ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานน่าค้นหา ผู้รักษาพระธาตุเชิงชุม ณ ภูน้ำลอด #สกลนคร (ชมภาพ)  (อ่าน 1529 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





ตำนานน่าค้นหา ผู้รักษาพระธาตุเชิงชุม ณ ภูน้ำลอด #สกลนคร


ตำนานตระกูลมาจากกรุงอินท์ปัทม์นคร : ตำนานกล่าวว่า ในสมัยพระพุทธเจ้ากัสสป นั้น พระเจ้าอินทปัทม์นคร ได้แต่งตั้งให้ขุนขอม ราชนัดดา ยกพลมาตั้งเมืองขึ้นที่ฝั่งหนองหานหลวง ตรงท่านางอาบ ให้ชื่อว่า “เมืองหนองหานหลวง” ขึ้นกับกรุงอินทปัทม์ต่อมาขุนขอมสิ้นพระชนม์ “เจ้าสุรอุทกกุมาร” ราช โอรสได้เป็นพระยาครองเมืองแทน วันหนึ่งได้เสด็จตรวจเขตแดนถึงปากแม่น้ำมูล ทราบว่า พระเจ้าอินทปัทม์นครผู้เป็นพระอัยกาและขุนขอมผู้เป็นพระบิดาได้มอบ ให้ “ชนะมูลนาค” เป็นผู้รักษา

พระองค์ทรงขัดเคืองว่า พระอัยกาและพระบิดาไม่สมควรมอบให้สัตว์เดรัจฉานรักษาเขต จึงได้แสดงฤทธิ์ต่อสู้กับพญานาค จนสิ้นกำลังทั้งสองฝ่ายเมื่อพระเจ้าสุรอุทกเสด็จกลับเมืองหนองหานหลวงแล้ว พญานาคซึ่งผูกพยาบาทอยู่ได้ติดตามมาจนถึงเมืองหนองหานหลวงแล้วจำแลงกายเป็นฟานเผือก (อีเก้งเผือก) เดินผ่านเมือง พระเจ้าสุรอุทกสั่งเกณฑ์พวกพรานไปล้อมยิงฟานตายด้วยลูกศรอาบยาพิษ แล้วพากันแล่เนื้อเถือหนังกินกันจนทั่วถึง แต่กินเท่าไรก็ไม่หมด เนื่องจากพญานาคแสดงฤทธิ์ให้ฟานเผือกนั้นโตเท่าช้างสาร พระเจ้าสุรอุทกก็ทรงเสวยเนื้อฟานนั้นด้วยความอิ่มหนำสำราญ









พอตกกลางคืน เมื่อชาวเมืองเข้านอนกันหมดแล้ว พญานาคก็ดำลงไปใต้ดิน หนุนเมืองหนองหานหลวงให้ถล่มทลาย กลายเป็นอันเดียวกันกับหนองหาน ผู้คนพลเมืองล้มตายเป็นอันมาก ที่เหนือก็อพยพหลบลี้หนีอยู่ตามเกาะและตามฝั่งส่วน พระเจ้าสุรอุทกนั้น ถูกพญานาคพันด้วยนาคบาศก์ ดึงลากไปสู่แม่น้ำโขงจนสิ้นพระชนม์ หนทางที่พญานาคาถึงลาดพระเจ้าสุรนอุทกไปนั้นเรียกว่าลำน้ำกรรมหรือลำน้ำก่ำ

ในปัจจุบันนี้ พระเจ้าสุรอุทกมีโอรส 2 องค์ คือ เจ้าภิงคารและเจ้าคำแดง กุมารทั้งสอง ได้พาพลเมืองที่เหลือจากจมน้ำตาย ไปอาศัยอยู่ที่ดอนโพนเมือง ริมหนองหาน ทางทิศใต้ แล้วหาชัยภูมิที่จะสร้างเมืองใหม่ พอถึงภูน้ำลอดริมฝั่งหนองหาน เห็นว่าเป็นที่อุดมสมบูรณ์มีชัยภูมิที่ควรตั้งบ้านเมืองได้ จึงตั้งที่สักการะบูชาพระภูมิเจ้าที่ ตั้งสัตยาธิษฐานว่าจะสร้างบ้านเมือง ณ ที่นี้ ขอเทพยดาอารักษ์ผู้พิทักษ์ภูมิสถานที่นี้จงอภิบาลคุ้มครองไพร่ฟ้าประชาชนให้ เป็นสุขสืบไปเทอญ

@@@@@@

ขณะนั้นพญาสุวรรณนาคมีเกล็ดเป็นทองคำ ก็สำแดงตัวให้ปรากฏ ถือน้ำเต้าทองคำอันเป็นน้ำทิพย์ บอกว่าตนคือพญาสุวรรณนาค เฝ้าพิทักษ์รอยพระพุทธบาทอยู่ที่ภูน้ำลอดนี้ แล้วก็เอาน้ำหอมรดสรงอภิเษกเจ้าภิงคารให้เป็นพระยาเสวยเมืองมีชื่อว่า “พระยาสุวรรณภิงคาร” ปกครองไพร่ฟ้าประชาชนสืบมา ส่วนเจ้าคำแดงผู้อนุชานั้น เสนาอำมาตย์ทางเมืองหนองหานน้อย ได้มาเชิญไปเสวยเมืองเป็นพญา แทนกษัตริย์ที่ว่างลง เรียกชื่อว่า “พญาคำแดงเมืองหนองหานน้อย”

ตั้งแต่นั้นมา พระยา สุวรรณภิงคาร จะครองเมืองหนองหานหลวงมากี่ปีไม่ปรากฏในอุรังคนิทานหรืออาจจะผลัดเปลี่ยน เจ้าผู้ครองเมืองมากี่องค์ก็ไม่มีหลักฐาน แม้แต่ในสมัยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดมก็ยังปรากฎว่าเจ้าพระยาสุวรรณ ภิงคาร ครองเมืองอยู่ ทั้งยังได้ราชาภิเษกกับพระนางเจ้านารายณ์เจงเวง ราชธิดาของพระเจ้ากรุงอินทปัทม์นคร เป็นเอกอัครมเหสีด้วย














เขียนบทความโดย หนึ่ง นาคา - พฤศจิกายน 29, 2017
ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก http://nakanews.com/ตำนานน่าค้นหา-ผู้รักษาพระธาตุเชิงชุม-ณ-ภูน้ำลอด-สกลนคร/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมไปนอนมาแล้ว 1 คืน

สงบสุขมาก

ฝนตกก่อนค่ำ ขับขึ้นภูพาน

ลงภูพาน สองทุ่มครึ่ง

เค้าเรียกเขานี้ว่า

เขากระดูกงู

มองเห็นไฟท้ายรถเก๋งคันหนึ่ง

หล่นอยู่ในเหวกระดูกงูคันหนึ่ง

สุดวิสัยเพราะฝนหนักตอนอยู่บนภู

จิกตูดรถโลจิสติกสองคันขึ้นลงภู

ไม่กล้าแซง เพราะไม่คุ้นทาง

ถนนดำปี๋ เห็นแต่หมุดสะท้อนแสง

แบ่งเขตถนนสองเลนเท่านั้น

ประสบการณ์จริงๆ

พอลงมามีปีติมาก

นอนเรือนไทยข้างหนองหาน

แถวสนามบิน

เช้าตรู่ กราบพระธาตุเชิงชุม

แล้วไปพระธาตุพนมต่อ

ก่อนตีลงตามรอยโขง

มืดที่โขงเจียม

กราบหลวงปู่คำคนิง

ปิดซะก่อนไม่ทัน เลยนั่งสมาธิในเจดีย์ท่าน แสงเขียวดี

ตีลงภูโขงเจียม

มืดแล้วผ่าป่าสักโนนสูงๆ

70 โล ไปหาที่นอนอุบล

เมืองหมูยอ หากินถนนคนเดิน

และวกออกมานอน ที่สาววาริน

หรือ วารินชำราบ

ที่มานอนบริเวณนี้

เพราะเมื่อเช้าแล้ว

มันจะออกไปหา หลวงปู่สรวง

ได้ไวมากแต่ก็ เจอถนนแย่มาก

เล่าประกอบทริปนะโทษที

ยืดยาวไปนิด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา