ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากถาม วิธีการให้อภัย คะ  (อ่าน 3784 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อยากถาม วิธีการให้อภัย คะ
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2011, 10:24:29 am »
0
คือ พูดง่าย ๆ เรามีความไม่พอใจที่คนอื่นมาเบียดเบียน โดยไม่ทราบสาเหตุ

  แต่พอได้อ่านธรรมะ ทุกวัน แล้ว ก็รู้สึกว่า ควรอภัยให้เขา

  ก็เลยจุดธุป บอก ขออภัยให้ แต่ในใจ ก็ยังคิดว่า ไม่่น่าจะให้อภัย กับ คนพวกนี้ ผู้นี้ เพราะยังเบียดเบียนเราอยู่

ไม่ทราบว่า ผลการอภัยอย่างนี้ จะมีผลหรือไม่คะ

   ดังนั้น อยากจะถามว่า การให้อภัย คือ การกล่าวทางวาจา หรือ เป็นต้องใจคิดให้อภัย กัน

    :25:c017:
บันทึกการเข้า

drroyz

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากถาม วิธีการให้อภัย คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2011, 12:09:28 pm »
0
อภัยด้วยจิตไม่อาฆาตอีก
จึงจะได้บุญ และที่สำตคัญ เราไม่เครียดด้วยครับ

คนทุกคนที่ยังต้องเกิด ล้วนแต่ยังมีบาป
มีบุญบ้าง คนดีที่ไม่ควรโดนด่าว่า นั้นไม่มีอยู่จริง
เราทุกคนจึงเกิดมาเพื่อ ทำบุญ เพื่อนิพพาน เปนที่สุด

คนที่ทำไม่ดี คือคนที่พลาดพลั้ง
จะยิ่งห่างนิพพาน คือคนที่น่าสงสาร
ควรกรวดน้ำให้

เราอย่าเป็นคนน่าสงสารไปด้วย
โดยการ ไปผูกโกรธ อาฆาต

เมตตาคุณณัง อะระหังเมตตา
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากถาม วิธีการให้อภัย คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2011, 01:17:45 pm »
0

อภัย, อภัย-
    [อะไพ, อะไพยะ-] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษให้ ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้.ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.


ภัย
    น. สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).


เวร
    น. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คําแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

คหบดีวรรคที่ ๕
๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑

    [๑๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี

     บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์ คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

    บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์ คือโทมนัสบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทานสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

     บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

     บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้างเพราะมุสาวาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

    บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้สงบแล้ว ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  บรรทัดที่ ๑๘๑๒ - ๑๘๘๓.  หน้าที่  ๗๕ - ๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1812&Z=1883&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=151


    การให้อภัย อยู่ตรงข้ามกับ การให้ภัย
    ในพระไตรปิฎกกล่าวถึง ภัยเวร ๕ ประการเอาไว้ ซึ่งก็หมายถึง ศีล ๕ นั่นเอง
    ดังนั้น หากเราจะสรุปง่ายๆ ก็จะต้องให้ความหมายของคำว่า "ให้อภัย" ก็คือ "การถือศีล" นั่นเอง
    ศีลมีหลายระดับ ศีลของปุถุชนที่ควรปฏิบัติ น่าจะเป็น"อินทรียสังวรศีล" คือ ใช้สติ ในการสำรวมกาย วาจา ใจ


    รู้สึกเหนื่อยแล้วครับ ขอพักก่อน มีโอกาสจะมาคุยใหม่
:49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากถาม วิธีการให้อภัย คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2011, 02:38:19 pm »
0
ถ้าอย่างนั้นการให้ อภัย ก็เพียงแต่กล่าวคำให้ อภัย เท่านั้นก็พอใช่หรือไม่ครับ ส่วนเรื่องของใจให้ไปฝึกฝนต่ออีก

การให้อภัย ไม่จำเป็นต้องให้ใจให้ ใช่หรือไม่ครับ หรือจัดระดับการให้อภัย ไว้หลายระดับ

    :smiley_confused1: :25:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากถาม วิธีการให้อภัย คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2011, 01:27:45 pm »
0

     การให้อภัยในระดับปุถุชน ต้องเน้นไปที่ "กายกับวาจา"
     ส่่วนใจนั้น ผู้ที่มีกิเลส ยากที่จะตัดความพยาบาทได้
     อย่างไรก็ยังมีความโกรธหรือคิดไม่ดีอยู่ ที่เรียกว่า "ทำใจไม่ได้" นั่นแหละครับ

 
     การจะตัดพยาบาทได้นั้น ต้องเจริญพรหมวิหาร ๕ ขอให้พิจารณาข้อธรรมต่อไปนี้

    เมตตา ตรงข้ามกับ พยาบาท ความขัดแค้นเคืองใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย, ตรงข้ามกับเมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น
     กรุณา ตรงข้ามกับ วิหิงสา การเบียดเบียน, การทำร้าย
     มุทิตา ตรงข้ามกับ อรติ ความขึ้งเคียด, ความไม่ยินดีด้วย, ความริษยา
     อุเบกขา ตรงข้ามกับ ปฏิฆะ ความขัดใจ, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ


     จะเห็นว่า การให้อภัยด้วยใจที่บริสุทธิ์เป็นของยากมาก หากพิจารณาที่"ปฏิฆะ"แล้ว ก็ต้องบอกว่า กิเลสตัวนี้อานาคามีเท่านั้นที่ละได้
     อย่างไรก็ตาม การให้อภัยที่สมบูรณ์ ต้องพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ

     ผลของการให้อภัยเป็นเช่นไร
     ในแง่ของปุถุชน คงได้แค่ความสบายใจระดับหนึ่งเท่านั้น และโทษทางกฏหมายหรือกฏเกณฑ์ต่างๆ อาจได้การยกเว้นหรือบรรเทาลง แต่ความรู้สึกของคนในสังคมนั้นๆ เชื่อว่าไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้


     ส่วนในแง่ของวิบากกรรมตามกฏแห่งกรรม ต้องพิจารณาเรื่องอโหสิกรรม อย่างเช่น พระพุทธเจ้าไม่เคยถือโทษพระเทวฑัต รักพระราหุลอย่างไร พระองค์ก็รักพระเทวฑัตอย่างนั้น พระองค์ให้อภัยเสมอ
     ถึงแม้พระพุทธเจ้าให้อภัย แต่กฏแห่งกรรมโดยเฉพาะ"อเวจี" ไม่อาจให้อภัยได้




อโหสิ
    [อะ-] ก. เลิกแล้วต่อกัน, ยกโทษให้.


ที่ม พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
       ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก

       (ข้อ ๔ ในกรรม ๑๒)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


อโหสิกรรม
กรรมที่ไม่มีโอกาสส่งผล

    อโหสิกรรม หมายถึง กรรมที่ได้กระทำไปแล้วทั้งส่วนดีหรือไม่ดีก็ตาม ไม่มีโอกาสที่จะให้ผลแก่ผู้กระทำกรรมนั้นเลย มี ๓ ประการ คือ

    ๔.๑ กรรมที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล
    ๔.๒ กรรมที่ทำในปัจจุบันไม่มีผล 
    ๔.๓ กรรมที่ถูกตัดหมดไม่ให้ผล

 
          ๔.๑ กรรมที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล ในขณะที่ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายบาป ทำให้ต้องถูกแผ่นดินสูบ หรือทำกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ที่จะทำให้ได้เลื่อนฐานะเป็นเศรษฐีในปัจจุบันชาติ แต่ถ้ากรรมเหล่านั้น ไม่สามารถที่จะส่งผลได้ด้วยประการใดประการหนึ่งก็ตาม กรรมที่กระทำนั้นก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไป เช่น พระเทวทัตทำอกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรมทั้ง โลหิตตุปบาท และสังฆเภท แต่สังฆเภทเป็นกรรมที่มีกำลังเหนือกว่าจึงส่งผลนำลงอเวจีมหานรก ส่วนโลหิตตุปบาทก็ไม่มีโอกาสส่งผล กลายเป็นอโหสิกรรมไป
 
          ดังนั้น กรรมที่ทำไปหลาย ๆ อย่าง ทั้งทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่จะให้ผลในชาตินี้ อุปปัชชเวทนียกรรมที่จะให้ผลในชาติที่ ๒ หรือ อปราปริยเวทนียกรรม ที่จะให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปถึงนิพพาน ถ้าไม่มีโอกาสส่งผลแล้ว ชื่อว่าเป็น อโหสิกรรม ทั้งนั้น 
 
          ๔.๒ กรรมที่ทำในปัจจุบันไม่มีผล คือ กรรมที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่มีผล เช่น การกระทำของพระอรหันต์ผู้ซึ่งสิ้นกิเลสแล้ว กรรมที่กระทำอยู่เป็นเพียงกิริยาจิต อันไม่เป็นบุญไม่เป็นบาปแต่อย่างใด สักแต่ว่ากระทำเท่านั้น จึงชื่อว่าเป็น อโหสิกรรม
 
          ๔.๓ กรรมที่ถูกตัดหมด ได้แก่ ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ไม่ต้องเกิดอีก กรรม ทั้งหมดที่ได้กระทำไว้แต่ชาติก่อนตั้งแต่ครั้งไหน ๆ จึงถูกยกเลิกหมดเป็น อโหสิกรรม ไป


ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section07B_13.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2011, 01:29:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ