ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การอนุโมทนาบุญ ด้วยการกล่าวคำว่า "สาธุ" โดยที่เราไม่ได้บริจาคทรัพย์ได้บุญหรือไม่  (อ่าน 7328 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1 ask1 ask1 ask1 ask1
การอนุโมทนาบุญ ด้วยการกล่าวคำว่า "สาธุ" โดยที่เราไม่ได้บริจาคทรัพย์ได้บุญหรือไม่ เพราะสงสัยเหมือนกันการกล่าว สาธุ สาธุ อย่างนี้จะเป็นบุญได้อย่างไร กันคะ

 thk56
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 06:51:51 pm โดย sinjai »
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ได้บุญจะ เป็น ปัตตานุโมทนา คือการยินดีในบุญ  ที่ผู้อื่นถึงพร้อมแล้ว เช่น เห็นผู้อื่นทำบุญตักบาตร  เมื่อเราพลอยปีติยินดี  กล่าวอนุโมทนา  เพียงเท่านี้ก็ได้บุญแล้ว เป็นหนึ่งใน บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

แต่ในความละเอียดก็จะมี ในเรื่องของจิต ว่า มีความศรัทธา มีความปีติ ยินด มากน้อยคแ่ไหน

เอาไหวจะมากล่าว เรื่องหนึ่งให้ได้ทราบกัน

แต่อนุโมทนา พระเองก็กระทำ เช่นกัน  ถามว่าในตอนไหน

ก็ตอนที่เวลาโยม ๆ ทำบุญกันนะแหละ

อย่าง เช่น ตอนเวลาที่โยมใส่บาตร นะแหละ พระก็จะกล่าวว่า

อะภิวาทะนะสีลิสสะ              นิจจัง  วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร  ธัมมา  วัฑฒันติ    อายุวัณโณ  สุขัง  พะลัง

ก็แปลความได้ว่า
ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปรกติไหว้กราบ
มีปรกติอ่อนน้อม(ต่อผู้ใหญ่)เป็นนิตย์

ซึ่งเมื่อมาดูในหนังสืออย่างมนต์พีธี ที่พระใช้สวดท่องกัน ที่หน้า ๑๓๒
ก็จะเห็นเขียนว่า "อนุโมทนาวิธี"

ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าก็เป็นสิ่งปรกติอยู่แล้ว พระยังทำกันเป็นประจำเลย
แต่อาจจะแปลก ๆ ที่โยม ๆ ไม่ค่อยได้กระทำกัน พอมาอนุโมทนากัน จึงรู้สึกแปลก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 12:47:30 pm โดย ธรรมะ ปุจฉา »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร
   
     พึงทราบวินิจฉัยในบุญญกิริยาวัตถุต่อไป.
     ทานนั่นเอง ชื่อว่าทานมัย. การทำบุญนั้นด้วยวัตถุ (คือที่ตั้ง) แห่งบุญญานิสงส์เหล่านั้นด้วย
     ดังนั้น จึงชื่อบุญญกิริยาวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ).
     แม้ในบุญญกิริยาวัตถุข้ออื่นๆ ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้.


     แต่โดยความหมาย พึงทราบบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างเหล่านี้
     พร้อมทั้งบุรพภาคเจตนา (ความตั้งใจก่อนแต่จะทำ) และอปรภาคเจตนา (ความตั้งใจภายหลังจากทำแล้ว)
     ด้วยอำนาจแห่งเจตนาที่สำเร็จด้วยทาน เป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น.

     และในเรื่องนี้ บุคคลทำกรรมอย่างหนึ่งๆ ด้วยกาย นับตั้งแต่บุรพภาคเจตนา ก็จัดเป็นกายกรรม.
     เมื่อเปล่งวาจาอันมีความหมายอย่างนั้น จัดเป็นวจีกรรม.
     เมื่อไม่ได้ยังองค์แห่งกายและองค์แห่งวาจาให้ไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) ก็จัดเป็นมโนกรรม.


     อีกนัยหนึ่ง สำหรับผู้ให้ทานวัตถุมีข้าว เป็นต้น (ในเวลาที่กล่าวว่า) ข้าพเจ้าให้อันนทาน (ให้ข้าว) เป็นต้นก็ดี
     ในเวลาที่ระลึกถึงทานบารมีแล้วให้ก็ดี จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน.
     ตั้งอยู่ในวัตรและศีลแล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล.
     เริ่มตั้งความพิจารณาโดยความสิ้นไปเสื่อมไปแล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา.



    บุญกิริยาวัตถุอย่างอื่นมีอีก ๗ อย่าง คือ บุญญกิริยาวัตถุ
      - อันประกอบด้วยความเคารพยำเกรง
      - ประกอบด้วยการขวนขวาย (ช่วยทำกิจของผู้อื่น)
      - การให้ส่วนบุญ
      - การอนุโมทนาส่วนบุญ
      - อันสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
      - อันสำเร็จด้วยการฟังธรรม
      - บุญกิริยาวัตถุคือการทำความเห็นให้ตรง ดังนี้.


    บรรดาบุญญกิริยาวัตถุทั้ง ๗ นั้น
    ความเคารพยำเกรง พึงทราบโดยอาการ เช่นเห็นพระผู้เฒ่าแล้ว ลุกรับ รับบาตรจีวร กราบไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น.
    การขวนขวาย พึงทราบด้วยการทำวัตร ปฏิบัติแก่พระภิกษุผู้แก่กว่าตน ด้วยการที่เห็นภิกษุเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต แล้วถือบาตรไปชักชวน รวบรวมภิกษาในบ้าน และด้วยการได้ฟังว่า ไปเอาบาตรของพวกภิกษุมา ดังนี้แล้วเร่งรีบไปนำบาตรมา เป็นต้น.
    การให้ส่วนบุญ พึงทราบด้วยการที่ถวายปัจจัย ๔ แล้ว (ตั้งจิตอุทิศ) ให้เป็นไปว่าส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์.

    การอนุโมทนาส่วนบุญ พึงทราบด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้ว่า สาธุ ถูกดีนักแล้ว.

    ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความปรารถนาว่า คนทั้งหลายจักรู้จักเราว่าเป็นธรรมกถึกด้วยอุบายอย่างนี้. เป็นผู้หนักในลาภแสดงธรรม ข้อนั้นไม่มีผลมาก.
    ภิกษุรูปหนึ่งแสดงธรรมที่ตนคล่องแก่ชนอื่นๆ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการแสดงธรรม.
   บุคคลผู้หนึ่ง เมื่อจะฟังธรรมก็ฟังด้วยความมุ่งหมายว่า คนทั้งหลายจักได้รู้จักเราว่ามีศรัทธาด้วยอาการอย่างนี้ ข้อนั้นไม่มีผลมาก.
   บุคคลผู้หนึ่งฟังธรรมด้วยจิตที่อ่อนโยนแผ่ประโยชน์ว่าจักมีผลมากแก่เราด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการฟังธรรม.


   ส่วนการทำความเห็นให้ตรงเป็นลักษณะกำหนดสำหรับบุญญกิริยาวัตถุทุกอย่าง.
   ที่จริง คนทำบุญอย่างใดๆ ก็ตาม มีผลมากได้ ก็ด้วยความเห็นตรงนั่นเอง.


ที่มา
กระทู้ของคุณ sinjai "บุญที่กระทำด้วยแรงกายแรงใจ กับการใช้สิ่งของ ผลบุญนั้นต่างกันอย่างไร คะ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10131.msg37993#msg37993
ขอบคุณภาพจาก http://i156.photobucket.com/,http://file.giggog.com/



ปัตตานุโมทนามัย... อนุโมทนากับคนที่ทำบุญ เราก็ได้บุญด้วย

ผู้ถาม มีคนฝากให้มาถามหลวงพ่อว่า พ่อแม่ไม่ค่อยทำบุญแต่เป็นคนดี คนซื่อ ถ้าบุตรหลานทำให้แล้วจะใส่ชื่อเขาด้วย อยากทราบว่า ท่านจะได้หรือไม่ครับ

หลวงพ่อ เขาโมทนาด้วยหรือเปล่า ถ้าลูกไปบอกว่า "พ่อ(หรือแม่) ฉันทำบุญให้แล้ว ถ้าท่านยินดีด้วย ท่านได้แน่นอน ถ้าบอก กูไม่รู้โว้ย ด่าตะเพิด อันนี้ไม่ได้แน่

ผู้ถาม อย่างเวลาเลิกพระกรรมฐานแล้ว ก็มีคนไปถวายสังฆทานกับหลวงพ่อ แต่หนูไม่มีของก็ยกมืออนุโมทนาด้วย อย่างนี้จะมีอานิสงส์ไหมคะ...?
หลวงพ่อ อานิสงส์ที่จะพึงได้ก็คือ ปัตตานุโมทนามัย เป็นผลกำไรจากการเจริญพระกรรมฐานไม่ต้องลงทุน ถ้าตั้งใจจริงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เจ้าของได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เราได้ครั้งละ 90 ผ่านไป 10 คนเราได้ 900 มากกว่าเจ้าของ เอ้า! เยอะจริงๆ มันทำบารมีให้เต็มเร็ว เร็วมาก

    การโมทนา เขาแปลว่า ยินดีด้วย ต้องยินดีด้วยความจริงใจนะ สักแต่ว่า สาธุ มันไม่ได้อะไร
    คำว่า "สาธุ" ไม่จำเป็นต้องออกเสียง ไม่จำเป็นต้องยกมือไหว้ก็ได้ เอาใจยินดีใช้ได้เลย


    และการแสดงความยินดีมันก็คือ มุทิตา เป็นตัวหนึ่งใน พรหมวิหาร 4 นี่บุญตัวใหญ่
    ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า "จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา"
    ถ้าก่อนตายจิตผ่องใส ก็ไปสู่สุคติ หมายถึง สวรรค์ ก็ได้ พรหมก็ได้ นิพพานก็ได้ สุดแล้วแต่กำลังใจเรา


    และการโมทนานี่ทำให้ชุ่มชื่นใจ ใช่ไหม....เขาทำดีเรายินดีด้วย ยินดีกับความดีของเขา ไม่ช้าเราก็ดีตามเขา เพราะเราเห็นเขาดี เราก็ชอบดีใช่ไหม... แต่อย่าไปชอบดีเฉยๆ นะ ต้องทำดีด้วยนะ ทำบุญด้วยตนเองบ้าง

ผู้ถาม หลวงพ่อครับ ปัตตานุโมทนามัย กับ ไวยาวัจจมัย นี่เหมือนกันไหมครับ
หลวงพ่อ ไวยาวัจจมัย เขาแปลว่า ขวนขวายในกิจการงาน เช่น เขาส่งสตางค์มาทำบุญ เราช่วยส่งต่อ หรือพวกที่ช่วยขนสังฆทานนี่ ก็พลอยได้บุญไปด้วย มีอานิสงส์ต่ำกว่าบวรเณรนิดหนึ่ง ไม่เบานะ
    แต่ ปัตตานุโมทนามัย ไม่ต้องลงทุน แต่พวกถือมานี่ ยังต้องออกแรงนะ พวกโมทนานี่ไม่ต้องออกแรงเลย แต่อย่าลืมนะเอาแค่โมทนาอย่างเดียวไม่ดีนะ ต้องอาศัยคนต้นตลอด ถ้าไม่ได้อาศัยคนต้นจริงๆ จะสำเร็จมรรคผลไม่ได้ เช่นเดียวกับ พระนางพิมพา ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าตลอด


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
board.palungjit.com/f23/ปัตตานุโมทนามัย-อนุโมทนากับคนที่ทำบุญ-เราก็ได้บุญด้วย-4717.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1 ask1 ask1 ask1 ask1
การอนุโมทนาบุญ ด้วยการกล่าวคำว่า "สาธุ" โดยที่เราไม่ได้บริจาคทรัพย์ได้บุญหรือไม่ เพราะสงสัยเหมือนกันการกล่าว สาธุ สาธุ อย่างนี้จะเป็นบุญได้อย่างไร กันคะ

 thk56


   ans1 ans1 ans1
   
   การอนุโมทนาบุญจัดเป็น "บุญกิริยาวัตถุ" ข้อที่ ๗ คือ ปัตตานุโมทนามัย
   หลวงพ่อฤาษีลิงดำ บอกว่า ได้บุญ ๙๐ เปอร์เซ็นต์
   แม้ไม่กล่าวคำว่า สาธุ ก็ได้บุญเช่นกัน

    :25:
     
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วิหารวิมาน
                    ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้อนุโมทนาการถวายวิหาร

                            (พระอนุรุทธเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
                  {๔๔}[๗๒๙]            เทพธิดา    เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
                  [๗๓๐]            เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่    เสียงทิพย์น่าฟัง    น่ารื่นรมย์ใจ
                                      ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

                  [๗๓๑]            ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
                                      ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

                  [๗๓๒]            เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา
                                      เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม(ของเธอ)ทุกส่วน
                                      ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ    น่าฟัง    ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า

                  [๗๓๓]            อนึ่ง    ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว    ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
                                      น่าฟัง    ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า

                  [๗๓๔]            แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ    มีกลิ่นหอมชื่นใจ
                                      ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ    ดุจต้นอุโลก

                  [๗๓๕]            เธอสูดดมกลิ่นหอมนั้น    ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
                                      เทพธิดา    อาตมาถามแล้ว    ขอเธอจงบอกเถิดว่า
                                      นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า

                            (เทพธิดานั้นตอบว่า)
                  [๗๓๖]            พระคุณเจ้าผู้เจริญ    นางวิสาขามหาอุบาสิกา
                                      สหายของดิฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี
                                      ได้จัดสร้างมหาวิหารถวายสงฆ์    ดิฉันได้เห็นอาคาร
                                      และการบริจาคทรัพย์จำนวนมากอุทิศสงฆ์
                                      เป็นที่พอใจของดิฉันเช่นนั้น    จึงเลื่อมใสแล้วอนุโมทนาในบุญนั้น

                  [๗๓๗]            วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา    ซึ่งดิฉันได้มา
                                      เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
                                      วิมานนั้นล่องลอยไปได้โดยรอบ

                  [๗๓๘]            วิมานเรือนยอดของดิฉัน    จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
                                      ส่องสว่างรุ่งเรือง    ตลอดรัศมี    ๑๐๐    โยชน์โดยรอบ

                  [๗๓๙]            อนึ่ง    ที่วิมานของดิฉันนี้    มีสระโบกขรณี
                                      ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ
                                      มีน้ำใสสะอาด    มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง

                  [๗๔๐]            ดื่นดาดด้วยบัวหลวงหลากชนิด    มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ
                                      ยามลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ

                  [๗๔๑]            มีรุกขชาตินานาชนิด    คือต้นหว้า    ต้นขนุน    ต้นตาล    ต้นมะพร้าว
                                      และป่าไม้เกิดเองตามธรรมชาติ    ภายในนิเวศน์    มิได้มีใครปลูกไว้

                  [๗๔๒]            วิมานนี้กึกก้องไปด้วยดนตรีชนิดต่าง  ๆ
                                      เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
                                      แม้นรชนที่ฝันเห็นดิฉันแล้วต้องปลื้มใจ

                  [๗๔๓]            วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา    มีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ    เช่นนี้
                                      บังเกิดเพราะกุศลกรรมของดิฉัน

                                      (ฉะนั้น)จึงควรแท้ที่สาธุชนจะทำบุญไว้
                           (พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่
                              ที่นางวิสาขาเกิดจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า)

                  [๗๔๔]            เธอได้วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา
                                      เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
                                      ขอเธอจงบอกคติของนางวิสาขา
                                      ผู้ที่ได้ถวายทานนั้นเถิดว่า    นางเกิด    ณ    ที่ไหน
                           (เทพธิดานั้นตอบว่า)
                  [๗๔๕]            พระคุณเจ้าผู้เจริญ    นางวิสาขามหาอุบาสิกาสหายของดิฉันนั้น
                                      ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์    รู้แจ้งธรรม    ได้ถวายทาน

                  [๗๔๖]            เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมิตเทวราชนั้น
                                      วิบากแห่งกรรมของนางเป็นเรื่องที่ใคร  ๆ    ไม่พึงคิด
                                      ดิฉันได้ชี้แจงถึงคำถามที่พระคุณเจ้าถาม
                                      ถึงที่ที่นางเกิดแด่พระคุณเจ้าแล้วตามความเป็นจริง

                  [๗๔๗]            ถ้าอย่างนั้น    ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดชักชวนแม้คนอื่น  ๆ    ว่า
                                      ท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด
                                      และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม
                                      การได้เกิดเป็นมุษย์ที่ได้แสนยาก    พวกท่านก็ได้แล้ว

                  [๗๔๘]            พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงพรหม
                                      มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดังทอง    ผู้ทรงเป็นใหญ่ยิ่งด้วยมรรค๑
                                      ได้ทรงแสดงทานใดว่าเป็นทาง(ไปสู่สุคติ)
                                      ขอท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานนั้นแด่สงฆ์
                                      ซึ่งเป็นบุญเขตที่ทักษิณาทานมีผลมากเถิด

                  [๗๔๙]            ทักขิไณยบุคคล    ๔    คู่    ๘    ท่านเหล่านี้ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว
                                      เป็นสาวกของพระสุคต    ทานที่ถวายในบุคคลเหล่านี้มีผลมาก

                  [๗๕๐]            พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค    ๔
                                      และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล    ๔    นี้
                                      จัดเป็นพระสงฆ์    เป็นผู้ปฏิบัติตรง
                                      ดำรงมั่นอยู่ในศีล    สมาธิ    และปัญญา

                  [๗๕๑]            มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
                                      ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
                                      จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก

                  [๗๕๒]            ด้วยว่า    พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่    ไพบูลย์
                                      หาประมาณมิได้    ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
                                      พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
                                      เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
                                      เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก    ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง

                  [๗๕๓]            ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้นชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
                                      บูชาสักการะด้วยดีแล้ว    ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้นมีผลมาก
                                      ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว

                  [๗๕๔]            เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
                                      กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
                                      ท่องเที่ยวไปในโลก    ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน    จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้

                                          วิหารวิมาน จบ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม