ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เสือข้าใครอย่าแตะ! เมื่ออำนาจเหยียบย่ำ "เมตตาธรรม"  (อ่าน 713 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เสือข้าใครอย่าแตะ! เมื่ออำนาจเหยียบย่ำ "เมตตาธรรม"

 กลายเป็นประเด็นใหญ่ หลังเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ จ่ออายัดเสือกว่า 100 ตัวที่ฝากทางวัดป่าหลวงตามหาบัว (วัดเสือ) จ.กาญจนบุรี เลี้ยงไว้นานกว่า 14 ปี จุดกระแสความสนใจในวงกว้าง โดยเฉพาะทางฟากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่มีการตั้งข้อสงสัยกันว่า แท้จริงแล้วเป็นการแสดงละครตบตาเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจที่ประสงค์แสวงหาผลกำไรจากสัตว์ป่าเหล่านี้หรือไม่
       
         :96: :96: :96: :96:

        กำเนิด "เสือ" ณ วัดเสือ
       
        เมื่อพูดถึง "เสือโคร่ง" ในวัดแห่งนี้ เริ่มแรกเมื่อปี 2542 ทางวัดเสือชี้แจงว่า ไม่ได้ขวนขวายในการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยง หากแต่เป็นชาวบ้านที่มีความสงสารลูกเสือกำพร้า จึงนำมาขอความเมตตาจากทางวัด จากนั้นจึงมีชาวบ้านนำสัตว์บาดเจ็บมาให้ทางวัดช่วยอุปการะอีก
       
        ต่อมาในปี 2544 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2544 กรมป่าไม้ โดยสำนักงานป่าไม้ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ได้ทำการตรวจยึดสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นของกลาง และฝากของกลางทั้งหมดไว้ที่วัดเสือ โดยให้สัตวแพทย์ สมชัย วิเศษมงคลชัย เป็นสัตวแพทย์ที่ดูแลเสือ (ปัจจุบันลาออกจากหน้าที่นี้ไปแล้ว)
       
        ที่ต้องฝากของกลางไว้ที่วัดนั้น เนื่องจากกรมป่าไม้ทราบดีว่า การเลี้ยงสัตว์ป่าเหล่านี้ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีนั้น เป็นเรื่องที่ยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง ทางราชการไม่สามารถจัดหางบประมาณสูงขนาดนั้นให้ได้ จึงขอคืนสัตว์ป่าที่ยึดไป คืนให้กับทางวัดเสือ และวางใจฝากสัตว์ป่าให้เป็นอยู่ในความเมตตาของวัดให้ช่วยเลี้ยงดูมาเป็นเวลายาวนานกว่า 14 ปี
       
        จากนั้นวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 กรมอุทยานแห่งชาติฯ แจ้งว่าสัตว์ป่าของกลางนี้ได้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว และให้วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จัดทำโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า และดำเนินการตรวจสอบฝังไมโครชิปเสือโคร่งในวัดทุกตัว จำนวน 100 ตัว ซึ่งถึงขณะนี้มีเสือเสียชีวิตไป 3 ตัว เหลือเสือโคร่งของกลางอยู่ในความดูแลของมูลนิธิวัดป่าหลวงตามหาบัว จำนวน 93 ตัว แต่ปัจจุบันมีการผสมพันธุ์จนเพิ่มเป็น 144 ตัว (ล่าสุดนับได้ 146 ตัว)

             
       
        ตั้งแต่นั้นมา ทำให้โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก ไม่แปลกที่สื่อต่างๆ จะให้ความสนใจ โดยเฉพาะสื่อต่างชาติอย่าง สำนักข่าว ABC ของออสเตรเลียที่ส่งผู้ข่าวมาพักอยู่ที่วัดเสือถึง 3 วัน เพื่อทำภาพยนตร์สารคดี โดยให้ความกระจ่างในประเด็นวางยาให้เสือเชื่องว่าไม่ได้เป็นไปตามข้อกล่าวหาแต่อย่างใด
       
        ส่วนสาเหตุที่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมในราคาสูงนั้น เป็นเพราะงบประมาณในการเลี้ยงดูที่ค่อนข้างสูง อย่างค่าอาหารที่ต้องซื้อเป็นไก่แล้วนำมาต้มให้สุก รวมไปถึงสิ่งของจำเป็นอื่นๆ รวมค่าใช้จ่ายตกประมาณอาทิตย์ละ 500,000 บาท หากคิดเป็นเดือนเท่ากับเดือนละ 2,000,000 บาทเลยทีเดียว
       
         :29: :29: :29: :29:

        เมื่อ "คนนอก" นำ "ทุกข์" มาให้
       
        มีรักย่อมมีทุกข์เป็นของแถมฉันใด มีสัตว์ป่า (ภายในวัด) ก็ย่อมมีทุกข์เป็นของแถมฉันนั้น เช่นเดียวกับกรณีวัดแห่งนี้ที่แม้จะมี "เมตตาธรรมต่อสัตว์ป่า" แต่ก็ไม่วายที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นลักลอบเลี้ยงสัตว์ป่า รวมไปถึงการซื้อขายสัตว์ป่า และผลประโยชน์ระหว่างคนกับสัตว์ป่า ทั้งที่ความจริงกรมป่าไม้ได้ฝากให้ทางวัดช่วยอุปการะเลี้ยงดู พร้อมกับให้จัดโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่าขึ้นมา
       
        ข่าวเสียๆ หายๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้คณะศิษยานุศิษย์องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ออกมาเรียกร้อง พร้อมต่อสู้ขอความเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ และอื่นๆ บุกเข้าตรวจค้น และยึดเอานกเงือก นกหายาก และหมีที่มาอาศัยอยู่ในเขตวัดมายาวนาน ตลอดจนได้มีการเตรียมอายัดเสือกว่า 100 ตัว ที่วัดเลี้ยงดูมาตั้งแต่ครั้งองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยังดำรงขันธ์อยู่
       
        อย่างไรก็ดี ท่าทีของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ชวนให้เกิดการตั้งคำถามปนสงสัยว่า ความขึงขังราวกับจะปกป้องสัตว์ป่า แท้จริงแล้ว เป็นการผ่องถ่ายเสือออกไปส่งให้กับสวนสัตว์ต่างๆ เพื่อใช้ในการแสวงหากำไรในทางธุรกิจหรือไม่ หรือถ้าจะอ้างว่าทางวัด เกิดความบกพร่องในการดูแลสัตว์ป่า รวมไปถึงเสือ เช่น ขาดสุขภาวะที่ดี ทำไมกรมอุทยานแห่งชาติฯ จึงไม่ให้การช่วยเหลือด้วยการส่งเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำ

       
       
       
        นอกจากนั้นยังมีประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อกระบวนการยึดสัตว์ป่าของทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ กลับไม่ได้กระทำด้วยความเมตตาและไม่ได้ทำตามหลักวิชาการทางสัตวศาสตร์ เช่น นกเงือกจะอยู่กันเป็นคู่ จะตายหากพรากจากคู่ของมัน นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมพระอาจารย์จันทร์ ขันติธโร เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโนจึงพยายามให้นกเงือกบินหนีออกจากกรงในการเข้ามายึดสัตว์ป่าของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ รวมไปถึงกรณี "หมีควาย" ที่ไม่ได้มีการประสานงาน เข้ามายึดตามอำเภอใจ จับหมียัดใส่กรงเหล็กท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ กระทั่งมาถึงคิวของ "เสือ" ภายในวัดกว่า 100 ตัว
       
        "เรายังมีโครงการที่จะมอบเสือให้กับสวนสัตว์ที่ต้องการ และมีใบอนุญาตเพาะพันธุ์สัตว์ เพื่อเป็นการลดภาระ เนื่องจากเสือ 1 ตัวจะต้องใช้งบประมาณในการเลี้ยงดูเดือนละไม่ต่ำกว่า 7,000 บาท ทำให้ต้องจัดหางบประมาณมาดูแล ส่วนการเคลื่อนย้ายเสือมานั้น จะต้องมีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และไม่เกิดปัญหากับทางวัด จึงอยากขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย" อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้สัมภาษณ์ผ่านเว็บข่าวชื่อดัง ตอกย้ำให้เห็นถึงแผนการยักย้ายถ่ายเทเสือไปให้สวนสัตว์ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะดูแลเสือได้ดีหรือไม่
       
        ล่าสุด มีการรายงานว่า ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ตรวจสอบสถานที่รองรับ และดูแลเสือโคร่งของกลางกว่า 100 ตัว โดยได้เตรียมไว้ 2 แห่ง เพื่อรองรับเสือโคร่งของกลางที่จะขนย้ายจากวัด คือ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จังหวัดราชบุรี
       
        พร้อมกันนี้ ยังได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาเถรสมาคมห้ามวัดเลี้ยงสัตว์ป่าคุ้มครองเด็ดขาด แม้อ้างอิงเหตุผลว่าญาติโยมนำมาทิ้ง หรือบริจาคไว้ จำเป็นต้องแจ้งให้กรมอุทยานฯ รับทราบและขอให้งดการเลี้ยงสัตว์ป่าคุ้มครองภายในบริเวณวัด เพราะเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสม

       
         ask1 ask1 ask1 ask1

        ฝากความหวังไว้ที่ "บิ๊กตู่"
       
        ดังนั้น ด้วยความไม่ไว้วางใจในพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ชุดนี้ เนื่องจากกลัวว่าจะหวังผลประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดในชีวิตและอวัยวะของสัตว์เหล่านี้ คณะศิษยานุศิษย์องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโนจึงได้ออกแถลงการณ์ขอความเป็นธรรมให้แก่สัตว์ในวัดป่าหลวงตามหาบัวฯ จ.กาญจนบุรี โดยจะนำแถลงการณ์ฉบับนี้แจ้งต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวันพฤหัสบดีที่ 9 เม.ย. 2558
                     
        ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ชุดนี้ และขอให้พิจารณาดำเนินการให้เกิดความเหมาะสมโดยเร็วที่สุด หากชีวิตของสัตว์แม้เพียงตัวเดียวต้องถึงแก่ความตายไป คณะศิษย์ฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ขอให้ ฯพณฯ มีคำสั่งปลดอธิบดีกรมที่เกี่ยวข้องออกจากตำแหน่งโดยทันที
       
        สุดท้ายแล้ว เรื่องนี้จะมีบทสรุปอย่างไร โปรดติดตามด้วยใจระทึกกันต่อไป รวมไปถึงประเด็นซ่อนปมที่รอความจริงปรากฏ อย่างกรณี "เสือโคร่งของกลาง" 3 ตัว หายไปจากวัดป่าหลวงตามหาบัว (วัดเสือ) จ.กาญจนบุรี โดยพบรถยนต์ต้องสงสัยจากกล้องวงจรปิด 3 คันเข้ามานำขนออกไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมาด้วย

       
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000040892
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ