ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บวชพระอ่ย่างไร จึงจะได้บุญมาก ครับ โปรดแนะนำกันด้วยนะครับ  (อ่าน 7321 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตอนนี้ บรรดาเพื่อน ๆ ผม พยายามพูดถึงเรื่องการบวช โดยการลางานบ้าง หยุดงานบ้าง เพื่อไปบวช ถวายในหลวงกัน มีบางคนตั้งใจบวช เข้าไปหาวัดใน กทม. ดัง ๆ เช่น ..... เพื่อจะได้เรียนกรรมฐาน แต่ก็โดนปฏิเสธ กับมาและพูดด้วยอารมณ์หงุดหงิด ว่า วันนี้ผมไปขอบวช อยู่ที่วัด ...... 1 อาทิตย์ แต่ถูกพระปฏิเสธมา อย่างนี้ จนกระทั่งมีความเห็นเปลี่ยนไป กับเรื่องการบวช เลยนะครับ

   เลยคิดว่า การบวช ที่จะได้บุญจริง ๆ นั้น กับความตั้งใจ ทีไปสวนทางกัน อย่างนี้จะได้บุญอย่างไร ครับ

  เพื่อน ๆ ช่วยชี้ทางสว่างให้ด้วยครับ

   :49: :c017:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อานิสงส์บวช

      ...บวชนี้ย่อมมีผลานิสงส์อย่างมากมาย องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเทศนาอานิสงส์แห่งการบรรพชาอุปสมบทไว้โดยอเนกประการว่า

     ทาสสฺส อานนฺท ดูกรอานนท์
     บุคคลใดมีศรัทธา บรรพชาทาสกรรมกรให้เป็นสามเณร หรือสามเณร มีอานิสงส์ ๔ กัล์ป บวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี มีอานิสงส์ ๘ กัล์ป
     และ ถ้าอุปสมบทจะได้รับอานิสงส์ ๑๖ กัล์ป
     หากอุปสมบทได้อานิสงส์ ๓๒ กัล์ป
     ถ้าอุปสมบทตนเองในพระพุทธศาสนา ด้วยศรัทธาเลื่อมใสจะได้อานิสงส์ถึง ๖๔ กัล์ป
     บุคคลใดได้บรรพชาบุตรตนก็ดี บุตรของผู้อื่นก็ดี ก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ

    แล้วพระองค์ตรัสอีกว่า
    ดูกรอานนท์ดังจะเห็นได้จาก หญิงผู้หนึ่ง เขามีบุตรอยู่คนเดียว บุตรชายเขาขอไปบวชมารดาก็ไม่ให้บวชบุตรชายจึงหนีไปบวช อยู่มาวันหนึ่งมารดาของสามเณรนั้นออกจากบ้านไปแต่เช้า เพื่อจักแสวงหาฟืน มารดาสามเณร

     ครั้นหาฟืนได้พอสมควรแล้วก็กลับบ้าน พอมาถึงระหว่างทางได้พักอยู่โคนต้นไม้ใหญ่ แล้วลงนอนพักผ่อนก็หลับไป ได้นิมิตรฝันไปว่ามีพระยายมราชมาถามว่า
     ดูกรผู้หญิง เธอได้กระทำบุญหรือว่าไม่ได้กระทำเลย
     มารดาของสามเณรนั้นตอบว่า ข้าแต่เจ้า ดิฉันไม่ได้กระทำบุญอย่างไรเลย
     พระยายมราชทราบแล้ว ก็จับเอาผู้หญิงนั้นไปใส่นรกทันที

     ผู้หญิงนั้นได้เห็นไฟนรกลุกโพรงก็ถามพระยายมราชว่า อันไฟแดงนั้นเป็นอย่างไร
     พระยายมราชว่า อันไฟแดงนั้นเป็นไฟนรก ผู้หญิงจึงบอกว่าเหมือนกับผ้าจีวรของลูกชายของข้าพเจ้าอันได้บวชเป็นสามเณรนั้นแล
     พระยายมราชจึงกล่าวว่า ดูกรผู้หญิง ลูกชายของเธอยังได้บวชหรือ
     นางก็ตอบว่า ลูกชายยังได้บวชเป็นสามเณรอยู่
     พระยายมราชได้ยินคำของนางดังนั้นแล้ว จึงนำนางมาคืนไว้เดิมเสีย เหตุอันนี้ก็เพราะบุญของลูกชายตนได้บวชเป็นสามเณร ในพุทธศาสนาไปกั้นไว้ในนรกได้

     ครั้นนางตื่นขึ้นมาก็ตกใจกลัวรีบกลับบ้าน ตั้งแต่นั้นนางก็เลื่อมใสในพุทธศาสนา เฝ้าปฏิบัติสามเณรลูกชายของตน มิได้ขาดจนนางได้ตายไปตามอายุขัยก็ไปบังเกิดในสวรรค์ดั้งนี้ เป็นต้น

อานิสงส์ถวายสัพพทาน
...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ
      ๑. ให้ของที่สะอาด ๒. ให้ของประณีต ๓. ให้ถูกกาล ๔. ให้ของที่สมควร
      ๕. เลือกให้ ๖. ให้เสมอ ๆ๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส ๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ
      สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา
     ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนายอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี

      ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอมแล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า
       “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใดเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์

        ... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา
มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า

        สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
        สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
        ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
        ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป

        ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
        ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
        ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
        ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป

        ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
        ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
        ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
        ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
        ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป

        ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
        บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
        ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
        ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
        สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป ฯลฯ


ที่มา http://84000.org/anisong/38.html

จากหนังสือ "ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๑" หน้า ๒๙-๓๕ ขอคัดบางส่วนมาแสดง
   ..........องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์เมื่อทรงพระชนม์อยู่ องค์สมเด็จพระบรมปรารถเรื่องการอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชานี้มีอานิสงส์พิเศษ
     อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารทานก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นี้นั้น บุคคลที่จะพึ่งได้ต้องโมทนาก่อน หมายความว่า ถ้าบุตรธิดาของตนบำเพ็ญกุศล บิดามารดาไม่โมทนาย่อมไม่ได้ แต่ว่าการอุปสมบมบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า
     สมมุติว่า บุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น
     บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อ ลูกกับแม่ย่อมไม่รู้จักกัน
     เวลาที่บรรพชานั้น บิดามารดาก็ไม่ทราบ
     แต่ทว่า ถึงอย่างก็ดี องค์สมเด็จพระชินศรีตรัสว่า บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์โดยสมบูรณ์
     นี่เป็นอันว่า อานิสงส์แห่งการการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกจากบุญกุศลอย่างอื่น.........

     ทีนี้จะว่ากันไปถึงอานิสงส์แห่งการอุปสมบท-บรรพชา คำว่า บรรพชา นี้หมายความว่า บวชเป็นเณร  คำว่า อุปสมบท นี้หมายความว่า บวชเป็นพระ สำหรับท่านที่บรรพชาในพุทธศาสนาเป็นสามเณร อันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
     ท่านผู้บรรพชาเองคือเณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดี นี่เอากันถึงด้านการประพฤติปฏิบัติดี ถ้าปฏิบัติเลวการการบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ถ้าปฏิบัติดีนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า
     ท่านที่บวชเข้ามาเป็นเณรในพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามระบอบพระธรรมวินัย สำหรับเณรผู้นั้น ย่อมมีอานิสงส์คือ ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดา ไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน
     องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ ได้ถึง ๓๐ กัป เช่นเดียวกัน.......
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเป็นเณรเอง และมีความประพฤติปฏิบัติดี ต้องเป็นเทวดาหรือพรหมอยู่ถึง ๓๐ กัป นั่นก็หมายความว่า อายุเทวดาหรือพรหมย่อมีกำหนดไม่ถึง ๓๐ กัป และเมื่อหมดอายุแล้วจะเกิดเป็นพรหมใหม่ อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง ๓๐ กัป หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้านิพพานก่อน
     สำหรับ บิดามารดา ของบุคคลผู้บวชเป็น สามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ ๑๕ กัป คือครึ่งหนึ่งของเณร หมายความว่าบิดารมีอานิสงส์ ๑๕ กัป มารดามีอานิสงส์เสวยความสุขบนสวรรค์หรือพรหมโลก ๑๕ กัป......
     สำหรับบรรดาท่านผู้ไม่ใช่บิดามารดาของบุตรกุลธิดาที่อุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ช่วยในการบวช นี่หมายความว่า เวลาเขาจะบวชพระครั้งหนึ่ง เราทราบเข้าก็ไปบำเพ็ญกุศลร่วมกับเข้าด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง ให้สิ่งของบ้าง ช่วยขวยขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง หมายความว่า
    เขาจะบวชลูกบวชหลานของเขา เราไม่มีลูกหลานจะบวช เขามาบอกบุญมาหรือไม่บอกบุญก็ตาม เอาจตุปัจจัยบ้าง เอาของที่จะพึ่งจะใช้ในงานบ้าง ไปช่วยในงานด้วยความเลื่อมใส ถ้าไม่มีจตุปัจจัย ไม่มีของ ก็เอากายไปช่วย ช่วยขวนขวายในกิจการงาน  อย่างนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่าท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลก คนละ ๘ กัป
    แต่ถ้าหากเป็นคนฉลาด อย่างเช่นเขาบวชพระกัน ๔๒ องค์ เราก็ช่วยกันบำเพ็ญกุศลช่วยในการ บวชพระ ไม่เจาะจงท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เรียกว่าช่วยหมดทั้ง ๔๒ องค์ ก็ต้องเอา ๔๒ ตั้งเอา ๘ คูณ  นี่เป็นอันว่า...อานิสงส์ที่ที่จะพึงได้ในการอุปสมบทบรรพาชากุลบุตรกุลธิดาในพระพุทธศาสนาสำหรับผู้ช่วยงาน
    แต่สำหรับท่านผู้เป็น เจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวยขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะ ได้อานิสงส์ ๑๒ กัป จะมีผลหลั่นซึ่งกันและกัน.....

อ่านรายละเอียดอื่นๆ ได้ทีี่่
https://sites.google.com/site/sphrathewtheph/Home-8-5-1


COPY ทั้งหมดมาจากที่คุณnathaponsonเคยโฟสไว้ ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8363.msg31385#msg31385
ชื่อกระทู้ : การเป็นเจ้าภาพ บวชพระสงฆ์ ได้บุญ และ อานิสงค์อย่างไร ครับ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สั้น ๆ เลยนะครับ
 
    การบวช นี้ มีทั้งได้ บุญ และ ได้ บาป นะครับ

      บวช ได้ บุญ คือ ปฏิบัติภาวนา ครับ
      บวช ได้ บาป คือ บวชแล้วนั่งกินนอนกินไปวัน ๆ ครับ และ ละเมิด วิันัยสงฆ์ครับ

   :67:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ ขออนุโมทนากับคำถามของเจ้าของกระทู้คุณแพนด้า และ คำตอบที่เป้นประโยชน์ของท่านธรรมะ ปุจฉา เป็นประโยชน์อย่างสูงครับ

โดยรวมแล้ว กล่าวโดยย่อแบบสรุปดังนี้คือ
บุคคลใดที่บวชแล้ว มีความเพียร บำเพ็ญตน ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม มีความสำรวมระวังด้วย กาย วาจา ใจ เป็นต้น แม้ปฏิบัติเพียงคืนเดียว นี่ก็จัดในเป็นผู้รู้ราตรีเช่นกัน

การปฏิบัติสำหรับผู้บวชใหม่และทรงอารมณ์นั้นให้อยู่คงได้ดูตามบทสวดมนต์นี้ครับ

เขมาเขมสรณทีปิกคาถา

พะหุง เว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ,
อารามะรุกขะเจตยานิ มะนุสสา ภะยะตัชชิตา

มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว ก็ถือเอาภูเขาบ้าง
ป่าไม้บ้าง อาราม และรุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ;

เนตัง โข สะระณัง เขมัง เนตัง สะระณะมุตตะมัง
เนตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ.

นั่นมิใช่สรณะอันเกษมเลย นั่นมิใช่สรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต
จัตตาริ อะริยะสัจจานิ สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ

ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว,
เห็นอริยสัจจ์คือ ความจริงอันประเสริฐสี่ ด้วยปัญญาอันชอบ;

ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง,
อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง ทุกขูปะสะมะคามินัง;

คือเห็นความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้,
และหนทางมีองค์แปดอันประเสริฐ เครื่องถึงความระงับทุกข์;

เอตัง โข สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง ส ะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ.

นั่นแหละเป็นสรณะอันเกษม นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด;
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

ภัทเทกรัตตคาถา

อะตีตัง นานวา คะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง

บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย,
และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ยะทะตีตัม ปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง

สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา

ปัจจุปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพรูหะเย

ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

อัชเชวะ กิจจะ มาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว

ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้

นะหิโน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา.

เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราช ซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา

เอวังวิหาริ มาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง
ตังเวภัทเทกะรัตโตติ สันโตอาจิกขะเตมุนิ.

มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียก ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม."


คัดจากคู่มืออุบาสกอุบาสิกา ภาค ๑-๒
ทำวัตรเช้า - เย็น และ สวดมนต์พิเศษบางบท แปลไทย

ขอขอบคุณข้อมูลที่มาจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=maekai&date=05-03-2009&group=7&gblog=30
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 12, 2012, 12:09:43 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ