ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เชิดชูพระอุบาลี 260 ปี จารึกนาม 'สยามวงศ์'  (อ่าน 1698 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เชิดชูพระอุบาลี 260 ปี จารึกนาม 'สยามวงศ์'
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 09:59:06 am »
0

เชิดชูพระอุบาลี 260 ปี จารึกนาม 'สยามวงศ์'
ศิลปวัฒนธรรม : เชิดชูพระอุบาลี...260 ปี จารึกนาม 'สยามวงศ์'

ย้อนไปเมื่อ 260 ปีก่อนในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากคณะ "สมณทูต" ภายใต้การนำของ พระอุบาลีมหาเถระ ได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาที่กำลังเสื่อมลงอย่างหนัก จนเกิดพระสงฆ์ 700 รูป สามเณรอีก 3,000 รูป ในระยะเวลาเพียง 3 ปี และเป็นที่มาของ "นิกายสยามวงศ์" ที่ตั้งมั่นและดำรงอยู่มาตราบจนถึงทุกวันนี้

เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบ 260 ปี แห่งการสถาปนาพระพุทธศาสนาสยามวงศ์ในศรีลังกา สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ จึงประสานมือกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ จัดนิทรรศการ "ต้นธารสยาม-ลังกาวงศ์ : 260 ปี พระอุบาลี จาริกจารึกนามสยามวงศ์ในลังกา" เปิดเผยอีกแง่มุมทางประวัติศาสตร์ระหว่างสองประเทศที่หลายคน (อาจ)ไม่เคยรู้ ที่แหล่งเรียนรู้ทันสมัย มิวเซียมสยาม

แก่นภายในนิทรรศการ ประกอบด้วย 2 ส่วน เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับศรีลังกา ประวัติพระอุบาลีและผลงานตั้งแต่การเดินทางโดยเรือสำเภาผจญคลื่นลมกลางทะเล และอีกส่วนแสดงภาพถ่ายของช่างภาพมืออาชีพถ่ายทอดเรื่องราวสองวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกัน






วันเปิดนิทรรศการ พลเดช วรฉัตร เอกอัครราชทูตไทยประจำศรีลังกา พร้อมด้วย พล.อ.ซานต้า โกเต้โกด้า เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย นำชมส่วนต่างๆ โดย ท่านทูตพลเดช เล่าความสำคัญของนิทรรศการครั้งนี้ว่า
   การพยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกาไม่ใช่เรื่องง่าย
   ครั้งนั้นพระอุบาลีเถระ เจ้าอาวาสวัดทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา เดินทางไปกับเรือสำเภาของฮอลันดา
   ครั้งแรกเรือล่มจึงขึ้นฝั่งที่นครศรีธรรมราช จากนั้นก็เดินทางอีกครั้งจนกระทั่งไปถึงเกาะศรีลังกา


มีการตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าพระอุบาลีเดินทางไปไม่ถึงศรีลังกาเชื่อว่าศาสนาพุทธคงไม่อาจเฟื่องฟูมาถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นชาวศรีลังกาจึงพร้อมใจกันเรียกนิกายนี้ว่า
    "สยามวงศ์" หมายความว่า บวชโดยเพราะอุบาลีแห่งประเทศสยาม
     ทุกวันนี้พระสงฆ์ในสยามวงศ์นิกายมีถึงร้อยละ 80 สยามวงศ์
     แสดงให้เห็นว่าสยามประเทศขณะนั้น สามารถช่วยประเทศประเทศหนึ่งที่เป็นพุทธด้วยกันให้ดำรงมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก


     ans1 ans1 ans1

     "ต้องยกย่องพระอุบาลีว่า เป็นฮีโร่ เพราะการเดินทางข้ามทะเลยุคนั้นส่วนใหญ่ตายลูกเดียว ถ้าไม่ใช่ความเป็นนักผจญภัย ความเป็นพระที่พร้อมจะปฏิบัติตามพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแล้วก็คงไม่เสี่ยงชีวิต แล้วสามารถฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกาจนสำเร็จ เป็นผลงานที่เราจำเป็นต้องยกย่องท่านว่าเป็นพระธรรมทูตรูปแรกของสยามที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขัน นี่คือที่มาว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญและรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน พระธรรมทูตไทยยุคนี้ก็ควรยกย่องท่านเช่นกันว่าเป็นต้นแบบ คนไทยควรได้รับรู้เรื่องนี้ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน" ท่านทูตพลเดช กล่าว





อีกเรื่องราวน่าสนใจภายในนิทรรศการคือ ไม่ว่าจะรูปภาพหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่ศรีลังกาหรือประเทศไทยล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน มีวิถีพุทธแบบเดียวกัน แต่หากลงลึกในรายละเอียดจะพบความต่างในลักษณะความเข้มแข็งและความอ่อนแอแห่งแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ดังนั้นการมีโอกาสได้กลับไปรู้รากเหง้าทางประวัติศาสตร์ก็จะเห็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ โดยเฉพาะการมีพระสงฆ์ที่เอาจริงเอาจังกับการสืบทอดศาสนา

    "พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกาเป็นเถรวาทเหมือนไทย แต่สิ่งที่ต่างกันคือวิถีพุทธของเขาเข้มข้นและเข้มแข็งกว่า รัฐธรรมนูญของเขากำหนดไว้เลยว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีการแห่พระเขี้ยวแก้ว มีการเคารพต้นโพธิ์ ขณะที่บ้านเราเปิดรับความเปลี่ยนแปลงมากจนเกิดการพัฒนาด้านวัตถุมากไป วิถีพุทธเลยหย่อนยาน แต่ความจริงความเป็นพุทธไม่หายไปไหนอยู่ที่ตัวเราเอง แต่ต้องมีแรงบันดาลใจ ซึ่งนิทรรศการครั้งนี้มีให้ศึกษา ยกระดับและแลกเปลี่ยนความเป็นพุทธระหว่างกัน




อย่างโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่วัดสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ที่เพิ่งสิ้นพระชนม์ไปเป็นผู้นำมาจากศรีลังกา แต่ระยะหลังถูกลืมไป ถึงเวลาต้องกลับมาฟื้นฟูแล้ว เยาวชนแทนที่จะไปห้างสรรพสินค้าหันไปขัดเกลาจิตใจที่วัดบ้าง

เราเป็นพุทธตั้งแต่เกิดแต่เราปฏิบัติอย่างพุทธหรือไม่ ต้องคิดได้ เชื่อว่าผู้เข้าชมจะรับรู้ ออกมาแล้วเข้าใจในเนื้อหาความสำคัญของนิทรรศการ ที่สำคัญเป็นความยิ่งใหญ่ของบุคคลสำคัญระดับประเทศที่สมควรได้รับการยกย่อง จึงอยากเชิญชวนทุกคนให้มาศึกษา จะได้รู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศตามสโลแกน "ทูเนชั่น วันแฟมิลี่" ในเรื่องพระพุทธศาสนา ไทยกับศรีลังกาคือครอบครัวเดียวกัน" ไกด์กิตติมศักดิ์ ทิ้งท้าย


ภายในงานยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย อย่างการจัดทำการ์ตูนประวัติพระอุบาลี วาดโดย โอม วัชรเวทย์ นักเขียนการ์ตูนแถวหน้าของเมืองไทย การอบรมสอนวาดการ์ตูนสำหรับเด็กๆ เป็นรูปแบบการนำเสนอที่เข้ากับยุคสมัย ซึ่งผู้สนใจสามารถร่วมเดินทางย้อนรอยไปกับต้นธารสยามฯ ได้จนถึง 8 ธันวาคมนี้


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20131107/172107.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2013, 10:06:06 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ