ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แกะรอยตำนาน ครูอาจารย์ จากร่องรอยประวัติศาสตร์ วัดท่าหอย อยุธยา -2  (อ่าน 7182 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

0000597    วัดท่าหอย (ร้าง) สำเภาล่ม  พระนครศรีอยุธยา    
พิกัด 14°20′24″N 100°34′12″E
ผู้ดูแลบูรณะ   กรมศิลปากร


ท่านขรัวตาทอง ทางการคณะสงฆ์ เรียกขานท่านว่า พระอธิการทอง สถิตวัดท่าข่อย (ท่าหอย) ท่านขรัวตาทอง มีชนมายุอยู่มาหลายรัชกาล และอยู่มาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา
ท่านขรัวตาทอง ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับพระองค์แรก ของพระอาจารย์สุก ครั้งบรรพชาเป็นสามเณร อยู่ ณ วัดท่าข่อย (ท่าหอย)


ประวัติท่านขรัวตาทอง ท่านบรรพชา-อุปสมบทอยู่วัดโรงช้าง ย้ายมาอยู่วัดท่าข่อย ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าข่อย ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบต่อมาจาก พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน กรุงศรีอยุธยา พระครูวินัยธรรมจ้อย พระองค์นี้ ท่านเป็นศิษย์ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาจากพระพนรัต (แปร) วัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา พระพนรัต(แปร) ท่านมีพระชนชีพอยู่ในรัชสมัยพระเจ้าเสือ พระพนรัต (แปร) ท่านมีชีวิตอยู่มาจนถึง พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ


ตามตำนาน กล่าวว่าท่านขรัวตาทอง ท่านเป็นพระอนาคามีบุคคล เป็นพระอริยบุคคล คู่ที่สาม ในพระพุทธศาสนา ได้มรรคสาม ผลสาม อภิญญาหก
ประวัติวัดท่าข่อย (วัดท่าหอย) วัดท่าข่อยเป็นวัดประจำตระกูลของมารดา-บิดาพระอาจารย์สุก คุณทวดของพระองค์ท่าน สร้างไว้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดที่มีแต่เขตสังฆาวาส ไม่มีเขตพุทธาวาส วัดท่าข่อย เป็นวัดบริวารของวัดโรงช้าง


วัดท่าข่อย มีพระเจดีย์ที่เก็บอัฎฐิธาตุ บรรพบุรุษ ในตระกูล ของพระอาจารย์สุก ซึ่งเป็นประเพณีนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่นิยมสร้างวัดประจำตระกูล เพื่อเก็บอัฎฐิธาตุของบรรพบุรุษ และมีไว้ให้ลูกหลาน ได้วิ่งเล่น กัน จะได้ใกล้ชิดพระศาสนา วัดราษฎร์ ตั้งอยู่ใกล้วัดหลวง วัดไหน ก็จะเป็นวัดบริวารของวัดหลวง วัดนั้น วัดบริวารของวัดหลวง จะไม่สร้างพระอุโบสถ(ปัจจุบันวัดท่าหอย เป็นวัดร้าง)
วัดท่าข่อย จะมีบริเวณวัด เป็นคูเล็กๆ ล้อมรอบวัด บริเวณหน้าวัด ติดกับคลองท่าข่อย (คูจาม)


วัดท่าข่อย อยู่หลังวัดพุทไธศวรรย์ เยื้องไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑ - ๓ เส้น และวัดท่าข่อยนี้ อยู่หลังวัดโรงช้าง เยื้องไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑-๓ เส้น

ถ้ามาจากแม่น้ำหน้าวัดพุทไธศวรรย์ ล่องเรือมาทางทิศตะวันตกประมาณ ๑ เส้น เลี้ยวขวาเข้าคลองบ้านข่อย(คลองคูจาม) ไปประมาณ ๒-๓ เส้น ก็ถึงท่าน้ำ วัดท่าข่อย (ท่าหอย)

ถ้ามาจากแม่น้ำหน้าวัดโรงช้าง ล่องเรือขึ้นมาทางทิศตะวันออกประมาณ ๑ เส้น เลี้ยวซ้ายเข้าคลองบ้านข่อย (คลองคูจาม) ไปประมาณ ๒-๓ เส้น ก็ถึงท่าน้ำ วัดท่าข่อย (ท่าหอย)


วัดท่าข่อย อยู่ห่างจาก วัดพุทไธศวรรย์ และวัดโรงช้าง เป็นระยะทางเกือบเท่าๆกัน สองวัดนี้อยู่ริมแม่น้ำป่าสักทั้งสองวัด พระอาจารย์สุก บรรพชาเป็นสามเณร อยู่วัดท่าข่อย เนื่องจากเป็นวัดประจำตระกูล และอยู่ไกล้ละแวกบ้านท่าน และท่านขรัวตาทอง ก็สนิทคุ้นเคยกันเพราะเป็นญาติ ซึ่งบางแห่งว่า เป็นญาติข้างบิดา



วัดท่าข่อย เป็นชื่อเดิมของวัด วัดท่าหอย วัดท่าข่อย - วัดท่าหอย จึงเป็นวัดเดียวกัน แต่สมัยกาลนานมา หลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลายลงแล้ว จนกระทั่งพระเจ้าตากสิน กู้อิสรภาพคืนมาแล้ว ทรงมาสร้างกรุงธนบุรี คนไทยที่เคยตั้งบ้านเรือน อยู่อาศัยใกล้บริเวณวัดท่าข่อย ครั้งกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิมนั้น ได้ล้มหายตายจากไปเป็นส่วนมาก ไม่มีใครได้กลับมาตั้งถิ่นฐานในที่เดิมนี้อีก มีแต่คนรุ่นใหม่ได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณวัดท่าข่อย
ต่อมาถึงสมัยกรุงธนบุรีผู้คนแถบนี้ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือนอยู่ทางฝั่งกรุงเก่ากันหมด ผู้คนทั้งหลายจึงเริ่มลืมเลือน ชื่อเดิมของวัดท่าหอย (ท่าข่อย) เพราะเป็นวัดราษฎรเล็กๆไม่มีชื่อเสียง ต่อมาบริเวณใกล้วัดท่าข่อยกลายเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพวกแขกจาม กล่าวว่าพวกแขกจาม เป็นเชลยศึกครั้งกรุงธนบุรี สำเนียงพวกแขกจาม พูดสำเนียงเร็ว จึงเรียกขานนาม ท่าข่อย เพี้ยนเป็น ท่าหอย

แต่นั้นมา วัดท่าข่อย จึงเรียกขานนามกันใหม่ว่า วัดท่าหอย แต่นั้นมา วัดท่าข่อยนี้ เป็นที่เรียนหนังสือ ครั้งแรกของพระอาจารย์สุก เป็นที่บรรพชาเป็นสามเณร ครั้งแรกของพระอาจารย์สุก เป็นที่ฝึกเจริญสมาธิครั้งแรก ของพระอาจารย์สุก และเป็นวัดที่พระอาจารย์สุก ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เป็นครั้งแรก ในสมัยอยุธยา และสมัยธนบุรี

วัดท่าหอย ครั้งกรุงศรีอยุธยา ยังเป็นราชธานีอยู่นั้น มีแต่เขตสังฆาวาส คือมีกุฏิสงฆ์อยู่ประมาณ ๕-๖หลัง กับศาลาบำเพ็ญกุศลขนาดย่อมๆ ๑ หลังเท่านั้น
แต่ก่อนนั้นเวลาทำสังฆกรรม เช่น อุปสมบท ต้องไปอุปสมบทวัดใหญ่ๆ เช่น วัดโรงช้าง วัดพุทไธศวรรย์ วัดราชาวาส เป็นต้น
ส่วนเขตพุทธาวาส ในวัดท่าข่อย เช่น พระอุโบสถ มาสร้างขึ้นภายหลัง ครั้งเมื่อพระอาจารย์สุก มาเป็นพระอธิการ วัดท่าหอย ครั้งที่สอง สมัยกรุงธนบุรี

ข้อความประกอบจากหนังสือ ประวัติสมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน
ผู้รวบรวมบันทึก พระครูสิทธิสังวร ผู้ข่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2016, 07:39:43 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



















ปลัดเทศบาล นายสุริยะ รื่นเวช


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


 แกะรอยตำนาน ครูอาจารย์ จากร่องรอยประวัติศาสตร์ วัดท่าหอย อยุธยา -1
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20799

 แกะรอยตำนาน ครูอาจารย์ จากร่องรอยประวัติศาสตร์ วัดท่าหอย อยุธยา -2
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20812

 แกะรอยตำนาน ครูอาจารย์ จากร่องรอยประวัติศาสตร์ วัดท่าหอย อยุธยา -3
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20813
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

    ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


    ชอบค่ะ สาธุ สาธุ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์