ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: QA "ถ้า อานาปานสติ เป็น มหาสติปัฏฐาน สมบูรณ์แล้ว ทำไมต้องเรียน กรรมฐานอื่น ๆ..."  (อ่าน 4048 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ

ปุจฉา
     ?? QA "ถ้า อานาปานสติ เป็น มหาสติปัฏฐาน สมบูรณ์แล้ว ทำไม ในกรรมฐาน มัชฌิมา ต้องเรียน กรรมฐานอื่น ๆ อีก "


วิสัชชนา

    <?<?<? ยังไม่ได้ตอบ รอให้ สมาชิกธรรม ร่วมตอบกันก่อน


 ;)

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การฝึก อะไร ก่อน อะไร หลัง นั้น ขึ้นอยู่ กับพระอาจารย์ผู้สอนครับ

  อย่าว่าแต่ อานาปานสติ เลยครับ สติปัฏฐาน 4 นั้น จะเรียน กาย ก่อน ก็ได้ เวทนา ก่อน ก็ได้ จิต ก่อน ก็ได้ ธรรม ก่อน ก็ได้

   ดังนั้น อานาปานสติ ถ้าเรียนจบได้จริง ในสายวิปัสสนา ก็ไม่ต้องฝึก รูปกรรมฐาน ต่อ ก้ได้ครับ

   แต่จำได้ว่า พระอาจารย์เคยกล่าวไว้ว่า

        ผู้ถึงพร้อม ด้วย อานาปานสติ ย่อม เจริญอนุสสติ ทั้ง 10 โดยธรรมชาต ของพระอริยะสาวก ครับ

   ถูกผิด น้อมรับคำแนะนำครับ

   :s_hi:
บันทึกการเข้า

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
504 อานาปานสติกับสติปัฏฐาน ๔

ปัญหา การเจริญอานาปานสติเกี่ยวข้องกับสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนอานนท์ สมัยใดภิกษุหายใจออกยาว รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าเห็นภายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวว่าลมหายใจเข้าออกนี้เป็นกายประเภทหนึ่ง
“ดูก่อนอานนท์ สมัยใดภิกษุย่อมตั้งใจสำเหนียกว่าเราจักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า-ออก เราจักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า-ออก สมัยนั้นภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวลาอยู่เพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวว่า การใส่ใจด้วยดีในลมหายใจเข้า-ออกเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง
“ดูก่อนอานนท์ สมัยใดภิกษุย่อมสำเหนียกว่าเราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า-ออก เราจักทำให้จิตบันเทิงหายใจเข้า-ออก เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า-ออก สมัยนั้นภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต...ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเรากล่าวว่า การเจริญอานาปานสติสมาธิ จะมีได้แก่ผู้มีสติหลงลืมและขาดสติสัมปชัญญะ
“ดูก่อนอานนท์ สมัยใดภิกษุตั้งใจศึกษาว่าเราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า-ออก...เราจักพิจารณาเห็นวิราคธรรมหายใจเข้า-ออก...เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า-ออก...สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่....”



กิมิลสูตร มหา. สํ. (๑๓๕๘-๑๓๖๑ )
ตบ. ๑๙ : ๔๐๙-๔๑๑ ตท. ๑๙ : ๓๗๔-๓๗๖
ตอ. K.S. ๕ : ๒๘๗-๒๘๘
http://www.84000.org/true/504.html


บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อานาปานสติ จัดว่าเป็นทั้งหมด ที่พระพุทธเจ้าสอนแล้ว นะจ๊ะ
เพราะ พระศาสดา พระองค์เองนั้นถึงสอนธรรม มากมาย แต่ พระธรรมที่ทรงปฏิบัติ ทุกวัน ก็คือ อานาปานสติ นะจ๊ะ เพื่อความเข้าใจจะแสดง สโตริกาญาณ 16 ให้เห็นก่อน จะได้ทราบว่าเป็น สติปัฏฐาน 4 ตรงส่วนไหนบ้าง


   อานาปานัสสะติ     
    กายานุปัสสนา
   1.เป็นผู้มีสติ หายใจเข้า  และ หายใจออก   
   2.หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็มีสติรู้ชัด ว่า หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว   
   3.หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็มีสติรู้ชัด ว่า หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น   
   4.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กาย ทั้งปวง หายใจเข้า และ หายใจออก   
   
   เวทนานุปัสสนา
   5.ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก   
   6.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ ทั้งหายใจเข้า หายใจออก   
   7.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก   
   8.ย่อมศึกษาว่า จักระงับ จิตตสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก   
   
   จิตตานุปัสสนา
    9.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนด รู้จิต ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   10.ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   11.ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   12.ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   
   ธรรมานุปัสสนา
   13.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   14.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   15.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   16.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
 
   อ่านเพิ่มเติมจากลิงก์
   
   อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา   
  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=811.0

 ที่นี้มีหลายท่านสงสัยว่า ทำไมกรรมฐาน มัชฌิมา จึงมีห้อง อนุสสติ 7 ต่อจาก พระอานาปานสติอีก คำตอบก็คือ เมื่อเจริญ อานาปานสติ คุณธรรมก็จะเข้าไปสู่ อนุสสติเอง ถึงแม้จะไม่รู้ขั้นตอนแต่ด้วยอำนาจญาณที่รู้ก็จะรู้ไปตามลำดับ ของอนุสสติ ที่เหลือ อันนี้ก็สำหรับท่านที่เจริญมุ่งหวังที่ การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน นะจ๊ะ

    แต่ก้มีส่วนหนึ่ง ยังไม่ต้องการบรรลุ จึงต้องดำเนินจิตไปตาม ฌาน แต่กรรมฐาน มัชฌิมา ก็สอนที่ ปัญจมฌาน ก่อนนะ

     คำตอบถึงแม้ จะดูชื่อกรรมฐาน มากมายก็จริง แต่ กรรมฐานนัันก็เป็นสภาวะ ลำดับขั้น ต่อเนื่องไป เป็นไปตามลำดับ นะจ๊ะ ขึ้นอยู่ผู้ฝึก จะมีกำลัง บารมีธรรมเป็น เจโตวิมุตติ หรือ ปัญญาวิมุตติ ด้วยนะจ๊ะ

    เจริญธรรม


    ;)

   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผู้ทื่ยังไม่รู้จักอานาปานั้น เป็นลมใน ไม่ใช่ลมนอก แบบลม(มนุษย์) ที่มี ปีติยุคล  หลังที่ได้ลมดับ ลมรอด ได้ลม หมุน (พระโยคาวจร)  ต่อไป คือลม หมุน นิมิต หมุนลมเข้าออก (ออกรูเดียว-เข้ารูเดียว) ชายหมุนขวา หญิงหมุนซ้าย  ลมดับลมลอด ได้ลม ใน ส่วนลมนอก ดึง ตอนอนุโลมปฏิโลม ย่อขยายกสิน ที่เป็นห้อง 4 ก็เพราะผู้ที่ผ่าน 1-2-3 และเข้าสะกดมา จึงจะมาถึงลมดับ ลมลอด ลมใน ความได้ลม
            อานาปาห้องสี่ไม่ใช่ ลมหายใจธรรมดา (ลมหายใจมนุษย์)แบบที่มนุษย์ เข้าใจ  เข้าใจผิดทั้งหมด
                 พ่อแม่ครูบาอาจารย์บางรูป ที่ดังๆก็เรียนที่วัดพลับนี่แหละเรียนห้อง 1-2-3 ที่นี่จบพุทธานุสสติ แล้วกลับไปต่อห้อง4กับหลวงพ่อที่อุบล ท่านยังเป็นมหานิกาย หลวงพ่อที่อุบลไม่สอนเพราะท่านได้เปลียนสีจีวรไปแล้ว ต้องไปเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับท่านๆจึงสอน หลวงพ่อที่เป็นอาจารย์ห้องสี่ไปมรณะภาพที่ลาว
  ทั้งสององค์เรียน ห้อง 1-2-3 ที่ว้ดพลับ
           อานาปา มหาสติ เป็นกรรมฐานของมหาบุรุษ ยากที่มนุษย์จะเข้าใจ ควรเรียนไปตามขั้นตอนนะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อานาปานสติ จัดว่าเป็นทั้งหมด ที่พระพุทธเจ้าสอนแล้ว นะจ๊ะ
เพราะ พระศาสดา พระองค์เองนั้นถึงสอนธรรม มากมาย แต่ พระธรรมที่ทรงปฏิบัติ ทุกวัน ก็คือ อานาปานสติ นะจ๊ะ เพื่อความเข้าใจจะแสดง สโตริกาญาณ 16 ให้เห็นก่อน จะได้ทราบว่าเป็น สติปัฏฐาน 4 ตรงส่วนไหนบ้าง


   อานาปานัสสะติ     
    กายานุปัสสนา
   1.เป็นผู้มีสติ หายใจเข้า  และ หายใจออก   
   2.หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็มีสติรู้ชัด ว่า หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว   
   3.หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็มีสติรู้ชัด ว่า หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น   
   4.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กาย ทั้งปวง หายใจเข้า และ หายใจออก   
   
   เวทนานุปัสสนา
   5.ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก   
   6.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ ทั้งหายใจเข้า หายใจออก   
   7.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก   
   8.ย่อมศึกษาว่า จักระงับ จิตตสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก   
   
   จิตตานุปัสสนา
    9.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนด รู้จิต ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   10.ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   11.ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   12.ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   
   ธรรมานุปัสสนา
   13.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   14.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   15.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
   16.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
 
   อ่านเพิ่มเติมจากลิงก์
   
   อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา   
  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=811.0

 ที่นี้มีหลายท่านสงสัยว่า ทำไมกรรมฐาน มัชฌิมา จึงมีห้อง อนุสสติ 7 ต่อจาก พระอานาปานสติอีก คำตอบก็คือ เมื่อเจริญ อานาปานสติ คุณธรรมก็จะเข้าไปสู่ อนุสสติเอง ถึงแม้จะไม่รู้ขั้นตอนแต่ด้วยอำนาจญาณที่รู้ก็จะรู้ไปตามลำดับ ของอนุสสติ ที่เหลือ อันนี้ก็สำหรับท่านที่เจริญมุ่งหวังที่ การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน นะจ๊ะ

    แต่ก้มีส่วนหนึ่ง ยังไม่ต้องการบรรลุ จึงต้องดำเนินจิตไปตาม ฌาน แต่กรรมฐาน มัชฌิมา ก็สอนที่ ปัญจมฌาน ก่อนนะ

     คำตอบถึงแม้ จะดูชื่อกรรมฐาน มากมายก็จริง แต่ กรรมฐานนัันก็เป็นสภาวะ ลำดับขั้น ต่อเนื่องไป เป็นไปตามลำดับ นะจ๊ะ ขึ้นอยู่ผู้ฝึก จะมีกำลัง บารมีธรรมเป็น เจโตวิมุตติ หรือ ปัญญาวิมุตติ ด้วยนะจ๊ะ

    เจริญธรรม


    ;)

   
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา