สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ธรรมะสัญจร => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 04, 2016, 03:17:55 pm



หัวข้อ: ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 04, 2016, 03:17:55 pm
(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/072.jpg)
วันนี้นั่งรถ Taxi จากวัดราชสิทธาราม ไปฝั่ง ตลาดปากน้ำ เพื่อต่ารถเมล สายนี้ รถจะมีที่ให้พระนั่งโดยเฉพาะ แต่บอกตรง ๆ นะ ถ้าอ้วนอย่างอาจารย์ นั่งลำบากมาก เพราะมันเหยียดขาไม่ได้ แต่ก็ดีกว่ายืน และเดิน

(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/073.jpg)
รถนี้คือรถ ขสมก บริการประชาชนฟรี

(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/068.jpg)
ตึกที่เข้าพัก เรียกว่า เรือนพักอาคันตุกะ


(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/069.jpg)
ธรรมดา เรือนนี้ก็ของระเกะระกะ ไปหมดแต่ยังมีทางเดิน

(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/070.jpg)
บรรยากาศที่พัก ก็เหมือนวัดทั่ว ๆ ไป อาจจะร้อนสักหน่อย อากาสไม่โปร่งเหมือนที่วัดราชสิทธาราม

(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/071.jpg)
มองจากที่นั่งรอจะเห็นป้ายวัดที่รถ อยู่นะจ๊ะ วัดนี้ก็คล้ายวัดธาตุทอง นั่นแหละ กิจการที่มีอยู่ในวัดก็คือ เรื่องบำเพ็ญกุศลศพ มีศาลา 8 หลังบริการตรงนี้ มีเจ้าที่ มีเรือนจ่ายเงิน โดยตรง

(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/074.jpg)
เข้าพบพระมหาญาณธวัช(ปธ7) ณ ที่พัก พระมหาเกตุ(ปธ8) คุยสนทนาธรรมกัน โดยเฉพาะเรื่องคำแปลคาถาพญาไก่เถื่อน ที่ท่านพบในคัมภีร์ใบลาน ทางภาคเหนือ

(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/067.jpg)
แต่เนื่องด้วยท่านไม่ได้พักอยู่ที่นี่ ข้อมูลไม่มีติดตัวมา จึงต้องใช้ อินเตอร์เน็ตเข้าไปค้นหาข้อมูล และ ก็มีการจัดครอปออกมาเป็นภาพ

 และนี่คือข้อความที่ปรากฏในเฟค

     จิตราลังการประเภทสัพพโตภัทระที่พบในบทประพันธ์บาลีของไทย
______________________________________________
..............จิตราลังการเป็นชื่อเรียกคำประพันธ์ร้อยกรองในภาษาบาลีชนิดหนึ่ง เดิมทีมีอยู่เฉพาะในวรรณกรรมสันสกฤต ภายหลังมาเมื่อวรรณกรรมฝ่ายบาลีเจริญเฟื่องฟูขึ้น จึงมีการนำรูปแบบจิตราลังการจากสันสกฤตมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในบาลี วรรณกรรมประเภทจิตราลังการจึงไม่พบในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา เป็นต้น แต่จะพบในผลงานของครูบาอาจารย์สมัยหลังๆ เท่านั้น ในเมืองไทยเองพบจิตราลังการซึ่งเป็นผลงานของโบราณาจารย์ไม่ปรากฏนามผู้ประพันธ์อยู่หลายบท คำประพันธ์แบบจิตราลังการนั้นนำเอารูปแบบของยมกาลังการเข้ามาผสมผสานบ้างส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเน้นความไพเราะที่การซ้ำกันของเสียงอักขระสลับสอดคล้องกันไป ในที่นี้ขอนำเสนอจิตราลังการชนิดสัพพโตภัทระสักบทหนึ่งดังนี้
..............เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว........ทา ย สา ต ต สา ย ทา
..............สา สา ธิ กุ กุ ธิ สา สา...........กุ ต กุ ภุ ภุ กุ ต กุ.
(คำแปล) นัยที่หนึ่ง
..............เวทา สากุ กุสา ทาเว..............ทาย สาต ตสา ยทา
..............สาสาธิ กุกุธิ สาสา..................กุตกุ ภุ ภุ กุตกุ.
..............พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง ทรงสั่งสอนมนุษยโลกและเทวโลกทั้งหลาย ทรงให้เป็นไปด้วยสัพพัญญุตญาณของพระองค์ ทรงเป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์อุปมาดังเขาสิเนรุอันไม่หวั่นไหว ฉะนั้น
..............ในกาลใด ความสะดุ้งตกใจกลัวเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ในกาลนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นโปรดประทานประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ
..............ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นโปรดจงเผาผลาญ คือ กำจัดเสียซึ่งซึ่งอกุศลกรรมอันเสมอด้วยหญ้าคาแก่ข้าพเจ้า ขอปัญญารู้ธรรมจงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญฯ
(คำแปล) นัยที่สอง
..............เวทาสา’กุ กุสาทา เว..............ทายสาต ตสาย ทา
..............(เวทาสากุ กุสาทา เว).............|………………….
..............สาสา ธิ กุ กุธิ สาสา................กุตกุภุ ภุ กุตกุ.
..............๑. ชนเหล่าใดปรารถนาซึ่งโลกิยปัญญาและโลกุตตรปัญญา ชนเหล่านั้นชื่อว่าผู้ไม่น่ารังเกียจโดยแท้ เหตุเพราะถือเอาปัญญาอันปราศจากบาป (อีกนัยหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิใดอันกำจัดเสียซึ่งปัญญาทั้งสอง มิจฉาทิฏฐินั้นชื่อว่าน่ารังเกียจแล บัณฑิตพึงรักษาจิตของตนจากมิจฉาทิฏฐินั้น อันถือเอาอกุศลที่นอนในสันดานที่ควรรังเกียจ)
..............๒. ดูกรภิกษุผู้ยินดีในป่า ข้อปฏิบัติอันตัดเสียซึ่งตัณหานั้นจงมีแก่ท่านเถิด
..............๓. พระปัญญาญาณ (แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า) ที่ทรงใช้สั่งสอนมนุษย์และเทวดาเสมอดังแผ่นดิน พระปรีชา (แห่งพระราชา) ที่ทรงใช้สั่งสอนอาณาประชาราษฎร์ก็เสมอดังแผ่นดิน
..............๔. ดูกรท่านผู้ปกครองรักษาแผ่นดิน ขอแผ่นดินจงเป็นของท่านผู้รักษาแผ่นดิน (โดยชอบธรรม) เถิด
อธิบายความตามนัยที่สอง
..............บทที่ ๑ สรรญเสริญคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้มีปัญญา
..............บทที่ ๒ สรรเสริญปฏิปทาแห่งบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งหลาย
..............บทที่ ๓ สรรเสริญพระปัญญาคุณ (สัพพัญญุตญาณ) แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระคุณแห่งกษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม
..............บทที่ ๔ ถวายพระพรให้พระราชามหากษัตริย์ทรงเจริญในสิริราชสมบัติ
คาถานี้ทางภาคกลางนิยมเรียกว่า คาถาพญาไก่เถื่อน เพราะเป็นคาถาที่สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม ทรงนับถือมากและทรงใช้สาธยายเป็นประจำ มีเรื่องเล่าว่าเมื่อพระองค์ทรงเจริญคาถาบทนี้ถึงขนาดทำให้ไก่ป่าเชื่องกลายเป็นไก่บ้านไป พระองค์จึงได้รับสร้อยพระนามว่าพระสังฆราชไก่เถื่อน ที่จริงคาถาบทนี้เป็นผลงานของโบราณาจารย์ประพันธ์ขึ้นซึ่งมีพบทั้งในภาคเหนือของไทยและในภาคกลางเป็นต้น คนภายหลังเข้าใจว่าเป็นผลงานประพันธ์ของพระองค์จึงเรียกกันว่า คาถาพญาไก่เถื่อน เพื่อถวายเกียรติแก่พระองค์ สำหรับฉบับของภาคกลางนั้นมีที่แตกต่างจากฉบับล้านนาคือ กุ ต กุ ภุ ภุ กุ ต กุ เป็น กุ ต กุ ภู ภู กุ ต กุ นอกนั้นเหมือนกัน เท่าที่ทราบมาคาถาบทนี้ยังไม่เคยมีคำแปลในสำนวนภาษาไทย คีรีวัน..นำมาแปลเป็นสำนวนแรกโดยอาศัยนัยจากคัมภีร์ใบลาน นิสสัยภาษาล้านนา ครับ
 สัพพโตภัทระ แปลว่า มีความงดงามจากทุกๆ ด้าน ลักษณะคำประพันธ์ชนิดนี้ก็คือสามารถอ่านจากทางซ้ายไปหาขวาหรือจากทางขวาไปหาซ้ายในทุกๆ บาทได้ ซึ่งจะได้เสียงที่เหมือนกัน อย่าง เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว จะอ่านจากซ้ายไปหาขวาหรืออ่านย้อนจากขวาไปหาซ้ายก็ได้เสียงเท่าเดิม
(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/kai-01.jpg)

(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/kai-02.jpg)

(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/kai-03.jpg)

คำว่า ตสาย มาจาก ตสฺสาย (โยค ตณฺหาย) โดยลดสังโยคาทิครุ คือ คฺ ลงเพื่อรักษาฉันท์ดังพระบาลีว่า ปุตฺตานญฺหิ วโธ ทุโข. (ขุ.ชา. ๒๘/๔๒๑) ดังที่สัททนีติปกรณ์ สุตตมาลา (นีติ.สุตฺต ๑๓๕) ตั้งสูตรไว้ว่า สญฺญุตฺโต พฺยญฺชโน วิสญฺโญโค. (ในคาถาบางแห่งพยัญชนะสังโยคจะไม่มีตัวซ้อน)
ในคัมภีร์ชินาลังการคาถาที่ ๑๑๘ พบจิตราลังการชนิดหนึ่งเรียกว่าปฏิโลมยมก (ซ้ำจากหลังมาหาหน้า) คือเมื่ออ่านย้อนจากบาทที่ ๔-๓-๒-๑ จะได้เสียงเหมือนอ่านจากบาทที่ ๑-๒-๓-๔ ดังนี้
.......ราชราชยโสเปต-........วิเสสํ รจิตํ มยา
.......ยาม ตํ จิรสํเสวิ-..........ตเปโสย’ชรา’ชรา.
.......แต่ในสัพพโตภัทระจะซ้ำจากหลังมาหาหน้าเฉพาะบาทใครบาทมันเท่านั้น

จิตราลังการในวรรณกรรมบาลีมีพบน้อยกว่าในสันสกฤตเพราะเป็นบทกวีที่มิใช่นักกวีทั่วไปจะประพันธ์ได้ง่ายๆ อนึ่งบทกวีที่ได้รับการประพันธ์ออกมาจะต้องมีความสละสลวยและได้อรรถรสด้วย ดังนั้นกวีผู้ประพันธ์จึงได้รับการเรียกขานว่า จิตรกวี
คำว่า ทา มีวิเคราะห์ว่า เทติ ขณฺเฑติ ลุนาติ เอตายาติ ทา (ปฏิปทา) ปฏิปทาเป็นเครื่องตัด


(http://www.madchima.net/images2558/song_58_2/074.jpg)

ก็ต้องขอขอบคุณท่านด้วย ณ ที่นี้ ที่ให้ความรู้เพิ่มเติม


หัวข้อ: Re: ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มกราคม 04, 2016, 08:10:16 pm

      ขออนุโมทนาสาธุ ครับ


หัวข้อ: Re: ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: vichai ที่ มกราคม 04, 2016, 08:38:04 pm
เรื่องนี้มีประโยชน์เป้นอย่างมากครับ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ มกราคม 05, 2016, 12:32:48 am
เพื่อน ๆ ไม่ควรพลาดอ่าน ตอนนี้นะครับ สำหรับท่านที่ชอบสวดคาถาพญาไก่เถื่อน นะครับ


 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ มกราคม 05, 2016, 10:55:28 am
 :25: st11 st12 like1


หัวข้อ: Re: ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มกราคม 05, 2016, 11:16:45 am
 st11 st12 st12


หัวข้อ: ใครไม่ได้ อ่าน ควรอ่าน นะคะ ความลับของ คาถาพญาไก่เถื่อน จากพระอาจารย์
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ มกราคม 05, 2016, 12:53:28 pm
ขอบคุณ มาก ๆ เนื้อหาสำคัญด้วย จริง ๆ เลย ถ้าไม่ได้อ่านแล้ว จะเสียใจอย่างน้อย ความลับของคาถาพญาไก่เถื่อน ส่วนหนึ่ง ก็อยู่ในนี้ นะคะ
 st11 st12 st12
 


หัวข้อ: ลำดับการแปล แบบยกศัพท์ ตามคัมภีร์ใบลานที่ยกมา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 05, 2016, 02:27:43 pm
(http://www.madchima.org/img2559/yoksab.jpg)

   ยกศัพท์ และ ลำดับการแปล ให้เข้าใจง่าย ๆ แต่อาจะเรียงผิด ไปบ้าง แต่พอทำให้เกิดความเข้าใจ ในการตีความและการให้ความหมาย แบบบัณฑิต ของผู้แต่ง นะ

 ถึงแม้ ที่ไปที่มา ของคำแปล จะงวยงงกันอยู่บ้าง ว่ายกมาอย่างไร แต่ ก็ให้ความหมาย ต่อบาทคาถา ในทางวิจิตรพิศดาร เพิ่มขึ้นในการแปล เป็นเรื่องเป็นราว บ้าง

 เจริญธรรม / เจริญพร


หัวข้อ: เรียงลำดับ คำในประโยคทั้งหมด ดังนี้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 05, 2016, 02:38:14 pm
โย ภควา สพฺพสตฺตานํ หิตการโก สาสติ อนุสาสติ เทวโลเก จิตสตฺเต ปถวีตเล จิตสตฺเต ปวตฺตา สยมฺภฺญาเณน สิเนโรว จิตฺตารโส อตฺถิ ยทา โส ภควา ททนฺตุ หิตสงฺขาตํ เม ตทา โส ภควา อกุสลสงฺขาเต กุสลทิเส อนฺตรายิเก ธมฺเม เม โส ภควา  ทาทาตุ ทยตุ สมิชฌตุ  เวทา

   อาจจะเรียงผิดไปบ้าง เพราะสายตามองไม่ค่อยเห็น นะ ตรงไหนหลุดหล่นไป ก็ช่วยบอกด้วย 



   ;)


หัวข้อ: Re: ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ มกราคม 06, 2016, 02:52:38 am
รู้สึกว่า คาถานี้ พิศดาร เพิ่มขึ้นอีกแล้ว

   like1 st12 st12 st12


หัวข้อ: Re: ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
เริ่มหัวข้อโดย: ฟ้าใหม่แจ่มใส ที่ มกราคม 12, 2016, 08:00:26 am
 st11 st12 st12 :25: