ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีเพื่อนท่านไหน ฝึกนั่งกรรมฐาน ส่วนเดียวคะ คือ ไม่ต้องฝึกเดินจงกรม คะอยากทราบว่า  (อ่าน 3653 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีเพื่อนท่านไหน ฝึกนั่งกรรมฐาน ส่วนเดียวคะ คือ ไม่ต้องฝึกเดินจงกรม คะอยากทราบว่า ขณะนี้ท่านได้เข้าถึง ฌาน กันบ้างหรือยัง คะ เพราะว่าเคยได้ยินมาว่า ถ้าฝึกกรรมฐานท่านั่งอย่างเดียว โดยไม่เดินจงกรมนั้น จะเป็นผู้เข้าฌาน ได้ยาก จริงหรือไม่คะ
   
     :c017: :58:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นคนที่ไม่ชอบเดินจงกลม ว่างั้นเถอะ
         ชอบนั่งอย่างเดียว ก็คงไม่เป็นไร ขอให้คล่องแคล่วในนิมิตสามประการ ไปเป็นใช้ได้
              แต่ถ้าสลับเดินด้วย ได้ ทําได้เมื่อไหร่ ก็จะเป็นการดี เพราะท่าเดินมีเปรียบตรงที
ความได้ลมอนุโลม-ปฏิโลม อยู่ในตัว
                  ถ้าปฏิบัติกันในท่านั่ง อย่างเดียว ก็นานหน่อย กว่าจะถึงลมฟอกธาตุฟอกขันธ์ ที่ว่า
            เดิน สลับนั่ง ก็จึงมีเปรียบตรงนี้ เพราะข่มนิวรณ์ได้ง่าย เข้าสู่ยุคคลได้ไว
                   ถ้าไม่ชอบเดินจริงๆ ก็ไม่เป็นไร ก็ตามหลังเค้าหน่อย
      แต่ถ้าปรับได้ก็ดี ของมันไม่เที่ยงเน๊าะ อาจจะชอบมากกว่าท่านั่งก็ได้
     เดินสลับนั่ง ทรง วิตก วิจาร ได้นาน การงานกรรมฐานจึงก้าวหน้าได้ไว
       การ สัมปยุตธาตุ สัมปยุตธรรม มีโอกาสมากกว่าก็ตรงนี้นะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ไม่มีใครฝึกกรรมฐาน ส่วนเดียว แต่ทุกท่าน ต้องฝึกกรรมฐาน หลายส่วนในกิจกรรมประจำวัน เช่น การแผ่เมตตา การทำทาน การสวดมนต์ การภาวนาทางจิต การเจริญสติ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ถ้ามีการกระทำโดย กาย วาจา และ ใจ เพื่อการนำออกเสียซึ่งความทุกข์ ที่มีอยู่ การกระทำนั้นเรียกว่าการกระทำภาวนา เป็นกรรมฐาน คือ อุบายทำให้ใจสงบประการหนึ่ง อุบายที่ทำให้ใจหลุดพ้นจากกิเลสประการหนึ่ง

   ดังนั้น ตอบโดยรวมก็คือ กรรมฐานหลักนั้น ต้องพยายามฝึกให้ได้ทุกอิริยาบถ เพื่อให้ทันสถานการณ์ ของทุกข์ ของกิเลส

   เจริญธรรม / เจริญพร


   ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2012, 02:32:31 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าอย่างนั้น ก็หมายความ กรรมฐานที่ฝึกเพียง อิริยาบถใด  อิริยาบถหนึ่ง ต้องอาศัย เนื่องซึ่งกันและกันใช่หรือไม่คะ แต่เราก็เดิน ยืน นั่ง นอน กันเป็นประจำอยู่แล้ว ทำไมถึงไม่ทำให้จิตสงบลงได้ คะ ในส่วนนี้

  ( ไม่ทราบว่าเข้าใจ คำถามหรือไม่ คะ ? ) คือ จะถามว่า ในเมื่อ เราก็ ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่แล้ว ทำไมจิตเราไม่เป็นสมาธิ คะ

  :17: :17: :17:

 
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คําถาม.....เมื่อเรา ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่แล้ว ทําไมจิตไม่สงบ และไม่เป็นสมาธิ.........ก็ขอตอบว่า ท่านยังไม่มีวสี คือความชํานาญองค์แห่งการงานในฝ่ายสัญญาที่เป็นกุศลกรรมดี
     กรรมฐานทุกอิริยาบทเนื่องซึ่งกันและกันได้ เพราะมีวสีในการงานที่เป็นกุศล เหตุที่ต้องฝึกวสี ก็เพราะความทุกข์ในชีวิตมนุษย์เกิดได้ทุกตอนไม่ได้เลือกท่า ยืนเดินนั่งนอน เกิดได้ทุกอิริยาบท
การฝึกกรรมฐาน มีองค์แห่งการงานที่เป็น วสี สัญญาฝ่ายกุศล เดินสลับนั่ง หรือที่พระอาจารย์แนะนําว่าควรทํา ให้ชํานาญทุก อิริยาบท นั้นก็คือวสี ความชํานาญในการ ฝึกเพื่อทรงสติสมาธิ ให้ได้ทุกขณะ หรือทุกท่วงท่าแห่งการมีชีวิต
       เพราะองค์แห่งการงานเมื่อชํานาญเรียกว่าวสี
   การเปลี่ยนท่วงท่าช่วงฝึก จุดหมายเพื่อเพิกสันตะติ ข่มนิวรณ์ เพื่อความรุดหน้า คืบขยับลําดับสมาธิสติ เพื่อความก้าวหน้าของผู้ฉลาดในการเลือกเฟ้นธรรม เพื่อเพิ่มขนาดจุดหมายที่ใจ คือความสําเร็จ
 เพราะความก้าวหน้าในการปฏิบัติทุกคนอยากได้ จึงต้องมีวสี ในความดีอันเป็นกุศล
การแผ่เมตตา การทําทาน การสวดมนต์ การภาวนาทางจิต การเจริญสติ จัดเป็นกรรมฐาน
กรรมฐาน แปลว่า ฐานของความดี  ที่เป็นการฝึกองค์แห่งการงาน หรือ องค์ธรรมที่เป็นสัญญาคือวสีฝ่ายกุศล

ในกรรมฐานนี้ ใช้ นิมิตสามประการ เป็นองค์ธรรมแห่งการงาน เพื่อทรงวสี

   ในประวัติของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ก็ยังมีเรื่อง วสีภาวตาให้อ่านอีกด้วย
ก็ต้องฝึกกันจนถึงขั้น ทรงฌาน ปล่อยฌาน เข้าฌาน ออกฌาน ....วิชาธาตุภูสิโต เรียกภูตเข้าตัว ปล่อยภูตออกตัว
    ก็จําๆมาเล่าให้ฟัง
 
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ที่คุณ AAAA มาช่วยแจกธรรม ด้วยคะ
อ่านแล้วพอจะเข้าใจมากขึ้นคะ

  :88: :49:
บันทึกการเข้า