ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดิฉันมีความปารถนา ต้องการได้นิพพานในปัจจุบันชาติ ดิฉันควรทำอย่างไร ?  (อ่าน 4366 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ


ปุจฉา
     ?? เรียนถามพระคุณเจ้า ดิฉันมีความปารถนา ต้องการได้นิพพานในปัจจุบันชาติ ดิฉันควรทำอย่างไร ในการไปสู่นิพพาน นั้น ๆ คะ   


วิสัชชนา

    <?<?<? อนุโมทนาด้วยนะจ๊ะ ที่คุณโยมมีความปรารถนา อย่างนี้ ? ( เป็นอุปสมานุสสติ ) น้อยคงนักที่จะมีความปรารถนา ในนิพพาน แต่ก็มีหลายคน ปรารถนาในนิพพาน แต่ก็ เป็นอยู่สวนทางกับนิพพาน

    ตอบคำถามก่อน ว่าควรทำอย่างไร ?

     ควรตั้งมั่นใน อริยมรรค ( เส้นทางของพระอริยะ ) อันประกอบด้วย องค์ 8 ประการ

       
1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่  ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ  รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท  โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้  ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา  สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า  "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง  2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ)  หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ  และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้  เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย  และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น

2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา)  ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม
   (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย  1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ  ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท  ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)

3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ

4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม

5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ

6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ)  ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ  เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ  หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ  หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4.  เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น  และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ)  ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2.  การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต  4.การตั้งสติพิจารณาธรรม

8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ

   ดังนั้นหากมุ่งมั่นในการบรรลุธรรม คือ นิพพานในชาตินี้ ก็ต้องตั้งมั่นใน อริยมรรคทั้ง 8 ประการ



 ;)


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโทนา ครับ เวลาเข้ามาที่เว็บแล้วเห็นเนื้อเรื่องกรรมฐาน โดยตรงแล้วผมรู้สึกยินดีมากครับ ยิ่งเป้นโพสต์ที่พระอาจารย์โพนต์ด้วยแล้วตามอ่านครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :c017:ควรกล่าวลา พุทธภูมิ อธิฐาน เข้า สาวกภูมิ  และสวดมนต์ อุณหิสวิชชยะคาถา อยู่ใน หนังสือมนต์พิธี สวดวันละ 1 จบตอนเช้าทุกวัน สวดได้ แล้วจึงค่อยกล่าวลา พุทธภูมิ ก็ได้นะ สวดให้ได้ซะก่อน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ


ปุจฉา
     ?? เรียนถามพระคุณเจ้า ดิฉันมีความปารถนา ต้องการได้นิพพานในปัจจุบันชาติ ดิฉันควรทำอย่างไร ในการไปสู่นิพพาน นั้น ๆ คะ   


วิสัชชนา

    <?<?<? อนุโมทนาด้วยนะจ๊ะ ที่คุณโยมมีความปรารถนา อย่างนี้ ? ( เป็นอุปสมานุสสติ ) น้อยคงนักที่จะมีความปรารถนา ในนิพพาน แต่ก็มีหลายคน ปรารถนาในนิพพาน แต่ก็ เป็นอยู่สวนทางกับนิพพาน

    ตอบคำถามก่อน ว่าควรทำอย่างไร ?

     ควรตั้งมั่นใน อริยมรรค ( เส้นทางของพระอริยะ ) อันประกอบด้วย องค์ 8 ประการ

       
1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่  ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ  รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท  โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้  ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา  สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า  "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง  2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ)  หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ  และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้  เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย  และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น

2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา)  ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม
   (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย  1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ  ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท  ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)

3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ

4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม

5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ

6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ)  ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ  เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ  หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ  หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4.  เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น  และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ)  ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2.  การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต  4.การตั้งสติพิจารณาธรรม

8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ

   ดังนั้นหากมุ่งมั่นในการบรรลุธรรม คือ นิพพานในชาตินี้ ก็ต้องตั้งมั่นใน อริยมรรคทั้ง 8 ประการ



 ;)



บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

pornpimol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 152
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ คะ กับท่านที่มีความปรารถนาในาการออกจากสังสารวัฏ คะ
ที่อยากจะบอกก็คือ อย่าประมาทนะคะ ก่อนที่ครูอาจารย์ ที่พอจะสั่งสอนพวกเราได้ หายไปกันหมดนะคะ

 :s_hi: :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อาตมา ก็ยินดี กับทุกท่านที่มีความปรารถนา ในการออกจากสังสารวัฏ เมื่อมีความปรารถนาในส่วนนี้ ก็ขอให้ดำริในสัมมาสังกัปปะ ให้มากขึ้น นะจ๊ะ

  เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปรารถนา นิพพาน ย่อมมีในผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ไม่มากก็น้อย แต่ ถ้าปรารถนา อยากนิพพาน ในชาตินี้เลย จะทำอย่างไร กัน ครับ

   ควรมีแนวทางเฉพาะ ทางเลยใ่ช่หรือไม่ครับ

  และควรจะเริ่มปฏิับัติอย่างไร ในการที่เรามีความปรารถนา อย่างนี้

  :s_hi:
บันทึกการเข้า