ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื  (อ่าน 22248 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 02:20:34 pm »
0
ในการหลุดพ้นจาก กิเลสมีอำนาจการหลุดการพ้น อยู่ 2 ทางตามที่ผมทราบ
คือ 1. เจโตวิมุตติ หลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ
    2. ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งป้ญญา

================================================
ตอนนี้ ผมสนใจวิธีที่ 1 คือ ต้องการฝึก เมตตาเจโตวิมุตติ แบบลำดับพระกรรมฐาน
มีิวิธีการอย่างไร ครับ ?

วิธีการที่ผมใช้ อยู่ตอนนี้ ผมก็จะนึำกในใจ ( พยายามทำตลอดเวลา ) ว่า
"ขอให้ทุกชีวิต มีความสุข ๆๆๆๆๆ"

===========================================

การภาวนาแบบนี้ ก็พยามยามทุก ๆ โอกาส ที่นึกขึ้นได้

จึงไม่ทราบว่า วิธีการปฏิบัติ ถูกต้องหรือยัง ควรที่จะทำอย่างไร ?

สมาชิก ทุกท่าน ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
 :c017:







บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 09:35:38 pm »
0

พรหมวิหารบัวบาน
พระศาสดา ตรัสเมตตาเจโตวิมุตติ

พระบรมศาสดา ตรัสว่า เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ประกอบไปด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เปรียบดังคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากเลย

ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณอันใดในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจร และอรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

   ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตินั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะ และวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

   ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็เมตตาเจโตวิมุตติเราให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้นพยาบาท ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ข้อนี้มิใช่ฐานะมิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทจักครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้นั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าเมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากพยาบาท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆอบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ประการเป็นไฉน คือ

ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑
ตื่นเป็นสุข ๑
ไม่ฝันลามก ๑
ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑
ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑
เทวดาย่อมรักษา ๑
ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกลาย ๑
จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว ๑
สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑
ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ ๑
เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้วอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ

คำอาราธนาออกพรหมวิหารบัวบาน
(เมตตาเจโตวิมุตติ)

              ข้าฯขอภาวนา เมตตาเจโตวิมุตติ เพื่อจะขอเอายัง ออกบัวบานพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด
              อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อขอเอายัง เมตตาเจโตวิมุตติ ในห้อง ออกบัวบานพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิด นิพพาน ปจฺจโย โหนฺตุ

อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที
               ถ้าจะออกพรหมวิหารบัวบาน ครั้นตั้งจักร ด้วย สุขี จึงออก สุขี แต่ในภูมิ ไป ทุติยะ ครั้นถึง ทุติยะ จึงออกด้วย อเวรา แต่ ทุติยไปให้ออกขึ้นตรงหน้า ขึ้นเบื้องบน ให้ถึงพรหมโลก จนจบอเวรา แล้วจึงคลุม แต่พรหมโลกลงมา เอาขอบจักรวาลให้เห็นขอบจักรวาลอยู่  จบอเวราแล้วช้อนขึ้นไปตามศิลาปฐพีรอบลงไปเอา อเวจีมหานรก ด้วย อเวรา จบหนึ่งเล่า แล้วกลับเข้ามายัง ภูมิ บริกรรม ด้วย สุขี อยู่ในภูมิ นั้น สักคำหมากหนึ่ง แล้วออกจากสมาธิ


ที่มา
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง

---------------------------------------------- 

พรหมวิหารสี่
ข้อเมตตาและกรุณาเจโตวิมุตติ


พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้อบรมโพชฌงค์ทั้งเจ็ดข้อนี้
ประกอบไปด้วยเมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  อันเป็นพรหมวิหาร
ธรรม เป็นเครื่องอยู่ของพรหมคือผู้ประเสริฐหรือผู้เป็นใหญ่เป็นอัปปมัญญา

เมื่อแผ่ไปในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า  ไม่มีประมาณ
ก็เป็นอันว่าแม้การปฏิบัติอบรมพรหมวิหารทั้งสี่
หรืออัปปมัญญาทั้งสี่ข้อ ก็เป็นอันปฏิบัติโพชฌงค์ทั้งเจ็ดประการนั้นด้วย


และ การอบรมพรหมวิหารทั้งสี่หรืออัปปมัญญาทั้งสี่นี้
ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติเจโตวิมุตติคือความพ้นแห่งใจ

เพราะว่า ใจนี้ยังประกอบด้วยพยาบาท  ราคะสิเน่หาบ้าง
ประกอบด้วยวิเหสา  ความเบียดเบียน 
คือความคิดเบียดเบียนและโทมนัสต่างๆบ้าง
ยัง ประกอบด้วยอรติ  ความไม่ยินดีหรือความริษยา
และโสมนัสต่างๆด้วยยังประกอบด้วยราคะ  ปฏิฆะ  คือความติดใจยินดี
หรือ ว่าความกระทบกระทั่งไม่พอใจและความที่เฉยเมยด้วยความไม่เอาใจใส่
ด้วยความไม่รู้บ้าง

ใจสามัญย่อมยังข้องเกี่ยวอยู่ด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็เพราะว่ายังมีสังโยชน์คือความผูก
ในเมื่อตากับรูปประจวบกันก็ยังมีความผูกตากับรูปนั้นไว้ที่จิต
เมื่อหูกับเสียง ประจวบกันก็ ยังมีความผูกหูกับเสียงนั้นไว้ที่จิต
เมื่อจมูกกับกลิ่นประจวบกัน ก็ยังมีความผูกจมูกกับกลิ่นนั้นไว้ที่จิต
เมื่อลิ้นกับรส ประจวบกัน ก็ยังมีความผูกลิ้นกับรสไว้ที่จิต

เมื่อกายและสิ่งที่กายถูก ต้องประจวบกัน
ก็ยังมีความผูกกายและสิ่งที่กายถูกต้องนั้นไว้ที่จิต
เมื่อมโนคือใจเองกับธรรมคือเรื่องราวของรูป  เสียงเป็นต้นเหล่านั้น

ประจวบกันก็ยังมีความผูกมโนกับธรรมนั้นไว้ที่จิต
จิตจึงถูกสิ่งที่ผูกไว้นี้ดึงไปเหมือนกับเกวียนที่ถูกโคทั้งคู่ที่เทียม เกวียน
มี เชือกผูกไว้ที่เกวียนกับโคเมื่อโคเดินไปก็ดึงเอาเกวียนไป
ฉันใดก็ดีจิตที่ถูกสิ่งที่ผูกนี้ดึงไป
ด้วยอำนาจของความยินดีบ้าง
ด้วยอำนาจของความยินร้ายบ้าง
ทั้งนี้ก็เพราะมีสังโยชน์คือความผูกดังกล่าว
จิตจึงถูกผูกไว้ด้วยสิ่งที่ผูกเหล่านี้
จิตก็วิ่งไปคือคิดไปในสิ่งที่ผูกเหล่า นี้
ยินดีใน ส่วนที่ชอบ ยินร้าย ในส่วนที่ไม่ชอบ
ก็ ปรากฏเป็นพยาบาท  ราคะสิเน่หา  เป็นต้น

ดังกล่าวแล้ว เมตตาเจโตวิมุตติ
พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงสั่งสอนให้เจริญ เมตตา
แผ่ จิตออกไปด้วยเมตตาคือ ความมีไมตรีจิต  รักสนิทด้วยไมตรีจิต
มุ่งดีปรารถนาสุข  ทั้งไม่เจือด้วยสิเน่หา  ความเยื่อใยผูกพัน
การ แผ่จิตด้วยเมตตานี้ก็ด้วยอาศัยการคิดแผ่ไปก่อน
ว่าถึงเป็นอัปปมัญญา  คือไม่มีประมาณ

ก็คิดแผ่ไปในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า
ให้มีความสุขทุกถ้วนหน้า
ในทิศเบื้องหน้า  ในทิศเบื้องขวา  ในทิศเบื้องหลัง
ใน ทิศเบื้องซ้าย  ในทิศเบื้องบน  ในทิศเบื้องล่าง
ในทิศขวางโดยรอบ

ให้จิตผ่องพ้นจากพยาบาท  ความมุ่งร้าย
ตลอดจนพ้นจากราคะสิเน่หา
ในบุคคล  ในสัตว์ทั้งหลายที่แผ่จิตไปนั้น
เมื่อจิตปรากฏเป็นเมตตาจิตขึ้นมา
หากจะมีพยาบาทหรือราคะสิเน่หาใด ๆ มาก่อน
กิเลส เหล่านี้ก็จะหลุดไปจากจิตจึงเป็นเจโตวิมุตติ
ความพ้นแห่งใจข้อหนึ่งเรียกว่าเมตตาเจโต วิมุตติ
เมื่อเป็นชื่อของธรรมข้อนี้
ก็แปลว่าธรรมที่ทำให้ได้ความพ้นแห่งใจคือเมตตา
เมตตานี้ตรัสแสดงว่ามีความงามเป็นอย่างยิ่ง
คือจะรู้สึกว่างามด้วยความสุขอัน บริสุทธิ์ไปทั่วทุกทิศ
ทั่วทุกบุคคลสัตว์ทั้งหลายไม่ปรากฏความรู้สึกน่าเกลียดน่าชังใด ๆ ทั้งสิ้น
ไม่ มีความรู้สึกที่เป็นพยาบาท
หรือที่เป็นราคะสิเน่หาอันน่าเกลียดน่าชัง
ไม่มีรูปพรรณสัณฐานของบุคคลและสัตว์ใด ๆ ที่น่าเกลียดน่าชัง
แม้ ผู้ที่เคยเกลียดจิ้งจก ตุ๊กแก

แต่ว่าเมื่อได้เจโตวิมุตติข้อนี้
ย่อมจะรู้สึกว่าจิ้งจกตุ๊กแกก็งามไปหมด
ไม่น่าเกลียด  ไม่น่าชังอะไร
จึงได้ตรัสว่ามีความงามเป็นอย่างยิ่ง
คือน่ารักน่าใคร่ไปหมดแต่ว่า
เป็นความรักใคร่ที่บริสุทธิ์ไม่เจือด้วย ราคะสิเน่หา

คัดลอกจาก...
ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน-หน้า ๖๑-๖๒
พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า  สกลมหาสังฆปริณายก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=398807

โดย อักษราภรณ์

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 09:46:50 pm »
0

เมตตาและวิธีเจริญเมตตา

เมตตาเป็นพรหมวิหารหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ซึ่งได้แก่
เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
คำว่า พรหมวิหารนั้น แปลว่า ธรรมอันเป็น เครื่องอยู่อันประเสริฐ หรือไม่มีโทษ ก็ธรรม
เหล่านี้มีเมตตาเป็นต้น จัดว่าเป็นเครื่องอยู่อันประเสริฐ

ก็ เพราะความที่เป็นการปฏิบัติชอบ
ในสัตว์ทั้งหลาย โดยเหตุที่จะนำความสุข
ความ สวัสดีมาสู่สัตว์เหล่านั้น.................


ความหมายของคำว่า "รัก" ของเมตตานี้ แตกต่างไปจากความรักของตัณหา
ด้วยความรักมีสองอย่างคือ รักด้วยเมตตา และ รักด้วยตัณหา

รัก ด้วยเมตตาเป็นอย่างไร ?

รัก ด้วยตัณหาเป็นอย่างไร ?

ความรักด้วย เมตตา เป็นความเยื่อใยในคนอื่น ใคร่ จะให้เขาได้ดีมีสุข
โดยไม่ ได้คำนึงว่า การได้ดีมีสุขของคนเหล่านั้น ตนเองจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่
ส่วนความรักด้วยตัณหา เป็นเพียงความอยากได้


เป็นเพียงความเพลิดเพลินว่า ถ้าบุคคลนั้นมีอยู่เป็นไป อยู่ก็เป็นความสุขแก่เรา
แม้ ว่าบางครั้งจะเป็นการกระทำ ที่คิดว่าจะให้ผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ตาม
ตนเอง ต้องมีส่วน เกี่ยวข้องในความได้ดีมีสุขนั้นด้วย จึงจะกระทำ

ความ รักด้วยเมตตา ไม่มีการหวังผลตอบแทน แม้เพียงให้ผู้อื่นเห็นความดีของตน
จึง ไม่เป็นเหตุแห่งความ ทุกข์ ความเสียใจเนื่องจากความผิดหวังในภายหลัง
ส่วน ความรักด้วยตัณหา มีการหวังตอบแทน ต้องการให้เขารักตอบ
เพียงให้เขาเห็น ความดีของตน

เพราะฉะนั้น จึงมีโอกาสเป็นเหตุแห่งความ ทุกข์ความเสียใจ
อัน เนื่องมาแต่ความผิดหวังในภายหลังได้
สมตามพระดำรัสที่ว่า "ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์"
นี่เป็นความแตกต่างระหว่าง เมตตา กับ ตัณหา
ความ จริง คนเรายังละตัณหาไม่ได้อย่างพระอรหันต์
ก็มีทั้งความรักด้วยเมตตา และตัณหา
เพียงแต่ว่า ใน ทั้งสองอย่างนั้น อย่างไหนมากกว่ากันเท่านั้น

เพื่อ เป็นการทำความรู้จักกับธรรมชาติ ที่ชื่อว่า "เมตตา" นี้ ดียิ่งขึ้น
จึง ควรทราบลักษณะเป็นต้นแห่งความเมตตานี้ก่อน ดังต่อไปนี้
เมตตา


- มีความเป็นไปโดยอาการเกื้อกูล เป็นลักษณะ
- มีความนำเข้าไป ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส (กิจ)
- มีการกำจัดความอาฆาตเป็นอาการปรากฏ
- มีการเล็งเห็นภาวะ ที่สัตว์ทั้งหลายน่าพอใจ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด


คุณของเมตตานี้ ได้แก่ความเข้าไปสงบความ พยาบาทได้นั่นเอง
เพราะธรรมชาติของเมตตา เป็นไปเพื่อกำจัดโทสะ ความเกิดขึ้นแห่งความใคร่
จัดว่าเป็นความวิบัติ ของเมตตา เพราะเหตุที่จะกลับกลายเป็นความรักด้วยตัณหาไป


วิธีเจริญเมตตา

อันดับแรก ก่อนที่จะเจริญเมตตา ควรพิจารณาคุณของขันติ คือความอดกลั้น
และโทษของ ความโกรธก่อน ถามว่า เพราะเหตุใด
เพราะว่าการ เจริญเมตตานี้เป็นไปเพื่อละโทสะ และเพื่อบรรลุธรรม คือ ขันติ
ถ้า เราไม่รู้จักโทษของความโกรธ เราก็จะละความโกรธไม่ได้
และถ้าไม่รู้จัก คุณของขันติ ก็จะบรรลุขันติไม่ได้
ควรพิจารณา เสมอว่า คนเราถ้าขาดความอดกลั้นเสียอย่างเดียว
จะทำการงานอะไรๆ ให้สำเร็จมิได้เลยเพราะมีปัญหาอะไรนิดๆหน่อยๆ
เขาก็ทนไม่ได้ คืองานหนักหน่อยก็บ่น ไม่ถูกใจผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน
แม้ใน เรื่องเล็กๆน้อยๆก็บ่น ก็ทนไม่ได้ จะหยุดงาน จะลาออก
อย่างนี้แล้วจะไป ประสบความสำเร็จในการงานอาชีพอะไรได้ เพราะมัวแต่ตั้งต้นกันใหม่
เริ่ม กันใหม่อยู่ร่ำไป


ทางโลกซึ่งเป็นเรื่อง หยาบ ยังเป็นอย่างนี้
ทางธรรม โดยเฉพาะการปฏิบัติธรรมในส่วนเบื้องสูง จะป่วยกล่าวไปใยถึงความสำเร็จ
ขันติจึงเป็นธรรมที่ต้องการอย่าง ยิ่ง ในเบื้องต้น ขาดขันติแล้ว
การเจริญกุศลทุกอย่าง
ย่อมสำเร็จไป ไม่ได้ แม้แต่กุศลขั้นต่ำสุด คือทาน ได้แก่การให้ก็จะทำได้ไม่ดี
เพราะ พอ รู้สึกว่ายากลำบากหน่อยก็จะทำได้ไม่ดี
เพราะพอรู้สึกว่ายากลำบาก หน่อยก็จะไม่ทำ
เมื่อกุศลขั้นต่ำสุด ยังทำไม่ได้ กุศลที่สูงยิ่งไปกว่านี้ จึงมิจำเป็นต้องพูดถึง
เพราะเป็นเรื่องที่ต้อง ฝืนกิเลสมากกว่า จึงต้อง ใช้ความอดกลั้นมากกว่า
ก็เป็นอันว่า ขันติคือความอดกลั้น เป็นธรรมที่จำเป็นต้องมีกำกับใน
การกระทำกุศล ทุกอย่าง
ส่วนสำหรับโทษของความโกรธนั้น มองเห็นได้ง่าย เช่นว่า
- คนเราจะประสบความสำเร็จในงานอาชีพ เพราะความโกรธ
ก็หาไม่ ที่แท้แล้วมันจะล้มเหลวพินาศไปก็เพราะความโกรธนั่นแหละ
- คนมักโกรธ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้อยากคบเพราะเขากลัวจะ
มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งขัด เคืองใจกัน
- คนเราเมื่อความโกรธครอบงำ โอกาสที่จะขาดสติสัมปชัญญะ
กระทำ กรรมชั่วด้วยกาย วาจา และด้วยใจ ย่อมมีได้ ทั้งๆที่ไม่คิดว่าจะทำได้มาก่อน
ซึ่ง อย่างน้อยมันก็จะเป็นเหตุให้ต้องเสียใจ
เสวยทุกข์โทมนัสในการกระทำของตน ในภายหลังได้ ในเมื่อได้สำนึก
- หลายคนต้องเสวยทุกข์ เสวยความลำบากเพราะการถูกลงโทษลงอาญา
จากทางบ้านเมือง รวมทั้งต้องเสวยทุกข์ด้วยความเดือดร้อนในอบาย
เพราะกรรมชั่วที่ทำด้วย ความโกรธ
ฯลฯ
อนึ่ง โทษของความโกรธ พึงทราบโดยนัยตรงข้ามกับอานิสงส์ของเมตตา
ที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียว
นี้ เป็นโทษของความโกรธที่พึงพิจารณาเนืองๆ
ก็เมื่อจะอบรมจิต เจริญเมตตา ควรแยกบุคคลที่เป็นอารมณ์ของเมตตาออกก่อน


ไม่ควรเจริญเมตตาในบุคคล ๔ ประเภทก่อน คือ
คนที่ เกลียด ๑
คนกลางๆ ๑
คนที่รักมาก ๑
คนมีเวร หรือเป็นศัตรูกัน ๑


เพราะ จิตใจที่ยังไม่คุ้นเคยกับความรู้สึกของเมตตา เมื่อพยายามจะ
แผ่ความรักไป ยังคนที่เกลียด โดยทำให้เป็นที่รัก ย่อมลำบาก ทำได้ยาก
ถ้าพยายามแผ่ ไปในคนที่รักมาก เช่น บุตร ภรรยา หรือสหายรัก โอกาสที่
จะเกินเลยกลาย เป็นตัณหาไปก็มีมาก
สำหรับบุคคลที่เป็นกลางๆ ไม่ได้รักแต่ไม่ถึงกับเกลียด
การที่จะทำให้ความรู้สึกพอใจ อิ่มเอิบใจเป็นไปในบุคคลนั้นได้นานๆ
ย่อมเป็นการลำบาก

ส่วนผู้ที่ มีเวรเป็นศัตรูกันมาก่อนนั้นก็แทบจะไม่ต้องพูดถึงกันเลย
เพราะปกติเพียง แต่นึกถึงเขาในแง่ดีบ้าง ก็ยังยากอยู่แล้ว
จะป่วยการกล่าวไปใยถึงการที่ จะแผ่เมตตาไปในเขา
เพราะฉะนั้น แรกเริ่มเดิมที ควรเว้นบุคคลเหล่านี้เอาไว้ก่อน
เมื่อเป็นเช่นนี้จะให้เริ่มที่ใคร ก่อนเล่า ?
ตอบว่าในตนเองก่อน ควรสงสัยว่า ทำไมจะต้องให้แผ่เมตตาไปในตนก่อน
เพราะตามปกติ คนเราก็มีความรักในตนเองอยู่แล้ว?
ตอบว่า ความรักที่มีในตนนั้น สำหรับผู้ที่มิได้มีจิตอบรมมาทางเมตตา
จนเกิดความคุ้นเคยแล้ว มักจะเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาไม่ใช่เมตตา
เพราะมันเกิดขึ้นโดยสักแต่เห็น ว่า "เป็นเรา" เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรๆ
ที่เกี่ยวกับตัวเรามันก็เป็นไปได้ ในด้านดีไปเสียทั้งนั้น
ก็แต่ว่า ความเมตตาที่เป็นไปในตนที่ประสงค์เอาในที่นี้ ได้แก่ที่ทำให้เกิดขึ้นในฐานะว่า
เราก็เป็นสัตว์โลกผู้หนึ่งเช่นเดียว กับคนอื่นๆที่รักสุขเกลียดทุกข์เท่านั้นเอง
พูดง่ายๆว่า การเจริญเมตตาในตนก็คือการทำความใคร่ต่อประโยชน์สุข
และประโยชน์ เกื้อกูลต่อบุคคลอื่นให้เกิดขึ้นโดยตั้งตนไว้ในฐานะแห่งพยานนั่นเอง
โดย ว่า

"เราเป็นผู้ใคร่สุขเกลียดทุกข์ รักชีวิตและไม่อยากตายฉันใด
บุคคลอื่น สัตว์อื่นทั้งหลายก็ฉันนั้น"

เมื่อ ได้อบรมเมตตา โดยตั้งต้นไว้ในฐานะพยานอย่างนี้ จนคุ้นเคย
คล่องแคล่วดี แล้ว ต่อไปก็ให้แผ่ไปในบุคคลอื่นๆ คือในบุคคลผู้เป็น
ที่รักอย่างกลางๆ ไม่ถึงกับเป็นที่รักมากค่อนไปในทางเคารพบูชา เช่น
ผู้ตั้งอยู่ในฐานะ เป็นครูเป็นอาจารย์เป็นต้น จนคุ้นเคยคล่องแคล่วดีแล้ว
ต่อจากนั้นก็แผ่ ไปในบุคคลที่รักมาก ที่มีเวร หรือเป็นศัตรูกันถ้าหากว่า
มีตามลำดับ


ก็แต่ว่าเวลานึกถึงบุคคลผู้มีเวรกันนั้น ความขัดเคืองย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้
เพราะ ได้ระลึกถึงโทษที่เขาได้ทำไว้แก่เรา ก็เป็นเหตุขัดขวางการเจริญเมตตา
เพราะ ฉะนั้น ต้องทำให้ความขัดเคืองอันนั้นสงบลงไปโดยอุบายวิธีดังต่อไปนี้ก่อน

- ลำดับแรกตักเตือนตนเองว่า พระพุทธเจ้าทรงติเตียนผู้ที่โกรธตอบผู้อื่นว่า
เลวกว่า เขา เพราะเหตุที่รู้อยู่แล้วว่า ความโกรธนั้นเป็นของไม่ดี ก็ยังทำให้มัน
เกิด ขึ้นในใจของตนอีก เท่ากับช่วยขยายความโกรธนั้นให้แผ่กว้างออกไป
- คนที่เป็นศัตรูย่อมปรารถนาไม่ดีต่อศัตรูของตนว่า "ขอให้ผิวพรรณทราม"
บ้าง "ขอให้อัตคัด ยากจน" บ้าง "ขอให้ทรัพย์สมบัติพินาสวอดวาย" บ้าง
ตลอดจน "ขอให้ตกนรก" บ้าง ก็แต่ว่าการที่เราโกรธเขาแล้วปรารถนาอย่าง
นี้นั้น ผู้ที่มีโอกาสประสบความไม่สวัสดีก่อนเป็นคนแรกคือ เรานี้เอง
เพราะความ โกรธที่เกิดขึ้นขณะนี้ กำลังทำให้เรามีหน้าตาขมึงทึง ผิวพรรณทราม
และ ถ้าหากว่าลุแก่อำนาจของความโกรธแล้ว เราก็ต้องทำกรรมชั่ว มีหวังว่า
จะ ต้องประสบกับความอัตคัด ยากจน เป็นต้น ตลอดแม้จน ตกนรกก็ได้
พราะฉะนั้น การโกรธเขาก็คือการให้ทุกข์แก่ตน เหมือนซัดทรายทวนลม
ไปฉะนั้น

ถ้าได้ตักเตือนตนอย่างนี้แล้วยังมิได้ผล ก็ลองใช้วิธีอื่นดู คือ
ความ ประพฤติของคนเรามี 3 แบบ คือ ความประพฤติทางกาย
ความประพฤติทางวาจา และความประพฤติทางใจ
บางคนความประพฤติทางกายไม่ดี เช่น เป็นคนหยาบคายทางกริยา
ลุกลี้ลุกลน ไม่สำรวม แต่ ความประพฤติทางวาจาของเขาดี คือ
พูดจาอ่อนหวาน พูดจาชัดถ้อยชัดคำ พูดง่ายๆ ว่าดีทางเจรจาให้คน
ฟังชอบใจ กรณีนี้ให้เรานึกถึงแต่ความประพฤติทางวาจาของเขา
โดยอย่าพยายามนึกถึง ความประพฤติทางกายของเขา ความขัดเคือง
ก็มีโอกาสสงบลงได้

หรือ บางคนความประพฤติทางวาจาไม่ดี มีพูดจาสามหาว มากไปด้วย
คำหยาบเป็นต้น แต่มีความประพฤติทางใจดี เช่นเป็นผู้มากในการทำกุศล
เช่นชอบช่วยเหลือ ผู้อื่นเป็นต้น อย่างที่เราเรียกว่า ปากร้ายใจดีนั่นแหละ
เราก็อย่า พยายามนึกถึงความประพฤติทางวาจาของเขาให้พยายามนึกถึง
ความประพฤติทางใจ ของเขาเท่านั้น ความขัดเคืองก็มีโอกาสสงบลงได้
หากว่าบางคนมีความ ประพฤติไม่ดีเลยทั้งสามทาง ก็ไม่มีอุบายวิธีอื่นใด
นอกจากตั้งความกรุณา ให้เกิดขึ้นว่า


"บุคคลผู้นี้ อุตส่าห์ได้อัตตภาพมา เป็นมนุษย์แล้ว ก็ปล่อยโอกาสให้เสียไป
จะประพฤติอะไรให้สมกับอัตตภาพไม่มีเลย
เขามี โอกาสท่องเที่ยวไปในโลกมนุษย์ก็แต่อัตตภาพนี้เท่านั้น
อัตตภาพต่อไปก็ เห็นทีว่าจะท่องเที่ยวอยู่แต่ในอบายมีนรกเป็นต้น
เป็นแน่แท้"

ดังนี้ ความขัดเคืองก็พอจะสงบระงับไปได้เหมือนกัน
ถ้าหากว่า โดยอุบายวิธีนี้แล้ว ยังไม่ได้ผลอีก ยังมีความโกรธความขัดเคืองอยู่
นั้น เอง ก็ลองให้โอวาทตนเองดังต่อไปนี้ดู
คือ ให้พิจารณาถึงภาวะ ที่บุคคลมีกรรมของตน ว่า


"ทุกคนมีกรรมเป็นของตนจะ ประสบสุข ประสบทุกข์
ก็ด้วยกรรมของตนที่ได้กระทำไว้เท่านั้น ไม่มีใครทำให้
บัด นี้ตัวเจ้าอาศัยความโกรธ คิดจะกระทำตอบแทนต่อเขา ก็กรรมที่คิดจะกระทำ
ต่อ เขานั้น มันจะเป็นไปเพื่อความทุกข์ ความไม่สวัสดีแก่เขาก็หาไม่ ที่แท้ตัวเจ้า
ผู้กระทำนั่นแหละ จะเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เปรียบเหมือนการจับก้อนอาจม
หรือ ก้อนถ่านลุกแดง ใคร่จะปาให้โดนผู้อื่น คนจับปานั่นแหละเป็นคนเปื้อนอาจม
ก่อน ถึงฝ่ายเขาก็เช่นเดียวกัน การที่เขามุ่งร้ายต่อเรา ทำกรรมไม่ดีต่อเขา
เขานั่นแหละ จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมชั่วที่เขาก่อไว้ มิใช่เราทำให้"
ดังนี้ ก็อาจจะยังความโกรธ ความไม่พอใจให้สงบระงับได้
ถ้าหากว่า โดยอุบายนี้แล้ว ยังไม่ได้ผลอีก ยังมีความโกรธความขัดเคืองอยู่นั่นเอง
ก็ ลองใช้อุบายอื่นอีก คือ สำหรับบุคคลผู้มากด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย ก็พึง
พิจารณา ความประพฤติของพระศาสดาในครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญ
ปารมีอยู่ โดยอาศัยเรื่องราวในชาดก อันกว่าด้วยการบำเพ็ญขันติบารมีว่า
ในครั้ง นั้นๆ พระโพธิสัตว์ทรงอดกลั้นต่อความโกรธ ไม่ลุแก่อำนาจของความโกรธ
แม้ ต่อผู้ที่มาปลงชีวิตของพระองค์ดังนี้ เป็นต้น สำหรับเราเรื่องก็เพียงเล็กๆน้อยๆ
ไม่ถึงขนาดว่าจะเอาชีวิตอะไรกันยังอด กลั้นไม่ได้ ป่วยการที่จะนับถือพระพุทธองค์
ว่าเป็นศาสดา ด้วยว่าโอวาทจากพระองค์เพียงเล็กๆน้อยๆ ก็ยังปฏิบัติตามไม่ได้
หากว่า ความโกรธยังไม่สงบอีก แม้ด้วยอุบายวิธีนี้ เพราะเหตุที่เป็นผู้มีกิเลสสะสม
มา หนาแน่น อย่างยากที่จะสะสาง ก็พึงพิจารณาความที่ตนมีความเกี่ยวข้องในด้านดี
กับคนอื่น มาแล้วในสังสารวัฏฏ์อันยาวนาน


ดังนี้ เพราะฉะนั้น ความคิดอย่างนี้ว่า
"ในสังสารวัฏที่เราเกิดๆ ตายๆ อยู่นาน
หนัก หนานี้ ผู้นี้อาจเคยเป็นบิดา เป็นมารดา ผู้เคยถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูเรามา
ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ด้วยความรัก แม้ชีวิตก็ยินดีสละให้ได้ ในเวลานี้โทษที่เขาทำ
กับเราแม้ว่ามีอยู่ แต่เมื่อเทียบกับบุญคุณในอดีตก็เป็นของเล็กน้อยนัก ไม่น่าถือ
โกรธเลย"
อะไร ทำนองนี้ ความโกรธก็อาจสงบระงับได้
หรือไม่เช่นนั้น ก็โดยอุบายแยกธาตุ โดยนัยว่า
"ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
ไม่ ใช่ตัวตน ความจริงแล้ว สัตว์บุคคลหามีไม่ ที่แท้แล้วก็เป็นเพียงความเป็นไป
ของ นาม และรูป ซึ่งนามนั้นก็ยังประกอบด้วยขันธ์ต่างๆ มีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขาร ขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ถึงรูปแม้ว่าจะเป็นรูปขันธ์อย่างเดียว แต่รูปขันธ์นั้น
ก็ยังประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป"
ก็ ที่เราสำคัญว่า "โกรธเขานั้น โกรธใคร โกรธอะไร โกรธเวทนาหรือโกรธสัญญา
โกรธ ธาตุดิน หรือโกรธธาตุน้ำ -- - - - " ก็จะหาบุคคลผู้ที่เราจะโกรธไม่ได้
ความ โกรธย่อมมีโอกาสสงบระงับได้เหมือนกัน
ถ้าหากว่าไม่สงบระงับอีก ก็ลองใช้วิธีจำแนกทาน คือให้ตัดอกตัดใจสละของ
อะไรๆที่มีค่าพอที่จะ รู้สึกว่าเป็นการบริจาคให้แก่ผู้ที่เราผูกโกรธ ไม่พอใจคนนั้นไป
วิธี นี้อาจจะสงบระงับความโกรธ ความไม่พอใจแต่ดั้งเดิมได้ เพราะการให้เป็นการ
สร้าง ความรู้สึกที่เป็นมิตรอย่างหนึ่ง
อุบายวิธีต่างๆ เพื่อสงบระงับความโกรธความไม่พอใจเท่าที่กล่าวมานี้
ก็สามารถนำไปใช้ได้ ในกาลทุกเมื่อความโกรธสงบระงับเป็นอย่างดีแล้ว
ก็อบรมเมตตา ทำให้เป็นธรรมชาติที่คุ้นเคยต่อไป


จาก ปัญญาสาร ฉบับที่ ๖
เรื่อง เมตตา
โดย ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์
(เก็บความจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค มาเรียบเรียงอธิบาย)
http://lovesuck.exteen.com/20051224/entry



บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

vijitchai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 27, 2010, 01:41:33 pm »
0
 :25:

ผมกำลังสนใจวิธีการแผ่ เมตตาพอดี เลยครับ ได้สาระมากเลยครับ สำหรับคุณ nathaponson
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม ครูบาอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ทุก ๆ รูป ครับ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2010, 05:37:16 pm »
0
:015: :043: :015:     :bedtime2:      :015: :043: :015:    
:040: สำหรับพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีลักษณะการเจริญจิตในลักษณะดังกล่าวอยู่ในห้องพุทธคุณด้วยการเจริญจิตภาวนา-วิปัสสนาในฐานจิตที่ ๔ พระอุพเพงคาปิติ (ฐานธาตุลม) จุดปัคคหะอยู่บริเวณลิ้นปี่พอดี เมื่อเริ่มภาวนาก็ให้สัมปยุตลงศูนย์นาภี (สะดือ) บริกรรมนับ "พุทโธ" ไปเลยๆพอจิตนิ่ง หากมีวสี (ความชำนาญ) ให้เดินฐานจิตไปที่จุดปัคคหะอยู่บริเวณลิ้นปี่ (อย่าฝ่ากลางเป็นแนวตรงเด็ดขาดไม่อย่างนั้นจิตแตกได้) คือให้อธิษฐานเจริญจิตภาวนา-วิปัสสนาในฐานจิตที่ ๔ พระอุพเพงคาปิติ (ฐานธาตุลม) โดยเวียนอ้อมขวาครึ่งวงกลมไปที่ลิ้นปี่ (ฐานจิตที่ ๔ พระอุพเพงคาปิติ (ฐานธาตุลม) ส่วนในรายละเอียดนั้นขอให้พบพระอาจารย์สนธยา "ธัมมวังโส ภิกษุ" จะดีกว่าครับ...ผมมิอาจกล่าวก้าวล่วงเกินเลยไปในที่นี้...เพียงบอกกล่าวคร่าวๆให้พอเป็นความรู้...หากใครใคร่สนใจอย่างไรต้องมาเรียนใกล้ชิดครูบาอาจารย์คุมจิตให้ การเลื่อนฐานจิตนั้นเป็นดุลยพินิจของครูบาอาจารย์ครับ...สวัสดี.                                                                                                                                                                                          :coffee2:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2010, 06:30:56 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เมตตาเจโตวิมุตติ แบบการฝึก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 02:19:49 am »
0
วันก่อนได้ฟัง พระอาจารย์บรรยายเรื่องการฝึก เมตตาเจโตวิมุตติ ก็เลยมาค้นเรื่องนี้

เพราะว่าำจำขั้นตอนไม่ได้ คร้า

แต่ก็โชคดี เพื่อน สมาชิก โพสต์ไว้แล้วทำให้เข้าใจ มากขึ้น แล้วคร้า

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=482.msg1867#msg1867

กระทู้ด้านบนคือแบบการฝึก คร้า

การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติ นั้น มีขั้นตอนดังนี้ คร้า

1.สัมปยุตธรรม ลงศูนย์นาภี

2.อธิษฐาน การแผ่เมตตา หรือ เดินจิตไปที่ อุพเพงคาปีติ คร้า

3.ทำการแผ่เมตตา แบบเจาะจง 5 ประการ คร้า
   
   แผ่ออกไปทั้ง 10 ทิสคร้า

     คำที่ว่าตอนแผ่มีดังนี้ คร้า

    " ขอ.....1...... ทั้งหลาย ทั้งปวง ในทิศ.....2.....จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด "

     ตรงหมายเลข 1 ให้เปลี่ยนดังนี้ คร้า
     1.ขอสัตว์
     2.ขอปาณชาติ
     3.ขอภูติ
     4.ขอบุคคล
     5.ขอผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตตภาพ

     6.สตรี
     7.บุรุษ
     8.อารยชน
     9.อนารยชน
     10.เทวดา
     11.มนุษย์
     12.วินิปาติสัตว์


    ส่วนหมายเลข 2 ให้เปลี่ยนดังนี้ คร้า

   1.บูรพา  2.ปัจจิม  3. อุดร 4.ทักษิณ 5.อาคเณย์ 6. พายัพ 7. อิสาณ 8.หรดี 9.เบื้องล่าง 10.เบื้องบน





พอจะเ้ข้าใจนะคร้า






 
 
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2010, 05:44:18 pm »
0
 :08:สนับสนุนความเห็นที่ควรจะมีการเผยแผ่การฝึกการแผ่เมตตา ซึ่งจะด้วยการทำการแผ่เมตตาเจโตวิมุตติ หรือใครมีวิธีการแผ่แบบใดฯ  ที่น่าสนใจนำมาแนะนำให้ปฏิบัติ ล้วนเป็นสิ่งที่ดี  :88:เพราะแท้จริงแล้วการเจริญเมตตาเป็นวิถีทางที่ทำให้ใจเราคิดแต่สิ่งที่ดี ๆ ผลที่ได้ก็จะทำให้จิตใจเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว หลุดพ้นจากความเศร้า ความหม่นหมอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พึงสั่งสอนให้เราปฏิบัติ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2010, 08:07:33 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 08:06:51 am »
0
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เมตตาเจโต วิมุตติ ฝึกตามขั้นตอน ออกบัวบานพรหมวิหาร 4 ก็ได้
  1. เจริญสวดคาถา พญาไก่เถื่อน
  2. แผ่เมตตาออกทิศให้เป็นประจำ

   เดี๋ยวจิตก็พัฒนาเป็นเอง

   :coffee2:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 07:02:55 pm »
0
สาธุครับ ผมก็จะเจริญปฏิบัติตามที่ชี้แนะไว้นี้อยู่เนืองๆครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ