ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ  (อ่าน 9764 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2011, 03:14:01 pm »
0
ติเหตุกบุคคล  คือใคร คะ มีความพิเศษอย่างไร คะ

ถามไว้ ก่อนเดี๋ยวไปอ่านเรื่อง พรหม ก่อน นะคะ

   :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2011, 03:34:14 pm »
0
ต้องรอ ทีม มัชฌิมา แล้ว ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2011, 08:57:56 pm »
0
อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ผู้ที่ปฏิสนธิด้วยทวิเหตุก หรือ ติเหตุก

ผู้ถาม   กรุณาอธิบายเพิ่มเติมที่กล่าวว่าไม่ใช่ทวิเหตุกบุคคลสามารถจะบรรลุได้ แต่ผู้ที่จะบรรลุได้ต้องเป็นติเหตุกบุคคล

อ.สุจินต์.    ขณะนี้เราจะไม่ทราบ"ปฏิสนธิจิต"ของเรามีอะไรเป็นอารมณ์  และบางท่านก็อาจจะสงสัย   เป็น"ทวิเหตุกะ" ประกอบด้วยเหตุ  ๒  คืออโลภะ อโทสะ  หรือเป็น "ติเหตุกะ" ประกอบด้วยทั้ง อโลภะ  อโทสะ  อโมหะ

       แต่ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่เราจะไปพยายามรู้สิ่งที่รู้ไม่ได้ แต่ว่าจากชีวิตจริงๆ ของแต่ละคนก็จะเห็นได้ว่า บางท่านสะสมอุปนิสัยในการให้ทาน ท่านมีทานุปนิสัย  ท่านให้ง่าย   แต่พอถึงธรรมะท่านไม่สนใจและท่านไม่ฟัง   แล้วท่านจะบรรลุได้ไหมในเมื่อไม่มีการฟังเลย   

       แต่ผู้ที่แม้ว่าเกิดด้วยอโลภะ  อโทสะ อโมหะประกอบด้วยปัญญาเจตสิก แต่ว่าการฟังน้อย  แล้วก็ยังอาจจะไม่ได้มีการเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมจนกระทั่งสามารถรู้แจ้งสภาพธรรมก็ได้   

       นี่ก็คือ ความต่างกันของผู้ที่แม้ว่าสะสมปัญญามาแต่ปัญญาระดับไหน แม้ในครั้งพุทธกาลผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ทันทีที่ได้ ฟังเทศนาจบ บรรลุ มี แต่ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาอีกหลายปี ๑๖ ปี ๒๐ ปีก็ได้บรรลุก็มีหรือว่าชาตินั้นยังไม่บรรลุ  ไปบรรลุในชาติต่อไปก็มี

      เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องของการที่ "แม้ปฏิสนธิเป็นติเหตุกะ" ก็ไม่ได้หมายความว่าจะบรรลุมรรคผลถ้าเหตุไม่สมควรแก่ผล  แต่ผู้ใดก็ตามที่ถึงขั้นฌานจิตความสงบของจิตระดับของอัปปนาสมาธิ หรือว่าสามารถจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม  ขณะนั้นแม้เป็นวิปัสสนาญาณก็แสดงว่า บุคคลนั้นก็ปฏิสนธิเป็นติเหตุกะ


ผู้บรรยาย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ 
ที่มา http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7874


    ผมอ่านแล้ว ก็ยัง..งงๆ เรื่องนี้เป็นอภิธรรม หากไม่มีพื้นฐาน จะเข้าใจยากครับ
     ขอเวลาศึกษาสักระยะ เข้าใจเมื่อไหร่ จะมาขยายอีกที

      :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2011, 09:17:10 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2011, 09:12:05 pm »
0
พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิ)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม.

ติเหตุกะ (สร้างเหตุของการไม่เกิด โดยการอธิษฐานจิต)
     การสร้างเหตุของการไม่เกิดอีกต่อไป มีหลายวิธีการ แม้กระทั่งการอธิษฐานจิตก็เป็นอีกหนึ่งเหตุ ในการสร้างเหตุของการไม่เกิดอีกต่อไป
     ในแนวทางการปฏิบัติ ไม่ได้มีความยุ่งยากอะไร เพียงตั้งจิตอธิษฐานหลังการทำกรรมฐาน หรือ หลังการทำบุญ ตลอดจนการให้ทานต่างๆ สามารถตั้งจิตอธิษฐานเพื่อเป็นการสร้างเหตุของการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

วิธีการอธิษฐาน
ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญถวายปัจจัยไทยทานต่างๆ หรือการให้ทาน บริจาคทานก็ดี แม้กระทั่งการทำกรรมฐาน ถึงแม้จะใช้เวลาตามสะดวกที่แต่ละคนจะทำได้ ทุกๆหลังการสร้างเหตุนี้ ให้อธิษฐานทุกครั้งว่า

“ขอผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำกรรมฐานหรือถวายปัจจัยไทยทานหรือการให้ทานตลอดจนสร้างถาวรวัตถุต่างๆในครั้งนี้ ขอผลบุญกุศลหนุนนำ ให้ข้าพเจ้าปฏิบัติ ได้เกิดปัญญญาณ ได้บรรลุมรรค,ผล ล่วงพ้นบ่วงมาร เห็นแจ้งพระนิพพาน ในปัจจุบันธรรมนี้ด้วยเทอญ”

    จงหมั่นอธิษฐานเช่นนี้ทุกๆครั้งหลังจากที่ได้ทำบุญต่างๆ แม้กระทั่งหลังจากการทำกรรมฐาน ทำแล้วได้ผลจริงๆ ดังมีหลักฐานที่นำมาอ้างอิงดังนี้

ติเหตุกะ
     คำว่า “ติกะเหตุกะ” ได้แก่ บุคคลมีเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
กัมมชติเหตุกปฏิสนธิ คือ บุคคลผู้ปฏิสนธิด้วย ๓ เหตุ อันเกิดมาแต่กรรมที่เขาได้สร้างไว้ในชาติก่อนๆโน้น เช่น ในเวลาทำบุญ ทำทาน ฟังเทศน์ ฟังธรรม เป็นต้น มีความดีใจ ได้ตั้งปรารถนาไว้ว่า


“อายตึ ปญฺญวา ภวิสฺสามิ” ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาในชาติต่อไป ดังมีหลักฐานปรากฏรับรองไว้ว่า

“อายตึ ปญฺญวา ภวิสฺสามีติ ปฏฺฐเปตฺวา นานปฺปการํ ทานํ เทติ ตสฺส เอวรูํ กมฺมํ อุปนิสฺสาย กุสลํ อุปฺปชฺชมานํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อุปฺปชฺชติ”

แปลว่า บุคคลถวายทานมีประการต่างๆ ตั้งความปรารถนาว่า ด้วยผลทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปัญญาในชาติต่อไป กุศลจิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรมที่ดังกล่าวมานั้น เป็นญาณสัมปยุต คือ ประกอบด้วยปัญญา  ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ตนทำไว้อย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้บุคคลนั้นได้เหตุ ๓ ในเวลาเกิดชาติใหม่อีก

     บุคลลที่ปฏิสนธิด้วยเหตุ ๓ เช่นนี้ ถ้าเจริญสมถะก็ได้ฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน
ดังนั้นในพระคาถานี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า สปญฺโญ แปลว่า มีปัญญา คือ เป็นติเหตุกะ หรือไตรเหตุ


อ้างอิง
จากหนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๑ เล่ม ๑ หลวงพ่อโชดก ญาณสิทฺธิ
http://walaiblog.blogspot.com/2011/08/blog-post_26.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2011, 09:15:42 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 07:50:38 pm »
0
ขอบคุณมาก เลยคะ
 :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 08:19:28 am »
0


เหตุ ๖

      เหตุ เป็นธรรมที่ทำให้ผลเกิดขึ้น ธรรมทั้งหลายที่ได้อุปการะจากเหตุ คือ มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นปัจจัยแล้ว ย่อมทำให้มีสภาพมั่นคงในอารมณ์ เช่น มั่นคงในความอยากได้ในรูปารมณ์ เป็นต้น เหมือนต้นไม้ที่มีรากงอกงามแผ่ขยายกว้างขวางออกไป

     เหตุ มี ๖ ประการ ได้แก่

     ๑) โลภเหตุ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตใจให้เกิดความอยากได้ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ตลอดจนความคิดนึกติดใจในเรื่องราวต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าเมื่อมีความอยากเกิดขึ้นคราวใด ก็จะเกิดความร้อนใจเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ และจะกระทำไปตามความอยากที่เกิดขึ้นนั้น
     เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้วก็เป็นทุกข์กับการดูแลรักษา ห่วงแหน หรือถ้าไม่ได้อย่างที่ต้องการก็เป็นทุกข์อีก องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘

     ๒) โทสเหตุ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตใจทำให้เกิดความไม่พอใจ ไม่ปรารถนาที่จะได้พบเรื่องราวต่าง ๆ เหมือนกับการเห็นศัตรูหรืออสรพิษ ย่อมเกิดความไม่พอใจ หรือหวาดกลัวขึ้นมาทันที องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒

    ๓) โมหเหตุ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตใจให้โง่ หลง งมงาย ไม่รู้ในสัจจะตามที่เป็นจริง เมื่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือความคิดนึกในเรื่องราวต่าง ๆ ปรากฏขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ก็ไม่เข้าใจสภาวะความเป็นจริง ว่าเป็นเพียงนาม เป็นเพียงรูป แต่กลับไปคิดยึดติดว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเขาเป็นเรา องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒

     ๔) อโลภเหตุ มีความหมายตรงกันข้ามกับโลภเหตุ คือความไม่อยากได้ใน รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มาสัมผัสทางกาย และความคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ทางใจ องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

      ๕) อโทสเหตุ มีความหมายตรงกันข้ามกับโทสเหตุ คือเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่พอใจ (อิฏฐารมณ์) หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจ (อนิฏฐารมณ์) จิตใจก็จะไม่เกิดความโกรธ หรือความไม่พอใจในอารมณ์นั้น ๆ องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

      ๖) อโมหเหตุ มีความหมายตรงกันข้ามกับโมหเหตุ คือมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กาลังปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ ว่าเป็นแต่เพียงรูปธรรมนามธรรมเท่านั้น มิใช่เป็นสัตว์บุคคลตัวตน เราเขา เป็นเพียงสภาวะที่ปรากฏเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในญาณสัมปยุตตจิต ๔๗ หรือ ๗๙



       สรุปความได้ว่า
      ** โลภเจตสิก โทสเจตสิก และ โมหเจตสิก เมื่อเกิดขึ้นกับจิตใจของบุคคลใดแล้ว ก็เป็นเหตุให้บุคคลนั้นทำบาปอกุศล เจตสิกทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า เหตุบาป ๓ คือ เป็นต้นเหตุให้บุคคลทำอกุศล

       ** อโลภเจตสิก, อโทสเจตสิก และ อโมหเจตสิก เมื่อเกิดขึ้นกับจิตใจของบุคคลใดแล้ว ก็เป็นเหตุให้บุคคลนั้นทำบุญกุศล เจตสิกทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า เหตุบุญ ๓ คือ เป็นต้นเหตุให้บุคคลทำกุศล

       โดยที่กุศลขั้นกามาวจรนั้น เมื่อตายลงบุญจะนำไปสู่สุคติภูมิ คือ มนุษยภูมิและเทวภูมิ
       ถ้าเป็นกุศลขั้นรูปาวจรและอรูปาวจร เมื่อตายลงบุญจะนาไปสู่รูปภูมิและอรูปภูมิ
       แต่ถ้าเป็นมรรคกุศล ก็จะส่งผลให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล หมดสิ้นจากกิเลสทั้งปวง และพ้นจากวัฏฏทุกข์ได้ในที่สุด



ที่มา
พระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๘ ตอนที่ ๒ เรื่องมิสสกสังคหะ โดยอาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
http : // www.buddhism-online.org
อ้างอิง : พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ; หลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะโท
ขอบคุณภาพจาก http://4.bp.blogspot.com/,http://www.212cafe.com/


      อโลภเจตสิก, อโทสเจตสิก และ อโมหเจตสิก เมื่อเกิดขึ้นกับจิตใจของบุคคลใดแล้ว ก็เป็นเหตุให้บุคคลนั้นทำบุญกุศล
      เจตสิกทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า เหตุบุญ ๓ คือ เป็นต้นเหตุให้บุคคลทำกุศล

      ความหมายของ "ติเหตุกบุคคล" ก็คือ บุคคลที่มีเหตุบุญ ๓ อย่าง ที่เป็นต้นเหตุให้บุคคลนั้นทำแต่กุศล
และถ้าบุคคลนี้มุ่งไปที่มรรคกุศล ก็จะเป็นอริยบุคคล

      เจริญธรรม วันธัมมสวนะ...ขอรับ
:25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 10:12:52 am »
0
พระเทวทัต

พระเทวทัต ในสมัยพระพุทธกาลเป็นพี่ของพระนางยโสธรา (พิมพา) พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ที่มาเป็นพระพุทธเจ้า และเป็นลูกของลุง พระพุทธเจ้าเองพระเทวทัตนั้นตามจองล้างพระพุทธเจ้ามานานหลายชาติ อดีตชาตินานมาแล้วนั้นพระเทวทัตเป็นพ่อค้าวานิช มีจิตละโมบทุจริตและในชาตินั้น พระพุทธองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพ่อค้า
วานิชด้วยเช่นกันแต่เป็นฝ่ายสุจริต

วันหนึ่ง หญิงชราซึ่งเป็นผู้ดีตกยาก มีถาดทองคำของต้นตระกูลเหลืออยู่ จึงนำออกมาขาย พระเทวทัตเห็นเช่นนั้นจึงลวงด้วยเล่ห์ต่อหญิงชรานั้นว่า ถาดนั้นมิใช่ทองคำแท้เป็นทองปลอม จึงเสนอขอซื้อราคาถูกแต่หญิงชรานั้นรู้ดีว่าถาดที่แกนำออกมาขายนั้นทำด้วยทองคำแท้จึงมิยอมขายให้ ในเวลาเดียวกันนั้น พระพุทธองค์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพ่อค้ามาพบเข้า เห็นเป็นถาดทำด้วยทองคำแท้ก็ให้ราคาตามความเป็นจริง สร้างความโกรธแค้นให้แก่พระเทวทัตเป็นยิ่งนัก ถ้าไม่มีพระพุทธองค์มาซื้อถาดทองคำนั้น ในมิช้าหญิงชราก็จักต้องนำถาดทองคำมาขายแก่ตนเพราะความยากจน ด้วยเหตุนี้พระเทวทัตจึงผูกพยาบาทด้วยการกอบเม็ดทรายขึ้นมา ๑ กำมือหว่านลงกับพื้นดินประกาศว่า .. เราจะจองล้างจองผลาญท่านต่อไปเท่าเม็ดทรายในกำมือ ๑ เม็ด เท่ากับ ๑ ชาติ จึงตามเบียดเบียนพยาบาทจองเวรกันมานับภพชาติไม่ถ้วน

เรื่อยมาจนกระทั่งพระชาติสุดท้ายก่อนจะที่จะมาตรัสรู้ที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร พระเทวทัตได้มาเกิดเป็นพระพราหมณ์นามว่า “ ชูชก ” จนกระทั่งมาถึงพระชาติที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระเทวทัตมีจิตริษยาพระพุทธเจ้านับตั้งแต่เยาว์วัย ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ เจ้าชายเทวทัตได้ออกบวชด้วยเช่นกัน เมื่อบวชแล้วได้โลกีย์ญาณ มีความชำนาญในอภิญญา สามารถนิรมิตกายเหาะเหินเดินอากาศได้ จึงเกิดความกำเริบใจเพราะอกุศลกรรมเข้าสนับสนุน ใช้ฤทธิ์แปลงกายเป็นพระศาสดา กล่าวให้ร้ายในพรหมจรรย์ของพระพุทธองค์ ว่ายังอนุญาตให้สงฆ์สาวกฉันเนื้อสัตว์ที่ถูกนำมาถวายเป็นพระกระยาหาร และก็เริ่มต้นสร้างความเลื่อมใสด้วยการฉันมังสวิรัติ ให้เห็นว่าสิ่งที่พระพุทธองค์ยินยอมให้พุทธสาวกปฏิบัตินั้นคือความเสื่อม

มิเพียงเท่านั้น ยังลวงเจ้าชายอชาติศัตรูให้กบฏต่อพระราชบิดาแล้วตั้งตัวเองเป็นพระราชา พระเจ้าอชาติศัตรูนั้นเคยเลื่อมใสพระพุทธองค์ แต่เมื่อถูกพระเทวทัตลวงก็ตัด อุปนิสัยแห่งมรรคผลเบื้องต้นเสีย ทำตัวเองไปสู่ความพินาศอย่างใหญ่หลวงถึงขั้นทำกรรมหนักปลงพระชนม์พระราชบิดา พระเทวทัตเองก็คิดปลงพระชนม์พระพุทธองค์แล้วจะตั้งตนเป็นพระศาสดาเสียเอง อกุศลกรรมที่พระเทวทัตก่อขึ้นตั้งแต่ต้น คือส่งนายขมังธนูเพื่อปลงพระชนม์พระพุทธองค์ ยุยงให้พระเจ้าอชาติศัตรูมอมเหล้าช้าง “ นาฬาคีรี ” จนมึนเมาดุร้ายแล้วปล่อยออกไปทำร้ายพระพุทธองค์ ตลอดจนกระทั่งยุยงหมู่พระสงฆ์ให้เห็นความมัวหมองในพรหมจรรย์ ของพระพุทธองค์ ขณะเดียวกันพระเทวทัต ได้หันมาฉันมังสวิรัติเป็นการโอ้อวดพรหมจรรย์ที่สูงกว่า ความเลวร้ายของพระเทวทัตนั้นหนักหนา จนแผ่นดินที่รองรับอยู่นั้นทนมิได้ แยกตัวออก และสูบเอาพระเทวทัตตกสู่ขุมนรกอเวจี ยืนเสวยอกุศลวิบากอีกนานเท่านาน จนแทบจะนับกาลเวลาไม่ได้

 

นันทมานพ

นันทมานพมิได้ทำร้ายพระพุทธองค์ แต่ทำร้ายสาวกของพระพุทธองค์ คือพระ “ อุบลวรรณาเถรี ” พระอุบลวรรณาเถรีเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ ออกบวชตั้งแต่อายุ ๑๖ มีความสวยงามมาก ซึ่งก่อนนั้นที่เป็นฆราวาสความสวยเป็นที่เลื่องลือ และเป็นที่หมายปองของพระราชาคหบดี และมหาเศรษฐีมากมาย แต่พระอุบลวรรณาเถรีเบื่อหน่ายชีวิตฆราวาส เห็นเป็นทุกข์จึงออกบวชเป็นภิกษุณี เมื่อบวชได้ไม่นานก็บรรลุอรหัตผลมีฤทธิ์มาก แต่ว่านันทมาณพมีความต้องการด้านกามราคะฝังแน่นในใจมาช้านาน

วันหนึ่งนันทมานพทราบว่า พระอุบลวรรณาเถรีจำพรรษาอยู่ในป่า ในกระท่อมเล็ก ๆ ด้วยจิตอันฝังแน่นด้วยราคะตัณหานันทมาณพได้แฝงตัวแอบรออยู่จนถึงเช้า พระอุบลวรรณาเถรีออกบิณฑบาตแล้ว นันทมานพได้หลบเข้าไปแอบซ่อนอยู่ใต้เตียงนอนในกระท่อม เมื่อพระอุบลวรรณาเถรีกลับจากบิณฑบาต ยังมิได้ฉันข้าว นั่งพักสงบอยู่บนเตียง นันทมาณพได้ออกมาจากที่ซ่อนเข้าปลุกปล้ำ พระอุบลวรรณาเถรีแม้นจะร้องหาคนช่วยก็ไม่เป็นผล เพราะไม่มีใครอยู่ใกล้ จึงกล่าวให้สติแก่นันทมาณพว่า “ จงอย่าทำเช่นนี้ .. ความหายนะจะมาสู่ท่าน ” นันทมาณพมิได้ฟังกลับปลุกปล้ำพระอุบลวรรณาเถรีจนสำเร็จความใคร่ดังใจปรารถนา พอก้าวลงจากแคร่ก็ถูกแผ่นดินสูบตกลงสู่มหานรกอเวจีด้วยกรรมลามกนั้นหนักมาก

พระอุบลวรรณาเถรี ถูกวิจารณ์ว่าการสัมผัสเช่นนี้ พระอุบลวรรณาเถรีจะไม่มีความยินดีไม่ได้ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสบอกต่อพุทธสาวก... “ พระอรหันต์นั้นมิใช่ไม้ผุ ไม่มีกิเลส ไม่มีความยินดีในกิเลส เฉกเช่นตุ๊กตาที่ไม่มีความปรารถนาในการสัมผัสฉันใด พระอรหันต์ก็เป็น เช่นนั้น ..”

 
นันทยักษ์

นันทยักษ์มิได้สร้างกรรมต่อพระพุทธองค์ แต่กระทำเบียดเบียนต่อพระสารีบุตร ผู้บำเพ็ญธรรม .. ครั้งนั้น นันทยักษ์ ผู้มีฤทธิ์เดชเหาะมาบนอากาศพร้อมด้วยเหมตายักษ์ เมื่อเหาะมาถึงตรงที่พระสารีบุตรกำลังเข้านิโรธสมาบัติอยู่ในอากาศธาตุ ในบริเวณนั้นว่างเปล่าจากอากาศธาตุนันทยักษ์เหาะผ่านไม่ได้ จึงเกิดบันดาลโทสะ ด้วยในชาติปางก่อนนั้น นันทยักษ์ได้อาฆาตพยาบาทพระเถระเอาไว้ จึงมีจิตคิดกระทำปาณาติบาตต่อพระสารีบุตรด้วยความพาลในสันดาน เหมตายักษ์ได้ทัดทานให้ละเว้นเสีย แต่นันทยักษ์ก็มิฟัง เหาะขึ้นบนอากาศ ใช้กระบองซึ่งเป็นอาวุธแห่งตนฟาดลงบนศีรษะของพระสารีบุตร ความแรงแห่งการฟาดนั้น สามารถพังภูเขาในคราวเดียวกันได้ถึง ๑๐๐ ลูก แต่พระสารีบุตรซึ่งอยู่ในนิโรธสมาบัตินั้น หาได้รับอันตรายจากการประทุษร้ายของนันทยักษ์ไม่ เมื่อเห็นพระสารีบุตรมิได้รับอันตราย นันทยักษ์ก็บังเกิดเพลิงเร่าร้อนในอารมณ์ กล่าวออกมาด้วยเสียงอันดังว่า “ เราร้อน ... เราร้อน ” แล้วตกลงมาจากอากาศ แผ่นดินเปิดช่องดึงร่างของนันทยักษ์ หายลับตาไปในบัดดลดิ่งลงสู่มหานรกอเวจี อันลึกสุด

 
นางจิจมาณวิกา

นางจิญจมาณวิกาเบียดเบียนพระพุทธองค์โดยรับอาสาจากพวก “ ปริพาชก ” บุคคลในลัทธิอื่นที่มีจิตริษยาในลาภสักการะของพระพุทธองค์ จึงคิดกลั่นแกล้งด้วยการจ้างนางจิญจมาณวิกา แกล้งทำเป็นคนท้อง ให้เขากลึงไม้นูนผูกรัดไว้ที่เอว แล้วก็ไปร้องบอกสมณะโคดมขณะนั่งประทับเทศนาว่า “ ท่านสมณะโคดม ” จะมัวมานั่งเทศน์หน้านวลอยู่ทำไม นี่เธอทำให้ฉันมีครรภ์เช่นนี้กลับมิดูแล อย่ามัวเทศน์โปรดพุทธบริษัทอยู่เลย จงไปตัดฟืนไว้เพื่อฉันดีกว่า เวลาคลอดแล้วลูกเราจะได้มิลำบาก ”

พระพุทธองค์ได้ทรงสดับ จึงหยุดเทศนาและกล่าวกับนางจิญจมาณวิกาว่า

“ ภัคคินี ดูก่อนน้องหญิง เรื่องที่เธอกล่าวนั้น คนอื่นเขามิได้รู้เรื่องด้วยดอกนะ จะมีเธอกับฉันเพียงสองคนเท่านั้นละที่รู้กัน ”

พระพุทธองค์ทรงกล่าวด้วยความอิ่มเอมใจท่ามกลางความสงสัยของพุทธบริษัท เรื่องนี้เดือดร้อนถึงพระอินทร์ที่ต้องทำหน้าที่รักษาผู้ทรงคุณธรรมสูงส่ง จึงทรงแปลงกายเป็นหนูไปกัดเชือกที่ผูกไม้ ทำให้ไม้ที่ผูกติดไว้เหมือนเช่นคนมีครรภ์นั้นหลุดตกลงมา พุทธบริษัทเห็นมารยากล่าวให้ร้ายที่นางจิญจมานวิกากระทำต่อพระพุทธองค์ ดังนั้นก็ดุด่าไล่ขว้างด้วยก้อนหินและไม้ นางจิญจมาณวิกา ได้วิ่งหลบหนี พอพ้นคลองจักษุของพระพุทธองค์ นางจิญจมาณวิกา ก็ถูกธรณีสูบลงสู่นรกมหาอเวจีด้วยกรรมอันหนักนั้น

นางจิญจมาณวิกาเมื่อชาติก่อนหน้านั้นนางเกิดเป็น นางอมิตตดา ภริยาของชูชกหรือพระเทวทัตในชาติเดียวกัน กับที่พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นพระเวสสันดรนั่นเอง

 

พระเจ้าสุปปพุทธะ

พระเจ้าสุปปพุทธะเป็นกษัตริย์โกลิยะวงศ์เป็นพระราชบิดาของพระเทวทัต เมื่อทราบว่าพระเทวทัตถูกธรณีสูบ ลงมหาอเวจีนรกก็มิสำนึกในบาปบุญคุณโทษ กลับมีจิตอาฆาตพยาบาทพระพุทธองค์ เพราะนอกจากจะทำให้พระเทวทัตต้องธรณีสูบ พระพุทธองค์ยังทำให้เจ้าหญิงยโสธราธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะเป็นหม้าย จึงกลั่นแกล้งพระพุทธองค์ด้วยการเกณฑ์อำมาตย์ข้าราชบริพารไปนั่งเสพเมรัยขวางทางที่พระพุทธองค์จะออกบิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์ ซึ่งทางนั้นมีเพียงทางเดียวเท่านั้นที่พระพุทธองค์จะทรงเสด็จดำเนินไปได้ เมื่อเสด็จดำเนินผ่านไม่ได้เพราะพระเจ้าสุปปพุทธะกับบริวารขวางอยู่วันนั้น พระพุทธองค์ทรงอดพระกระยาหาร ๑ วัน พระอานนท์จึงทูลถามอยากจะทราบโทษของพระเจ้า
สุปปพุทธะ พระพุทธองค์จึงทรงได้มีพุทธฎีกาตรัสว่า “ อานันทะดูก่อนอานนท์ หลังจากนี้ไปนับได้ ๗ วัน พระเจ้า
สุปปพุทธะจะลงอเวจีตามเทวทัตไป ”

เมื่อบริวารของพระเจ้าสุปปพุทธะกลับไปถวายรายงาน พระเจ้าสุปปพุทธะก็มีจิตต้องการให้พุทธฎีกาของพระพุทธองค์มิเป็นความจริง จึงขึ้นประทับ ณ ปราสาท ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีนายทวารป้องกันแข็งขัน ทรงตรัสกับนายทวารที่มีร่างกายกำยำนั้นว่า “ ในระหว่าง ๗ วันนี้ ถ้าฉันลงมาละก็ พวกเธอจงขัดขวางเอาไว้ไม่มีใครทำโทษ ” โดยประกาศต่ออำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระบรมวงศานุวงศ์ไว้ดังนั้น เพื่อมิให้นายทวารทั้งหลายต้องโทษ จนกระทั่งถึงวันที่ ๗ วันนั้นปรากฏว่า ม้าแก้ว ซึ่งเป็นม้าทรงศึกที่พระเจ้าสุปปพุทธะโปรดปราน อาละวาดกระทืบโรง ร้องเสียงดังมาก พระเจ้าสุปปพุทธะเกิดเป็นห่วงม้า ด้วยอาการขาดสติจึงทรงลงจากปราสาทชั้น ๗ แต่ปรากฏว่านายทวารมิได้ขัดขวาง ด้วยคิดว่าเลยครบกำหนด ๗ วันแล้ว พอพระเจ้าสุปปพุทธะย่างพระบาทเหยียบแผ่นดิน ก็ถูกพระธรณีสูบหายไปสู่มหานรกอเวจี ตรงตามพุทธะฎีกาที่ตรัสไว้แก่พระอานนท์





http://www.kanlayanatam.com/sara/sara60.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2011, 06:25:53 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 10:49:03 am »
0
คนอาภัพ ในทางธรรม

            คนอาภัพ กล่าวหมายได้ถึงคนที่ไม่อาจบรรลุมรรคผลในชาตินี้ ท่านเรียกว่า อภัพพบุคคล ได้แก่คน ๔ ประเภทคือ

          ๑. คนที่เกิดด้วยอุเบกขาสันตีรณะอเหตุกกุศลวิบาก คือเกิดด้วยปฏิสนธิจิตที่เป็นผลของกุศลที่ไม่มีเหตุประกอบ เป็นกุศลที่มีกำลังอ่อน เกิดเป็นบ้าใบ้ ตาบอด หูหนวก ปัญญาอ่อนมาแต่กำเนิด คนพวกนี้เป็นคนอาภัพเพราะไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ แม้จะได้หันเหชีวิตมาเจริญมรรคมีองค์ ๘ ก็ตาม

          ๒. คนที่ทำกรรมหนักชนิดที่เรียกว่าอนันตริยกรรม คือฆ่าแม่ ฆ่าพ่อ ฆ่าพระอรหันต์ ทำโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน คนที่ทำกรรม ๕ อย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่าอภัพพบุคคล เพราะแม้จะฉลาดอย่างไรก็ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ เพราะได้ทำกรรมหนักที่จะต้องนำไปสู่นรกทันทีเมื่อตายลง กรรมดีใดๆ ไม่อาจขวางกั้นกรรมหนักได้ กรรมหนักทั้ง ๕ นี้ต้องให้ผลก่อน

          ๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือเป็นคนมีความเห็นผิด ไม่เชื่อบุญเชื่อบาปเป็นต้น ใครจะชี้แจงแสดงเหตุผลอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง คนอย่างนี้เป็นคนอาภัพเช่นกัน เพราะไม่มีทางบรรลุมรรคผลในชาตินี้ได้

          ๔. คนที่แม้จะเกิดมาด้วยไตรเหตุ ไม่ทำกรรมหนัก เป็นสัมมาทิฏฐิ คือเชื่อบุญเชื่อบาปแล้ว แต่ว่าไม่มีศรัทธาประพฤติปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือเป็นผู้เกียจคร้านไม่มีฉันทะในการทำกุศล พวกนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเป็นคนอาภัพเช่นกัน เพราะไม่อาจบรรลุมรรคผลได้

          บุคคล ๔ พวกนี้แหละ คือคนอาภัพในความหมายของทางธรรม




http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=42
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2011, 06:03:21 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 11:14:13 am »
0
ปุถุชน ๔

๑.  อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก  แปลว่าเป็นผลของกุศลอย่างอ่อน (สุคติเหตุกบุคคล)  ทำให้เกิด

     มา  เป็นคนพิการ  บ้า  ใบ้  บอด  หนวก   ฯลฯ

๒.  มหาวิบากญาณวิปยุตต์   แปลว่าเป็นผลของกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา

     ปฏิสนธิมี  2  เหตุ (ทวิเหตุกบุคคล) คือ อโลภเหตุ    อโทสเหตุ

๓.  มหาวิบากญาณสัมปยุตต์  แปลว่าเป็นผลของกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา 

     ปฏิสนธิมี  3  เหตุ (ติเหตุกบุคคล)  คือ อโลภเหตุ  อโทสเหตุ  อโมหเหตุ

๔.  อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก  แปลว่าเป็นผลของอกุศลกรรม (ทุคติเหตุกบุคคล)  ทำให้เกิด

     อบายภูมิ  4  คือ  นรก  เปรต  อสุรกาย  สัตว์เดรัจฉาน




http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=4435
http://www.abhidhamonline.org/boss_files/sangaha/62.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2011, 11:38:31 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ติเหตุกบุคคล คือใคร คะ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 07:06:17 pm »
0
ข้อพิจารณาความเป็น"ติเหตุกบุคคล"

๑. ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเปล่า

๒. นับถือศาสนาพุทธหรือเปล่า

๓. สนใจใคร่ในธรรมหรือเปล่า

๔. ได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดา ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานหรือเปล่า

๕. เข้าใจในวิธีการเจริญสติปัฏฐานหรือเปล่า

๖. เป็นผู้มีความประพฤติอยู่ในศีลหรือเปล่า

๗. ลงมือปฏิบัติตามวิธีการเจริญสติปัฏฐานหรือเปล่า

๘. มีความเพียรภาวนาอยู่เนืองๆอยู่หรือเปล่า

๙. หมั่นทำทานและฟังธรรมในเรื่องของไตรลักษณ์ ในเรื่องอริยสัจจ์ อยู่เนืองๆอยู่หรือเปล่า

๑๐. ได้กระทำอนันตริยกรรมในชาตินี้ คือ ทำให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต, ฆ่าพระอรหันต์, ฆ่าแม่, ฆ่าพ่อ หรือยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันหรือเปล่า

๑๑. เป็นผู้มีวาจาว่าร้ายในครูบาอาจารย์ กล่าวปรามาสครูบาอาจารย์ จะด้วยความแค้นเคืองในก็ดี จะด้วยคะนองเพราะเห็นว่าตนเองเก่งกว่าครูบาอาจารย์ หรือเปล่า




http://www.dhammada.net/coffee/index.php?topic=243.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2011, 07:14:33 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา