ ใครทำอะไรให้ก็ไม่พอใจสักที และไม่เ จ้าชู้ ให้เกิดปัญหาในครอบครัว หรือที่ทำงาน

-ฉ ที่ควรทำ ได้แก่ ทำตัวให้ ฉลาดเฉลียว รู้ว่าอะไรควร ไม่ควร รู้กาลเทศะ รู้จักพูด รู้จักทำสิ่งต่างๆ ฉ ที่ไม่ควรทำ คือ เฉยเมย ไม่รู้ร้อนรู้หนาว กับความรู้สึกของคนอื่นหรือ ฉุนเฉียว ให้คนหวาดผวา

-ช ที่ควรทำ ได้แก่ ชมเชย ชื่นชม คือ รู้จักกล่าวคำชม หรือแสดงความชื่นชมในความสำเร็จ หรือเรื่องดีๆของผู้อื่นบ้าง ช ที่ไม่ควรทำ คือ ช่วงชิง คือ อย่าไปแย่งของรัก ของหวงของผู้อื่น หรือ ชุบมือเปิบ ฉวยประโยชน์ของคนอื่นมาเป็นของเราโดยไม่ลงทุนลงแรง

-ซ ที่ควรทำ ได้แก่ ซื่อสัตย์ ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น ซ ที่ไม่ควรทำ คือ ซุบซิบนินทา หาเรื่องผู้อื่น หรือ เซ้าซี้ จนน่ารำคาญ และอย่าทำท่า เซ็ง จนคนอื่นไม่สนุกไปด้วย

-ฒ ที่ควรทำ ได้แก่ การเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ทรงความรู้ และทำตัวให้น่าเชื่อถือ ฒ ที่ไม่ควรทำ คือ อย่าทำตัวเป็น เฒ่าทารก ไม่รู้จักโต เฒ่าสารพัดพิษ ที่เจ้าเล่ห์ แสนกล และ เฒ่าหัวงู ที่เป็นอันตรายแก่เด็กสาว และกลายเป็นคนแก่ที่ไม่น่านับถือ

-ด ที่ควรทำ ได้แก่ ดี คือ การทำความดี ทำสิ่งที่ถูกต้อง มีเหตุมีผล ด ที่ไม่ควรทำ คือ ดุด่า อย่าไปดุด่าว่าใคร หรือใช้อารมณ์จนเกินเหตุ และอย่า โดดร่ม หนีงานบ่อยเพราะเป็นการเอาเปรียบคนอื่น และอย่าเป็น ไดโนเสาร์เต่าล้านปี รุ่นโบราณคร่ำครึ แต่จงเป็นรุ่นจูราสิคปาร์คที่คุยกับเด็กๆสมัยใหม่รู้เรื่อง

-ต ที่ควรทำ ได้แก่ ตักเตือน เมื่อเห็นใครทำผิดหรือทำไม่ถูกต้อง ด้วยความหวังดี ต ที่ไม่ควรทำ คือ ตลบตะแลง ใช้เล่ห์กล หรือโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อ

-ถ ที่ควรทำ ได้แก่ ไถ่ถาม ห่วงใยทุกข์สุขของเพื่อนฝูง คนรู้จัก และคนที่เรารัก ถ ที่ไม่ควรทำ คือ ถากถาง อันเป็นการพูดเหน็บ หรือค่อนว่าให้คนอื่นเขาเจ็บใจ

-ท ที่ควรทำ ได้แก่ ทะนุถนอม คือ การดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ท ที่ไม่ควรทำ คือ ทิฐิมานะ คือ การโอ้อวดถือดี ถือตัว ไม่ยอมแพ้ จะเอาชนะให้ได้

-ธ ที่ควรทำ ได้แก่ ธรรมะ คือ มีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต ธ ที่ไม่ควรทำ คือ ธุระไม่ใช่ ด้วยการละเลย บอกปัด ไม่สนใจจะช่วยเหลือใครทั้งสิ้น

-น ที่ควรทำ ได้แก่ นอบน้อม เคารพคนที่ควรเคารพ มี น้ำใจ ให้กับทุกๆคน ช่วยเท่าที่ช่วยได้ น ที่ไม่ควรทำ คือ นอกลู่นอกทาง หรือ นอกคอก ด้วยการไม่ประพฤติตนตามที่ควรเป็น

-บ ที่ควรทำ ได้แก่ บุญ คือ การประกอบคุณงามความดีทุกรูปแบบ บ ที่ไม่ควรทำ คือ บัดสีบัดเถลิง อันจะทำให้ตัวเราและผู้เกี่ยวข้องอับอายขายหน้า เป็นที่รังเกียจ

-ป ที่ควรทำ ได้แก่ ปลอบโยน เห็นใครมีทุกข์ ก็ปลอบใจ /ให้คำปรึกษา และเห็นอกเห็นใจเขา ป ที่ไม่ควรทำ คือ โป้ปดมดเท็จ เป็นการกล่าวโกหก ครั้นต่อไปพูดอะไร คนเขาก็ไม่เชื่อ

-ผ ที่ควรทำ ได้แก่ ผัวเดียวเมียเดียว อันจะช่วยลดปัญหาครอบครัวและสังคม ทำให้เด็กๆอบอุ่น ผ ที่ไม่ควรทำ คือ ผรุสวาท (ผะรุสะวาด) กล่าวคำหยาบ เป็นที่ระคายเคืองหูต่อผู้ที่ได้ยิน

-ฝ ที่ควรทำ ได้แก่ ฝึกฝน คือ ทำอะไรด้วยความเพียร พยายามฝึก เช่น ฝึกฝนทำอาหารให้คนที่เรารักกิน ฝ ที่ไม่ควรทำ คือ ใฝ่ต่ำ ชอบทำอะไรในทางลบ ก่อความเสียหายแก่ตัวเองและครอบครัว

-พ ที่ควรทำ ได้แก่ พรหมวิหารสี่ คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาต่อคนรอบข้าง พ ที่ไม่ควรทำ คือ พนัน เพราะจะทำให้เสียเงิน เสียเวลา และนำไปสู่ความเดือดร้อนเรื่องอื่นๆ

-ฟ ที่ควรทำ ได้แก่ ฟังหูไว้หู ไม่เชื่อใครง่ายๆ หรือไม่ฟังคำยุยงที่จะทำให้เกิดความแตกแยก ฟ ที่ไม่ควรทำ คือ ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ เพราะจะทำให้เสียทรัพย์โดยใช่เหตุ และไม่จำเป็น

-ภ ที่ควรทำ ได้แก่ ภาคภูมิ คือ ทำตัวให้สง่า ผึ่งผาย ไม่ซอมซ่อ ทำให้คนที่รักภูมิใจในตัวเรา ภ ที่ไม่ควรทำ คือ ภาระ กล่าวคือ ทำตัวไม่รู้จักโต ไม่รู้จักคิด เป็นที่หนักใจแก่คนอื่นตลอดเวลา

- ม ที่ควรทำ ได้แก่ มัธยัสถ์ คือ รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด และเท่าที่จำเป็น ทำให้ไม่เดือดร้อน ม ที่ไม่ควรทำ คือ โมหะ นั่นคือทำตัวมืดมน มัวเมาด้วยความหลงผิดต่างๆนานา

-ย ที่ควรทำ ได้แก่ ยกย่อง ให้เกียรติทุกคน ไม่ดูหมิ่น ดูแคลนไม่ว่ากับพ่อแม่ พี่น้องหรือเพื่อนฝูง ย ที่ไม่ควรทำ คือ เย้ยหยัน /เยาะเย้ย ทำให้เขาเจ็บใจ เสียใจและผูกใจเจ็บ หรือ ยุยง ให้แตกแยก

-ร ที่ควรทำ ได้แก่ รัก ตัวเองและรักผู้อื่นให้เป็น และมี ระเบียบ ในการปฏิบัติตนและการทำงาน ร ที่ไม่ควรทำ คือ รังควาน ด้วยการรบกวนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน รำคาญทั้งกายและใจ หรือ แรด อันหมายถึง ดัดจริต จนคนเขาระอา และหมั่นไส้ไปทั่ว

-ล ที่ควรทำ ได้แก่ ละมุนละม่อม หรือ ละมุนละไม คือ ทำอะไรด้วยความอ่อนโยน นิ่มนวลต่อกัน ล ที่ไม่ควรทำ คือ ลวนลาม ล่วงเกิน แทะโลมผู้อื่นด้วยวาจาหรือการกระทำ จนเป็นที่ดูถูก

-ว ที่ควรทำ ได้แก่ วันทา คือ การไหว้ และแสดงอาการเคารพต่อบุคคล สถานที่ที่ควรเคารพ ว ที่ไม่ควรทำ คือ วู่วาม ไม่รู้จักเก็บอารมณ์ และทำให้เกิดเรื่องเกิดราวได้ง่าย

-ศ ที่ควรทำ ได้แก่ ศักดิ์ศรี คือ ทำตนให้มีเกียรติ และมี ศีล ทำให้เราน่าคบ และน่าเคารพนับถือ ศ ที่ไม่ควรทำ คือ ศัตรู อย่าก่อศัตรู หรือเป็นศัตรูกับผู้อื่น จะทำให้ชีวิตเราไม่สงบสุข และกลุ้มใจ

-ส ที่ควรทำ ได้แก่ สติ คือทำอะไรให้มีสติอยู่ตลอดเวลา และ เสียสละ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสบ้าง ส ที่ไม่ควรทำ คือ ส่อเสียด และ เสแสร้ง เพราะจะทำให้คนโกรธ และไม่อยากคบ เพราะไม่จริงใจ

-ห ที่ควรทำ ได้แก่ หอมแก้ม คนที่เรารักบ้างเป็นครั้งคราว อันจะทำให้ชีวิตรักสุข สดชื่น ห ที่ไม่ควรทำ คือ หงุดหงิด อารมณ์เสียอยู่เสมอ ทำให้คนอยู่ใกล้หมดความสุข

-อ ที่ควรทำ ได้แก่ อโหสิ และให้ อภัย แก่คนรอบข้าง และรู้จัก เอาใจเขามาใส่ใจเรา อ ที่ไม่ควรทำ คือ เอาใจยาก หรือ เอาใจออกห่าง ล้วนทำให้เกิดปัญหาทั้งสิ้น

-ฮ ที่ควรทำ ได้แก่ แฮปปี้ ( Happy )คือ ทำตัวให้สบาย มีความสุขตลอดเวลา อย่าเป็นคนเจ้าทุกข์ ฮ ที่ไม่ควรทำ คือ โฮกฮาก ทำเสียงกระแทกเวลาพูด ทำให้เสียบุคลิกภาพ

ทั้งหมดนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติแบบง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเชื่อว่าใครก็ตาม หากนำไปใช้กับคนในครอบครัว เพื่อนฝูงรอบข้าง คนรักหรือคนใกล้ชิด ก็คงจะช่วยเติมเต็มความรู้สึกที่ดีงามให้แก่กันและกันไม่มากก็น้อย และคงจะทำให้ชีวิตมีความสุข สดชื่นขึ้นแน่นอน

อมรรัตน์ เทพกำปนาท
 กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
จาก : http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3107
 
117  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เที่ยววัดอย่างไรให้สนุก เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 09:04:13 pm
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ “กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงธรรมะ” หรือ “ทัวร์ไหว้พระ” ณ วัดสำคัญต่างๆ นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวที่มาแรงและได้รับความนิยมอย่างยิ่งในบ้านเรา ทั้งนี้เพราะตามคติความเชื่อที่ถือว่าการได้มาสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ร่วมทำบุญบริจาคทาน จะนำความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิต และสร้างจิตใจที่ผ่องใส มาสู่ผู้ปฏิบัตินั่นเอง

วัด เป็น ศาสนสถานหรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา ซึ่งประกอบด้วยบริเวณ ๒ เขต คือ เขตพุทธาวาส อันเป็นที่ตั้งของพระวิหาร พระอุโบสถ เจดีย์และพระปรางค์ ฯลฯ โดยอาคารทั้งหมดจะอยู่ในกำแพงแก้ว ซึ่งเป็นกำแพงที่ไม่สูงนักกั้นไว้โดยรอบ ส่วน เขตสังฆาวาส จะเป็นที่ตั้งของกุฏิหรือที่อยู่ของพระสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอไตร หอฉัน หรือ หอสวดมนต์ ในสมัยโบราณวัดอาจไม่จำเป็นต้องมีอาคารถาวร แต่มักใช้สถานที่ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรืออาคารที่มีอยู่แล้วตามความจำเป็น แต่เมื่อมีพระหรือนักบวชในศาสนามากขึ้น ทำให้ต้องมีศาสนสถาน ที่ก่อสร้างขึ้นอย่างถาวรเพื่อประกอบศาสนกิจและประเพณีต่างๆ ของท้องถิ่น และหากผู้สร้างมีอำนาจบารมีสูงในระดับผู้ปกครองประเทศ หรือพระมหากษัตริย์ ก็ย่อมจะก่อสร้างอย่างประณีต ใหญ่โต และตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยวัสดุที่มีค่า และฝีมือช่างชั้นสูง

จะเห็นได้ว่า “วัด” นอกจากจะเป็นศาสนสถานแล้ว ยังนับเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สะท้อนอารยธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น อันเป็นแหล่งรวมข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ การศึกษา ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม รวมทั้งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชนและการตั้งถิ่นฐานของชุมชนด้วย

ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ไปวัดเมื่อไร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ก็ขอเสนอแนะแนวทางเพื่อเพิ่มอรรถรสในการท่องเที่ยววัดให้สนุก โดยการศึกษาเรียนรู้ถึงคุณค่าของโบราณสถานและโบราณวัตถุภายในบริเวณวัด ซึ่งมีศิลปะที่งดงาม และแฝงประวัติความเป็นมาที่สำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่งไปด้วย

ศิลปะสำคัญที่น่าศึกษาเรียนรู้ภายในวัดโดยทั่วไป ได้แก่ ศิลปะทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม

สำหรับ ประติมากรรม ที่พบเห็นโดยทั่วไปจะมี ๓ ลักษณะ คือ รูปลอยตัว ที่สามารถมองเห็นได้รอบด้านในลักษณะสามมิติ เช่น พระพุทธรูป รูปปั้นยักษ์ ตุ๊กตาจีน ส่วนรูปนูนต่ำรูปนูนสูง คือรูปที่นูนออกมาค่อนข้างสูงจนเกือบลอยตัว แต่จะยังติดอยู่กับพื้นหลังของตำแหน่งที่ก่อสร้างอยู่ เช่น รูปปั้นตามกำแพง ลายจำหลักหน้าบันรูปต่างๆ เป็นต้น จะมีพื้นหลัง หรือ พื้นล่างรองรับ ส่วนรูปจะนูนออกมาตามสัดส่วนแต่ไม่มาก เช่น บัวหัวเสา พนักธรรมาสน์ และ

ในส่วนของ จิตรกรรม นั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพที่เขียนอยู่ที่ฝาผนังโบสถ์ วิหาร บานประตู หน้าต่าง ศาลาการเปรียญ ตามคติความเชื่อ เช่น พุทธประวัติและชาดกต่างๆ ภาพทวารบาลผู้รักษาทางเข้าออก หรือเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น

นอกจากภาพวาดที่มีเนื้อหาสาระแล้ว กรรมวิธีในการวาดภาพก็น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในหนังสือ วัดกับชีวิตไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวไว้ว่า สีที่นิยมใช้ในสมัยโบราณจะมีลักษณะเฉพาะของที่เรียกว่าเบญจรงค์ เป็นสีฝุ่น ๕ สีหลัก คือ แดง เหลือง คราม ขาว ดำ ที่เมื่อนำมาผสมกันแล้วจะได้สีหลายหลากสี ส่วนการรักษาให้ภาพวาดมีความงดงามคงทนมีหลายวิธี แต่ที่นิยม คือ การใช้ทองเข้ามาประกอบกับงานจิตรกรรม โดยการนำแผ่นทองเปลวมาปิดลงบนภาพ หรือการใช้ทองประกอบไปกับการระบายสี นอกจากนี้ยังมีงานประณีตศิลป์ที่เรียกว่า ลายรดน้ำ ซึ่งเป็นการใช้ทองปิดภาพ ตัดเส้นด้วยรักสีดำและสีแดง วิธีนี้ใช้ตกแต่งผนัง บานประตู หน้าต่าง และเครื่องใช้บางชนิด เช่น ตู้พระไตรปิฎก เป็นต้น

สำหรับงานด้าน สถาปัตยกรรม การก่อสร้างอาคารสถานที่ในวัดนั้น หากเป็นวัดทั่วๆไป ซึ่งประชาชนเป็นผู้สร้างมักเป็นเครื่องไม้ แต่ถ้าเป็นวัดหลวงซึ่งสร้างโดยพระมหากษัตริย์ หรือบุคคลที่มีอำนาจวาสนา หรือมีทรัพย์มาก ก็จะสร้างด้วยไม้และก่ออิฐสอปูนผสมกันไป การสอปูนหมายถึงวิธีการใช้ปูนประสานแผ่นอิฐให้ติดกันนั่นเอง ส่วนรูปทรงที่งดงามนั้นก็ขึ้นอยู่กับความนิยมของศิลปะแต่ละสมัย และมีลักษณะเฉพาะตัวที่ได้รับอิทธิพลจากลักษณะของภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ เช่น ในการสร้างโบสถ์ วิหาร จะสร้างหลังคาสูง มีหน้าต่างประตูหลายบาน เพราะต้องการให้แสงสว่าง และอากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าไปนั่งในโบสถ์แล้วจะไม่รู้สึกร้อน มีลมพัดผ่านตลอด ทั้งที่เมืองไทยเป็นเมืองร้อน

นอกจากนี้แล้วในวัดบางแห่งยังมีการตกแต่งรอบๆบริเวณไว้ให้เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้วิทยาการด้านต่างๆ เช่น รูปฤาษีดัดตนที่วัดโพธิ์ หรือวัดบางแห่งตั้งอยู่ ณ จุดที่มีทัศนียภาพงดงาม ร่มรื่น เช่น วัดอรุณฯ

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นจึงขอยกตัวอย่าง การจะไปไหว้หลวงพ่อซำปอกง หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก ณ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เพื่อความเป็นสิริมงคลตามคติที่ว่า “เดินทางปลอดภัย มีมิตรไมตรีที่ดี” นอกเหนือจากการเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน ฯลฯ สำหรับไหว้พระแล้ว ก็ควรจะมีการศึกษาหาข้อมูลของวัดเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนทัวร์ให้สนุก เพื่อให้ทราบถึงจุดสำคัญต่างๆในวัดที่ไม่ควรพลาดชม อีกทั้งทำให้มีเรื่องราวเล่าสู่กันฟังระหว่างเดินชมด้วย อันได้แก่

- ศึกษาประวัติความเป็นมาของวัด เช่น อ่านข้อมูลจากหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ ๔ เรื่องวัดสำคัญ กรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๒๕ ซึ่งกล่าวถึงประวัติความเป็นมาไว้ว่า “...ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยานิกรบดินทร (โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศที่บ้านและซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีพระภิกษุจีนพำนักอยู่และเรียกกันต่อมาว่า หมู่บ้านกุฎีจีนเพิ่มเติมเข้าด้วยกัน แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า “วัดกัลยาณมิตร”

จากความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายพระองค์ทรงมีต่อเจ้าพระยานิกรบดินทรผู้สร้างวัดนี้ จึงน่าจะเป็นสาเหตุที่มาของคำว่า “กัลยาณมิตร” ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น หากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างก็พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่วัดกัลยาณมิตรมาโดยตลอด คือ

เมื่อแรกสร้างวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารหลวงพระราชทานช่วย พร้อมกับเสด็จพระราชดำเนินก่อพระฤกษ์ พระโต พระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑.๗๕ เมตร สูง ๑๕.๗๕ เมตร ด้วยพระราชประสงค์จะให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกับวัดพนัญเชิงที่กรุงเก่า (กรุงศรีอยุธยา)

ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ และพระราชทานนามพระโตว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทรุดโทรมด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี ทรงเป็นมรรคนายกวัดนี้ก็ได้เอาพระทัยใส่ดูแลซ่อมแซมวัดนี้ตลอดมา

ศิลปะทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม สำคัญภายในวัดที่ควรจะได้ศึกษา คือ

พระวิหารหลวง ซึ่งมีขนาดมหึมาตั้งสูงเด่นตระหง่านตรงปากคลองบางกอกใหญ่ ทางฝั่งทิศใต้ หันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไตรรัตนนายก ซึ่งเป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวจีน เรียกกันตามแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง ในวันสิ้นเดือน ๙ ของทุกปี บรรดาชาวจีนทั้งหลายจะร่วมกับวัดจัดงานนมัสการ มีการแสดงงิ้ว ทิ้งกระจาด และเสี่ยงทายเป็นประจำ ลักษณะการก่อสร้างเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้าใบระกา หน้าบันสลักลายดอกไม้ประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายดอกไม้ปั้นปิดทองประดับกระจก ด้านในพระวิหารหลวงที่ผนังและเสาเป็นลายดอกไม้ซึ่งปัจจุบันเลือนมากแล้ว ด้านหน้ามีซุ้มประตูหิน เสาหิน และตุ๊กตาหินศิลปะจีนตั้งเรียงรายอยู่

พระอุโบสถ ตั้งอยู่ข้างพระวิหารหลวงด้านตะวันออก ฐานที่ตั้งพระอุโบสถเดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยานิกร บดินทร (โต) เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมจีน หน้าบันปั้นลายดอกไม้ ประดับกระเบื้องเคลือบสลับสีลายจีน ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายดอกไม้ประดับกระจก ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติและรูปเครื่องบูชาม้าหมู่แบบไทยปนจีน ซึ่งเขียนตามแบบภาพฝาผนังพระอุโบสถวัดราชโอรสาราม เสาเขียนลายทรงข้าวบิณฑ์ ซึ่งปัจจุบันภาพเขียนส่วนใหญ่เลือนมากแล้ว และที่พระอุโบสถแห่งนี้มีพระพุทธรูปปางเลไลยก์ประดิษฐานเป็นพระประธานถือเป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีพระประธานปางนี้

หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกและพระคัมภีร์ต่างๆ เป็นอาคารสองชั้นก่ออิฐถือปูนมีระเบียงล้อมรอบ หลังคาประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันสลักลายเปลว ปิดทองประดับกระจก ตรงกลางสลักเป็นรูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ บานประตูหน้าต่างสลักลายดอกไม้ปั้นปิดทองประดับกระจก ซุ้มประตู

หน้าต่างปั้นลายดอกไม้ ตรงกลางสลักรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้ทราบว่า รัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นผู้สร้างนั่นเอง ด้วยว่าพระนามเดิมของพระองค์ คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ

พระวิหารน้อย ตั้งอยู่ด้านเหนือพระวิหารหลวง ขนาดรูปทรงเดียวกับพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนมาก

หอระฆัง ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารหลวง และหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ อีกหอหนึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือพระวิหารหลวง ซึ่งพระสุนทรสมาจารย์ (พรหม) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๕ เพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานระฆังซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๗๒ ซ.ม.

เจดีย์บรรจุอัฐิเจ้าพระยานิกรบดินทร (โต) เจ้าพระยารัตนบดินทร (รอด กัลยาณมิตร) เป็นเจดีย์เหลี่ยมมุมไม้ ๑๒ ตั้งบนฐาน ๘ เหลี่ยมประดับหินอ่อน มีกำแพงแก้วล้อมรอบบันไดขึ้นลง ๒ ข้าง และมีปรางค์หินแบบจีนตั้งอยู่ ๔ มุมกำแพง

นอกจากของสำคัญดังกล่าวแล้ว บริเวณวัดกัลยาณมิตรโดยรวมก็มีทัศนียภาพที่สวยงาม อากาศเย็นสบาย เนื่องจากตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะทำให้ผู้ไปเกิดความสงบ สบายใจ

การได้นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชื่นชมความงดงามของศิลปะ และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์สู่กันฟังไม่ว่าจะเป็น จากเพื่อนสู่เพื่อน จากคนในครอบครัว หรือแม้แต่กับชาวต่างชาติ ฯลฯ นับเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้การเที่ยววัดแต่ละครั้งมีรสชาติ และเพิ่มความสนุกสนานอย่างมีสาระมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่เล่าสู่กันฟังนี้ ย่อมส่งผลให้เกิดการซักถามและนำไปสู่การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วย และหากเราทำเช่นนี้กับที่อื่นๆที่ไปเที่ยว ก็จะเป็นการส่งเสริม และปลูกฝังนิสัยการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ข้อสำคัญจะช่วยให้เราเข้าใจในความเป็นไทยอย่างลึกซึ้ง จนเกิดความภาคภูมิใจในมรดกของชาติ และพร้อมที่จะดูแล รักษา ปกป้อง เพื่อสืบทอดสู่ลูกหลานของเราต่อไป

อย่างไรก็ดี การเล่าสู่กันฟังนี้ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวจะต้องศึกษาให้รู้จริง เพื่อถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องด้วย มิฉะนั้นอาจเป็นอย่างเรื่องเล่าที่ว่า นาย ก พาเพื่อนชาวต่างชาติไปเที่ยว บังเอิญมีพิธีบายศรีสู่ขวัญพอดี หมอทำขวัญก็ร้องว่า “..ศรี ศรี วันนี้วันดี..." นาย ก ก็แปลให้เพื่อนชาวต่างชาติฟังทันทีว่า “...Color color today is a good day...” เช่นนี้คงได้เลอะกันไปด้วยสี แต่หา “ศรี” ที่เป็นมงคลไม่ ....

เยาวนิศ เต็งไตรรัตน์
 กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
จาก : http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3125
118  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แนะข้อคิด คำสอน จากบทกลอนสุนทรภู่ ปรับใช้กับชีวิตปัจจุบัน เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 08:30:19 pm
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำเสนอแนวคิดที่ปรากฏในกวีนิพนธ์ของท่านสุนทรภู ซึ่งมักจะสอดแทรกข้อคิด คำสอน คติพจน์ทั้งทางโลกและทางธรรม อันสะท้อนให้เราได้เห็นถึงสัจธรรมแห่งชีวิต  ซึ่งหลายๆเรื่องยังสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้ด้วย  อยู่ที่ว่าท่านจะประยุกต์ให้เข้ากับเรื่องใด  ดังต่อไปนี้

หากท่านเป็นชายหนุ่มที่ต้องการปฏิบัติตนเป็นคนดี และต้องการความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ท่านอาจจะเลือกคำสอนบางอย่างจาก สวัสดิรักษา อันเป็นผลงานที่ท่านสุนทรภู่ได้ดัดแปลงจากคำฉันท์โบราณที่อ่านยากให้เป็นคำกลอนที่อ่านเข้าใจง่าย  ซึ่งแต่งถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ เป็นข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติของชายไทยสมัยโบราณ  ได้แก่ 
 

-  ตื่นนอนแต่เช้า ห้ามโกรธ แล้วหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้  จากนั้นเสกน้ำล้างหน้าด้วยการสวดมนต์สามครั้ง แล้วให้พูดแต่วาจาดี เพื่อให้เป็นมงคล เพราะเชื่อว่าตอนเช้า ราศีอยู่ที่หน้า

 -  ห้ามภรรยานอนหลับทับมือและพาดเท้า  อย่านอนข้างซ้ายผู้หญิง มักจะมีภัย

 -  ให้ตัดเล็บวันจันทร์หรือวันพุธ กันจัญไร

 -  ให้เริ่มเรียนวิชาความรู้วันพฤหัสบดี จะเจริญรุ่งเรือง

 -  ก่อนนอนให้แสดงความเคารพด้วยการกราบหมอนและสรรเสริญคุณบิดามารดา อาจารย์ให้เป็นปกติสม่ำเสมอ 

 -  ห้ามร่วมเพศกับหญิงที่มีระดู เพราะอาจทำให้ตาย ตาบอด หรือเป็นฝีเป็นหนองได้ 

 -  ห้ามฆ่าสัตว์ในวันเกิดจะเสียราศี มีทุกข์โศกโรคภัย  และอายุจะสั้น  ฯลฯ 

 ซึ่งคำสอนเหล่านี้  แม้จะเป็นความเชื่อโบราณ หากจะพินิจพิเคราะห์ให้ดีแล้วจะพบว่า ล้วนแต่เป็นการสอนให้เป็นประพฤติปฏิบัติดีทั้งกาย วาจาและใจ อีกทั้งเป็นการสอนให้รู้จักรักษาสุขภาพอนามัย  และรู้จักระแวดระวังภัย ไม่ประมาท อย่างที่ว่า ห้ามนอนข้างซ้ายผู้หญิง เพราะสมัยก่อนผู้ชายต้องมีมีดดาบไว้ป้องกันตัว  ถ้านอนข้างซ้ายผู้หญิง หากมีขโมยหรือโจรบุก  มือขวาที่ติดกายผู้หญิงจะทำให้จับดาบไม่สะดวก และสู้โจรที่เข้ามาประชิดไม่ทันการ  เป็นต้น

นอกจากความเชื่อใน“สวัสดิรักษา” แล้ว ในเรื่องพระอภัยมณี  สุนทรภู่ยังสอนว่า   “อันรักษาศีลสัตย์กัตเวที  ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน  ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา  เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล พระเวทมนตร์เสื่อมคลายทำลายยศฯ” และในเรื่องสิงหไกรภพ ยังบอกว่า   “พระชนกชนนีเป็นที่ยิ่ง ไม่ควรทิ้งทอดพระคุณให้สูญหาย ถึงลูกเมียเสียไปแม้ไม่ตาย  ก็หาง่ายดอกพี่เห็นไม่เป็นไร” ล้วนเป็นการสอนให้มีศีลมีสัตย์ และรู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีคุณและพ่อแม่ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมทุกยุคทุกสมัย เพราะทำให้สังคมโดยส่วนรวมดีขึ้นได้ ข้อสำคัญความรักของพ่อแม่นั้นไม่มีที่เปรียบได้ดังคำกลอนที่ว่า ”แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก  คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน” จากขุนช้างขุนแผน

ปัจจุบันเวลาไปไหนมาไหน ดูจะมีอันตรายไปหมด จนทำให้ไม่อยากออกจากบ้านไปไหนๆ แต่ถ้าจำเป็นต้องไป ก็ให้คิดถึงคำกลอนของท่านที่ว่า “เมื่อถึงกรรมจำตายวายชีวี  ถึงอยู่ที่ไหนไหนก็ไม่พ้น” จากสิงหไกรภพ และ”ไม่ถึงกรรมทำอย่างไรก็ไม่ตาย  ถ้าถึงกรรมทำลายต้องวายปราณ” จากพระอภัยมณี ซึ่งข้อเท็จจริงนี้อ่านแล้วคงจะช่วยให้เราคลายวิตก กลัวน้อยลง และเกิดความเชื่อมั่นขึ้นไม่มากก็น้อย

การดำรงชีวิตทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่มีเรื่องให้เครียด ให้ทุกข์อยู่เสมอ  ดังที่ท่านว่า “อันกำเนิดเกิดมาในหล้าโลก  สุขกับโศกมิได้สิ้นอย่างสงสัย” หรือ”วิสัยโลกโศกสุขทุกข์ธุระ ย่อมพบปะไปกว่าจะอาสัญ หรือ  “อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์  ไม่รู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน  เหมือนกงเกวียนำกเกวียนเวียนระไว  จงหักใจเสียเถิดเจ้าเยาวมาลย์” จากพระอภัยมณี  หรือในสภาขุนช้างขุนแผนที่ว่า “โบราณท่านสมมุติมนุษย์นี้  ยากแล้วมีใหม่สำเร็จถึงเจ็ดหน  ที่ทุกข์โศกโรคภัยร้อนค่อยผ่อนปรน คงพ้นโทษทัณฑ์ไม่บรรลัย” อ่านแล้วคงจะช่วยปลอบใจเราให้ปลงตกได้บ้างว่า ในโลกนี้ไม่มีใครจะทุกข์ตลอดกาล และไม่มีใครจะสุขอยู่ตลอดชาติ 

สำหรับคำพูดนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างมิตรและก่อศัตรูให้เราได้  อีกทั้งยังเป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น หากเราจะรู้จักใช้ถ้อยคำ ดังคำกลอนจากนิราศภูเขาทองที่ว่า “ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์  มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร  จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา” หรือจากเพลงยาวถวายโอวาทที่ว่า“อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย  แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย  เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ”  หรือจากพระอภัยมณีที่ว่า “อันลมปี่ดีแต่เพราะเสนาะหู  ที่จะสู้ลมปากยากนักหนา”  ทั้งหมดล้วนสอนให้ตระหนักถึงคำพูดที่จะนำมาซึ่งลาภหรือความเสื่อมลาภได้ทั้งสิ้น

ในเรื่อง“ความรัก”นับว่าคำกลอนของท่าน สามารถแจงแจงและอธิบายคำว่า”รัก”ได้อย่างชัดเจนยิ่ง เช่น“เขาย่อมเปรียบเทียบความเมื่อยามรัก  แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน  ครั้นจืดจางห่างเหินไปเนิ่นนาน  แต่น้ำตาลก็ว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล” และ “อดอะไรจะเหมือนอดที่รสรัก  อกจะหักเสียด้วยใจอาลัยหา  ไม่เห็นรักหนักสิ้นในวิญญา จะเป็นบ้าเสียเพราะรักสลักทรวง”จากพระอภัยมณี หรือจากนิราศภูเขาทองที่ว่า“ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก  สุดจะหักห้ามจิตจะคิดไฉน  ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป  แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน” หรือจากนิราศพระประธมที่ว่า“สารพัดตัดขาดประหลาดใจ  ตัดอาลัยตัดสวาทไม่ขาดความ”  ซึ่งเป็นการบรรยายให้เราได้เห็นอาการของคนที่มีความรักว่าเป็นเช่นไร โดยเฉพาะผู้อยู่ในอาการ “อันโศกอื่นหมื่นแสนในแดนโลก  มันไม่โศกลึกซึ้งเหมือนหึงผัว  ถึงเสียทองของรักสักเท่าตัว  ค่อยยังชั่วไม่เสียดายเท่าชายเชือน” จากพระอภัยมณี อันสะท้อนให้เห็นว่าพิษรักแรงหึงมีผลแค่ไหนต่อคนเรา

ส่วนคำสอนอื่นๆของท่าน ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอยังมีอีกมาก เช่น เรื่องวิชาความรู้ ท่านสอนไว้ว่า “มีความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร  ชีวิตไม่ปลดปลงคงได้ดี”หรือ “วิสัยคนทนคงเข้ายงยุทธ์  ฤทธิรุทแรงร้ายกายสิทธิ์  แม้เพลิงกาฬผลาญแผ่นดินสิ้นชีวิต อำนาจฤทธิ์ย่อมแพ้แก่ปัญญา”จากพระอภัยมณี  ส่วนเสภาขุนช้างขุนแผน ก็กล่าวว่า “ลูกผู้ชายลายมือก็คือยศ  เจ้าจงอุตส่าห์ทำสม่ำเสมียน” หรือจากเพลงยาวถวายโอวาทก็ว่า “อันข้าไทได้พึ่งเขาจึงรัก  แม้นถอยศักดิ์สิ้นอำนาจวาสนา  เขาหน่ายหนีมิได้อยู่คู่ชีวา  แต่วิชาช่วยกายจนวายปราณ” หรือ “อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ  ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก  สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก  จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย” เป็นการสอนให้เราเห็นความสำคัญของการศึกษาหาความรู้ ที่มีผู้เปรียบว่า เป็นทรัพย์ที่ติดกายเราจนตาย  ใครก็ขโมยเอาไปไม่ได้

ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งจากกวีนิพนธ์ของท่านสุนทรภู่ที่แม้จะประพันธ์ไว้เมื่อร่วม ๒๐๐ปีล่วงมาแล้ว  แต่ก็ยังทรงคุณค่าอยู่เสมอ  เพราะนอกจากถ้อยคำจะไพเราะสละสลวย คล้องจอง ง่ายต่อการจดจำแล้ว  ยังเป็นคำสอนที่ให้ข้อคิด และแสดงสัจธรรมของโลกที่เราสามารถนำมาใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยตลอดมา

อมรรัตน์ เทพกำปนาท
 กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
จาก : http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=2904
119  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอเสนอให้ พระอาจารย์ พบลูกศิษย์ ทาง MSN อาทิตย์ ละครั้ง เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 04:25:30 pm
ตอนนี้มีที่ : http://www.madchima.org/madchima/radiomad.php

ที่พอจะพูดคุยกันสด ๆ ได้ ก็นัดแนะเวลาให้ตรงกัน ทก็พอจะคุยกันได้ก่อน


 :welcome:
120  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดราชสิทธาราม เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 04:19:39 pm


จาก 2700
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 18