ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี..."ยถาภูตญาณทัสสนะ" ย่อมไม่เกิด  (อ่าน 3439 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ทุสสีลสูตร

      [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว     
      เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ(๑)  ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
      เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มีนิพพิทา(๒)   และวิราคะ(๓) ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
      เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มีวิมุตติญาณทัสสนะ(๔) ของภิกษุผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว

      ________________________________________
     @๑.หมายถึง อาสวักขยญาณ ๒.วิปัสสนาชั้นสูง ๓.มรรค ๔.ผลวิมุตติและปัจจเวกขณญาณ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กะพี้ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล
     ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
     เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาแล้ว     
     เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะ ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
     เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ของภิกษุผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว


     ดูกรภิกษุทั้งหลายสัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
     เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
     เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่นิพพิทาและวิราคะ ของภิกษุผู้ถึงพร้อม ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
     เมื่อนิพพิทาและวิราคะมีอยู่วิมุตติญาณทัสสนะ ของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิพพิทาและวิราคะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่กิ่งและใบบริบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล
     ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
     เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะ ของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
     เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาและวิราคะของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
     เมื่อนิพพิทาและวิราคะมีอยู่วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิพพิทาและวิราคะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ฯ
   

              จบสูตรที่ ๔



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๔๑๙ - ๔๕๐.  หน้าที่  ๑๙ - ๒๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=419&Z=450&pagebreak=0ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=24
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/




อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปัญจังคิกวรรคที่ ๓
๔. ทุสสีลสูตร

               อรรถกถาทุสสีลสูตรที่ ๔              
               พึงทราบวินิจฉัยในทุสสีลสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า หตูปนิโส ได้แก่ ตัดขาดอุปนิสัย คือกำจัดเหตุ.
               บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสนํ ได้แก่ วิปัสสนาอ่อนๆ ตั้งต้นแต่ญาณกำหนดนามรูปไป.
               บทว่า นิพฺพิทา วิราโค ได้แก่ นิพพิทาความหน่ายและวิราคะสำรอก.
               ในสองอย่างนั้น นิพพิทา เป็นวิปัสสนามีกำลัง. วิราคะ เป็นมรรค.
               บทว่า วิมุตฺติญาณทสฺสนํ ได้แก่ ผลวิมุตติและปัจจเวกขณญาณ.


               จบอรรถกถาทุสสีลสูตรที่ ๔
             

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=24




      ยถาภูตญาณ ความรู้ความเป็นจริง, รู้ตามที่มันเป็น

     ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง


      ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ