ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงส์ของศีล  (อ่าน 4165 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

udom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อานิสงส์ของศีล
« เมื่อ: มกราคม 26, 2011, 12:38:10 am »
0
อานิสงส์ของศีล

ใน กิมัตถิยสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ข้อ ๑ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงอานิสงส์ของศีลที่เป็นกุศล คือ กุศลศีล ที่มีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน แก่ท่านพระอานนท์ไว้ ๑๐
ประการ คือ
๑. ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร คือความไม่เดือดร้อนใจเป็นผล เป็นอานิสงส์
๒. ความไม่เดือดร้อนใจมีความปราโมทย์เป็นผล เป็นอานิสงส์
๓. ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล เป็นอานิสงส์
๔. ปีติมีปัสสัทธิ คือความสงบใจเป็นผล เป็นอานิสงส์
๕. ปัสสัทธิ มีสุข คือความสุขใจเป็นผล เป็นอานิสงส์
๖. สุขมีสมาธิเป็นผล เป็นอานิสงส์
๗. สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ คือความเห็นด้วยญาณตามความเป็นจริงเป็นผล เป็นอานิสงส์
๘. ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะ คือความหน่ายความคลายเป็นผล เป็นอานิสงส์
๙. นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ คือความเห็นด้วยญาณเป็นเครื่องหลุดพ้นเป็นผล
เป็นอานิสงส์
๑๐. ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหันต์โดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้

เพราะฉะนั้น โลกียศีลจึงเป็นบันไดให้เข้าถึงโลกุตตรศีล เข้าถึงอธิศีลสิกขา เป็น
อริยศีลได้ในที่สุด

มนุษย์นั้นมีมากมายหลายประเภท สวยมาก สวยน้อย ดีมาก ดีน้อย บางคนทั้งสวยทั้งดี บาง
คนไม่สวยด้วยไม่ดีด้วย บางคนเรียบร้อย บางคนหยาบคาย บางคนอ่อนโยน บางคนดุร้าย บางคนมีศีล
บางคนไม่มีศีล สุดแท้แต่กรรมจะจำแนกให้เป็นไป

ในจำนวนคนมากมายหลายประเภทเหล่านี้ คนมีศีลเป็นคนประเสริฐ ยิ่งมีศีลด้วย
สวยด้วย ยิ่งประเสริฐสุด เหมือนดอกไม้ที่สวยทั้งสีและกลิ่น

ส่วนคนสวยที่ไม่มีศีลนั้น ก็เหมือนดอกไม้ที่สวยแต่สี หามีกลิ่นไม่

คนเราจะมีศีลได้ก็เพราะมีหิริ และโอตตัปปะ คือความละอายและเกรงกลัวบาป ทั้งบาปของ
ตนและคนอื่น โดยอาศัยการมีสติเตือนตนว่า "เราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ ไม่ควรกระ
ทำความชั่ว" ดังนี้เป็นต้น หรือเพราะเกรงคำครหาของผู้อื่นว่า "ผู้นี้เป็นถึงสาวกของพระพุทธเจ้า
ทำไมจึงประพฤติชั่วอย่างนี้" ดังนี้เป็นต้น เมื่อมีสติคิดได้อย่างนี้ จิตใจก็อ่อนโยน ไม่กล้าทำความชั่ว
เมื่อไม่ทำความชั่วก็ไม่เดือดร้อน ศีลจึงมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล เป็นอานิสงส์

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในมหาปรินิพพานสูตรทีฆนิกาย มหาวรรค ว่า
ผู้มีศีลย่อมได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือ
๑. ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ ( ดังที่พระท่านแสดง
อานิสงส์ของศีลในเวลาให้ศีลว่า สีเลน โภคสมปทา )
๒. เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปไกล
๓. ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆ ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน
๔. ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทำกาละ ( คือไม่หลงในเวลาตาย )
๕. ผู้มีศีล ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ( สีเลน สุคตึ ยนฺติ )

นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังทรงแสดงไว้ด้วยว่า ผู้ที่หวังได้รับความรักใคร่ สรรเสริญจากบัณฑิต
ทั้งหลาย ควรทำศีลให้บริบูรณ์

ศีลเป็นที่พึ่งของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระศาสนา
ศีลเป็นเสมือนน้ำที่ล้างมลทิน คือความชั่วของสัตว์ทั้งหลาย อันน้ำในแม่น้ำทั้งหลายไม่อาจล้างได้
ศีล ยังผู้รักษาให้สงบเย็น ไม่ร้อนรุ่มด้วยกิเลส
กลิ่นใดที่ฟุ้งไปได้ทั้งทวนลม และตามลม กลิ่นนั้นเสมอด้วยกลิ่นศีลไม่มี
บันไดที่จะขึ้นสู่สวรรค์ และบรรลุนิพพาน ( สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ) ที่จะเสมอด้วยบันได
คือศีลหามีไม่

บุคคลแม้จะงดงามด้วยเครื่องประดับอันมีค่า ก็ยังไม่งามเท่าบุคคลที่มีศีลประดับกาย วาจา ใจ

ผู้มีศีล ย่อมติเตียนตนเองไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงความประพฤติของตน ย่อมเกิดปีติ
ทุกเมื่อ
เพราะศีลมีอานิสงส์มากมายดังกล่าว ศีลจึงเป็นรากฐานแห่งคุณความดีทั้งหลาย และกำจัดความ
ชั่วทั้งปวง
บันทึกการเข้า

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์ของศีล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 10:44:15 am »
0
สาธุ......อนุโมทนามิ........... ;) ;) ;)
ศีลคือข้อห้ามปฎิบัติ...สำหรับปุถุชนคนทั่วไป.....
ศีลคือข้อควรปฎิบัติ...สำหรับผู้ไฝ่ในธรรม.....
ศีลคือข้อปฎิบัติ...สำหรับผู้ปฎิบัติธรรมทุกๆท่าน......
ศีลคือบาทฐาน....สำหรับผู้ต้องการบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นๆไป......
ศีลคือความปกติ....ในผู้สำฤทธิ์ผลในการปฎิบัติธรรมทุกท่าน.......
...........................................................................
สาธุด้วยคนเด๊อจ้า.......... ;) ;) ;)
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จุฬศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 12:30:25 pm »
0
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
ชื่อทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์
เป็นพระสุตตันตปิฎก(เล่ม ๑)


๑. พรหมชาลสูตร
สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ

    พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เดินทางอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา มีปริพพาชก ( นักบวชนอกศาสนา) ชื่อสุปปิยะ พร้อมด้วยศิษย์ชื่อพรหมทัตมาณพ เดินทางมาข้างหลัง. สุปปิยะ ปริพพาชก ติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ศิษย์กล่าวสรรเสริญ .

เมื่อถึงเวลากลางคืนภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันถึงเรื่องศิษย์อาจารย์กล่าว แย้งกันเรื่องสรรเสริญ ติเตียนพระรัตนตรัย พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงตรัสเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ ๒. แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล ๓ ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย ศีลอย่างกลาง ศีลอย่างใหญ่.๓.
   
ศีลอย่างเล็กน้อย ( จูฬศีล)

    ๑. เว้นจากฆ่าสัตว์ , ลักทรัพย์, ประพฤติล่วงพรหมจรรย์.
    ๒. เว้นจากพูดปด, พูดส่อเสียด ( ยุให้แตกกัน) , พูดคำหยาบ ๆ , พูดเพ้อเจ้อ.
    ๓. เว้นจากทำลายพืชและต้นไม้.


    ๔. ฉันมื้อเดียว เว้นจากการฉันอาหารในเวลากลางคืน , เว้นการฉันในเวลาวิกาล, เว้นจากฟ้อนรำขับร้อง ประโคม และดูการเล่น, เว้นจากทัดทรง ประดับประดาร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิวต่าง ๆ , เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่มีภายในใส่นุ่นหรือสำลี, เว้นจากการรับทองและเงิน.

    ๕. เว้นจากการรับข้าวเปลือกดิบ, เนื้อดิบ, เว้นจากการรับหญิง หรือหญิงรุ่นสาว, เว้นจากการรับทาสี ทาสา, เว้นจากการรับแพะ, แกะ, ไก่, สุกร, ช้าง, โค, ม้า, ลา, เว้นจากการรับนา, สวน.
    ๖. เว้นจากการชักสื่อ, การค้าขาย, การโกงด้วยตาชั่ง ด้วยเงินเหรียญ ( สำริด) และด้วยการนับ ( ชั่ง, ตวง, วัด,) . เว้นจากการใช้วิธีโกงด้วยให้สินบน หลอกลวงและปลอมแปลง, เว้นจากการตัด ( มือ , เท้า ) การฆ่า การมัด การซุ่มชิงทรัพย์ ( ในทาง ) การปล้น การจู่โจมทำร้าย.

   
ศีลอย่างกลาง ( มัชฌิมศีล )

    ๑. เว้นจากการทำลายพืช     ๒. เว้นจากการสะสมอาหารและผ้า เป็นต้น
    ๓. เว้นจากการเล่นหลากชนิด เช่น ฟ้อนรำ เป็นต้น
    ๔. เว้นจากการพนันต่างชนิด     ๕. เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
    ๖. เว้นจากการประดับประดาตกแต่งร่างกาย
    ๗. เว้นจากการติรัจฉานกถา ( พูดเรื่องไร้ประโยชน์หรือที่ขัดกับสมณเพศ)
    ๘. เว้นจากการพูดแข่งดีหรือข่มขู่กัน     ๙. เว้นจากการชักสื่อ
    ๑๐. เว้นจากการพูกปด, การพูดประจบ , การพูดอ้อมค้อม ( เพื่อหวังลาภ), การพูดกด, การพูดเอาลาภแลกลาภ ( หวังของมากด้วยของน้อย). ( ในแต่ละข้อนี้มีการแจกรายละเอียดออกไปมาก).

   
ศีลอย่างใหญ่ ( มหาศีล)

    ๑. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายนิมิต , ทายฝัน, ทายหนูกัดผ้า เป็นต้น.
    ๒. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ดูลักษณะแก้วมณี , ลักษณะไม้ถือ, ลักษณะผ้า , ลักษณะศัสตรา เป็นต้น.
    ๓. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายทักเกี่ยวกับพระราชา ด้วยพิจารณาดาวฤกษ์
    ๔. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายจันทรุปราคา สุริยปราคา เป็นต้น.
    ๕. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น ทายฝนชุก ฝนแล้ง เป็นต้น.
    ๖. เว้นจากดำรงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา เช่น การบน , การแก้บน , การประกอบยา เป็นต้น.


    ( ในที่นี้มีคำว่า ติรัจฉานวิชา อย่างพิสดาร ฝรั่งใช้คำว่า low arts เมื่อพิสจารณาตามศัพท์ “ ติรัจฉาน” ซึ่งแปลว่า “ ไปขวาง” ก็หมายความว่า วิชาเหล่านี้ขวาง หรือไม่เข้ากับความเป็นสมณะ มิได้หมายความว่าเป็นวิชาของสัตว์ดิรัจฉาน เพราะฉะนั้น ถ้อยคำที่พระไม่ควรพูด

 จึงจัดเป็นติรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขวาง หรือขัดกับสมณสารูป. วิชาที่พระไม่ควรเกี่ยวจึงจัดเป็นติรัจฉานวิชา คือวิชาที่ขวาง หรือขัดกับความเป็นพระ . ส่วนสัตว์ดิรัจฉานที่มีชื่ออย่างนั้น เพราะเพ่งกิริยาที่ไม่ตั้งตัวตรง เดินไปอย่างคน แต่เอาตัวลง เอาศีรษะไปก่อน เมื่อไม่ได้ไปตรง ก็ชื่อว่าไปขวาง).


ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)


หามาเสริมให้ดูอลังการ์ยิ่งขึ้น
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ