ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บำเพ็ญ "ทศบารมี" จากการสวดมนต์  (อ่าน 431 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บำเพ็ญ "ทศบารมี" จากการสวดมนต์
« เมื่อ: มิถุนายน 15, 2019, 06:43:17 am »
0




บำเพ็ญ "ทศบารมี" จากการสวดมนต์


เชื่อว่าเราทุกคนเคย สวดมนต์ สวดกันมาตั้งแต่เด็ก จำความได้ว่าตอนอยู่อนุบาลก็ สวดมนต์ ในขณะเข้าแถวเคารพธงชาติแล้ว พอจำกันได้ไหมว่าเคย สวดมนต์ บทไหนกันบ้าง นะโม ตัสสะฯ อิติปิโส พาหุงมหากาฯ ชินบัญชร เจ็ดตำนาน เชื่อว่าชื่อของมนต์เหล่านี้คงคุ้นหูกันเป็นอย่างดี

มนต์โดยทั่วไปหมายถึง คำศักดิ์สิทธิ์ที่เปล่งออกมาให้เกิดอานุภาพของมนต์นั้น ฟังแล้วอาจดูงงไปนิด แต่สำหรับพระพุทธศาสนา มนต์หมายถึงถ้อยคำที่มาจากพุทธพจน์และการสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย คนสวดมนต์น้อยคนที่จะสวดเพื่อทบทวนคำสอนของพระพุทธเจ้า คนสวดเพื่อหวังอานุภาพของมนต์เพื่อให้เป็นไปตามที่ปรารถนา เช่น สวดอิติปิโสเกินอายุ เพื่อให้อายุยืนขึ้น หรือ สวดพาหุงมหากาฯ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ

สิ่งนี้คืออานิสงส์ที่เป็นของแถมจากการสวดมนต์ แต่จะมีใครที่จะทราบว่า การสวดมนต์ นอกจากได้อานิสงส์ให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนาแล้ว พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญแห่งวัดอัมพวันยังกล่าวว่าการสวดมนต์เป็นการบำเพ็ญทศบารมี สวดครั้งหนึ่งก็ได้ครบบารมี 10 เลยทีเดียว ทศบารมี หมายถึง บารมี 10 ประการ เป็นบารมีบำเพ็ญเพียงเป็นพระพุทธเจ้า หลวงพ่อจรัญอธิบายการบำเพ็ญทศบารมีจากการสวดมนต์ไว้ว่า

    @@@@@@

    1. ทานบารมี คือการให้ การสวดมนต์ให้ความสุขแก่คนสวด ให้ความปลอดภัย ไม่คิดอาฆาตพยาบาทผู้อื่น จัดเป็นอภัยทาน
    2. สีลทาน คือศีล ในขณะสวดมนต์ร่างกายและคำพูดของผู้สวดอยู่ในอาการสงบ ไม่ได้เบียดเบียนใครด้วยกาย วาจา และใจ จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญสีลบารมี
    3. เนกขัมมบารมี คือการออกบวช แต่โดยความหมายแท้จริงหมายถึงการละเว้นจากการทำบาปอกศุลทั้งปวง การสวดมนต์เป็นอุบายเว้นจากการทำบาปอย่างหนึ่ง
    4. ปัญญาบารมี บทสวดมนต์แต่ละบทล้วนแฝงด้วยความรู้ เมื่อผู้สวดตั้งใจสวดและมีสติคิดตามไป ย่อมเกิดความรู้ ความเข้าใจในบทสวดนั้น
    5. วิริยบารมี คือ ความเพียรพยายาม การสวดมนต์นั้นผู้สวดต้องมีความตั้งใจจริงจึงจะสามารถทำได้ คนส่วนมากสวดมนต์ไม่ได้เพราะขี้เกียจ ดังนั้น ผู้ที่สวดมนต์จึงถือว่าได้บำเพ็ญความเพียร
    6. ขันติบารมี คือความอดทนอดกลั้นต่อความลำบากทางกาย เช่น ความปวดเมื่อย เหน็บชา ตลอดถึงความอดทนต่อกิเลสที่คอยยั่วยุให้เลิก
    7. สัจจบารมี คือความจริงใจต่อตนเอง ผู้มีความตั้งใจจะสวดมนต์ให้จบ แล้วก็สวดจบตามที่ตั้งใจไว้ ถือว่ามีสัจจะต่อตนเอง คือไม่ยอมให้ความขี้เกียจหรืออุปสรรคอันใดเข้ามาขัดขวางได้
    8. อธิษฐานบารมี คือความตั้งใจมั่น มีความหนักแน่นที่จะทำความดีนั้นให้สำเร็จ โดยไม่ล้มเลิกกลางคันไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
    9. เมตตาบารมี ขณะที่สวดมนต์จิตของผู้สวดย่อมสงบเย็น มีเมตตาปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่น
  10. อุเบกขาบารมี คือความปล่อยวางหรือวางเฉย ผู้ที่กำลังสวดมนต์ต้องปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ ทั้งดีและไม่ดีที่เกิดขึ้นระหว่างสวดมนต์ ไม่หงุดหงิดกับอารมณ์ที่ไม่ชอบ และไม่ดีใจต่ออารมณ์ที่ชอบ


@@@@@@

ถือว่าเป็นประโยชน์มาก การบำเพ็ญทศบารมีในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นหนทางสู่การเป็นพระพุทธเจ้า เพราะความหมายของบารมีคือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุด ดังนั้นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงกระทำความดีอย่างยิ่งยวดทั้ง 10 ประการ เพื่อไปถึงพระโพธิญาณ

พระเวสสันดรเป็นพระชาติที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทศบารมีครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด จึงเป็นผลานิสงส์ให้พระชาติต่อมาคือ เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าชี้นำเวไนยสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน



ที่มา : ธรรมะรักษาโรค แต่งโดย พระราชนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศิษฐ์
พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ แต่งโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ความรู้เรื่องของบทสวดมนต์ แต่งโดย สุชีพ ปุญญานุภาพ
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/94081.html
By nintara1991 ,1 June 2018
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ