ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีความจำเป็นที่เราต้องพิสูจน์โลกนี้โลกหน้า หรือไม่ครับ ในการภาวนา  (อ่าน 5987 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือเพื่อความชัดเจนในการภาวนา เพื่อความมั่นใจในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มีจริง จำเเป็นหรือไม่ว่าเราควรจะต้องพิสูจน์ความเชื่อ เรื่องโลกนี่้ โลกหน้า ให้เข้าใจก่อนเพื่อสนับสนุการภาวนา หรือว่าเราจะภาวนาโดยไม่ต้องไปสนเรื่องพวกนี้ กันครับ

 ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความเห็น ครับ
  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือเพื่อความชัดเจนในการภาวนา เพื่อความมั่นใจในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มีจริง จำเเป็นหรือไม่ว่าเราควรจะต้องพิสูจน์ความเชื่อ เรื่องโลกนี่้ โลกหน้า ให้เข้าใจก่อนเพื่อสนับสนุการภาวนา หรือว่าเราจะภาวนาโดยไม่ต้องไปสนเรื่องพวกนี้ กันครับ


ในแนวทางและความคิดในสิ่งที่ผมปฏิบัติมานะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่คุณ

- คุณยังไม่ต้องไปสนใจในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเป็นสิ่งที่คุณยังไม่รู้เห็น แม้ได้ยินได้ฟังมาคุณก็จะเกิดความคิดติดข้องใจทันทีว่า ตายแล้วเวียนว่ายตามวัฏฏสงสารจริงหรือ ไม่เห็นจะสัมผัสได้เลย นี่ล่ะครับเรียกว่าสิ่งที่มีอาจจะมีอยู่แต่เรามองไม่เห็น เมื่อมองไม่เห็นจิตก็ติดข้อง ขัดข้องสงสัย เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างตามแต่ความคิดปรุงแต่งในแต่ละช่วงๆ
- ทีนี้มามองสิ่งที่เป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ที่คุณรับรู้ได้ง่ายๆ ในกระทู้ก่อนคุณแพนด้าบอกว่ามีแต่สุข พระพุทธเจ้าบอกว่าสุขมีอยู่จริง สภาพใดที่ไม่มีความทุกข์ หรือ ทุกข์น้อยมาก ไม่มีความอัดอั้นคับแค้นไม่สบายกาย-ใจ ไม่มีความโศรกเศร้าเสียใจ ไม่มีความเจ็บปวดทางกาย มีความพอใจยินดีอยู่ในสิ่งนั้นๆอยู่เราจึงบัญญัติสภาพนี้ขึ้นมาว่า สุข สุขที่ผมพอจะรับรู้ได้มีสองแบบคือ
     1. สุขแบบธรรมคือที่หมดแล้วซึ่งความติดในสุข และ ทุกข์ มีความว่างพ้นจากกิเลสตัณหา
     2. สุขทางโลกคือมีความเสพย์พอใจยินดี เสพย์สมดั่งความปารถนาใคร่ได้ติดข้องต้องการในสิ่งนั้นๆ
ทีนี่สุขนี้มีจริงใช่ไหมครับคุณเองก็รับรู้และสัมผัสได้ใช่ไหมครับ
- อย่างที่ผมเคยบอกว่ายิ่งมีสิ่งที่พอใจยินดี สุขกาย สบายใจ ด้วยความติดข้องใจมากเท่าไหร่ เราก็จะพานพบกับสิ่งที่ เกลียด กลัว อัดอั้น อึดอัด คับแค้นกาย-ใจ โศรกเศร้า เีสียใจ ไม่สบายกาย-ใจ ไม่พอใจยินดีมากเท่านั้น นี่เรียกว่า ทุกข์ นั่นเอง การภาวนาจะช่วยทำให้คุณเห็นจริงในเรื่องนี้เองครับ
- นี่เห็นไหมสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราที่เราพบเจออยู่ทุกวันนี้ก็คือข้อที่เป็นเหตุแห่งการภาวนาแล้วครับ แค่คุณรู้ว่า สุขกาย-ใจมีจริง ทุกข์กาย-ใจมีจริง ความอัดอั้นมีจริง ความคับแค้นใจมีจริง ความไม่สบายกาย-ใจมีจริง ความขุ่นมัวใจมีจริง ความปิติสุขมีจริง ควาสงบมีจริง ความว่างมีจริง ความทะยานอยากมีจริง ความติดข้องต้องการ-ความโกรธเกลียด-ความกำหนัดใคร่ได้้มีจริง เมื่อไม่ได้ตามที่ตนเองติดข้องพอใจต้องการเราก็เป็นทุกข์ มีความขุ่นมัวใจ ขัดเคืองใจ อัดอั้น คับแค้นกาย-ใจ ด้วยกรที่จะให้เรานั้นได้หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เราจึงต้องภาวนาปิบัติรู้ในทั้ง สมถและวิปัสนา เพื่อเห็นปรมัตถธรรมนั่นคือสภาพจริงที่เป็นอยู่ของมัน ซึ่งมันไม่นาพิศมัยใคร่ได้เลย ติดข้องใจ พอใจต้องการไปก็มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น แม้ที่เราเรียกว่าสุขอยู่แต่เมื่อความสุขนั้นดับลงไปจิตใจเราก็จะมีแต่ ว่างกับทุกข์ เท่านั้น ทุกข์นี้จึงมีอยู่จริงและคุณก็สามารถสัมผัสรับรู้ได้ด้วยตัวคุณเอง
- กำหนดรู้ดูสภาพความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตนเอง ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นอยู่ที่รับรู้ได้ แล้วจับเอาสิ่งนั้นมาเป็นองค์ภาวนา ภาวนาเพื่อเห็นทุกข์ ภาวนาเพื่อพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้น
- เมื่อคุณเห็นทุกข์ คุณจะเกิดความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในสภาพแรกอาจจะยังเกิดขึ้นด้วยโทสะอยู่ แต่มันจะทำให้ทัศนคติของคุณเปลี่ยนไป มองเห็นสัจธรรมมากขึ้น และจิตจะน้อมเข้าสู่วิปัสนาได้ง่าย
- หากคุณขุ่นเคือง ข้องใจในองค์ภาวนา หรือ จดจ่อจดจ้องว่าต้องไปรู้นั่นรู้นี่ที่มันมองไม่เห็นและสัมผัสไม่ได้ เพื่อนำมาเป็นองค์ภาวนา ชาตินี้คุณจะมีแต่ความขุ่นข้องใจไม่เห็นธรรมไม่เห็นจริงแน่นอน เพราะสิ่งที่คุณพยายามจะจับเอาสิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้มาตั้งเป็นตัวตนอุปาทานขึ้น
- เหมือนไปคว้าจับอากาศแล้วบอกว่าอากาศนี้มีรูปร่างจับต้องได้ ซึ่งอากาศนั้นเป็นธาตุที่มีอยู่จริงแต่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จับต้องไม่ได้ แต่หากเข้าถึงธรรมเห็นสภาพปรมัตถธรรมแล้วคุณจะรับรู้ถึงการสัมผัสได้ของอากาศธาตุ เห็นไหมครับ..คุณมองไม่เห็นว่ามีการเวียนว่ายตายเกิดจึงไม่สามารถที่จะไปยึดจับเอามันมาได้ ซึ่งสภาพนั้นมีจริงไหมผมเองก็ไม่รู้ แต่เมื่อสมถวิปัสนาไปจนถึงจุดๆหนึ่งเราก็จะสัมผัสได้รับรู้ได้จริงในสิ่งนั้นเอง ไม่ใช่คุณเจน ญาณทิพย์ที่สัมผัสวิญญาณได้นะครับ แต่สิ่งที่เราคนปฏิบัตินั้นจะสัมผัสได้ก็คือ สภาพที่เป็นปรมัตถธรรม
- ตั้งเอาสิ่งที่เรารู้เห็นสัมผัสได้เป็นองค์กัมมัฏฐาน เพื่อให้เราเห็นและไปได้เร็ว จนเห็นในทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ เห็นทางพ้นทุกข์ แล้วเข้าถึงความพ้นทุกข์ เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน

ผมมีความรู้เห็นเพียงเศษผงหากไม่สามารถก่อเกิดประโยชน์แม้น้อยนิดแก่คุณได้ก็ขออภัยและอโหสิกรรมแก่ผมด้วยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2012, 08:33:44 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณ คุณ Admax มากครับ ที่มาตอบเป็นเพื่อนสนทนาธรรมกันก่อนเบื้องต้น

   จากคำถาม ของผม
   1.คือเพื่อความชัดเจนในการภาวนา

   2เพื่อความมั่นใจในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มีจริง

   3.จำำเเป็นหรือไม่ว่าเราควรจะต้องพิสูจน์ความเชื่อ เรื่องโลกนี่้ โลกหน้า ให้เข้าใจก่อนเพื่อสนับสนุนการภาวนา หรือว่าเราจะภาวนาโดยไม่ต้องไปสนเรื่องพวกนี้ กันครับ

    จากการอ่านอ่านคำตอบที่คุณ Admax ให้ไว้ในเบื้องต้น ก็คือ

   คุณAdmax ตอบ คุณยังไม่ต้องไปสนใจในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเป็นสิ่งที่คุณยังไม่รู้เห็น แม้ได้ยินได้ฟังมาคุณก็จะเกิดความคิดติดข้องใจทันทีว่า ตายแล้วเวียนว่ายตามวัฏฏสงสารจริงหรือ ไม่เห็นจะสัมผัสได้เลย นี่ล่ะครับเรียกว่าสิ่งที่มีอาจจะมีอยู่แต่เรามองไม่เห็น เมื่อมองไม่เห็นจิตก็ติดข้อง ขัดข้องสงสัย เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างตามแต่ความคิดปรุงแต่งในแต่ละช่วงๆ


   และคำแนะนำด้วยการใช้ สุข และ ทุกข์เป็นเครื่องนำออกจากตัณหา ซึ่งมีใจความที่ยาว แต่ก็ประทับใจในเหตุผลเมื่อได้อ่านครับ
   
   แต่ประเด็นข้อที่ 1 และข้อที่ 2 นั้นผมยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ ยังต้องการความรู้เิพิ่มครับช่วงนี้เป็นช่วงที่ผมพบายามทำการบ้านอยู่ครับ คือการกำหนดเป้าหมายในการภาวนา ที่ควรจะเป็นนะครับ

    ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันแนะนำครับ
 

   
   
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณที่อ่านกระทู้ผมครับ

ผมขอย้อนถามซักนิดนะครับว่า

1. คุณภาวนาเพื่ออะไร คุณภาวนาอย่างไร สิ่งที่ทำให้คุณชัดเจนแจ้งแก่ใจคืออะไร การที่ทำให้คุณรู้ว่าการเวียนว่ายตายเกิดมีจริงหรือไม่มีจริงนั้นทำให้คุณแจ้งในธรรมหรือ ทำให้คุณบรรลุธรรมไหม ทำให้คุณมีหูทิพย์ มีตาทิพย์ได้ใช่ไหม คุณจึงได้กล่าวว่าการเวียนว่ายตายเกิดทำให้คุณชัดเจนในการภาวนา
2. เมื่อคุณรู้ว่าคุณนั้นเกิดมาแล้วบนโลกนี้ และ คุณรู้ว่ามีคนตายใช่ไหมครับ ดังนั้นการเกิดและตายก็ย่อมมีแน่นอนคุณก็สัมผัสได้และเห็นตามจริง แต่การเวียนว่ายนั้นมีจริงไหมคุณมองเห็นไหมครับ หรือ ได้แต่ฟังตามๆเขามา หากผมบอกว่ามีจริงคุณจะเชื่อไหมครับ ซึ่งในสิ่งนี้ผมไม่สามารถแสดงให้คุณเห็นได้
3. เรื่องที่คุณพยายามทำความเข้าใจอยู่นี้มันเป็นความขุ่นข้องใจกับความเชื่อในเรื่องที่ว่าตายแล้วดับสูญ กับ ความไม่มีดับสูญ ในข้อนี้กล่าวถึง ตัณหา ทั้ง 3 ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
4. ผมขอถามว่า
   - คุณเคยโกรธใช่ไหมครับ เมื่อความโกรธของคุณเกิดมันค้างอยู่เช่นนั้นจนคุณตายไหม มันก็ยังมีดับใช่ไหมครับ
   - เมื่อความโกรธของคุณดับแล้วมันไม่เกิดขึ้นมาอีกเลยใช่หรือไหมครับ
   - เมื่อความโกรธของคุณดับแล้วและคุณดำเนินชีวิตประจำวัน วนเวียนผ่านพ้นไป เมื่อคุณไปเจอสิ่งใดๆหรือเจอจุดที่คุณไม่พอใจยินดี คุณก็โกรธอีกใช่ไหมครับ
   - มันมีเกิด มีดับ มีวนเวียนไป สลับกันไป-มาอยู่อย่างนี้ไม่รู้จบใช่ไหมครับ แล้วคุณคิดว่าการเวียนว่ายตายเกิดมีจริงไหมครับ
   - เมื่อเกิดมีจริง ดับมีจริง การวนเวียนเกิดดับไปมามีจริงอย่างนี้แล้ว การสูญสิ้นไปแห่งสิ่งนั้นก็สามารถเข้าถึงได้ ด้วยอริยสัจ๔ นี้แหละครับ


ผมรู้เห็นน้อย คงมีปัญญาพอจะสนทนาธรรมกับผู้รู้อย่างคุณได้เพียงเท่านี้ครับ ขออภัยหากไม่ก่อเกิดประโยชน์และไม่ควรครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณ คุณ Aadmax ที่มาคุยเป็นเพื่อน ชี้ทาง นำทางกันนะครับ ขอบคุณมาก

อันที่จริง เรื่องของชาติภพนั้น ผมค่อนข้างจะเชื่อนะครับ ไม่ใช่ว่าผมมีญาณอะไร หรอกครับ
แต่ผมวิเคราะห์ดังนี้

   1.คนเราเกิดมา ทำไมถึงแตกต่างกันด้วยฐานะ สมบัติ ตระกูล อันนี้ผมคิดว่าเพราะกรรม ใครทำกรรมดีมาก็จะสมบูรณ์มาก ใครทำกรรมมาไม่ดีก็จะสมบูรณ์น้อย อันนี้ก็เป็นเหตุสนับสนุนเรื่องภพชาติ

   2.การไม่ถูกชะตา ทั้ง ๆ ที่พบกันครั้งแรก หรือ เพียงได้ยินชื่อ หรือฟังเสียง อันนี้ผมว่าต้องเคยทำกรรมล่วงเกินกันไว้มาก่อน มันจะแล่นจี๊ดทันทีเลยครับ อันนี้เป็นเหตุสนับสนุนความเชื่อเรื่องภพชาติ

   3.พระสูครที่มาการศึกษาทางหลักธรรม พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสแสดงพระชาติต่าง ๆ ของพระองค์ในฐานะที่เป็นพุทธมามกะ เรื่องเหล่านี้ก็สนับสนุนความเชื่อเรื่องภพชาติ

   4.มีบางอย่าง และ หลายๆ อย่างที่เราไม่เคยเห็น แต่ก็ไม่ใช่ไม่ได้มี โดยเฉพาะเรื่องภพชาตินั้นจัดเป็นแรงบันดาลใจของผู้ภาวนาที่มีเป้าหมาย ในการตัดภพ ตัดชาติ ดังนั้นเพื่อคลายความเคลื่อบแคลงใจ ที่เรามักจะใช้คำว่า วิจิกิจฉา นั้น เพื่อความชัดเจนในการภาวนา และตรงต่อเป้าหมาย เราควรจะต้องไม่เคลื่อบแคลงใจสัก 50 เปอร์เซ็นต์ ใช่หรือไม่ครับ

   5.พระพุทธเจ้าตรัสรู้ยามที่ 1 คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คืออะไร ? เป็นการยืนยันเรื่องภพชาติ ตั้งแต่ต้นใช่หรือไม่ครับ

   6.การภาวนาเพียงเพื่อไม่ให้ทุกข์ หรือ เพื่อไม่ติดสุข ผมว่าบางครั้งมันเป็นไปตามธรรชาติใช่หรือไม่ครับ เช่นเราร้อน ก็ดับร้อน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ถ้าเราอบอุ่น หรือ สบายก็อาศัยวิธีการรักษาความสบายนั้น ผมว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว ในตัวของมนุษย์ ในความเป็นธรรมชาต ที่ กิน นอน เสพกาม กลัวหนีภัย

   7.สิ่งสำคัญที่ผมมอง กับเป็นพระไตรลักษณาการมากกว่า ที่ผมกำลังมองว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เที่ยง ไม่คงทน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แต่ถึงแม้ผมจะรู้อย่างนี้จิตที่ก็ยังมีความยึดมั่นถือมั่น อยู่ คำตอบของผมก็ไปจบลงที่วิธีการภาวนาเพื่อให้คลายความยึดมั่นถือมั่น นี้ผมค้นหาคำตอบมาหนึ่งอาทิตย์ ก็เข้าใจในคำถามของพระอาจารย์ว่า วันนี้ผมวางเป้าหมายเพื่อให้ได้คลายความยึดมั่น ถือมั่น ที่มีอยู่ให้บางลง หรือ หมดลง

   8.ทำไมต้องทำให้ยุ่งยาก นัก ในขณะที่เรารู้จักกิเลส และเห็นโทษของกิเลส แต่ใจไม่คลายจากกิเลสเพราะเหตุใด เหตุนั้นเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการภาวนาฝึกฝน จิตให้เข้มแข็ง พระอาจารย์กล่าวว่า นี่แหละเป็นสาเหตุที่เราควรจะมาภาวนา เพราะจิตรู้จัก ยังไม่พอ จิตต้องคลายกำหนัดด้วย จึงจักพ้นได้

    :49: :c017:


บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ ขออนุโมทนากับสิ่งที่คุณรู้เห็นและพยายามทำนั้นครับ

อัตตามีกันทุกคน เพราะเป็นคนจึงมีอัตตา แม้พระอริยะที่ยังไม่ล่วงถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ก็ยังมีอัตตา
ละอัตตา ก็ต้องดับที่ตัณหา
ละคัณหา ก็ต้องดับที่ความสำคัญมั่นหมายของใจ
ละความสำคัญมั่นหมายของใจ ก็ต้องดับที่พอใจยินดี
ละความพอใจยินดี ก็ต้องดับที่ความติดข้องใจ
ละความติดข้องใจ ก็ต้องอยู่ที่ความมีใจกลางๆวางเฉย
มีใจกลางๆวางเฉยได้ ก็เพราะเห็นโทษและไม่ติดข้องใจในสิ่งนั้นๆที่เราได้รับรู้อารมณ์

ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ


ธรรมทั้งหลายที่คุณหาอยู่วนเวียนอยู่เช่นนี้ครับ ขอให้ถึงซึ่งธรรมอันประเสริฐนั้นนะครับ ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งหากพอจะช่วยให้คุณได้พูดคุยและหายจากความติดจ้องขุ่นข้องใจได้

หากพอมีเวลาว่างลองอ่านกระทู้ตาม Link นี้ดูนะครับ มีความหมายของอารมณ์ในทางธรรมและธัมมารมณ์พร้อมมีวิธีการเข้าสู่อุเบกขาจิตให้ครับ ค่อยๆทำความเข้าใจช้าๆ จะช่วยลดอัตานุปาทานลงได้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.msg27472#msg27472
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 07, 2012, 10:32:38 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เจลสูตร

ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟบนศีรษะ

    [๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว จะควรกระทำอย่างไร?


    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว
    ควรจะกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจถึงผ้า หรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้แล้ว
    พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอยสติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า

    เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง

    อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?  คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
    เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

                 จบ สูตรที่ ๔


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๑๐๔๑๙ - ๑๐๔๓๑.  หน้าที่  ๔๓๕ - ๔๓๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10419&Z=10431&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1717
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


โลกหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ปัญหาใหญ่ที่คนถกเถียงกันอยู่เสมอ ก็คือปัญหาที่ว่าโลกหน้าที่มนุษย์จะไปเกิดหลักจากตายแล้วมีจริงหรือไม่ ?

ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์สองพวกนั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี อุปปาติกสัตว์ไม่มี
    สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่ว ไม่มีในโลกดังนี้


    เป็นอันหวังข้อนี้ได้คือ จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการ นี้ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
    จักสมาทานอกุศลธรรม ๓ ประการ นี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
    แล้วประพฤติข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นคุณฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม ก็โลกหน้าที่อยู่จริง ความเห็นของผู้นั้นว่าไม่มีความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฐิ ก็โลกหน้ามีอยู่จริง
    แต่เขาดำริว่าโลกหน้าไม่มี ความดำริของเขานั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะ ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าวว่าโลกหน้าไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา

    ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งโลกหน้า ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขายังให้ผู้อื่นเข้าใจว่า โลกหน้าไม่มี การให้ผู้อื่นเข้าใจของเขานั้นเป็นการให้เข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม
    และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ไม่ขอบธรรมนั้นด้วย เขาละคุณคือ ความเป็นคนมีศีลแล้ว ตั้งไว้เฉพาะแต่ส่วนโทษ คือความเป็นคนทุศีลไว้ก่อนเทียว


   ด้วยประการฉะนี้ อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฐิ มิฉาสังกัปปะมิจาวาจา ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การให้ผู้อื่นเข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมีเพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยด้วยประการฉะนี้ ฯ”

อปัณณกสูตร ม. ม. (๑๐๖)
ตบ. ๑๓ : ๑๐๒-๑๐๓ ตท.๑๓ : ๙๒
ตอ. MLS. II : ๗๑


ที่มา http://www.84000.org/true/037.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.1442125mhz.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 09, 2012, 01:21:03 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ชาติหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “.....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้

    “ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง

   “ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง

   “ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม

    “ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่

    “อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ”

เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร) ติ. อํ. (๕๐๖)
ตบ. ๒๐ : ๒๔๗-๒๔๘ ตท. ๒๐ : ๒๑๗-๒๑๘
ตอ. G.S. I : ๑๗๕


ที่มา http://www.84000.org/true/187.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.1442125mhz.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เหตุให้เชื่อชาติหน้า

ปัญหา คนในโลกเชื่อกันว่า ตายแล้วเกิดก็มี ตายแล้วสูญก็มี อะไรเป็นมูลเหตุให้เชื่อเช่นนั้น ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่า เบื้องหน้าแต่ตายไปยั่งยืน (มีอยู่ ไม่สูญ) ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเกิดของสัตว์ ที่มีอยู่ นั่นเพราะเหตุไร

    เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมหมายมั่นกาลข้างหน้า กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า เราละโลกไปแล้วจักเป็นเช่นนี้ ๆ เปรียบเหมือนพ่อค้า ไปค้าขายย่อมมีความหวังว่า ผลจากการค้าเท่านี้จักมีแก่เรา เพราะการค้าขายนี้ เราจักได้ผลเท่านี้ ดังนี้ฉันใด

    ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ชะรอจะเห็นปรากฏเหมือนพ่อค้า จึงหวังว่าเราละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี

   “ดูก่อนสมณพราหมณ์ พวกบัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่ เป็นผู้กลัวสักกายะ (กายของตน) เกลียดสักกายะ แต่ยังวนเวียนไปตามทสักกายะนั้นอยู่แล เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาผูกโซ่ล่ามไว้ที่เสาหรือที่หลักมั่น ย่อมวนเวียนไปตามเสาหรือหลักมั่นนั้นเอง ฉันใด

    ท่านสมณพราหมณ์ พวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กลัวสักกายะ..... แต่ยังวนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นแล เรื่องสักกายะดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังที่อยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ฯ”

ปัญจัตตย ปญ
สูตร อุ. ม. (๓๓)
ตบ. ๑๔ : ๓๒-๓๓ ตท. ๑๔ : ๑๔-๒๖
ตอ. MLS. III : ๑๘-๑๙


ที่มา http://www.84000.org/true/061.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.1442125mhz.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ตรัสว่าคนตายแล้วเกิดจริง

ปัญหา มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า คนตายแล้วเกิดในชาติใหม่จริง ๆ อย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่ตรัสแบบปริศนาหรือแบบสัญลักษณ์ให้คนคิดหลายชั้น ?

พุทธดำรัสตอบ “ภิกษุเมื่อเจริญ เพิ่มพูนซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ย่อม ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปป์ เป็นอันมาก

    บ้างว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร(นามสกุล) อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ และที่อ้างอิงด้วยประการฉะนี้

    “ภิกษุเมื่อเจริญ เพิ่มพูนอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดหมู่สัตว์ที่เป็นไปตามกรรมว่า

    สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำด้วยมิจฉาทิฏฐิ
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุริต มโนสุจริต....
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์... ย่อมรู้ชัดหมู่สัตว์ที่เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.....”



ปุพพสูตร มหา. สํ. (๑๑๔๔-๑๑๔๕ )
ตบ. ๑๙ : ๓๔๒-๓๔๓ ตท. ๑๙ : ๓๑๘-๓๑๙
ตอ. K.S. ๕ : ๒๓๗-๒๓๘



ที่มา http://www.84000.org/true/495.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.1442125mhz.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คือเพื่อความชัดเจนในการภาวนา เพื่อความมั่นใจในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มีจริง จำเเป็นหรือไม่ว่าเราควรจะต้องพิสูจน์ความเชื่อ เรื่องโลกนี่้ โลกหน้า ให้เข้าใจก่อนเพื่อสนับสนุการภาวนา หรือว่าเราจะภาวนาโดยไม่ต้องไปสนเรื่องพวกนี้ กันครับ

 ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความเห็น ครับ
  :25: :c017:

       
       เรื่องด่วนที่สุด ที่ต้องทำ คือ การรู้อริยสัจจ์
       ปุถุชนผู้ไม่มีญาณทัสสนะ ย่อมมีวิจิกิจฉา สงสัยลังเลอยู่มาก ก็เป็นเรื่องปรกติ
       ปุถุชนผู้มีพุทธจริต(ปัญญาจริต) อาจอยากพิสูจน์บางสิ่งบางอย่าง ก็เป็นเรื่องปรกติ

       แต่ขอให้พิจารณา อินทรีย์ ๕ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
       การภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญานั้น ต้องเริ่มที่ศรัทธาก่อน
       จริงอยู่ ศรัทธามากไป อาจทำให้ปัญญาถดถอยน้อยลงไป
       ในทางตรงข้ามใช้ปัญญามากเกินไป ก็ทำให้ศรัทธาเสื่อมได้เช่นกัน


       ความเห็นของผม คือ เราควรใช้ปัญญาส่งเสริมศรัทธาให้มากขึ้นจะดีกว่า
       คำสอนของพระพุทธองค์หยั่งยืนมา ๒๕๐๐ กว่าปีแล้ว อย่าสงสัยเลยครับ

       ผมเป็นคนหนึ่งที่มากด้วยพุทธจริต เมื่อก่อนไม่เห็นกับตาก็ไม่เชื่อ ชอบซักไซร้ไล่เรียง
       ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลย เพราะยึดมั่นในตัวเองมากไป
       ขอให้พิจารณาข้อธรรมนี้ครับ


ปปัญจะ, ปปัญจธรรม ๓ (กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่าย ๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา)


๑. ตัณหา (ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน, ความอยากได้อยากเอา)

๒. ทิฏฐิ (ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงายหรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน, ความยึดติดในทฤษฎี ฯลฯ ถือความคิดเห็นเป็นความจริง)


๓. มานะ (ความถือตัว, ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียมหรือด้อยกว่าผู้อื่น, ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่)


       ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

        :25:



       
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ