ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - arlogo
หน้า: [1] 2 3 ... 26
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จะรักษาแก่นได้ เปลือก กับ กระพี้ ต้องมีอยู่ ต้นไม้ถึงจะรอด เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2017, 10:01:22 am
ต้นไม้ ไม่ได้อยู่ด้วยแก่นอย่างเดียว
ต้นไม้ จะอยู่ได้ ต้องมีเปลือก และ กระพี้ อยู่ด้วย
ต้นไม้ ที่ไม่มีเปลือก ไม่มีกระพี้ คือต้นไม้ที่ถูกเขาตัดทำลายแล้ว
ดังนั้น ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า แม้มุ่งโลกุตตระ ก็ใช่ ว่า โลกียะนั้นไม่สำคัญ ดังนั้นข้อความธรรม พื้นฐานการเป็นมุนษย์ จึงมีอยู่ในคำสอน
ซึ่งพระพุทธเจ้า พระองค์ ก็จะสอนไปตามลำดับ ตั้งแต่ ทาน สีล สัคคะ อาทีนวะ เนกขัมมะ อย่างนี้เสมอ ๆ
ท่านที่เริ่มศึกษาใหม่ ไม่เข้าใจก็ควรจะเริ่ม จาก ทาน ไปก่อน เมื่อสร้างทาน ดีแล้วเข้าใจ ก็ค่อยเขยิบ ขึ้นมาตาม ฐานะและสาระ ที่ทำได้อยากสุด คือ เนกขัมมะ เพราะ เนกขัมมะ นั้น คือการบรรลุธรรม ด้วย มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนา อันใคร ๆ ผู้ที่ได้ พัฒนาตน ตาม มรรค มีองค์ 8 พร้อม ทั้งทำความเข้าใจ ใน อริยสัจจะ 4 แล้ว ย่อมสามารถไปได้
หลักคำสอนของศาสนาพุทธ จึงไม่ต้องเรียนมากมาย ถ้าต้องการภาวนา จริง ๆ


อนุปุพพิกถา หมายถึง เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังธรรมชั้นสูง คือ อริยสัจ มี ๕ ประการ คือ

๑. ทานกถา กล่าวคือทาน หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการให้ทานและอานิสงส์ของการให้ทาน ว่าเป็นเหตุให้ได้รับความสุข เพราะผู้รู้จักให้เป็นที่รักใคร่ของคนหมู่มาก เป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง เป็นหลักประกันของชีวิตในเวลาจะสิ้นใจเป็นต้น

๒. สีลกถา กล่าวคือศีล หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการรักษาศีลและอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้มีศีล ย่อมไม่ประสบความเดือดร้อนเนื้อร้อนใจจากที่ไหนๆ เพราะมีศีลเป็นเหมือนอาภรณ์อย่างประเสริฐ เป็นหลักประกันในการได้สมบัติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นต้น

๓.  สัคคกถา กล่าวคือสวรรค์ หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องสวรรค์ว่า เป็นที่อันเพรียบพร้อมด้วยกามสุขอันเป็นทิพย์มีแต่สิ่งที่น่ารื่นเริงบันเทิงเริงใจ เป็นผลที่ได้รับจากการให้ทาน รักษาศีล เป้นต้น

๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม หมายถึง การพรรณนาโทษเรื่องของกามว่า แม้จะเป็นความสุข แต่ก็มีความทุกข์เจือปน ไม่มีความจีรังยังยืน มีโทษมากแต่คุณน้อย เพราะเป็นเหตุให้เวียนวายอยู่ในสังสารวัฏ เป็นต้น

๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม หมายถึง การพรรณนาถึงการออกจากกามและอานิสงส์ว่าเป็นความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน เพื่อให้เกิดความพอใจที่จะคิดค้นหาวิธีการทำใจไม่ให้หมกมุ่นในกามนั้น วิธีการออกจากกามให้ได้ผลดีก็คือการออกบวชบำเพ็ญเพียร
2  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 39 ( 30 ส.ค. 59 ) เมื่อ: สิงหาคม 30, 2016, 09:46:44 am


ไม่มีเวลาพิมพ์ เอาไฟล์เสียงก็แล้วกัน ยกประโยขน์ให้คนชอบฟัง



 ;)

สัพเพ สัตตา
- สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น ,
เราอุทิศบุญกุศลของเราให้หมดด้วยกัน

อะเวรา
- จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย

อัพ๎ยาปัชฌา
- จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา
- จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
- จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ , รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด


3  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามที่ไม่มี คำตอบ มันก็มีอยู่ ไม่ใช่ถามมาแล้วต้องตอบ เป็นสิทธิ์ของผู้ตอบ เมื่อ: สิงหาคม 22, 2016, 01:52:47 pm
คำถาม นั้นถามได้ แต่ทุกคำถาม ถึงตอบได้ก็ใช่ว่าจะต้องตอบต้องพิจารณาถึงฐานะผู้ที่จะรับคำตอบด้วย เพราะคำตอบ ๆ ออกไปแล้ว ไม่มีฐานะที่จะเข้าใจ ก็ไม่มีทางเข้าใจ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงนั้น มีส่วนสองอย่าง 3 อย่างคือ
1.พยัญชนะ คืออักษรข้อความ ที่ปรากฏสื่อถึงใคร ๆ เป็นผู้สมควร พระไตรปิฏกทั้งเล่มไม่ใช่ ใครๆ ทุกคนก็จะอ่านได้และเข้าใจได้ทั้งหมด
2.อรรถะ คือ ความหมายของพยัญชนะ ที่ต้องอธิบายแต่ก็มีจำกัดอีก เพราะข้อธรรมบางอย่าง อาศัยแค่ ญาณ เกินขอบเขตที่อธิบาย
3.ญาณทัศนะ อันนี้ตรงเลย คือการมองเห็นตามสภาวะความเป็นจริงในธรรมนั้น และสภาวะนั้นอย่างชัดแจ้ง

ดังนั้นใช่ว่า ท่านถามกันมาแล้วฉันจะต้องตอบ ถ้าฉันพิจารณาแล้ว เป็นญาณทัศศนะ ก็ไม่ควรจะต้องเพราะตอบไปก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าใช้แต่เพียงแต่สมองคือสัญญา และ สังขาร เป็นตัวถาม ไม่ได้จิตวิญญาณเป็นตัวถาม

ถ้าใช้แค่สมอง ถามก็เป็นแค่ความพอใจ และ ความพอใจ ไมีมีเรื่องสิ้นสุดในคำตอบนั้น ๆ

เจริญธรรม / เจริญพร


4  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 33 ( 22 ก.ค. 59 ) เมื่อ: สิงหาคม 22, 2016, 10:42:02 am


ต้องขอบอกว่า อันนี้ต้องขอบคุณในสายธรรมเก่า ที่อบรมสั่งสอนมาให้รู้จัก ที่ต่ำ(นรก) ที่สูง(สวรรค์)เพราะความเคารพเป็นคุณธรรมของมนุษย์ขั้นพื้นฐาน ความเคารพยอดเยี่ยม ที่แม้แต่ผู้ยอดเยี่ยมที่สดของที่สุด ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังให้ความเคารพ  และแม้แต่พระพุทธเจ้าในสมัยต่อ ๆ ไปด้วยก็ให้ความเคารพนั่นก็คือ พระธรรม และไม่ว่าสมัยนั้นต่อไปอย่างไร ธรรมเนียมนี้ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น เป็นเช่นนั้นเอง

ที่นี้ประโยคสำคัญ ก็คือ สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ  พึงเคารพพระสัทธรรม

ปัญหาวินิจฉัยต่อไป ก็คือ พระสัทธรรม คือ อะไร ?
คำตอบสั้น ๆ และก็ไม่ผิด นั่นก็คื มรรค 4 ผล 4 และ นิพพาน 1

มรรค 4 คือ อะไร
 1. วิธีปฏิบัติ (หนทาง)ไปสู่ ความเป็นพระโสดาบัน
 2. วิธีปฏิบัติ (หนทาง)ไปสู่ ความเป็นพระสกทาคามี
 3. วิธีปฏิบัติ (หนทาง)ไปสู่ ความเป็นพระอนาคามี
 4. วิธีปฏิบัติ (หนทาง)ไปสู่ ความเป็นพระอรหันต์

ผล 4 คือ อะไร
 1. ความประจักษ์ธรรมละสังโยชน์ 3 เป็นพระโสดาบัน
 2. ความประจักษ์ธรรมละสังโยชนื 3 และ สังโยชน์ 4 - 5 ได้อย่างมาก (วัดไม่ได้ว่ามากขนาดไหน )
 3. ความประจักษ์ธรรมและโอรัมภาคิยะสังโยชน์ 5 ประการ
 4. ความประจักษ์ธรรม และ สังโยชน์ที่เหลืออยู่ อีก 5 ประการให้หมดไป (รวมเป็น 10 )

นิพพาน คือ อะไร
   บาลีประโยคเดียว นิพานานัง ปรมัง สุขัง นิพพาน เป็น บรมสุข ( คำว่า บรม ไม่มีอะไรยิ่งกว่าแล้ว )
   นิพพาน แปลว่า ความสุข ไม่ใช่แปลว่า ดับกิเลส

การดับกิเลส คือ อริยผล พระอรหันต์ท่านดับกิเลส 10 ประการแล้วอย่างสมุทเฉท แต่ก็ยังไม่เรียกว่า นิพพาน แต่ก็นับว่าเป้นความหมายหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ที่ จะ นิพพาน

  แล้วทำไมต้องให้ความเคารพ ด้วย เพราะ นิพพาน เป็นเป้าหมายสูงสุด ของผู้ประพฤติธรรม แต่ระยะทางที่จะไปสู่เป้าหมาย ก็ต้องผ่านลำดับของสภาวะธรรมที่มี นิพพาน เป็นเป้าหมาย จะกล่าวว่า

  พระโสดาบัน ดับกิเลส แล้วมีส่วนเหลืออยู่ ชื่อว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ได้ ก็เป็น นิพพาน ระดับที่ 1 ถ้าพูดอย่างนี้ก็ไม่ผิด แต่ไม่ถูกความหมายแต่ก็ใช้ได้ เพราะก็ยังอยู่ในความหมาย

   ส่วนพระอรหันต์ ชื่อว่า อนุปาทิเสส ดับกิเลสไม่มีส่วนเหลือแล้ว ก็ใช่ เพราสังโยชน์ ทั้ง 10 ประการสิ้นหมดแล้ว ก็ได้แต่ก็ไม่ถูกความหมาย เป็นการอธิบายให้ผู้เข้าใจธรรมและภาวนาได้รู้มรรค และ ประจักษ์ของตนในขณะนั้นเท่านั้น

ดังนั้นผู้เจริญธรรม ที่ยังไม่ได้ มรรค 1 ผล 1 นั้นพึงทำสังวรไว้ว่า

 อธรรม ( อกุศล ) ย่อมนำพาไปสู่นรก
 ธรรม ( กุศล ) ย่อมนำพาไปสู่สุคติ
 เพราะผลของสภาวะธรรม ที่จำแนกมีผลไม่เหมือนแม้ใช้ชื่อรวม ว่า สภาวะธรรม เช่นกัน ตามสภาวะ ดังนั้นพระพุทธจึงได้แยก ให้เห็นชัดจากธรรมสภาวะ ว่า ธรรมที่เป็น กุศล กับ ธรรม ที่เป็น อกุศล อย่างนี้เพ่ื่อให้เราท่านทั้งหลายได้ทราบและพึงระวังสังวร อธรรม ( อกุศล ) ให้มากขึ้น

ที่นีสำหรับบุคคลทั่วไป เมื่อแยกแยะว่า อะไรดี อะไรชั่ว สิ่งสำคัญที่สุด คือเสมอต้นเสมอปลาย นั่นคือการรักษาความดี ถ้าเรารักษาความดี ได้เห็นธรรมในความดี เราต้องรักษาและธรรมก็จะรักษาเรา ให้มีจิตไม่เป็นทุกข์ในเบื้องต้น และถึง บรมสุข ( นิพพาน ) ในเบื้องปลาย

ผู้ประพฤติย่อมนำความสุขมาสู่ตนด้วยการเจริญธรรม ภาวนาตามฐานะที่ควรอยู่ในปัจจุบัน เวลาภาวนาแต่ละท่านก็ไม่ใช่จะเหมือนกัน บางท่านยังไม่เข้าใจหลักธรรม บางท่านก็เป็นโคตรภูบุคคลแล้ว ด้วนั้นเวลาเรียนธรรมต้องจำแนกธรรมให้เหมาะสมกับตน เพื่อความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายสูงสุด นั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร




( ภาพนี้สื่อความหมายพระอริยะสงฆ์ในครั้งพุทธกาล ภาพอย่างนี้เป็นไปไม่ได้เลยในปัจจุบัน ที่จะเห็นพระอริยะสงฆ์จำนวนมาก อย่างนี้  อุคติตัญญู จำนวนมากถ้ามีที่ไหน ที่นั้นรมเย็น )



เย จะ อะตีตา สัมพุทธา เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ พะหุนนัง โสกะนาสะโน
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย,
และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย

สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน วิหะริงสุ วิหาติ จะ,
อะถาปิ วิหะริสสันติ เอสา พุทธานะ ธัมมะตา
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นทุกพระองค์เคารพพระธรรม,ได้เป็นมาแล้วด้วย,
กำลังเป็นอยู่ด้วย, และจักเป็นด้วย, เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง

ตัส๎มา หิ อัตตะกาเมนะ มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ สะรัง พุทธานะ สาสะนัง
เพราะฉะนั้น, บุคคลผู้รักตน, หวังอยู่เฉพาะคุณเบื้องสูง,
เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่, จงทำความเคารพพระธรรม

นะ หิ ธัมโม อะธัมโม จะ อุโภ สะมะวิปากิโน
ธรรมและอธรรมจะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่างหามิได้
อะธัมโม นิระยัง เนติ ธัมโม ปาเปติ สุคะติง
อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ

ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง
ธรรมแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิตย์
ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ตน

เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณ
นี่เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ข้อความสนทนา ทางเฟค ของ dhammawangso ( 2 ) เมื่อ: สิงหาคม 22, 2016, 09:57:24 am
6  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 20 ( 8 ส.ค. 59 ) เมื่อ: สิงหาคม 08, 2016, 11:05:24 am


มาทำความเข้าใจกับพุทธานุสสติ กันสักเล็กน้อย
ถ้าไม่ทำความเข้าใจ ภาวนา พุทโธ จะก้าวหน้าได้อย่างไร





พุทธานุสสติ กรรมฐาน ไม่ใช่กรรมฐาน ฝ่ายสมถะ อย่างที่หลายท่านเข้าใจ แต่ พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐาน ในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ไม่กี่กรรมฐาน ทีเกิดเพราะมีพระพุทธศาสนา คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ อุปสมานุสสติ  4 กรรมฐานนี้ เป็นกรรมฐานเพราะมีพระพุทธศาสนา นะจ๊ะ

  ดังนั้น พระพุทธานุสสติ กรรมฐาน ไม่ได้เป็นฝ่ายสมถะประการเดียว ในทางพระอภิธรรมระบุไว้ชัดเจนว่า
 
  ผู้ฝึกพระพุทธานุุสสติกรรมฐาน ได้ผล 3 ประการ
 
    1.ได้อุคคหนิมิต พุทธะ
    2.ได้สำเร็จอุปจาระฌาน ฝ่าย พุทธะ
    3. ได้สำเร็จพระโสดาบัน
   
   ดังนั้นขอท่านทั้งหลาย อย่าได้ประมาท และ อย่าได้ละเลย วิธีการฝึก ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แบ่งไว้เป็น 3 ห้อง ทุกห้องมีวิปัสสนาในตัว

    เริ่มตั้งแต่ พระธรรมปีติ 5 ประการ    พระยุคลธรรม 6 คู่ หรือ 12 ประการ และ พระสุขสมาธิ อำนาจอุปจารฌาณขั้นเต็ม

   ขอท่านทั้งหลาย ตั้งใจฝึกตามขึ้นตอนของพระกรรมฐานเถิด

การเจริญสติ มี อยู่ 2 แบบ โดยรวม นะจ๊ะ

 1.การเจริญสติ เพื่อประคับ ประคองชีวิต ให้มีชีวิตอยู่ในประจำวันเช่น การเดิน นั่ง นอน ยืน เดิน และ อิริยาบถย่อย ทั้งหมดนี้ต้องประคองด้วย สติ เพราะหากขาด สติ ย่อมทำให้ชีวิต ขัดสน ยุ่งยาก และ เป็นทุกข์ อันตราย

 2.การเจริญสติ เพื่อ การตรัสรู้ตามพระสุคต การเจริญสติ อย่างนี้ เริ่มตั้งแต่ สติ เป้น สมาธิ สมาธิ เป็น ญาณ จนไปถึง นิพพาน

  จักวินิจฉัย ในการภาวนา พุทธานุสสติ
  การเจริญ สติ ทั้งสองแบบนั้นมีความจำเป็น ด้วยเหตุปัจจัยต่างกัน สำหรับผู้ฝึกสติ แบบที่ 1 ในการภาวนานั้น พระพุทธานุสสติ นั้น ควรระลึกถึงพระพุทธเจ้า ด้วยการเจริญธรรม คือ คุณเครื่อง ความหมายของการเป็นพระพุทธเจ้า ผลที่ ได้ก็คือ ความมั่นคง เลื่อมใส ศรัทธา ซึ่งมีผล สนับสนุน ศีล สมาธิ ปัญญา
 
   การระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า อย่างนี้ ก็ มีดีหลายประการนะจ๊ะ แต่มีผลเสียอยู่บ้าง ดังนั้นที่อาตมาเคยประสบมาแล้ว ถึงกับครูอาจารย์ต้องมาปรับแก้ ให้ด้วยการคัดลายมือ คำว่า พุทโธ ใส่สมุด ฟูลสแกรป 7 เล่ม เพราะเมื่อจิต ภาวนา พุทโธ ไม่เป็นคำว่า พุทโธ เป็นแต่คำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สตินั้นไม่ได้นำเป็น สมาธิ แต่ นำไปเป็นปัญญาและ ก็เกาะกับคำนี้ทำให้เกิดการปรุงแต่งธรรม ฟังแล้วเหมือนดี แต่ไมดีนะจ๊ะ

   เพราะตราบใด ที่สติ เราปรุงแต่ง ก็จะอยู่ภายใต้ กฏของ อวิชชา จึงไม่พ้นจากลูป เพราะเนื่องจากเรายังไม่เป็นพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน การปรุงแต่งทางจิต ย่อมมีมากตามประสาปุถุชน
   
   ดังนั้นการภาวนาพุทโธ ด้วยสติแบบที่ หนึ่ง พึ่งใช้ โยนิโสมนสิการ คือกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยพระพุทธคุณ ใด พระพุทธคุณ หนึ่ง เสียก่อน ก่อนที่จะ ระลึกไปทั้งหมด ต้องเป็นไปตามลำดับดับ นะจ๊ะ

   การเจริญสติ พระพุทธานุสสติ แบบที่ 2 แบบเป็นสมาธิ ผู้ภาวนาพึงยกตั้ง ฐานจิตใด จิตหนึ่ง และ ภาวนาบริกรรมนิมิต ในฐานนั้น ด้วยพระพุทธคุณใด พระพุทธคุณหนึ่ง สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับจะใช้ อยู่ 2  พระพุทธคุณ เบื้องต้นให้ใช้ พุทโธ เบื้องกลางให้ใช้ สัมมาอรหัง และ เบื้องปลายที่สุดให้ใช้ อรหัง

   ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณา การระลึกถึงพระพุทธคุณ ไว้เนือง ๆ เพราะเป็นกรรมฐานที่ดีที่สุด ในกองกรรมฐาน ทั้งปวง เพราะพระพุทธคุณเมื่อเราภาวนาจนถึงที่สุด ก็จักถึงการบรรลุคุณธรรมเบื้องต่ำที่ พระโสดาบัน นะจ๊ะ

"ทำไม  กรรมฐาน มัชฌิมา ต้องเริ่มที่ พุทธานุสสติ ทำไมไม่เริ่มที่ เมตตานุสติ หรือ  อนุสสติ  อื่น ๆ แต่กลับไปเรียน อนุสสติ 7 หลัง อานาปานสติ "

เพราะพระพุทธานุสสติ นั้นเป็นกรรมฐานที่เข้าถึง พระพุทธเจ้า ได้ง่ายที่สุด การที่เราจะเรียนธรรมในพระพุทธศาสนาได้นั้น ต้องประกาศตนเองก่อนว่าเป็นผู้นับถือพระรัตนตรัย ด้วยการกล่าวคำว่า




    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก

  เป็นต้น ดังนั้นกรรมฐานที่สนับสนุนให้เรา ละวิจิกิจฉา สังโยชน์ได้เร็วยิ่งขึ้นก็คือ พระพุทธานุุสสติกรรมฐาน

   ที่นี้คำถาม ๆ ว่า ทำไมไม่เริ่มที่เมตตากรรมฐาน ก็ขอตอบว่า เมตตากรรมฐานนั้นเป็นอุปนิสัยของ มนุษย์ชาวธรรมที่ปฏิบัติภาวนาอยู่แล้ว จึงไม่ต้องไปกล่าวส่วนนั้น เพราะเมื่อปฏิบัติ พระพุทธานุสสติกรรมฐานอยู่นั้น กรรมฐานที่ต้องแล่นคู่กันไปมีหลายกรรมฐาน นะจ๊ะ เพียงแต่รูปแบบกรรมฐานหลักยังต้องเป็น พระพุทธานุสสติกรรมฐาน

   ส่วนอนุสสติ 7 ที่เหลือนั้นต้องอาศัยกำลังสมาธิขั้น อุปจาระ ขึ้นไปถึงจะปฏิบัติได้ เช่น อุปสมานุุสสติ นั้นปรากฏชัดแจ้งที่ พรอริยะบุคคลขั้น พระสกทาคามี ซึ่งเป็นผู้ปฏบัติตรงต่อพระนิพพาน เป็นต้น

   ดังนั้นลำดับการเรียนกรรมฐาน ในพระพุทธานุสสติกรรมฐาน ในแนวทาง กรรมฐาน มัชฌิมา  แบบลำดับจึงปรากฏ ลำดับดังนี้

   1.พระธรรมปีิติ พระลักษณะ พระรัศมี
   2.พระยุคลธรรม 6 พระลักษณะ พระรัศมี
   3.พระสุขสมาธิ พระสุขสมาธิ สนับสนุน อานาปานสติ

  จากนั้นจึงขึ้นเรียนเอา พระอานาปานสติ ตั้ง อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต อีก  เพื่อยังอัปปนาสมาธิ อันประกอบด้วยปัญญา คือ สติปัฏฐาน
   
  อันที่จริง ถ้าเอาแค่ห้องที่ 4 คือพระอานาปานสติจริง ๆ ก็จบหลักสูตรทางพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะอานาปานสติ เป็น สติปัฏฐาน ด้วยขึ้นอยู่ ครูผู้สอนจะสอน อานาปานสติ ถึงตรงไหน ? อันนี้ขึ้นอยู่กับครู และ ความมุ่งมั่นของศิษย์ เพราะบางท่านไม่ได้เรียน ฝึกเอามรรค เอาผล เพียงฝึกต้องการฤทธิ์ ซะก็มี บางท่านก็ฝึก เพื่อสุขภาพ กาย และจิต เป็นต้น

กรรมฐานในทุกกองกรรมฐาน กรรมฐานที่มีอานุภาพมากที่สุด แม้เพียงบริกรรม ก็มีบารมีแล้วก็คือ พระพุทธานนุสสติกรรมฐาน   เพราะเป็นกรรมฐานที่เป็นใหญ่ ในกรรมฐานทั้งปวง จักเจริญมาก หรือ เจริญน้อย ก็ต้องเจริญทุกคนที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธานุสสติ เป็น ธรรมสภาวะ ที่ควรเข้าถึงก่อนเป็นอันดับแรก

หากท่านทั้งหลายไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อคำสั่งสอน หรือพระธรรมอันพระสุคตแสดงไว้แล้ว จักพอกพูน ธรรมสภาวะไม่ได้ เพราะพุทธบารมี ยังมีถึงในปัจจุบัน  การเข้าถึงพระพุทธานุสสติ มีตั้งแต่การกราบ การไหว้ การนับถือ การบริกรรม การเข้าถึงธรรมสภาวะ

ดังนั้นพระพุทธานุสสติ จัดเป็นอารักขกรรมฐาน อันพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน พึงเข้าถึงได้ การจะเข้าถึง พระพุทธานุสสติ ก็ต้องด้วยการปฏิบัติบูชา ด้วยนะจ๊ะ  ดำเนินจิตด้วยอานาปานสติ โดยปราศจากความเคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โอกาสสำเร็จเป็นไปไ้ด้ยาก นะจ๊ะ ดังนั้นควรกระทำ พระพุทธานุสสติให้มั่นคง ไปด้วยจักดีกว่าเจริญ อานาปานสติโดยส่วนเดียว



พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. มหานามสูตร

             [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล  ทราบชัดพระศาสนาแล้วย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหนเป็นส่วนมาก พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวกในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม

ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆสมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรมย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติเมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังมีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญพุทธานุสสติ ฯ

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=6756
             
---------------------------------------

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อาหุเนยยวรรคที่ ๑

(ขอยกเอาบางส่วนของอรรถกถามาแสดงดังนี้)
 
ในบททั้งปวง พึงทราบความโดยนัยนี้.
               เจ้าศากยมหานามะทูลถามถึงวิหารธรรม เป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ด้วยประการดังพรรณานามาฉะนี้. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสวิหารธรรมเป็นที่อาศัย ของพระโสดาบันนั่นแหละ แก่ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้.
               ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอันตรัสถึงพระโสดาบันอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนี้แล.

               จบอรรถกถามหานามสูตรที่ ๑๐               

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=281
---------------------------------------

พุทธานุสสติกรรมฐาน จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ สมาธินิเทศ

(ต่อไปนี้เป็นข้อความช่วงต้นบางส่วน)
สิริเป็นอนุสสติ ๑๐ ประการด้วยกัน แต่จักสำแดงพิสดารในพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นก่อน   
พุทฺธานุสฺสติ ภาเวตุกาเมน   พระโยคาพจรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะจำเริญพระกรรมฐานนี้พึงกระทำจิตให้ประกอบ ด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในพระพุทธคุณเสพเสนาสนะที่สงัดสมควรแล้ว
พึงนั่งบัลลังก์สมาธิตั้งกายให้ตรงแล้ว
พึงรำลึกตรึกถึงพระคุณแห่งสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ด้วยบทว่า

อิติปิโส ภควา ฯลฯ พุทฺโธ ภควาติ   

มิฉะนั้นจะระลึกว่า
โส ภควา อิติปิ อรหํ โส ภควา
อิติปิ สมฺมาสมฺพุทฺโธ โส ภควา
อิติปิ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส ภควา
อิติปิ สุคโต โส ภควา
อิติปิ โลกวิทู โส ภควา
อิติปิ อนุตฺตโร โส ภควา
อิติปิ ปุริสทมฺมสารถิ โส ภควา
อิติปิ สตฺถาเทวมนฺสฺสานํ โส ภควา
อิติปิ พุทฺโธ ภควา อิติปิ ภควา   ดังนี้ก็ได้

มิฉะนั้นจะระลึกแค่บทใดบทหนึ่ง เป็นต้นว่า อรหัง นั้นก็ได้

อรรถาธิบายในบทอรหังนั้นว่า   โส ภควา   อันว่าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น   
อรหํ   ทรงพระนามชื่อว่าอรหัง ด้วยอรรถว่าพระองค์ไกลจากข้าศึกคือกิเลส นัยหนึ่งว่าพระองค์หักเสียซึ่งกำกงแห่งสังสารจักรจึงทรงพระนามชื่อว่า   อรหัง   

นัยหนึ่งว่าพระองค์ควรจะรับซึ่งจตุปัจจัยทั้ง ๔ มีจีวรเป็นอาทิแลสักการบูชาวิเศษแห่งสัตว์โลก จึงทรงพระนามชื่อว่าอรหัง

นัยหนึ่งว่าพระองค์มิได้กระทำบาปในที่ลับจึงทรงพระนามชื่อว่าอรหัง แท้จริงสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์นั้นสถิตอยู่ในที่อันไกลเสียยิ่งนักจาก กิเลสธรรมทั้งปวง

นัยหนึ่ง พุทโธ ศัพท์นี้รวมไว้ซึ่งอรรถถึง ๑๕ ประการ คือ   
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้ซึ่งพระจตุราริยสัจ ๔ ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ายังสัตว์โลกอันมีบารมีสมควรจะตรัสรู้ให้ให้ตรัสรู้พระอริยสัจจธรรมประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณคือสัพพัญญุตญาณ อันสามารถตรัสรู้ไปในไญยธรรมทั้งปวงประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณคือพระอรหัตตมัคคญาณ อันหักรานกองกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานหาเศษมิได้ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้พระจตุราริยสัจด้วยพระองค์เอง หาผู้จะบอกกล่าวมิได้ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าเบิกบานด้วยพระอรหัตตมัคคญาณเปรียบประดุจดอกประทุมชาติ อันบานใหม่ด้วยแสงพระสุริยเทพบุตร เหตุได้พระอรหัตต์แล้ว พระวิเศษญาณทั้งปวงมีอนาคามิมัคคญาณเป็นต้นเกิด พร้อมด้วยพระอรหัตตมัคคญาณนั้นประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่าสิ้นจากอาสวะทั้ง ๔ มีกามาสวะเป็นต้น มีอวิชชาสวะเป็นที่สุดประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานปราศจากกิเลส ๑๕๑๑ ประการ
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณ คือปราศจากราคะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรสันดานปราศจากโทสะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าพระบวรสันดานปราศจากโมหะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าตื่นจากหลับคือกิเลส เปรียบประดุจบุรุษตื่นขึ้นจากหลับประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าเสด็จไปสู่พระนิพพาน โดยทางมัชฌิมปฏิบัติประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้ด้วยพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแห่งพระองค์เอง หาผู้จะรู้บ่มิได้ประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่าพระองค์มีพระบวรพุทธสันดานได้ซึ่งพุทธิ คือพระอรหัตตมัคคญาณ เหตุประหารเสียซึ่งอพุทธิคืออวิชชาประการ ๑ เป็นนัย ๑๕ ประการดังนี้



ตั้งแต่พระอรหังตลอดจนภควา เมื่อพระโยคาพจรระลึกถึงพระคุณแห่งสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าโดยนิยมดัง กล่าวมานี้แล้ว   ราคะ  โทสะ โมหะ     ก็มิได้ครอบงำน้ำจิตแห่งพระโยคาพจร ฯ ก็ซื่อตรงเป็นอันดี นิวรณธรรมทั้ง ๕ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้นก็สงบลง เมื่อจิตสงบลงตรงพระกรรมฐานแล้ววิตกวิจารอันน้อมไปในพระพุทธคุณก็จะบังเกิด

เมื่อวิตกวิจารบังเกิดแล้วปีติทั้ง ๕ ประการ คือ  ขุททกาปีติ  ขณิกาปีติ  โอกกันติกาปีติ  อุพเพงคาปิติ  ผรณาปีติ  ก็จะบังเกิดในสันดาน

เมื่อปีติบังเกิดเเล้ว กายปัสสัทธิ   จิตตปัสสัทธิ   อันเป็นพนักงานรำงับกายรำงับจิตก็จะบังเกิด

เมื่อพระปัสสัทธิทั้ง ๒ บังเกิดแล้ว ก็เป็นเหตุจะให้สุข ๒ ประการ คือสุขในกาย   สุขในจิต นั้นบังเกิด เมื่อสุขบังเกิดแล้วน้ำจิตแห่งพระโยคาพจรก็จะตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ
 
อันจำเริญพุทธานุสสตินี้กำหนดให้สำเร็จคุณธรรมแต่เพียงอุปจารฌาน บ่มิอาจให้ถึงซึ่งอัปปนาอาศัยว่าน้ำจิตแห่งพระโยคาพจร ที่จะลึกซึ่งพระพุทธคุณนั้น ระลึกด้วยนัยต่าง ๆ มิใช่แต่ในหนึ่งนัยเดียว

อันพระพุทธคุณนี้ลึกล้ำคัมภีรภาพยิ่งนัก หยั่งปัญญาในพระพุทธคุณนั้น ไม่มีที่สุดไม่มีที่หยุดยั้งไม่มีที่ตั้ง เหตุฉะนี้พระโยคาพจรผู้จำเริญพุทธานุสสติ จึงคงได้แก่เพียงอุปจารฌาน

แลท่านผู้จำเริญพุทธานุสสตินี้ จะมีสันดานกอปรด้วยรักใคร่ในสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์จะถึงซึ่งไพบูลย์ไป ด้วยคุณธรรม คือ  ศรัทธา  สติ  ปัญญา   แลบุญสันดานนั้นจะมากไปด้วยปรีดาปราโมทย์ อาจอดกลั้นได้ซึ่งทุกข์แลภัยอันจะมาถึงจิตนั้น จักสำคัญว่าได้อยู่ร่วมด้วยสมเด็จพระผู้มีพระภาค
 
ร่างกายแห่งบุคคลผู้มีพระพุทธานุสสติกรรมฐานซับซาบอยู่นั้น สมควรที่จะเป็นที่สักการแห่งหมู่เทพยดาแลมนุษย์ เปรียบประดุจเรือนเจดีย์ น้ำจิตแห่งบุคคลผู้นั้นจะน้อมไปในพุทธภูมิจะกอปรด้วยหิริโอตัปปะ มิได้ประพฤติล่วงซึ่งวัตถุอันพระพุทธองค์บัญญัติห้ามไว้ จะมีความกลัวแก่บาปละอายแก่บาป ดุจดังว่าเห็นสมควรพระพุทธองค์อยู่เฉพาะหน้าแห่งตน

แม้ว่าวาสนายังอ่อนมิอาจสำเร็จฌานสมาบัติมรรคผล ก็มีสุคติภพเป็นเบื้องหน้าเหตุดังนั้นนักปราชญ์ผู้มีปัญญาอย่าพึงประมาท ในพุทธานุสสติกรรมฐานอันมีคุณานิสงส์เป็นอันมาก โดยนัยกล่าวมานี้ ฯ


พุทธคุณ ๙ (คุณของพระพุทธเจ้า)

อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)

๑. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น)

๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง)

๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ)

๔. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา)
 
๕. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังมาอยู่ในกระแสโลกได้)

๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า)
 
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
 
๘. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ ด้วยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย)
 
๙. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม)

พุทธคุณ ๙ นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ

M.I.37; A.III.285.     ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๗.
ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
7  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 14 ( 2 ส.ค. 59 ) เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 08:59:37 am


   การเพิ่มพูน พุทธานุสสติ ที่ได้ผลดี ในกรรมฐานก็คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเสียก่อน ถ้าผู้ใดทำการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มากๆ การภาวนา พุทโธ ก็จะไม่ใช่เรื่องยาก

   วิธีการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีดังนี้

    1. การทัสนา คือ การมองฉายา ของพระพุทธเจ้า ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการกราบไหว้ เคารพ นึกถึงองค์พระพุทธรูป พระพุทธศิลป์ ในรูปแบบต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

    2. การสดับ คือ การฟังข้อความอันเกี่ยวเนื่องด้วย พุทธคุณ เช่นฟัง บทสวดพุทธคุณ ฟังการบรรยาย เทศนาธรรม เกี่ยวกับพุทธคุณ อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

    3. การศึกษา คือ การเรียนรู้ พุทธประวัติ ต่างของพระพุทธเจ้า อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

    4. การสาธยาย คือ การสวดเจริญ พระคาถา พุทธคุณ หรือ บาทคาถา ที่เกี่ยวเนืองด้วยพุทธคุณ อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

    5. การภาวนา สุดท้ายก็คือ การภาวนาตามแบบ กรรมฐาน ด้วยการเจริญ พระพุทธคุณ อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

     การกระทำ 5 อย่างย่อมทำให้ ปีติ และ สุข เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เมื่อปีติ และ สุข มีกำลังพอก็จะทำให้ ปาฏิหาริย์ แห่งสมาธิแก่ ผู้บริกรรมนั่นเอง

     สิ่งสำคัญ ที่ขาดเสียไม่ได้ ในการเจริญ พุทธานุสสติ ก็คือ ศรัทธา และ เป้าหมายการภาวนา นั่นเอง

     เจริญธรรม / เจริญพร



ขอบคุณภาพประกอบนี้จาก www.manager.co.th

ภาพนี้เห็นแล้ว ชอบ
   
    การสร้างองค์ พระ ที่เป็นภายนอก เป็นการสื่อถึงวัตนธรรม จิตวิญญาณของผู้สร้างด้วย การสนับสนุนองค์พระภายนอกก้เป็นการสร้างคุณธรรม คือ ความเคารพส่วนหนึ่ง และยิ่งต้องเสียสละวัตถุอันมีค่า เพื่อสร้างองค์พระด้วยแล้ว ยิ่งแสดงถึงน้ำใจที่ตั้งมั่น ในพระพุทธคุณ อันเป็นที่พึ่ง ทางจิตและวิญญาณ ของผู้เคารพศรัทธา

    การสร้างองค์พระ ด้านนอก ย่อมมีส่วนสนับสนุน องค์พระด้านใน คือ องค์กรรมฐาน เพราะองค์พระพุทธคุณนั้นอาศัย ศรัทธา และ ความตั่งมั่นในเป้าหมายภาวนา จึงจะสร้างองค์พระในจิตนี้ได้ นั่นเอง

    หากใครภาวนาแล้ว องค์พระพุทธคุณไม่ปรากฏ แสดงว่า องค์พระด้านนอก มีกำลังน้อย จึงทำให้ องค์พระด้านในไม่เกิดขึ้น ก็ต้องไปแก้ไข ส่วนบกพร่องให้มีกำลังเพิ่มขึ้น ตามสติปัญญาที่ควร


   
8  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 ) เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2016, 09:21:24 am



ประเดิมธรรม วันแรก หลังจากอธิษฐาน เข้าพรรษา เมื่อวานนี้

  อิมัสสมิง อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ
 ข้าพเจ้าขออยู่ สถานที่นี้ ตลอด 3 เดือน ฤดูฝน

     ธรรมศึกษา เรื่องแรก คือ หยุด
    คำว่า หยุด ในภาษาตรง ๆ ใช้ คำว่า เว้น หรือ บวช
ดังนั้นผู้ที่เป็นชาวพุทธไม่ใช่ว่าแต่จะเป็นพระ แม้ ผู้ครองเรือง ซึ่งเป็น พุทธบริษัท คือ อุบาสก และ อุบาสิกา ก็สามารถ อธิษฐานธรรมการเข้าพรรษาได้เช่นกัน แต่ไม่เกี่ยวกับวินัยสงฆ์ เพราะการอธิษฐาน กระทำเรื่องดี ๆ ที่มีคุณค่า เป็นบุญกุศล อธฺษฐานทำให้จริงจัง เพิ่มขึ้นในหนึ่งพรรษา ถึงแม้จำนวนเดือนจะไม่มาก แต่การอธิษฐานสร้างกุศล ก็จะทำให้ บุคคลนั้น ก้าวผ่านอุปสรรค ใหญ่ ๆ ได้ คนที่จะอธิษฐานทำอะไรที่เป็นกุศลขึ้นมาเป็นพิเศษนั้น ต้อง อาศัย สัจจะ ความจริงใจ จึงจะสำเร็จได้ ดังนั้น อธิษฐาน สร้างกุศลกันบ้าง สักสามเดือน จะเป็นบุญกุศลเสบียงแก่ตน

   เช่น อธิษฐานเลิกเหล้า เลิกบุหรี อันนี้คือ ละชั่ว ละสิ่งที่ทำลายสุขภาพ
        อธิษฐานทำบุญใส่บาตร ทุกวันสามเดือน อันนี้คือ สร้างความดี
        อธฺษฐานภาวนากรรมฐาน ทุกอาทิตย์สามเดือน อันนี้คือ เพิ่มคุณภาพความดี รักษาความดี
        อธฺษฐานเรียนศึกษาธรรม ฟังธรรม ตลอดสามเดือน อันนี้คือสร้างสัมมาทิฏฐิ

       
       และยังมีอีกมากมาย หลายเรื่องที่ท่านทั้งหลายสามารถอธิษฐาน
       ทำกันในช่วง 1 พรรษา ( 3 เดือนนี้ )

    ก็ขอเป็นกำลังใจให้แก่ทุกท่าน ที่หมั่นสร้างกุศล ความดี ละจากอกุศล และสร้างใจให้ผ่องใส หมั่นเจริญวิปัสสนา ตามหลักธรรมในศาสนา ก็ขอให้ท่่านทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ ประสบความสำเร็จ ด้วยกัทุกท่าน ทุกคนเทอญ

     สร้างกุศล บ่มนิสัย  ให้ผุดผ่อง
   เหมือนแว่นส่อง ถึงใจสวย ช่วยโลกหลาย
   หมั่นอบรม ฝึกปรือยิ่ง ทั้งใจกาย   
   เพื่อเป้าหมาย ละจาก  สงสาร เอย

 เจริญธรรม / เจริญพร

     



ภาพนี้ มีความหมาย ดี เห็นแล้วชอบ

  การปฏิบัติธรรม นับหนึ่ง หมายถึง เริ่มที่ตัวเอง เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอใคร แต่การนับหนึ่ง แน่นอนย่อมมีปอุปสรรคขวากหนาม เกิดขึ้นไปตามสภาวะด้วย บางครั้งอุปสรรค บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็สาหัส แต่ผู้ที่นับหนึ่ง ต้องมีสัจจะ ต้องเป็นนักสู้ ไม่ท้อ ไม่ถอย ไม่หันหลัง

   อะไร คือ ความเจ็บปวดในการภาวนา
     การที่ แพ้ ต่อกิเลส โดยที่ไม่ได้ สู้ เลย ต่างหาก นั่นแหละคือ ความเจ็บปวด ทุกข์มากที่สุด

   
 
ไฟล์เสียง เชิญดาวน์โหลด ไปรับฟัง

http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYwOTh8YTY1Y2RhYTg3ZWY1OGZkODY0ZWU0MmNlNWZkMjVkZmZ8MzAyNTU=
9  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ใช้เวลา 3 เดือน เพื่อเข้าพรรษา ให้มีคุณและค่า เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2016, 04:15:15 pm



ตอนนี้สุขภาพ ร่วงลงไปตามวัย และอาการไม่ดีขึ้น ได้แต่ทรงเดิมทีว่าจะกลับไปจำพรรษาที่วัดแก่งขนุนแล้ว แต่ไม่มีคนอุปัฏฐาก และอาจจะทำกิจสงฆ์กับคณะไม่ได้ 100 % ดังนั้นจึงได้แจ้ง กับท่านเจ้าอาวาสไปเมื่อสักครู่นี้ว่า คงจะอยู่รักษาตัวก่อนสักอีกพรรษาอาการดีขึ้นแล้ว ค่อยกลับวัดจะได้ปฏิบัติกิจสงฆ์ได้ ไม่เป็นที่ครหา หรือรังเกียจจากคณะ ว่าทำกิจไม่ได้ 100 % ตอนนี้ส่วนใหญ่ ก็จะนอน และนั่ง เดิน เวียนหัวมาก ๆ ก็ต้องนอน แต่ถ้ามันอึดอัดขัดเนื้อขัดตัวมาก ก็ต้องเข้ากรรมฐานแทน อาศัยสมาธิช่วยข่มเวทนา ไว้ ดังนั้นท่านที่ถามอาการป่วยมา ก็ตอบได้คร่าว ๆได้เทำ่นี้ไม่อยากให้ใครมาเป็นห่วง มากนักเอาเป็นว่า ถ้ายังมีแรงถ่ายทอดธรรมแก่ คนที่ยังมีวาสนาด้วยกัน ก็ศึกษาและเรียนปฏิบัติไป ใช้เวลาที่มีลมหายใจให้คุ้มค่า ก่อนที่จะไม่มีเวลามาร้องโอ๊ย ๆ กันจน ธรรม ธรรม ธรรม ก็ไม่เข้าตอนนั้นมันจะสายไป สำหรับพรรษานี้อาจารย์ก็จะอธิษฐาน เนสัชชิกธุดงค์ เป็นปีที่ 3 อาการปวดคอสะสมมาเป็นปีนี้แล้ว ก็ทำตามที่ตั้งใจให้ครบ 3 ปีตามสัญญากับครูอาจารย์ ถึงจะต้องป่วยมากขึ้นก็ยินยอม
เจริญธรรม / เจริญพร
10  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะไม่ได้เป็นศิษย์ เมื่อฟัง อ่าน จึงมีการปรามาส เกิดขึ้น เสมอ ๆ เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 08:49:17 am
คงจะเล่าไว้ เป็น สาธารณะ เท่านี้ เนื่องด้วยได้รับผลกระทบจากผู้ที่เข้ามาอ่านไม่ได้มีศรัทธา ในบุคคลอยู่ก่อน และไม่ได้เป็นศิษย์กรรม ฐาน มองเป็นว่า
   1.พูดยกตนข่มท่าน หมายถึง ยกตนเอง ว่าเลิศ กว่าครูอื่น ๆ ประมาณนี้
   2.อุตริมนุสสธรรม ที่ไม่มีในตนเอง

  แค่ 2 ข้อ นี้ นับว่า รุนแรงสำหรับ พระ เพราะว่า
   ข้อที่ 1 นั้นหมายถึงการ ไม่ละกิเลส มีมานะ ข่มที่อื่น ๆ ข่มครูอื่น ๆ นับว่าเป็นคำกล่าวหา ที่รุนแรง
   ข้อที่ 2 นั้นหมายถึง ขาดจากความเป็นพระ จนต้องไปสู่ข้อพิสูจน์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ

   นี่คือข้อเสีย ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับท่านที่ไม่ได้เป็นศิษย์ และ ไม่มีศรัทธาในกรรมฐาน สายนี้ และ มีอคติอยู่กับบุคคลด้วย ก็มี

   ดังนั้นเรื่อง ตอนต่อไป ( ตั้งแต่ตอนที่ 7 ) จะไปเล่า ไว้ในห้องศิษย์สายตรง ให้ศิษย์ได้อ่านเพื่อเป็นกำลังใจ และ มีแนวทางการปฏิบัติ เพื่อจะได้ไตร่ตรองพิจารณา ข้อบกพร่อมในการภาวนา ว่า ติดขัดอย่างไร ? และขอสงวนสิทธิ์กระทู้นี้ไว้ให้ที่เว็บ นี้เท่านั้น ห้ามนำออกเผยแพร่ ยังเว็บอื่น ๆ ก่อนได้รับอนุญาต จากฉันผู้เขียน

   ประกาศให้รับทราบ ไว้ ตามนี้

  เจริญธรรม / เจริญพร

    ธัมมะวังโส

   
11  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2016, 12:19:48 pm
มาเล่าต่อ ตอนที่ 6

    ในสัปดาห์ ที่ 16 นั้นมีปรากฏการณ์ทางจิตเกิดขึ้น มีการลำดับ ภาพที่เกิดในอดีต เป็นฉาก ๆ และในครั้งนี้ มีการล้มป่วย อย่างหาสาเหตุไม่ได้ ด้วยอาการ หนาว ร้อน สลับกันไปมา เป็นเวลาถึง สามวัน
   
    ในคืนก่อนที่จะไปขึ้นเขา อาการก็หายดี และทำให้รู้สึกแปลก ๆ กับร่างกาย คือ มันมีความรู้สึกว่า ไม่อ่อนเพลีย อย่างที่เคยเป็นไข้ แบบนี้มาก่อนเลย มันรู้สึกกระชุ่มกระชวย แข็งแรง ปกติหายป่วยจะดื่มน้ำ แต่คราวนี้ไม่รู้สึกกระหาย หรือ หิว ตอนแรกก็คิดว่าจะไม่ไปขึ้นเขา ในอาทิตย์ เพราะเกรงว่าอาการป่วยจะกำเริบ แต่คิดไปคิดมาหลายรอบ ลองขยับตัวไปมา เดินยกขารู้สึกว่าปกติขึ้นแล้ว จึงตัดสินใจไปขึ้นเขา อย่างสัปดาห์ที่มา

    การไปขึ้นรอบนี้ไม่ได้ ใช้สมาธิ แต่ใช้กำลัง โดยตรงเลย ก็อย่างที่ทราบกันดีว่า ใช้กำลัง เต็ม ๆ ก็ 60 นาที พื้น ๆ รอบนี้ก็เหมือนทุกครั้ง ใช้เวลาไป 1 ชม. กับ 10 นาที เพราะว่าไม่ได้รีบขึ้นไปนั่งพักชม เมฆ ชม หมอก ชม วิว ทิวทัศน์ ให้มันอิ่มอกอิ่มใจ สักหน่อย วันนี้ ฝนตกปรอย ก่อนขึ้นเขา เลยทำให้เกิดเมฆหมอก คลุมทาง โดยปกติ เวลาไปขึ้นก็มัวแต่ จับเวลา ดูนาฬิกา ดูทางขึ้น ทางลง เท่านั้นไม่ได้ไปนั่งอิน กับ วิว ธรรม ชาติ สัปดาห์นี้ ขึ้นเพียงรอบเดียว แต่ใช้เวลาอิน กับธรรมชาติ อย่างยาวนาน ถึง 3 ชม นั่งพักผ่อนหย่อนจิต แบบไม่รีบ ไม่ร้อน ไม่กังวลอะไรใด ๆ

    แถมวันนี้ อาศัยช่วงเวลาที่อากาศเย็น ๆ นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้า กำหนดลมหายใจออก เออ อันนี้ทิ้งมาหลายเดือน นะ อานาปานสติ เพราะมัวแต่ฝึก พุทโธ อยู่ นับว่า เป็นสัปดาห์ที่ผ่อนคลายเป็นอย่างมาก มีความรู้สึกว่า เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ เพราะปฏิกิริยาทางร่างกาย มีเรื่อง ประหลาดเกิดขึ้น ( แต่เล่าให้ท่านทั้งหลายฟังกันไม่ได้ นะ เอาเป็นว่า รู้เห็นด้วยตนเอง ดีกว่า )

    สัปดาห์ที่ 14 - 15 -16 ผ่านความทุกข์ ที่เรียกว่า ทุกข์ จากอำนาจความเสื่อมจาก ฌาน มันเลวร้ายมาก ๆ ที่เสื่อม เพราะเมื่อเสื่อม ความสามารถ มันหายไปด้วย ดังนั้นมันจึงทำให้ทุกข์ มาก รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง แต่เพราะคำของครู เตือนใจ ประโยค พุทธพจน์ เตือนจิต สติปัญญา บังเกิดขึ้น และ ทรงความดีไว้ นี่คือผลของการฝึกปฏิบัติมาตลอดชีวิตขณะนั้น เพราะถ้าไม่มีพื้นฐาน การฝึกอบรมทางจิต ทางใจ ทางสติ ทางปัญญา มาก่อน การที่จะวางอารมณ์ ที่เรียกว่า ปล่อยวาง นั้น คงไม่ได้กระทำได้ง่าย ๆ

   สัปดาห์ที่ 17 อำนาจจิตทีเสื่อมเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่จะต้องแก้ไข ได้รับคำแนะนำจากครูว่า
    "สิ่งที่มี ย่อมทำให้เกิดพลังจิตขึ้นมาได้ สิ่งที่ไม่มีย่อมทำให้ไม่เกิดพลังจิต ให้อาศัยสิ่งที่มี ที่สร้างไว้เป็นสะพานไปสู่ พลังจิต"
   ต้องขอบอกว่า มันเป็นคำปริศนา ที่ครูอาจารย์ มากล่าวแล้วก็ไป แต่ด้วยสติปัญญา ขณะนั้น ก็ทบทวนไปมา ถึง สภาวะต่าง ๆ ที่ควรจะทำเพื่อการฟื้นฟูอำนาจสมาธิ ที่เสื่อมหายไป ตอนนั้นคิดอะไรไม่ออก

    แต่ก็ลำดับสาเหตุ ของความเสื่อม แล้วพยายาม นั่งพิจารณาว่า อะไรคือสาเหตุ จนกระทั่ง ผ่านไปสองวัน จึงไล่มาถึงปัญหา จริง ๆ ก็คือ ความกลัว ใช่ ความกลัว กลัวที่จะทำไม่ได้ และทำไม่สำเร็จ ทำไมต้องกลัว มันก็มีคำถามต่อไป อย่างนี้ สาเหตุที่กลัว คือ จะไม่ได้เรียนกรรมฐาน แล้ว กรรมฐานมันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ ก็ได้คำตอบว่า มันเป็นความหวังหนึ่งเดียว ที่หามาทั้งชีวิต ทุ่มเทด้วยการเรียนศึกษา ตามสำนักต่าง ๆ แต่เมื่อถึงคราวที่เจอครูจริง ๆ แล้ว มีแนวโน้มด้วย ครูที่หายากแสนยากอย่างนี้ มันเหมือนเห็นหนทางเดียว ณ ขณะนั้นว่า ไม่ควรปล่อยโอกาส เพราะเป็นโอกาสเดียวที่ไม่เวียนว่าย ในสังสารวัฏ นี้ ที่จริงมันมีคำบรรยายเยอะแต่ก็เป็นเรื่องภายในจิตใจของฉัน ขณะนั้น ก็ขอสงวนไว้ไม่เล่าให้มันเยิ่นเย้อ มากตอนเกินไป

    ดังนั้นพอสรุป ได้ว่า สาเหตุ ก็คือ ความกลัว ตอนนี้ก็เลยต้องมาไล่ว่า แล้ว อะไรจะทำให้ความกลัวหายไป คำตอบก็คือ ต้องเจริญธรรมที่ทำให้เกิดความอาจหาญ คือ หายกลัว ธรรมที่ทำให้เกิดความอาจหาญนั้น คือ อะไร ก็คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ แล้วทำอย่างไรดี ในเมื่อเราก็ภาวนา พุทโธ โดยตรงอยู่แล้ว ความอาจหาญก็ไม่เกิด เพราะอะไร ? พอไล่ปัญหามา ก็เพราะว่า ไม่ได้สรณะ ทาน หรือ ศีล ให้ลงรวมในพุทโธนั่นเอง มันกลับไปพื้นฐานมากเลย ตอนนี้ นึกถึงกรรมฐาน 2 อย่าง คือ เทวตานุสสติ และ สีลานุสสติ กรรมฐานสองอย่างนี้ มองข้ามไปคิดว่า ไม่มีความสำคัญแต่แท้ที่จริง เป็นเพราะเรามักชอบข้ามขั้นตอนนั่นแหละ ความอาจหาญในธรรม จึงหายไป ไม่เข้าใจว่า ความอาจหาญ ที่จะทำให้ชูธง รบ กับ ข้าศึก ( กิเลส ) ได้นั้น พื้นฐาน ก็คือ ทาน ศีล และ ภาวนา ดังนั้น คำว่า ทาน ศีล ภาวนา มันเป็นลำดับที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้ธรรม ปรากฏชัด ไปตามลำดับ

     ( ติดตามอ่าน ต่อ ตอนต่อไป )



   
 
12  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส ) เมื่อ: มิถุนายน 28, 2016, 12:30:02 am
ก็ไม่ได้เข้าใจอะไรมาก หรอกนะ ตอนนั้นแค่ จดจำและดำเนินสติตาม อย่างที่เคยเรียน กับครูอาจารย์ เพียงแต่ว่า กลอนบทนี้ เป็นกลอนเปิดตัวการเรียนกรรมฐาน กับ สามพระอาจารย์ โดยมีเงื่อนไข ที่ท่านบอกไว้ว่า ให้แต่งกระทู้ และคำกลอนเรื่อง วิปัสสนา แบบที่ฉันเข้าใจให้ท่านทั้ง 3 อ่าน ให้เวลาแต่งกระทู้นี้ 3 วัน ถ้าทำได้จะได้รับการถ่ายทอด จงกรมธาตุ และ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ถ้าทำไม่ได้ก็แสดงว่าไม่มีบุญวาสนา เป็นศิษย์กับพระอาจารย์ ทั้ง 3

ตอนนั้นก็งาน ก็มีเยอะ หยุดไม่ได้เรื่อง งาน แต่ก็รวบรวมความรู้ทำการแต่งบรรจง วิปัสสนาญาณ 16 แบบที่ตนเคยเรียน และรู้ พร้อมประพันธ์คำกลอน ใช้เวลาทั้งคืน เพื่อประมวลความรู้ สมัยนั้น อินเตอร์เน็ต ไม่แพร่หลาย เป็น 56 kb modem เว็บธรรมะ ก็ไม่ได้มีมากมาย มือถือก็ hit 3310 nokia จอขาวดำ ราคาอย่างโหดนะ ที่พูดตรงนี้ก็เพื่อให้หลายท่าน ทราบและมองตามความเป็นจริงว่า มันลำบากนะไม่สามารถ Copy ข้อความได้อย่างปัจจุบัน ต้องเขียนพิมพ์กันสด ๆ 2 คืน 3 วันไม่ได้หลับ กลางวันทำงาน พัก 7 โมงเข้าสมาธิ 50 นาที เที่ยง พักเข้าสมาธิ 50 นาที เย็น 17.00 พัก เข้าสมาธิ 50 นาที 21.00 - 06.00 นี่แหละ 2 คืน แต่งกระทู้เรื่อง วิปัสสนาญาณ 16 ตอนนั้น สติไหลลื่น กับ ธรรมะ ยิ่งเขียน ย่ิงอ่านปีติ ก็มาก บางครั้งเขียนข้อความ น้ำตาหยดไหลย้อย มันตื่นตันใจมากที่ ได้อ่านข้อความ แม้เพียงคำว่า เจริญสติ อย่างนี้ ปีติก็พุ่งสูงทันที มันรู้สึกอบอุ่นเวลาข้อความธรรม วิ่งไปวิ่งมา เหมือนความคิด ของเรามีแต่ ข้อความธรรมะ ไหลเวียนไปตลอดหลับตาก็เห็น ลืมตาก็นึกถึง

นับว่า 3 วัน 2 คืนนั้น มีความสุขมาก ๆ กับข้อความ ธรรมะ ที่มันหายไปนานเลย รู้สึกว่า โจทย์ที่พระอาจาย์ ทั้ง 3 ให้นี้ ไม่ได้เป็นเรื่องหนักใจ กับมีความยินดี ในพระธรรม ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในขณะนั้น นับว่า เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในช่วงนั้น
13  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ เมื่อ: มิถุนายน 21, 2016, 06:45:46 pm
มาเล่าต่อ ตอนที่ 2
สัปดาห์ที่ 12 ภาวนาด้วยวิชา ที่เรียนกับพระอาจารย์เฒ่า สมัยเป็นสามเณร ด้วย ท่านเรียกชื่อวิชานี้ว่า ย่นฟ้าย่อพสุธา ไม่ถึงกับ ย่นระยะทาง แต่เดินจิตที่เป็นสมาธิ อันเกิดจาก ลหุสัญญา และ สุขสัญญา เดินรอบนี้ ได้ 32 นาที เช่นเดียวกับสัปดาห์ ที่ 11 เดินขึนลง 3 รอบ ไปเช้ามืด กลับค่ำ

สัปดาห์ที่ 13 เกิดความรู้สึกย่อท้ออย่างสูง ว่าพากเพียรขนาดนี้ แล้วใช้วิชาก็แล้ว ตั้งจิตเป็นสมาธิก็แล้ว แต่ก็ยังทำไม่ได้ตามเป้าหมาย คือ 25 นาที รู้สึกว่าท้อแท้ ผล อาทิตย์นี้ เดินแย่ลงกว่าเดิม กลายเป็น 58 นาที เนื่องจาก สมาธิเสื่อม ขึ้นลงวันนี้ 2 รอบ ด้วยความโมโห และหงุดหงิด ในตัวเอง รู้สึกเศร้าสร้อยเป็นอย่างมาก ทั้งอาทิตย์เลย

สัปดาห์ที่ 14 ความรู้สึกท้อแท้ ที่เกิดขึ้นทำให้การเขียน พุทโธ ชะงักลงไม่สามารถ บรรจงแบบเก่า เขียนได้ช้าลง หงุดหงิด ท้อแท้ สิ้นหวัง มันระดมเข้ามา ทำให้จิตไม่ผ่องแผ้ว แต่ก็ยังไม่ละความพยายาม ในการเขียน พุทโธ และ ไปเดินขึ้นเขาต่อ ไปรอบนี้ทำเวลาแย่ลงกว่าเดิม กลายเป็น 1 ชม. 10 นาที เนื่องด้วย จิตเสื่อม ขึ้นลงวันนี้รอบเดียว เพราะรู้ตัว สมาธิหายไป จิตที่เป็นเอกัคคตา หายไป สัปดาห์ที่ 13 นี้ 16 วัน เรียนรูักับความเสื่อม ของสมาธิ ผลที่เกิดกับจิตใจนั้น มหาศาล มันเศร้าสร้อยท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกอยากเลิก มันบอกให้เลิกภาวนา เลิกกระทำความเพียร เพราะทำไป ต่อไป มันก็ทำไม่ได้ ไม่มีใครทำได้หรอก

สัปดาห์ที่ 15 เนื่องด้วยจิตตกเป็นอย่างมาก สมาธิสูญหายไป ครานี้ทำให้คิดเลิกและคลายความเพียร ทั้งหมด แต่แล้ว พระอาจารย์ ท่านก็มาพูดว่า ประโยคนี้ให้ฟัง

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้ง ก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ ก็ไม่ทิ้งธรรม ”

ท่านพูดประโยค นี้สามครั้งแล้วก็ไป ตอนนั้นมันอึ้ง ที่ท่านไม่ได้พูดแนะนำอะไรเลยรู้สึกเหมือนอาจารย์ทอดทิ้งเรา เหมือนไม่มีครูเลยที่จะให้คำปรึกษาว่า จะรับมืออย่างไร กับความเสื่อมที่เกิดขึ้น
3 วันก่อนไปขึ้นเขา ก็คิดทบทวนประโยคที่ครูท่านพูดทิ้งไว้ นั้นเพื่ออะไร เพื่อต้องการให้เรา สบายใจที่ทำไม่ได้ใช่หรือไม่ ? หรือเพื่อให้เกิดความเพียร ที่จะกระทำต่อ แต่ทั้งหมดนั้นมันสิ้นสุดตรงที่คำว่า อัศวินแม้เข้าสู่สนาม ก็ไม่ทิ้งลีลา เข้าใจประโยคนี้ประโยคเดียว

ตอนนั้นแทงความคิดว่า ใช่ ในเมื่อเราเป็นผู้ภาวนากระทำความเพียร เพื่อมรรค และผล แล้ว แม้จะประสบความพ่ายแพ้ ผิดหวัง กระทำไม่ได้ ทำไมต้องมาย่อท้อ ทำไม่ไม่ไว้ลาย ลีลาของนักภาวนา ต้องมานั่งทอดถอนใจ หมดอาลัยตายอยากเพราะความคิดว่า ทำไม่ได้อย่างนั้นหรือ

ตอนนั้นจิตใจที่มันท้อถอย รู้สึกถึงคำว่าปล่อยวาง มากกว่าคำว่า ฮึกเหิม มันมีความรู้สึกว่า ถ้าจะแพ้ ก็ขอแพ้ที่ได้ทำ หรือ ได้สู้ ไม่ใช่ยอมแพ้ โดยที่ไม่ได้สู้ หรือ ทำ ถ้ามันจะแพ้ ก็แพ้ไป ถ้ามันจะทำไม่ได้ ก็ช่างมัน เราจะทำให้ดีที่สุด ในความเป็นผู้ภาวนา
( เล่าเท่านี้ ก่อน ติดตามตอนต่อไป )


14  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส เมื่อ: มิถุนายน 21, 2016, 06:21:37 pm
"งานอะไร หรือ กิจกรรมอะไรก็ตาม ถ้ามีคำว่า ได้ หรือ เสีย งาน หรือ กิจกรรม นั้น ก็เป็นเพียงแต่ งาน หรือ กิจกรรม ประจำวัน ที่ต้องทำเท่านั้น เหมือนการกินข้าว เข้าห้องน้ำ มันเป็นกิจ ที่ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำมีผลเสีย เจ็บป่วย สุขสบาย อยู่ที่กิจ หรือ งาน ที่ทำ

งาน หรือ กิจกรรม ที่เป็นไปเพื่อ มรรค ผล และ นิพพาน ไม่มีคำว่า ได้หรือเสีย เพราะ อริยะผล วัดผลด้วย โลกธรรมไม่ได้ จึงกล่าวไม่ได้ ว่า การไม่เกิด ก็ดี หรือ การเกิด ก็ดี จะดี หรือ ไม่ดี ก็ไม่ได้ เพราะผู้ไม่เลือกการภาวนา ก็ไม่ใช่ จะดี หรือ ไม่ดี หรือ ผู้ภาวนาจะดีกว่า ผู้ไม่ภาวนา เลยก็ไม่ได้ เพราะอริยะผล นั้นพ้นจากโลก เป็นส่วนเหนือโลก ไม่ประกอบด้วย ดี หรือ ไม่ดี พ้นจากโลกธรรม ที่มีการเปรียบเทียบ

ถ้าอธิบาย สองอย่างรวมกันอย่างเป็นวัตถุ ก็เหมือน ศิลปิน ช่างแกะสลัก หากทำการแกะสลัก เพราะต้องการแลกค่าของ วัตถุคือ เงิน ทอง งานนั้น ให้มีความงามที่สุดเป็นไปไม่ได้ แต่หากศิลปินนั้น แกะสลักด้วย จิตวิญญาณ ที่ต้องการสื่อความงามและฝีมือ ไม่ใช่เพียงหวังแค่คำชม ยกย่อง หรือ ตีค่าเป็นเงินทอง งานนั้นย่อมกระทำได้อย่างดี เพราะเป็นอิสสระ จากเครื่องผูกมัด คือ โลกธรรม นี่เรียกว่า สร้างงานทางด้านจิตวิญญาณ ฉันใด
ฉันนั้น ผู้ภาวนา เมื่อภาวนาก็ต้องพ้นจากโลกธรรม ไม่เป็นผู้ภาวนา เพื่อแสวงหาลาภ สักการะ สรรเสริญ หรือ ยศ เพราะถ้าแสวงหา ก็จะพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ และ นินทา ดังนั้นผู้ภาวนาจึงต้องถึง จิตวิญญาณ ในความหมายของการภาวนา เพื่อ อริยะผล จริง ๆ นั่นแหละ จึงจะเรียกว่า ภาวนาเหนือโลก"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


15  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถึงทุกข์ เจียนตาย ก็ อย่าละสติ และ ทิ้งธรรม เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 02:49:02 pm


ข้อความใบลาน ลงท้าย
จารนี้กู ใคร่บอกผู้อ่านที่มีบุญ หากสูได้อ่าน ธรรมวาทีนี้ โปรดจำคำกูไว้ เมื่อขณะภาวนา พูนศีลสมาธิ จงรั้งจิตไว้ว่า
"ถึงทุกข์ เจียนตาย ก็ อย่าละสติ และ ทิ้งธรรม" พึงท่องบ่นไป วันละหลายหน จนกว่า ทุกข์จะเบาเบา



   "ใช้ทุกข์ให้เป็น ในเบื้องต้น ทำ สมังคี คือ การล่วงพ้น ด้วยการเห็นตาม ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ ทุกข์เกิดขึ้นอย่างนี้ ทุกข์ดับไปได้อย่างนี้ การกำหนดทุกข์เป็นอย่างนี้ เลือก ธรรมวิจยะ ให้เหมาะสม แก่ฐานะ ในภาวนา ถึงแม้จะทุกข์เจียนตาย แม้ลมหายใจกำลังจะดับ ก็ต้องตั้งสติให้ได้ว่า ทุกข์ เป็น วิบาก ในวัฏฏ์สงสาร เมื่อเกิดอีก ก็ต้อง ทุกข์อีก ไม่มีทางที่เราจะหนี และ ละจากทุกข์ ถ้าหากต้องเกิดอีกต่อไป อริยะสาวก ย่อมกำหนดความจริงเยี่ยงนี้ และ กระทำทุกข์นั้นให้สิ้นไป จาก มโนธาตุ ในใจ  ทุกข์ ที่เป็น ทุกขธาตุ ย่อมดับไป ตามความรู้จริง อย่างนั้น ด้วยมรรค สมังคี นั่นเอง "

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะงวังโส

 
16  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: หนุ่มใหญ่สามารถ ฝึกควายรู้จักความ คุกเข่า-กราบ-นั่งสมาธิ เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2016, 12:26:01 am
ที่จริง วัวควาย ตามหลักกรรมพระไตรปิฏก ส่วนมากจะเป็น พระ ชี ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ที่ปฏิบัติไม่ดี นั้นแหละมาเกิดเป็นวัว เป็นควาย ใช้หนี้ บุญ ที่บริโภคปัจจัย 4 ของผู้มีศรัทธา โดยไม่ปฏิบัติภาวนา ไม่รักษาศีล

   ( เป็นความเชื่อส่วนบุคคลนะ )

 ;)
17  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: รวมใจศรัทธา สักการะ พระพุทธโกศัย สิริชัยมหาศากยมุนี จ.แพร่ เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2016, 12:23:34 am
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
 st12
18  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: คลิปอุโมงค์วัดศรีชุม เผยจิตรกรรมแผ่นหินชนวนสุดงดงาม ทึ่งกับพระพุทธรูปพูดได้ เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2016, 12:22:40 am
 st11 st12 st12
19  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / แม่บทที่ 3 ภาวนามีเป้าหมาย เพื่อคุณธรรม 4 ประการ เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2016, 03:38:37 pm
"
แม่บท ที่ 3 -   สมาธิภาวนา กตมา จตสฺโส อตฺถิ ( เป้าหมายการภาวนา เพื่อ คุณธรรม 4 อย่าง  )

จตสฺโส อิมา ภิกฺขเว สมาธิภาวนา กตมา จตสฺโส อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา ทิฏฐธมฺมสุขวิหาราย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา ญาณทสฺสนปฏิลาภาย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา สติสมฺปชญฺญาย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตาอาสวานํ ขยาย สํวตฺตติ


เหตุผลสำหรับการฝึกสมาธิภาวนา นั้นมี ๔ ประการนี้
๔ ประการ ดังนี้
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
( ผู้ใดปรารถนาความสุข ที่เป็นโลกียะ อย่างสุด ๆ ก็ควรฝึก สมาธิภาวนา )
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑
( ผู้ใดปรารถนา ญาณทัศนะเพื่อสั่งสมบารมี ก็สมควรฝึกสมาธิภาวนา )
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
( ผู้ใดต้องประคองสติสัมปชัญญะให้มั่นคง ไม่สับสน ก็สมควร ฝึกสมาธิภาวนา )
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑
( ผู้ใดต้องการพ้นจากสังสารวัฏ ก็สมควรฝึกสมาธิภาวนา )

ดังนั้นการฝึกสมาธิภาวนา ตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ตามมูลกรรมฐาน มีเหตุสี่อย่างนี้ เท่านั้น
เจริญพร
"
ข้อความบางส่วน จาก บทตั้ง ของมูลกรรมฐาน กัจจายนะ
รวบรวมเรียบเรียง โดย ธัมมะวังโส




20  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ช่วง หลัง ๆ มานี้ อ่านไม่ค่อยจะเข้าใจเลยคะ เลยไม่รู้ว่าจะถามอะไร เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2016, 11:41:53 am
 st12
21  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ก่อนตะเกียง จะดับ ก็รีบมาจุดตะเกียงใหม่ซะ เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2016, 09:29:13 pm
"มีคนถามฉันว่า ทำไมต้องทำเรื่องการเผยแผ่ธรรมะ มีคนถามเยอะนะคำถามนี้ แต่หลายครั้งก็เฉยๆ ไม่ได้ยากตอบ ก็หลายปีมานี้ก็ไม่ได้ตอบแม้กระทั่งเว็บเข้าปีที่ 9 แล้ว ก็ยังไม่ได้ตอบใคร ?
แต่หลายปีที่ผ่านมานี้ ไม่มีวันไหนที่ฉันไม่ได้ตอบคำถาม ให้กับท่านที่ยังมีความทุกข์ทางใจ นอกจากฉันป่วย และอยู่ในภารกิจ แม้การตอบคำถามของฉัน จะไม่เคลียร์ใจให้กับหลายท่าน แต่ก็ไม่เคยไม่ให้กำลังใจกับท่านที่เป็นทุกข์ แม้คนที่ด่าฉัน ฉันก็ยังไม่เคยส่งจดหมายโต้ตอบจากฉันในทางลบเลย
15 ปีมานี้ ฉันก็ยังทำหน้าที่ ๆ ไม่มีใครอยากทำเพราะทำแบบฉัน ไม่ได้อะไร เลย นอกจากกุศลบารมี ที่ได้ทำเพราะเราทำงานปิดทองหลังพระ ไม่เคยเรียกร้อง วัตถุสิ่งใดจากผู้ที่เราช่วยเหลือ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทุกวันนี้ที่อยู่ได้ก็เพราะลูกศิษย์ที่ปวารณา จริง ๆ มีคนที่ฉันตอบคำถาม ทุกวันบางคนตอบกันเป็น 3 - 5 กระดาษ ต้องแชทสนทนา จนกว่าเขาจะพอใจ และ เริ่มมีความสุขใจ และมีกำลังใจที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้แม้ด้วยศีลธรรม หรือ ปรมัตถธรรม ฉันไม่เคยผูกมัดคำตอบของฉันเป็นบุญเป็นคุณกับ ใคร ๆ ที่ฉันตอบ จะเคารพหรือไม่เคารพ ฉันก็ไม่ได้สนใจตรงนั้น มันเป็นเพียงโอกาสเดียวที่จะส่งข้อความที่สำคัญแก่คนที่ร่วมบารมีกับฉันมาก่อน ๆ ที่เราจะไม่ได้พบกัน ตลอดไป
แต่ ส่วนธรรมขั้นสูงๆ นั้น ไม่ใคร่มีใครสนทนากับฉัน ที่นี่แจกธรรม เสมอเป็นเสี้ยวส่วนละอองของพระธรรมที่ฉันพอจะหยิบมาแจกท่านได้บ้างถึงแม้ไม่มากแต่ ก็เพียงพอที่จะประเล้าประโลมใจ ให้ท่านทั้งหลาย มีกำลังใจดำรงชีวิต อยู่ได้ในท่ามกลางกระแสพายุ อันเกิดจาการล่องเรือในโอฆะที่เชี่ยวกราก ที่เต็มไปด้วยกระแสโลกธรรม ดังนั้น ฉันก็ยังคงทำหน้าที่ ๆ ที่ไม่ได้มีความหมายอะไร ๆ ทั้งนั้น เพียงแต่ทำหน้าที่ จุดตะเกียง น้อย ๆ เท่านั้นซึ่งอาจจะมีประโยชน์ แก่ใครบางคนบางท่าน และ อาจจะไม่มีประโยชน์เลย ก็เป็นได้ แต่อย่างไร ตะเกียงนี้ก็จะจุดุไว้ไป จนกว่าวันนั้นจะไม่มีฉัน.หรือฉันหมดความสามารถที่จะกระทำได้ ซึ่งก็คงต้องต่อตะเกียงนี้ให้แก่ทายาท ซึ่งวันนี้พูดตรง ๆ ว่า รอ ทายาทผู้นั้นจะมา.."


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

22  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บุญไม่ช่วย (เสียงเทศน์) พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ เมื่อ: เมษายน 27, 2016, 09:28:36 pm
 st11 st12 st12
23  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: เดินเที่ยวรอบ "องค์พระปฐมเจดีย์" สักการะ ขอพร "พระร่วงโรจนฤทธิ์” อันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อ: เมษายน 23, 2016, 08:25:31 am
 st11 st12 st12
24  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: หนีกรรม ได้ ฤา เมื่อ: เมษายน 23, 2016, 12:20:44 am
test 23.19
25  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: หนีกรรม ได้ ฤา เมื่อ: เมษายน 23, 2016, 12:14:45 am
ช่วยให้รอดด้วยอาหาร ก็ยังถูกสัตว์ด้วยกันทำร้ายหมายชีวิ ช่วยให้รอดจากสัตว์ ก็ยังต้องพบกรรมจากเวทนา ช่วยให้รอดจากเวทนา แต่สุดท้ายก็ตายรถกระบะเหยียบตายอีก

แต่อย่างน้อยมันก็ได้สร้างความดี ในขณะที่มีโอกาสเพียงนิดอย่างน้อยก็ช่วยเฝ้าศาลา ในช่วงที่มันทำได้

( ทดสอบ Test เรื่องเวลา คลาดเคลื่อนไป 1 ชม. ขณะ test 23.10 แต่ผล 12.15 )
26  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 5 ‘ตามรอยโจร’ (ชมผังบรรจุสมบัติ) เมื่อ: เมษายน 09, 2016, 10:54:16 am
สิ่งที่หายไป อีกเช่นเดิม คือ บันทึก พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันต์ธาตุ
สำหรับพระสงฆ์ อย่างอาตมาไม่สนใจเรื่อง เพชร ทอง เงิน นาค พลอย พวกนั้นเลย สนใจเพียงสิ่งสักการะอันเป็น ฉายานามของพระพุทธเจ้า เท่านั้น

  ;)
27  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 6 ‘ตามรอยโจร’ (ต่อ) เมื่อ: เมษายน 09, 2016, 10:50:22 am
 โดยปกติ เวลาสร้าง เจดีย์ แล้ว ก็ต้องบรรจุสิ่งของมีค่าที่สุด ควรคุ่กับเจดีย์ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ เพชรพลอยทองคำเครื่องประดับ มันจะเป็นรอง ที่สำคัญการรายงานของเจดีย์ไม่มีเรือ่ง พระบรมสารีริกธาตุ หายไปเลยแต่ไปรายงานเรื่อง พระพุทธรูปทองคำ เงิน เพชร พลอยแทน ซึ่งไม่ใช่หัวใจหลักของ เจดีย์ ระดับนี้

    วัดแก่งขนุน หล่อพระพุทธเมตตา มหาสิทธิโชค พระเกตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจำนวนหนึ่ง ตัวพระเกตุก็หล่อด้วยทองเหลือง และ ทองคำแท้ผสม ( ตามศรัทธา ของผู้นำมาใส่ ที่เห็นด้วยสายตาไม่ต่ำกว่า 20 บาท )ดังนั้นสิ่งสำคัญของพระเจดีย์ ก็คือ พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันต์ธาตุ ซึ่งเป็นสิ่งที่หายยากอย่างยิ่งในโลกนี้

   ;)
28  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: 8 เคล็ดลับขจัดความคิดฟุ้งซ่าน เมื่อ: เมษายน 09, 2016, 10:26:25 am
ข้อ 8 สำหรับพระเฉย ๆ
 เคยมีคณะจิตแพทย์ มาที่วัด มาอบรมชาวบ้าน สิ่งที่ จิตแพทย์ มองก็คือแม้การบวชพระ ก็เป็นโรคจิตส่วนหนึ่ง ฟังข้อความแล้ว ยกเว้นการแพทย์ทางจิต เท่านั้นที่ไม่เป้นโรคจิต การรักษาของคุณหมอไม่เชื่อเรื่อง สมาธิ แต่เชื่อเรื่องการโน้มนำความคิด ให้มีเรื่องคิดน้อยลง การสันทนาการกับหมู่คณะ การเพลิดเพลินยินดีในภาพแสงสีเสียง แต่การอยู่อย่างเงียบ ๆ จะทำให้ก้าวร้าว รุนแรง ทางจิต ฟังแล้ว..... ก็ไม่ค่อยเห็นด้วย แต่ก็ฟังจนจบการอบรม ตอนนี้หมอสอนพระ เพราะว่าเจอแต่พระที่ไม่มีการภาวนา หรือบางครั้งเจอพระที่รู้ แต่ท่านก็อาศัยความเงียบ แบบเรา ทำให้เป็นเรื่องเฉย ๆ แบบผ่านมา แล้ว ก็ผ่านไป อีกวัน

  ;)
29  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ยาสั่ง เมื่อ: เมษายน 09, 2016, 10:22:17 am
มีคนรัก มีคนชอบ มัน ก็ต้องมีคนเกลียด คนไม่ชอบ
ไม่ว่าจะเป็นราชา มหากษัตริย์ พระสงฆ์ บัณฑิต ชาวบ้านต๊อกต๋อย ก็ล้วนเหมือนกัน

 ทุกวันมีคนตายเพราะยศ ก็มากมาย
 
 ;)

 
30  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ผลสำรวจชี้.! เสพติด "เฟซบุ๊ก" ทำให้จิตหดหู่-มีความสุขน้อยลง เมื่อ: เมษายน 09, 2016, 10:20:01 am
เห็นด้วย ว่า ระบบของเฟคบุ๊ค เอื้อในการโพสต์ง่ายกว่า
ของเว็บยังเป็นรอง เรื่องการอัพภาพ และ การแจ้งเตือน

   ฉันก็คิดอยู่ว่าถ้าไม่บอกสถานะ การเดินทาง บ้าง หลายคนก็จะไม่ทราบ มันเป็นงานที่ลำบากแม้กระทั่งการเดินงานสถานี ด้วยอุปกรณ์ติดตัว ต้องวางเครื่องทิ้งไว้ฝากไว้กันคนที่ไม่รู้จัก ตอนนี้เครื่องเปิดถ้าไฟฟ้าดับ ก็จบกันเพราะฉันจะเชื่อมต่อทางไกลจากมือถือไม่ได้ มีความเสี่ยงในระบบ และที่สำคัญเครื่องร้อน ไฟช๊อตพวกนี้มีความเสี่ยงทั้งหมด วัดใจกันว่า เครื่องน่าจะอยู่รอดจนฉันกลับ

   ;)
31  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เป็นคนต้องแกร่ง จะแกร่งได้ด้วยพระธรรม เมื่อ: เมษายน 09, 2016, 10:15:47 am


มองตามมุม ตรงนี้สอนหลายอย่าง
อย่าลืมสายต่าง ๆ จะมากมายรุงรัง สิ่งที่จะทำให้เสาอยู่ได้โดยไม่หักล้ม ก็คือ 1. ความแข็งแกร่งของตัวเสา 2.จุดเกี่ยวเกาะของตัวเสา 3.สายที่ช่วยยึดเกาะรั้งตัวเสา 4.ฐานที่วางตัวเสา 5.สายโยงต่างมาที่ตัวเสา

เปรียบเทียบ 1.เป็นคน ๆ หนึ่ง ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านกายและจิต 2.การเลี้ยงชีวิตที่ต้องสัมพันธ์กับชุมชน ทุกระดับ 3.มโนธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ที่เหนี่ยงรั้งใจไม่ให้ล้ม 4.ฐานการศึกษาการเรียนรู้ของคน ๆ นั้น 5.ความสัมพันธ์กับทุกองค์กร


 ;)
32  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะนำมูลกรรมฐาน มาถ่ายทอด ต้องนึก ต้องท่อง ต้องจำได้ เมื่อ: เมษายน 02, 2016, 02:00:56 pm
อ่านต่อ ตอนที่ 1
ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20895

33  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ให้ความสำคัญกับ อุปาทายรูป 2 อย่าง เมื่อ: เมษายน 02, 2016, 01:15:52 pm
ส่วนนี้เป็นการตอบคำถามรวมเลยนะว่า ทำไม ฐานจิต ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ต้องยู่ตรงนี้ ตรงอื่นได้ไหม ?


สำหรับอุปาทายรูปในมูลกรรมฐาน เป็นภาคต่อจาก มหาภูตรูป 4 นั้นก็คือ อุปายรูป 2 ส่วนซึ่งมีความสำคัญในพระกรรมฐาน เป็นส่วนที่ควบคุม ภาชนะทั้งหมด เป็นกลาง หมดจด มาก่อนดั้งเดิม เปลี่ยนแปลงภาชนะให้ อยู่ หรือ เป็น ได้กล่าวว่า บุคคลเมื่อจะถึงแก่กรรม คือ ละสังขาร ( ละจากภาชนะ ) นั้นจะละไปตามลำดับธาตุ แต่จะละได้ที่สุด ก็คือ การดับ แห่ง หทัยวัตถุ นั่นเอง ดังนั้นกรรมฐานเวลาภาวนา ขึ้นอัปปนาจิต เวลาใช้ ลหุตา ลหุสัญญา นั้น จำเป็นต้องใช้ที่ หทัยวัตถุ เพราะเป็น ธาตุชนิดเดียวกัน บ้างท่านกล่าวว่าไปใช้ที่ ศูนย์นาภี นั้นยังไม่ถูก ไม่สามารถใช้ได้เพราะเป็นคนละธาตุ ดังนั้น มหาภูตรูป อยู่ส่วนล่าง ในภาชนะ รวมอยู่ที่ศูนย์นาภี ส่วน อุปาทยรูปธาตุ นั้น มีธาตุ สองอย่าง คือ มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งจะไปทำให้เกิด ยถาภูตญาณลำดับที่ 1 คือ อุภโตธาตุ ( ธาตุสองส่วน ซึ่ง จัดเป็น ทุวิธัง รูป รูปสองส่วน ) ดั่งข้อความบทบาลี ด้านล่างนี้
 
  มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ   นิสฺสยลกฺขณํ   หทยวตฺถุ   ตาสํเยว ธาตูนํ   อาธารณรสํ   อุพฺพาหนปจฺจุปฏฺฐานํ ฯ   หทยสฺส   อนฺโต กายคตาสติกถาย   วุตฺตปฺปการํ   โลหิตํ   นิสฺสาย   สนฺธารณาทิกิจฺเจหิ ภูเตหิ   กตุปการํ   อุตุจิตฺตาหาเรหิ   อุปตฺถมฺภิยมานํ   อายุนา อนุปาลิยมานํ   มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนญฺเจว    ตํสมฺปยุตฺตธมฺมานญฺจ วตฺถุภาวํ สาธยมานํ ติฏฺฐติ

  หทัยวัตถุ ( หทยวตฺถุ ) มีความเป็นที่อาศัยของ มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุเป็นลักษณะ มีการรับรองธาตุเหล่านั้น นั่นเหละเป็นกิจ มีการประมวลธาตุทั้ง 2 เข้ามาเป็นผล อาศัยเลือดมีประการดังกล่าวแล้วกายคตาสติกถา ได้อุปการะที่ภูตรูป ทั้งหลาย ซึ่งมีหน้าที่คำ้จุนไว้เป็นต้น มีอุตุ จิต และอาหารอุปถัมภ์อยู่ มีอายุคอยเลี้ยงรักษา ให้สำเร็จเป็นที่ต้งแห่งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตกับ ธาตุทั้ง 2 นั้นตั้งอยูภายในแห่งหัวใจ

   ดังนั้นเวลาภาวนา กรรมฐานใด ๆ เมื่อมาถึง หทัยวัตถุ สิ่งที่ต้องรู้แจ้งชัดสภาวะธรรมขึ้นก่อน คือ พระลักษณะ นั่นก็คือ ปีติ และ ยุคลธรรม  ส่วนสุขไม่ใช่ลักษณะ ผู้ภาวนาตามลำดับกรรมฐาน เมื่อภาวนาก็จะเข้าพระลักษณะ ตัวที่รับรู้พระลักษณะ ก็คือ หทัยวัตถุ ไม่ใช่ ฐานที่ 1 2 3 4 ที่เป็นภาชนะ ตัวภาชนะเป็นตัวแสดงอาการ แต่ตัวที่รับรู้ลักษณะ คือ หทัยวัตถุ ดังนั้นผู้ภาวนาเมื่อจะยังพระรัศมี ต้องเดินจิตผ่านภูตรูป มาจนถึง หทัยวัตถุ อุปาทายรูป ก่อน แล้ว จึงทำปฏิโลม ( ถอยกลับ ) ส่วนพระลักษณะ ก่อน จึงจะเข้าส่วนของรัศมี ซึ่งหมายถึง จิตจะต้องผ่านส่วนธรรม ทุวิธังรูป ก่อน หรือ กำหนดแจ้งชัดในสภาวะธรรม ที่ปีติ เกิด และ ปีติ ดับไป ยุคลธรรม เกิด ยุคลธรรม ดับไป นั่นเอง รายละเอียดอยู่ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับแล้ว

        รูปปริจฺเฉทลกฺขณา   อากาสธาตุ   รูปปริยนฺตปฺปกาสนรสา รูปมริยาทปจฺจุปฏฺฐานา   อสมฺผุฏฺฐภาวฉิทฺทวิวรภาวปจฺจุปฏฺฐานา   วา ปริจฺฉินฺนรูปปทฏฺฐานา   ยาย   ปริจฺฉินฺเนสุ   รูเปสุ  อิทมิโต  อุทฺธมโธ ติริยนฺติ จ โหติ ฯ

      อากาสธาตุ อุปายรูปธาตุ มีการตัดตอนรูปเป็นลักษณะ มีการประกาศริมขอบรูปเป็นกิจ มีขอบเขตของรูปเป็นผล หรือมีความถูกต้องไม่ได้และเป็นช่องเป็นผล มีรูปที่ถูกตัดตอนแล้วเป็นเหตุใกล้ ในรูปทั้งหลายที่ถูกอากาสธาตุใดตัดตอนแล้ว ย่อมมีการกำหนดได้ว่า รูปนี้ทางนี้ด้านบน ทานี้ข้างล่าง และทางนี้ขวาง

       หทัยวัตถุ แม้เป็นที่ตั้ง ของ มโนธาตุ ( มนธาตุ ) และ มโนวิญญาณธาตุ ( มนายตนะธาตุ ) แต่ถ้าไม่สามารถกำหนดขอบเขต ก็จะกินแดนของภาชนะทั้งหมด แม้ตัวภาชนะถ้ากำหนดขอบเขตไม่ได้ก็จะเต็มเป็นอนันตจักรวาล ซึ่งไม่ถูกต้องกว้างเกินไป ทำให้เยิ่นเย้อในการมองเห็นยิ่งกว้างก็ยิ่งมองไม่เห็นอะไรสำคัญ เหมือนคนยืนชมวิวกว้าง ก็กำหนดได้แต่วิวไม่สามารถสังเกตอะไรได้ ดังนั้น หทัยวัตถุ จึงต้องอากาสธาตุ เป็นตัวกำหนดขอบเขตน์ ขึ้นมาเป็นตัวกำหนดตัวอากาศจึงเหมือนช่องว่าง ที่รองรับ หทัยวัตถุ กล่าวคือ เป็นที่ตั้งฐานจิตนั่นเอง

      ส่วนฐานจิตอื่น ๆ นั้น ไม่ได้เกิดจาก หทัยวัตถุ เกิดแต่เพียงธาตุใด ธาตุหนึ่ง เป็นที่สถุิตย์ของธาตุใดธาตุหนึ่ง เป็นตัวขับผลักดันธาตุให้ดำเนินไป ดังนั้นโบราณกาลเมื่อกำหนดฐานจิต ในกองกรรมฐาน จึงกำหนดธาตุไปตามต้นกำเหนิด ดังนี้

      1. ศูนย์นาภี เป็นที่รับธาตุ มหาภูตรูปทั้ง 4 ตั้งแต่เริ่มจุติ ดังนั้นผู้เกิดในครรภ์จึงอาศัยสายรกสายสะดือเป็นที่ประกอบธาตุ แต่ฐานธาตุนี้ จะถูกปิดเมือออกจากครรภ์มารดา พอออกจากครรภ์ ธาตุทั้ง 4 ก็จะกระจายไปสถิตย์ในภาชนะ ตามลำดับดังนี้ ดังนั้นศูนย์นาภี จึงเป็นที่รวมสัปยุตธรรมภายนอกเข้ามาในภายใน ครูอาจารย์ จึงให้ทำการสัมปยุตต คือประกอบธรรมด้วยใจลงไปที่ สะดือ ( ศูนย์นาภี ) ตั้งแต่แบบเบา กลาง และ ประณีต
 
      2. ฐานธาตุดิน อาศัยปลายกระเพาะ คือ ลำไส้ เป็นที่อยู่ ของกากอาหารที่ร่างกายไม่ใช้แล้ว เตรียมพร้อมเป็นอุจจาระเพื่อขับถ่ายออก เมื่อออกมาจากกายก็เรียกว่า กรีสัง หรือ อุจจาระ ซึ่งมีความชัดเจนด้วยธาตุใหญ่ คือ ธาตุดิน สำหรับฐานนี้ วัดจากสะดือลงไปประมาณ 3 - 4 นิ้วตามร่างกายบุคคลอ้วนหน่อยก็สี่นิ้ว พร้อมนิดก็สองนิ้ว ท้วม ๆ ก็ 3 นิ้ว โดยประมาณ

      3. ฐานธาตุไฟ อาศัยอยู่กระเพาะ เป็นผลิตน้ำย่อย และ สารให้อบอุ่นแก่ร่างกาย ความร้อนนี้ ทรงลงถึงอวัยวะให้กำเนิดด้วยเป็นเส้นตรง ดังนั้น แกนกลางจึงมีความร้อนอันเกิดจากการเผาผลาญพลังงาน รูปแบบต่าง ๆใน ภาชนะ สำหรับฐานนี้ ก็อยู่สูงขึ้นมาจาก สะดือ ประมาณ 2 - 4 นิ้วตามลักษณะกายของแต่ละบุคคล

      4.ฐานธาตุน้ำ อาศัยอยู่ที่ ท่ามกลางถุงน้ำดีและไตทั้งสองข้าง เชื่อมต่อกับท่อปัสสาวะ เป็นที่หลั่งไหลของน้ำ เหมือนปั้มที่คอยกระเพื่อมน้ำส่วนอื่น ๆ ในภาชนะ สำหรับฐานนี้ อยู่ท่ามกลาง ของ หทัยวัตถุ และ ศูนย์นาภี

      5.ฐานธาตุลม อาศัยอยู่ที่ปลายปอดเป็นตัวปั๊ม ต่อเขื่อกับหัวใจ หทัยวัตถุ มีหน้าที่ปั๊มลมให้ทำงาน ให้ธาตุอื่น ๆ ทำงาน ธาตุดินจะเคลื่อนก็ต้องอาศัย ธาตุลม ธาตุน้ำ จะเคลื่อนได้ ก็ต้องอาศัย ธาตุลม ธาตุไฟ จะทำงานได้ ก็ต้องอาศัยธาตุลม ดังนั้น ธาตุลมในกองกรรมฐาน ยังกระจายลมเป็น ธาตุ อีกสามชนิด ในกองกรรมฐาน คือ ปัสสาวาตะ ( ลมเข้า ) อัสสวาตะ ( ลมออก )นิสสวาตะ ( ลมสูญ ) สำหรับฐานนี้ อยู่ ลิ้นปี่

      6.ฐานธาตุอากาส เป็นที่อยู่ ของ หทัยวัตถ เป็น อุปาทายรูปธาตุทั้งสองประการ ที่สถิตย์ของฐาน คือ ท่ามกลางราวนม

      อันนี้คือการวาง มโนธาตุ ตามธาตุ ฐานต่างเรียกว่า มโนธาตุ ดังนั้นไม่ว่า ฐานจิตใด ๆ ตัวหทัยวัตถุ ก็จะรับทราบทุกฐาน เช่นกัน 

     ( ต่อไปว่าแหล่งกำเนิดวิตก  ที่ผู้ปฏิบัติมักกระทำผิดกันประจำ จนเป็นนิสัยที่ผิด ทำให้ลักษณะไม่เกิด รัศมีไม่ปรากฏ ตอนต่อไป)

         
     

 

   อ่านต่อตอนที่ 4
หลักวิชาของครู กรรมฐาน สายนี้ แบ่งวิชา ออกเป็น หมวด ดังนี้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18874.0
( ตั้งแต่ตอนที่ 4 ไป ไม่อนุญาตบุคคลภายนอกเข้าอ่านนอกจากเป็นสมาชิก เว็บ ระดับ สีเขียวขึ้นไป เนื่องด้วยวิชากรรมฐานปกติแล้วต้องเป็นศิษย์ขึ้นกรรมฐาน แจ้งกรรมฐานต่อครูอาจารย์เสมอๆ เพื่อให้วิชาก้าวหน้า เบื้องต้นเน้นให้จิตเป็นอัปปนา เข้า ฌาน ได้ ตั้งแต่ ฌาน 1 - 4 แล้วจึงฝึก ฌานที่ 5 จากนั้น ขึ้นเป็นอรูป อีก 4 จากนั้นเข้า สมาบัติ เพื่อ วิปัสสนา )
34  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป เมื่อ: เมษายน 02, 2016, 07:36:54 am
ย้อนกลับไปอ่าน ตอนที่ 2 ถ้ายังไม่เข้าใจ
รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ( หมายถึง เป็นเอกเทศโดยส่วนเดียว จากขันธ์ทั้ง 5 )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20904.0



ตอนที่ 3

บทตั้งท่องจำ อุปาทายรูป 24 (อุปาทายรูปํ   จตุวีสติวิธํ )
 อุปาทายรูปํ   จตุวีสติวิธํ  จกฺขุ  โสตํ  ฆานํ  ชิวฺหา  กาโย  รูปํ  สทฺโท   คนฺโธ   รโส   
 อิตฺถินฺทฺริยํ  ปุริสินฺทฺริยํ  ชีวิตินฺทฺริยํ หทยวตฺถุ
 กายวิญฺญตฺติ   วจีวิญฺญตฺติ   อากาสธาตุ   
 รูปสฺส   ลหุตา   รูปสฺส มุทุตา   รูปสฺส   กมฺมญตา   รูปสฺส   อุปจโย 
 รูปสฺส  สนฺตติ  รูปสฺส ชรตา รูปสฺส อนิจฺจตา กวฬิงฺกาโร อาหาโรติ ฯ 

2.อุปาทายรูป มี 24 ประการ
       1.จักขุ 2.โสตะ  3.ฆานะ  4.ชิวหา 5.กาโย  6.รูปัง  7.สัทโท 8.คันโธ 9.รโส
10.อิตถินทรีย์ 11.ปุริสินทรีย์  12.ชีวิตินทรีย์ 13.หทัยวัตถุ
14.กายวิญญัติ 15.วจีวิญญัติ 16.อากาสธาตุ
17.รูปลหุตา 18.รูปมุทุตา 19.รูปปาคุญญตา  20.รูปอุปจยะ
21.รูปสันตติ 22.รูปชรตา 23.รูปอนิจจตา 24.กวกฬิงการาหาร


     สำหรับศัพท์ในกรรมฐาน มูลกัจจายนะ นั้น เวลาเรียกรูป ที่เป็นภูตรูป อันประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 จะใช้คำว่า ภาชนะ เพื่อให้พ้นจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ภาชนะเครื่องปั้น ย่อมประกอบด้วยทั้งสี่ มี ไตรลักษณะ แต่ปราศจากส่วนที่เป็น ใจ ทั้งหมด ดังนั้นใน มหาภูตรูป จึงใช้คำเรียกว่า ภาชนะ หมายความเป็นที่ใส่ หรือ เครื่องใช้

     ส่วนอุปาทายรูป นั้น เป็น รูปที่เกิดได้ต้องอาศัยใจ ร่วมด้วย แต่ไม่อยู่ด้านนอกของภาชนะ เพียงแต่เป็นสมมุติส่วนใด ส่วนหนึ่ง หรือครอบคลุมแทนภาชนะได้

  ( ยังมีต่อ รอกันก่อน อันนี้ตอบส่วนที่สอง สำหรับคนที่ก้าวหน้า )

35  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ขอบคุณ ทุกท่าน ที่ร่วมปิดทองด้วยกัน เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 04:15:45 pm
"ขอบคุณทุกท่าน หลายปีมานี้ มีอาสาช่วยงานก็หลายท่าน แต่พอเริ่มจะได้ช่วยคือต้องผ่านการพิสูจน์ตน ว่าจะมั่นคงในพระธรรมกรรมฐาน ขนาดไหน ก่อนที่จะมอบงานสำคัญให้ มีทั้งการทดสอบตรง และทดสอบการตอบปัญหา สุดท้าย มีผู้ผ่านไม่กี่ท่าน ที่ยังมั่นคงในพระธรรมกรรมฐาน เดินหน้าในสายธรรมกรรมฐาน แม้ว่าจะต้องรับรู้ปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหา ขอบคุณที่หลายท่านก็ยังคงตั้งใจเหนียวแน่นในพระธรรมกรรมฐาน ร่วมกันปิดทองด้วยกันตลอดมา แม้ผู้ที่จากไปด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ฉันก็ขอให้ทุกท่านถึงธรรมแก่นสารของท่าน ตามที่มุ่งมาดไว้ ไม่มีใครถูกหรือผิดในการดำเนินวิธี ตามเป้าหมายของแต่ละท่าน เพราะว่าเป้าหมายการเผยแผ่พระกรรมฐาน คือ สร้างสันติสุขภายในให้แก่ผู้ปรารถนา การไม่กลับมาเกิดเป็นหลัก และสร้างบารมีให้กับผู้ที่ยังต้องโลดแล่นในสังสารวัฏ ด้วยการปิดทองหลังพระด้วย ท่านอยากจะอยู่ต่อก็เป็นเรื่องของท่าน ท่านอยากจะออกก็เป็นเรื่องของท่าน เพราะธรรมะใครภาวนา คนนั้นก็ได้ ฉันภาวนาฉันก็ได้ของฉัน ท่านภาวนา ท่านก็ได้ของท่าน นั่นเอง ดังนั้นแม้ท่านจากฉันไป ไม่ว่าเหตุผลใด ๆ ก็ตามโปรดจำไว้ว่า ฉันคือกัลยาณมิตร ไม่ใช่ ศัตรู ที่มาทำร้ายท่านให้ตกต่ำลง.... "
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก
http://www.nanagarden.com

36  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อย่าสาระวน แต่เรื่องปล่อยวาง จงพิจารณาความจริงใหมากขึ้นเพื่อเจริญมรรค เมื่อ: มีนาคม 28, 2016, 12:12:52 pm


"เรื่องให้โกรธ มีหลายเรื่อง เรื่องให้หลง ก็มีมาก เรื่องให้โมโห ก็เป็นพะเรอเกวียน วันหนึ่งคิืนหนึ่ง กิเลสต่าง ๆมันก็พยายามทำหน้าที่ของมันสุด ๆ หลอกให้หลงบ้าง รักบ้าง เกลียดบ้าง ชังบ้าง ชอบบ้าง คลุกเตล้า เหมือนน้ำจิ้ม น้ำยา ปุถุชชนคนโง่เขลา จึงตกอยู่ในวังวนของ สิ่งที่เรียกว่า ยึดมั่น ถือมั่น คิดไปต่าง ๆ นานา สาระพันปัญหา มีไม่จบสิ้น พอกพูน อวิชชาคือ ความไม่รู้ ไปสู่ภพ ชาต ที่เป็นวินาทีในปัจจุบัน และ เป็นภพชาติผูกพันไปในอนาคต เมื่อภาวนาจึงสาระวน อยู่แแต่คำว่าปล่อยวาง ไม่ได้ต้นเหตุที่แท้จริง ว่าถ้าไม่เข้าไปยึดถือ มันก็ไม่มี บัณฑิตผู้ฉลาด ย่อมคลายความยึดถือ แทนคำว่า ปล่อยวาง เพราะปล่อยวาง ไม่ใช่ มรรค เป็นการหนีจากปัญหา มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทียังพอกพูนกิเลส เขาทั้งหลายจึงคิดว่า การปล่อยวาง เป็นคุณธรรมขั้นสูง แท้ที่จริงในสายภาวนาของพระอริยะ การปล่อยวางเป็นการสะสมปัญหา และ เป็นการหนีปัญหา จึงไม่สามารถไปสู่ประตูอมตะได้ ผู้มีปัญญาย่อมใคร่ครวญ ด้วยสติ ตามความเป็นจริงว่า เรามีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา เรามีความโสกะปริเทวะ เพราะตัณหา เมื่อรู้ดังนั้น บัณฑิตผู้ฉลาดย่อมดำเนิน มรรคามัคคญาณทัศนวิสุทธิ โดยไม่มี วิจิกิจฉา......."

ข้อความส่วนหนึ่ง จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส
37  กรรมฐาน มัชฌิมา / บันทึกความทรงจำ Memorytime / Re: เมื่อ ถึงคราที่เรา ต้องเข้ารับการรักษา ในรอบ 15 ปี เมื่อ: มีนาคม 27, 2016, 07:12:17 pm
ขนาดป่วย ยัง ดุเดือดเลยนะครับ ชีวิตพระอาจารย์ นี้

  :25:
38  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรื่องประทับใจ ขณะที่นอน รพ. รักษาตัว 5 คืน 5 วัน เมื่อ: มีนาคม 27, 2016, 07:37:35 am

ดอกบัวชุดนี้ มี 4 ชั้น นับเกสรด้วย
  ลักษณะ สีเหลือ เปลี่ยนเปลี่ยนเป็นสีบานเย็นมีลักษณะคล้ายกัน

  ;)

 ทำไม ต้องเป็นดอกบัว นั่นสิ ไม่รู้เหมือนกัน ไม่ได้สงสัย เพราะไม่รู้จะสงสัยไปทำไม

 :bedtime2:
39  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ตอนนี้กำลังเริ่ม บันทึกเสียง ธรรมกรรมฐาน กับเริ่มเขียนหนังสือ วิธีรับมือกับโรค เมื่อ: มีนาคม 27, 2016, 07:34:15 am
ก้เริ่มบันทึกมาแล้ว 3 วัน แต่ไม่ค่อยคืบหน้า บันทึกหลายครั้งแต่ ก็ได้แค่ตอนเดียว ส่วนหนังสือ ยังพิมพ์ไม่ไหว อาจจะไม่ได้อย่างที่คิด เพราะสุขภาพไม่อำนวย นอน วันละ 4 ชม. แต่เดินมากขึ้น 12 ชม. นอกนั้นเป็น นั่งกับ ยืน

 ;)
40  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: แล้งหนัก! สระน้ำวัดในเพชรบูรณ์แห้งขอดเหลือแค่ก้นสระ พระ-เณรเดือดร้อน เมื่อ: มีนาคม 24, 2016, 08:33:25 am
เวรกรรม ที่หลีกไม่ได้

 :bedtime2:
หน้า: [1] 2 3 ... 26