ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนหมดตัว ก็คือคนเสียหมด แต่คนที่ไม่มีอะไรจะเสีย ไม่ใช่คนหมดตัว  (อ่าน 415 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คนหมดตัว ก็คือคนเสียหมด
แต่คนที่ไม่มีอะไรจะเสีย ไม่ใช่คนหมดตัว แต่หมดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่มีแล้วเท่านั้น
ดังนั้นสองสถานะ นี้ ถึงจะพูดว่า เหมือนกัน แต่มันก็ไม่เหมือนกัน โดยสภาวะ
คนหมดตัว ต้องนั่งคร่ำครวญนึกถึงสิ่งที่หมดไป อาจะพิรี้ พิไร คร่ำครวญ มีเวทนาเป็นอย่างมาก ในทางทุกข์ ปริวิตก ตลอดเวลาถ้าคุมสติไว้ไม่ได้ ก็จะถึงความบ้า ความฟั่นเฟือน เพราะความล้มเหลว
แต่คนที่ไม่มีอะไรจะเสีย คือ คนพร้อมที่จะไม่มี เพราะได้เรียนรู้มาตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อยู่แล้ว พัฒนาจากเล็กๆ ไปสู่ ความไม่มี ตามหลักคำสอน
เมื่อเริ่มต้น ก็จะรู้ว่า
สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
สิ่งที่ขอบใจ ก็ไม่ควรยินดี สิ่งที่ไม่ขอบใจ ก็ไม่ควรยินร้าย มีจิตตรงต่อ ความสลัดคืน แม้เล็ก ๆ จนไปสู่ความสลัดคืนอย่างใหญ่
เพราะละจากความชอบใจ และความไม่ชอบใจ ไม่มีที่เกาะที่พักพิงใด ๆ ประเสริฐเลิศไปกว่า การละอัตตา
เพราะละจากรูปในใจ เพราะละจากสิ่งที่เป็นอรูปอารมณ์ในใจ เพราะละจากความถือมั่นถือดีทะนงตน เพราะละจากความฟุ้งซ่านที่มีในกุศลทั้งปวง โดยความเป็นเจ้าของ เพราะละจากความไม่รู้ในอดีตกาล เพราะละจากความไม่รู้ในอนาคตกาล เพราะละจากความไม่รู้ในปัจจุบัน เพราะละจากทุกข์ทั้งปวง เพราะละจากเหตุจากทุกข์ทั้งปวง เพราะละจากความดับแห่งทุกข์ทั้งปวง เพราะละจากวิถีทางแห่งการดับทุกข์ทั้งปวง เพราะละจากความเหตุปัจจัยเกื้อกูล มองเห็นว่าสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี สิ่งนี้ได้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ เพราะเห็นแล้วซึ่งแสงสว่าง ที่แสงไม่อาจเสมอได้ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ดังนั้นเขาจะเสียอะไร ก็เป็นเพียงสักว่า สภาวะที่เสีย มิได้ยังจิตให้ทุกข์ร้อน ไปตามสิ่งที่เสียไป
ผู้ดำเนิน ตาม มรรคสมังคี ก็คือ บุคคลที่ไม่มีอะไรจะเสีย แล้วนั่นเอง
เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ