ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อ “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า” และ “พระอานนท์ไม่เห็นด้วยกับพระเถระ"  (อ่าน 8021 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เมื่อ “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า” และ “พระอานนท์ไม่เห็นด้วยกับพระเถระทั้งหลาย”

พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏฯ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ปุพพโกฏฐกสูตร
พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า


             [๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น
แล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า
             [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น
ที่สุด.

             [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่
ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
 
   ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น

   ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
 
   ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย

   ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
 
  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้วพิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา
 
  ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

             [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ
ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น
ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่ง
ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น

  ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา

  ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรียอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

จบ สูตรที่ ๔

ที่มา
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๕๗๖๗ - ๕๗๙๖.  หน้าที่  ๒๔๐ - ๒๔๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5767&Z=5796&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=983

--------------------------------------------------------- 


พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม (มหามกุฏฯ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒
ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์


             [๖๒๒] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่าน
อานนท์ ข้อที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบท
เหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย นี่เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
ทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เพราะระลึกไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงมิได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบท
เล็กน้อย
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ไม่ได้ทูลถามนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อ
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น


             พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านเหยียบผ้าวัสสิก-
*สาฎกของพระผู้มีพระภาคเย็บ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
ทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าเหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของ
พระผู้มีพระภาคเย็บโดยมิได้เคารพก็หามิได้
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่เหยียบนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น


             พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านให้มาตุคามถวาย
บังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเปื้อนน้ำตา
ของพวกนางผู้ร้องไห้อยู่ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ
ทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคิดว่ามาตุคามเหล่านี้อย่าได้
อยู่จนเวลาพลบค่ำ จึงให้พวกมาตุคามถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ให้มาตุคามถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัตินั้น

             พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่เมื่อพระผู้มีพระภาค
ทรงทำนิมิตอันหยาบ กระทำโอภาสอันหยาบอยู่ ท่านไม่ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาค
ว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่
ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์
สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้ทูล
อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระ-
*สุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น


             พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านได้ทำการขวนขวาย
ให้มาตุคามบวชในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว แม้นี้ก็เป็น
อาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทำการขวนขวายให้มาตุ-
*คามบวชในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วด้วยคิดว่าพระนางมหาปชา-
*บดีโคตมีนี้ เป็นพระเจ้าแม่น้ำของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ประคับประคอง เลี้ยงดู
ทรงประทานขีรธาราแก่พระผู้มีพระภาคเมื่อพระพุทธมารดาทิวงคต ได้ยังพระ-
*ผู้มีพระภาคให้เสวยถัญญธารา
   ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น ฯ


ที่มา
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๗๔๙๒ - ๗๕๓๕.  หน้าที่  ๓๑๐ - ๓๑๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=7492&Z=7535&pagebreak=0

อธิบายศัพท์
ผ้าวัสสิกสาฎก คือ ผ้าอาบน้ำฝน
มาตุคาม คือ ผู้หญิง
ขีรธารา และถัญญธารา หมายถึง หยาดน้ำนม

ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)
         พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ผมนำพระสูตรที่กล่าวว่า “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า”
และนำพระวินัยที่กล่าวถึงการ “ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์”
มาให้ทุกท่านได้พิจารณาแบบเต็มๆเวอร์ชั่น ไม่มีการตัดต่อ ดัดแปลง
แก้ไข หรือเรียบเรียงใหม่แต่ประการใด

จุดประสงค์ก็เพื่อให้เปรียบเทียบ ศรัทธาของพระสารีบุตรที่มีต่อพระพุทธเจ้า
กับศรัทธาของพระอานนท์ที่มีต่อพระเถระทั้งหลาย

ถึงตรงนี้ขออนุญาตอธิบายศัพท์สักเล็กน้อย

ศรัทธา ความเชื่อ, ความเชื่อถือ; ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ดู สัทธา
สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตาม เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา

ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)


กรณีของพระสารีบุตร

พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระพุทธเจ้ายกย่องว่าเป็น “ผู้เลิศด้วยปัญญา”
พระสารีบุตรอยู่ทิศไหนเหมือนมีพระพุทธเจ้าอยู่ทิศนั้น
อีกทั้ง พระสารีบุตรยังเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของพระราหุลอีกด้วย

พระสูตรที่ผมนำมาให้อ่าน เพื่อนๆสมาชิกอ่านแล้วมีความเห็นอย่างไรครับ
เหตุใดพระสารีบุตร จึงไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ส่วนตัวผมเห็นว่า
พระสารีบุตรมีจริตที่ไม่เชื่อใครง่ายๆชอบพิสูจน์ค้นคว้า ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีปัญญามาก
ไม่ใช่ว่าพระสารีบุตรจะไม่เคารพพระพุทธเจ้า  ท่านเคารพแน่นอน
ท่านเคารพในคำสั่งสอน แต่การที่จะเชื่อนั้น ท่านต้องพิสูจน์ โดยการปฏิบัติให้เห็นแจ้งเสียก่อน
หลักการอันนี้ตรงกับหลักของกาลามสูตรพอดี ข้อที่ว่า


     มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา)
     ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

ถึงตรงผมขอสรุปเลยว่า ศรัทธาของพระสารีบุตรที่มีต่อพระพุทธเจ้านั้น
เป็นไปโดยการใช้เหตุผลไตร่ตรอง



กรณีของพระอานนท์

พระอานนท์ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นพหูสูตร(รู้ดีทุกเรื่อง)
เป็นกำลังสำคัญในการทำปฐมสังคายนาพระไตรปิฎก ถ้าไม่มีพระอานนท์
เราอาจต้องอ่านพระไตรปิฎกของมหายาน

ในคราวปฐมสังคายนา พระเถระทั้งหลาย ได้ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์
จำนวน ๕ ข้อด้วยกัน (ตามรายละเอียดในพระวินัยที่ได้เสนอมาข้างต้น)
แต่พระอานนท์ไม่เห็นด้วยเลยสักข้อ ที่ยอมแสดงอาบัติ เพราะศรัทธาในพระเถระทั้งหลาย

เพื่อนๆสมาชิกสังเกตไหมว่า เหตุผลที่พระอานนท์ใช้โต้แย้งเป็นเรื่องที่ฟังขึ้น
เนื่องจากในช่วงเวลาที่เกิดต่างๆทั้งห้าข้อนั้น พระอานนท์เป็นเพียงโสดาบันธรรมดาๆ
ที่ไม่มีอิทธิฤทธิ์ใดๆ บางข้อก็เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการี(นางปชาบดีฯ)
บางข้อก็เป็นเรื่องที่คนทั่วไปสมควรทำอย่างยิ่ง


ถึงแม้พระอานนท์จะไม่เห็นด้วย และได้แสดงออกมาด้วยวาจาแล้วก็ตาม
แต่เพราะศรัทธา(เชื่อ)ในพระเถระทั้งหลาย ทำให้พระอานนท์ยอมทำตาม

ผมเห็นว่าศรัทธาของพระอานนท์ที่มีต่อพระเถระทั้งหลาย สามารถลดความขัดแย้งได้
อีกนัยหนึ่งก้คือ พระอานนท์ อาจจะให้ความเคารพต่อเสียงส่วนใหญ่ก็ได้
เนื่องจากพระอานนท์เป็นเสียงข้างน้อย


แล้วเพื่อนๆมีความเห็นอย่างไรครับ

เพื่อนร่วมทุกข์ทุกท่านครับ เราควรแยกคำว่า “เคารพ” กับ “ศรัทธา” ออกจากกัน
และหาวิธีเคารพและศรัทธาโดยแยบคาย


ขอให้ธรรมคุ้มครอง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าใจเข้าถึง สัจจะธรรม แล้วก็ข้ามพ้น สมมุติบัญญัติ

มองเห็น แท้ที่จริงก็มีแต่เพียงสมมุติ เท่านั้น

ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น

ปรมัตถ์ แท้พูดไม่ได้

 :104: :104:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 :25:

พระเถระทั้ง ๒ รูปนี้ คือ
 :043:พระสารีบุตรเถระ ๑
 :043:พระอานนท์เถระ ๑
ท่านทั้ง ๒ รูป ต่างเป็นแบบอย่างที่อนุชนรุ่นหลังควรศึกษาน้อมนำเอาปฏิปทามาเป็นเยื่องอย่างในการใช้ชีวิตอย่างมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2010, 05:40:34 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

   เรื่องแต่ครั้ง พุทธกาล
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ความเห็นที่แสดง นั้น แสดงความเห็น ตอนเป็น พระโสดาบัน ดังนั้นไม่มีที่สุดในคำตอบ แต่ทั้งสอง ก็ยังคงความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ยินยอมเป็นสาวก นั้นแสดงถึงความเป็นผู้มีศรัทธา ในตนอยู่แล้ว

    พระสารีบุตร ไม่สามารถชักชวน สัญชัยปริพาชก มาได้ เพราะกำลังแห่งจิตที่ชวนตอนนั้นเป็นแค่พระโสดาบัน ความเห็นที่แสดง จึงไม่พิศดาร พอจะข่มวาทะ ของสัญชัย ได้ แต่เพราะตอนนั้นด้วยความปรารถนา พบพระพุทธเจ้าเป็นกำลังจึงไม่ได้ใช้ความพยายามใด ๆ เพื่อชักชวน
    พระสารีบุตร เหตุเพราะมีปัญญามาก จึงมีความเชื่อยาก ในเรื่องต่าง ๆ จะเชื่อ ก็ต่อเมื่อได้รับพิสูจน์ และ พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ในคำถามนั้นเกี่ยวข้อง ด้วย กาลามสูตร อันผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสแสดงแก่ชว กาลามชน คำถามที่แสดง เพื่อแสดงใจความ ในเรื่อง อย่าเชื่อ แม้ เป็นครู  แต่จงเชื่อ เพราะใจเห็นแล้ว ท่านจึงเชื่อ
   
    หลัก กาลามสูตร นี้ เพียงต้องการสอนให้รู้ว่า ความเชื่อ ความเลื่อมใส ไม่ได้เกิดจากสิ่งภายนอกเป็นเหตุ แต่การ ใจของบุคคลผู้เชื่อ ผู้เลื่อมใสเป็นเหตุ เช่นครูบางคนประพฤติไม่ดี ศิษย์ก็เชื่อและปฏิบััติตาม มีมากมายในครั้งพุทธกาล เพราะมีลัทธิ ต่าง ๆ ตามความเชื่อ ของแต่ละท่าน แต่ละคน


    ส่วนพระอานนท์ นั้นคำพูดของท่าน ไม่นับว่าใช้ได้ ความเห็นของท่านขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าบ่อยครั้ง ท่านมักใจอ่อน คนทั้งหลายจึงพยายามเข้าหาพระอานนท์ ถ้าจะขอร้องต่อพระพุทธเจ้า ให้ช่วย เช่นนางปชาบดี อยากบวช ก็ไปหาพระอานนท์ ให้ช่วยในการรับรองการบวช แม้แต่คนอื่นก็เช่นกัน เหตุที่อุปัฏฐาก ไม่สำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่ เพราะว่าเป็นคงแก่สุตตะเท่านั้น แต่เพราะว่า กรรมที่สร้างในขณะนั้น เป็นเครื่องสกัดกั้นด้วย แต่ทั้งหมด ก็เป็นพุทธประสงค์ เหตุเพราะว่า ถ้าเป็นพระอรหันต์ ความปล่อยวางจะมีมากกว่า พระอริยะชั้นอื่น ๆ ดังนั้น พุทธประสงค์จึงเป็นเช่นนั้น

    อีกอย่างแม้พระอานนท์ เป็นพระโสดาบัน แต่ความเลื่อมใส ความภักดีที่มีต่อพระพุทธเจ้าไม่ใช่แค่พี่น้อง หรือ เพื่อนธรรมดา แต่เป็นถึงผู้เสียสละชีวิตตนเอง เพื่อพระเชษฐา ได้ดังนั้นเมื่อคราวช้างนาฬาคิริง ได้วิ่งเข้ามาหา พระอานนท์ได้ออกไปยืนขวางข้างหน้าพระพุทธองค์ เพื่อสละชีวิตก่อน ดังนั้นข้อนี้ไม่ธรรมดา

    แต่ถึงอย่างไร ความคิดเห็นของพระโสดาบันยังคลาดเคลื่อนจากธรรมบ้างเล็กน้อย นั่นเอง

   
    เจริญธรรม / เจริญพร

   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

           ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจาย์ ให้เหตุผล งดงามมากคะ

  st12 st12 st12
บันทึกการเข้า