ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระภิกษุใช้ พุทธวจนะ เป็นภาษาสันสกฤต ต้องอาบัติทุกกฏ  (อ่าน 2903 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kira-d-note

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 119
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.thaimtb.com


ถ้าท่านทั้งหลายจะได้มีโอกาสพิจารณาข้อความจาก พระวินัยปิฎกเล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ข้อ ๑๘๐ ซึ่งปรากฏข้อความดังนี้ว่า ....

“สมัย นั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะเป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
พระผู้มี พระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
ครั้นแล้วทรง ทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ”

ที นี้ เมื่อพิจารณาข้อความจากพระไตรปิฎกแปลไทย ก็จะได้ความว่า พระพุทธองค์ตรัสห้ามมิให้ภิกษุทั้งหลายยกพุทธพจน์ขึ้นโดยภาษาสันสกฤต !!!!

----------------------------------------------------------------------
เรื่อง ของเรื่องก็คือ จริงๆแล้วพระพุทธองค์ตรัสออกมาตรงๆ ด้วยคำว่า “ฉันท์” ซึ่งลักษณะของฉันท์ก็คือ ข้อความที่ถูกแต่งขึ้นมาเป็นกาพย์กลอน เป็นโศลก เหมือน คัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ แปลความได้ว่า พระบัญญัติที่ตรัสห้ามมิให้ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ฉันท์นั้น มีองค์ประกอบอยู่ ๒ ประการ คือ ….

(๑) ห้ามแต่งพระธรรมวินัยเป็นบทกวี เนื่องจาก ฉันทลักษณ์ ที่บังคับลักษณะทางคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ อาจส่งผลทำให้ พุทธพจน์ ถูกบิดเบือนความหมายไปได้ และยิ่งถ้าผู้แต่ง(บทกวี)ไม่แตกฉานในภาษาเพียงพอ ก็จะเป็นการทำร้ายพุทธพจน์(ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์)
(๒) ห้ามจดบันทึกพระธรรมวินัยด้วยภาษาสันสกฤต เนื่องจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาของชนชั้นสูงในสมัยนั้น ซึ่งจำกัดอยู่แต่ในกลุ่มอภิสิทธิ์ชน ดังนั้นถ้าปล่อยให้ทำได้ นานวันไป พระธรรมคำสอนของพระองค์ก็จะถูกสงวนไว้สำหรับชนชั้นสูง(กลุ่มน้อย) ซึ่งขัดกับพุทธประสงค์ที่จะตรัสสั่งสอนชาวบ้านรากหญ้าด้อยสิทธิ์ไร้การศึกษา เป็นสำคัญ

ดังนั้น ถ้าจะแปลพระบาลีข้อนี้ให้ตรงต่อความหมายจริงๆแล้ว ควรกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดย “คำฉันท์” รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ โดยที่พระบัญญัตินี้ จะมีความเข้มงวดมากจำเพาะการแต่งตำราที่ใช้สำหรับศึกษาเล่าเรียน(พระธรรม วินัย)เท่านั้น แต่หากเป็นการแต่งหนังสือในเชิง “สดุดี” เพื่อส่งเสริมศรัทธาปสาทะของศาสนิกชน (ไม่ใช่ตำราสำหรับการศึกษาพุทธพจน์) ก็มักได้รับการผ่อนปรน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยหลัง(มากแล้ว) แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ มีชาวพุทธบางหมู่เหล่า ไม่เข้าใจความข้อนี้ แต่ได้พยายามที่จะนำเอา “ข้อความ” จากคัมภีร์ที่เป็นบทกวีประกอบด้วยฉันทลักษณ์ ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อเจริญศรัทธาปสาทะในหมู่พุทธศาสนิกชน มาอ้างอิงเพื่อคัดค้านหลักฐานซึ่งอยู่ในชั้นพุทธพจน์ ได้อย่างหน้าตาเฉย !!!!

จำเพาะ “คัมภีร์อปทาน” นั้นก็ชัดเจนอย่างมิต้องสงสัยเลยว่า เป็นของใหม่ มิใช่เป็นมุขปาฐะที่สืบต่อมาจากปฐมสังคายนา เพราะ อปทาน เป็นคัมภีร์ที่แต่งด้วย “คำฉันท์” ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยว่า พระอรหันตเถระ เมื่อสมัยปฐมสังคายนา จะล่วงละเมิดพระบัญญัติของพระพุทธองค์
ดังนั้น การยกข้อความจาก คัมภีร์อปทาน มาคัดค้านข้อความซึ่งเป็นพุทธพจน์แท้ๆจากพระสูตร จึงย่อมเป็นการกระทำที่โง่เขลาเบาปัญญาโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ ดูเหมือนว่า บรรดาชาวพุทธขี้เท่อเหล่านั้น จะยังไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่า ตนเองกำลังทำความผิดอย่างมหันต์ โดยที่ยังหลงนึกฝันไปว่า ตนกำลังปกป้องพระธรรมวินัย(อะไรๆ) ตามความเชื่อของเขาอยู่อย่างสุดกำลัง และสมควรแก่การสรรเสริญ (!)

แหล่งที่มา
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=janson&date=24-05-2011&group=8&gblog=1

ลองไปดูว่าจริงหรือไม่
บันทึกการเข้า
แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณภาพจาก www.dhammathai.org

ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอน เปรียบด้วยกลองศึก

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่. เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สาคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด มีนักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสรวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่,เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.


อ้างอิง
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓,
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๑๐๗


ทรงกำชับให้ ศึกษา ปฏิบัติ เฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสาคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ‚ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ‛ ดังนี้.


ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้

อ้างอิง
ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น.๓๕๒


ทรงห้ามบัญญัติ เพิ่มหรือตัดทอน สิ่งที่บัญญัติไว้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

อ้างอิง
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕


  หามาช่วย เพื่อเสริมความเข้าใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ผมแนบไฟล์หนังสือ "พระสูตรให้สนใจคำพระพุทธเจ้า" มาให้อ่าน เชิญดาวน์โหลดครับ
 :welcome: ;) :49: :s_good: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2011, 10:29:32 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ