ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธไสยาส ที่วัดโพธิ์ ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของประเทศ [ชมภาพ]  (อ่าน 13903 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ขอบคุณภาพจาก http://www.watpho.com/


เกร็ดประวัติวัดโพธิ์

ที่ตั้ง : 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย
 
พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจน

 
 ans1 ans1 ans1 ans1

มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ อำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น "วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม"

 
 :25: :25: :25: :25:

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาส สวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่ พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ
 
เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑ และที่ ๓ ขุนนางเจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถาน และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวงด้วยพลังศรัทธา ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยเปิดสรรพวิชาไทยแห่งแรก ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น

_________________________________________________
ข้อมูลจาก : http://www.watpho.com/history_of_watpho.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2015, 11:20:53 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0









บรรยากาศหน้าวิหารพระพุทธไสยาส ที่วัดโพธิ์ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เจดีย์หน้าวิหารพระพุทธไสยาสที่เห็น ค้นหาประวัติยังไม่เจอครับ

น้ำตกหน้าวิหารพระพุทธไสยาส ก็ไม่ทราบประวัติ


(สองภาพบน) ตุ๊กตาจีนที่เห็นไม่ใช่ยักษ์จีน ตุ๊กตาสลักด้วยศิลาหน้าตาเป็นจีนนี้เรียกว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล”
ส่วนศาลาด้านซ้าย คือ ศาลาสิริ วัฒนภักดี การไหว้พระนอนที่วัดโพธิ์ ต้องไหว้ที่ศาลานี้เท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2015, 09:54:52 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0







บรรยากาศที่ศาลาสิริ วัฒนภักดี ศาลานี้อยู่ด้านข้างวิหารพระพุทธไสยาส ใกล้ประตูทางเข้าวิหาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2015, 10:55:19 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



บรรยากาศภายในศาลาสิริ วัฒนภักดี เซียมซียังเป็นที่นิยมของเหล่าอิสสตรี

องค์ซ้ายคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
                      จำร้อยกรองบทนี้ได้ไหมครับ.?
                         “พฤษภกาษร อีกกุญชรอันปลดปลง
                          โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
                          นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
                          สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประทับไว้ในโลกา”
.....เป็นพระนิพนธ์ของท่าน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อากาศภายในวิหารเย็นสบายดีครับ แต่ผมรู้สึกตาร้อน :49:






:welcome:อยู่นอกวิหารตั้งนาน ได้ฤกษ์เข้ามาภายในวิหารพระพุทธไสยาสซะที :sign0144:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0






ภาพชุดนี้รวมทั้งชุดด้านบน ถ่ายด้วยกล้องมือถือครับ
บรรยากาศภายในวิหารพอเข้ามา รู้สึกว่า เข้ามาอยู่ในอีกโลกหนึ่ง มันแตกต่างจากด้านนอกวิหารมากๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2015, 09:35:43 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




ภาพชุดนี้เป็นผ่าพระบาทพระพุทธไสยาส


มงคล ๑๐๘ ประการ ที่ผ่าพระบาทพระพุทธไสยาส

พระพุทธไสยาส มีการประดับมุกประณีตศิลป์ที่ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ข้าง ซ้าย-ขวา เป็นรูปอัฎฐตดรสตมงคล หรือมงคล ๑๐๘ ประการ ซึ่งเป็นคติความเชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาของลังกา โดยระบุว่าเป็นมงคลที่พราหมณ์ได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อประสูติได้ ๕ วัน แต่ปรากฏว่าไม่มีการสร้างพระพุทธบาทรูปลักษณ์นี้ในลังกา หากแต่พบที่พุกาม ประเทศพม่า กล่าวกันว่า มงคล ๑๐๘ ประการนี้ เป็นการพัฒนาแนวความคิด และสืบทอดมาจาก รูปมงคล ๘

    มงคล ๑๐๘ ประการ ประกอบด้วยมงคลต่างๆ แบ่งประเภทได้ดังนี้
    ๑. เป็นลักษณะแห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่นหม้อน้ำ ปลาคู่ สวัสดิกะ พวงมณี ดอกบัว เป็นต้น
    ๒. เป็นเครื่องประกอบพระบารมีของกษัตริย์และพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น สัตตรัตนะ ๗ ประการ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ บัลลังก์ เครื่องสูง เครื่องยศ เครื่องตันต่างๆ และราชพาหนะ เป็นต้น
    ๓. เป็นส่วนประกอบของพระภูมิในจักรวาลตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา เช่น เขาจักรวาล มหาสมุทร ทวีปทั้ง ๔ เขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น

_______________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/buddha.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


รปภ. กำลังให้แลกเหรียญ เพื่อนำไปหยอดลงบาตร



ผมเป็นคนหนึ่งที่แลกเหรียญมาหยอดลงบาตรที่เห็น


ภาพชุดนี้ทั้งหมด เป็นด้านหลังของพระพุทธไสยาส


ภาพที่ถ่ายด้วยกล้องมือถือมีให้ชมเท่านี้ ยังมีภาพให้ชมจากอีกกล้องหนึ่ง โปรดติดตาม......
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

hiso

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11 st12 thk56

 มีเนื้อหา และภาพ มาฝาก กันเยอะเลย

 :49: :c017:
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11  st12  thk56

 :25:  :25:  :25:  :58:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 

    ขออนุโมทนาสาธุ  ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0






พระพุทธไสยาส

พระพุทธไสยาส หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกำแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว ๑ เส้น ๓ วา (๔๖ เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา ๑๕ เมตร เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว ๓๐ ศอก (๕ เมตร) กว้าง ๕ ศอก (๒.๕๐ เมตร) พระพุทธบาท ยาว ๕ เมตร สูง ๓ เมตร จัดว่าเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ

พระพุทธไสยาส เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม โดยเฉพาะศิลปะการประดับมุกที่ฝ่าพระบาท ได้รับการยกย่องว่า เป็นพระนอนองค์ใหญ่ที่มีความงดงามเป็นเอกในบรรดาพระนอนด้วยกัน เป็นที่เคารพสักการะ เลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่งทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นับเป็นพระพุทธปฏิมากรสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่บ้านเมืองอย่างหนึ่ง ทั้งยังนับเนื่องอยู่ในคติการไหว้พระ ๙ วัด ของพุทธศาสนิกชน โดยมีคติว่าจะได้ ร่มเย็นเป็นสุข



ประวัติการสร้างและมูลเหตุการณ์สร้างพระพุทธไสยาส

พระพุทธไสยาส วัดพระเชตุพนนี้โปรดให้สร้างขึ้นด้วยทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปปางสำคัญได้สร้างขึ้นในวัดนี้หลายปางแล้ว ขาดแต่ปางไสยาสเท่านั้น กล่าวกันว่า พระบาทมุกเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมหาที่ติมิได้ พระพุทธไสยาส จึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างในยุคทองแห่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ที่รุ่งโรจน์ที่สุด ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระทัยใฝ่ในการกุศลจนมีคำกล่าวว่า "ใครสร้างวัดก็โปรด"
_______________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/buddha.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2015, 09:08:42 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




"ร้อยแปดมงคล" บนพระพุทธบาท

ตามหลักพระพุทธศาสนา “มงคล” หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ มีทั้งสิ้น 38 ประการ หรือที่เรียกเต็มๆว่า อุดมมงคล หมายถึง มงคลอันสูงสุด 38 ประการ ดังปรากฏในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องมงคล 38 ประการ

เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงมงคลสูตร เนื่องจากก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าจะตรัสมงคลสูตรนี้ ในมนุษย์โลกได้เกิดปัญหาถกเถียงกันว่า อะไรเป็นมงคล บางคนว่ารูปที่เห็นดี เป็นมงคล บ้างว่า เสียงที่ได้ยินดีเป็นมงคล บ้างว่ากลิ่น รส สัมผัสที่ดี เป็นมงคล ต่างฝ่ายต่างยืนยันความเห็นของตนไม่ยอมกัน ปัญหานี้ แพร่ไปถึงเทวโลก และพรหมโลก จนเกิดความแตกแยกเป็น 3 ฝ่าย หาข้อยุติไม่ได้

 



มงคล 108 ในพระพุทธบาทลักษณะ

ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก ความคิดเรื่อง “มงคล” ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเน้นที่ “มงคล 38 ประการ” ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติตน โดยที่ไม่ได้ทรงตรัสถึงสิ่งที่เป็นมงคล หรือ สัญลักษณ์ที่เป็นมงคลแต่ประการใด แนวคิดเรื่องมงคล 108 ประการ จึงเป็นแนวคิดเกิดขึ้นภายหลัง ดังปรากฏสัญลักษณ์มงคลของอินเดีย ที่มีตั้งแต่โบราณ เช่น เครื่องหมายสวัสดิกะ มาเป็นสัญลักษณ์มงคลที่ปรากฏในรอยพระพุทธบาท ปรากฏหลักฐานทั้งในคัมภีร์เถรวาท และมหายาน และหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับ “รอยพระพุทธบาท” และ “มงคล 108 ในพระพุทธบาทลักษณะ”
 



ในคัมภีร์มี หลักฐานปรากฏลักษณะมงคล

    - อนึ่ง ในคัมภีร์ มหาวัสตุ องทาน ฉบับภาษาสันสกฤต กล่าวว่า ในพระพุทธบาท จะปรากฏ จักร(ธรรมจักร) สวัสดิกะ นอกจากนี้ยังมีภาพดอกบัวที่ฝ่าพระหัตถ์ และพระพุทธบาท             
    - ในคัมภีร์ ลลิตวิสตระ ภาษาสันสกฤต กล่าวว่า ในพระพุทธบาทจะประกอบไปด้วย สวัสดิกะ นันทยาวรรต และสหัสรารจักร
    - ในคัมภีร์ ภัทรกัลปิกะ ภาษาทิเบต กล่าวว่า ในพระพุทธบาทจะมีภาพหม้อน้ำ สวัสดิกะ และนันทยาวรรต
    - ในคัมภีร์ ศรีศากยสิงหะ-โสตตระ ภาษาสันสกฤต กล่าวว่า ในพระพุทธบาท จะมีภาพจักร ที่ฝ่าพระหัตถ์จะมีรูปจามร และจักร
    - นอกจาก คัมภีร์พุทธศาสนา ที่เป็นภาษาสันสกฤตแล้ว ในคัมภีร์ฝ่ายบาลี ก็ปรากฏสัญลักษณ์มงคลในพระพุทธบาทด้วย เช่น ในคัมภีร์พุทธวงศ์ภาษาบาลี กล่าวว่าในพระพุทธบาทจะมีรูปจักร ธช(ธง) วชิระ ปฏากา วัฑฒมาน และอังกุศ
    - ในคัมภีร์อปทาน ภาษาบาลี กล่าวว่า ในพระพุทธบาทมีรูปจักร อังกุศ ธช ในนรสีหคาถา ภาษาบาลี กล่าวว่า ในพระพุทธบาทจะประกอบไปด้วย จักร จามร ฉัตร เป็นต้น





มงคล 108 ในพระพุทธบาท พบฉบับใบลาน

ในราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เริ่มมีรูปมงคลบนพระพุทธบาท เช่น รูปสวัสดิกะ รูปตรีรัตน รูปภัทรบิฐ และรูปดอกบัว ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-9 พระพุทธบาทในสมัยอมราวดี จึงเริ่มมีลายมงคล 8 ประการ คือ คันฉ่อง ขอช้าง ปลาคู่ ตรีรัตน หม้อน้ำ ศรีวัดสะ สวัสดิกะ และ วัฑฒมาน ต่อมาความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธบาทนี้ ได้มีการนำมาขยายความและเกิดคติความเชื่อ เรื่องมงคล 108 ประการ โดยเฉพาะที่ลังกาทวีป ราวพุทธศักราช 1700 พระพุทธรักขิตเถระ ได้รจนาฎีกาขยายความคัมภีร์ชินาลังกาขึ้น เรียกว่า “ชินาลังการฎีกา” คัมภีร์นี้เอง ที่ได้กล่าวถึงมงคล 108 ประการในรอยพระพุทธบาท ซึ่งเรียกว่า “อัฏฐุตตรสตมหามงคล” ไว้ด้วย

ในภายหลังได้มีผู้รจนาขยายความ “มงคล 108 ในพระพุทธบาท” ชื่อว่า “คัมภีร์พุทธบาทลักขณะ” แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง และยุคสมัยแต่ง คัมภีร์พุทธบาทลักขณะที่พบในปัจจุบันเป็นฉบับใบลาน อักษรขอม-ภาษาบาลี จารขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2292 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

 



รอยมงคล 108 ในพระพุทธบาท

ตามหลักฐานทางโบราณคดีนั้น พระพุทธบาทเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะรอยมงคล 108 ในพระพุทธบาท ปรากฏสืบเนื่องมาทั้งในการสร้างรอยพระพุทธบาททั้งในลังกา พุกาม สุโขทัย อยุธยา กัมพูชา

ในปัจจุบันที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ปรากฏสัญลักษณ์มงคล 108 ที่ภาพสายประดับมุกที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์ ผู้ที่ไปเที่ยวชมวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง มักจะลืมเลือนเว้นไปเยือนวัดโพธิ์ ซึ่งมีสัญลักษณ์อันเป็นมงคลดังกล่าวข้างต้นแล้ว ณ ปัจจุบันยังเป็นวัดมรดกโลกแห่งใหม่อีกด้วย นะเจ้าคะ

 

จากหนังสือรัตนมงคลคำฉันท์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, กรมศิลปากร, 2547, หน้า 148
ที่มา http://www2.thaitownusa.com/frontnews/frmNews_View.aspx?Conn=Thai&NewsNo=0903000016
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
มงคล 108 ในรอยพระพุทธบาท
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มีนาคม 12, 2015, 10:38:59 am »
0
ขอบคุณภาพจาก http://www.watpho.com/buddha.php


มงคล 108 ในพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาทที่ปรากฏในที่ต่างๆ ในประเทศไทยนั้นจากประวัติศาสตร์พระพุทธเจ้าไม่ได้เสด็จมาเมืองไทย การที่มีรอยพระพุทธบาทนั้นสันนิษฐานว่าเกิดจากความศรัทธาของคน สมัยก่อนจึงได่ทํารอยพระบาทเอาไว้เพื่อให้คนได้มีความรู้สึกอุ่นใจว่า แม้ไม่ได้อยู่ในดินแดนของพระพุทธเจ้าก็ขอให้มีรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าอยู่ประเทศไทย จึงได้มีการสร้างเอาไว้ หรือบางทีอาจเกิดจากธรรมชาติ จึงยึดถือสมมติเอาว่าเป็นรอยพระบาท ถึงแม้จะพิสูจน์ไม่ได้ว่ าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า แต่ด้วยความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าอย่างแรงกล้าของบรรพบุรุษ เมื่อเห็นลักษณะเหมือนรอยเท่าก็ลงมติกันว่า เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

ถึงแม้จะไม่จริง แต่ก็เป็นการดีที่ได้กราบไหว้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และนับเป็นกุศโลบายของบรรพบุรุษที่เชื่อมโยงเอาสิ่งต่างๆที่แปลกธรรมชาติให้นําไปสู่การนับถือบูชาพระรัตนตรัย อันจะทําให้คนมีศรัทธาในพระศาสนาและมีจิตใจละเอียดอ่อนมากขึ้น ดีกว่าการนําไปบนบานสานกล่าวเพื่ออ้อนวอนให้ได้โชคลาภ อันผิดต่อคําสอนของพระพุทธเจ้า แต่การบูชาพระบาทเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าที่น่ายกย่องอีก เพราะเมื่อใจถึงพระพุทธเจ้าจะกราบไหว้อะไรก็ตาม ก็เหมือนได้ไหว้พระพุทธเจ้าองค์จริง

    มีภาพมงคลใดบ้างในรอยพระพุทธบาทจําลอง



ขอบคุณภาพจาก http://www.thaidphoto.com/


ภาพสวรรค์และรูปพรหม มีประมาณ ๒๔ ภาพ (สวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น)

    ๑. รูปพรหมชั้นสูงสุด คือ อกนิฏฐาพรหม ชั้นที่ ๑๖
    ๒. รูปพรหมชั้นที่ ๑๕ คือ สุทัสสีพรหม
    ๓. รูปพรหมชั้น ๑๔ คือ สุทัสสาพรหม
    ๔. รูปพรหมชั้น ๑๓ คือ อตัปปาพรหม
    ๕. รูปพรหมชั้น ๑๒ คือ อวิหาพรหม
    ๖. รูปพรหมชั้น ๑๑ คือ เวหัปผลาพรหม
    ๗. รูปพรหมชั้น ๑๐ คือ อสัญญีสัตตพรหม (หรือ พรหมลูกฟัก)
    ๘. รูปพรหมชั้น ๙ คือ สุภกิณหาพรหม
    ๙. รูปพรหมชั้น ๘ คือ อัปปมาณสุภาพรหม
   ๑๐. รูปพรหมชั้น ๗ คือ ปริตตสุภาพรหม
   ๑๑. รูปพรหมชั้น ๖ คือ อาภัสสราพรหม
   ๑๒. รูปพรหมชั้น ๕ คือ อัปปมาณาภาพรหม
   ๑๓. รูปพรหมชั้น ๔ คือ ปริตตาภาพรหม
   ๑๔. รูปพรหมชั้น ๓ คือ มหาพรหมาพรหม
   ๑๕. รูปพรหมชั้น ๒ คือ พรหมปุโรหิตาพรหม
   ๑๖. รูปพรหมชั้น ๑ คือ พรหมปาริสัชชาพรหม
   ๑๗. เป็นชั้นเทวโลกแดนกามาวจรภูมิ เป็นแดนของเทพเทวดาสวรรค์ชั้นที่ ๖ เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด คือ ปรนิมมิตวสวัตตี
   ๑๘. สวรรค์ชั้นที่ ๕ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี
   ๑๙. สวรรค์ชั้นที่ ๔ คือ สวรรค์ชั้นดุสิตตา
   ๒๐. สวรรค์ชั้นที่ ๓ คือ สวรรค์ชั้นยามา
   ๒๑. สวรรค์ชั้นที่ ๒ คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงสา
   ๒๒. สวรรค์ชั้นที่ ๑ คือ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
   ๒๓. สัญลักษณ์ของสวรรค์ดาวดึงส์นั้นตั้งอยู่บนยอดประธาน
   ๒๔. มีสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาอยู่บนยอดรองทั้ง ๔ ยอด ของเขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนของจักรวาล



ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/


ภาพมงคลอื่นๆ

    ๑. ภาพพระแสงหอก (สันติ) เปรียบ เสมือนพระอรหัตมรรคญาณและพระอรหัตผลญาณที่สามารถกำจัดหมู่มาร คือ กิเลสทั้งปวงได้ เรียกว่า ธรรมรัตนะหรือรัตนมงคล
    ๒. แว่นส่องพระพักตร์ (สิริวัจโฉ) มีความหมายว่า รัตนอุสภราช ซึ่งเป็นสิริมงคลทำให้เจริญได้โดยลำดับ เกิดขึ้นที่ฝ่าพระบาททั้งสอง ของพระพุทธเจ้า
    ๓. ดอกพุดช้อน (นันทิยาวัตตัง) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเสมือนพญาราชสีห์ บันลือสีหนาทยิ่งใหญ่ สีหราชนั้นทำพุทธสิริมงคลให้เจริญ
    ๔. สายสร้อย (โสวัตถิกัง) ท่าน อธิบายว่า เป็นรัตนะชื่อว่า รัตนโสตถิมงคล กล่าวคือ ผ้ารัตนบังสุกุลสามารถกำจัดเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง รัตนโสตถิ มงคลเป็นใยแก้ว สามารถจะให้สำเร็จการชวนดูชวนเห็นแก่เทวดาและมนุษย์ได้ตามสมควร
    ๕. ต่างหู (วัฎฎังสกัง) ได้แก่ การแทงตลอดมรรคผลด้วยวชิรญาณดุจการคล้องพวงดอกไม้แก้วให้เป็นสิริมงคลที่บ่า และศีรษะอันทำให้พระพุทธสิริคลเจริญ
    ๖. ถ้วยภาชนะ (วัทธมานัง) ได้แก่ ภาชนะทอง ชื่อว่าของที่รองรับน้ำนม เป็นสิ่งที่ทำให้พระพุทธมงคลเจริญได้ เกิดขึ้นที่ฝ่าพระบาททั้งสอง ของพระพุทธเจ้า
    ๗. ปราสาท (ปาสาโท) ชื่อว่า ปราสาทแก้วเป็นพระมหานิพพานนคร คือ รัตนปราสาท อันทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
    ๘. ขอช้าง (อังสุโส) ได้ชื่อ เป็นขอแก้วเป็นอรหัตมรรคญาณและอรหัตผลญาณ ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
    ๙. ซุ้มประตู (โตรณัง) ได้แก่ ประตูแก้วทั้ง ๒ คือ อรหัตมรรค และอรหัตผล เพื่อปิดประตูเมืองป้องกันกิเลส
   ๑๐. เศวตฉัตร (เสตัจฉัตตัง) เป็น เศวตฉัตรแก้ว อันทำให้พระพุทธสิริมงคลเจริญ
   ๑๑. พระขรรค์แก้ว (รัตนขัคคัง) คือ พระขรรค์แก้ว สามารถกำจัดกิเลสความเศร้าหมอง เป็นพุทธสิริมงคลที่เจริญ
   ๑๒. กำหางนกยูง (โมรหัตถัง) ได้แก่ พัดกำหางนกยูง ที่ตกแต่งสวยงาม ทำให้พระพุทธสิริมงคลเจริญ


ิิิิ    :25: :25: :25: :25:

   ๑๓. พระแท่นที่ประทับ (ภัททปิฎฐัง) ได้แก่ พระแท่นบัณธุกัมพลรัตนศิลาอาสน์ โคนต้นไม้ปาริฉัตตกะ (ไม้ทองหลาง ทองกวาว) ในภาพดาวดึงส์ เป็นสิริมงคลเจริญ
   ๑๔. พระมงกุฎ (อุณหิสัง) ได้แก่ มงกุฎแก้ว เป็นสิ่งทำให้สิริมงคลเจริญในโลกทั้งสาม
   ๑๕. เถาวัลย์แก้ว (รัตนวัลลี) เป็น พวงมาลัยแก้ว ให้เถาวัลย์ทองร้อยอย่างดีสวยงามมาก เป็นสิ่งที่ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
   ๑๖. พัดแก้ววาลวิชชนี (มณิกาลวิชชนี) เป็น พัดขนทรายที่ทำด้วยจามรี เป็นของงดงามด้วยรัตนะทั้งปวง ทำให้พระพุทธสิริมงคลเจริญยิ่ง
   ๑๗. พวงดอกมะลิ (สุมนทามัง) พวง ดวกมะลิแก้ว ใช้ด้ายทองคำผูกห้อยร้อยรัดอย่างดี เป็นเหมือนพระพุทธผู้ประเสริฐ ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
   ๑๘. ดอกบัวแดง (รัตตุปปะลัง) ได้แก่ ดอกอุบลแก้วสีแดง ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ อันเกิดขึ้นที่ฝ่าพระบาททั้งสองของพระพุทธเจ้า
   ๑๙. ดอกบัวขาบ (นีลุปปะลัง) ได้แก่ ดอกอุบลแก้วสีเขียว ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
   ๒๐. ดอกบัวขาว (เสตุปปะลัง) เป็นดอกบัวแก้วสีขาว เหมือนแก้วมณีและแก้วมุกดา ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
   ๒๑. ดอกบัวหลวงชมพู (ปทุมัง) เป็น ดอกบัวหรือปทุมแก้ว สีเหมือนแก้วมณี ทำให้สิริมงคลเจริญ
   ๒๒. ดอกบัวหลวงขาว (ปุณฑริกัง) เป็น ดอกปทุมแก้วสีขาวเหมือนแก้วมุกดา ชื่อว่า บุณฑริกา ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
   ๒๓. กระออมมีน้ำเต็ม (ปุณณมโฎ) หมาย ความถึง ภาชนะสำหรับรองรับน้ำนม ภาชนะแก้วมณีทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
   ๒๔. ถาดมีน้ำเต็ม (ปุณณจาฏิ) เป็น ภาชนะถาดทองคำ สำหรับใส่เครื่องบูชาของเทวดา และมนุษย์ ย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน


    st12 st12 st12 st12

   ๒๕. มหาสมุทรทั้ง ๔ (จตุสมุทโท) มี ความหมายว่า ศีล ๔ อย่างเป็นสัจธรรม ๔ ประการ ให้สัตว์ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๔ ภาพ)
   ๒๖. จักรวาล (จักกวาโฬ) หมาย ความว่า พระผู้มีคพระภาคเจ้าทรงมีพุทธญาณอันวิเศษ ทรงรู้นิสัยแห่งพระองค์ ชื่อว่าเป็นสัพพัญญุตญาณ
   ๒๗. ป่าหิมพานต์ (หิมวา) ชื่อว่าเป็นพระรูปกายของพระพุทธเจ้าที่มีพระฉวีวรรณดุจทอง สวยงามรุ่งเรืองเกินกว่ามนุษย์เทวดา
   ๒๘. ภูเขาสุเนรุ (สุเนรุ) ชื่อว่าเป็นพระรูปกายของพระพุทธเจ้าที่มิหวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ประการ ดังเช่นภูเขาสุเนรุ
   ๒๙. ดวงอาทิตย์ (สุริโย) คำ นี้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ทรงกำจัดความมืดมิด คือ กิเลสทั้งปวง
   ๓๐. ดวงจันทร์ (จันทิมา) เป็น ชื่อว่า พระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าเย็นฉ่ำยิ่งนักเปรียบดังน้ำในมหาสมุทร ทรงมีเมตตาธรรมและเย็นเยือกดุจพระจันทร์
   ๓๑. ดวงดาว (นักขัตตา) เป็นชื่อว่า พระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เย็นฉ่ำ และรุ่งเรืองส่องสว่างกระจ่างแจ้ง เหมือนดวงดาวนักขัตฤกษ์
   ๓๒. ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ประการ (จัต ตาโรมหาทีป ๔) ความว่า ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ เปรียบเสมือนสัจธรรม ๔ ประการ เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวงดั่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๔ ภาพ)
   ๓๓. ทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ซึ่งเป็นบริวาร (ทวิ สหัสสปริตตทีปปริวารา) มีความหมายถึงทวีปน้อยทั้ง ๒,๐๐๐ ที่เป็นบริวารของทวีปใหญ่ทั้ง ๔ เหมือนเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง
   ๓๔. พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยข้าราชบริพาร (สปริวาโร จักกวัตติราชา) เปรียบเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นใหญ่ในโลกทั้ง ๓ ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงมีบริวารของพระองค์ฉันนั้น
   ๓๕. สังข์ขาวทักษิณาวรรต (ทักขิณาวัฏฏเสตสังโข) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกุศลธรรมอัน บริสุทธิ์แก่ชาวโลกทั้ง ๓ เพื่อให้เว้นจากธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ คือ อกุศกรรมบถ ๑๐ ประการ ทรงเป็นผู้รุ่งโรจน์โชติช่วงด้วยพระสุรเสียงกึกก้องของพระองค์ เหมือนเสียงสังข์เสียงจักร เรียกว่า สังข์ขาวทักษิณาวัฎ
   ๓๖. ปลาทองคู่ (สวัณณมัจฉกยุคคะลัง) ความ หมายว่า เป็นพระอัครสาวกทั้งสองประดับเบื้องซ้าย เบื้องขวา ที่สมบูรณ์ด้วยปัญญาและฤทธิ์คือ พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัลลานเถระ



ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/

   ๓๗. กงจักรคู่ (ยุคคละจักกัง) เป็น จักรแก้วชื่อว่า พุทธรัตนจักร คือ พุทธรัตนจักร สังฆรัตนจักร
   ๓๘. แม่น้ำใหญ่ ๗ สาย (สัตตมหาคังคา) เป็นมหาคงคาทั้ง ๗ หมายถึง สัมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ดุจมหาคงคาที่ไหลมาไม่ขาดสาย (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๗ ภาพ)
   ๓๙. สระใหญ่ ๗ สระ (สัตตมหาสรา) อัน เปรียบเสมือนอริยทรัพย์ ๗ ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้แล้วแก่สัตว์ทั้งปวง (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๗ ภาพ)
   ๔๐. ภูเขาใหญ่ ๗ เทือก (สัตตมหาเสลา) หมาย ถึง วิญญาณฐิติ ๗ ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงดำรงอยู่ในญาณวิสัยของพระองค์


   หมายเหตุ
   - แม่น้ำใหญ่ ๗ สาย หรือ มหาคงคา ๗ ได้แก่ ชาติคงคา ยมุนาคงคา สรภูคงคา สุรัสดีคงคา อจิรดีคงคา มหิคงคา และมหานทีคงคา (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๗ ภาพ)
   - ส่วนโพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสังโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสังโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
   - สระใหญ่ ๗ สระ คือ สระอโนดาต สระกมัณฑมุณฑะ สระรถกาละ สระกุณาละ สระฉัททันต์ สระมัณฑากินี และสระสีหปปาตะ
   - อริยทรัพย์ ๗ ประการ คือ ทรัพย์ คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือหิริ และทรัพย์คือโอตตัปปะ
   - ภูเขาใหญ่ ๗ เทือก มี ภูเขาคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตกะ และภูเขาอัสสกัณณะ
   - วิญญาณฐิติ ๗ ประการ คือ อาวัชชนวิญญาณ ฉันนวิญญาณ ทัสสนวิญญาณ สัมปฏิจฉันวิญญาณ โผฏฐัพพนวิญญาณ ชวนะวิญญาณ และอาลัมพนวิญญาณ เรียกว่า วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง


   ๔๑. พญาครุฑ (สุปัณณราชา) เป็น ความหมายที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้พระวชิรญาณกำจัดกิเลส ๑,๕๐๐ เหมือนพญาครุฑกำจัดพญานาค ซึ่งเป็นคู่อริกัน
   ๔๒. พญาจระเข้ (สุงสุมารราชา) ใน ความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในพระสัพพัญญุตญาณ อันเป็นพระรูปกายของพระองค์เพื่อจะรักษาพระองค์และรักษาชาวโลกทั้ง ๓ ไว้มิให้ไปตกอบายภูมิทั้ง ๔ เหมือนพญาจระเข้ รักษาตนและหมู่ญาติของตนในเภสกลาวัน หรือสระบัวนั่นเอง
   ๔๓. ธงชัยธงแผ่นผ้า (ธชะปฏาณ) คือ ธงชัยแผ่นผ้าทอง ประดับด้วยธรรม คือ อรหัตมรรคญาณ และอรหัตผลญาณ ประดับด้วยเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า
   ๔๔. พระเก้าอี้แก้ว (รัตนปาฏังกิ) เป็น ความหมายถึงพระที่นั่งรัตนบัลลังก์ของพระพุทธเจ้า ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ที่ทรงตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ
   ๔๕. พัดโบกทอง (สุวัณณจามโร) สุวรรณ จามรเป็นพัดโบกทองคำ ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ สุวรรณจามรมี ๒ ชนิด คือ ทำด้วยขนหางจามรีกับทำด้วยผ้าและใบไม้ เป็นต้น
   ๔๖. ภูเขาไกรลาส (เกลาสปัพพโต) เปรียบ เป็นภูเขาทองที่งดงามยอดยิ่งกว่าภูเขาใดๆ ดังพระพุทธเจ้าที่ทรงสมบูรณ์งดงามยิ่งนัก
   ๔๗. พญาราชสีห์ (สีหราชา) พระพุทธองค์เปรียบดังพญาราชสีห์ ทรงประกอบด้วย พระเวสารัชชญาณ ๔ ประการ เสด็จเข้าไปกลางบริษัททั้ง ๔ เพื่อทรงแสดงสัจธรรม ๔ ด้วยพระพุทธลีลาอันงดงามยิ่ง เสมือนพญาราชสีห์ที่ประกอบด้วยบันลือสีหนาทของตน
    ในบทสวดที่ว่า นโมตัสสะ เป็นเวสารัชชญาณ ภควโต เป็นเวสารัชชญาณ อรหโต เป็นเวสารัชชญาณ สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นเวสารัชชญาณ ดังนั้น คำว่า นโมพุทธธัสสะ นโมธรรมมัสสะ นโมสังฆฆัสสะ มีประโยชน์เพื่อกำจัดอันตรายทุกอย่าง
    และบทสวดที่ว่า “หูลู หูลู หูลู สวาหายยะ” นั้น จึงมีความหมายว่าอันตรายทุกอย่าง เช่น ความมีโรคมาก มีทุกข์มาก มีความโศกเศร้ามาก มีศัตรูมาก มีความขัดข้องมาก มีภัยมาก เมื่อกล่าวขึ้นอันตรายทุกอย่างเหล่านี้ย่อมพินาศไปสิ้น ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธองค์ ดังเสียงบันลือสีหนาทนั่นเอง
    ๔๘. พญาเสือโคร่ง (พยัคฆราชา) พระ ผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนพยัคฆราชทรงประดับด้วยพระสัพพัญญุตญาณ พระองค์ทรงตรัสรู้พระญาณที่ ๑ คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติได้) ในปฐมยามทรงตรัสรู้พระญาณที่ ๒ คือ ทิพพจักขุญาณ (ตาทิพย์) ในมัชฌิมยามทรงตรัสรู้พระญาณที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ (ทำให้กิเลสหมดไป) ในปัจฉิมยามญาณทั้ง ๓ อย่างนี้ จึงเป็นพระสัพพัญญุตญาณ


     มีต่อด้านล่าง......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2015, 11:21:32 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
มงคล 108 ในรอยพระพุทธบาท
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มีนาคม 12, 2015, 10:42:40 am »
0
ขอบคุณภาพจาก http://www.polyboon.com/


(...ต่อจากด้านบน)

    ๔๙. พญาเสือเหลือง (ทีปิราชา) พระ พุทธเจ้าไม่ทรงยินดีในกามคุณทั้ง ๕ อันเป็นวิสัยในโลกทั้ง ๓ คือ พระองค์ไม่ทรงยินดีอะไรที่เกิดขึ้นในโลกทั้ง ๓ นี้ แต่พระองค์ทรงยินดีในนวโลกุตรญาณธรรม คือ พระสัพพัญญุตญาณ เพื่อประโยชน์ด้วยมรรคผลนิพพาน จึงได้รับพระนามว่า ทีปิราชา หรือพญาเสือเหลือง
    ๕๐. พญาม้าพลาหก (พลาหโกอัสสราชา) ม้า พลาหกประกอบด้วยการก้าวเดินที่สง่า สวยงามกว่าสัตว์ชนิดใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงประกอบไปด้วยพละกำลังมาก ทรงกำลังกายถึง ๑๐ ประการ สวยงามกว่าสัตว์ใดๆ ทั้งหมด จึงได้รับการถวายพระนามว่า พลาโหอัสสราชา คือ ม้าพลาหกนั่นเอง
    ๕๑. พญาช้างอุโบสถ (อุโปสโต วารณราชา) พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยินดีในอารมณ์วิสัยกามคุณ ๕ อะไรๆ ตลอดกาล แต่จะทรงยินดีอารมณ์พระนิพพาน อันเป็นนวโลกุตรญาณธรรม จึงได้รับการถวายนามเป็นช้างอุโบสถ หรืออุโบสโถวารณราชา
    ๕๒. พญาช้างฉัททันต์ (ฉัททันโตวารณราชา) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ ประดับอยู่ทั่วพระวรกายของพระองค์
    ๕๓. พญานาควาสุกรี (วาสุกีอุรคราชา) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับด้วยพระสัพพัญญุตญาณ พญากาลนาคราชได้ถวายอาสนะบัลลังก์แก้วของตนแด่พระองค์ ครั้งนั้นพระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุติสุขเหนือบัลลังก์นั้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแด่พญากาลนาคราชวาสุกีอุรคราชา มี ๒ อย่าง คือ โลกิยราชา กับโลกุตรราชา
    ๕๔. พญาหงส์ (หังสราชา) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่ทรงยินดีโลกิยสาระ คือ เงินทองมีแก้ว ๗ ประการ เป็นต้น แต่พระองค์ทรงยินดีในโลกุตรธรรม คือ มรรคผลนิพพานจึงได้รับการถวายพระนามว่า หังสราชา
    ๕๕. พญาไก่เถื่อน พญาโคอุสภราช (พลกุกกุฏอุสภราชา) มีความว่าเมื่อครั้งก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระชาติเป็นโคอุสภราช มีนามว่า สุมังคละ ไม่ทรงสนพระทัยศัตรูที่จะทำให้พระองค์หวั่นไหวกลางคัน คือ ทรงละศัตรูที่จะทำการประทุษร้ายพระองค์เสีย แล้วทรงสนพระทัยจะแสดงธรรมโปรดสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น เพราะเหตุนี้พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า พลกุกกุฏอุสภราชา
    ๕๖. พญาช้างเอราวัณ (เอราวัณโณนาคราชา) มีความว่า พระพุทธองค์ทรงตั้งอยู่ในอริยธรรม ทรงยินดีในศีลสาระ ดุจพญาช้างที่ตั้งอยู่ในอริยมรรค พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า เอราวัณโณนาคราชา คำว่า เอ เป็นการแสวงหา รา เป็นความยินดี เอรา จึงเป็นการค้นหาสาระในอริยธรรมอันยิ่งใหญ่ตลอดกาลเป็นเนืองนิตย์
    ๕๗. มังกรทอง (สุวัณโณมังกโร) เปรียบดังพระพุทธองค์ทรง มีความประพฤติที่กล้าแข็ง ในอรหัตมรรคญาณ และอรหัตผลญาณ คือ วชิรญาณ สามารถตัดกิเลสทั้งปวงได้ ประดุจเลื่อยเพชร จึงได้รับการถวายพระนามว่า สุวัณโณมังกโร
    ๕๘. แมลงภู่ทอง (สุวัณโณภมโร) พระพุทธองค์เปรียบดั่งผึ้ง เคล้าคลึงละอองเกสรใหม่จากดอกไม้ทั้งหลาย โดยไม่ทำลายต้นให้เสียหาย ประดุจที่ทรงคบหาบริษัท ๔ ทรงกำจัดมานะในใจของบริษัทเหล่านั้นให้ขาดได้ จึงได้รับการถวายพระนามว่า สุวัณโณ ภมโร
    ๕๙. ท้าวมหาพรหมสี่พักตร์ (จตุมุโขมหาพรหมา) พระ พุทธองค์ทรงประกอบไปด้วยพรหมวิหาร ๔ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทรงแสดงพรหมวิหารให้สัตว์ทั้งหลาย จึงได้รับการถวายพระนามว่า จตุมุโข มหาพรมหา
    ๖๐. เรือทอง (สวัณณนาวา) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบดังเรือทองที่ทรงช่วงสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามมหาสมุทร อันลึกล้ำ คือ สงสาร ให้ไปถึงฝั่งคือ นิพพาน เรือทองจึงเป็นอรหัตมรรคญาณและอรหัตผลญาณ ฉะนี้


     ask1 ask1 ask1 ask1

    ๖๑. บัลลังก์แก้ว ( รันตปัลลังโก) เป็นบัลลังก์แก้ว คือ รัตนบัลลังก์ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระพุทธเจ้าทรงกำจัดหมู่มารได้ด้วยอานุภาพบารมี ๑๐ ของพระงองค์
    ๖๒. พัดใบตาล (ตาลปัณณัง) ท่านหมายว่า ใบตาลแก้ว คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเมตตาธรรมอันเยือกเย็นไว้ในหัวใจของชาวโลกทั้ง ๓ โลก ด้วยพระมหากรุณาของพระองค์
    ๖๓. เต่าทอง (สุวัณโณกัจฉโป) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดกิเลสด้วยวชิรญาณ เพราะเหตุนี้พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า สุวัณโณกัจฉโป
    ๖๔. แม่โคลูกอ่อน (สุวัจฉกา คาวี) หมายถึง พระพุทธองค์ทรงแสดงโลกุตตรธรรม ๙ มีชื่อว่า อมตมหานิพพาน แก่ชาวโลกทั้ง ๓ ด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ ดุจแม่โคที่มีใจเมตตารักลูกของตน
    ๖๕. กินนร (กินนโร) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า กินนโร
     ๖๖. กินนรี (กินนรี) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงประกอบ ด้วยพระมหากรุณาไม่เบียดเบียนสัตว์อื่นๆ ทั้งหมด จึงได้รับการถวายพระนามว่า กินนรี
     ๖๗. นกการเวก (กรวิโก) พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม คือ มรรคผลนิพพาน คือ โลกุตตรธรรม ๙ แก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะยิ่งนัก ดังนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า กรวิโก หรือ การะเวก
     ๖๘. พญานกยูง (มยุรราชา) มีความหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า มยุรราชา
     ๖๙. พญานกกระเรียน (โกญจราชา) หมายถึง การที่พระพุทธองค์ไม่ทรงเยียบถูกพื้นดิน เมื่อคราวเสด็จไปไกลๆ ทรงเหาะไปทางอากาศด้วยฤทธิ์ ดังนั้น จึงได้รับการถวายพระนามว่า โกญจราชา หรือ พญานกกระเรียน
     ๗๐. พญานกจากพราก (จากวากราชา) ด้วยที่พระพุทธเจ้าทรงบันลือสีหนาทใหญ่ที่ประกอบด้วยการแสดงธรรม คือ ทศพลญาณแก่ชาวโลกทั้ง ๓ เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า จากวากราชา คือ พญานกจากพราก
     ๗๑. พญานกพริก (ชีวัญชีวกราชา) หมายความถึง การที่พระพุทธเจ้าทรงปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นไปจากมิจฉาชีพ ให้เลี้ยงตนด้วยสัมมาชีพ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า ชีวัญชีวกราชา คือ พญานกพริก นั่นเอง
   

      ans1 ans1 ans1 ans1

     มิจฉาชีวัง หมายความว่า สัตว์ทั้งหมดในโลกนี้ที่จะต้องไปอบายนรก ย่อมกระทำเวรกรรม ๕ ประการ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัย เวรกรรมทั้ง ๕ ประการ ที่สัตว์ทั้งหลายกระทำในโลกนี้ เรียกว่า มิจฉาชีพ
     สำหรับสัมมาชีวัง หมายถึง สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ที่จะได้ไปสวรรค์ คือ ย่อมไม่ทำเวรกรรม ๕ ประการ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุราเมรัย เวรกรรมทั้ง ๕ ประการนี้ ถ้าสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่กระทำ เรียกว่า สัมมาชีพ

     หากนำจำนวน ๒๔ มาบวกกับ ๗๑ จะได้เพียง ๙๕ ภาพ ยังขาดไป ๑๓ ภาพ จึงจะครบ ๑๐๘ แต่ความจริงแล้วหากนับรวมภาพทวีป มหาสมุทร สระใหญ่ ภูเขาใหญ่ ก็จะได้ครบ ๑๐๘ ภาพแล้วครับ


ภาพมงคล ๑๐๘ ประการในรอยพระพุทธบาทจำลอง
ภาพและเรื่องโดย พุฒิวงศ์ บุษบวรรษ
ที่มา http://www.polyboon.com/stories/story000090.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2015, 11:21:05 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
มงคล 108 ในรอยพระพุทธบาท
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มีนาคม 12, 2015, 11:09:18 am »
0


แผนผังแสดงลักษณะการจัดวางรูปมงคล 108 ประดับมุก ที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์ วัดโพธิ์




ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก หนังสือมงคล108 ในพระพุทธบาท(pdf.file)
ที่มา http://www.laikhit.com/Photo Unit 09/108.pdf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2015, 11:20:47 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระวิหารพระพุทธไสยาส

พระวิหารพระพุทธไสยาส หรือวิหารพระนอนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในเขตพุทธาวาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระพุทธไสยาส ขึ้นคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ นอกจากพระวิหารจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสแล้ว ยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่บันทึกสรรพวิชารายล้อมรอบตัวพระวิหารตามแบบไทยประเพณี




    จิตรกรรมในพระวิหารพระพุทธไสยาสมีสรรพวิชาความรู้ ดังต่อไปนี้

    ๑. ผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตู ที่เรียกว่า "ห้อง" มี ๓๒ ห้องเขียนภาพเรื่อง เอตทัคคะในพระพุทธศาสนาต่อจากเรื่องที่เขียนในพระอุโบสถตามจารึกที่ติดบอกไว้ (แต่มีหลุดหายไปบ้าง) ได้แก่เรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ ที่เป็นภิกษุณี ๑๓ องค์ อุบาสกเอตทัคคะ ๑๐ คนและอุบาสิกาเอตทัคคะ ๑๐ คน
    ๒. ผนังเหนือบานประตูและหน้าต่าง เขียนเรื่องมหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีป คือประวัติราชวงศ์ และพระพุทธศาสนาในลังกา ตั้งแต่ต้นเรื่องกำเนิดพระเจ้าสีหพาหุ จนถึงพระเจ้าอภัยทุฏฐคามินีรบชนะทมิฬได้ครอบกรุงอนุราธปุระ
    ๓. คอสอง เขียนเรื่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และการรบระหว่างเทวดาและ อสูร เรียกว่า เทวาสุรสงคราม
    ๔. บานประตู ด้านนอกเขียนลายรดน้ำลายผูกอาวุธ เป็นภาพเครื่องศัตราวุธโบราณ ด้านในสีน้ำมันพื้นสีแดงเป็นรูปพระยานาคราช
    ๕. บานหน้าต่าง ด้านนอกเขียนลายรดน้ำ เป็นภาพเครื่องศัสตราวุธโบราณ ด้านในเขียนภาพสีน้ำมันลายดอกพุดตานก้านแย่ง
    ๖. พื้นที่ส่วนบนและส่วนล่างของบานประตูและบานหน้าต่างด้านนอก เป็นภาพเบ็ดเตล็ต ตอนบนส่วนหนึ่งเป็นภาพตำราดาว คือ กลุ่มดาวนักษัตรประจำเดือนทางสุริยคติ (เหมือนกับภาพเขียนในหอไตรกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ภาพนิทานชาดกและวรรณคดีไทย เช่นเดียวกับตอนล่าง เช่นเรื่อง รามเกียรติ์พระสุธน – มโนรา พระลอ ไกรทอง กากี และ เรื่องในคัมภีร์มหาวงศ์ บางตอน ฯลฯ

________________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/historical.php





ภาพชุดนี้เป็นด้านหลังของพระพุทธไสยาส


       ภาพชุดสุดท้าย สำหรับกระทู้ "พระพุทธไสยาส ที่วัดโพธิ์ ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของประเทศ"
จบแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตาม
:25: thk56 :welcome:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2015, 12:54:14 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ สาธุ

    เห็นในรูป ของพระอาจารย์ นานแล้ว เพิ่งทราบ จำฝ่าเท้า ของพระพุทธรูปนี้ได้
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วันนี้ไปวัดนี้กันมา

น่าประทับใจ   ได้ นมัสการ พระใหญ่
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา