ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น  (อ่าน 21373 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« เมื่อ: มีนาคม 31, 2010, 07:16:53 pm »
0
ใครมีพอมีความรู้เรื่อง เซ็น หรือป่าวครับ ผมอ่านคำถามของคุณจำลอง แล้วก็ทำให้ผมนึกถึงเรื่อง เซ็น
โดยส่วนตัวผมก็เคารพนะครับ อย่างพระอาจารย์เว่ยหล่าง ที่ ศพ ของท่านไม่เน่าไม่เปื่อย อยู่ที่ประเทศจีนนี่ก็ปาไปตั้ง 1000 กว่าปีแล้ว แถมยังนั่งอยู่ในท่านั่งยิ้ม อีกด้วยผมเห็นรูปนี่มาแล้วครั้งหนึ่ง

ผมว่าหลักปฏิบัติของเซ้นนั้น จะเปรียบเทียบกับการปฏิบัติ กับพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ได้หรือ แตกต่าง
กันอย่างไรครับ
 ;)
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 31, 2010, 09:48:34 pm »
0

นิทาน เซ็น
โพสท์ ในเวปบอร์ด กองทัพพลังจิต โดย คุณ Kamen rider เมื่อ 10-01-2005
http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=3148

สอนวิชาแบบเซ็น

มีขโมยที่เพิ่งจะหัดกระทำโจรกรรม ลอบเข้าไปในบ้านหลังหนึ่งซึ่งมีเพียงตาและหลาน เมื่อเข้าไปแล้วก็

ลงไปแอบซ่อนตัวอยู่ใต้เตียงนอนของชายชรา บังเอิญชายชราได้อุ้มหลานมานั่งเล่นบนเตียงนอนนั้น

หลานชายซึ่งยังเล็กกำลังเล่นผลส้ม ปรากฏว่าได้ทำผลส้มหลุดจากมือกลิ้งหายไปใต้เตียง ขโมยหน้า

ใหม่ตกใจคิดว่าถ้าปล่อยไว้ประเดี๋ยวชายชราก้มลงมาเก็บก็คงเห็นตนแน่ ก็เกิดปัญญาขึ้น จึงหยิบผลส้ม

ออกไปวางข้างๆ รองเท้าของชายชรา ชายชราก้มลงไปเก็บ ขณะที่ก้มลงนั้น เท้าของแกก็ไปเหยียบถูก

ส้มที่วางอยู่ข้างรองเท้า แกรู้ทันที จึงพูดขึ้นว่า


"พี่ชายที่ซ่อนตัวอยู่ใต้เตียง ออกมาเสียดีๆ จะดีกว่า"

ขโมยตกใจ รู้ว่าเจ้าของรู้แล้วก็คลานออกมาแต่โดยดี กราบไหว้อ้อนวอนขอให้ยกโทษ ชายชราจึงว่า

"แกเป็นคนมีปัญญาเหมือนกัน แต่ยังไม่ถึงที่สุด แกเริ่มงานโจรกรรมมานานเท่าไรแล้ว ?"

"ครั้งนี้เป็นครั้งแรกครับ" ขโมยตอบ

"แกมีครูสอนบ้างไหม ?" ชายชราถาม

"ไม่มีเลย" หัวขโมยตอบ

"ไม่มีครูสอนก็มักพลาดอย่างนี้ ฉันประกอบโจรกรรมมาสิบกว่าปีแล้วไม่เคยถูกจับเลย วันนี้แกมาเข้าบ้าน

โจรอย่างฉัน แต่ฉันไม่เอาโทษแกหรอก" ชายชราเปิดเผยความจริง


 
หัวขโมยพอรู้เรื่องก็อ้อนวอนขอเรียนวิชาโจรกรรม ชายชราตกลง แต่มีข้อแม้ว่า แกสอนอะไรหัวขโมยจะ

ต้องปฏิบัติตามทุกอย่าง แล้วก็กำหนดจะพาไปขโมยของที่บ้านเศรษฐีในคืนวันพรุ่งนี้ เมื่อถึงเวลาทั้ง

สองก็ลอบเข้าไปในบ้านเศรษฐี ผู้คนกำลังนอนหลับสนิท ชายชราได้เปิดหีบสมบัติ ซึ่งเป็นหีบโบราณ

ขนาดใหญ่ สามารถบรรจุคนได้สบาย แกขนเอาสมบัติออกจากหีบจนหมด แล้วสั่งให้หัวขโมยเข้าไปอยู่

ในหีบ ชายชราปิดหีบสมบัติและลั่นกุญแจปล่อยทิ้งไว้ ตนเองรีบหลบหนีออกไป ฝ่ายขโมยพอถูกวิธีนี้

เข้าก็ตกใจเป็นที่สุด คิดว่าเสียรู้ขโมยแก่เสียแล้ว จึงครุ่นคิดหาอุบายหาทางออกอยู่ครู่ใหญ่ก็คิดออก

 ด้วยสมัยโบราณ คนจีนไม่ว่าหนุ่มหรือแก่จะไว้ผมยาวกันทั้งนั้นและรัดเกล้าเป็นมวยไว้บนศีรษะ หัว

ขโมยหนุ่มจึงแก้รัดเกล้า แล้วปล่อยให้ผมสยายยาวรุงรัง ฉีกเสื้อผ้าขาดวิ่นให้ดูคล้ายภูตผี แล้วทำเสียง

ตึงตังอยู่ในหีบ ข้างเศรษฐีได้ยินเสียงก็ตกใจ งัวเงียลุกขึ้นมาเปิดหีบดูพอหีบเปิดเจ้าขโมยก็ทำเสียงกรีด

ร้องหลอกหลอน จนเศรษฐีขวัญหนีดีฝ่อคิดว่าเป็นปีศาจ เลยล้มสลบลง ขโมยหนุ่มได้โอกาสก็รีบหลบ

หนีออกไป และไปต่อว่าชายชราต่างๆ นานา ชายชราจึงอธิบายว่า

"ถ้าฉันไม่ทำกับแกเช่นนั้น ปัญญาของแกจะเกิดหรือ แกจงรู้เถิดว่าความสามารถนั้นถ่ายทอดกันไม่ได้

 เพราะเป็นของแต่ละคนฉันทำเช่นนี้ก็เพื่อปลุกปัญญาแกให้เกิด เมื่อถึงคราวอับจนจะได้นำออกมาใช้

แก้ไขได้เอง แกจะมัวแต่พึ่งคนอื่นตลอดเวลาจะมีประโยชน์อะไร ถ้าวันหนึ่งไม่มีคนแนะนำแกจะมิตาย

หรือ เมื่อถึงคราวอับจนแกสามารถหลุดออกมาได้เช่นนี้จึงใช้ได้"

ขโมยหนุ่มได้ฟังดังนั้นก็เข้าใจตลอด


การสอนแบบเซ็น จะไม่ใช้วิธีแบบป้อนข้าวป้อนน้ำเด็ดขาด แต่จะใช้วิธีตั้งโจทย์ให้ศิษย์ขบคิดเอาเอง

 โดยไม่แนะอะไรให้ทั้งสิ้นขบปัญหาแตกเมื่อไรก็สำเร็จเมื่อนั้น เซ็นจึงมีปริศนาธรรมมากมาย

ท่านพร้อมที่จะไปกระทำโจรกรรมกับขโมยเฒ่าหรือยัง ?



ที่มา   http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-main-page.htm
------------------------------------------------------------------

นิทาน เซ็น
โพสท์ ในเวปบอร์ด กองทัพพลังจิต โดย คุณ Kamen rider เมื่อ 10-01-2005
http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=3148

เซ็นทุกนาที

ในรัชสมัยเมจิ มีพระเซ็นองค์หนึ่งชื่อเท็นโน อยู่ในข่ายที่ท่านอาจารย์นันอิน อาจารย์ใหญ่ฝ่ายเซ็น จะส่ง

ตัวออกไปเผยแพร่พระธรรม ท่านเท็นโนจึงหาโอกาสที่จะไปกราบลาท่านอาจารย์ผู้เฒ่า เย็นวันนั้น ฝน

ตกไม่ขาดระยะ ท่านเท็นโนเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงกางร่มสวมรองเท้าไม้ เดินฝ่าสายฝนตรงไปยังกุฏิ

ท่านอาจารย์นันอิน แล้วกราบเรียนเรื่องนี้ต่อท่านอาจารย์ และฟังความคิดเห็นว่าควรหรือไม่ ท่าน

อาจารย์เห็นศิษย์เข้ามาหา ก็ปฏิสันถารเป็นอันดี สักพักท่านก็ถามว่า

"ที่เธอมานี่ สวมเกี๊ยะมาหรือเปล่า ?"

"สวมมาครับ" ท่านเท็นโนตอบ

"ร่มล่ะ เธอกางร่มมาหรือเปล่า ?" ท่านอาจารย์ถามอีก

"กางร่มมาด้วยครับ ผมวางไว้นอกประตู" ท่านเท็นโนตอบ

ท่านอาจารย์นันอิน จึงถามต่อไปเรื่อยๆ อีกว่า

"ที่เธอวางร่มอยู่นอกประตูน่ะ เธอวางอยู่ทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวาของเกี๊ยะ?"


ท่านเท็นโนนิ่งอึ้ง เพราะจำไม่ได้ พร้อมกับทราบด้วยตนเองว่าตนยังไม่พร้อม ที่จะนำพระธรรมไปเผย

แพร่ เพราะตนยังไม่มีเซ็นอยู่ ทุกลมหายใจ ตกลงต้องอยู่ศึกษากับท่านอาจารย์นันอินไปก่อน โดยที่

ท่านอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเอ่ยปากห้ามปรามชี้แจง

ท่านเท็นโนต้องอยู่ศึกษาต่ออีก 6 ปี รวมเวลาศึกษาถึง 16 ปี ท่านจึงมีสติสมบูรณ์เต็มที่

ในสมัยนี้ มีบางท่านพอได้ผลจากการปฏิบัติธรรมบ้างเล็กน้อย ก็ตั้งตนเป็นเกจิอาจารย์ตั้งสำนักโน้น

สำนักนี้มากมายไปหมด ถ้าแนวสอนของผู้อื่นไม่ตรงกับของตนก็โจมตีกัน ทำไมไม่เฉลียวใจเลยว่าคำ

สอนที่ถูกต้องที่สุด ก็คือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ผู้ที่เป็นเช่นนี้แม้จะศึกษาจนตลอด

ชีวิต ก็คงไม่มีเซ็นอยู่ในตัวเลย


ที่มา  http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-main-page.htm
------------------------------------------------------------------ 

คุณลาสต์แมน ลองเปรียบเีทียบเอาเองนะครับ ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับเซ็นเลย

 ขอให้ธรรมคุ้มครอง :25:

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 02, 2010, 06:40:53 pm »
0
 :67:
:043: :040:
"เรานั้นไม่มีอะไรแล้วมาตั้งแต่ต้น"
                                                         
                                                                                      ธมฺมวํโส ภิกขุ

:043: :040:     
         ผมมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์อยู่บ่อยครั้งจะได้ยินคำกล่าวด้วยถ้อยความข้างต้นอยู่เสมอ ผมขอโอกาสนี้ในหัวข้อกระทู้นี้แจกแจงให้เป็นคำตอบบอกกล่าวสู่สหายธรรมทุกท่านได้พินิจพิจารณาเอาตามสมควรครับ......สวัสดี       
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2010, 06:21:48 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 08:18:44 pm »
0



" ตราบใดที่ยังยึดติดอยู่กับการเกิดการตาย ย่อมไม่มีทาง

รู้แจ้งได้ การจะรู้แจ้งได้นั้น ผู้นั้นต้อง เห็นแจ้ง ใน ธาตุแท้

ของตัวเองให้ได้ก่อน การไม่เห็นแจ้งใน ธรรมชาติที่แท้แห่งตน

แล้วพูดพล่ามเรื่องธรรมะ เรื่องกฎแห่งกรรมจึงเป็นสิ่งไร้สาระ

พุทธะย่อมไม่ฝึกอะไรที่ไร้ประโยชน์ พุทธะไม่ยึดติดในกรรม

และผลของกรรม การพูดว่าพุทธะได้บรรลุอะไรบางอย่าง

เป็นการดูแคลนพุทธะโดยแท้ "

                                                                                                 
                                                                                                                      พระโพธิธรรม




http://www.sookjai.com/index.php?topic=994.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 11, 2010, 11:57:19 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 08:53:40 pm »
0

บทนำ

     ภายหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุถึงอนุตตรสัมโพธิญาณ แล้วทรงพิจารณาเห็นว่าธรรมที่

พระองค์ได้ตรัสรู้มามีความละเอียดสุขุมลุ่มลึก ยิ่ง ก็บังเกิดความท้อพระทัยว่า จะมีใครสักกี่คนที่จะเข้าใจ อีกทั้ง

พระทัยหนึ่งก็เกิดความมักน้อยว่า จะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย!

     พระดำริของพระพุทธองค์ด้วยเรื่องนี้ได้ทราบไปถึง ท้าวสหัมบดีพรหมในพรหมโลก ท้าวสหัมบดีพรหมตก

พระทัยเป็นอย่างยิ่งถึงกับเปล่งสุรเสียงอันดังถึงสามครั้ง ว่า

      "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้ๆ..ๆ.."

     เสียงนั้น ก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ท้าวสหัมบดีพรหมพร้อมด้วยเหล่าเทวาคณานิกรจึงเสด็จลงมากราบทูล

อาราธนาว่า

      "ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ สัตว์ในโลกนั้นที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมี

อยู่ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือโลกด้วยเทอญ"


ตำนานการถ่ายทอดธรรม

     องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบรมครูผู้ชี้ธรรมทั้งแก่ เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย พระองค์ทรง

แสดงธรรมด้วยวิธีการอันเหมาะอันควร ตามจริงของแต่ละบุคคล กล่าวคือ

     ๑. วิธีค่อยเป็นค่อยไป วิธีนี้ผู้ฟังจะค่อยๆได้รับธรรมะจากง่ายไปหายาก เป็นขั้นเป็นตอนไปโดยลำดับ พระ

พุทธองค์ทรงใช้วิธีนี้แสดงธรรมแก่คนหมู่มาก ซึ่งแต่ละคนต่างก็ได้รับรู้และหยั่งถึงความหมายในธรรมนั้น ไปตาม

ลักษณะภูมิปัญญาของตน

     ๒. วิธีชี้ตรงฉับพลัน วิธีนี้เหมาะสมกับบุคคลผู้ที่มีพื้นฐานความสามารถสูงเป็นพิเศษ พระพุทธองค์จะทรงถ่าย

ทอดชี้ธรรมโดยมิต้องตรัสอะไร และผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดนั้น ก็สามารถเข้าใจความหมายได้ทันที กล่าวได้ว่า

วิธีการถ่ายทอดเช่นนี้ เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

     ดังโศลกธรรมของนิกายฌาน หรือเซน ชึ่งกล่าวถึงการถ่ายทอดวิธีนี้ว่าเป็น

"การส่งมอบพิเศษนอกคัมภีร์

ไม่ต้องอาศัยตัวอักษร

ชี้ตรงไปยังจิตของมนุษย์

ให้เห็นแจ้งในภาวะเดิมแท้....บรรลุ "พุทธะ" โดยฉับพลัน"


การถ่ายทอดธรรมในครั้งพุทธกาล


     โดยอาศัยพระสูตรหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "ต้าฝั่นเทียนอุ้มผู่เจี้ยอี้จิง" แปลว่า พระสูตรอันกล่าวถึงปัญหาที่ท้าว

มหาพรหมทูลถาม มีใจความตอนหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้

      "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏค่ำนั้น ท้าวมหาพรหมได้เสด็จมาเข้าเฝ้าถวายดอกบัว

เป็นพุทธบูชาแล้วจึงกราบทูลอาราธนา ให้ทรงแสดงธรรม

      พระตถาคตจึงทรงยกพระหัตถ์ขวาอันบรรจงหยิบดอกบัวชูขึ้นท่ามกลางสันนิบาตนั้น โดยมิได้ตรัสแต่

ประการใด

      ในขณะนั้นปวงเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างไม่เข้าใจในความหมาย มีเพียงพระมหากัสสปะผู้เดียวเท่า

นั้นที่ทัศนาองค์พระบรมครูด้วยดวงตาอัน เปล่งประกายจำรัส พร้อมกับรอยยิ้มละไม

     ครั้นแล้วพระโลกนาถเจ้า จึงตรัสขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมว่า

      "ตถาคตมีธรรมจักษุอันถูก ตรงนิพพาน

     ตถาคตเป็นผู้มีญาณทัศนะอันรู้จบพร้อมในธรรม

     ตถาคตเป็นผู้มีดวงจิตอันหลุดพ้นแล้ว

     ตถาคตเป็นผู้ธำรงสัจจะอันบริสุทธิ์ไม่เคลือบคลุม

     สิ่งใดอันตถาคตเป็น...ธรรมใดอันตถาคตรู้

     สิ่งนั้น ธรรมนั้น....ตถาคตได้ถ่ายทอด

     ให้แก่มหากัสสปะโดยครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว"

      พระมหากัสสปะ ผู้ถึงช่วงเวลาแห่งการตรัสรู้ได้บรรลุธรรมทันที เมื่อพระพุทธองค์ทรงใช้ดอกบัว เป็น

ประหนึ่ง "กุญแจทองไขประตูใจ" เปิดให้เห็นพุทธจิตธรรมญาณแท้ในตน นี่ก็คือการส่งทอดปัญญาญาณจาก

"จิต สู่ จิต" นั่นเอง

     ด้วยเหตุฉะนี้จึงถือว่า พระมหากัสสปะเถระผู้ซึ่งได้รับการแสดงธรรมโปรดโดยวิธี "ชี้ตรงฉับพลัน" และเป็น

พระสังฆปรินายกองค์ที่หนึ่ง แห่งพุทธศาสนาในอินเดีย

     หลังจากที่องค์สมเด็จพระศากยมุนีพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์สู่ปิรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระจึงต้องเข้ารับ

ภาระกิจใหญ่หลวงในการจรรโลงพระศาสนา ปกครองดูแลเหล่าสงฆ์สาวกจัดระเบียบต่างๆ ในอาณาจักรธรรม

และที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นประธานในการทำสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๑


ลำดับพระสังฆปรินายกประธานคณะสงฆ์ยุคต้นพุทธกาล


      พระอริยสงฆ์สาวกผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดชี้ธรรม ด้วยวิถีแห่ง "จิต สู่ จิต" แต่ละรุ่นๆ จะได้รับมอบ บาตร

จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัญญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง

     การถ่ายทอดธรรมดังกล่าวมีพระอริยเจ้าแต่ละสมัยรับช่วงสืบทอดกันลงมาโดยลำดับดังนี้

๑. พระมหากัสสปะเถระ    

๒. พระอานนท์เถระ   

๓. พระสันนวสะเถระ    

๔. พระอุปคุปด์เถระ   

๕. พระธริตกะเถระ    

๖. พระมัจฉกะ    

๗. พระวสุมิตรเถระ   

๘. พระพุทธนันทิเถระ   

๙. พระพุทธมิตรเถระ   

๑๐. พระปารศวะเถระ   

๑๑. พระปุณยยศัสเถระ   

๑๒. พระอัศวโฆษ มหาโพธิสัตว์   

๑๓. พระกบิลเถระ

๑๔. พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์

๑๕. พระคุณเทวะเถระ

๑๖. พระราหุลตเถระ

๑๗. พระสังฆนันทิเถระ

๑๘. พระสังฆยศัสเถระ

๑๙. พระกุมารตเถระ

๒๐. พระชยเถระ

๒๑. พระวสุพันธุเถระ

๒๒. พระมนูระเถระ

๒๓. พระฮักเลนยศัสเถระ

๒๔. พระสินหเถระ
    
๒๕. พระวสิอสิตเถระ
    
๒๖. พระปุณยมิตรเถระ
    
๒๗. พระปรัชญาตาระ
    
๒๘. พระโพธิธรรม

     จนกระทั่งถึง พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ คือ พระโพธิธรรมผู้ซึ่งปฏิบัติภาระกิจอันยิ่งใหญ่ โดยนำการถ่าย

ทอดโดยวิธี "ชี้ตรงฉับพลัน" จากแผ่นดินตะวันตก คือ อินเดีย กลับสู่แผ่นดินตะวันออกคือ จีน

     ฉะนั้นทางฝ่ายจีน จึงเริ่มนับพระโพธิธรรม เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๑ ของจีน


พระโพธิธรรมพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๑ ของจีน

      "พระโพธิธรรม" เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย

     ตั้งแต่พระชนอายุยังเยาว์ ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุกๆศาสนา ตลอดจนวรรณคดีอักษร

ศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค

     เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอด

ถึง ๗ วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๗

     พระปรัชญาตาระเถระ ได้หยิบลูกแก้วยกขึ้นให้ท่านโพธิธรรมดูเป็นปริศนา ในทันใดนั้น ท่านก็บังเกิดความ

สว่างไสวรู้แจ้งแทงตลอดถึงธรรมที่ตนเคยสงสัยมาทั้งหมด กระทั่งสามารถตอบปัญหาธรรมได้หมด เมื่อบรรลุ

ธรรมแล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ

     พระปรัชญาตาระเถระ เห็นถึงปัญญาบารมีอันสูงล้ำของพระโพธิธรรม จึงได้เรียกประชุมคณะสงฆ์และ

ประกาศว่า

      "พระโพธิธรรม ได้บรรลุธรรมสมบูรณ์ดีแล้ว ฉันจะมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ และถ่ายทอดธรรมทั้งหมดของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ท่านเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ต่อจากฉันไปเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา

     ต่อจากนี้ไป เป็นสิทธิหน้าที่ของท่านที่จะทำให้วิถีธรรมนี้แพร่หลายไปทั่วทุกหนทุกแห่งใน โลก และจงเลือก

ศิษย์ที่บรรลุธรรมตลอดจนมีความรู้ในธรรมที่ มั่นคงดีแล้ว เป็นผู้รับสืบทอด บาตรจีวร สังฆาฏิ และวิถีธรรมตรงนี้

อย่างระมัดระวัง อย่าให้ขาดตอนลงไปได้

      ท่านมีบุญญลักษณะ บารมีดีพร้อม และอายุยืนยาวมากกว่าพระสังฆปรินายกองค์ใดๆ หลังจากที่ฉันดับขันธ์

ไปแล้วเป็นเวลา ๖๗ ปี แผ่นดินนี้จะเกิดภัยสงครามใหญ่อันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

      ท่านจึงควรนำวิถีธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เผยแพร่ไปสู่ประเทศจีนเถิด"




http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=230
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2010, 10:25:46 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 10:50:00 pm »
0


การเดินทางอันยิ่งใหญ่

      พระโพธิธรรมพระเถระชั้นสูงชาวอินเดีย ซึ่งในนิยายจีนกำลังภายใน เรียกขานพระนามว่า

" ปรมาจารย์ตั๊กม๊อ " หรือ "ผู่ ถี ต๋า ม๋อ"

ผู่ ถี หรือ โพธิ   หมายถึง ผู้รู้

ต๋า ม๋อ   หมายถึง ธรรมะ

     พระโพธิธรรมมหาเถระ ออกเดินทางจากอินเดียโดยลงเรือโต้คลื่นลมฝามรสุม มุ่งสู่ประเทศจีน

     กล่าวกันว่าช่วงเวลานั้น แม้ในประเทศจีนจะมีพระพุทธศาสนาสถาปนาขึ้นแล้ว แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติ

ธรรมกันแต่เพียงผิวเผิน การสวดมนต์ภาวนา ศึกษาธรรม ก็มิได้ทำอย่างจริงจังกระทั่งเล่าเรียนพระไตรปิฎก ก็

หวังเพียงประดับความรู้ หรือไม่ก็ใช้เป็นข้อถกเถียงเพื่ออวดภูมิปัญญา

     จะกล่าวไปไยกับการมุ่งปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา ช่างยากที่จะหาคนทุ่มเทฝึกฝน คนก็คือคน นั่งนานก็บ่นว่า

เมื่อย ล้วนกลัวความยากลำบาก ไม่จริงใจในการปฏิบัติ แต่ร่ำร้องจะเอามรรคผล

     แท้จริงแล้ว ก่อนหน้าที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อจะเดินทางมาจีนท่านได้ส่งพระภิกษุสาวก ๒ รูป ให้เดินทางมา

สำรวจดูลู่ทางก่อนแต่ทว่าเมื่อศิษย์ทั้งสองมาถึงแผ่นดินจีน กลับไม่ได้รับการต้อนรับหรือสนับสนุนจากทั้งนักบวช

และผู้คนทั้งหลายเท่าที่ควร

     ในที่สุดพระภิกษุทั้งสองรูป จาริกมาถึงที่ หลู่ซัน ได้พบปะกับอาจารย์ ฮุ่ย เอวียน ไต้ชือ ผู้ซึ่งคร่ำเคร่งต่อ

การท่องสวด

      ท่าน ฮุ่ยเอวียนไต้ซือ ได้ถามศิษย์ของพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า

      "ท่านทั้งสองเป็นภิกษุอินเดีย นำธรรมะอะไรมาเผยแพร่?แล้วทำไมผู้คนถึงไม่ศรัทธา? "

     เวลานั้นภิกษุทั้งสอง พูดภาษาจีนได้น้อยมาก ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรจึงได้แต่แบมือยื่นออกไปแล้วตวัดกลับ

มาอย่างรวดเร็วพร้อมทั้ง เอ่ยขึ้นว่า

      "มันเร็วไหม?"

     ท่าน ฮุ่ยเอวียนไต้ซือ ก็ตอบว่า

      "ใช่...เร็วมาก"

      ศิษย์ของอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงกล่าวว่า

      "โพธิ และ ทุกข์ ก็เร็วเช่นนี้แหละ"

      เมื่อนั้น ท่าน ฮุ่ยเอวียนไต้ซือ ก็บังเกิดความสว่างจิตรู้แจ้งในทันที และได้เปล่งอุทานธรรมขึ้นว่า

      "ทุกข์ คือ สุข...สุข คือ ทุกข์

     ไม่แตกต่าง..ทั้งสองอย่างเกิดดับอยู่ที่ "ใจ"

     อยู่ข้างไหน...ก็ขึ้นอยู่กับใจที่สำแดง"

      หลังจากที่ท่าน ฮุ่ยเอวียนไต้ชือ รู้แจ้งในธรรมแล้ว จึงกล่าวนิมนต์ให้พระภิกษุอินเดียทั้ง ๒ รูป อยู่พำนัก

จำพรรษาที่อารามของท่าน แต่ช่างน่าเสียดายที่ต่อมาไม่นานศิษย์ทั้งสองของอาจารย์ตั๊กม๊อก็ดับขันธ์ไป ในวัน

เดียวกัน ชึ่งสถานที่บรรจุสรีระสังขารของทั้งสองท่าน ก็ยังคงปรากฏอยู่ ณ เขาหลู่ซัน เป็นหลักฐานตราบจนทุก

วันนี้

     ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้พิจารณาเห็นถึงวาระอันควรท่านจึงประกาศต่อบรรดาสานุศิษย์ในอินเดียว่า

      "บัดนี้เวลาแห่งการปฏิบัติภาระกิจสำคัญมาถึงแล้วอาจารย์ต้องนำเอาหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ ไปสู่แดนบูรพา"

     พระโพธิธรรม พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ผู้รับสืบทอดวิถีธรรมตรง จึงลงเรือออกเดินทางโดยมิได้ย่อท้อ

ต่อความลำบากเหนื่อยยาก มีเพียงความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบหลักแห่งจิตญาณอันเที่ยงแท้ เพื่อฉุดช่วยเวไนยสัตว์

ทั้งปวง

     ด้วยรูปลักษณ์ของพระองค์ท่าน ที่เป็นชาวอินเดียมีหนวดเครารกรุงรัง นัยน์ตาทั้งคู่กลมโต ผิวดำคล้ำ ชาว

บ้านที่พบเห็น ก็จะหลอกลูกหลานว่า พระแขกจะมาจับตัว เพื่อให้เด็กๆกลัว ฉะนั้นแม้ว่าท่านจะเดินไปทางไหน

เด็กๆก็จะพากันวิ่งหนีเข้าบ้านหมดบางคราวต้องฝ่าแดดกรำฝน ท่านก็จะดึงเอาผ้าจีวรขึ้นคลุมศีรษะกันร้อนกัน

หนาว นานวันผ้าจีวรที่ห่มอยู่ก็ชำรุดคร่ำคร่าเปื่อยขาดอันเนื่องจากการรอนแรมนาน ถึง ๓ ปี!

      พระโพธิธรรม มหาครูบา. ภาษาจีนที่เห็นนั้น แต้จิ๋วอ่านว่า "ตงโท้วชอโจ้ว ผู่ที้ตกม้อใต้ซือ" ปฐมาจารย์องค์

แรกจากอินเดียนำพระพุทธศาสนา นิกายเซ็น (ฌาน) สู่แผ่นดินจีน ชาวจีนนิยมเรียกสั้นๆว่า "ชอโจ้ว หรือ อิ๊ด

โจ้ว" หมายว่าองค์แรกคือที่ ๑. หรือ"ตกม้อโจ้วซือ" (ถ้านับจากอินเดียตามสายลงมาเป็นอันดับองค์ที่ ๒๘)


รับนิมนต์จากองค์ฮ่องเต้

     กระทั่ง ณ วันที่ ๒๑ ค่ำเดือนเก้า สมัยราชวงศ์เหลียงบู๊ตี้ประมาณปีพุทธศักราช ๑๐๗๐ ท่านจึงมาถึงยังฝั่ง

เมืองกวางโจว

     ขณะนั้น พระเจ้าเหลียงบู้ตี๊ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนามาก ทรงถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ เมื่อ

ข่าวการมาถึงของพระอาจารย์ตั๊กม๊อถูกรายงานไปยังราชสำนัก พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงปิติยินดียิ่ง จึงได้มีพระ

กระแสรับสั่งให้อาราธนาเข้าเฝ้าทันที

     ในปีนั้นเองพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับนิมนต์จากพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ไปยังนานกิงนครหลวงเพื่อถกปัญหาธรรม

     พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้ตรัสถามพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า

      "ตั้งแต่ข้าพเจ้าครองราชมา ได้สร้างวัดวาอาราม โบสถ์วิหาร และพระคัมภีร์มากมาย อีกทั้งอนุญาตให้ผู้

คนได้บวช โปรยทาน ถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนทะนุบำรุงพระศาสนามากมาย ไม่ทราบว่าจะ

ได้รับกุศลมากน้อยเพียงใด?"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า

      "ที่มหาบพิตรบำเพ็ญมาทั้งหมด เป็นเพียงบุญกิริยาทางโลกเท่านั้น ยังมิใช่กุศลแต่อย่างใด"

     การที่ท่านตอบเช่นนั้น ก็เพราะพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้มีความเข้าพระทัยผิด ดั่งที่แม้ปัจจุบันผู้คนก็จะคิดว่า "บุญ"

และ "กุศล" เป็นอย่างเดียวกัน จึงเรียกสับสนปนเปกันไป

     แท้ที่จริง การให้ทานเงินทอง วัตถุสิ่งของ อาหาร หรือสร้างวัดวาอาราม ฯลฯ เรียกว่า "บุญ" หมายถึง ส่งที่

ทำให้ฟูใจทำให้ใจมีปิติอิ่มเอมเท่านั้น ส่วน "กุศล" หมายถึงสิ่งที่จะช่วยขจัดเครื่องกางกั้น ช่วยให้จิตหลุดรอดไป

จากสิ่งครอบคลุมห่อหุ้ม "พุทธะจิตธรรมญาณ" ฉะนั้นกุศลที่แท้ คือ ความรู้แจ้งทางจิตใจคือปัญญาอันผ่องแผ้ว

สมบูรณ์ เป็นความว่าง สงบจากกิเลส

     เวลานั้นพระเจ้าเหลี่ยงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า

      "อริยสัจ คืออะไร?"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่มี"

     พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า

      "เบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ คือใคร?"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่รู้จัก"

     พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงได้ยินคำตอบเช่นนั้น ไม่ค่อยพอพระทัย

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นว่า พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงสั่งสมภูมิปัญญายังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุได้ จึงทูลลาจาก

ไป

     เมื่อท่านเดินทางพ้นจากเมืองไปแล้ว พระธรรมาจารย์ปอจี่เซียงซือ คือ พระเถระผู้ทรงปราดเปรื่องรอบรู้พระ

ไตรปิฎกได้เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลถามพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ว่า

      "พระภิกษุอินเดียรูปนั้น ขณะนี้พำนักอยู่ที่ใด? "

     พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสว่า

      "จากไปแล้ว.....ท่านเป็นใครหรือ? "

     พระธรรมจารย์ ปอจี่เซียงซือ กราบทูลว่า

      "ท่านคือ พระกวนอิมมหาโพธิสัตว์อวตารมาทีเดียว...ฝ่าพระบาทได้พบท่าน เหมือนไม่ได้พบ ได้เห็นท่าน

แต่เหมือนไม่ได้เห็น"

     พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงทราบเช่นนั้นจึงมีพระดำริ จะให้ทหารออกติดตามไปอาราธนาท่านกลับมา ฝ่ายพระ

ธรรมาจารย์ปอจีเซียงซือ ได้กราบทูลต่อไปอีกว่า

      "ไร้ประโยชน์...ถึงจะยกทัพไปแสนนาย ท่านก็ไม่กลับมา"


ชี้แนะนกแก้ว

     เมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินทางจากเมืองหลวงแล้ว ระหว่างทางจาริกท่านได้พบนกแก้วตัวหนึ่งถูกขังอยู่ใน

กรง เจ้านกแก้วตัวนี้ถึงจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ทว่ามันมีปัญญามากกว่าคนทั่วไปเสียอีกเพราะมันสามารถล่วงรู้

ด้วย สัญชาตญาณว่า มีพระอรหันต์ขีณาสพผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก เหยียบย่างมาถึงแผ่นดินนี้แล้ว

     พอเห็นพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินเข้ามาใกล้ เจ้านกแก้วจึงร้องเรียกขึ้นว่า

     "ท่านผู้เจริญ!....ท่านผู้สูงส่ง....ขอท่านได้โปรดเมตตาชี้แนะช่องทางให้ข้าน้อยออกจากกรงขังนี้ด้วยเถิด"

     ฝ่ายพระอาจารย์ตั๊กม๊อ เมื่อได้ยินคำวิงวอนจากนกแก้ว ก็ให้คิดคำนึงในใจว่า

      "นับตั้งแต่มาถึงแผ่นดินจีน..จนกระทั่งบัดนี้ จะหาใครบ้างที่ล่วงรู้ในจิตใจ มีใครที่มีวาสนาพอจะ แนะวิถี

ธรรมให้ได้บ้าง จะมีก็แต่เจ้านกแก้วตัวนี้ ที่ร้องขอเมตตา"

     ครั้นแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงโปรดชี้แนะเจ้านกแก้วไปว่า

      "สองขาเหยียดตรง สองตาปิดสนิท เท่านี้แหละ....เจ้าก็จะออกจากกรงได้"

     เจ้านกแก้วฟังแล้วก็เข้าใจความหมายทันที มันจึงเฝ้ารอคอยให้เวลามาถึง ทั้งนี้เพราะทุกๆเย็น เมื่อเจ้าของ

นกแก้วกลับถึงบ้าน ก็จะแวะหยอกล้อกับมันเป็นกิจวัตร

     ดังนั้นพอนกแก้วเห็นนายของมันเดินมาแต่ไกล มันจึงรีบล้มตัวลงนอน หลับตาสนิท เหยียดขาตรง ทำตัว

แข็งทื่อ

     ครั้นเจ้าของมองดูในกรง เห็นนกแก้วแสนรักของตนนอนแน่นิ่งไม่ไหวติงเช่นนั้นก็ตกใจ รีบเปิดกรงเอื้อมมือ

เข้าไปประคองอุ้มมันออกมาเพื่อตรวจดูว่าเป็นอะไร แต่เอ๊ะ...ทำไมตัวมันยังคงอุ่นๆอยู่ทันใดนั้นเอง เจ้านกแก้ว

ชึ่งรอคอยโอกาสอยู่ก็กางปีกบินหนีไปอย่างรวดเร็ว มันโผบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ด้วยความสุขสำราญและอิสระเสรีอย่าง

ที่สุด

     หันมามองดูมนุษย์ในโลกกันบ้าง ถึงไม่ได้ถูกจับใส่กรงขัง ก็อย่าหลงนึกไปว่าตนเองอิสระ ผู้คนทั้งหลาย

บ้างนึกอยากจะกินก็กินใครอยากจะดื่มก็ดื่ม สำมะเลเทเมาสนุกให้สุดเหวี่ยง ไม่มีศีล ไม่มีสัจจ์ ไม่มีระเบียบวินัย

ไม่มีความถูกต้อง ไม่เห็นความดีงามความควรไม่ควรไม่มีอยู่ในสายตา ทำทุกอย่างตามความพอใจของตนแล้ว

คิดว่านั่นเป็น ความอิสระเสรี

     แท้จริงมันเป็นอิสระจอมปลอม เป็นชีวิตที่ไร้แก่นสารไร้สาระความหมายที่แท้จริงของ "ชีวิตอิสระ" คือ อิสระ

จากการเกิด-ตาย

     ไม่ใช่ทุกคนที่อยากเกิด แต่ก็ต้องเกิด

     และไม่ใช่ว่าทุกคนอยากตาย แต่ก็ต้องตาย

     ใครบ้างเลือกได้ หรือ เลี่ยงได้

     มีเพียงผู้ที่อิสระแท้จริงเท่านั้นที่อยู่เหนือโลก คือ สามารถพ้นเกิดตาย เจ้านกแก้วเป็นตัวอย่างของการไปให้

ถึงความเป็นอิสระ

     คือ การ "ตาย" เสียก่อน "ตาย"

     ผู้ที่สามารถ ตายจาก รัก โลภ โกรธ หลง

     ตายจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

     ชิวิตในโลกของเขาผู้นั้นไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสตัณหาอวิชชาทั้งหลาย เช่นนี้..จึงจะได้ชื่อว่า "ตาย

ก่อนตาย" ได้สู่อิสระเสรี อย่าง แท้จริง


ชี้แนะเสินกวงฝ่าซือ

     ย้อนกล่าวถึง พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ได้เดินทางมาถึงวัดใหญ่แห่งหนึ่ง มีท่านเจ้าอาวาสนามว่า "เสินกวง" ท่าน

เจ้าอาวาสรูปนี้เป็นผู้ที่มีปัญญาหลักแหลมมาก และความจำล้ำเลิศชนิดที่ว่า คนทั่วไปอ่านหนังสือกันทีละแถว แต่

ท่านสามารถอ่านได้ทีละ ๑๐ แถวท่านสามารถฟังคนร้อยคนพูดในเวลาเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นท่านสามารถแยก

แยะเรื่องราวจากเจ้าของเสียงได้อย่างถูกต้อง นับว่าท่านเสินกวงฝ่าชือ เป็นพระสงฆ์อัจฉริยะองค์หนึ่ง แต่ทว่าอีก

ด้านหนึ่งท่านก็เป็นนักบวชที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวมากด้วยเช่นกัน ในด้านการเทศนาธรรม ท่านเจ้าอาวาสเสิ่นกวง นับ

เป็นนักเทศน์ชั้นเยี่ยมยอดแห่งยุคนั้น เพราะท่านสามารถเทศน์จนศรัทธาสาธุชนที่มานั่งฟังสามารถมองเห็นภาพ

สวรรค์ ภาพนรกขึ้นมาได้

     วันนั้นขณะพระอาจารย์ตั๊กม๊อมาถึง ท่านเสินกวง กำลังแสดงธรรมเทศนา มีสานุศิษย์ชุมนุมอยู่เป็นจำนวน

มาก พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงเข้าไปปะปนนั่งนิ่งฟังอยู่แถวหลังสุด ตอนไหนที่ถูกท่านก็ยิ้มๆ แล้วผงกศีรษะหน่อยๆ

ตอนไหนที่เทศน์ผิดความหมาย..ท่านก็จะส่ายหน้าหน่อยๆ

     ฝ่ายท่านเสินกวง ผู้ซึ่งกำลังแสดงธรรมอยู่บนแทนธรรมมาสน์ เมื่อมองเห็นพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ามา

แสดงกิริยาเช่นนั้น เหมือนกับว่าเป็นการตำหนิตน ก็รู้สึกไม่สบอารมณ์บ้างแล้ว

     ครั้นการเทศนาธรรมจบลง ผู้คนเริ่มทะยอยกันกลับ พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงถือโอกาสเข้าไปสนทนาเพื่อหวังชี้

แนะ ด้วยเห็นว่าเป็นผู้มีภูมิธรรมปัญญาเป็นฐานอยู่แล้ว

พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านอยู่ที่นี่ทำอะไร?"

ท่านเสินกวง "อ้าว!...ข้าก็เทศน์ธรรมอยู่ที่นี่น่ะซิ!"

พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านเทศน์ธรรมเพื่ออะไร?"

ท่านเสินกวง "เทศน์เพื่อให้ผู้คนหลุดพ้น!"

พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "จะช่วยคนให้พ้น เกิดตายได้อย่างไร...ในเมื่อธรรมที่ท่านเทศน์ ก็คือ

     ตัวหนังสือบนคัมภีร์

     ตัวหนังสือดำ ก็เป็นสีดำ

     กระดาษขาว ก็เป็นสีขาว

     เทศน์ไปเทศน์มา ก็คือเทศน์ตามตัวหนังสือดำๆ บนกระดาษขาวๆ

     เมื่อถูกจู่โจมด้วยคำถามชนิดไม่ทันให้ตั้งตัว ท่านเจ้าอาวาสเสินกวงได้แต่อึกอักอ้าปากค้าง ไม่รู้จะตอบอย่าง

ไร จากความอายกลายเป็นโกรธจัด แม้ว่ายามปกติท่านจะเป็นนักเทศน์ที่เยี่ยมยอดก็ตาม แต่คราวอารมณ์โกรธ

ปะทุ ขึ้นมาก็จะรุนแรงราวฟ้าผ่า

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นท่านเสินกวงไม่อาจตอบก็พูดย้ำเข้าไปอีกว่า

      "นี่แหละน๊า...แผ่นดินจีนในยุคนี้

     มีธรรมะ ก็เหมือนไม่มี

     หากจะว่าไม่มี ก็มีคนพูดธรรมะกันทั้งเมือง"

     ถึงตอนนี้ ท่านเสินกวงสุดจะกันความโกรธเอาไว้ได้ จึงเหวี่ยงสายประคำฟาดไปที่หน้าของพระอาจารย์

ตั๊กม๊ออย่างสุดแรงพร้อมกับ ตะโกนด่าว่า

      "นี่แน่ะ!....แกกล้าดีอย่างไร ถึงมาเป็นตัวบ่อนทำลายศาสนาที่นี่"

     จะว่าไปแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ท่านก็เป็นผู้ล้ำเลิศในเชิงวิทยายุทธ แต่ก็มิได้หลบหลีกการประทุษร้าย ทั้งนี้

เพราะท่านนึกไม่ถึงว่า บรรพชิตผู้ออกบวช อีกทั้งยังมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนมากมาย จะ

มากด้วยโทสะจริตจนถึงกับลงมือลงไม้กันหนักขนาดนี้ และผลจากการถูกฟาดด้วยสายประคำเส้นใหญ่อย่างแรง

ทำให้ฟันคู่หน้าทั้ง ๒ ซี่ หลุดอยู่ในปาก!

     ตามตำนานโบราณได้กล่าวว่า หากแม้นองค์พระอรหันต์เจ้าผู้บริสุทธิ์พระองค์ใด ถูกล่วงเกินทำร้ายถึงกับพระ

ทันตธาตุต้องตกล่วง แม้ว่าเศษแห่งพระทันตธาตุนั้นตกลง ณ พื้นแผ่นดินใด แผ่นดินนั้นจะต้องประสบ

ทุพภิกขภัย แห้งแล้งติดต่อกันถึง ๓ ปี!

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้เปี่ยมด้วยมหาเมตตาจิต พิจารณาว่า

      "หากแผ่นดินนี้ต้องแล้งฝน ขาดน้ำถึง ๓ ปี ชาวบ้านผู้คนเด็กเล็ก ตลอดจนสัตว์ใหญ่น้อยมากมาย จะต้อง

ล้มตายกันนับไม่ถ้วนอันตัวเรานี้อุตส่าห์ดั้นต้นเดินทางจากแผ่นดิน เกิดมาไกลแสนไกลก็เพื่อประกอบภาระกิจ

โปรดเวไนยสัตว์ มิใช่กลับกลายเป็นก่อวิบากกรรมให้แก่มวลเวไนย ให้ทุกข์ยากลงไปอีก"

     ท่านดำริใคร่ครวญเช่นนี้แล้ว จึงกลืนฟันที่ถูกฟาดจนหลุดทั้ง๒ ซี่ลงไปไนท้อง ไม่ยอมบ้วนลงพื้น พระ

อาจารย์ตั๊กม๊อผู้มีจิตพ้นแล้วจากกิเลสใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่มีความรู้สึกระคายเคืองใจ แม้เพียงน้อยนิด จึงได้แต่

หันหลังเดินจากไปด้วยอาการสงบเย็น


ยมฑูต เตือนสติ

     ท่านเสินกวงเจ้าอาวาส เมื่อได้ฟาดสายประคำระบายโทสะไปแล้ว ก็รู้สึกสมใจ ยิ่งไม่ใด้รับการโต้ตอบ ก็ยิ่ง

คิดไปว่าเป็นเพราะพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ารูปนั้นเกรงกลัวบารมีของตน ทำให้กระหยิ่มยิ้มย่องในใจ

     แต่หลังจากเหตุการณ์นั้นแล้ว อีก ๓ วันต่อมา ขณะที่กำลังจำวัตรพักผ่อน ยมฑูต ๒ ตน ก็ปรากฏร่างมายืน

อยู่ตรงหน้าพร้อมกับแจ้งว่า

      "วันนี้...ถึงเวลาแล้วที่ท่านต้องหมดบุญสิ้นอายุขัย

     ไม่อาจอยู่บนโลกมนุษย์อีกต่อไป!

     ท่านพญายมผู้เป็นใหญ่ ให้ข้าทั้งสองมานำตัวท่านลงไปในยมโลกเดี๋ยวนี้!"

     ท่านเจ้าอาวาสได้ยินเช่นนั้นก็ตกตะลึงระล่ำระลักถามยมฑูตว่า

      "อาตมาได้บวชเรียนศึกษพระธรรมปฏิบัติกิจบำเพ็ญมากมายกระทั่งเทศนาธรรม...มวล หมู่เทพยดาบน

สวรรค์ยังเสด็จลงมาฟังถึงขนาดนี้แล้วถ้าแม้ตัวอาตมายังไม่พ้น เงื้อมมือพญายม ไม่อาจหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่ง

การเกิดการตาย แล้วในโลกนี้ยังจะมีใครอีกเล่า...ที่สามารถหลุดพ้นไปได้"

     ยมฑูตตนหนึ่งได้ตอบเจ้าอาวาสเสินกวงว่า

      "ในโลกมนุษย์ยังมีผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่เพียงแต่ท่านพญายมไม่อาจเอื้อมควบคุม กลับยังจะต้องกราบสักการะ

ท่านอยู่เป็นเนืองนิจ พระอริยเจ้าพระองค์นั้น คือ พระภิกษุอินเดีย ที่ถูกท่านใช้สายประคำฟาดจนพระทันตธาตุ

หลุดไปนั้นแหละ!"

     ท่านเสินกวงได้ยินเช่นนั้น ก็ทั้งตกใจและเสียใจ จึงวิงวอนว่า

      "ขอท่านยมฑูตทั้งสองโปรดให้เวลาอาตมาสักระยะหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้ไปขอรับ ธรรมะแห่งการหลุดพ้น

จากพระอาจารย์ผู้บรรลุแล้วพระองค์นั้น"

     ยมฑูตทั้งสอง ก็ยินยอมผ่อนผันตามคำร้องขอ พอท่านเสินกวงสะดุ้งตื่นขึ้น ก็รีบออกติดตามหาพระอาจารย์

ตั๊กม๊อ จนกระทั่งลุถึงวันที่ ๑๙ ค่ำ เดือนสิบจึงตามมาทัน ครั้นเห็นพระอินเดียยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแยงชีแต่ไกล

ท่านเสิ่นกวงจึงรีบวิ่งไปจวนเจียนจะถึงองค์ท่านอยู่แล้ว

     ขณะนั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อกำลังจะข้ามฟาก แต่มองหาเรือไม่มีเลย ท่านจึงดึงเอาต้นหญ้าเล็กๆปล้องหนึ่ง

โยนลงแม่น้ำที่กำลังไหลเชี่ยว แล้วกระโดดลงไปยืนลอยบนต้นหญ้าเล็กๆนั้น ตาเพ่งจมูกจมูกเพ่งใจ ใจเพ่งท้อง

น้อย ผนึกลมปราณสมาธิ อาศัยกระแสลมซึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ พาท่านข้ามไปยังฝั่งเหนือ ชึ่ง

เหตุการณ์สำคัญนี้ ในวัดเส้าหลินปัจจุบันยังคงเก็บรักษาแผ่นสิลาสลักรูป

      "พระโพธิธรรมข้ามแม่น้ำด้วยหญ้าต้นเดียว" เอาไว้เป็นหลักฐานแห่งบุญญาภินิหาร

     ฝ่ายท่านเสินกวง ได้แต่ทรุดตัวกราบลงที่ริมฝั่งแม่น้ำพร้อมกับตะโกนร้องขอขมาโทษ...ขออาราธนา ให้

ท่านกลับมาอีก...พระอาจารย์ตั๊กม๊อ หันมามองดูแล้วก็ยิ้มและยกมือกวัก ประหนึ่งว่าจะให้กระโดดน้ำก็ตามท่าน

ไป

     อนิจจา....ท่านเสินกวง ถึงจะมีใจศรัทธายิ่งในกฤษดาภินิหารของพระอินเดีย แต่ทว่าว่ายน้ำไม่เป็น จึงไม่

กล้ากระโดดตามลงไปได้แต่ยกมือพนมตะเบ็งเสียงร้องว่า

      "ขอท่านผู้สูงส่ง ได้โปรดกลับมาเถิดๆๆ"

     ขณะนั้นมีหญิงชราคนหนึ่งแบกมัดฟางเดินมา นางเห็นเหตุการณ์ที่เกิด ก็ยุเสริมให้กระโดดน้ำตามไป

     ท่านเสินกวงจึงบอกว่า "อาตมาว่ายน้ำไม่เป็น"

     หญิงชรากลับย้อนว่า "ท่านกลัวตายหรือ...แล้วทำไมเขาไม่กลัวตายล่ะ? "

     ว่าแล้วนางก็โยนมัดฟางให้ ท่านเสินกวงจึงตัดสินใจกระโดดเกาะมัดฟางนั้น พยุงตัวไหลไปตามกระแสน้ำอัน

เชี่ยวกราดกระทั่งลับสายตาไปทั้งคู่

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ข้ามแม่น้ำแยงซีไปถึงวัดเส้าหลินบนเทือกเขาซงซาน อำเภอลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน

แล้วพำนักอยู่ที่นั่น ท่านได้ค้นหาถ้ำธรรมชาติถ้ำหนึ่งบนเขาหลังวัด แล้วนั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนังถ้ำ วันๆจะนั่งนิ่ง

ไม่ไหวติงไม่พูดจากับผู้ใดท่านนั่งสมาธิเข้าฌานอยู่เช่นนี้ เป็นเวลาถึง ๙ ปี

     นานวันเข้า เงาร่างที่กระทบทาบไปบนผนังศิลา ได้ฝังรอยติดอยู่จนมองเห็นได้ชัดเจน สามารถเห็นได้แม้

กระทั่งปัจจุบันนี้ จึงได้ชื่อว่า "ผนังศิลาเงา"




http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=230
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2010, 11:09:25 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 12:09:24 am »
0

ตัดแขนบูชาธรรม

     ฝ่ายท่านเสินกวง ชึ่งกระโดดน้ำติดตามมา ก็เฝ้าคอยปรนนิบัติพระอาจารย์ตั๊กม๊ออยู่ไม่ยอมไปไหน ตลอด

ระยะเวลา ๙ ปีที่พระอาจารย์นั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนังถ้ำ ท่านเสินกวงก็พยายามมาคุกเข่ารออยู่ที่หน้าถ้ำ ด้วย

ความหวังว่าจะได้รับการถ่ายทอดธรรมอันสูงสุดเพื่อความหลุดพ้น บริเวณที่ท่านเสินกวงคุกเข่า ต่อมาได้ถูกสร้าง

เป็นศาลาขึ้น มีชื่อว่า "ศาลากลางหิมะ" ซึ่งยังปรากฎเป็นหลักฐานให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้

     เวลาผ่านไปถึง ๙ ปี ในวันที่ ๒๙ ค่ำ ปีไท่เหอที่สิบ วันนั้นหิมะตกหนักมาก ท่านเสินกวงคุกเข่าอยู่หน้าถ้ำ

ตลอดทั้งคืน จนหิมะท่วมสูงถึงเอว ครั้นรุ่งเช้าพระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ได้เดินออกมาจากถ้ำ พร้อมกับเอ่ยถามขึ้นว่า

      "เธอมาคุกเข่าตากหิมะอยู่ที่นี่ เพื่อประสงค์อะไร?"

     ๙ ปีแห่งการรอคอย ท่านเสินกวง ตื้นตันจนน้ำตาไหลซึมออกมา แล้วตอบว่า

      "ข้าผู้น้อย....มาขอรับการถ่ายทอดวิถีธรรมขอรับ

     ขอท่านอาจารย์ได้โปรดเมตตาเปิด "ประตูมรรคผล"

     ชี้ทางแห่ง "พุทธะ" แก่ศิษย์ด้วยเถิด"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "พระพุทธองค์สละเวลามากมายทุ่มเทชีวิตในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุมรรคผล

แล้วตัวเธออาศัยความตั้งใจเพียงเล็กน้อยมาขอรับธรรมอันยิ่งใหญ่ คงยากที่จะสมหวัง!"

     ขณะนั้น ท่านเสินกวงได้แต่ก้มหน้านิ่ง ไม่รู้จะตอบว่าอย่างไร

พระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ย้อนถามอีกว่า

      "หิมะสีอะไร?"

     ท่านเสินกวง "ขาวขอรับ"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ถ้าเช่นนั้น...เธอจงรอไปจนถึงเวลาที่หิมะเป็นสีแดงเมื่อใด เมื่อนั้นแหละฉันจึงจะถ่าย

ทอดวิถีธรรมเพื่อความหลุดพ้นแก่เธอ!"

     คำพูดอันเป็นปริศนา เพื่อทดสอบภูมิธรรมปัญญาจากพระอาจารย์ตั๊กม๊อ ทำให้ท่านเสินกวงทั้งเสียใจ ทั้งสิ้น

หวังหมดอาลัยตลอด ๙ ปีที่เฝ้ารอคอยมา...ความสมหวังดูช่างเลือนลาง มิหนำซ้ำความรันทดอัดอั้นตันใจเมื่อ

ระลึกถึงความผิดบาป ที่ตนได้ประทุษร้ายพระอริยเจ้าผู้บริสุทธิ์ด้วยโทสะจิต ความผิดฉกรรจ์ครั้งนั้น หากจะชดใช้

ด้วยชีวิตก็มิอาจจะไถ่โทษ ถึงตัวจะตายแต่จิตวิญญาณก็ใช่ว่าจะหลุดพ้นเป็นอิสระไปได้ ความสับสนคับอกคับใจ

ความหมดอาลัยสิ้นหวัง ทับโถมประดังเข้ามา มิอาจจะสรรหาคำพูดใดๆ มาพรรณาได้

     ทันใดนั้นเอง ท่านเสินกวงก็หันไปคว้ามีดตัดฟืนข้างกายยกขึ้นมาฟันแขนซ้ายตนเองจนขาดตกลงบนพื้น!

จากนั้นท่านก็ใช้มือขวาหยิบแขนที่ขาด ยกขึ้นถวายบูชาพระอาจารย์ตั๊กม๊อประหนึ่งแทนความในใจทั้งหมด

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงกล่าวขึ้นว่า

      "เพื่อแสวงหาโมกขธรรม พระโพธิสัตว์ไม่ติดในสังขารและชีวิตเธอสละแขนขอธรรมนับว่าควร

สรรเสริญ...นับว่าควรสรรเสริญ"

     ขณะเดียวกัน ท่านเสินกวงซึ่งก้มหน้าของตนเอง เห็นเลือดจากแขนไหลนองพื้น หิมะที่ขาวสะอาดซึมซับไว้

ได้กลับกลายเป็นสีแดงฉาน! ท่านจึงเงยหน้ารีบบอกไปว่า

      "ได้โปรดเถิดท่านอาจารย์...บัดนี้หิมะสีแดงปรากฏต่อสายตาท่านแล้วขอรับ!"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ยิ้มด้วยความยินดี พร้อมกับกล่าวว่า

      "นี่คือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น....

     การมาถึงแดนบูรพาในครั้งนี้...ไม่สูญเปล่า

     เพราะยังมีบุญวาสนามาพบผู้มีศรัทธาแรงกล้า

     ที่จะสามารถรับรู้และปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมอันเที่ยงแท้ได้"

     เมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อกล่าวจบ ท่านได้สกัดจุดห้ามเลือดแล้วรักษาบาดแผล ท่านเสินกวงรู้สึกถึงความเจ็บ

ปวดอย่างจับใจจึงเอ่ยขอให้อาจารย์ชี้แนะว่า

      "จิตของศิษย์ว้าวุ่น...ขอท่านอาจารย์ เมตตาช่วยทำให้มันสงบด้วยเถิดขอรับ"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "จงเอาจิตของเธอออกมาซิ!แล้วฉันจะทำให้มันสงบ"

     ท่านเสินกวงนิ่งไปครู่หนึ่ง แล้วก็ตอบว่า

      "ศิษย์หาจิตของตัวเองไม่พบขอรับ"

     ต่อจากนั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อ องค์สังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ แห่งอินเดียก็ได้ถ่ายทอดธรรมให้แก่ท่านเสินกวง

ด้วยวิถีแห่ง "จิต สู่ จิต" เมื่อนั้นท่านเสินกวงก็ได้บรรลุธรรมโดยฉับพลัน

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงกล่าวว่า

     "ฉันได้วางจิตของเธอในที่ถูกต้อง และทำให้มันสงบแล้ว "พระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับท่านเสินกวงเป็นศิษย์

และตั้งสมณะฉายาให้ใหม่ว่า "ฮุ่ยเข่อ" พร้อมกับได้กล่าวโศลกธรรมว่า

      "สรรพศาสตร์ทั้งหลายอยู่ที่ "หนึ่ง"

      " หนึ่ง" นั้นอยู่ที่ใดเล่า

     เพราะไม่รู้ "จุดหนึ่ง" เสินกวงจึงต้องคุกเข่า

     รอ ๙ ปี เพื่อขอ "หนึ่งจุด".....หลุดพ้นยมบาล


ฝ่ามารผจญ

     พระพุทธองค์ตรัสว่า

      "ผู้ไม่ถูกว่าร้าย ไม่มีในโลก และแน่นอนคนที่ไม่ถูกเกลียดเลยไม่มีในโลก" เพราะแม้แต่พระพุทธองค์เองก็

ยังถูกคนนินทาใส่ร้ายป้ายสี ยังต้องถูกมารผจญ

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อเองก็เช่นกัน นับแต่ย่างก้าวมาถึงแผ่นดินจีน ท่านได้ประกอบภาระกิจเผยแพร่วิถีธรรม

ตรง มีสานุศิษย์ก็มาก แต่ขณะเดียวกันศัตรูที่ปองร้ายก็ไม่นัอย หลายต่อหลายครั้งที่ฝ่ายปรปักษ์ หมายมุ่งจะ

ทำลายชีวิตท่าน โดยผสมยาพิษลงไปในภัตตาหารเจ แล้วทำทีมาถวายด้วยใจศรัทธา ทั้งๆที่รู้ว่าอาหารมีพิษพระ

อาจารย์ตั๊กม๊อก็ยังรับมาฉันอย่างปกติจนหมด แต่เมื่อสาธุชนทั้งหลายกลับไปหมดแล้ว ท่านก็เดินลมปราณขับ

พิษ อาเจียรเอาอาหารทั้งหมดออกมา

     กล่าวกันว่าอำนาจของพิษร้ายและมนต์ดำ เมื่ออาหารตกลงบนพื้นเพียงเศษเล็กน้อย ก็กลายเป็นฝูงอสรพิษ

     ฝ่ายศัตรูผู้มุ่งร้ายก็ไม่ยอมเลิกรา เมื่อเห็นว่ายาพิษไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ ก็เพิ่มปริมาณยาพิษให้มาก

ลงไปในภัตตาหารขึ้นอีกหลายเท่า แม้กระนั้นท่านก็ยังรับมาฉันอีก คราวหนึ่งความร้ายแรงของยาพิษ...เมื่อท่าน

อาเจียรออกมา มันมีอานุภาพถึงขนาดทำให้หินก้อนใหญ่แตกกระจายเป็นเสี่ยงๆ แต่กระนั้นก็มิอาจจะทำอันตราย

ใดๆ แก่ท่านได้


ทดสอบภูมิธรรม คัดศิษย์สืบทอดภาระกิจ

     ปีพุทธศักราช ๑๐๗๙ อยู่มาวันหนึ่งพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้เรียกสานุศิษย์คนสำคัญๆ เข้ามาพบเพื่อที่จะ

ทดสอบภูมิธรรมของแต่ละคนว่าใครจะเข้าถึง "อนุตตรธรรมวิถี" ที่ท่านสั่งสอนอบรมไว้ว่าลึกตื้นมากน้อยกว่ากัน

เพียงไร

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตั้งคำถามว่า

      "ธรรมที่แท้จริง คือ อะไร?"

ศิษย์ชั้นอาวุโสองค์แรก นามว่า "เต๋าหู๋" ได้ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า

      "ไม่ยึดติดตัวอักษรคัมภีร์

     แต่ก็ไม่ทิ้งตัวอักษรคัมภีร์

     อยู่เหนือการยอมรับ และเหนือการปฏิเสธ

     นั่นแหละ คือ ธรรมะที่แท้จรง ขอรับ"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า

      "เอาล่ะ...เธอได้หนังของฉันไป"

ศิษย์องค์ที่สองเป็นภิกษุณี นามว่า "จิ้งที้" ได้ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า

      "ธรรมที่แท้จริง เหมือนดังที่พระอานนท์ได้เห็น พุทธภูมิของพระอักโษภยาพุทธเจ้า แว็บหนึ่งแล้วไม่เห็นอีก

เลยเจ้าค่ะ"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า

      "ถูก....เธอได้เนื้อของฉันไป"

ศิษย์องค์ที่สาม นามว่า "เต๋ายก" ลุกขึ้นยืนแล้วตอบว่า

     "มหาภูตรูปทั้ง 4 นั้นเดิมว่าง ขันธ์ 5 ก็ไม่ใช่ตัวตนไม่มีแม้แต่ธรรมใดๆ นั่นแหละคือ ธรรมะ ที่แท้จริงขอรับ"

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงพูดว่า

     "เอ้า!...ถูก....เธอได้กระดูกของฉันไป"

ศิษย์องค์ที่สี่ นับเป็นศิษย์ก้นกุฏิ คือ ฮุ่ยเข่อ หรือท่านเสินกวงนั่นเองท่านได้ลุกขึ้นนมัสการพระอาจารย์ตั๊กม๊อ

แล้วหุบปากนั่งนิ่ง แล้วยังเม้มลึกเข้าไปอีก ความหมายก็คือ ไม่มีภาษาและเสียงใด มาอธิบายสภาวะสัจจธรรมได้

เลย เป็น "ปัจจัตตัง" คือ รู้ได้เฉพาะตนเท่าที่ตนเองได้บรรลุถึงเท่านั้น

     ถึงตอนนี้ พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงหัวเราะแล้วพูดว่า

      "ดี! ดี!.....เธอได้ไขในกระดูกของฉันไป"

     ดังนั้นพระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงได้ส่งมอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ธรรมะทั้งหมด ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้

แก่ ท่านฮุ่ยเข่อสืบทอด เป็นพระสังปรินายกองค์ที่ ๒ ของนิกายฌานเพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนา ถ่ายทอด

หลักจิตญาณต่อไป แต่พระอาจารย์ตั๊กม๊อก็ได้บัญชาให้ท่านฮุ่ยเข่อปกปิดฐานะตำแหน่งและหลบซ่อน ตัวอีก๔๐

ปี เพื่อให้พ้นจากการปองร้าย

     หลังจากที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อ มีผู้รับช่วงภาระกิจงานธรรมแล้ว ได้ออกจากวัดเส้าหลิน เดินธุดงค์ไปที่วัด

เซียนเซิ่ง ตำบลหลงเหมิน กล่าวกันว่าท่านได้ถูกพิษที่ริมฝั่งแม่น้ำลัวะสุ่ย กระทั่งใกล้วันที่จะมรณะภาพ ท่านได้

เรียกประชุมบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายและบอกกับท่านฮุ่ยเข่อว่า

     พระเว่ยโห มหาครูบา. ตัวอักษรจีนที่เห็นนั้น แต้จิ๋วอ่านว่า "ยี่โจ้ว หุยค้อใต้ซือ" ชาวจีนนิยมเรียกท่านสั้น ๆ

ว่า "ยี่โจ้ว" ถ้า นับจากอินเดียตามสายลงมาแล้ว เป็น พระสังฆปริณายกอันดับองค์ที่ ๒๙ "ด้วยปัญญาบารมีของ

เธอ ทำได้อย่างดีที่สุด ก็คือ ปลุุุกกุศลจิตอันเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะบุกเบิกทางแห่งอริยภูมิ

ให้แก่ชาวจีนไว้ก่อนเท่านั้น สวนผลที่ได้จะเกิดขึ้น...หลังจากที่ฉันดับขันธ์ไปแล้ว ๒๐๐ ปี จะมี "บัณฑิตใต้

ต้นไม้" มาเกิดเขาจะเป็นผู้มาทำให้พระธรรมคำสอนที่ฉันถ่ายทอดโดย "จิต สู่ จิต" นี้ แพร่กระจายไปทั่วทุกมุม

เมือง เมื่อนั้นจะมีผู้ได้บรรลุ "ธรรมจักษุมากมาย"

     แล้วก็เป็นจริงดังคำพยากรณ์ เพราะอีก ๒๐๐ ปีต่อมา "บัณฑิตใต้ต้นไม้" ก็คือ ท่านเว่ยหล่างผู้ได้รับสืบทอด

เป็นพระสังฆปริยนายกองค์ที่ ๖ ซึ่งเดิมท่านมีอาชีพตัดไม้ขายเพื่อเลี้ยงมารดา และพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินจีน

ในยุคของท่าน เจริญรุ่งเรืองมากกว่ายุคใดๆ


ปัจฉิม โอวาท

     สุดท้ายพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้กล่าวปัจฉิมโอวาทฝากไว้ว่า

     "บัดนี้...ฉันอายุครบ ๑๕๐ พรรษาแล้ว และได้เสร็จสิ้นภาระกิจหน้าที่ของพระโพธิสัตว์แห่งการมาเยือนถึง

แผ่นดินนี้ ฉันได้แผ้วถางบุกเบิกเส้นทางสู่อริยภูมิไว้ให้แล้ว ต่อแต่นี้เป็นต้นไป เป็นหน้าที่ของพวกเธอทั้งหลายที่

จะต้องพากเพียรปฏิบัติบำเพ็ญให้ได้บรรลุถึง ธรรมที่ฉันได้สอนไว้

     จงช่วยกันหากุศโลบายประกาศธรรมนี้ ถ่ายทอดสืบไปยังอนุชนแต่ละรุ่นๆอย่างกว้างขวางทุกมุมเมืองด้วย

ความไม่ประมาท แล้วผลบุญกุศลบารมีจากการนี้ จะเกิดขึ้นในอนาคตกาลต่อเนื่องไปอีกหลายร้อยหลายพันชั่วอา

ยุคน ชั้นสูงสุดจะส่งผลให้เข้าถึง"พุทธภูมิ" ขั้นต่ำที่สุดจะทำให้มนุษย์ได้มหาสติ พบแสงสว่างแห่งปัญญาญาณ

อันจะส่งผลไปถึงการได้ช่วยชีวิตสัตว์เดรัจฉานให้รอดตายอีกนับไม่ถ้วน ด้วยอำนาจแห่งพระเมตตาพระกรุณาแห่ง

วิถีธรรมนี้เอง จะเป็นเหตุปัจจัยส่งผลให้ปกป้องคุ้มครองชีวิตสัตว์โลกไว้ได้อย่างมาก มายมหาศาลทีเดียว

     โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ่อเกิดหรือที่มาของพระอริยเจ้าพระอรหันต์พระ โพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ที่จะ

อุบัติขึ้นในอนาคตกาลก็ล้วนจะออกมาจากประตูแห่งอาณาจักรธรรมนี้ ฉะ นั้นจึงเท่ากับว่าพวกเธอทั้งหลายได้ทำ

หน้าที่อันสูงสุดของ "พระโพธิสัตว์" ได้แก่การช่วยแบกหาม เทิดทูนบูชา "พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" ไว้มิ

ให้วิถีธรรมนี้ด่วนดับสูญจากโลกไปเร็วนัก จะเป็นมหาบุญมหากุศลบารมีอย่างมหาศาลแก่พวกเธอ ตลอดจนสรรพ

สัตว์ทุกชาติภพไม่มีวันจบสิ้นทีเดียว

     บัด นี้ฉันขอเตือนพวกเธอเป็นครั้งสุดท้ายอีกสักหน่อยว่าจงอย่าประมาทเลยนา วันเวลาหร่อยหรอหมดไปไม่

คอยใคร อายุวัย ความชราภาพแห่งสังขารก็กัดกินให้สิ้นไป โดยไม่ยอมคอยใครและวิถีธรรมนี้ ก็ไม่คอยใครเช่น

กัน

     จิตตนคิด กายตนทำ ใครทำใครได้เอง สิ่งเหล่านี้ต้องต่างคนต่างทำ จะทำแทนกันนั้นมิได้เลย บุญกุศล

มรรคผลนิพพานต้องไปปฏิบัติเอง ลงมือทำด้วยตนเองให้ได้ทันตาเห็น จึงจะเป็นของเธอเองไปได้"

     และแล้วพระโพธิธรรมองค์ปรมาจารย์ก็ตรัสเป็นวาจาสุดท้ายว่า

     "ฉันขออำลาพวกเธอทั้งหลาย

     ฉันจะจากโลกนี้ไปแล้ว....."

     จากนั้น ท่านก็ประทับนั่งนิ่งอยู่ในสมาธิดับขันธ์ในฌานสมาบัติ เข้าสู่นิพพาน ท่ามกลางความเศร้าโศกสลด

ของเหล่าสานุศิษย์ ทั้งหลาย

     เมื่อข่าวนี้ได้แพร่ถึงเมืองหลวง พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้พระราชทานสมณศักดิ์ จารึกที่พระเจดีย์บรรจุพระศพบน

ภูเขาสงเอ่อซัน อำเภออี๋หยาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน

     กระทั่งมาถึงสมัยราชวงศ์ถัง องค์จักรพรรดิ์ ถังไท่จง ได้พระราชทานนาม พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ว่า

"พระฌานาจารย์สัมมาสัมโพธิญาณ"


คืนสู่ทิพยภาวะ

     มีเรื่องโจษจรรเล่าขานกันว่า หลังจากที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อดับขันธ์ทิ้งสังขารแล้ว สานุศิษย์ทั้งหลายได้

อัญเชิญพระสรีระเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

     แต่ทว่า....ช่วงในเวลาเดียวกันนั้น ไกลออกไปทางตอนเหนือของจีน มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า ซ่งหวิน กำลัง

เดินทางไปปฎิบัติราชการในแถบนั้น ระหว่างทางเขาได้พบกับพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินธุดงค์มา ในมือของท่านหิ้ว

รองเท้าอยู่ข้างเดียว

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อได้กล่าวกับ ขุนนางซ่ง ว่า

      "แผ่นดินบ้านเกิดของเธอ กำลังเกิดเหตุใหญ่ เพราะองค์ฮ่องเต้เสด็จสวรรคตแล้ว

     เธอจงรีบเร่งกลับเข้าเมืองหลวงโดยเร็วเถิด!"

     ขุนนางซ่ง "พระคุณเจ้ากำลังจะธุดงค์ไปที่ใดหรือขอรับ?"

     พระอาจารย์ต๊กม๊อ "อาตมาเสร็จสิ้นภาระกิจแล้ว กำลังจะกลับอินเดีย"

     ขุนนางซ่ง "แล้วจะมีใครสืบทอดวิถีธรรมจากท่านเล่าขอรับ?"

     พระอาจารย์ต๊กม๊อ "อีก ๔๐ ปี ข้างหน้า บุคคลผู้นั้นจะปรากฏตัว"

     ครั้นขุนนาง ซ่งหวิน กลับถึงเมืองหลวงก็พบว่าเหตุการณ์เป็นจริงดังคำบอก เขาได้เล่าเรื่องราวการพบปะกับ

พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ที่ภาคเหนือให้บรรดาชาวเมืองฟัง แต่ไม่มีใครยอมเชื่อ ต่างพูด ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า

ท่านดับขันธ์ทิ้งสังขารแล้ว จะไปพบปะกับใครได้

     ดังนั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง จึงได้ทำการขออนุญาตเปิดหอบรรจุพระศพ ปรากฏว่าหีบพระศพว่างเปล่า! เหลือ

เพียงรองเท้าอีกข้างทิ้งไว้ เหตุการณ์นี้สร้างความฉงนงงงวยให้แก่ผู้คนเป็นอย่างมาก

     จวบจนกระทั่งบัดนี้ ก็หามีใครล่วงรู้ไม่ว่า พระสรีระของพระอาจารย์ตั๊กม๊อ หายไปไหน และหายไปได้อย่าง

ไร?

     แม้แต่อายุของท่าน ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน เพราะเมื่อแรกที่ท่านมาถึงประเทศจีน ท่านก็บอกว่า อายุของ

ท่าน ๑๕๐ ปี และถึงตอนจะดับขันธ์ท่านก็ยังคงบอกว่า ท่านอายุ ๑๕๐ ปี อีกเช่นกัน! ประวัติศาสตร์จึงไม่อาจยืน

ยันอายุที่แท้จริงของพระองค์ท่านได้

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อ มีอายุ ๑๕๐ ปี จริงหรือ? อยู่ที่ใด? ท่านไปไหน?

     หรือว่าบางที ท่านจะยังคงจาริกไปทั่ว และผู้ที่ศรัทธาอาจจะได้พบปะสนทนากับท่านแล้ว เพียงแต่เราจำ

พระองค์ท่านไม่ได้หรือว่าท่านเข้าสู่สภาวะทิพย์อันเป็นอมตะ นิรันดร สามารถปรากฏกายในทุกที่ และทุกรูป

แบบ ไร้ขีดจำกัด เป็นอิสระเสรีอย่างบริสุทธิ์สมบูรณ์

     ทั้งหมดที่กล่าวมา คงไม่ใช่เรื่องไร้สาระ ด้วยเหตุที่ว่า

      "ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ สำหรับผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้ว"




http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=230
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2010, 11:45:40 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 07:58:47 am »
0
 :25:

กับประวัติ อาจารย์ ตั๊กม้อ

มีข้อคิด และ มองเห็นปัญญา จริง ๆ

สาูธุ
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 09:24:32 pm »
0

สังฆปรินายกที่ 6 ฮุ่ยเหนิง (เว่ยหลาง)

       ฮุ่ยเหนิง แซ่หลู (พ.ศ. 1 181-พ.ศ. 1256) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก ทางบ้านยากจนมาก จึงไม่มีโอกาส

ได้เรียนหนังสือ มีอาชีพตัดฟืนขายเลี้ยงมารดาเมื่ออายุ 23 ปี วันหนึ่งได้มีโอกาสฟังข้อความบางตอนของ

“จินกังจิง” (วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร) เกิดประทับใจ ประกอบกับมีคนแปลกหน้าผู้อารีคนหนึ่ง ได้มอบเงินสิบ

ตำลึงแก่เขาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของมารดา พร้อมกับแนะให้ไปคารวะพระอาจารย์หงเหยิ่น ที่วัดตงฉาน เมืองหู เป่ย

เมื่อฮุ่ยเหนิงไปถึงวัดตงฉาน อาจารย์หงเหยิ่นถามว่า “เธอมาจากไหน? ” ฮุ่ย เหนิงตอบว่า “มาจากกวางตุ้ง” 

อาจารย์หงเหยิ่นกล่าวว่า“ ที่นั่นเป็นถิ่นของคนป่าคนดอยนี่ คนบ้านนอกอย่างเธอ ก็สามารถบำเพ็ญสำเร็จเป็น

พุทธะด้วยหรือ? ” ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า“ แม้คนมีเหนือใต้ แต่พุทธจิตไม่มีเหนือใต้ คนบ้านนอกกับอาจารย์แม้จะแตก

ต่างกันแต่พุทธจิตไม่ต่างกัน” อาจารย์หงเหยิ่นได้ฟังก็รู้ว่า บุคคลผู้นี้จะเป็น กำลังสำคัญทางศาสนาในภายหน้า

จะถามต่อก็เห็นมีสานุศิษย์ห้อมล้อมอยู่ จึงพูดตัดบทสั่งให้ไปที่โรงครัวตำข้าว ผ่าฟืน ฮุ่ยเหนิงก็รู้ใจอาจารย์ จึงรีบ

ไปทำงาน

       8 เดือนต่อมาอาจารย์หงเหยิ่นรู้ว่า ถึงเวลามอบหมายธรรมแล้ว จึงประกาศให้ทุกคนเขียนโศลกตามปัญญา

ของตนมาให้ดู ถ้าผู้ใดรู้แจ้งก็จะมอบบาตร จีวร และตำแหน่งสังฆปรินายกที่ 6 แก่ผู้นั้นเสินซิ่ว หัวหน้าสานุศิษย์

ได้เขียนโศลกที่ผนังว่า

ร่างกายดั่ง ต้นโพธิ์

จิตดั่ง แท่นกระจกเงา

หมั่นปัดกวาด อยู่เสมอ

อย่าให้ติด ธุลี

       อาจารย์หงเหยิ่นเห็นโศลกของเสินซิ่วก็รู้ว่า เขายังไม่รู้แจ้งจิตเดิมแท้ แค่อยู่นอกประตู ยังไม่ได้เข้าถึงใน

ประตู  ส่วนฮุ่ยเหนิงคนตำข้าว ผ่าฟืน ที่ทุกคนดูแคลนได้เขียนโศลกว่า (วานคนอื่นเขียนตามคำบอก)

เดิมทีโพธิ์ ไร้ต้น

กระจกเงาก็ ไร้แท่น

แท้จริงไร้ สักอย่าง

ธุลี (กิเลส) จับได้ไฉน

       เมื่ออาจารย์หงเหยิ่นได้ห็นโศลกของฮุ่ยเหนิง รู้สึกดีใจมาก เพราะรู้ว่า เขามีภาวะจิตที่ใสบริสุทธิ์แต่เกรงจะ

เกิดอันตราย จึงกล่าวเพียงว่าฮุ่ยเหนิงก็ยังไม่รู้แจ้ง แต่ในตอนดึกของคืนวันต่อมา ก็ได้ถ่ายทอดธรรม และมอบ

บาตร จีวรแก่ฮุ่ยเหนิง เป็นสังฆปรินายกที่ 6 อาจารย์ หงเหยิ่นกล่าวว่า “บัดนี้เธอเป็นสังฆปรินายกที่ 6 แล้ว จง

ไปเผยแผ่มหาธรรม โปรดสัตว์โลกอย่าให้สูญหาย แต่ก่อนปรมาจารย์โพธิธรรมเข้ามาประเทศจีนใหม่ ๆ ผู้คนยัง

ไม่เลื่อมใสเท่าไร ดังนั้นจึงใช้บาตรและจีวรเป็นสัญลักษณ์มอบให้แก่สังฆปรินายกคนต่อ ไปสืบทอดทุกรุ่น และ

ถ่ายทอดธรรมด้วยจิตสู่จิตตัวต่อตัว โดยเข้าใจเอง รู้แจ้งเอง แต่บาตรจีวรอาจเป็นเหตุแห่งการแย่งชิงกันขึ้น จากนี้

ไปเธอจงยุติการสืบทอดแบบนี้ เพราะอาจเกิดอันตรายใหญ่หลวงได้เธอต้องรีบไปจากที่นี่ เพราะอาจมีคนทำร้าย

ได้” ในตอนรับมอบธรรม และบาตรจีวร ฮุ่ยเหนิงยังเป็นฆราวาสอยู่ จากนั้นฮุ่ยเหนิงได้หนีภัยไปอยู่ที่เมืองเจียง

หนาน โดยอยู่กับกลุ่มนายพรานเป็นเวลา 15 ปี  พรานป่าหาเลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ อาหารทุกมื้อส่วนใหญ่จึงมี

แต่เนื้อสัตว์ แต่ฮุ่ยเหนิงกินเฉพาะผักข้างเนื้อเท่านั้น  ฮุ่ยเหนิงมีเมตตาธรรมสูง โดยมักปล่อยสัตว์ที่ติดแร้วยาม

ปลอดคนเสมอ

       ปี พ.ศ. 1219 ฮั่ยเหนิงอายุ 39 ปี เห็นว่าถึงเวลาสมควรแล้ว จึงเดินทางไปที่วัดฝ่าซิง เมืองกวางตุ้ง และ

ด้วยคำว่า “ไม่ใช่ลมไหว ไมช่ธงไหว แต่เป็นจิตคนไหว” ของฮุ่ยเหนิง ทำให้พระอาจารย์อิ้นจง เจ้าอาวาสที่กำลัง

แสดงธรรมอยู่ ถึงกับชมเชยว่า “การแสดงธรรม ของผมด้อยค่าเหมือนอิฐกระเบื้อง ไต้ซือตีความหลักธรรมสุด

เลิศล้ำ” และ ต่อมาได้ทำพิธีปลงผมบรรพชาอุปสมบทให้ฮุ่ยเหนิง เป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา แล้วตน

เองกลับขอเป็นศิษย์ของฮุ่ยเหนิง

       2 ปีต่อมา ฮุ่ยเหนิงได้ไปที่เมืองเฉาซี (เฉ่าคอย) ที่นั่นมีศรัทธาชนได้ ร่วมกันสร้างวัดเป่าหลิน (ปัจจุบันชื่อ

วัดหนานหัว) ฮุ่ยเหนิงได้พำนักอยู่ที่วัดนี้ 36 ปี มีคนถามฮุ่ยเหนิงว่า ครั้งที่ท่านโพธิธรรมโปรดพระเจ้าเหลียงอู่

โดยบอกว่า การสร้างวัดและการบริจาคต่าง ๆ ไม่ได้กุศลหมายความว่าอย่างไร?ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า การสร้างความดี

นอกกายทุกอย่าง ล้วนแต่เป็นการแสวงหาโชคลาภ จึงไม่ใช่กุศล กุศลอยู่ที่การบำเพ็ญทางจิต อยู่ในธรรมกาย มิ

ใช่ภายนอกกาย

       ครั้งหนึ่งบูเช็กเทียนเคยส่งคนสนิทนำราชโองการมานิ มนต์ปรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงไปแสดงธรรมที่เมืองหลวง

แต่ถูกปฏิเสธโดยอ้างว่า ชราภาพและไม่สบาย ฮุ่ยเหนิงละสังขารเมื่อวันที่ 3 เดือน แปด (จีน) พ.ศ. 1256 สิริ

อายุ 76 ปี

       ตั้งแต่สังฆปรินายกที่ 6 ฮุ่ยเหนิงบวชเป็นพระภิกษุนิกายเซนได้แบ่งเป็นเหนือใต้ ที่เรียกว่าใต้ฉับพลัน

เหนือลำดับ ลัทธิเหนือมีพระอาจารย์เสินซิ่วซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับฮุ่ยเหนิง เป็นเจ้าสำนัก เสินซิ่วหลัง

จากไม่ได้รับการถ่ายทอดธรรมจากสังฆปรินายกที่ 5 จึงตั้งสำนักเหนือขึ้น โดยเรียกตัวเองว่า สังฆปรินายกที่ 6

ส่วนลัทธิให้ถือกันว่าเป็นสำนัก ที่สืบทอดมาโดยตรง มีสังฆปรินายก ฮุ่ยเหนิงเป็นเจ้าสำนัก มีคติว่า “ได้ธรรม

ตรง แท้ก้าวเดียวบรรลุ” จึงเรียกว่า “วิธีฉับพลัน” ดังนั้นผู้ที่ได้ธรรมตรงแท้ จึงเป็นลัทธิใต้

ปรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงเคยกล่าวว่า “พึงรู้ไว้ ว่า กายของตนเอง คือ พุทธะ การค้นหาพุทธะภายนอกกายยากจะ

ประสบผลสำเร็จ หากได้เจอวิธีฉับพลัน เจิมเดียวพบจิตแท้ บรรลุโดยพลัน”

รายชื่อสังฆปรินายก (จีน)

รุ่นที่ 1 โพธิธรรม (ตั๊กม้อ)

รุ่นที่ 2 ฮุ่ยเข่อ (จีเสินกวง)

รุ่นที่ 3 หยีเซิงชั่น

รุ่นที่ 4 ซือหม่าเต้าซิ่น

รุ่นที่ 5 โจวหงเหยิ่น

รุ่นที่ 6 หลูฮุ่ยเหนิง (โล้วฮุ่ยเล้ง)

รุ่นที่ 7 ไป๋อี้ฉิน และหม่าตวนหยาง

รุ่นที่ 8 หลอเว่ยฉิน

รุ่นที่ 9 หวงเต๋อฮุย

รุ่นที่ 10 อู๋จื่อเสียง

รุ่นที่ 11 เหอเหลียวขู่

รุ่นที่ 12 หยวนทุ่ยอัน

รุ่นที่ 13 หยางหวนอู๋

รุ่นที่ 14 เหยาเฮ่อเทียน

รุ่นที่ 15 หวังซีเมิ่ง

รุ่นที่ 16 หลิวฮัวพู

รุ่นที่ 17 ลู่จงอี (จินกง) (พ.ศ. 2931-พ.ศ.?)

รุ่นที่ 18 จางเทียนหยันกงจั่ง (พ.ศ. 2432-พ.ศ.?)




http://www.mindcyber.com/content/data/0012-1.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2010, 09:39:11 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เสี้ยวลิ้มยี่ "The Legend of Shaolin Kung Fu"
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 07:42:02 pm »
0
เสี้ยวลิ้มยี่   





ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
http://www.palungdham.com/t821.html

"วัดเส้าหลิน" ถิ่นยอดกังฟูแดนมังกร
http://www.palungdham.com/t822.html

“ประวัติวัดเส้าหลิน” แหล่งกำเนิดกังฟูแดนมังกร
http://www.palungdham.com/t1010.html

เปิดตำนาน สุดยอดกังฟูจาก “วัดเส้าหลิน” ตอนที่ 1
http://www.palungdham.com/t024.html

เปิดตำนาน สุดยอดกังฟูจาก “วัดเส้าหลิน” ตอนที่ 2
http://www.palungdham.com/t022.html

เปิดตำนาน สุดยอดกังฟูจาก “วัดเส้าหลิน” ตอนที่ 3
http://www.palungdham.com/t021.html

เปิดตำนาน สุดยอดกังฟูจาก “วัดเส้าหลิน” ตอนที่ 4
http://www.palungdham.com/t018.html

เชิญชมการแสดง สุดยอดกังฟูจาก “วัดเส้าหลิน” โดยพระวัดเส้าหลิน
http://www.palungdham.com/t025.html

เชิญชมสารคดี กังฟูจาก “วัดเส้าหลิน” โดย National Geographic
http://www.palungdham.com/t026.html

เชิญชมสารคดี กังฟูจาก “วัดเส้าหลิน” โดย Discovery Channel ตอนที่ 1
http://www.palungdham.com/t028.html

เชิญชมสารคดี กังฟูจาก “วัดเส้าหลิน” โดย Discovery Channel ตอนที่ 2
http://www.palungdham.com/t027.html

The shaolin temple (Jet Li)
http://www.palungdham.com/t1004.html

กังฟูแพนด้า (KungFu Panda) : Trailer 1
http://www.palungdham.com/t020.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2010, 11:23:50 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 12:25:35 pm »
0
หาชม มาตั้งนาน พึ่งจะได้ดู ครั้งนี้


ขอบคุณ กับเนื้อหา ของเรื่องเซ็น อ่านแล้ว รู้สึกเคารพ พระอาจารย์ ตั๊กม้อ มาก ๆ เลยคะ

 :25: :25: :88: :88:

บันทึกการเข้า

TCnapa

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 82
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 04:50:18 pm »
0
สาธุ กับเรื่อง เสียวลิ้มยี่

และความรู้เรื่องเซ็น

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นครูบ้านนอก แต่ก็ไม่ออกจากศีล และธรรม นะจ๊ะ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 04:51:49 pm »
0
ยอดครับ กับเรื่อง สารคดีวัดเสียวลิ้มยี่ :13: :13:


อยากฝึกจัง....
 :25: :25:
บันทึกการเข้า

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น น่าอ่านมาก ๆ คร้า
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:31:23 am »
0
อนุโมทนา กับคุณ ธรรมธวัช ด้วยคร้า

เรื่องนี้ อ่านแล้ว ได้ทั้ง สาระ และ แก่นธรรม เลยคร้า

ที่ หมวยนีย์ มองเห็น ก็คือ

สมาธิ มาก่อนปัญญา คร้า เพราะ พระอาจารย์ตั๊กม้อ นั้น ท่านชอบทำสมาธิ คร้า นั่งหันหน้าหากำแพง 9 ปี

ในลูกศิษย์คุกเข่า ขอเป็น ศิษย์ 3 ปี แถมนั่งตากหิมะจนครึ่งตัว ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ที่วิสัยมนุษย์ธรรมดาจะทำได้

อ่านแล้ว แสดงท่านเสินกวง ต้องมีสมาธิ ขั้นอัปปนา เลยคร้า ......

คำว่า เซ็น ก็คือ คำว่า ฌาน ซึ่งความหมายก็ตรงไป ตรงมาอยู่แล้ว ว่า สมาบัติ การเพ่ง .....


อนุโมนทนาคร้า

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: Animation เสี้ยวลิ้มยี่
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 11:20:26 pm »
0
                                           



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 1 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t044.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 2 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t043.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 3 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t042.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 4 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t040.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 5 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t039.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 6 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t038.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 7 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t036.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 8 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t035.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 9 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t034.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 10 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t033.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 11 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t032.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 12 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t031.html



เชิญชม การ์ตูน Animation เสี้ยวลิ้มยี่ ตอนที่ 13 (The Legend of Shaolin Kung Fu)


http://www.palungdham.com/t030.html



                                         
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2010, 09:39:26 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เสี้ยวลิ้มยี่ (กังฟู,สมาธิ,พลัง,ปัญญา)
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กันยายน 11, 2010, 09:47:42 am »
0
เสี้ยวลิ้มยี่
(กังฟู,สมาธิ,พลัง,ปัญญา)
ตำนานวิทยายุทธสะท้านยุทธจักร






ผู้จัดการรายวัน ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
----------------------------------------------------------------------------------

กังฟู เส้าหลิน ศิลปะการต่อสู้อีกชนิดหนึ่งของจีนอันลือเลื่องมานานหลายพันปี ปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมทั้ง

ในเมืองจีนต้นกำเนิดและโด่งดังไปทั่วโลก ศิษย์วัดเส้าหลินอย่าง ปึงซีเง็ก อั้งฮีกัว โอ้วฮุ่ยเคี้ยง หลายกระบวนท่า

การฝึกวิชาต่อสู้ของหลวงจีน ถูกหยิบยกมาโลดแล่นในหนังกำลังภายในบนแผ่นฟิล์มและจอแก้ว


สำหรับหลวงจีนวัดเส้าหลินแล้ว กังฟูเป็นมากกว่าศิลปะการต่อสู้ แต่ยังหมายถึงหนทางเข้าสู่แก่นธรรมะ



ท่องยุทธจักรเส้าหลิน
--------------------------------------------------------------------------------

สำนักเสี้ยวลิ้มยี่ หรือ เส้าหลิน ซื่อเรียกตามที่ตั้งซึ่งอยู่ในป่าเชิงผาเสี้ยวซิก เสี่ยวลิ้มยี่ แปลว่า วัดป่าที่เชิงผาเสี้ยว

ซิก จึงเรียกว่าเสี้ยวลิ้มยี่ (เสี้ยว หมายถึง สันเขา หรือ ภูผา, ลิ้ม แปลว่า ป่า หรือ ดงไม้, ยี่ แปลว่า วัด)


ตำนานวัดเสี้ยวลิ้มยี่หรือเส้าหลินในหนังสือสกัดจุดยุทธจักรมังกรหยก ของถาวร สิกขโกศล อธิบายว่า ปัจจุบันใน

เมืองจีนมีวัดเส้าหลิน ๓ แห่ง แห่งแรกตั้งอยู่บนสันเขาเสี้ยวซิก แห่งภูเขาซงซัว (ซงซาน) มณฑลฮ่อหนัง (เห

อหนัน) ต้นกำเนิดศาสนานิกายเซน ผู้ให้กำเนิดวัดนี้คือพระพุทธภัทรเถระ เจ้าชายในศากยวงศ์ บวชแล้วมาเผย

แผ่ศาสนาที่เมืองจีน ทางกษัตริย์วุ่ยเซี่ยวเหวินตี้ โปรดให้เลื่อมใสศรัทธา จึงทรงสร้างวัดเส้าหลินถวายเป็นที่พำนัก


ต้นกำเนิดของวิชากำลังภายในอันได้แก่ พลังลมปราณและวิทยายุทธ์ของวัดเสี้ยวลิ้มยี่ คงจะมีขึ้นตั้งแต่สมัยพระ

พุทธภัทรเภระ เหตุเพราะสถานที่ตั้งของวัดเส้าหลินจัดตั้งอยู่ในป่า เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด พระในวัดจึงต้อง

มีวิทยายุทธ์ไว้ต่อสู้ป้องกันตัว และวิทยายุทธ์นี้ได้พัฒนามาเรื่อย


เส้าหลินแห่งที่สองตั้งอยู่ที่ภูเขาปั้วซัว (ผานซาน) สร้างสมัยราชวงศ์หงวน อีกแห่งตั้งอยู่ที่ภูเขากิ๋วเน้ยซัว (จิ่ว

เหลียนซาน) มณฑลฮกเกี้ยน (ฟูเจี้ยน) เรียกสำนักเสี้ยวลิ้มใต้คู่กับสำนักเสี้ยวลิ้มเหนือที่ภูเขาซงซัวสำนักใหญ่


วิทยายุทธ์ของวัดเสี้ยวลิ้มยี่หรือวัดเส้าหลินก้าวหน้ามาก ในสมัยราชวงศ์เหม็ง (หมิง) หลวงจีนเซียวซัง (เสี่ยว

ซาน) ได้เป็นแม่ทัพออกศึกชายแดนถึง ๓ ครั้งเป็นเหตุให้วัดเส้าหลินได้รับพระราชทานแท่นปักธง และสิงโตหิน

ซึ่งยังตั้งอยู่หน้าวัดจนกระทั่งทุกวันนี้ ตั้งแต่วัดเส้าหลินเจริญรุ่งเรืองได้ขยายสาขาไปทั่วประเทศ


ปลายราชวงศ์สุย (พ.ศ. ๑๑๒๔-๑๑๖๑) บ้านเมืองเกิดจลาจล วัดมีที่ดินและทรัพย์สินจำนวนมากจึงต้องจัดกอง

กำลังคุ้มกัน ต่อมาในราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑-๑๔๕๐) การฝึกวิทยายุทธของพระได้รับการสนับสนุนจากราช

สำนักเต็มที่ ถึงขนาดมีกองทัพพระยามศึกสงครามออกลาสิกขาไปป้องกันประเทศ พอเสร็จกลับมาบวชใหม่


ครั้นแมนจูล้มล้างราชวงศ์เหม็งสถาปนาราชวงศ์เช็งขึ้น สำนักเสี้ยวลิ้มใต้ทำหน้าที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการ

ต่อต้านชาวแมนจู จนในที่สุดพระจักรพรรดิหยงเจิ่งได้ส่งกองทัพมากวาดล้างและเผาวัดเส้าหลิน


บางตำรากล่าวถึงตำนานวัดเส้าหลินสร้างขึ้นราว ค.ศ. ๕๒๕ โดยพระโพธิธรรม เดินทางจากวัดทางตอนใต้ของ

อินเดียเผยแผ่ศาสนาในจีน ต่อมากลายเป็นนิกายมหายานหรือเซน เห็นว่าหลวงจีนส่วนใหญ่มีสุขภาพอ่อนแอไม่

สามารถเจริญกรรมฐานอย่างเคร่งครัด จึงหัดให้หลวงจีนฝึกฝนร่างกายควบคู่กับปฏิบัติธรรม


การสอนของพระโพธิธรรม ได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นที่มาของวรยุทธวัดเส้าหลิน ที่สง่างามและทรงพลัง

Shaolin Chuan (หมัดเส้าหลิน) หรือ Shaolin Ch'uan Fa (เพลงหมัดเส้าหลิน)



กังฟู : วิทยายุทธ์ประตูเข้าถึงธรรม
--------------------------------------------------------------------------------

วัดเส้าหลินดั้งเดิมนั้นถูกทำลายไป ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหยงเจิ่งส่งกองทัพมากวาดล้างและเผาวัด อย่างไรก็ตาม

กังฟูเส้าหลินที่มีรากฐานจากวันเส้าหลินแห่งแรก ได้แพร่กระจายไปทั่วเมืองจีนและทั่วโลก ในส่วนของวัดเส้าหลิน

ที่ถูกเผาทำลาย ปัจจุบันมีการทำนุบำรุงบูรณะหลายต่อหลายครั้ง ตามคำบอกเล่าของคณะหลวงจีนจากวัดเส้า

หลิน มณฑลเหอหนาน


“วัดเส้าหลินเดิม ในมณฑลเหอหนาน อยู่ทางเหนือ มีความสวยงามมาก มีประวัติการสร้างมา ๑,๕๐๐ ปีแล้ว

ตลอดระยะเวลา ๑,๕๐๐ ปีมีการถูกเผาครั้งยิ่งใหญ่ ๓ ครั้งด้วยกัน ตั้งแต่ปี ๒๐๐๐ วัดเส้าหลินมีการปรับปรุงครั้ง

ยิ่งใหญ่ รื้อบริเวณรอบๆ ที่ถูกไฟเผาไหม้ ปลูกต้นไม้ พ.ศ. ๒๔๐๐ มีการสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งสวยมาก”


ซื่อเหยี่ยนยี่ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดเส้าหลิน มณฑลเหอหนาน ในชุดนุ่งห่มสีเหลืองตามแบบหลวงจีนผู้นำทีม

หลวงจีนและเณรน้อยกว่า ๒๐ ชีวิต เดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ล่าสุด

เตรียมเดินทางเยี่ยมปลอบขวัญผู้ประสบภัย ๖ จังหวัดอันดามัน เล่าถึงตำนานวัดเส้าหลินให้ฟัง


ในเมืองจีนมีวัดอยู่มากมาย แต่เนื่องจากความเก่าแก่ ประกอบกับชื่อเสียงอันโด่งดังของวิชากังฟู เป็นเหตุให้หลวง

จีนหลายๆ คนนิยมมาบวชที่นี่ รวมทั้งซื่อเหยี่ยนยี่ เขาเริ่มออกบวชตั้งแต่ปี ๑๙๙๖ นับเป็นเวลากว่า ๑๐ ปีที่ได้

ศึกษาวิชากังฟูในวัดเส้าหลิน ด้วยจิตใจนับถือศาสนา อยากทำบุญเป็นเหตุให้ออกบวช


“ตอนที่ยังไม่บวช วันหนึ่งๆ ทำได้เพียงศึกษากังฟูเท่านั้น ภายหลังบวชแล้ว ไปศึกษาจริงๆ นอกจากได้วิชากังฟู

ที่สำคัญได้ความรู้เรื่องของศาสนามาเกี่ยวข้อง ทำให้มีความรู้กว้างขึ้น ต่างจากก่อนบวชเยอะ”


“ตอนนั้นทางฟูเจี้ยนโดนก่อกวน ทางวัดเส้าหลินได้ส่งคนลงไปช่วยเหลือต่อต้านจากการถูกจู่โจม จากนั้นมาจึงมี

การสร้างวัดเส้าหลินขึ้นที่ฟูเจี้ยนอีกแห่งหนึ่ง” หลวงจีนซื่อเหยี่ยนยี่ เล่าให้ฟังถึงสาขาย่อยวัดเส้าหลินซึ่งแตก

แขนงมาจากสำนักงานใหญ่ที่เหอหนาน


เลขาเจ้าอาวาสวัดเส้าหลินเล่าต่อไปว่า ในเมืองจีนวิชากังฟูของวัดเส้าหลินมีชื่อมาก หลายๆ กังฟูในเมืองจีน มีต้น

กำเนิดมาจากกังฟูวัดเส้าหลินทั้งสิ้น รวมถึงหมัดมวยเส้าหลินที่ไปโลดแล่นบนแผ่นฟิล์มหลายต่อหลายเรื่อง คน

มักติดภาพหมัดนกกระเรียนขาว หมัดมังกรเส้าหลินเหนือ กระบวนท่ามักเน้นการเตะ ขณะที่เส้าหลินใต้เน้น

กระบวนท่าที่ใช้มือจู่โจม หมัดเด่นๆ อย่างหมัดเสือดำ หมัดนกกระเรียน ซื่อเหยี่ยนยี่เล่าว่าจริงๆ แล้ว วิชากังฟูเส้า

หลินไม่มีแบ่งแยกของจริงนั้นต้องพร้อมด้วยหมัดและมือ


“หลายคนอาจจะติดภาพหนังภาพยนตร์ ทำให้แตกแยกว่าของฝ่ายใต้ใช้หมัด จริงๆ กังฟูเส้าหลินต้องพร้อมด้วย

หมัดและมือจึงจะเป็นกังฟูวัดเส้าหลิน”


เรียนกังฟูควบคู่ศึกษาพระธรรม “กังฟูไม่ได้ฝึกเพื่อต่อสู้ เป็นการฝึกเพื่อเข้าถึงธรรม เป็นอีกทางที่เข้าสู่ธรรม ทำ

ให้มีสมาธิมากขึ้น มีความรู้กว้างขวางขึ้น แรกๆ ยังไม่ได้เข้ามา ฝึกแล้วไม่เข้าถึงแก่นอย่างแท้จริง แต่พอเข้ามา

บวชในวัดเส้าหลินพร้อมกับฝึกกังฟู นั่งสมาธิทำจิตใจให้โล่ง เพื่อให้เรื่องของศาสนา ธรรมเข้ามาในจิตใจได้ลึก

ซึ้ง ทำให้เข้าถึงแก่นธรรมได้มากขึ้น ไม่สามารถกล่าวด้วยคำกล่าวไม่กี่คำได้ ต้องศึกษาด้วยตนเองถึงจะรับรู้

สัมผัสถึงแก่นแท้นั้น”


สำหรับกิจวัตรประจำวันในวัดเส้าหลินนั้น ในช่วงเช้าของแต่ละวัน ใช้เวลา ๑ ชั่วโมงสำหรับท่องพระธรรม ขณะ

เดียวกันใช้เวลาช่วงเช้า ๒ ชั่วโมง และช่วงบ่ายอีก ๒ ชั่วโมงในการฝึกกังฟู โดยยังคงสืบสานกระบวนท่าต่างๆ

จากวัฒนธรรมการฝึกดั้งเดิม


“การเรียนกังฟูเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของวัดประจำวัน นอกจากเรียนกังฟูเรียนพระธรรมช่วงเช้าและบ่ายควบคู่

กันไปด้วย วิชากังฟูที่ฝึกสืบสานกังฟูแบบดั้งเดิม แต่ก็มีการพัฒนาจากเดิมด้วย จากประวัติที่บันทึกมามีทั้งหมด

๗๐๘ ชุด ไม่ได้เรียนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ทุกคนต้องเรียนขั้นพื้นฐานเหมือนกันทั้งหมด

ก่อน จากนั้นจึงดูว่าแต่ละคนถนัดและมีความชอบด้านไหน ก็จะฝึกด้านนั้นโดยตรง เรียนกังฟูประสบความสำเร็จ

ในประเทศ ไปแสดงประเทศต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้กังฟู สุขภาพร่างกายแข็งแรง”


หลวงจีนกล่าวถึงภารกิจที่ต้องสานต่อในการมาเยือนเมืองไทยครั้งนี้ “ได้รับประสานงานจากกระทรวงวัฒนธรรม

ของจีน เพื่อแสดงในงานเทศกาลตรุษจีน ฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ ๓๐ ปีไทย-จีน หวังว่าจะนำวัฒนธรรมของ

จีนมาสู่คนไทยให้มากขึ้น หลังการแสดงจะไปภาคใต้เยี่ยมผู้ประสบภัยสึนามิ ก่อนหน้านี้ทางวัดบริจาคเงินผ่าน

ทางรัฐบาลช่วยเหลือ ครั้งนี้พวกเรา ๒๐ คน และเจ้าอาวาสหวังสร้างความรู้สึกที่ดีแก่ผู้ประสบภัยสึนามิ ให้ความ

หวังสามารถยังอยู่ดำรงชีวิตอยู่ได้”


ในจำนวนหลวงจีนทั้ง ๒๐ องค์ ซื่อเฉี่ยวป๊อ เป็นเณรน้อยคนเดียวที่ติดมากับคณะ เณรน้อยเจ้าของการแสดงหมัด

พิฆาต เณรน้อยตีลังกาเล่าว่า โดยส่วนตัวดูหนังกังฟูบ่อยๆ จนกลายเป็นความชื่นชอบ จึงมาบวชที่วัดเส้าหลิน

สำหรับกังฟูที่กำลังเรียนอยู่แล้ว พอศึกษาอย่างถ่องแท้ยากกว่าที่เห็นในภาพยนตร์มากนัก


รากฐานกังฟูวัดเส้าหลินท่วงท่าการเคลื่อนไหวมักมาจากพฤติกรรมของสัตว์โลก อย่างหมัดตระกูลหงส์ เลียนแบบ

ท่าทางของหงส์ หมัดเมา เป็นอีกหนึ่งในกังฟูของเส้าหลินที่เป็นที่รู้จักกันดี ตามกฎของทางวัดการดื่มของมึนเมา

เป็นเรื่องต้องห้าม ทว่าลีลาการเอียงซ้าย เซขวา ตัวโก่งงอ บิดเอวและขาไปมา ขณะที่มือทำท่าราวกับจับภาชนะ

เอาไว้อยู่ตลอดเวลา นานๆ ครั้งจึงจะยกขึ้นมาด้วยท่วงท่าราวกับกำลังจิบน้ำดื่ม พร้อมกับเดินเซไปมา ตีลังกา

หน้า-หลัง กระบวนท่าต่างๆ ที่ปล่อยออกมาแทบไม่ต่างจากบุคลิกของคนเมา


ด้วยท่วงท่าที่ดูเหมือนคนเมาจริงๆ แท้จริงแล้ว หลวงจีนซื่อหยางชิง (SHI YAN GING) บวชมานานกว่า ๕ ปี

บอกว่าใช้จินตนาการในการเลียนแบบคนเมาได้สมจริงต่างหาก “ดูแล้วเหมือนกับเมา แต่ไม่ได้เมาจริง ตอนที่ชก

หมัดเมาไม่ได้เมาจริง เลียนแบบความรู้สึกของคนที่เมา มีจินตนาการไปด้วย จริงๆ ดื่มไม่ได้ หมัดเมาเส้าหลิน

ฝึกกำลังช่วงเอวและขา”


หลวงจีนหนุ่มวัย ๒๐ นิดๆ กล่าวด้วยใบหน้าฉาบรอยยิ้มจางๆ ว่า ด้วยวาสนาทำให้เขาได้มีโอกาสมาบวชที่วัดเส้า

หลินแห่งนี้ เช่นเดียวกันระยะเวลาศึกษาพระธรรมควบคู่กังฟู จะกินเวลานานแค่ไหนย่อมแล้วแต่วาสนา


“นอกจากเรียนรู้กังฟู เรียนรู้พระธรรม เรียนรู้เหตุผลมากขึ้น ทั่วๆ ไปธรรมดาต้องวอร์มร่างกายก่อน จากเดิมต้อง

เรียนพื้นฐานของหมัดไปก่อน จากนั้นค่อยๆ พัฒนา หมัดเมาเป็นอีกชุดที่เขาชอบ ใช้เวลาช่วงนี้ ๗-๘ ปีกว่าจะ

เก่ง มวยไทยสร้างชื่อให้ประเทศเป็นที่รู้จัก ต่างจากกังฟู มวยไทยมีบางส่วนที่ทำให้ร่างกายบาดเจ็บ แต่กังฟูทำ

ให้ร่างกายแข็งแรง”


หลวงจีนหนุ่มเน้นว่า ในการฝึกกังฟูกำลังภายในเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องใช้พลังลมปราณให้ออกในจุดที่ต้องการ

มากที่สุดลมปราณ ลมปราณ พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาในขณะที่กำลังออกกำลังกายหรือต่อสู้กับศัตรู


ในหนังสือ มวยจีนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ของสุวินัย ภรณวลัย อธิบายความหมายของลมปราณไว้ว่า ลมปราณเป็นพลัง

ที่ดำรงอยู่ในจักรวาลประกอบจากพลังงาน ๖ ชนิด ตามความเชื่อของวิชาการแพทย์โบราณของจีน พลังงานของ

ลมปราณเหล่านี้ เป็นตัวทำให้มนุษย์สามารถเคลื่อนไหวและมีชีวิตอยู่ได้


ลมปราณมองเห็นไม่ได้ด้วยตาเปล่า แต่เป็นพลังที่มีอยู่จริง และสามารถสัมผัสหรือรู้สึกได้ด้วยการเพ่งพิจารณา

โดยจิตที่เป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นคนจีนโบราณจึงมีความเชื่อกันว่าถ้าหากต้องการจะมีอายุยืนยาว มีสุขภาพแข็ง

แรง มนุษย์จะต้องทำคนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฟ้าให้ได้ โดยผ่านการหายใจที่ถูกต้อง


หลวงจีนซื่อหยางชิงบอกว่ากังฟูคู่พระธรรมช่วยให้รู้จักสร้างบุญ ทำความดี ดำเนินชีวิตในทางที่ดี ปัจจุบันกังฟูเป็น

ศิลปะการต่อสู้ที่ได้รับความนิยมมากในประเทศจีน พร้อมทิ้งท้ายว่ากังฟูไม่มีวันที่จะสูญสลายไป






อ้างอิงที่มา
http://nu20003.9.forumer.com/a/_post155.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2010, 10:50:41 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กันยายน 11, 2010, 10:00:35 am »
0
ดูการ์ตูน ยัีงไม่จบเลย คะ

สนุกดีคะ

เด็ก ๆ ชอบมาก

 :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2010, 06:49:59 pm »
0
Ask for more?

     


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2010, 02:07:50 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 01:41:29 pm »
0
อ่านสนุก ดีคะ การ์ตูน ก็สนุก และ ได้ความรู้ด้วย


ขอ คุณธรรมธวัช ช่วยมาเล่าต่ออีกนะคะ

 :25: :25:

บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 12:54:47 am »
0
 :c017:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2010, 07:11:31 am »
0
เด็ก ๆ ที่บ้านผมก็ชอบกระทู้นี้ครับ บอกดูการ์ตูน

แต่ส่วนตัวผมชอบประวัติพระอาจารย์โพธิธรรม ครับ
  :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 12:09:23 am »
0
Hung Gar Wushu เพลงหมัดสกุลหง



ประวัติ :

หมัด สกุลหงนั้นเป็นวิชาการต่อสู้ดั้งเดิมของชาวมณฑลฟุเจี้ยน ( ฟุโจว ) และวัดเส้าหลินสาขาฟุเจี้ยนมาตั้งแต่

หลายร้อยปีก่อน วัดเส้าหลินนั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล แต่ก่อนหน้านี้ยังไม่มีการสอนศิลปะการต่อสู้

ในวัดจนกระทั่งเมื่อ ค.ศ.500 พระภิกษุตะโมภิกขุ ( หรือตั๊กม้อในภาษาจีน ) พระภิกษุในศาสนาพุทธธุดงค์มา

จากอินเดียและพำนักที่วัดเส้าหลินสาขาหลัก ที่มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน


หลังจากที่พระตั๊กม้อมาพำนักอยู่ ณ วัดเส้าหลิน มณฑลเหอหนาน ท่านได้สอนพระภิกษุที่นั่นว่า การพบแสงแห่ง

ธรรมนั้นไม่ได้มาจากการอ่านพระไตรปิฎกอย่างเดียว หากแต่ต้องเกิดจากการฝึกสมาธิและการฝึกร่างกาย พระ

สงฆ์ในวัดเส้าหลินจึงได้รับการฝึกฝนการบริหารร่างกายจากพระอาจารย์ตั๊ก ม้อเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

ในท่วงท่าเหล่านั้นแฝงด้วยเคล็ดลับศิลปะการต่อสู้เพื่อที่จะให้พระสงฆ์ สามารถป้องกันตัวเองและป้องกันวัดได้

หากมีความจำเป็น พระภิกษุเหล่านั้นต่างฝึกฝนอย่างขยันหมั่นเพียร และบรรจุวิธีการสอนของตั๊กม้อลงไปศิลปะ

การต่อสู้ของจีนด้วย ในศตวรรษที่ 15 เหล่าหลวงจีนวัดเส้าหลินได้ให้กำเนิด 108 วิธีป้องกันตัว ชื่อเสียงของวัด

เส้าหลินจึงโด่งดังไปทั่วจนได้รับสมญาว่า " ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งวิทยายุทธ์จีน "


วัดเส้าหลินสาขาฟุเจี้ยน นั้นแตกสาขาออกมาจากที่มณฑลเหอหนาน เมื่อวัดเส้าหลินที่เหอหนานถูกเผาในปี

ค.ศ.1570 พระสงฆ์ผู้มีวิชากังฟูแก่กล้าจำนวนมากได้เดินทางลงใต้ มาพำนักที่ฟุเจี้ยน และได้นำวิชากังฟูมาเผย

แพร่อีกด้วยจนกระทั่งวัดเส้าหลินที่เหอหนานได้รับการ บูรณะขึ้นมาใหม่ แต่ไม่อาจเรียกศรัทธากลับมาได้เหมือน

เดิมอีก


เมื่อ ราชวงศ์ชิง ( แมนจู ) มีอำนาจในยุคคริสตศตวรรษที่ 17 บทบาทของวัดเส้าหลินถูกเปลี่ยนแปลงไปตลอด

กาล ก่อนหน้านี้วัดเส้าหลินเคยมีบทบาทมากในหลายๆ เหตุการณ์ โดยหลักๆ ก็คือช่วยทางราชการหรือหมู่บ้าน

ใกล้ๆ วัดในการต่อสู้กับพวกทหารข้าศึก หรือโจรที่กระทำการป่าเถื่อน ฆาตกรรมหมู่ชาวบ้าน วัดเส้าหลินนั้นจะไม่

สอนวิชาให้คนนอกที่ไม่ได้มาบวชเป็นพระที่นี่ อย่างไรก็ตาม นโยบายที่ร้ายแรงของพวกแมนจู ( ราชวงศ์ชิง )

ด้วยการที่พระหลายรูปหลบหนีไปได้ ซึ่งในนั้นก็มีพวกอดีตข้าราชการเก่าๆ ของราชวงศ์หมิงเช่นกัน นั่นเป็นยุค

แรกที่วัดเส้าหลินเริ่มสอนวิชาให้คนภายนอก


หงซีกวน พ่อค้าขายชากลายมาเป็นศิษย์นอกคนแรกของวัดเส้าหลินที่ฟุเจี้ยน หลังจากทิ้งกิจการของตนเพราะไป

มีเรื่องกับขุนนางของราชวงศ์ชิงในมณฑล กวางตุ้ง หลวงจีน Chi Zin เจ้าอาวาสวัดในเวลานั้น ได้ฝึกสอนหง

ซีกวนอย่างหนักจนเขากลายมาเป็นคนนอกที่มีชื่อเสียงของวัดในที่สุด ทางการชิงนั้นจับตามองการเคลื่อนไหว

ของ วัดเส้าหลินมาตลอดแต่ทำอะไรไม่ได้ จนกระทั่ง หวูฮุ่ยเฉียน ศิษย์นอกอีกคนของวัดได้ฝึกวิชาแล้วไป

สังหารขุนนางชิงที่บ้านเกิดของตนเพื่อ แก้แค้นให้พ่อ เมื่อทางราชสำนักทราบ จึงระดมกำลังทั้งปืน , ปืนใหญ่และ

ธนูไปที่วัด และทำการถล่มวัดทันทีจนราบคาบ พระสงฆ์ต่างร่วมกันต่อสู้ปกป้องวัดอย่างกล้าหาญ แต่ในที่สุด

เปลวเพลิงแห่งราชวงศ์ชิงก็ทำลายวัดไปจนไม่เหลืออะไร


30 ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นต่างพากันอพยพลงใต้ เช่นหงซีกวน หลวงจีน Sam Tak และเจ้าอาวาส

Chi Zin เมื่อมาถึงกวางตุ้ง หงซีกวนได้เปิดโรงเรียนสอนกังฟูขึ้นที่วัดใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อแสดงความรับผิด ชอบใน

ฐานะผู้สืบทอดวิชา 10 ปีต่อมา เขาเปิดโรงเรียนในเมือง Fa โดยให้ชื่อว่า " สำนักมวยสกุลหง " เพื่อปกปิดการ

สอนมวยเส้าหลิน ไม่ให้พวกราชวงศ์ชิงได้รู้ และเพื่อเป็นการระลึกถึงราชวงศ์หมิง ที่ถูกราชวงศ์ชิงทำลายไป


สำนักของหงซีกวนกลายเป็นสำนักขนาดใหญ่และ มีชื่อเสียง วิชาการต่อสู้นั้นแพร่กระจายไปทั่วภาคใต้ของ

จีนอย่างรวดเร็ว กลายเป็น 1 ใน 5 สำนักมวยที่ดังที่สุดในภาคใต้ของจีน ทางฝ่ายหลวงจีน Chi Zin อาจารย์

ของหงซีกวน เมื่อได้ทราบว่าศิษย์ของตนเปิดสำนักขึ้นที่เมือง Fa จึงส่งผู้ติดตามชื่อ " ลู่อาไฉ่ " ไปเรียนที่นั่น

ในเวลาต่อมา ลู่อาไฉ่กลายเป็นผู้ชำนาญในศิลปะการต่อสู้ และหงซีกวนส่งเขาไปเผยแพร่มวยทั่วกวางตุ้ง


Wong Tai เป็นผู้ติดตามฝีมือดีของลู่อาไฉ่ และลูกชายของเขา " หวงฉีอิง " ได้เรียนกังฟูจากลู่อาไฉ่และพ่อ

ของเขา เขาพยายามหาผู้ที่จะเข้าใจวิชาการต่อสู้ แต่ก็ไม่พบ อย่างไรก็ตาม หวงฉีอิงก็กลายเป็น 1 ใน 10 ผู้ที่มี

ฝีมือการต่อสู้ดีที่สุดแห่งกวางตุ้ง หรือ " สิบพยัคฆ์กวางตุ้ง "


หวงเฟยหง ลูกชายของหวงฉีอิง ได้เรียนวิชาจากบิดา ในเวลาต่อมาเขากลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคใต้ของ

จีน เรื่องราวของหวงเฟยหงถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ และละครนับครั้งไม่ถ้วนในปัจจุบัน


ศิษย์ 10 คนที่ฝีมือดีที่สุดของหวงเฟยหง 1 ในนั้นคือ Lam Sai wing ก่อนหน้าที่เคยเรียนมวยจากที่อื่น แล้ว

ละทิ้งวิชาเหล่านั้นมาเรียนกับหวงเฟยหง จนเขากลายเป็นอาจารย์ในเวลาต่อมา เขาเขียนหนังสือมากมายเกี่ยวกับ

กังฟู และใช้เวลาส่วนใหญ่ทั้งชีวิตกับการฟื้นฟูมวยสกุลหงให้เป็นรูปแบบในช่วง เปลี่ยนยุคสมัย ด้วยการอุทิศตน

เช่นนี้เอง มวยสกุลหงจึงยังคงแพร่หลายอยู่ในภาคใต้ของจีน และในฮ่องกงมาจนถึงทุกวันนี้





วีรบุรุษวูซู "หวงเฟยหง" ผู้สืบทอดมวยสกุลหง




หวง เฟยหง (สำเนียงจีนกลาง) มี ชื่อเดิมว่า หว่องเส็กเฉิ่ง (ไม่ทราบชื่อนี้ในสำเนียงจีนกลาง) หรือ หว่อง เฟฮง

(สำเนียงกวางตุ้ง) Huáng Fēihóng, อังกฤษ: Wong Fei Hung, Hwang Fei Hung)

ปรมาจารย์มวยกังฟูที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีจากภาพยนตร์กำลังภาย

ใน ในฐานะที่เป็นวีรบุรุษต่อสู้เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีชาวจีนจากการคุกคามของชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม

เช่นเดียวกับ หง ซีกวน และ ฮั่ว หยวนเจี๋ย


ปฐมวัย

หวง เฟยหง เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1847 ตรงกับปีที่ 25 ในรัชสมัยฮ่องเต้เต้ากวง แห่งราชวงศ์ชิง

(บางข้อมูลบอกว่า เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1856 ตรงกับปีที่ 6 ในรัชสมัยฮ่องเต้เสียนเฟิง) ที่หมู่บ้านหลูเจ้า ใกล้ภูเขาสี

เฉียว เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้ง เป็นบุตรของหวง จี้อิง (หว่อง ไค่อิง ในสำเนียงกวางตุ้ง) ซึ่งเป็นปรมาจารย์

กังฟูผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม "10 พยัคฆ์กวางตุ้ง" ที่มีชื่อเสียงเช่นกัน


ถึงแม้จะเป็นบุตรของปรมาจารย์กังฟู แต่ หวง จี้อิง ก็มิได้ถ่ายทอดวิทยายุทธให้แก่บุตรชาย ด้วยเหตุผลที่ไม่แน่

ชัดนัก หวง เฟยหง ได้มีอาจารย์สอนวิชากำลังภายในให้คือ ลู่ อาไค ผู้เป็นสหายร่วมสำนักเส้าหลินกับ

หง ซีกวน  วีรบุรุษกังฟูที่มีชื่อเสียงอีกคน ถ่ายทอดวิชามวย "หงฉวน" (หงก่า) โดยมีกระบวนท่าที่มีชื่ออย่าง

"หมัดพยัคฆ์ดำ-กะเรียนขาว" ให้ นอกจากได้ ลู่ อาไคเป็นอาจารย์แล้ว ในวัยเยาว์ หวง เฟยหง ยังได้ร่ำเรียนวิชา

หงฉวนเพิ่มเติมจาก หล่ำ ฟกซิง (ไม่ทราบชื่อภาษาจีนกลาง) จากนั้นก็ได้รับการสั่งสอนเพิ่มเติมจาก หวง จี้อิง ผู้

เป็นบิดา ในวัยเด็กครอบครัวของ หวง เฟยหง มีฐานะยากจน ต้องตระเวนรอนแรมไปเปิดทำการแสดงวิชาฝีมือ

และขายยาตามท้องถนน โดยสรุปแล้วชีวิตในช่วงวัยเยาว์และวัยหนุ่มของ หวง เฟยหง เป็นระยะเวลาของการ

ฝึกฝนวิชาฝีมือต่อสู้ป้องกันตัว และการรับมรดกสืบทอดวิชาแพทย์จากบิดา ซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณที่ได้รับการ

ยกย่องนับถือ


สร้างชื่อ

จากนั้น หวง เฟยหงได้สร้างวีรกรรมอันลือชื่อขึ้นมา 2 เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง เหตุการณ์แรกเกิดขึ้น

เมื่อ หวง เฟยหง มีอายุ 16 ปี มีชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่งคิดค้นกิจกรรมสร้างความบันเทิง โดยฝึกฝนสุนัขพันธุ์เยอร

มันเชพเพิร์ด จนดุร้ายกระหายเลือด จากนั้นก็เปิดเวทีท้าประลองให้ชาวจีนสู้กับสุนัข ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล

มูลค่าสูง แต่หากพลาดพลั้งบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ก็ถือเป็นคราวเคราะห์ที่ไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ กิจกรรมนี้กลายเป็น

เรื่องโจษจันเกรียวกราวไปทั่ว ผู้คนจำนวนมากที่เข้าประลองล้วนแล้วแต่พ่ายแพ้ บ้างโชคดีก็แค่บาดเจ็บ แต่มี

จำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตไปอย่างไร้เปล่า


เมื่อ หวง เฟยหง ล่วงรู้เรื่องดังกล่าว จึงเข้าประลองเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีให้แก่ชาวจีน และเป็นฝ่ายชนะอย่างง่าย

ดาย ด้วยกระบวนท่าที่เรียกว่า "ฝ่าเท้าไร้เงา" ซึ่งเป็นไม้ตายประจำตัวที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากสุดของเขา

เหตุการณ์ต่อมาคือ เมื่อครั้งที่ท่าเรือฮ่องกงเพิ่งเปิดทำการ หวง เฟยหงในวัย 21 ปี ไม่อาจทนเห็นผู้อ่อนแอ

โดนนักเลงท้องถิ่นจำนวนมากรุมรังแก จึงยื่นมือเข้าขัดขวาง ด้วยการใช้กระบองไม้ไผ่เป็นอาวุธบุกเดี่ยวเข้าสู้กับ

ฝ่ายตรงข้ามจำนวนหลายสิบคน กลายเป็นศึกตะลุมบอนอันลือลั่น (บริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าว ปัจจุบันคือสวน

สาธารณะที่ถนนฮอลลีวูด บนเกาะฮ่องกง)


ผลการต่อสู้ หวง เฟยหง สามารถหลบหนีไปได้ และทำร้ายบรรดานักเลงอันธพาลบาดเจ็บไปหลายคน แต่การ

ปะทะครั้งนั้น ก็ส่งผลให้ หวง เฟยหงไม่อาจพำนักอยู่ในฮ่องกงได้อีกต่อไป และต้องเดินทางกลับไปยังกวางเจา

ช่วงชีวิตของหวง เฟยหง ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากสุด


โดยผ่านการบอกเล่าของภาพยนตร์ต่าง ๆ มากมาย ในยุคปัจจุบัน คือ ช่วงวัยอายุประมาณ 30 ปี หวง เฟยหง

กลายเป็นปรมาจารย์กังฟูมีชื่อเสียง พร้อม ๆ กันนั้นเขาก็ได้เปิดร้านขายยาและสถานพยาบาล ชื่อ "เป่าจือหลิน"

(โปจี๋หลำ)เป่าจือหลินกลายเป็นร้านขายยาที่โด่งดังเป็นตำนานเช่นเดียวกับชื่อเสียงของ หวง เฟยหง

(บริเวณที่ตั้งของร้านเป่าจือหลิน สันนิษฐานว่าอยู่ที่ตรอกหยั่นออน ถนนสายที่ 13 เขตกวางเจาตะวันตกใน

ปัจจุบัน) ด้วยเหตุที่ให้การรักษาผู้เจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสำหรับผู้ยากไร้ บ่อยครั้งยังเป็นการเยียว

ยาพยาบาลโดยไม่คิดเงิน วิชาแพทย์ของหวง เฟยหง ได้รับการยกย่องไม่น้อยหน้าวิชาการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นการ

ต่อกระดูก ตำรับยาเฉพาะประจำตระกูล หรือการรักษาโดยวิธีการฝังเข็ม


ในปี ค.ศ. 1888 นายพล หลิว หยงฟู่ (เหลา หวิงฟก) ผู้บัญชาการกองธงดำประสบอุบัติเหตุขาหัก และได้รับ

การรักษาโดย หวง เฟยหง จนกระทั่งหายดี นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพระหว่างทั้งสอง หลิว หยงฟู่ ชักชวน

หวง เฟยหง ให้เป็นหมอประจำกองทัพ และต่อมาทั้งคู่ก็ได้เข้าร่วมสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นที่รุกรานไต้หวัน


หวง เฟยหง ผ่านการแต่งงานทั้งหมด 4 ครั้ง มีลูกทั้งหมด 10 คน ภรรยาสามคนแรกล้วนเสียชีวิตตั้งแต่อายุยัง

น้อย ส่งผลให้เขานึกโทษตนเองว่าเป็นต้นเหตุแห่งเคราะห์ร้ายแก่คนที่ตนรัก และตัดสินใจว่าจะไม่ยอมแต่งงาน

อีก แต่แล้วในปี ค.ศ. 1903 เขาได้พบกับหญิงสาววัย 16 ปีชื่อ "มอก ไกวหลาน" (ไม่ทราบชื่อจีนกลาง) และ

ตกหลุมรักซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่การแต่งงานในที่สุด


บั้นปลายชีวิต

เดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1924 (บางข้อมูลระบุว่าเป็นวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1924) เกิดเหตุจราจลในย่านการค้า

ของกวางเจา ห้างร้านจำนวนมากถูกทำลายเสียหายยับเยิน รวมทั้งร้านเป่าจือหลินของ หวง เฟยหง ที่ถูกเผาจน

ราบคาบ ถัดจากนั้นไม่นาน หว่อง ฮอนซัม (ไม่ทราบชื่อจีนกลาง) บุตรชายคนโตของหวง เฟยหง ก็เสียชีวิตจาก

การทะเลาะวิวาทกับ แก๊งค้ายาเสพย์ติด (ข้อมูลบางแหล่งแย้งต่างกันมาก แต่ที่น่าจะถูกต้องที่สุดคือ เหตุดังกล่าว

เกิดในปี ค.ศ. 1890) การสูญเสียบุตรชาย ทำให้หวง เฟยหง ประกาศไม่ถ่ายทอดวิชาฝีมือให้แก่ลูกหลานของ

ตนจะสอนเฉพาะกับลูกศิษย์เท่านั้น


หวง เฟยหง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1924 สิริอายุได้ 76 ปี หลังจากนั้น มอก ไกวหลานพร้อมด้วย

ลูกศิษย์ 2 คนของหวง เฟยหง คือ หลิน จี้หรง (หลำไซหวิ่ง) และ ตั่ง เซาขิ่ง (ไม่ทราบชื่อจีนกลาง) ก็ได้พากัน

อพยพไปยังฮ่องกง


ตลอดชีวิตหวง เฟยหงมีลูกศิษย์ทั้งหมด 18 คน (ตั่ง เซาขิ่งเป็นคนเดียวที่เป็นผู้หญิง) ว่ากันว่าคนที่ได้รับการ

ถ่ายทอดวิชาในทุก ๆ ด้าน (ทั้งวิชากำลังภายใน, วิชาแพทย์ และการเชิดสิงโต) คือ เหลิง ฟุน (ไม่ทราบชื่อ

จีนกลาง) แต่โชคร้ายที่ศิษย์เอกรายนี้ เสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 20 ต้น ๆ


ในบรรดาศิษย์ทั้งหมดของหวง เฟยหง คนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากสุดคือ หลิน จี้หรง ซึ่งต่อมาได้เปิดสำนัก และ

เขียนตำราหมัดมวยที่สำคัญเอาไว้หลายต่อหลายเล่ม รวมทั้งเป็นผู้มีบทบาทในการถ่ายทอดเผยแพร่วีรกรรมของ

อาจารย์


ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

พิพิธภัณฑ์หวง เหยฟง ในเมืองฝอซาน ซึ่งคือบ้านของเขาเอง ในปัจจุบันหลังจากหวง เฟยหงเสียชีวิต เรื่องราว

ของเขาก็ได้รับการนำมาถ่ายทอดเป็นนวนิยาย ตีพิมพ์ตามหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ และเป็นที่นิยมในวง

กว้าง มีการแต่งเติมสีสันเพิ่มจินตนาการต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งเรื่องราวของหวง เฟยหงกลายเป็นตำนาน

พิศดารในวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างในปัจจุบัน


ในปี ค.ศ. 1949 เรื่องราวเกี่ยวกับ หวง เฟยหง ก็ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรก ในชื่อ Huang Fei-hong

zhuan: Bian feng mie zhu โดยมี กวาน ตั๊กฮิง (ไม่ทราบชื่อจีนกลาง) ผูกขาดรับบทเป็นหวงเฟยหงถึง 77

เรื่อง (กินเนสส์บุ๊คบันทึกไว้ว่า เขาเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นตัวละครเดิมมากที่สุดในโลก) ถึงขั้นว่าในชีวิตจริง มีผู้

คนจำนวนมากเรียกขานเขาว่า "อาจารย์หวง"

จนถึงปัจจุบัน เรื่องราวของ หวง เฟยหง ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์และซีรีส์มาแล้วนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างใน

ภาพยนตร์ชุด Once Upon a Time in China ที่มีอยู่ด้วยถึง 6 ภาค ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991-ค.ศ. 1997 ซึ่ง

นักแสดงผู้รับบท หวง เฟยหง คือ หลี่ เหลียนเจี๋ย และ จ้าว เหวินจั๋ว นักแสดงผู้รับบทหวง เหยฟง

ในภาคที่ 4 และภาคที่ 5 และในแบบซีรีส์









อ้างอิงที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%87_%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%87
                  http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=28148.0
                  http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=wushuthailand&topic=2&Cate=5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2010, 09:17:24 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 01:26:43 am »
0
 :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 07:01:14 pm »
0
ที่มา : เพลงหมัดตระกูลฮั่ว

        เพลง หมัดนี้เป็นวิชายุทธ ที่รวมมาจากหลายวิชา และสร้างออกมาในแบบของตัวเอง จีนในสมัยก่อน วิชาต่อสู้

เมื่อร่ำวิชาแล้ว จะมีการดัดแปลงหรือสร้างใหม่ เป็นวิชาสไตร์ตัวเองเป็นเรื่องปรกติเช่นหมัดไทจี้ฉวน ก็มีตระกล

หยาง ตระกูลอู๋ ตระกูลเฉิน ฯลฯ หมัดตระกูลฮั่วเองก็เช่นกัน

        หมัด ตระกูลฮั่ว เป็นหมัดที่รวดเร็วหนักหน่วง และคม การเคลื่อนไหว นิ่มและเบาเหมือนแมว แต่โจมตีรวดเร็วจน

มองไม่ทัน ผู้ที่สู้กับเพลงหมัดนี้ จะถูกโจมตีล้มลง โดยที่ตัวเองไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าโดนอะไร





วีรบุรุษวูซู "ฮั่วหยวนเจี่ย" ผู้สืบทอดเพลงหมัดสกุลฮั่ว




วีรบุรุษชาวจีนอีกท่านหนึ่งที่มีตัวตนจริง และอยู่ร่วมยุคสมัยใกล้เคียงกับหวงเฟยหง ได้รับการยกย่องนับถือไม่ยิ่ง

หย่อนไปกว่ากันก็คือ ฮั่วหยวนเจี่ย
       
        สันนิษฐานว่า ฮั่วหยวนเจี่ยน่าจะเกิดราว ๆ ระหว่างปี 1867-1869 (แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ลงความเห็นบ่ง

ชี้ไปที่ปี 1867 มากกว่า) ที่หมู่บ้านเซี่ยวหนาน เมืองเทียนจิน
       
        ฮั่วหยวนเจี่ยเป็นลูกคนที่ 4 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 10 คน บิดาชื่อฮั่วเอินตี้ มีอาชีพเป็นผู้คุ้มกันขบวน

คาราวานพ่อค้าที่เดินทางขึ้นล่องไปยังแถบ แมนจูเรีย แต่รายได้หลักในการยังชีพของครอบครัว มาจากการเพาะ

ปลูกทำไร่ไถนาเป็นหลัก
       
        ตระกูลฮั่วนั้นมีธรรมเนียมปฏิบัติ “ฝึกวิชาบู๊” สืบทอดกันมาหลายชั่วคน ทว่าฮั่วหยวนเจี่ยในวัยเด็ก กลับมี

สภาพร่างกายอ่อนแอ ป่วยไข้บ่อย เป็นเหตุให้ถูกพ่อห้ามอย่างเด็ดขาด มิให้ร่ำเรียนศิลปะการต่อสู้ และได้รับการ

หนุนส่งให้เอาดีในทางเขียนอ่านเพื่อเป็นบัณฑิต
       
        ในการนี้ บิดาของฮั่วหยวนเจี่ย จึงได้ว่าจ้างครูจากญี่ปุ่นชื่อเฉินเซ่งโห ให้อบรมสั่งสอนลูกชาย (อายุขณะนั้นประมาณ 12 ปี)
       
        นอกจากจะทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือแล้ว เฉินเซ่งโหยังแลกเปลี่ยนผลัดกันถ่ายทอดวิชาบู๊กับตระกูลฮั่ว
       
        นี่คือจุดเริ่มต้นแห่งความเป็น “ยอดฝีมือ” ของฮั่วหยวนเจี่ย เขาขัดขืนคำสั่งของพ่อ ใช้เวลาช่วงกลางวันร่ำ

เรียนหนังสือ ควบคู่กับการหลบซุ่มตามพุ่มไม้เจาะรูกำแพง แอบดูและพยายามจดจำรายละเอียดทุกอย่างที่พ่อ

ถ่ายทอดวิชาฝีมือให้แก่พี่น้อง คนอื่น ๆ และบรรดาศิษย์ทั้งหลาย จากนั้นยามค่ำคืนก็เข้าไปในป่าละเมาะเพื่อ

ฝึกฝนวิชาฝีมือที่จดจำมา โดยมีเฉินเซ่งโหคอยดูแลชี้แนะ
       
        สถานการณ์ละเมิดคำสั่งพ่อแอบเรียนวิชาต่อยตีของฮั่วหยวนเจี่ย ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ถึง 10 ปี
       
        ในปี 1890 มียอดฝีมือแซ่ตั้วจากมณฑลเหอหนานเดินทางมาเยี่ยมเยียนตระกูลฮั่ว หลังจากผ่านตาการ

ร่ายรำหมัดมวยจากบรรดาพี่ชายของฮั่วหยวนเจี่ย ได้เกิดการแหย่กระตุ้น จนนำไปสู่การท้าประลอง และโค่นล้ม

เหล่าพี่น้องสกุลฮั่วจนพ่ายแพ้ราบคาบ
       
        ฮั่วหยวนเจี่ยได้สร้างความประหลาดใจให้แก่ครอบครัว เมื่อเขาออกมาอาสาต่อสู้และเป็นฝ่ายได้รับชัย

ชนะ นั่นเป็นจุดเปลี่ยนให้พ่อของเขายอมรับ และยินดีถ่ายทอดวิชาฝีมืออย่างเปิดเผย ไม่ต้องหลบซ่อนอีกต่อไป
       
        เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชื่อเสียงของฮั่วหยวนเจี่ย โด่งดังไปทั่วหมู่บ้านและละแวกใกล้เคียง
       
        ถัดจากนั้น ฮั่วหยวนเจี่ยก็เจริญรอยตามบิดา ด้วยการยึดอาชีพเป็นผู้คุ้มกัน ครั้งหนึ่งระหว่างการดูแลความ

ปลอดภัยให้แก่หลวงจีนที่ออกเดินทางรอนแรมในป่า เขา ได้มีกลุ่มโจรบุกซุ่มโจมตีปล้นสะดมภ์ ฮั่วหยวนเจี่ย

สามารถพิชิตหัวหน้ามิจฉาชีพจนบาดเจ็บพ่ายแพ้ยับเยิน ชื่อเสียงของเขายิ่งกลายเป็นที่ร่ำลือในวงกว้าง
       
        ต่อมาฮั่วหยวนเจี่ยเลิกราจากการเป็นผู้คุ้มกัน หวนคืนสู่บ้านเกิดยึดอาชีพตัดฟืนขาย จนกระทั่งถึงปี

1896 เขาก็หันเหเปลี่ยนงานใหม่ เป็นพนักงานรับใช้ในร้ายขายยาฮ่วยฉิง (เจ้าของร้านเป็นหมอที่เคยเดินทางไป

ใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่น) ที่นี่กลายเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในโลกกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบ่มเพาะจิตสำนึก

รักชาติ ท่ามกลางสภาพขมขื่นคับแค้นของชาวจีนที่โดนต่างชาติรุกราน สืบเนื่องจากความเสื่อมถอยของระบอบ

การปกครองโดยราชวงศ์ชิงตอนปลาย
       
        ก่อนหน้านั้นชื่อเสียงของฮั่วหยวนเจี่ย มักเกิดจากชัยชนะในการประลองฝีมือหลายต่อหลายครั้ง ทว่า

เกียรติประวัติในฐานะวีรบุรุษที่แท้จริง เริ่มต้นขึ้นในปี 1901 เมื่อเขาอาจหาญตอบรับคำท้าทายในใบปลิวท้าสู้ของ

นักมวยปล้ำชาวรัสเซีย หลังจากที่ไม่มีชาวจีนคนไหนกล้าสู้ ส่งผลให้นักมวยปล้ำชาวรัสเซีย ผู้กล่าวอ้างว่าตนเอง

คือคนที่แข็งแรงที่สุดในโลก สบโอกาสพูดจาเย้ยหยันดูแคลนชาวจีนว่าเป็น “คนป่วยแห่งเอเชีย” และ “ไอ้ขี้โรค

แห่งตะวันออก”
       
        การประลองดังกล่าวมีขึ้น ที่สวนสาธารณะซีหยวนในเมืองเทียนจิน ฮั่วหยวนเจี่ยเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ

และทำให้ชาวต่างชาติผู้โอหัง ต้องกล้ำกลืนคำคุยโวโอ้อวดของตนเอง
       
        ระหว่างปี 1909 ฮั่วหยวนเจี่ยเดินทางไปยังเซี่ยงไฮ้ เพื่อต่อสู้กับนักมวยชาวอังกฤษชื่อเฮอร์คิวลิส โอ

เบรียน และเป็นฝ่ายชนะ

        บทบาท สำคัญต่อมาของฮั่วหยวนเจี่ยก็คือ การก่อตั้งโรงเรียนฝึกสอนวิชาฝีมือ (ซึ่งชาวตะวันตกรู้จักกัน

ในนาม The Chin Woo Athletic Assosiation) จุดมุ่งหมายก็เพื่อฝึกฝนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีสุขภาพที่ดี

และมีฝีมือเข้มแข็ง
       
        ฮั่วหยวนเจี่ยมีความเชื่อว่า ร่างกายที่แข็งแรงสุขภาพดีเยี่ยม คือ รากฐานสำคัญขั้นต้นอันนำไปสู่การสร้าง

คนที่มีคุณภาพให้แก่สังคมจีน
       
        เป้าหมายควบคู่กันอีกประการก็คือ เป็นการสร้างคนเพื่อตระเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ส่อแนว

โน้มว่าใกล้จะเกิดขึ้น ทั้งรับมือการรุกรานต่างชาติ และเป็นส่วนหนึ่งในโค่นล้มอำนาจของราชวงศ์ชิง (สถาบันที่ฮั่ว

หยวนเจี่ยก่อตั้ง ได้รับเงินทุนอุดหนุนส่วนหนึ่งจากดร. ซุนยัตเซน) โดยมีเป้าหมายฝึกคนหนึ่งล้านคนภายในระยะ

เวลา 10 ปี
       
        โครงการดังกล่าว มีครูมวยชื่อดังหลากหลายสำนักเข้าร่วมด้วยความเต็มใจ เนื่องจากชื่อเสียงบารมีใน

ฐานะวีรบุรุษประจำชาติของฮั่วหยวนเจี่ย (ปัจจุบันสำนักจินหวูได้แตกสาขากระจายไปยังหลายประเทศทั่วโลก)
       
        ทว่าหลังจากก่อตั้งสำนักจินหวูไปได้ไม่กี่เดือน ฮั่วหยวนเจี่ยก็ล้มป่วยและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม

1910 (บางแหล่งข้อมูลระบุว่า เขาเสียชีวิตวันที่ 14 กันยายน 1910)
       
        อย่างไรก็ตาม สาเหตุการตายที่แท้จริงของฮั่วหยวนเจี่ยยังคงเป็นเรื่องลึกลับมืดมน และยังคงเต็มไปด้วย

เรื่องเล่าลือต่าง ๆ นานามาจนถึงทุกวันนี้ แต่บรรดาลูกศิษย์รวมทั้งนักประวัติศาสตร์อย่างเฉินกงเจ เชื่อว่าฮั่วหยวน

เจี่ยตายเพราะโดนวางยาพิษโดยหมอชาวญี่ปุ่นชื่ออากิโนะ เพื่อล้างแค้นที่ทีมยูโดของญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่าง

ย่อยยับ
       
        หลังจากล้มป่วย ฮั่วหยวนเจี่ยถูกส่งตัวไปรับการรักษาที่ Shanghai Red Cross Hospital และเสีย

ชีวิตในอีก 2 สัปดาห์ถัดมา
       
        ต่อมาลูกศิษย์ที่ชื่อจางเหวินต้าและเฉินกงเจได้นำยาที่ใช้รักษาฮั่วหยวน เจี่ย ไปทำการตรวจสอบที่

Shanghai Public Concession Hospital ผลยืนยันว่า ตัวยาเหล่านี้มีสารพิษเจือปนอยู่จริง
       
        ในปี 1989 มีการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนที่ฝังศพของฮั่วหยวนเจี่ยและภรรยา ค้นพบว่า บริเวณกระดูกเชิง

กรานปรากฎจุดดำเล็ก ๆ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเทียนจิน ทำการพิสูจน์แล้วลงความเห็นว่า มีร่องรอยของสารหนู

ตกค้างอยู่ในจุดเหล่านั้น

        เรื่อง ราวของฮั่วหยวนเจี่ยได้รับการนำมาสร้างเป็นหนังครั้งแรกในปี 1981 จากซีรีส์ฉายทางโทรทัศน์

20 ตอนจบชื่อ The Legend of Fok (ชื่อของฮั่วหยวนเจี่ยตามสำเนียงกวางตุ้งคือ ฟกหยันกาบ)
       
        ถัดมาอีก 1 ปี หยวนหวูผิงก็นำมาสร้างเป็นหนังฉายตามโรงเรื่อง Legend of a Fighter และได้รับคำ

ชมว่า น่าจะเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดใกล้เคียงกับความจริงมากสุด
       
        อย่างไรก็ตาม หนังที่เกี่ยวข้องกับฮั่วหยวนเจี่ยที่โด่งดังมากสุด กลับได้แก่ Fist of Fury (ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง

ล้างแค้น) ซึ่งจับความหลังจากการเสียชีวิตอย่างลึกลับของฮั่วหยวนเจี่ย ส่งผลให้ศิษย์เอกชื่อเฉินเจิน ต้องออก

สืบหาฆาตกรเพื่อชำระแค้น
       
        Fist of Fury เป็นเรื่องสมมติที่ผูกเหตุการณ์ขึ้นใหม่ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากคำเล่าลือเกี่ยวกับการ

ตายของฮั่วหยวนเจี่ย แต่ตัวละครศิษย์เอกชื่อเฉินเจินซึ่งแสดงโดยบรูซ ลีนั้นมีอยู่จริง (รวมทั้งภาพถ่ายหน้าศพ

ของฮั่วหยวนเจี่ยก็เป็นภาพตัวจริง) รายละเอียดทางด้านยุคสมัยที่ปรากฎในหนัง มีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก แต่

ฉากหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงก็คือ ตอนที่เฉินเจินโดนห้ามเข้าสวนสาธารณะในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีป้ายประกาศว่า

“ห้ามหมาและคนจีนเข้า”

        Fearless หนังปี 2006 ผลงานกำกับของรอนนี หยู เป็นหนังเรื่องล่าสุดเกี่ยวกับฮั่วหยวนเจี่ย
       
        หลังจากหนังออกฉาย ก็มีข่าวจากสำนักข่าวซินหัว เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2006ระบุว่า ฮั่วจื่อเจิ้ง

ทายาทรุ่นเหลนของฮั่วหยวนเจี่ย ได้ออกมาเรียกร้องให้ทางผู้สร้างกล่าวขอขมาต่อ เนื่องจากฉากหนึ่งในหนัง ได้

เติมแต่งรายละเอียดตามใจชอบ โดยแสดงให้เห็นว่า ฮั่วหยวนเจี่ยในวัยหนุ่มหมกมุ่นกับการประลองฝีมือเพื่อเป็น

หนึ่งในเทียนจิน จนส่งผลให้คู่อริล้างแค้น เข่นฆ่ามารดาและลูกสาวของฮั่วหยวนเจี่ย ซึ่งปราศจากความจริงโดย

สิ้นเชิง
       
        ในชีวิตจริง ฮั่วหยวนเจี่ยมีหลานทั้งหมด 7 คน และเหลนอีก 11 คน




อ้างอิงที่มา : http://news.popcornfor2.com/file_html/118342798148/118342798148.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2010, 09:06:25 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2010, 06:43:37 am »
0
Ip Man





ยิปมันปรมาจารย์หย่งชุนแห่งฝอซาน


นับ ตั้งแต่ปี 1911 จากความพยายามของนักปฏิวัติจีน ซุนยัดเซ็น ในการโค่นล้มราชวงศ์ชิง และเป็นผู้ก่อตั้ง

พรรคก๊กมินตั๋ง ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ประเทศจีนกำลังประสบภาวะปัญหาในหลายมิติ ประการหนึ่งคือภัยคุก

คามจากต่างชาติ อีกประการคือความสับสนวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ


จักรวรรดิ ที่ยิ่งใหญ่อย่างจีนซึ่งเป็นที่ยำเกรงจากนานาประเทศ กลับต้องเกือบๆจะล่มสลายและถูกคุกคามโดย

ประเทศบนเกาะเล็กๆอย่างญี่ปุ่นใน ช่วงศตวรรษที่ 20 จากที่เดิมที ญี่ปุ่นเป็นประเทศซึ่งเป็นฝ่ายรับรับวัฒนธรรม

มาจากจีน ก่อนหน้านั้นความยิ่งใหญ่แห่งจักรวรรดิจีน คงเป็นเรื่องที่ยากหากญี่ปุ่นจะเข้ามารุกรานและได้รับชัย

ชนะไป หากแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในจีนซึ่งสะสมมาเป็นระยะเวลาช้านาน แผลที่บอบช้ำของจีนยิ่งปรากฏชัดขึ้น

เรื่อยๆ ความอ่อนแอของราชวงศ์ชิง ทำให้จีนต้องปราชัยแก่ญี่ปุ่นครั้งแรกในสงครามแย่งชิงอำนาจเหนือเกาหลีใน

ปี 1894 และต่อมาก็ต้องถูกญี่ปุ่นรุกรานอีกเป็นครั้งที่สองในปี 1931


โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนที่มีความคิดก้าวหน้า ประชาธิปไตยเปรียบเสมือนโลกในช่วงอายุวัยรุ่น หากแต่ว่า

ก็มีผู้ปกครองบางคนที่มองประชาชนเป็นเด็กอมมือที่ต้องคอยดูแลไป ตลอดชีวิต นั่นก็เป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้อง

พิสูจน์ให้เห็นว่าประชาชนนั้นโตพอที่จะ ดูแลตนเองได้แล้ว เปรียบเสมือนการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย


ประชาชน ในประเทศจีนกลุ่มหนึ่งมองว่าถึงเวลาแล้ว ที่จีนไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากผู้ปกครองอีกต่อไป

การปฏิวัติจึงเกิดขึ้น แม้จะยากลำบากและแลกด้วยการสูญเสียชีวิต ดังที่อาจจะเห็นภาพความเสียสละของกลุ่มคนกลุ่มนี้ได้จากภาพยนตร์เรื่อง Bodyguards and Assassins ทว่าอย่างไรก็ตามเมื่อราชวงศ์ชิงได้สิ้นสุดลงใน

ปี 1912 ทว่าอุดมการณ์ คอมมูนิสต์ ‘ประชาธิปไตยอีกรูปแบบหนึ่ง’ ซึ่งมีหลายประเทศนำไปใช้ แต่กลับใช้อย่าง

ผิดวิธี กลายเป็นสร้างระบอบการปกครองที่ไม่ต่างกับความเป็นเผด็จการขึ้น เมื่อคอมมูนิสต์จีนสถาปนาสาธารณรัฐ

ประชาชนจีนในปี 1949 จีนได้ถูกปกครองโดยระบอบคอมมูนิสต์จากพรรคคอมมูนิสต์ที่พยายามทุ่มเทพัฒนา

ประเทศ แต่กลับละเลยเสรีภาพของประชาชนในจีน มันจึงไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับการต่อสู้ที่ผ่านมา ซึ่งสุด

ท้ายประชาชนก็ยังเป็นเด็กที่ไม่โตเช่นเดียวกับตลอดหลายพันปีของจีน ที่ผ่านมา


ใน ระยะเวลาก่อนที่จีนจะกลายสภาพเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการต่อสู้เกิดขึ้นมากมาย นับตั้งแต่การต่อสู้

ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและราชวงศ์ชิง เมื่อสามารถล้มราชวงศ์ได้ ต่อมาก็เป็นการต่อสู้ระหว่างประชาชนที่ขัดแย้ง

กันทางอุดมการณ์ ฝ่ายหนึ่งคือพรรคคอมมูนิสต์จีน และอีกฝ่ายคือพรรคก๊กมินตั๋ง ขณะเดียวกัน การต่อสู้ภัยคุก

คามจากต่างชาติก็ยังดำเนินต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่ราชวงศ์ชิง ยังครองอำนาจอยู่ การคุกคามจากต่างชาติ มีทั้งจาก

ประเทศมหาอำนาจตะวันตก และประเทศใกล้เคียงอย่างญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นญี่ปุ่นพยายามที่จะขยายอำนาจของตน

แผ่ไปทั่วเอเชีย โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการปลดปล่อยเอเชียจากอำนาจตะวันตก เวทีหลักของสงครามซึ่งญี่ปุ่นเรียก

ว่า ‘สงครามมหาเอเชียบูรพา’ คือประเทศจีน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่แน่นอนว่าจีนย่อมต้องได้รับความบอบช้ำอย่าง

รุนแรง จากสงครามทั้งภายในและภายนอก ในปี 1931 ซึ่งญี่ปุ่นเริ่มต้นเข้ารุกรานแมนจูเรีย จากนั้นจึงเปิดฉาก

สงครามกับจีนขึ้นอย่างเป็นทางการหลังจากวิกฤตการณ์สะพานมา โคโปโล และเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่อง Ip

Man ก็คือช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ในระยะเวลาดังที่กล่าวมา

Ip Man หรือ ‘ยิปมัน’ คือประชาชนบุคคลธรรมดา มิได้มีบทบาทเป็นผู้นำทางด้านการเมืองอย่าง ซุนยัดเซ็น

หรือ เมาเซตุง หากแต่เขาเป็นเพียงประชาชนคนหนึ่งในบรรดาหลายๆคนในเมืองฝอซานที่ชื่นชอบใน ศิลปะการ

ต่อสู้มือเปล่า ฝอซานคือเมืองๆหนึ่ง ถือเป็นเมืองใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง และที่สำคัญคือการเป็นศูนย์รวมของ

บรรดายอดฝีมือทางด้านศิลปะการต่อสู้ ยอดฝีมือซึ่งมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีและอาศัย

อยู่ในเมืองฝอซานคนหนึ่งคือ ‘หวงเฟยหง’ เจ้าของเพลงหมัดสกุลหงอันเลื่องลือ


แต่ นอกเหนือจากหวงเฟยหงแล้ว ในเมืองฝอซานก็ยังมียอดฝีมืออีกคน และ ‘ยิปมัน’ ก็คือยอดฝีมือผู้นั้น แม้ว่า

ทั้งหวงเฟยหงและยิปมัน จะมีเพลงมวยคนละสกุล หวงเฟยหงนั้นใช้หมัดสกุลหงซึ่งพัฒนามาจากวัดเส้าหลิน ขณะ

ที่ยิปมันใช้เพลงมวยหย่งชุน แต่ทั้งสองก็เป็นนักสู้ที่เหมือนกัน หวงเฟยหงต่อสู้กับทางการรัฐบาลที่ใช้อำนาจกดขี่

ราษฎร ยิปมันเองก็ต่อสู้ในฐานะคนจีนที่ไม่ยอมให้กับการคุกคามของญี่ปุ่นที่ส่งกอง ทัพเข้าคุกคามจีน ดังนั้นแม้

ว่าทั้งสองจะมิได้ยิ่งใหญ่ในฐานะของผู้นำทางด้านการเมือง ทว่าในความยิ่งใหญ่แห่งฐานะนักต่อสู้ ก็ไม่มีสิ่งใดที่

จะสามารถปฏิเสธความน่ายกย่องในเรื่องนี้ของพวกเขาได้


เรื่อง ราวของภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มต้นในปี 1930 ณ เมืองฝอซาน ในปีนี้เป็นช่วงเวลาภายหลังจากที่หวงเฟยหง

เสียชีวิตไปแล้วในปี 1924 หรือ 6 ปีก่อนหน้านั้น ซึ่งก็เป็นเวลาที่ไม่นาน และเป็นไปได้ว่ายิปมันและหวงเฟยหง

คงจะรู้จักกันตามประสาผู้ฝึกยุทธ์ซึ่งมัก แสวงหายอดฝีมือเพื่อสนทนาชี้แนะแนวทางแก่กัน ช่วงเริ่มต้นของเรื่อง

เผยภาพชีวิตของผู้คนในเมืองฝอซาน ซึ่งยังคงใช้ชีวิตอย่างปกติสุขไปตามครรลอง ความเป็นอยู่ของยิปมันถือได้

ว่ามีฐานะที่ดี มีครอบครัวเล็กๆที่น่ารัก และได้รับการยกย่องนับหน้าถือตาในสังคมเป็นอย่างดีในฐานะของ

ปรมาจารย์การ ต่อสู้ที่เลิศภพจบแดน กระทั่งในปีต่อมา ปี 1931 ญี่ปุ่นได้เริ่มส่งกองทัพเข้ายึดแมนจูเรีย และต่อ

มาก็รุกรานเข้ามาในจีน รวมถึงเมืองฝอซานที่เคยเป็นเมืองอันสงบสุข กองทัพญี่ปุ่นเข้าทำการกดขี่ข่มเหง

ประชาชนชาวจีน ความเป็นอยู่ของยิปมันและครอบครัว ตลอดรวมถึงชาวบ้านอื่นๆพากันได้รับความเดือดร้อน ทุก

ครอบครัวอดอยากไปทั่วทุกหัวระแหง คนจีนต้องยอมตกเป็นเบี้ยล่างแก่ทหารญี่ปุ่น ชายฉกรรจ์ต้องถูกใช้แรงงาน

เพียงเพื่อแลกกับอาหารอันน้อยนิดสำหรับเลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง จนในที่สุดความอดทนก็ถึงขีดจำกัด เมื่อยิปมันลุก

ขึ้นต่อสู้ด้วยกำลังเท่าที่เขามี ในสงครามที่มีกำลังทหารและอาวุธทรงพลานุภาพ ฝีมือที่ยอดยุทธ์ของยิปมันอาจจะ

ไม่สามารถต่อกรได้ ถึงกระนั้นเขาก็ยังคงสู้ ความสามารถของเขาเป็นที่หมายปองของผู้บังคับบัญชาญี่ปุ่นซึ่งต้อง

การให้เขา เป็นครูฝึกแก่ทหารญี่ปุ่น แม้จะรู้ดีว่านี่คือโอกาสที่เขาจะกลับมามีชีวิตที่สบายอีกครั้ง แต่นั่นหมายถึง

การทิ้งศักดิ์ศรีความเป็นคนจีนและความเป็นมนุษย์ของตนเอง ยิปมันจึงปฏิเสธและแข็งข้อ เขาหนีไปยังจังหวัด

อื่น และสมัครร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋ง กระทั่งเมื่อพรรคพ่ายแพ้แก่พรรคคอมมูนิสต์จีน ยิปมันจึงต้องหนีไปยัง

ฮ่องกง และเปิดสำนักขึ้นที่นั่น โดยหนึ่งในศิษย์คนสำคัญของเขามีชื่อว่า ‘บรูซลี’





อ้างอิงที่มา : http://thaitimenetwork.com/index.php/art-and-culture/2010-02-05-13-26-14/115-ip-man-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 22, 2010, 06:48:25 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: กันยายน 24, 2012, 09:54:29 pm »
0
ใครพอมีความรู้เรื่อง เซ็น ครับ อีกผมเห็นว่าหลักปฏิบัติของเซ็นนั้น จะเปรียบเทียบกับการปฏิบัติ กับพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ได้หรือ แตกต่างกันอย่างไรครับ

มาทำความรู้จัก เซ็น กัน

เซน(Zen) เป็นชื่อญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน(Ch'an)ในภาษาจีน ที่มาจากภาษาบาลีซึ่งหมายถึง ฌาน หรือ การเข้าฌานของพุทธศาสนา นิกายเซน เป็นชื่อญี่ปุ่นของพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย และผ่านมาทางประเทศจีน เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าจากประเทศจีนในช่วงระหว่างที่ เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง

ตั้งแต่ช่วงปี 2490 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ ซึ่งยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของอริยสัจ 4 และ มรรค 8 เซนเชื่อในมนุษย์ทุกคนคือเชื่อว่าทุกคนมีธรรมชาติแห่งพุทธะอยู่ด้วยกันทุกคน มีโอกาสตรัสรู้ได้ทุกคน การรู้แจ้งหรือการเข้าถึงพุทธะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยรูปแบบใดๆ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเพศใด เป็นผู้คงแก่เรียนหรือไม่ อายุหรือวัยเท่าใด เพราะทุกคนต่างก็มีธรรมชาติเดิมแท้อันบริสุทธิ์เป็นพื้นอยู่แล้วด้วยกันทุก คน เมื่อสิ่งที่มาครอบคลุมปกปิดถูกรื้อถอนออกไป ความสว่างไสวจะปรากฎออกมาเอง ไม่เว้นใครเลย

เซนไม่เน้นเรื่องอื่น เช่น พระเจ้ามีจริงหรือไม่ นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ บุญกุศลคืออะไร ฯลฯ เซนจะหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ หากแต่มุ่งในการทำตัวเองให้แจ่มแจ้งในปัจจุบันขณะนั้นก็พอ ไม่ปรารถนาอะไรอื่น ไม่เอาการถกเถียง หรือการเรียนในเชิงปรัชญาเพ้อเจ้อ ซึ่งเซนถือว่าไม่ใช่เรื่องของเซน เซนเป็นวิถีหรือทางตรงเพื่อเข้าสู่การหลุดพ้นจากความคิดปรุงแต่งที่จำแนก สิ่งต่างๆออกเป็น 2 ขั้วที่ ต่างกัน เช่น ดี-ชั่ว ผิด-ถูก พอใจ-ไม่พอใจ ซึ่งเซนถือว่าเป็นเรื่องผูกมัดมนุษย์ไว้ในกรงแห่งความทุกข์และอวิชชา ถ้าไม่มีความคิดปรุงแต่งเหล่านี้ก็จะเป็นอิสระ และจะเห็นสิ่งต่างๆตามที่เป็นจริง

พื้นฐาน 5 ประการของพุทธนิกายเซน

1. ความจริงสูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงได้ด้วยคำพูด หรือ ตัวหนังสือ

พุทธะคือธรรมชาติที่มีอยู่ภายในชีวิตของเรา นี้เอง เมื่อความคิดปรุงแต่งหยุดลง ธรรมชาติดั้งเดิมก็พลันปรากฎ คือความเป็นพุทธะ ความสงบหรือดับร้อนที่เรียกว่านิพพาน

2.การฝึกฝนในทางธรรม ไม่อาจฝึกได้ด้วยความพยายาม ที่เกิดจากการปรุงแต่ง

เพราะในความคิดปรุงแต่งจะมีความรู้สึกที่มี ตัวตนอยู่ด้วยเสมอ ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่เป็นภายในกับสิ่งที่เป็นภายนอก และทำให้เกิดความยึดมั่นผูกพันกับวัตถุภายนอก ความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า การท่องพระสูตร การบูชาพระพุทธรูป การประกอบพิธีต่างๆนั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ตรงข้ามบุคคลควรปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ เฝ้าดูและขจัดกระแสแห่งความคิดปรุงแต่ง และเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นเช่นนั้นเอง การปฎิบัติธรรมที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นได้

3. ผลบั้นปลายสุดท้าย ไม่มีอะไรที่ใหม่

ประสบการณ์ของการตื่นรู้ถึงธรรมชาติของสรรพ สิ่ง เป็นเพียงสิ่งที่มีอยู่ในตัวเองตลอดเวลาอยู่แล้วเท่านั้นเอง ที่เราไม่ได้รู้สึกถึงสิ่งนี้เป็นเพราะอวิชชาของเราเอง เมื่อตัวตนที่ปรุงแต่งถูกขจัดออกไป ธรรมชาติที่แท้จริงก็ปรากฎตัวขึ้นแทนที่และผู้นั้นก็จะกระทำสิ่งต่างๆอย่าง ปราศจากตัวตน ซึ่งเป็นธรรมชาติของเขาจริงๆ

4.ไม่มีอะไรมากในคำสอนทางพุทธศาสนา

สิ่งสำคัญมีเพียงประการเดียวคือ ประสบการณ์ของความตื่นรู้ถึงสภาวธรรม ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าชาวพุทธ และไม่มีแม้กระทั่งสิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนา เพราะตราบใดที่ยังยึดติดในสิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่อาจรู้แจ้งความจริงแท้ของ สรรพสิ่ง

5.ในขณะที่กำลังทำงานตามปกติเป็นขณะแห่งการสัมผัสกับชีวิตทางธรรม

การตรัสรู้นั้นไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบใด ในขณะทำงาน ในชีวิตประจำวันก็อาจเป็นขณะแห่งการตรัสรู้ได้ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นสิ่งที่มีอยู่ปกติตามธรรมชาติ เราพบมันได้ในทุกหนทุกแห่งทุกเวลา




http://sanamluang2008.blogspot.com/2011/07/162.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2012, 10:37:04 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: กันยายน 24, 2012, 10:21:07 pm »
0
ใครพอมีความรู้เรื่อง เซ็น ครับ อีกผมเห็นว่าหลักปฏิบัติของเซ็นนั้น จะเปรียบเทียบกับการปฏิบัติ กับพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ได้หรือ แตกต่างกันอย่างไรครับ

ผมยกเอาเนื้อหาสั้นๆบทนี้มาให้พิจารณาอ่าน หลายท่านเข้าใจไม่เข้าใจอย่างไร ผมแนะนำให้เจริญภาวนาก่อนแล้วจึง

อ่านกระทู้บทความข้างต้น ทั้งนี้เพื่อต้องการตัดความฟุ้งซ่านของท่านทั้งหลายออกไปก่อน อ่านใคร่ครวญแล้วจะเห็น

ได้ว่า เซน(Zen) มุ่งเน้นสู่ความรู้แจ้งด้วยองค์สมาธิเป็นสำคัญไม่ต่างจากกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ถึงความเป็น

พุทธะคือความเป็นผู้สิ้นอาสวะหาใช่ใฝ่โพธิญาณเป็นโพธิสัตว์อย่างที่เข้าใจในแบบมหายาน(ซึ่งเป็นข้อวัตรบัญญัติ

ภายหลัง) ดังนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา ชัดเจนในความหมายทั้งหมดทั้งปวงครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2012, 06:35:37 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กันยายน 25, 2012, 03:18:08 am »
0
 :c017:  :c017:
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: กันยายน 25, 2012, 08:28:39 am »
0
ขอบคุณมากคะ รู้สึกในแบบของจีนนั้น พระกับ คนทั่วไป ไม่ต่างกันเลยนะคะ คือคนไม่สนใจพระอยู่แล้ว บรรยากาศน่าจะเหมือน ๆ กับ ประเทศอินเดีย นะคะ สำหรับปัจจุบันในประเทศไทย พระ นั้นจะมีคนนับถือมากกว่า ประเทศอื่น ๆ

 5.ในขณะที่กำลังทำงานตามปกติเป็นขณะแห่งการสัมผัสกับชีวิตทางธรรม

การตรัสรู้นั้นไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบใด ในขณะทำงาน ในชีวิตประจำวันก็อาจเป็นขณะแห่งการตรัสรู้ได้ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นสิ่งที่มีอยู่ปกติตามธรรมชาติ เราพบมันได้ในทุกหนทุกแห่งทุกเวลา


ที่ถูกใจ ก็ข้อที่ห้า คะ ดูเหมือนจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้นะคะ
  :25:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2012, 11:00:05 pm »
0
วิธีการปฏิบัติเซ็น แบ่งได้เป็น 3 ประการคือ

          1. ซาเซ็น หมายถึง การนั่งขัดสมาธิอย่างสงบและเพ่งสมาธิ

          2. ซันเซ็น หรือ วิธีการแห่งโกอัน

          3. ม็อนโด คือการถามและการตอบอย่างอย่างทันทีทันใด โดยไม่ใช้ระบบความคิดหรือเหตุผลไตร่ตรองว่าเป็นคำตอบที่ดีหรือไม่ อาจารย์จะเป็นผู้ตั้งคำถามและพิจารณาคำตอบที่ลูกศิษย์ตอบในขณะนั้น

วิธีการแบบม็อนโดนี้ช่วยขจัดวิธีการใช้เหตุผล เพราะเหตุผลไม่ได้บ่งถึงข้อเท็จจริงในขณะนั้นๆ จิตที่รับรู้โลกฉับพลัน ตรงไปตรงมา ไม่ผ่านม่านของการใช้เหตุผล ย่อมจะไม่ถูกอวิชชาเข้ามาครอบงำทำให้พุทธภาวะอันเป็นธรรมชาติเดิมแท้ปรากฏออกมาได้



 
  ขอบคุณภาพจาก http://www.compasscm.com/
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
นิทานเซ็น ร่มคุ้มกันฝน
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2012, 11:03:15 pm »
0
ยังมีอุบาสกผู้หนึ่งหลบฝนอยู่ใต้ชายคา พอดีกับที่มีอาจารย์เซนผู้หนึ่งกางร่มเดินผ่านมา อุบาสกผู้นี้จึงร้องเรียกขอให้อาจารย์เซนพาตนไปด้วย โดยอ้างว่าตามหลักธรรม พระสงฆ์คือผู้ช่วยนำพาสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงทะเลทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด

ทว่าอาจารย์เซนกลับปฏิเสธคำขอของอุบาสก ทั้งยังกล่าวว่า "ประสกอยู่ใต้ชายคาซึ่งไม่มีฝน มิได้เปียกปอน ฉะนั้นอาตมาไม่จำเป็นจะต้องพาประสกออกไป"

เมื่อุบาสกได้ยินดังนั้น จึงก้าวออกมานอกชายคา ยืนอยู่ท่ามกลางสายฝนพรำจนร่างกายเปียกชุ่มโชก จากนั้นขอร้องอีกครั้งให้อาจารย์เซนพาเขาไปด้วย

ยามนั้น อาจารย์เซนจึงเอ่ยว่า "ประสกยังคงไม่เข้าใจ แม้ว่าขณะนี้เราทั้งสองล้วนอยู่ใต้สายฝน แต่อาตมาไม่เปียกเพราะมีร่มคุ้ม ส่วนประสกกลับเปียกปอนเพราะไร้ร่มกำบัง ดังนั้นมิใช่ว่าอาตมาไม่พาประสกไป แต่ประสกต้องเสาะหาร่มคุ้มฝนของตน เพื่อข้ามผ่านไปด้วยตนเอง"



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.pixgang.com

ปริศนาธรรม แบบเซ็น
หลบฝนอยู่ใต้ชายคา ไม่เปียกฝน หมายถึง พอใจในเพศฆารวาส ไม่ต้องการบรรลุธรรม หลุดพ้นจากห้วงทะเลทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด

ก้าวออกมานอกชายคา แล้วเปียกฝน หมายถึง แม้จะบวชเป็นบรรพชิต แต่มิได้บำเพ็ญเพียร  ฝึกปฏิบัติเจริญสติด้วยตนเอง ย่อมไม่อาจพ้นทุกข์ได้

จากคุณ    : รอเธอโสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2012, 11:06:20 pm โดย เท่ากับผลรวม »
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง เซ็น
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2012, 10:24:44 am »
0
อนุโมทนา สาธุ ครับมีเรื่องน่าติดตามอ่านเพิ่มเติม ได้ประดับปัญญา มากครับ

 :s_hi: :c017: :25:
บันทึกการเข้า