ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - bangsan
หน้า: [1]
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ไม่เห็น พอจ โพสต์ในเฟส เลยครับ ตอนนี้ ไม่ทราบเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อ: ตุลาคม 18, 2018, 08:56:20 pm
ตามหัวข้อเลยนะครับ

ไม่เห็น พอจ โพสต์ในเฟส เลยครับ ตอนนี้ ไม่ทราบเป็นอย่างไรบ้าง
ผิดปกติ นะครับ ปกติจะเห็นในเฟสทุกวัน หรือ ขาดก็อย่างน้อย 3 วัน อันนี้เป็นอาทิตย์แล้วนะครับ ไม่ทราบ พอจ ท่านไม่สบายหรือป่าว

 :25: :25: :25:
2  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / อยากชมภาพ ธรรมะสัญจร ภาคอิสาณ ธันวาคม 57 โดยทีมงาน เมื่อ: ธันวาคม 25, 2014, 09:45:34 pm
ทราบว่า ทางทีมงาน ไปภาคอิสาณ กัน อยากชมภาพครับ

  thk56 thk56 thk56 ล่วงหน้า ครับ :49:
3  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระพุทธุเจ้า ทรงตรัสบัญญัติ วินัย เรื่อง ยกพุทธวจนะ เป็น ภาษาสันสกฤต เพราะเหตุไร เมื่อ: ตุลาคม 02, 2012, 02:48:30 pm
พระพุทธุเจ้า ทรงตรัสบัญญัติ วินัย เรื่อง ยกพุทธวจนะ เป็น ภาษาสันสกฤต เพราะเหตุไร ด้วยความสงสัยจากพระสูตรด้านล่างนี้ครับ แสดงให้เห็นว่า ภาษาสันสกฤต นั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามไว้เพราะเหตุไร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒

[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ
เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระ-
*พุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามา
บวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม ผิฉะนั้น ข้าพระ-
*พุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
            พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวก
เธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ
ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษา
สันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ
            เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๑๓๑๕ - ๑๓๒๗.  หน้าที่  ๕๔ - ๕๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=1315&Z=1327&pagebreak=0
4  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วสลสูตรที่ ๗ บุคคล ๒๐ พวกที่เป็นคนหยาบช้า เมื่อ: ตุลาคม 02, 2012, 02:45:08 pm
วสลสูตรที่ ๗
            [๓๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มี
พระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาต
ยังพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ก่อไฟแล้วตกแต่ง
ของที่ควรบูชา อยู่ในนิเวศน์ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
ตามลำดับตรอก ในพระนครสาวัตถี เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอัคคิกภารทวาช-
*พราหมณ์ อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า หยุดอยู่ที่นั่นแหละคนโล้น หยุดอยู่ที่
นั่นแหละสมณะ หยุดอยู่ที่นั่นแหละคนถ่อย ฯ
            เมื่ออัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
ถามว่า ดูกรพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อย หรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็น
คนถ่อยหรือ ฯ
            อ. ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อยหรือธรรมเป็นเครื่องกระทำ
ให้เป็นคนถ่อย ดีละ ขอท่านพระโคดมจงแสดงธรรมตามที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้จักคน
ถ่อยหรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อยเถิด ฯ
            พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระ-
*คาถาประพันธ์นี้ว่า
            [๓๐๖] ๑. คนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่อย่างเลว มีทิฐิวิบัติ และ
                         มีมายา พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย
                         ๒. คนผู้เบียดเบียนสัตว์ที่เกิดหนเดียว แม้หรือเกิดสองหน
                         ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๓. คนเบียดเบียน เที่ยวปล้น มีชื่อเสียงว่า ฆ่าชาวบ้าน
                         และชาวนิคม พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๔. คนลักทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ไม่ได้อนุญาตให้ ใน
                         บ้านหรือในป่า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๕. คนที่กู้หนี้มาใช้แล้วกล่าวว่า หาได้เป็นหนี้ท่านไม่ หนี
                         ไปเสีย พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๖. คนฆ่าคนเดินทาง ชิงเอาสิ่งของ เพราะอยากได้สิ่งของ
                         พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๗. คนถูกเขาถามเป็นพยาน แล้วกล่าวคำเท็จ เพราะเหตุ
                         แห่งตนก็ดี  เพราะเหตุแห่งผู้อื่นก็ดี เพราะเหตุแห่งทรัพย์
                         ก็ดี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๘. คนผู้ประพฤติล่วงเกิน ในภริยาของญาติก็ตาม ของ
                         เพื่อนก็ตาม ด้วยข่มขืนหรือด้วยการร่วมรักกัน พึงรู้ว่าเป็น
                         คนถ่อย ฯ
                         ๙. คนผู้สามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้แก่เฒ่าผ่านวัย
                         หนุ่มสาวไปแล้ว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๐. คนผู้ทุบตีด่าว่ามารดาบิดา พี่ชายพี่สาว พ่อตาแม่ยาย
                         แม่ผัวหรือพ่อผัว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๑. คนผู้ถูกถามถึงประโยชน์ บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
                         พูดกลบเกลื่อนเสีย พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๒. คนทำกรรมชั่วแล้ว ปรารถนาว่าใครอย่าพึงรู้เรา ปกปิด
                         ไว้ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๓. คนผู้ไปสู่สกุลอื่นแล้ว และบริโภคโภชนะที่สะอาด
                         ย่อมไม่ตอบแทนเขาผู้มาสู่สกุลของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๔. คนผู้ลวงสมณะ พราหมณ์ หรือแม้วณิพกอื่น ด้วย
                         มุสาวาท พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๕. เมื่อเวลาบริโภคอาหาร คนผู้ด่าสมณะหรือพราหมณ์
                         และไม่ให้โภชนะ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๖. คนในโลกนี้ ผู้อันโมหะครอบงำแล้ว ปรารถนา
                         ของเล็กน้อย พูดอวดสิ่งที่ไม่มี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๗. คนเลวทราม ยกตนและดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยมานะ
                         ของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๘. คนฉุนเฉียว กระด้าง มีความปรารถนาลามก มี
                         ความตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย ไม่สะดุ้งกลัว
                         พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๑๙. คนติเตียนพระพุทธเจ้า หรือติเตียนบรรพชิต หรือ
                         คฤหัสถ์สาวกของพระพุทธเจ้า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         ๒๐. ผู้ใดแลไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญาณว่าเป็นพระ-
                         อรหันต์ ผู้นั้นแลเป็นคนถ่อยต่ำช้า เป็นโจรในโลกพร้อม
                         ทั้งพรหมโลก คนเหล่าใด เราประกาศแก่ท่านแล้ว
                         คนเหล่านั้นนั่นแล เรากล่าวว่าเป็นคนถ่อย ฯ
                         บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ
                         แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ท่าน
                         จงรู้ข้อนั้น ตามที่เราแสดงนี้ บุตรของคนจัณฑาลเลี้ยง
                         ตัวเองได้ ปรากฏชื่อว่าตังมาคะ เป็นคนกินของที่ตนให้
                         สุกเอง เขาได้ยศอย่างสูงที่ได้แสนยาก กษัตริย์และ
                         พราหมณ์เป็นอันมากได้มาสู่ที่บำรุงของเขา เขาขึ้นยานอัน
                         ประเสริฐ ไปสู่หนทางใหญ่อันไม่มีฝุ่น เขาสำรอกกาม-
                         ราคะเสียได้แล้ว เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก ชาติไม่ได้
                         ห้ามเขาให้เข้าถึงพรหมโลก พราหมณ์เกิดในสกุลผู้สาธยาย-
                         มนต์ เป็นพวกร่ายมนต์ แต่พวกเขาปรากฏในบาปกรรม
                         อยู่เนืองๆ พึงถูกติเตียนในปัจจุบันทีเดียว และภพหน้า
                         ก็เป็นทุคติ ชาติห้ามกันพวกเขาจากทุคติหรือจากครหาไม่ได้
                         บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ
                         แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ฯ
            [๓๐๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์
ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุ
จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์
เป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบวสลสูตรที่ ๗
5  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / มรณัสสติสูตรที่ ๑ Z นำมาให้อ่าน ครับ Z เมื่อ: ตุลาคม 02, 2012, 02:26:53 pm
  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
            อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
            มรณัสสติสูตรที่ ๑
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้างด้วยอิฐ
ใกล้บ้านนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเจริญมรณัสสติหรือ

            เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ได้
ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจ
ให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ

            ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ได้
ตลอดวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ

            ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ชั่วขณะ
ที่ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิกาคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจ
ให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ

            ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ชั่วขณะ
ที่เคี้ยวคำข้าวสี่คำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจ
ให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ

            ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ชั่วขณะ
ที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจ
ให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ

            ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะ
ที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล ฯ

            เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้
ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
            ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง
เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
            ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่ฉัน
บิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
และภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำข้าวสี่
คำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ประมาท เจริญมรณัสสติ
เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายช้า
            ส่วนภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า
            โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน เราพึงมนสิการ
คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ และภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติ
อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออก
แล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญมรณัสสติ
เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแรงกล้า
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาท จักเจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
อย่างแรงกล้า
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๗๑๘๘ - ๗๒๕๔.  หน้าที่  ๓๑๕ - ๓๑๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=7188&Z=7254
            ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=290

6  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / งานมหกรรมพลังงานอีสานใต้ ที่มูลนิธิพัฒนาอีสาน จังหวัดสุรินทร์ 8-9 ตุลาคม 54 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 09:34:24 pm


"อบรมโซล่าร์พึ่งพาตนเอง"
มหกรรมพลังงานอีสานใต้
8-9  ตุลาคม  2554
ศูนย์ฝึกอบรม มูลนิธิพัฒนาอีสาน
 


สำหรับผู้ที่สนใจใช้โซล่าร์พึ่งพาตนเอง  งานนี้อย่าพลาดทีเดียว  รีบจัดเวลาด่วน!!
คุณสามารถจัดเวลาของตนเอง วันที่ 8 ตุลาคม หรือ วันที่ 9 ตุลาคม หรือจะมาทั้ง 2 วัน  เรียนรู้ในสิ่งที่คุณต้องการ  สอนวนชนรอบ  เวลาเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ 10.00 น.ถึง 16.00 น.ทั้งสองวัน
 
 
1. ฐานปรับปรุงแบตเตอรี่ ทุกชนิด แบตรถยนต์ มอเตอร์ไซด์ ยูพีเอส
 
2. ฐานทำไฟโซลาร์ฉุกเฉิน จากแผ่นแตกชำรุด
 
3. ฐานซ่อมแผ่นทุกชนิด ประชาชนที่มีแผ่นไม่มีไฟสามารถนำมาเรียนรู้ แก้ไข ซ่อม ปรับปรุงได้ ข้อแม้ ต้องลงมือทำเอง ทีมงานจะสอนให้
 
4. ฐานระบบสูบน้ำ lowcost ทั้งแบบ ปั๊มกระจกสูบน้ำบาดาล ปั๊มโม่ปูน ปั๊มไดโว่เรือ ปั็ม 2 ใส้ สูบน้ำบาดาลดัดแปลงรุ่นคมศร
 
5. ฐานการดัดแปลงยูพีเอส เป็นเครื่องแปลงไฟฟ้า ทำหลอดไฟฟลูออเรสเซ้นส์ของเดิมให้เป็นอีเลคโทนนิคส์บัลลาตต์ การใช้อแดพเตอร์ของโน๊ตบุ๊คมาทำเป้นเครื่องควบคุมการชาร์จไฟจากโซลาร์ การใช้power supply ของคอมพิวเตอร์มาทำเป้นเครื่องควบคุมการชาร์จแบตเตอรี่ 12 โวลท์ การทำไฟดีซีแรงดันสูงจากแบตเตอรี่รถเด็กเล่นเพื่อใช้งานในสำนักงาน พี่น้องที่มียูพีเอสเก่า หรืออุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น
 เหลิอใช้ ใช้งานไม่ได้ นำมาตรวจซ่อมปรับปรุงได้
 
6. ฐานเด็ก พื้นฐานโซลาร์ แจกฟรี หลอดไฟ แผ่นชาร์จ มอเตอร์ สำหรับเด็กที่มาฝึกปฏิบัติ
 
ชุดโซลาร์รุ่นพระธุดงค์ สำหรับแสงสว่าง ชาร์จมือถือ เตรียมไว้สำหรับถวายพระภิกษุที่อยู่วัดห่างไกล ไม่มีไฟฟ้า
 
ทั้งหมดนี้ใช้ทีมงาน อาสาสมัครประมาณ 20 คน จาก ม. อีสาน จังหวัดขอนแก่น และทีมงานครูสอนหลัก
นอกจากนี้ จะมีสอนทำกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าจากขวดโค้ก ผลิตไฟฟ้าสำหรับพี่น้องที่มีนาไร่อยู่ใกล้แม่น้ำ ลำคลอง จาก ปราชญ์ สปก. พะเยา คุณ ปริดดี วงศ์ใหญ่
 
สิ่งที่คุณต้องจัดเตรียม... หากคุณมีแบตเตอรี่เก่า ให้นำมาด้วย


คุณอาจต้องจ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์เล็กน้อยสำหรับบางฐานที่คุณอยากทำและอยากเอากลับบ้านด้วย
เรามีอาหารจำหน่ายตลอดงาน  คุณสามารถซื้อทานได้
หากคุณต้องการที่พัก กรุณาแจ้งทีมงาน เรามีที่พักราคาประหยัดไว้บริการ
โทร.044 501048 มือถือ 0818791285,  0817251055




7  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฌาน เสื่อมได้ หรือไม่ ถ้าเสื่อม แล้ว ควรทำอย่างไรครับ เมื่อ: มิถุนายน 08, 2011, 06:32:31 pm
ปกติ การฝึกฌาน นั้น ได้ยินว่า ครูอาจารย์ บอกว่า เสื่อมได้ ครับ

ดังนั้นอยากถามเป็นความรู้เผื่อ เพื่อนท่านใด ที่ได้ฌานแล้ว เสื่อม ควรทำอย่างไรต่อไปครับ

ถ้าฌาน เสื่อม แล้วควรทำอย่างไรครับ และ จะให้เวลานานมาก หรือไม่ครับ

มีตัวอย่างในครั้งพุทธกาล ที่ฌาน เสื่อมให้อ่านเป็น อุทาหรณ์ บ้างหรือไม่ครับ

 :c017:
8  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / การบรรลุธรรมแบบ ฉับพลันนั้น มีข้อความในพระไตรปิฏก อธิบายไว้บ้างไหมครับ เมื่อ: มีนาคม 31, 2010, 07:11:42 pm
ปีนี้ผมก็รู้ตัวว่าแก่ มากเพราะหลัก 7 ขึ้นแล้ว

แต่ปัญหาในเรื่องหลักธรรม เกี่ยวกับการบรรลุธรรม ของพระอรหันต์ แบบฉับพลันนั้น ก็เป็นที่ติดสงสัยผมอยู่มาก
เพราะเท่าที่ผมศึกษา หรือ ค้นคว้าดูเกี่ยวการบรรลุฉับพลันนั้น ปรากฏว่าบางรูป ไม่ได้ทำอะไรเลยในชาตินี้ แต่พอบรรลุธรรม ก็ได้ ปฏิสัมภิทา อีกต่างหาก เช่น พระจูฬปันถก เป็นต้น

มีข้อความในพระไตรปิฏก เกี่ยวกับการภาวนา แบบบรรลุฉับพลัน ไว้อย่างไรครับ

( ที่ถามในนี้ไม่ใช่ ว่าจะขี้เกียจภาวนา นะครับ แต่พอจะมีหลักปฎิบัติ ที่เข้าใจง่าย ๆ ที่จะเอื้อเฟื้อการบรรลุแบบฉับพลันหรือป่าวครับ )
9  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปรึกษาผู้รู้เรื่องการปฏิบัติ สมาธิ ครับ เมื่อ: มีนาคม 10, 2010, 11:26:53 am
ผมได้เริ่ม ปฏิบัติธรรม นั่งกรรมฐานจริง ๆ จัง ๆ มาตั้งแต่ อายุ 16 ปี ปัจจุบัน 75 ปีแล้ว
ก็อย่าได้หัวเราะในการเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่เนิ่้นช้าเลยนะครับ

โดยเฉพาะผม ศรัทธาพระก็ไม่กี่รูปครับ เป็นไปตามลำดับครับ ที่ผมเริ่มศึกษาปฏิบัติธรรม
1.พระอาจารย์พุทธทาส ผมรู้จักท่านครั้งแรกในหนังสือชื่อว่า คู่มือมนุษย์
2.พระอาจารย์ปัญญานันทะ ผมรู้จักท่านครั้งแรกตอนฟังปาฐกถาธรรมในวิทยุวันอาทิตย์
3.พระอาจารย์พุธ ผมรู้จักท่านครั้งแรกที่วัดบวรนิเวศน์
4.พระอาจารย์มั่น ผมรู้จักแต่ประวัติครับเนื่องด้วยพระอาจารย์พุธ
5.หลวงปู่สุก ผมรู้จักนับถือจากพระอาจารย์สนธยา
======================================================

ผมขอเล่าการปฏิบัติ ตามลำดับครับ
1.ผมเองชอบการภาวนาโดย ใช้ภาวนา พุทโธ ครับเพราะตั้งแต่อายุ 16 ปีมานั้่นที่โรงเรียน พระท่านสอนมาอย่างนี้ ก็ยังทำได้ไม่ดี
2.พอรู้จักสวนโมกขพลาราม แล้วผมไปบ่อยมากครับ ช่วงนี้ก็หันมาปฏิบัติภาวนาด้วย อานาปานสติ ตามหนังสือปกดำครับ ก็พยายามอยู่แต่ก็ได้ผลความสงบนิ่ง และออกอารมณ์พิจารณามาก ๆ
3.พอรู้จัก หลวงพ่อพุธ ผมก็หันกลับมาภาวนา พุทโธ อีกครั้งก็รู้สึกดีขึ้นแต่ก้ไม่สามารถทรงอารณ์ไว้ได้นานครับ ออกจะขี้เกียจเพราะเชิงปัญญา มากมาก่อน แต่ก็มีความสงสัยกับเรื่องการรวมศูนย์จิต พยายามทำความเข้าใจอยู่นาน ก็ยังไม่รู้คำตอบ ช่วงนี้ได้ไปศึกษา กับ สถาบันพลังจิตตานุภาพ ที่วัดธรรมมงคลด้วย
4.พอได้รู้จัก หลวงปู่สุก และได้เรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  แล้วตอนแรกก็ไม่รู้สึกพิศดาร แต่พอเริ่มกำหนดจิตตามที่พระอาจารย์ สอนแล้วรู้สึกว่า ทำกรรมฐานได้ดีขึ้น เมื่อก่่อนภาวนา 30 นาทีผมก็เลิกแล้วตอนนี้ภาวนาเกิน 3 ชั่วมงแล้ว ผมเข้าใจเรื่องการรวมศูนย์จิต ที่แท้ก็ง่าย ๆ อย่างนี้นี่เอง แต่พระอาจารย์มักจะเตือนผมอยู่เรื่อย เรื่องการติดนิ่ง คือหยุดภาวนา
============================================
คำถาม ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ
1.การติดนิ่ง นี่ไม่ดีใช่ไหมครับ ? คืออาการไม่กำหนดอะไร ? ปล่อยนิ่งแช่อยู่อย่างนั้น ไม่มีความคิด มีแต่รู้สึกว่านิ่ง บางครั้งเคลิ้ม ๆ เหมือนจะหลับ
2.การที่เรามีความรู้สึก วูบ ๆ เหมือนจะนอนหลับ เหมือนตกเหว แล้วรู้สึกตัวขึ้นมาอาการอย่างนี้ เรียกว่าอะไรครับ ?
3.บางท่านกล่าวว่าปล่อยจิต วูป ๆ บ่อย ๆ แล้วจะเป็นสมาธิ นี้จริงหรือป่าวครับ ?

 :25: ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
10  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทุกที่เป็นที่ปฏิบัติธรรม แต่........ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 05:19:14 pm
ทุกที่ เป็นที่ปฏิบัติธรรม ครับ

ความหมายนี้โดยรวม ก็หมายความว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ทีไหน ที่นั้นก็ปฏิบัตธรรมได้ ภาวนาได้ แม้การอุจจาระ ปัสสาวะ ก็ยังภาวนาได้ มีข้อความรับรองในมหาสติปัฏฐานสูตร ครับ

คำตอบ นี้ต้องยกนิ้วให้กับผู้ที่มีการภาวนามาแล้ว พอสมควร เพราะความเป็นจริงคุณนั่งอุจจาระ คุณจะนึกอย่างไร ? ภาวนาอย่างไร ? แบบใด ? คุณอาจจะตอบตรงนี้ได้ร้อยแปด พันประการ แต่คุณละสังโยชน์คือกิเลส ได้อย่างไร ?

ดังนั้น คำพูดที่ว่า ทุกที่เป็นที่ปฏิบัตธรรม แต่ ทุกที่นั้นท่านจะภาวนาอย่างไร ?
ทันสถานการณ์ไหม ?

ดังนั้นการมีสถานที่ปฏิบัติธรรม นั้นต้องมีครู พระอาจารย์ มาสอนคอยชี้แนะ
ผมรู้จัก สถานที่ปฏิบัติธรรมหลายที่ โดยเฉพาะ สระบุรี นั้น ผมไปสนับสนุนมา และ ไปร่วมปฏิบัติธรรมด้วยแต่พอสถานที่นั้น พระอาจารย์ทีสอนไม่อยู่ หรือ ล้มหาย มรณะภาพ จากกันไป สถานที่นั้่นก็ไม่ค่อยมีใคร หรือไม่มีใครไปอีกเลย กลายเป็นวัดร้าง สำนักสงฆ์ร้าง เพราะอะไร ? เพราะผู้ปฏิบัติต้องการ ผู้สอนและคอยแนะนำผู้ปฏิบัติ ดังนั้นถ้าสถานที่นั้นไม่มีผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติ อยู่ ก็จะไม่มีใครไป

ผมเองตั้งใจ ถวายที่ดินส่วนตัว ให้กับพระอาจารย์ แต่ท่านก็ปฏิเสธ ด้วยเหตุผลที่ว่ามีสถานที่อยู่มากมายที่เป็นที่ปฏิบัติภาวนา อีกอย่างท่านบอกว่าไม่ต้องการที่จะมาสร้าง หรือ ทำให้เป็นสถานที่ปฏิบัติที่มีอยู่แค่ช่วงท่านอยู่เท่านั้น ให้ผมรอก่อน ผมก็รอ แต่ผมจะรอได้ขนาดไหน ผมอายุ 75 ปีแล้ว ตั้งแต่ผมถวายที่ิดินให้พระมาไม่มีรูปไหนปฏิเสธ มีรูปนี้แหละที่ปฏิเสธ ทั้งที่ที่ดินที่ผมถวายนั้นมีราคามาก ๆ ในเขตนครนายก แม้การถวายของผมนั้นให้เป็นสิืทธิส่วนบุคคล ไม่ใช่เป็นของวัด หรือ สำนัก ท่านก็ยังไม่เอา แปลกดีเหมือนกัน นี่เป็นประสพการณ์ ส่วนตัวของผมกับพระอาจารย์
============================================================

ผมเชื่อว่าที่วัดแก่งขนุนตอนนี้ ช่วงที่พระอาจารย์ไม่อยู่นั้น ศาลาคงจะเงียบเหงาเป็นอย่างมาก เพราะผมไปมาวันที่ 1 มีนาคม 2553 ผมก็เห็นแต่ประกาศติดไว้หน้าศาลา ส่วนศาลานั้นไม่เปิดครับ ผมนั่งอยู่หน้าศาลาประมาณ 30 นาทีจึงเดินทางกลับ

11  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ขอประวัติวันสงกรานต์ ด้วยครับ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 04:02:24 pm
ผมเอง อยากรู้ประวัติวันสงกรานต์ บ้างครับ คุณณฐพลสรรค์

ว่าจะไปทำบุญที่วัดแก่งขนุน สักหน่อย ช่วงสงกรานต์
======================================

ขอบคุณครับ
หน้า: [1]