ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เคล็ดลับ “การพูดเพื่อสร้างมิตรภาพ” ในที่ทำงาน  (อ่าน 212 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 


เคล็ดลับ “การพูดเพื่อสร้างมิตรภาพ” ในที่ทำงาน

เคยไหม.?… ความเข้าใจผิดที่เกิดจากคำพูดบางคำไม่เหมาะสม ทำให้มีปัญหากับหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน เป็นเหตุให้รู้สึกคับอกคับใจ หนักสุดถึงขั้นลาออกจากงานได้เลยทีเดียว! Gedgoodlife เข้าใจปัญหาข้อนี้ดี จึงขอแนะนำ เคล็ดลับ การพูดเพื่อสร้างมิตรภาพ ในที่ทำงาน มาฝากชาวออฟฟิศได้นำไปใช้กัน

เคล็ดลับ การพูดเพื่อสร้างมิตรภาพ ในที่ทำงาน

1. เอาใจเขามาใส่ใจเรา

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดการลาออกจากงาน ส่วนใหญ่ล้วนมาจาก “มนุษยสัมพันธ์ไม่ดี” ขอเพียงเราคำนึงถึงคนอื่นให้มาก การพูดของเราก็จะเต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา และอบอุ่น สังคมในที่ทำงานก็จะเต็มไปด้วยความอบอุ่น และความสามัคคี สมานฉันท์

ทั้งนี้ต้องแยกให้ออกระหว่าง “การคิดถึงหัวอกคนอื่น” กับ “การประจบสอพลอ” เพราะ “การคิดถึงหัวอกคนอื่น” คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้ความรู้สึกอบอุ่น และจริงใจ “ส่วนการประจบสอพลอ” คือพฤติกรรมเลียแข้งเลียขา ทำเป็นพูดดี ทำดี กับคนที่เราหวังผลประโยชน์ด้วยเท่านั้น

2. เป็นฝ่ายชมเชยคนอื่นก่อน

ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ สังคมก้มหน้า บ้านเมืองเต็มไปด้วยข่าวรุนแรง จิตใจคนตกต่ำลง ทำให้การพูดจาดี ๆ ให้กันลดน้อยลง กลายเป็นคำประชดประชันมาแทน และนั่นคือ ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งเช่นกัน ฉะนั้น เวลาพบปะกันกับเพื่อนร่วมงาน ให้เราเป็นฝ่ายชมเชยก่อน ทำให้เพื่อนเรารู้สึกสบายใจ หรือ ผ่อนคลายความเครียดจากที่ทำงานบ้าง

ทั้งนี้ เวลามีคนชมเรา ก็ไม่ควรปฎิเสธอย่างเกรงอกเกรงใจจนเกินไป เช่น
เพื่อนร่วมงาน : เสื้อสวยจังเลยวันนี้
เรา : ไม่หรอก! ของถูก ๆ ตามตลาดนัดเอง!

ลองเปลี่ยนมาเป็นแสดงความรู้สึกดีใจออกมา เช่น
เรา : ขอบคุณค่ะ/ครับ นี่คือเสื้อที่เราตั้งใจเลือกมาเลย
เรา : ขอบคุณค่ะ/ครับ เสื้อตัวนี้ เราชอบสีมันเหมือนกัน สดใสดี

3. อย่าเป็นคนชอบเถียง

บางครั้งเราอาจจะถูกหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงานตำหนิบ้าง หรือสั่งให้แก้ไขงานบ้าง เราอาจรู้สึกไม่พอใจ แต่ให้มองย้อนกลับมาที่ตัวเราก่อนที่จะเถียงออกไปว่า เราผิดจริงไหม? เราต้องปรับปรุงตรงไหนหรือเปล่า?

การที่เราชอบเถียงออกไปก่อนจะหาเหตุและผล แสดงให้เห็นว่า เราเป็นคนที่ยังไม่ได้ขัดเกลานิสัยใจคอให้ดีพอ ซ้ำการขัดแย้งเพื่อนร่วมงานตลอดเวลา ยังจะทำลายบรรยากาศสมานฉันท์ในบริษัทอีกด้วย

วิธีการตอบเมื่อเราโดนตำหนิ คือ

หัวหน้า : ” ธารารัตน์ … คุณต้องมีสติในการทำงานหน่อยนะ เธอทำพลาดบ่อยครั้งแล้ว ปรับปรุงตัวด้วย! ”
เรา : ” ขอโทษค่ะ ดิฉัน / หนู จะพยายามระวังตัวให้มากขึ้น มีสติให้มากขึ้น ถ้าหัวหน้าเห็นอะไรผิดขอให้ช่วยแนะนำด้วยนะคะ ”




4. คำแสดงความเคารพต่อเพื่อนร่วมงาน

โดยปกติจะใช้คำว่า คุณ เป็นคำเรียกแสดงความเคารพแบบทั่วไป กับคนที่มีตำแหน่งใหญ่โต เช่น ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก ฯลฯ สามารถเรียกตำแหน่งแทนก็ได้ เพราะ แสดงความเคารพได้ดีกว่า เช่น

– เรียกตำแหน่งหัวหน้าแผนกว่า “หัวหน้า” โดยไม่ต้องเติมคำว่า คุณ นำหน้า
– เรียกตำแหน่งเจ้านาย หรือ บอส ว่า “เจ้านาย”, “ท่าน” หรืออาจใช้คำว่า “คุณ” ในกรณีที่มีความใกล้ชิดกันระดับนึงบ้างแล้ว

5. พูดให้กระชับ ได้ใจความสำคัญ

หลายต่อหลายคน ชอบพูดเอาแต่น้ำ ไม่เอาเนื้อ และพูดไปแบบเรื่อยเปื่อยตามใจตัวเอง แต่ไม่ตามใจผู้ฟัง ไม่เพียงทำให้คนอื่นเบื่อหน่าย รำคาญเวลาเราพูด ยังจะทำให้เขาไม่อยากพูดกับเราอีกต่อไปด้วย!! ฉะนั้น ก่อนจะพูดอะไร ลองเรียบเรียงคำพูดไว้ในใจก่อนเสมอ ว่าสำคัญพอจะพูดไหม? พูดแล้วเกิดประโยชน์ไหม? เป็นใจความสำคัญต่องานหรือเปล่า?

ส่วนการพูดเพื่อถามปัญหาที่เราไม่รู้บ่อยจนเกินไปก็จะทำให้เพื่อนร่วมงานรำคาญได้ ฉะนั้น ปัญหาอะไรที่เราไม่ทราบ ให้ลองหาใน Google ดูก่อนก็ได้ หรือถามแล้วจำไว้ให้แม่น คราวหน้าจะได้ไม่ถามอีก

6. ฝึกซ้อมตัวเองให้เป็นคนตลก มีอารมณ์ขัน

เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี และทำให้ทุกคนหัวเราะ ผ่อนคลายจากสถานการณ์ที่ตึงเครียดจากการทำงานได้ คือ การเล่าเรื่องตลก หรือ เล่นมุกตลกง่าย ๆ ที่เข้ากับสถานการณ์ ทั้งนี้การจะปล่อยมุกก็ต้องมีหลักการนิดนึง ดังนี้

    - ฝึกชงมุกตบมุกให้ไว (อาจหาเวลาว่างดูรายการตลก เช่น รายการ ตลก 6 ฉาก เป็นต้น)
    - ปรับมุกให้เข้ากับผู้ฟัง รู้จักสังเกตว่าเพื่อนร่วมงานชอบมุกแนวไหน
    - มุกฮาบ้างแป้กบ้างไม่เป็นไร แต่ต้องมั่นใจตัวเองว่าดึงรอยยิ้มเพื่อนร่วมงานได้
    - มุกกระแส, มุกทำให้เข้าใจผิดตอนต้น แล้วหักมุมตอนปลาย
    - อย่าเล่นมุกที่ต้องการประชดประชันคนอื่น
    - ละเว้นการเล่นมุกในสถานการณ์ที่อ่อนไหว
    - ไม่เล่นมุกที่เหยียดเพศตรงข้าม หรือ เพศที่ 3

รู้ เคล็ดลับ การพูดเพื่อสร้างมิตรภาพ ในที่ทำงาน ง่าย ๆ แบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมเอาไปใช้ในชีวิตการทำงานกันนะ เพื่อจะได้เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงาน และบรรยากาศที่ดีในที่ทำงานด้วยเช่นกัน ทำเพื่อประชดในคนรักเก่าที่เพิ่งเลิกรากันไป




Thank to : https://www.gedgoodlife.com/lifestyle/9191-speaking/
คอลัมน์ : ชีวิตประจำวัน ,1 เม.ย. 19
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ