ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แสวงเร่งปฏิบัติ (ส่วนตัว) เข้ากรรมฐาน หนึ่งในข้อวัตร ต้องปิดวาจา ที่วัดศรีโอภาส  (อ่าน 4554 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เที่ยวนี้ ไปถึงสุโขทัย ที่ศรีสัชนาลัย รีบเข้ากรรมฐาน เรียนกรรมฐานต่อ โดยข้อวัตรห้ามคุย ปิดวาจา ส่วนตัวก็คิดว่าเป็นการดี ได้รับการฝึกอีกระดับหนึ่ง ต้องวางอุเบกขาให้ได้มาก ปล่อยให้โลกเป็นไป แต่เราสำรวจรุ้ทันอกุศลจิตของเราเองให้ทันระงับให้ทันไม่่ให้เิกิดอกุศลจิต

ล่าสุดที่วัดกำลังสร้างบ่อกักเก็บน้ำ ใครสนใจ ร่วมทำบุญได้

ส่วนรูปจะหาโอกาสมาลงให้ได้ชมกัน

วันนี้วันที่สี่แล้วที่ปิดว่าจา (เป็นครั้งแรกเลยนะเนื้ย)

เป็นกำลังใจให้ทุก ๆ คน รีบ ๆ ปฏิบัติกันนะจ๊ะ (ในขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่)

 :welcome:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 05:29:03 pm โดย ธรรมะ ปุจฉา »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ ที่มีความเพียร เพื่อธรรม คะ
แต่ จุดประสงค์ของการปิดวาจา ก็คือ ไม่ติดต่อพูดคุยกับใคร นะคะ

   ดังนั้นคิดว่า ควรจะปิดการใช้ internet ด้วยนะคะ

   st12 st11
บันทึกการเข้า

nimit

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • เรามาเพื่อจรรโลงพระกรรมฐาน
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12 st12
ยังมีพระที่ปฏิบัติจริง ๆ อยู่สักกี่รูปในปัจจุบันครับ
บันทึกการเข้า
ธรรมจักรสถิตอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นมีแต่ความร่มเย็น

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
จากการปฏิบัติที่ผ่านมา เลยทำให้นึงถึงว่า พระอาจารย์สนธยา ได้มีการพูดบอกเรื่องการปิดวาจาไว้ด้วยหรือเปล่า  เลยทำการค้นหาดู ก็ไปเจอมา เลยนำมาแนะนำ เหล่าบอกกันต่อ

จากกระทู้ : พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน
        ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1438.0

ก็ได้คำตอบมาว่า :
        การฝึกกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา ส่วนใหญ่นั้นจะนิยมการปิดวาจา
การปิดวาจา ก็คือ การหยุดพูด เพ้อเจ้อ ส่อเสียด คำหยาบ คำโกหก เป็นต้น
ดังนั้นการปิดวาจา จักให้ทำให้ ศีล ในส่วนนี้สมบูรณ์ มาตรฐานก็เห็นด้วย

แต่ในส่วนของพระอาจารย์เอง เวลาไปฝึกกรรมฐาน ไม่เคยสั่งให้ ศิษย์ปิดวาจา แต่เปิดโอกาส มีการสนทนา
แลกเปลี่ยนกัน เพราะเมื่อทุกคนปฏิบัติในช่วงที่พระอาจารย์ 80 % ได้สมาธิ ขั้นต่ำก็ 30 นาที
และอีก 80 % ที่เจริญวิปัสสนาได้ ดังนั้นจึงไม่ห่วงเรื่องการปิดวาจา เพราะผู้ที่ตั้งใจมาปฏิบัติภาวนา
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ส่วนใหญ่เป็นผู้มุ่งมั่นในการภาวนา ส่วนใหญ่จะเป็นสาวกภูมิด้วย
จึงไม่มีความจำเป็นต้องสั่งปิดวาจา ให้กับศิษย์กรรมฐาน

      การปิดวาจา หมายถึง การปิดจิตไม่ให้ พูด ฟุ้งซ่าน พูด ไปโดยไม่ได้ยั้งคิด ไม่ประกอบด้วยกุศล

การปิดวาจา ไม่ได้ หมายถึงการไม่พูดอะไร บางท่าน ปิดด้วยการไม่พูด ฟุ้งซ่านมากกว่าเดิม
การปิดวาจา คือ การพูดคุย เท่าที่จำเป็น พูดคุยด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใส
การปิดวาจา ต้องงดเสพกิเลสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นด้วย ทางสัมผัสด้วย ปิดวาจาไปนั่งดูทีวี เดินเที่ยวห้าง อย่างนี้ใช้ไม่ได้ อันนี้ไม่เรียกว่า ปิดวาจาทางการภาวนา
การปิดวาจา จุดประสงค์ใช่ปิดแต่คำพูด แต่ปิดการเสพอารมณ์กิเลสทั้งหลายด้วย นะจ๊ะ
การปิดวาจา ในระหว่างภาวนานั้น ให้ปิด เฉพาะการพูดคุยกับ เพื่อน ๆ แต่ กับครูอาจารย์ไม่ควรปิด เพราะต้องแจ้งกรรมฐาน ส่งอารมณ์ สอบสภาวะ

ดังนั้นการปิดวาจา จึงมีความจำเป็นต่อการภาวนา มาก ๆ นะจ๊ะ


หลังจากที่ได้เข้าปฏิบัติ ก็เห็นจริง ตามที่พระอาจารย์สนธยากล่าว

และในตอนนั้นเกิดเข้าใจอะไร ๆ อีกหลายอย่าง เห็นน่าจะเกิดประโยนช์มากกับหลายท่าน จึงจะขอนำมากล่าวไว้นะที่นี้

      ที่แรก เราเองไม่ได้เข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกัน การปิดวาจา กับการปฏิบัติกรรมฐาน  แต่พอได้ขอเข้ากรรมฐาน จึงชัดแจ้งมากขึ้น คือ แรกเลย ต้องเข้าไปขอกรรมฐาน กับพระอาจารย์ที่เรา ต้องการจะเรียนกรรมฐานด้วย ด้วยการกล่าวบอกขอให้ท่านเป็นอาจารย์ของเรา และถวายพานขันธ์ มีดอกไม้ธูปเทียน
      พระอาจารย์ก็จะกล่าวต่อ เราก็กล่าวตามต่อว่า ภาระของข้าพเจ้า เป็นภาระของพระอาจารย์ ภาระของพระอาจารย์ เป็นภาระของข้าพเจ้า แค่เบื้องต้นนี้ ก็เกิดปีติ น้ำตาคลอเบ้าแล้ว ด้วยดีใจอย่างสุดซึ้ง ที่ท่านรับเราเป็นศิษย์ มิได้รังเกียจอะไร เหมือนที่เราคิดกังวล คือ เมื่อก่อนเราถามอะไร ในเรื่องของการปฏิบัติ ท่านก็ไม่ได้ตอบ จนทำให้เรารู้สึกว่าไม่มีที่ผึ้ง
      แต่นี้ไม่เลย เพียงแต่เราทำไม่ถูกต้อง ในการเข้าหาครูบาอารย์
แถมเมื่อได้กล่าวเรื่องภาระกันทั้งสองฝ่ายแล้ว ยิ่งรู้สึกเหมือน ฉันพ่อลูกที่จะต้องดูแลกัน ห่วงใยกัน
หลังจากรับพานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์ก็บอกสอนให้ สำหรับเราแล้ว พระอาจารย์สั่งว่า ให้ปฏิบัติเป็นบรรลัง บรรลังละ 15 นาที สับเปลี่ยนกันไปเรื่อย ๆ ทั้งยืน เดิน นั่ง และนอน และบอกว่าต้องปิดวาจาด้วยนะ

           ต้องปิดวาจาด้วยหรือครับ !
           อา ต้องปิดด้วย
           แล้วจะสวดมนต์ยังไงครับ ?
           ก็สวดเบา ๆ แล้วกับอาจารย์ผู้ให้กรรมฐานนะ พูดได้ พูดได้แต่กับอาจารย์ผู้ให้กรรมฐานเท่านั้น
           ส่วนจะเอาอะไร ก็เขียนบอกโยมเขาเอา
           แล้วระวังอย่าไปอยู่กับคนอื่น เราไม่มีหน้าที่อะไร ก็ไม่ต้องไปทำ

           เราก็คิดในใจ ก็ที่พระอาจารย์บอกให้เราทำ ก็มีเพียงการปฏิบัติ ในการยืน เดิน นั่ง นอน อย่างนี้
           เขาทำอะไรกัน เราก็ไม่ต้องไปยุ่งกับเขา ไม่ใช่หน้าที่เรา
           หน้าที่เราในตอนนี้คือปฏิบัติ อย่างเดียวเลย
           ดีจัง หาโอกาสแบบนี้ยาก

           ที่ปฏิบัติ คือที่กุฏิ ในกุฏิ ด้านนอนกุฏิไม่นับ ถือเป็นอิริยาบถยอย
           แล้วสองวันก็มาแจ้งกรรมฐานครั้งหนึ่ง


      จากนั้นก็เริ่มภาระกิจ เราก็ยังรู้สึกเฉย ๆ เพราะธรรมดาก็ไม่ค่อยจะได้พูดกับใครอยู่แล้ว
พอมาเริ่มนั่งกรรมฐานความยากก็บังเกิด
[/color]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 02:51:13 pm โดย ธรรมะ ปุจฉา »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
        เบื้องต้น ท่านสั่งให้เราสนใจแต่ลมหายใจเข้าออกของเรา ถ้าอะไรเกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันมัน  แล้วพอครบหนึ่งบรรลังก็เปลี่ยนบรรลัง ตอนนี้สำคัญที่พอถึงเวลาเปลี่ยน ก็ต้องเปลี่ยน ต้องรู้ตัวว่าทำอะไรอยู่ 555 พอทำเข้าจริง ๆ แล้วเราจะรู้ไม๊เนี้ยว่ามัน 15 นาทีแล้ว เอาวะ เอางี้ก็แล้วกัน (หาทางออก) ก็เลยเอามือถือมาตั้งเวลาไว้   ให้อย่างน้อยก็เครื่องรู้ เพื่อตรวจสอบเรื่องเวลา ก็แปลกดี ที่แรกเราก็เปลี่ยนบรรลังไม่ได้ตรงตามเวลา แต่พอตั้งใจ อยู่แต่กรรมฐาน ไม่ฟุ้งไปไหน ตั้งจิตอยู่แต่ในกาย กลับทำได้อย่างน่าแปลก คือพอเรามั่นใจว่าครบเวลาที่จะต้องเปลี่ยนบรรลังแล้ว เราก็ทำการเปลี่ยน  แล้วมือถือก็ดังขึ้นตรงตามเวลาเลย  สองวันแรก ในช่วงของการปฏิบัติติดต่อกัน บรรลังแรก เราก็พอจะทำได้ แต่พอบรรลังหลัง ๆ เริ่มเหนื่อย เริ่มไม่ได้ตามเวลา เริ่มรวน ๆ แล้วก็ปวดหัวมาก เพราะต้องสู้กันกับจิตที่จะค่อยแต่จะส่งออกนอก แถมเดินจงกรมก็บวดเท้า อย่างน่าแปลก พอแจ้งกรรมฐาน

พระอาจารย์ก็บอกว่า  มาถูกทางแล้ว ต้องปฏิบัติอีกให้มาก
                       ที่ผมได้ไว เพราะกลางคืนผมปฏิบัติด้วยผมจึงได้ไว     
                       เออะ บอกเราแบบนี้ ก็น้อบรับ และชัดเจนว่าให้เราทำ เราก็คิดในใจ
                       จะไม่ให้เรานอนเลยหรือเนี้ย เอา เอาก็เอา 
       ทีนี้ ก็เลยลองไม่นอนเลย วันที่สามรองดู แต่ก็ทำไม่ได้ง่วง ก็หลับ แต่ตื่นมาปวดตัวมาก ก็ไม่ได้ไปทำงานอะไรหนัก ๆ นี้หน่า ก็สู่ต่อไปที่นี้ เวลาจิตสงบดีแล้วก็เกิดเข้าใจอะไรต่อมิอะไรซะอย่างงั้น 
        เช่นว่า ถ้าปิดวาจาแล้วไปนั่งเล่นกับคนอืน(ไปนั่งเล่นกับโยม) แล้วทำไมต้องมาปิดวาจาด้วย แสดงว่า ต้องปิดตา ปิดใจเราด้วย ถึงจะถูก
        เวลาเขาคุยอะไรกัน เราได้ยิน แถมรู้มากกว่าที่เขาพูด เอาละสิทำอย่างไรดีละ จะพูดบอกเขาก็ทำไม่ได้ ก็ต้องปล่อยเขาให้ไม่รู้ต่อไป  ทำไงได้ ก็เราต้องปิดวาจาอยู่นิ
        ก็เข้าใจอะไรมากขึ้น ว่าต้องอุเบกขาให้ได้ เพราะไม่อย่างนั้น เราก็จะทุกข์  นั้นไง อกุศลเริ่มจะเกิดขึ้นแล้ว เรารู้ทั้นเจ้าแล้วเจ้ามาร ทันใดความรู้สึกที่อยากจะพูดคุยกับเขาด้วยมันก็หาไป  ที่นี่พอทำได้มาก ๆ เข้า ก็เจอแต่จิตเราอย่างเดียว เพราะ ไม่ได้เจอใครเลย
        ที่นี้ก็คอยทะเลาะกับจิตตัวเองเป็นหลัก สู้ได้มีสติดีบ้าง ถูกหลอกส่งจิตออกไปข้างนอกบ้าง จนสุดถ้ามาจับได้ว่า มันส่งออกนอกไปได้ยังไง ก็เพราะอกุศลจิตมันเกิด จึงเข้าใจว่า
        อ๋อ อย่างนี้นี่เองที่ว่า ระวังไม่ให้อุศลจิตมันเกิด  ที่นี้ยิ่งชัดเลยว่า ที่ผ่านมา ทีเราเห็นว่าคนอื่นเป็นคนผิดกันไปหมด ที่จริงมัน ที่จิตเราที่อกุศลจิตมันเกิด ใช่เลย
        ให้ดูที่ตัวเรา ไม่ให้ไปดูคนอื่น อ๋อมันอย่างนี้นี่เอง ประโยนช์อันใดเหล่าที่เราจะมัวไปดูคนอื่น นั้นนะสิ ไม่มีประโยนช์ แล้วก็ได้ ในข้อที่ว่า
        ไม่ให้ส่งจิตออกนอก เพราะเมื่อไม่ทำการส่งจิตออกนอน มันสามารถที่จะทำให้เราได้ในเรื่องของการเปลี่ยนบรรลังโดนอัตตโนมัต จากสิ่งนี้
        เห็นเป็นสิ่งอัศจรรย์ ก็นั่นนะสิมันเป็นไปได้ยังไง นั่งพอถึงเวลา เราเปลี่ยนท่า มันก็แป๊ะเลย หรือเดินจงกรม พอสุดทางเดิน ก็แป็ะเลยเหมือนกัน จึงไปนึงถึงที่ว่า
        ธรรมที่พุทธองค์ทำ มันเป็นสิ่งเหนือโลก ใคร ไม่ทำให้เห็นจริงตามได้ ก็เข้าไม่ถึง เป็นการเข้าถึง เข้าใจได้เฉพาะตน ที่เรียกว่าปัจจัตตัง รู้ได้ด้วยตนเอง

        นี้ก็ส่วนหนึ่ง ก็เพื่อแสดงให้ทุกท่านเห็นว่า ถ้าเราเรียนท่องจำกันอย่างเดียว ไม่มันได้ มันต้องมาปฏิบัติกันด้วย
        ที่นี้เวลาแสดงธรรม  โอ้มันทำได้แสดงได้พูดออกอธิบายได้ เวลาฟังพระอาจารย์ท่านที่ทำได้จริง เลยเข้าใจว่าเป็นอย่างนี้นี่เอง ท่านไปถึงที่ตรงนี้ ตรงนี้ แต่ท่าน นี้นี้ ยังไปไม่ถึงเพราะกล่าวผิด แต่นั้นก็เรื่องของท่านเหล่านั้น ได้ธรรมเพิ่มขึ้นอีก
         ที่ให้ต้องปิดวาจา ก็เป็นการรักษาศีลด้วย เพราะเราก็จะไม่มีโอกาสพูดธรรม ที่ไม่มีในตน ในส่วนของพระก็ทำให้พระศีลสะอาดมากขึ้น ของพระก็ถือเป็นการอวดอุตริมนุษธรรม ก็ธรรมเหล่านั้น เรายังไม่ได้ เรายังไปไม่ถึง ยังไม่มีในตน ก็เป็นโทษในการปฏิบัติ  ของผู้ปฏิบัติธรรม โอโหแรงมาก เริ่มกลัวเลย เริ่มระวังในการพูดธรรมะอย่างมากเลยในตอนนี้ พระนะเขาสามารถ ปรับปาราชิกกันได้ แต่โยมนะฉันไม่รู้ แต่ที่รู้ ๆ นะ มีผลต่อการ ปฏิบัติแน่นอน คือถ้าต้องการความสำเร็จโดนเร็วนะ ยากไม่ได้หรอก ถ้ายังพูดในสิ่งที่ตนเองยังไม่ได้ยังไปไม่ถึง แถมพูผิดอีก ไม่รู้อีกว่าพาคนอื่นเขาไปไหน ทำให้เกิดการช้าในการปฏิบัติของผู้ที่ไปได้ยินได้ฟังได้รู้ในสิ่งที่เราพูดไป ก็ย้อนกลับมาทำให่ผู้พูดเองได้รับกรรมนั้น เสียเวลาไปด้วย ทำให้นึกถึงตอนมีพระมาถามพระอาจารย์สนธยาว่า ทำไมผมถึงไม่ไปไหนสักที่ พระอาจารย์สนธยา ก็ตอบว่า บางที่ท่านอาจจะต้องหยุดสอนเสียบ้าง ก็น่าจะคือ เลิกพูด เลิกบอกสอนนะแหละ ตามที่เราเข้าใจ


เท่านี้ก่อนนะจ๊ะ เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านนักปฏิบัตินะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม