ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะอุปการะจิต ในการทำการภาวนา  (อ่าน 409 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ธรรมะอุปการะจิต ในการทำการภาวนา
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2023, 11:12:50 am »
0
ภารา หะเว ปัญจักขันธา,
ขันธ์ทั้งห้า เป็นของหนักเน้อ,
( ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระ )
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล,
บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป,
( บุคคล เป็นผู้แบกภาระ )
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก,
การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก,
( การให้ภาระ เป็นความทุกข์ในโลก )
ภาระนิกเขปะนัง สุขัง,
การสลัดของหนัก ทิ้งลงเสีย เป็นความสุข,
( การระงับจากภาระ เสียได้ เป็นความสุข )
นิกขิปิตวา คะรุง ภารัง,
พระอริยเจ้า สลัดทิ้งของหนัก ลงเสียแล้ว,
( ผู้วางแล้ว ซึ่งภาระ อันหนัก  )
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ,
ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก,
( และไม่อนาทร ซึ่งภาระ อื่น ๆ  )
สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยหะ,
ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้ กระทั่งราก
 ( เป็นผู้ถอน มูล  แห่งตัณหา )
นิจฉาโต ปะรินิพพุโตติ.
เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือ.
( ละความอยากได้ ย่อมถึง ปรินิพพาน )
 แปลตรง ๆ จากอาจารย์ ในวงเล็บ รักษารูปศัพท์ไว้ ไม่ใช้นิพจน์ ให้ซับซ้อน หรือ ขยายความบางนิพจน์ ตัวอย่าง อย่าง เช่น ปรินิพพาน ก็ แปลทับว่า ปรินิพพาน ไม่ได้ใช้คำว่า ดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือ ( ส่วนตัวคิดว่า ตรงนี้แปลไม่ถูกตามความหมายจริง )
วัตถุประสงค์ คือ ต้องการชี้ เรื่องการแปลพระสูตร พระไตรปิฏก นั้น ถ้าแปลทับศัพท์ ความหมายจะไม่เพี้ยน แต่ถ้าไม่แปลทับศัพท์ ก็แปลออกเชิงอรรถ นั้น หมายความว่า เป็น อรรถาธิบายไปในตัว ซึ่งอาจจะวินิจฉัย ความหมายผิดได้ ตามภูมิธรรม ของผู้แปล ส่วนใหญ่ จะแปลผิด ในอรรถาธิบาย ดังนั้น ผู้แปลทีดี ควรรักษาศัพท์ถ้าต้องการอธิบาย ให้ไปเพิ่ม เป็น อรรถกา ความหมายจะได้ไม่ผิด
ยกตัวอย่าง ในที่นี้ เขาแปลคำว่า ภาระ คือความหนักใจ
แต่ความเป็นจริง ทั้งภาษาไทย และ บาลี ความหมาย คำว่า ภาระ นั้น หมายถึง หน้าที่ต้องรับผิดชอบ ( มากกว่าคำว่าหน้าที่ ) คือไม่ทำไม่ได้
อย่างเช่น ชันธ์ 5 เป็นภาระ เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ หิว กระหาย ป่วย ชรา และ ตาย ทั้งหมด มันเลี่ยงไม่ได้ ไม่มี่ทางเลี่ยงได้ เพราะ บุคคล ต้องม่ภาระด้วยตนเอง ปวดอุจจาระ ให้อีกคนไปถ่าย อุจจาระแทนไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้น ถ้าแปลตามศัพท์ ความหมายไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ส่วนความหมายที่เขาแปลนั้นไปเน้น อรรถาธิบาย ตามภูมิธรรมไปด้วย ซึ่งอาจจะไม่ใช่อย่างนั้น ด้วยคำอธิบาย
ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ