ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการนั่งสมาธิเพื่อตัดในรูปขันธ์และความรู้อารมณ์ใดๆ  (อ่าน 3245 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิธีการนั่งสมาธิเพื่อตัดในรูปขันธ์และความรู้อารมณ์ใดๆ


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการนั่งสมาธิเพื่อตัดในรูปขันธ์และความรู้อารมณ์ใดๆ ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



- เมื่อไม่นานมานี้ผมได้อาราธนาขอคุณกรรมฐานต่อพระพุทธเจ้า
โดยระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นเอกใน 3 โลก ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
ได้ตรัสแสดงธรรมนั้นเพื่อให้ผู้อื่นได้รู้ทางพ้นทุกข์นี้ตามแล้ว
ระลึกถึงคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้น
 ด้วยเป็นธรรมจริง ประเสริญและไเราะ
เป็นธรรมอันประกอบไปด้วยประโยชน์ และ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (มรรค-ผล) และ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
ซึ่งได้เผยแพร่ธรรมะอันประเสริฐนี้ให้เราได้เรียนรู้ปฏิบัติตาม
ระลึกถึงคุณบิดา-มารดา และ บุพการี ทั้งหลายทุกท่าน
ที่ได้ให้กำเนิด ให้ความรัก และ ได้เลี้ยงดูเรามาอย่างดี ทำให้เราได้พานพบกับพระพุทธศาสนานี้
ระลึกถึงคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
ที่ได้สั่งสอนชี้แนะแนวทางวิชาความรู้ทั้งหลายนี้มา
แล้วก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้ได้พบทางแห่งการเข้าสมาธิได้โดยง่าย ที่ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัดบุคคล ไม่จำกัดระดัลชนชั้น
เมื่อผมได้นั่งสมาธิไปก็ได้พบเห็นหนทางนี้ขึ้นมาทันที และ ได้เพียรปฏิบัติมาซักระยะหนึ่งจนเห็นผลได้ ให้ผลได้ดังนี้
วันนี้ผมจึงได้นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติกัมมัฏฐานแก่ท่านทั้งหลายดังต่อไปนี้

- พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
 ท่านจะตั้งเจตนามั่นว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ก็จะไม่ลุกขึ้นออกจากบัลลังก์ที่นั่งสมาธินี้เด็ดขาด
ท่านจะละทิ้งเสียรูปขันธ์ ไม่ยินดีในรูปขันธ์คือกายนี้แล้ว
 แม้จะต้องหิว จะเจ็บปวด จะทรมาน แม้จะต้องตาย ก็ช่างมัน
เมื่อท่านได้ตั้งเจตนาไว้เช่นนี้แล้ว ท่านก็ละเสียซึ่งบ่วงทั้งหลาย
 มีกายนี้เป็นเบื้องต้น ละทิ้งความรู้อารมณ์ใดๆที่เกิดจากกายนี้ ละความห่วงใดๆทั้งหลาย
แล้วก็เข้าสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งปวงคือบรรลุเป็นพระอรหันต์


- อย่างเราๆมันยังมีห่วงอยู่ใช่ไหมครับ ยังหวงกายนี้ ยังกลัวความตาย
ก็ไม่อาจที่จะละทิ้งเช่นนั้นได้ใช่ไหมครับ
ทำยังไงก็ตัดรูป ตัดนามไม่ได้เสียที
นั่งๆสมาธิไปก็คิดเรื่อง รักบ้าง โลภบ้าง โกรธบ้าง หลงบ้าง
นั่งๆไปก็รู้สึกเป็นตะคริวบ้าง ปวดขาบ้าง ปวดหลังบ้าง
ก็ทนไม่ไหวเปลี่ยนท่าบ้าง เลิกนั่งบ้าง
"ทีนี้เมื่อเกิดอะไรอย่างนี้ขึ้นแทนที่เราจะเข้าสมาธิได้ แต่กลับไม่ได้แม้ "ขณิกสมาธิ" เลยด้วยซ้ำๆ"
นี่เรียกว่าเพราะยังหวงแหน ยังห่วงอยู่ ยังเอาจิตไปจับอารมณ์ความรู้สึกปรุงแต่งต่างๆอยู่ ทำให้ไปไม่ถึงไหนเสียที
ซึ่งผมเองคนหนึ่งเช่นกันที่เป็นอย่างนี้ ด้วยเพราะเห็นมาจริงและไม่จริงด้วยอนุมานเอาบ้างจนตีกันมั่วไปหมด
เป็นเหตุให้ไม่สามารถหาความสงบให้ใจได้ ทั้งๆที่เมื่อก่อนเคย สงบ เข้าสมาธิได้ง่าย เจริญกุศลจิตได้ง่าย
ด้วยเหตุนี้เผมจึงใคร่ขออนุญาต พระคุณเจ้าทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลายเผยแพร่แนวทางแก้ไขดังนี้ครับ


ยกตัวอย่างเช่น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2013, 07:38:14 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
1. การเตรียมตัว-เตรียมใจเพื่อเข้าถึงสมาธิ

เราตั้งไว้ว่าจะนั่งสมาธิให้เกิดสมาธิให้ได้ซัก 30 นาที
เราก็ตั้งนาฬิกาปลุกไว้ในมือถือก็ได้ว่า จะให้ปลุกหลังจากนี้ไปอีก 30 นาที
แล้วก็ตั้งเจตนามั่นเป็นปณิธานว่า
จะนั่งไม่ลุกไปไหน ไม่เปลี่ยนท่า
แม้จะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม จะไม่ลุกจากการนั่งในครั้งนี้เด็ดขาด
จะเกิดไปรู้อารมณ์ความรู้สึกยังไง ก็จะไม่ลุกขึ้นจากที่นี้เด็ดขาด
แม้จะต้องตายก็ช่างมัน กายมันจะเป็นยังไงก็ช่างมัน
จะไม่ห่วง ไม่ติดในรูปขันธ์ คือกายนี้อีก
จนกว่าจะได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกที่ตั้งปลุกไว้


แนวทางเบื้องต้น ในการพิจารณาเพื่อปล่อยวางให้เข้าสมาธิจิตได้ง่ายขึ้น

- คนที่มีความสุขกายและใจมาก ให้พิจารณารู้เห็นตามจริงว่าไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้แน่นอน
คนที่มีความสุขมากนี้..เพราะมีพร้อมทุกอย่างอยู่แล้วจึงมักจะคิดว่า สิ่งที่ตนมีนี้มันเพรียบพร้อมอยู่แล้ว เป็นสุขอยู่แล้ว ไม่ต้องไปไขว่คว้าหากทางพ้นทุกข์ใดๆอีก เพราะที่มีก็ดีพร้อมอยู่แล้ว จึงเป็นเหตุให้ยากต่อการจะตัด ความติดใจ ความพอใจยินดี ความยึดมั่น-ถือมั่น ในสิ่งที่ตนมี-ที่ตนได้เสพย์เสวยรู้อารมณ์ใดๆนี้อยู่นั้นได้ยาก
สมาธิของคนที่มีความสุขมากนี้..จะสามารถเข้าสมาธิได้ง่ายด้วยเพราะมีความสุขกายสบายใจอยู่แล้วจึงมีความกัลวลใจน้อย คิดน้อย เป็นเหตุให้สมาธิตั้งมั่นได้ง่ายและเร็ว เรียกว่าสุขสร้างสมาธิ
ด้วยเหตุนี้..คนที่มีความสุขจะเห็นจริงในทุกข์ทั้งปวงและเข้าถึงทางพ้นทุกข์ได้นั้น จึงต้องพิจารณาให้เห็นว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง-มีความไม่คงอยู่-มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดาจะไม่ล่วงพ้นสิ่งนี้ไปได้ สิ่งไม่เที่ยงทั้งหลายเหล่านี้คือ ทุกข์ เมื่อรู้ว่าเข้าไปยึดในทุกข์แล้ว จิตย่อมน้อมมาสู่ทางเจริญปฏิบัติเพื่อพ้นกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้มากขึ้น จนเห็นชัดใน อริยะสัจ๔

- คนที่มีความสุขและทุกข์คละเคล้ากันไป ให้พิจารณาเห็นถึงความไม่มีตัวตน-สิ่งใด-บุคคลใด ทั้งสิ่งที่เราพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี ว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าปารถนาใคร่ได้ยินดี สิ่งเหล่านี้มันหาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้
คนที่มีความสุขและทุกข์คละเคล้ากันไปนี้..จะได้รับรู้ทั้งความสุขและความทุกข์ทั้งหมด เห็นเหตุให้ตั้งเอาจิตเข้าไปยึดมั่น-ถือมั่นว่า สิ่งนี้ๆคือสุข และ สิ่งนี้ๆคือทุกข์ เป็นเหตุให้มีทั้ง ความพอใจยินดีใคร่ได้ และ ไม่พอใจยินดีใคร่ได้อยู่มาก จนยากที่จะดับในความยึดมั่น-ถือมั่นนี้ๆไปได้
สมาธิของคนที่มีความสุขและทุกข์คละเคล้ากันไปนี้..จะสามารถเข้าสมาธิได้ยากบ้าง ง่ายบ้าง ตามแต่สภาวะจิตที่ติดข้องใจใดๆ ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงอยู่นั้น ด้วยเพราะมีความสุขและทุกข์กาย-ใจอยู่คละเคล้ากัน จึงมีความกัลวลใจ และ ความคิด มากบ้าง-น้อยบ้าง ตามแต่สภาวะจิตที่ได้เสพย์เสวยรู้อารมณ์อยู่ในขณะนั้นๆ
ด้วยเหตุนี้..คนที่มีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากันไปนี้ จะสามารถละความติดข้องใจใดๆทั้งพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีได้นั้น ต้องพิจารณาเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตนอันใดที่เราจะไปสั่งบังคับ-จับต้อง-ยื้อยึด-ฉุดรั้งให้มันเป็นไปดั่งใจเราได้ มันมีความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปเป็นธรรมดา หาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์
ยิ่งปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์เสวยอารมณ์ในสิ่งนี้ๆมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มากเท่านั้น ความสุขแท้จริงที่ได้จากการได้เสพย์สมอารมณ์ในสิ่งนั้นไม่มีเลย

ให้พิจารณารู้วางใจกลางๆ
ละความปารถนาใคร่ได้ยินดีนั้นๆไปเสีย จนเข้าถึงความว่างไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์ของจิต จะทำให้เข้าถึงสมาธิจิตได้ง่ายขึ้น แล้วพิจารณาในสภาวะธรรมใดๆจนแจ้งใน อริยะสัจ๔

- คนที่มีความทุกข์มาก ย่อมรู้เห็นในทุกข์เป็นเบื้องต้นแล้ว ให้พิจารณารู้เห็นตามจริงในสัจธรรม และ ธรรมทั้งปวง ให้พิจารณาเห็นในอริยะสัจ๔ อันประเสริฐ จนเห็นว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา สิ่งนี้ๆไม่ใช่ของเรา
คนที่มีความทุกข์มากนี้..จะได้รับความทุกข์อย่างมาก มองไปทางใดๆก็มีแต่ทุกข์ จนมองหาสุขใดๆไม่ได้เลย ทำให้ไปยึดมั่น-ถือมั่นด้วยอนุมานในใจว่าหากเรามีสิ่งนี้ หากเราได้อย่างนี้ หากเราไม่สูญเสียอย่างนี้ หากเราทำได้อย่างนี้เราจะเป็นสุขโดยแท้ จะไม่ทุกข์อีกเลย ทำให้ใจเข้ายึดยึดถือว่า สิ่งนี้เป็นเรา สิ่งนี้เป็นของเรา สิ่งนี้เราควรจะได้ ก่อเกิดเป็นความปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ ทะยานอยากที่จะมี-จะเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น หลุดพ้นจากทุกข์ไม่ได้ด้วยความไม่เห็นตามจริงในสัจธรรมทั้งปวง
สมาธิของคนที่มีความทุกข์มากนี้..จะเข้าสมาธิได้ยากมาก เพราะใจมีแต่ความปารถนาใคร่ได้ยินดี ทะยานอยากที่จะได้มาก จนไม่เป็นสมาธิเพราะความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานมีมากเกินไป
ด้วยเหตุนี้..คนที่มีความทุกข์มากต้องมีความเข้าใจและเห็นจริงในสัจธรรมเป็นเบื้องต้น เช่น รู้ว่าความปารถนาเป็นทุกข์ ความว่าคนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุด รู้ว่าคนเรามีแต่ทุกข์ที่เกิดและดับ มองเห็นในเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดแก่ตน มองเห็นทางพ้นทุกข์อันประเสริญคือ มรรคมีองค์๘ เข้าถึงความพ้นทุกข์ จนเห็นความไม่เที่ยง รู้ความไม่มีตัวตน ไม่มีสิ่งที่เป็นเรา ไม่มีสิ่งที่เป็นของเรา
เมื่อเห็นจริงในสัจธรรมทั้งปวง และ อริยะสัจ๔ จนถึงความไม่ใช่เรา-ไม่มีเรา ไม่ใช่ของเรา-ไม่มีของเรา เป็นหลักนี้ จิตจะยังลงสู่ความปล่อยวางในอุปาทานใดๆมากขึ้นจนเข้าสู่สมาธิได้ง่าย เห็นแจ้งใน สมุทัย มากขึ้นและเจริญเข้าสู่ มรรคมีองค์๘ ได้ง่ายขึ้น จะเห็นความถึงแห่ง นิโรธ ว่าไม่มีสิ่งใดสุขประเสริฐยิ่งกว่านี้แล้ว


แต่หากท่านใด..สามารถเข้าสมาธิจิตได้โดยปราศจากความยึดมั่นอุปาทานนี้ได้แล้ว ก็สามารถข้ามไปเจริญปฏิบัติในข้อที่ 2 ได้ทันทีครับ เพราะแนวทางข้างต้นนี้สำหรับคนที่ยังยึดมั่นถือมั่นมากอยู่เป็นแนวทางเบื้องในอีกหลายล้านแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2013, 07:40:51 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
2. การเจริญสมาธิเพื่อตัดในรูปขันธ์และความรู้อารมณ์ใดๆ

เราก็ทำสมาธิตามธรรมดาทั่งไป ดีที่สุดคือ พุท-โธ นี้คือชื่อเรียกพระพุทธเจ้า
ให้หายใจเข้า-ออกยาวๆครั้งแรก ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า โดยระลึกถึงภาพพระพุทธเจ้า หรือ พระพุทธรูปใดๆ แล้วเราน้อมกราบแทบเบื้องพระบาทนั้น
ให้หายใจเข้า-ออกยาวๆครั้งที่สอง ระลึกถึงคุณพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเป้นธรรมอันประเสริฐอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ให้หายใจเข้า-ออกยาวๆครั้งที่สาม ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ ผู้เป็นพระอรหันต์และพระอริยะเจ้าทั้งหลายที่ท่านได้เผยแพร่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เราได้รู้ธรรมอันประเสริฐนี้ เป็นสงฆ์ที่ควรแก่การเคารพนอบน้อมกราบไหว้
ให้หายใจเข้า-ออกยาวๆครั้งที่สี่ ระลึกถึงคุณบิดา มารดา และ บุพการีทั้งหลายที่ให้กำเนิด เลี้ยงดูเรามา ได้เรียน ได้เติบใหญ่ จนได้พบพระพุทธศาสนาอันประเสริฐนี้
ให้หายใจเข้า-ออกยาวๆครั้งที่สี่ ระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ ที่ชี้แนะสั่งสอนวิชาให้เราได้เรียนรู้ ได้ใช้ประโยชน์จากวิชาที่ท่านให้การชี้แนะสั่งสอนนั้น


- จากนั้นก็หายใจเข้า-ออกตามปกติ
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" ระลึกถึงความสุข เรื่องราวที่ทำให้สุขกาย สุขใจ สบายกาย สบายใจ (เพื่อให้จิตผ่อนคลาย)
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" ระลึกถึงเพียงความสงบที่เว้นว่างจากการปรุงแต่งใดๆ
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" พิจารณาเพียงการรู้อารมณ์จากผัสสะที่ลมหายใจเข้า ที่เข้าทางจมูกไหลผ่านลงไปที่ท้อง เมื่อรู้สึกว่าลมหายใจมันสุดที่จุดไหน ก็ให้เอาจุดนั้นตั้งเป็นฐานแห่งความระลึกรู้ของสมาธิในลมหายใจเข้านี้ หายใจออกพิจารณาจากจุดที่เป็นฐานแห่งความระลึกรู้ลมนั้น ไหลผ่านออกไปยังปลายจมูก
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" พิจารณาเพียงการรู้อารมณ์จากผัสสะที่ลมหายใจเข้า - ออก
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" ระลึกถึงลมหายใจเข้า-ออก
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" ระลึกถึงลมหายใจเข้า-ออก ไปเรื่อยๆจนจิตนิ่งว่าง ไม่ตรึกนึกคิด ไม่ปรุงแต่งใดๆ นอกจากความว่าง สงบ ผองใส


หากไม่สามารถทำให้ใจสงบได้ ให้ดูวิธีพิจารณาดังนี้

- หากเมื่อเกิดความคิดปรุงแต่งใดๆในทาง รัก โลภ โกรธ หลง หรือ ความสำคัญมั่นหมายใดๆของใจ หรือ รู้รับรู้ใดๆทางใจ
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่าเราจักทิ้งไปเสียซึ่งความ รัก (หรือ โลภ หรือ โกรธ หรือ หลง )ใดๆนี้
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราจักไม่ยึดถือเอามันมาตั้งเป็นอารมณ์ความรู้สึกแห่งจิตอีกแล้ว
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราจะไม่ร้อน ไม่ฟุ้งพล่าน ไม่ระส่ำระส่ายไปตามสิ่งเหล่านี้อีก
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" ให้พึงระลึกในใจว่า แม้จะต้องขาดใจตายในตอนนี้ก็จักไม่ลุกขึ้นจากที่นี้เป็นอันขาด
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า หากแม้ต้องขาดใจตายตรงนี้ ก็จะขอเอากายและใจนี้ถวายเป็นพุทธบูชาแด่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราไม่ยึดมั่นในจิตสังขาร(เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) ทั้งปวงนี้อีกแล้ว
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราไม่ยึดมั่นในความรับรู้ใดๆทางใจนี้อีกแล้ว เราทิ้งไปแล้วซึ่งความรู้ทางใจนั้น


- หากเมื่อเกิดความคิดห่วงใยใดๆเกิดขึ้น เช่น ห่วงสิ่งของ ห่วงลูก หลาย พ่อ แม่ ปู่ ข่า ตา ยาย แฟน ฯลฯ เป็นต้น (ส่วนนี้จะสำคัฯมากเฉพาะคนที่มีบ่วงผูกใจ จึงแยกออกมาเป็นอีกข้อจากความปรุงแต่งจิตครับ)
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราจักละความห่วงหา คิดพล่านฟุ้งซ่านใดๆเหล่านี้ เพื่อประโยชน์สุขที่เอื้ออนุเคราะห์อันยิ่งใหญ่ให้แก่เขาเหล่านั้นในภายหน้า
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราจักไม่ติดในห่วงแห่งบ่วงเหล่านี้ ด้วยหาประโยชน์สุขไม่ได้แก่ทั้งเราและเขาเหล่านั้น นอกจากความฟุ้งซ่านเป็นทุกข์
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราเจริญกัมมัฏฐานนี้ก็เพื่อให้รู้แจ้งและเอื้อประโยชน์สุขให้แก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นให้จงได้
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราจะไม่ร้อนรน ไม่ฟุ้งพล่าน ไม่ระส่ำระส่ายไปตามใจที่ห่วงฟุ้งซ่านนี้อีก
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราทิ้งแล้วซึ่งจิตห่วงฟุ้งซ่านนี้ๆ เพราะมันเป็นกำแพงกั้นไม่ให้เราไปถึงซึ่งสิ่งที่เอื้อประโยชน์ให้แก่เขาเหล่านั้นในภายหน้า
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า จิตห่วงฟุ่งซ่านเหล่านี้มันเป็นเพียงความคิดปรุงแต่งจิตเรา
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราจักไม่ยอมลุกจากการเจริญในสมาธิในครั้งนี้ 
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" ให้พึงระลึกในใจว่า แม้จะต้องขาดใจตายในตอนนี้ก็จักไม่ลุกขึ้นจากที่นี้เป็นอันขาด
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า หากแม้ต้องขาดใจตายตรงนี้ ก็จะขอเอากายและใจนี้ถวายเป็นพุทธบูชาแด่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ด้วยเดชแห่งบุญนั้นจงนำพาซึ่งประโยชน์สุขหยั่งไปถึงแก่บุคคลเหล่านั้นทั้งหลาย ด้วยการถวายซึ่งกายและใจนี้ของข้าพเจ้า
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราไม่ยึดมั่นในความรับรู้ใดๆทางใจนี้อีกแล้ว เราทิ้งไปแล้วซึ่งความรู้ทางใจนั้น


- หากเมื่อเกิดการรู้อารมณ์ภายนอกใดๆในขณะนั่งสมาธิ นั่นคือ ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส รู้การกระทบสัมผัสทางกาย
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า หู (หรือ จมูก หรือ ลิ้น หรือ กาย) นี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
 หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า หู (หรือ จมูก หรือ ลิ้น หรือ กาย) ไม่มีความจำเป็นและสำคัญใดๆต่อเราอีก
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราทิ้งไปแล้วซึ่ง หู (หรือ จมูก หรือ ลิ้น หรือ กาย)
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราทิ้งไป แล้วซึ่ง อาการทั้ง 32 ประการเหล่านี้ เพราะมันสักเป็นแต่เพียงแค่ธาตุที่มาประชุมกัน มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นเบื้องต้น อาศัยกันเกิดขึ้น ไม่มีตัวตน บุคคลใด
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เราจะไม่คล้อยตามการรับรู้ใดๆทาง หู (หรือ จมูก หรือ ลิ้น หรือ กาย)
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า เสียงอะไรก็ช่างมัน เพราะเรามี สฬายตนะ จึงทำให้รู้อารมณ์ในสิ่งนั้นเป็นธรรมดา(กลิ่นอะไรก็ช่างมัน รสยังไงก็ช่างมัน คันยังไงก็ช่างมัน เจ็บยังไงก็ช่างมัน เจ็บ-ปวด-ชายังไงก็ช่างมัน)
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ"  ให้พึงระลึกในใจว่า แม้ต้องตายอยู่ตรงนี้ ในเวลานี้ วินาทีนี้ ก็จักไปลุกขึ้น ไม่ลืมตาขึ้นมอง ไม่เคลื่อนที่ย้ายตัวใดๆ จะตายก็ช่างมัน
หายใจเข้า ระลึก "พุทธ" - หายใจออก ระลึก "โธ" พึงเจตนาตั้งมั่นในใจแน่วแน่ว่า ตายก็ช่างมัน เราละแล้วซึ่ง สังขารธรรม(รวมขันธ์ 5 ทั้งหมด) ทั้งปวงเหล่านี้ เราไม่มีความยินดีในสังขารธรรมทั้งปวงเหล่านี้อีกแล้ว


แม้เพื่อตรึกนึกพิจารณาในข้างต้นแล้วยังตัดไม่ได้ให้เจริญสติพิจารณาดังนี้ครับ

ให้ตั้งเจตนามั่นไว้ในใจว่าจักไม่ลุกขึ้นจนกว่าจะถึงเวลาที่ตั้งไว้
พิจารณาในสภาพธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
พิจารณาเข้าถึงสภาพจริง สภาพความรู้สึกจริงๆ คือ พิจารณาสภาพปรมัตถธรรมนั้นๆ
พิจารณาในสภาพความรู้สึกจริงๆในขณะนั้นโดยไม่ให้ชื่อ ไม่ให้ความหมายใดๆ คือ ทิ้ง สมมติ บัญญัติใดๆไปทั้งหมด

การจะรับรู้แค่สถาพจริงใดๆโดยตัดขาดจากบัญญัตินั้นๆ สำหรับผมกระทำโดย

หายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ สุดลมนิ่งอยู่ พึงตั้งสติจดจ่ออยู่ที่สภาพความรู้สึกนั้น
หายใจออกยาวๆ สุมลมนิ่งอยู่ พึงตั้งสติจดจ่ออยู่ที่สภาพความรู้สึกนั้น


- เมื่อแรกเริ่มใหม่ๆ อาจจะระลึกรู้ตามลมที่ไหลเข้า รู้ผัสสะจากลมนั้นๆ เช่น การเคลื่อนตัว แสบ ร้อน-เย็น ชื้น เมื่อสุดลมหายใจให้เอาสติไปจดจ่อรู้ในสภาพความรู้สึกจริงๆในขณะนั้นค้างอยู่สักพักก่อนหายใจออก
- เมื่อสภาพที่ลมหายใจละเอียดขึ้น สภาพจิตละเอียดขึ้น สมาธิจดจ่อนิ่งอยู่เอื้อต่อสัมมาสติ (สมาธินี้ คือ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ตัดจาก กามราคะ พยาบาท จดจ่อนิ่งเอื้อให้สติเกิดระลึกรู้เป็นสติปัฏฐาน เกื้อหนุนให้เห็นตามจริงใน อริยะสัจ๔ การเจริญในวิปัสนาจะเห็นจริงได้ต้องอาศัยสมาธินี้) จิตมันจะรับรู้แค่สภาพปรมัตถธรรมนั้น ไม่มีบัญญัติ ไม่มีตรึกนึกคิด แม้รู้สึกยังไง รู้ว่าคืออะไรก็ไม่มีชื่อเรียก เห็นอะไรก็ไม่มีชื่อเรียก ไม่ให้ความหมาย มีสติเกิดรู้ก็สักแต่เพียงรู้ รู้ในสภาพปรมัตถธรรมนั้นๆ นี่้รียกว่า จิต เห็น จิต


วิธีนี้เป็นแค่การเริ่มต้นในการละความยินดีในขันธ์ 5 คือ กาย-ใจของเรานี้เท่านั้นนะครับ หากเมื่อทำได้เป็นประจำๆแล้ว ความยึดมั่นทางกายและใจลดลงมากขึ้นแล้ว ก็ค่อยๆเพิ่มเวลาให้มากขึ้นทีละนิดๆ เพื่อจิตรวมเป็นหนึ่งเดียวได้นานแล้ว ก็ค่อยๆถอยออกมาพิจารณาสภาพธรรม
พิจารณาลงใน อริยสัจ๔ เข้าวิปัสนา หรือ เมื่อเกิดจิตเห็นจิตใดๆแล้วให้พิจารณาเห็นในสภาพจริง หรือ สภาพธรรมนั้นๆ เห็นถึงความไม่มีตัวตน บุคลใด สัตว์ใด สิ่งของวัตถุใดๆ มีเพียงนามรูป เป็นเพียงแค่ นามธรรม รูปธรรมเท่านั้น ไม่มีสิ่งใดๆเลย

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ

(จุดจากการหายใจนี้ผมได้ประยุกต์ใช้มาจากที่ พระพิศาลศาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล) ท่านเป็นลูกลูกศิษย์หลวงปู่ดุลย์และหลวงตามหาบัวท่านสอนไว้ โดยท่านสอนเป็นนัยย์อุบายแห่งการภาวนา ดังนี้คือ  ให้หาน้ำเย็นๆ 1 แก้ว ดื่มลงไป นั่งนิ่งๆ มีสติระลึกรู้ตามน้ำเย็นไปเรื่อยๆ ค่อยๆ สังเกตไปเรื่อยๆ น้ำเย็นจะค่อยๆ แผ่วๆ ตรงสุดท้ายที่ความเย็นหยุดนิ่ง ให้เอาเป็นฐานการระลึกรู้ของการภาวนา จะภาวนาอะไรก็ได้ แต่จริงๆ ตรงนั้นคือตัวผู้รู้
ที่มาจากเวบ http://www.xn--22c9aycfh5cjbb8k.com/index.php?page=tamma&ct=2)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 08, 2013, 02:24:24 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมใคร่ขออนุญาต พระคุณเจ้าทั้งหลาย ท่านสมาชิกเวบ และผู้ดูแลระบบทุกท่าน เผยแพร่กระทู้ธรรมที่ผมปฏิบัติเจริญอยู่ตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน โดยผมได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เข้าตามจริตของผม ซึ่งคิดและเชื่อว่า..แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์ และ ให้ผลได้แก่ทุกท่านไม่จำกัดกาล จึงได้นำมาเผยแพร่ต่อท่านสมาชิกเวบทุกท่านให้ได้ลองปฏิบัติกัน หากเมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วเห็นผลได้ มีประโยชน์แท้จริง ผมใคร่ขอรบกวนท่านทั้งหลายได้อุทิศส่วนบุญกุศลแห่งธรรมทานนี้ให้แด่

คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ซึ่งท่านถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 15.49 น. อายุ 90 ปี 4 วัน

ประวัติโดยย่อของท่าน

- ท่านได้เลี้ยงลูกและเอาใจใส่ปลูกฝังให้ลูกมี ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี มีความขยัน หมั่นเพียร อดทน ซื่อสัตย์ สุจริต ซึ่งตัวท่านเองก็ปฏิบัติเช่นนี้อยู่เป็นประจำเพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกๆเห็นแล้วทำตาม
- เท่าที่ผมจำความได้ท่านสอนให้ผมว่า ให้เว้นจากความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ให้เว้นจากการฆ่าสัตว์แม้ มด ยุง ริ้น ไร ก็ห้ามไม่ให้ฆ่า ให้ผมไม่ขโมยลักทรัพย์ ไม่เอาของๆผู้อื่นที่เขาไม่ได้ให้ ให้ผมซื่อสัตย์-ซื่อตรงทำดีต่อครอบครัวตนเองและผู้อื่น ชี้ให้ผมเห็นโทษของสุราเมรัยไม่ให้ปารถนาที่จะดื่มกิน รู้สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน ท่านสอนให้ผมมีจิตปารถนาดีต่อผู้อื่น รู้เอื้ออนุเคราะห์แบ่งปันผู้อื่น มีการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีสติรู้ตน รู้สิ่งที่ควรละ-ควรปล่อย-ควรผ่าน-ควรวาง มีความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความปกติสุข-ปราศจากความเบียดเบียนทั้งกาย-ใจ รู้วางใจกลางๆในการอันควร ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต คิดดี พูดี ทำดี ขยัน อดทน ไม่เกี่ยงงาน ไม่พูดจาด่าทอให้ร้ายใคร
- ท่านเป็นเสมียนของ บริษัทสินธุสมุทรจำกัด (โรงน้ำปลาทั่งโก๋วฮะ) มานานหลายสิบปี ท่านซื่อสัตย์ต่อบริษัทมาตลอด ไม่เคยคดโกง ไม่เคยลักขโมย อยู่ด้วยความซื่อสัตย์ จนปัจจุบันท่านเป็นที่นับถือในความซื่อสัตย์สุจริต และ เพียรทำงานที่ดีที่ถูกต้องต่อบริษัท
- ตั้งแต่ผมจำความได้ สมัยยังเด็กๆ คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ท่านเป็นสหายธรรมของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ (ซึ่งหลวงปู่ท่านเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิง หลวงปู่เสาร์ และ หลวงปู่ท่านเป็นครูอุปัชฌาย์องค์แรกของผมเอง) สมัยเด็กๆจะเห็นท่านปั่นจักรยาน เอากับข้าวไปถวายเพลหลวงปู่ ไปนั่งสนทนาธรรมกับหลวงปู่นิลเป็นประจำ และ น้อมเอาแนวปฏิบัติสายพระป่ามาเจริญปฏิบัติ มีศีล สมาธิ เจริญกัมมัฏฐาน จนท่านสิ้นอายุขัยด้วยอายุ 90 ปี 4 วัน ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 15.49 น.

ผมขอบุญแห่งการเผยแพร่ธรรมปฏิบัติเพื่อความมีประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายนี้ มอบให้แด่ คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา (เตี่ยกิมคุณ แซ่โง้ว) ให้ได้อยู่ในภพภูมิที่ดีงาม มีความปกติสุขกายสบายใจ ไม่มีความทุกข์กายใจใดๆ ตราบสิ้นกาลนานเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2013, 07:37:41 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ