ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเรียนธรรมเพื่อความหลุดพ้น ระหว่าง สุญญตา กับ อนัตตา ควรทำความเข้าใจเรื่องใด..  (อ่าน 4107 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเรียนธรรมเพื่อความหลุดพ้น ระหว่าง สุญญตา กับ อนัตตา ควรทำความเข้าใจเรื่องใดก่อนครับ คือถ้าเรามีความมุ่งหมายในการภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิดอีกในชาติต่อไป ธรรมที่ควรจะเรียนเป็นเรื่องใด แบบเร่งด่วน การเข้าใจเรื่อง สุญญตา คือ ความว่าง และ ความไม่มี เป็นเหมือนกันหรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ ที่ตอบคำถาม

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ให้เรียน ธรรม เพื่อ ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏ เพียงเรื่อง เดียว คือ  อริยสัจจะ 4 ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าให้การเรียน ตรงนี้ไว้เบื้องต้น ก็คือ
 
    1. เรียนรู้ ข้อกำหนด  ความจริงของความทุกข์ ผลกระทบความทุกข์ และข้อควรกระทำในความทุกข์
           ทุกข์ คือ อะไร ทุกข์ เกิดได้เพราะอะไร ทุกข สิ้นแล้วเป็นอย่างไร ทุกข์ จะดับหรือสิ้นไปได้อย่างไร
 
    2. เรียนรู้ ข้อกำหนด ความจริงของเหตุแห่งทุกข์ ผลกระทบของเหตุแห่่งทุกข์ และข้อควรกระทำในเหตุแห่งทุกข์
        เหตุแห่งทุกข์ คืออะไร เหตุแห่งทุกข์ เกิดได้อย่างไร เหตุแห่งทุกข์ ิสิ้นแล้วเป็นอย่างไร เหตุแห่งทุกข์จะสิ้นไปได้อย่างไร
 
    3.เรียนรู้ ข้อกำหนด ความจริง การดับไปแห่งทุกข์ ผลของการดับไปแห่งทุกข์ และข้อควรกระทำในการดับไปแห่งทุกข์
   
       การดับไปแห่งทุกข์ คืออะไร การดับไปแห่งทุกข์ เกิดได้อย่างไร  การดับไปแห่งทุกข์ มีแล้วเป็นอย่างไร การดับไปแห่งทุกข์ จะได้ด้วยวิธีใด
 
    4.เรียนรู้ ข้อกำหนด ความจริง ของวิธีการเพื่อการไปสู่ดับทุกข์  ผลของกระทำตามวิธีการดับทุกข์  และข้อกำหนดที่ควรกระทำในการทำตามวิธีการดับทุกข์
   
      วิธีการดับทุกข์ คืออะไร วิธีการดับทุกข์ อาศัยเหตุอะไร วิธีการดับทุกข์เข้าถึงได้โดยวิธีใด วิธีการดัีบทุกข์ ทำอย่างไร
 
     อ่านไป อ่านมา ก็จะรู้สึกว่า งง แต่สั้น ๆ ก็คื มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาย หรือ พระอริยะมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง
 
     แล้ว มันเกี่ยวอะไรกับคำถาม ?
 
     เกี่ยวมาก ๆ เพราะการถาม สุญญตา นั้น จัดเป็นผล การถามเรื่อง อนัตตา  ก็เป็นผล เหมือนกัน บุคคลจะไม่ยึดมั่น ถือมั่น ละตัณหา ด้วยใจ  ก็ต้องมีกำลังในการเห็นตามความเป็นจริง มาเป็นลำดับ ดังนัั้นการทีถามผล  เรื่อง สุญญตา อนัตตา นิพพาน ทั้งหลายเหล่านี้  อธิบายมากก็ใช่จะทำความเข้าใจได้ง่าย หากผู้ถามไม่ผ่าน อนิจจสัญญา แล้ว  จะเข้าใจ อนัตตสัญญา ได้อย่างไร ความไม่มี ไม่ได้บอกว่า ไม่มี แต่ความไม่มี  อาศัยอะไร จึงไม่มี ไม่มี มาจากคำว่า มี  เพราะ ไม่มี เป็นสิ่งคู่  กับคำว่า มี  มี อาศัย ไม่มี ไม่มี อาศัย มี  สุข อาศัย ทุกข์  ทุกข์  ก็อาศัย สุข สิ่งที่เราพูดกันอยูี่ตอนนี้กับเป็นสิ่งที่ไปซ้าย ที ไปขวาที  ทั้ง ๆ ที่เราต้องการพูด หรือ ทำใจให้ถึง ก็คือ ระหว่าง มี กับ ไม่มี  สุข  กับ ทุกข์ ปล่อยวาง กับ ไม่ปล่อยวาง เที่ยง กับ ไม่เที่ยง  ดังันั้น  ถ้าจะสื่อเรื่อง สุญญาตา ก็ต้องผ่านลำดับ การภาวนา เท่านั้น จึงจะได้คำตอบ
 
     เรือง สุญญตา เป็น เรื่องปัจจัตตัง ข้ามพ้นขอบเขต ของ คำอธิบายในโลก  สื่อรู้ด้วยความ กระจ่างแจ้งด้วยจิต ด้วยตนเอง ไม่มีความหมาย ใด ๆ กับโลก หรือ สัตว์ บุรุษ บุคคล ใด ๆ ในโลกนี้ เป็นธรรมเฉพาะตน

    เจริญพร / เจริญธรรม

    ;)   

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2012, 10:19:18 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากที่สรุปจาก อธิบายของพระอาจารย์ คือ ทำความเข้าใจ ในอนัตตาก่อน นะครับ
อันที่จริง ผมเองก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องไปทำความเข้าใจในเรื่อง สุญญตา หรือ อนัตตา ในเมื่อใจ
ของเราปล่อยวาง ลง จากความเป็นเรา และ ของเรา ตัวตนของเรา ลงแล้ว ก็เท่ากับ ไม่มี... เมื่อไม่มี ก็คือ ไม่มี

 :s_hi: :s_good:

ตรงนี้ ผมว่าเป็นส่วนสาระ ที่พระอาจารย์แสดงไว้นะครับ

ความไม่มี ไม่ได้บอกว่า ไม่มี แต่ความไม่มี  อาศัยอะไร จึงไม่มี ไม่มี มาจากคำว่า มี  เพราะ ไม่มี เป็นสิ่งคู่  กับคำว่า มี  มี อาศัย ไม่มี ไม่มี อาศัย มี  สุข อาศัย ทุกข์  ทุกข์  ก็อาศัย สุข สิ่งที่เราพูดกันอยูี่ตอนนี้กับเป็นสิ่งที่ไปซ้าย ที ไปขวาที  ทั้ง ๆ ที่เราต้องการพูด หรือ ทำใจให้ถึง ก็คือ ระหว่าง มี กับ ไม่มี  สุข  กับ ทุกข์ ปล่อยวาง กับ ไม่ปล่อยวาง เที่ยง กับ ไม่เที่ยง  ดังันั้น  ถ้าจะสื่อเรื่อง สุญญาตา ก็ต้องผ่านลำดับ การภาวนา เท่านั้น จึงจะได้คำตอบ

ต้องอ่านซ้ำ ๆ หลาย ๆ เที่ยวครับ เพราะข้อความอธิบายของพระอาจารย์ อย่าอ่านเพียงรอบเดียวครับ ( สำหรับผมเองต้องอ่าน เป็น สิบรอบเลยครับ เพื่อทำความเข้าใจ และ จะได้เข้าใจสิ่งที่พระอาจารย์ต้องการแสดงครับ

  :25: :25: :25: :c017:

ขอบคุณผู้ถามด้วย ครับ ไม่เห็นนานแล้วนะครับ

 
บันทึกการเข้า

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้ว ลึกซึ้ง รู้สึกจะว่าจะอึดอัด เข้าใจได้ยาก เหมือนกับคำถามเลยครับ

  :41:
บันทึกการเข้า

inlove

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดิฉัน อ่านแล้ว เหมือนจะเข้า ใจคะ แต่ มาอ่านอีกรอบก็เหมือนจะไม่เข้าใจ คะ
อาจจะเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง เกินกว่าที่ดิฉันจะเข้าใจตอนนี้ คะ

  :25:
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต้องอ่านกลับไป กลับมา หลาย ๆ รอบ ครับ แล้วรวบรวม สติปัญญาในการภาวนา มาพิจารณาด้วยครับ เนื่องด้วยคำถามของ คุณ อิสรภาพ นั้นเป็นคำถามในแนวปรัชญา แบบมหายาน เรื่องสุญญตา จะมีการกล่าวกันมากในหมู่ เซ็น ชาวมหายาน ส่วนในทางหมู่กรรมฐาน จะกล่าวเรื่อง พระไตรลักษณ์ เป็นหลัก ครับ

 ก็อย่างน้อยเราก็ได้รับประโยชน์ จากคำถาม คำตอบ ด้วยครับ

 อย่างน้อยคือ 1 . ถ้าเราตอบไม่ได้ ก็ได้ความรู้ว่า สติปํญญายังไม่พอ ภาวนายังไม่พอ
                2. ถ้าตอบได้ ปัญหาอยู่ที่ว่า ตอบแล้วเขาจะรู้เรื่องในคำตอบเราหรือไม่
                3. อาจจะเป็นปํญหาที่ไม่ต้องตอบ ก็ได้ .....

    สาธุ สาธุ สาธุ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คำถาม ที่ถาม บางครั้ง คำตอบไม่ใช่ ตัวหนังสือ แต่ เป็น ผลของการปฏิบัติ

 ผลของการปฏิบัติ บางครั้ง ไม่สามารถใช้ อักขระอักษรใด ๆ มาชี้ อธิบายได้ ดี

 ดังนั้น จึงมีคำพูด ธรรม สู่ ธรรม จิต สู่ จิต เซ็น สู่ เซ็น

 คำถามของ คุณ ISSARAPAP เป็นคำถามไปแนวนั้น ๆ ดังนั้น คำตอบอาจจะเป็นประโยชน์กับคน เพียงคนเดียว

ก็ขึ้นอยู่ ว่า การมองเห็นนั้น มองเห็นอย่างไร ใน อรรถ ตรงนั้น ส่วนคนที่เข้ามาอ่าน อาจจะไม่เข้าใจ เลย ก็เป็นได้


 เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา