ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติ สมาธ มีผลตามพระบาลีดังนี้คะ  (อ่าน 6489 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การปฏิบัติ สมาธ มีผลตามพระบาลีดังนี้คะ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2010, 11:20:26 am »
0
สมาธิง ภิกขะเว ภาเวถะ สะมาหิโต ยะถาภูตัง ปะชานาติ

ดูก่อน ภิกษุทั้งพวกเธอทั้งหลาย พึงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
ผู้ที่มีิจิตตั้งมั่นแล้ว ( มีสมาธิ ) ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
===========================================================
1.เห็นจิตที่ซัดส่าย ในอารมณ์เป็นความทุกข์ ( ทุกข์ )

2.เห็นจิตที่ส่งออกไปยึดอารมณ์ทั้งภายในและภายนอกเกิดความยินดี หรือยินร้าย ก็เป็นทุกข์ ( สมุทัย )

4.เห็นผลจากปล่อยว่าง ทำให้จิตสิ้นจากการปรุงแต่ง ( นิโรธ )

3.เห็นจิตที่เป็นสมาธิ นั้นสามารถ ปล่อยวางอารมณ์ต่าง ๆ ได้เป็นสัมมาสมาธิ ( มรรค )
===========================================================

เมื่อจิต เห็นตามเป็นจริง แล้ว ย่อมเข้าถึงความ ปล่อยวาง อุเบกขา ตามลำดับ

1. ปริิสุทธุเบกขา
2. ฌานุเบกขา
===========================================================
ส่วนอุเบกขา อื่น ๆ นั้น วานท่านสมาชิก เสริมต่อให้ด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติ สมาธ มีผลตามพระบาลีดังนี้คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 08:05:48 pm »
0

เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตถาคะโต เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาที มหาสมโณ


สิ่งเหล่าใดเกิดแต่เหตุพระตถาคต (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสเหตุของสิ่งเหล่านั้น
รวมทั้งความดับของสิ่งเหล่านั้นด้วย พระมหาสมณะได้ตรัสไว้อย่างนี้


(พระอัสสชิกล่าวแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมจากธรรมข้อนี้)
-------------------------------------------------

ขออนุญาตเอาใจอาจารย์สายทอง สักครั้ง อย่าว่ากันนะครับ
ขอเสนอวิปัสสนาญาณ ว่าด้วยอุเบกขาญาณ เชิญทัศนาเลยครับ

---------------------------------------------------

สังขารุเบกขานุปัสสนาญาณ
(สละเสียให้สิ้นอย่าเป็นห่วง)

   ญาณปัญญาอันใดเป็นไปด้วยอาการอุเบกขาใน สังขารธรรมทั้งหลาย มีโทษอันตนเห็นแล้ว ประดุจดังว่าบุรุษมีภรรยาอันตาย
   ญาณกำหนดรู้ด้วยการวางเฉยในรูปนาม กำหนดรู้ด้วยสุญญตะ ความว่างเปล่าจากตัวตน ว่างเปล่าจากนามรูป ว่างเปล่าจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

   สังขารุเบกขาญาณ นี้นั้นจะดำเนินไปหลายครั้งหลายคลาจนแก่กล้า ถ้าเห็นนิพพานอันเป็นทางสันติ โดยความสงบ ก็จะสลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารธรรมทุกประการ แล้วแล่นตรงไปสู่นิพพานเลยทีเดียว  หากยังไม่แก่กล้า ไม่เห็นนิพพานโดยความสงบ ก็จะมีสังขารเป็นอารมณ์อย่างเดียว วกวนกลับไป กลับมาแล้วกลับมาเล่าๆ เหมือนนกกาของพ่อค้าเดินทะเล



อุปมาด้วยนกกา ของพวกพ่อค้าเดินเรือทะเล

   เล่ากันว่าพวกพ่อค้าเดินเรือทะเลโบราณ เมื่อจะเดินเรือไปในทะเล ได้จับเอานกกาที่เรียกว่า ทิสากากะ คือกาผู้รู้ทิศทางไปด้วย เมื่อเรือถูกพายุ แล่นผิดทิศทาง ไม่แลเห็นฝั่ง พวกพ่อค้าก็จะปล่อยกาผู้รู้ทิศไป กานั้นไปเกาะที่เสากระโดงเรือ บินขึ้นสู่อากาศไปตามทิศน้อยใหญ่ ถ้าเห็นฝั่ง ก็จะบินมุ่งหน้าตรงขึ้นฝั่งทะเลไปเลย

   แต่ถ้าไม่เห็นฝั่ง มันก็บินมาเกาะที่ไม้เสากระโดงเรือ แล้วบินออกไป แล้วบินกลับมาเกาะแล้วๆเล่า สังขารุเบกขาญาณ ก็คล้ายกับนกกานั้นเช่นกัน
 
เรือ เปรียบด้วยรูปนามขันธ์ ๕
นกกา  เปรียบด้วย สังขารุเบกขาญาณถึงขั้นสุดยอด 
ฝั่ง เปรียบด้วย พระนิพพาน


ถ้ากำหนดแล้ว กำหนดเล่า กำหนดบ่อยๆ จนช่ำชองแก่กล้า และผ่านเข้าสู่ญาณเบื้องสูงเป็นวิปัสสนาญาณถึงขั้นสุดยอด  ขั้น วุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณ
 
พระอนุรุธเถรเจ้า กล่าวว่า วิปัสสนาถึงสุดยอด พร้อมทั้งอนุโลมญาณ นั้นคือ สังขารุเบกขาญาณ ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา

พระสุมังคลเถรเจ้า กล่าวอธิบายอีกว่า  สังขารุเบกขาญาณนั้นเอง ที่เรียกว่า สิขาปัตตา (ถึงขั้นสุดยอด) เพราะถึงขั้นสุดยอดของวิปัสสนาญาณ ฝ่ายโลกียะที่ว่าพร้อมด้วยอนุโลมญาณ เพราะรวมทั้งอนุโลมญาณ ซึ่งเป็นที่สุดของวิปัสสนาญาณโลกียะด้วย ที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ เพราะวางเฉยในสังขารธรรมทั้งหลาย และที่เรียกว่า วุฏฐานคามินี เพราะดำเนินไปสู่มรรค ที่เรียกว่า วุฏฐานะ เพราะ  ออกไปจากอบายภูมิเป็นต้นด้วย และออกไปจาก นิมิต คือ สังขาร รูปนาม
 
คำว่า วุฏฐาคามินี นี้เป็นชื่อของญาณทั้งสาม คือ สังขารุเบกขาญาณ ๑ อนุโลมญาณ ๑ โคตรภูมิญาณ ๑ ที่เรียกว่า  สิขาปัตตา เพราะถึงขั้นสุดยอด วิปัสสนาสูงสุด ในโลกียญาณ เพื่อให้เข้าใจความหมาย วุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณ โดยแจ่มแจ้ง ท่านเปรียบเทียบวิปัสสนาญาณด้วยอาการของค้างคาวดังต่อไปนี้


อุปมาด้วยค้างคาว

เล่ากันว่า ค้างคาวตัวหนึ่ง คิดจะไปกินดอก และผลที่ต้นไม้ จึงแอบอยู่ที่ต้นมะทรางที่มีกิ่งอยู่ ๕ กิ่ง เกาะกินอยู่กิ่งหนึ่งก่อน จนไม่เห็นมีดอกผลอะไร ที่จะเกาะกินได้ ณ กิ่งนั้นแล้ว ก็ย้ายไปกิ่งที่ ๒ กิ่งที่ ๓ กิ่งที่ ๔ กิ่งที่ ๕ จนไม่เห็นอะไรที่จะเกาะกินเหมือนกิ่งที่ ๑ แล้ว
 
ค้างคาวตนนั้นจึงคิดว่า ต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแล้ว จึงทอดอาลัยในต้นไม้ต้นนั้น แล้วไต่ขึ้นไปตามกิ่งตรงกิ่งที่ ๕ ชูหัวออกไปทางคาคบ แหงนดูขึ้นไปข้างบน แล้วโลดขึ้นไปบนอากาศ บินไปแอบอยู่ ณ ต้นไม้ผลอื่น

   ๑.  ค้างคาวเปรียบด้วย พระโยคาวจร ผู้ปฏิบัติถึง สังขารุเบกขาญาณ
   ๒. ต้นมะทราง ๕ กิ่ง คือ อุปาทานขันธ์ ๕
   ๓. ค้างคาวแอบอยู่บนต้นมะทราง คือการยึดขันธ์ ๕
   ๔.การกำหนดรูปขันธ์ แล้วเห็นว่าไม่มีอะไรยึดถือได้  จึงกำหนดรูปขันธ์อื่นต่อไป   เปรียบค้างคาวเกาะกินกิ่งหนึ่งไม่เห็นอะไร ก็ไปเกาะกินกิ่งอื่นต่อไป
   ๕. ค้างคาวทอดอาลัยในต้นไม้ ไม่มีผล เปรียบด้วย โยคีเบื่อหน่าย (นิพพิทาญาณ) ด้วย ไตรลักษณ์
   ๖. อนุโลมญาณ ของโยคี เปรียบด้วยค้างคาว ไต่ขึ้นไปตามกิ่งตรง
   ๗. โคตรภูญาณ  เปรียบด้วย การที่ค้างคางชูหัวออกไปแหงนดูขึ้น ไปข้างบน
   ๘.มรรคญาณ  เปรียบด้วย การที่ค้างคาว โลดไปในอากาศ
   ๙.ผลญาณ เปรียบด้วย การที่ค้างคาวตัวนั้น บินไปแอบอยู่ ณ ต้นไม้ต้นอื่น

อุปสรรคของการบรรลุ  สังขารุเบกญาณ ขั้นสูง มิสามารถผ่านไปสู่ญาณขั้นสูงอื่นๆได้ เพราะ
 
   ๑.เคยตั้งปณิธานปรารถนาพุทธภูมิไว้  และถ้าต้องการปฏิบัติให้บรรลุผ่านสังขารุเบกขาญาณ เอามรรคผล  ต้องตั้งสติกำหนดถอนปณิธานความปรารถนาพุทธภูมิ
   ๒.เคยล่วงเกินท่านบุรพการีเช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  บิดามารดา พระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ต้องทำพิธีขอขมาลาโทษก่อน
   ๓. เคยตำหนิติเตียนล่วงเกินพระอริยบุคคล  ต้องขอขมาตามวิธีการ
   ๔. เคยทำ อนันตริยกรรม มีฆ่าบิดามารดา เป็นต้น
   ๕. เป็นพระภิกษุต้องอาบัติปาราชิก  ถ้าอาบัติเล็กน้อยให้แสดงอาบัติ


สังขารุเบกขาญาณมีคุณสมบัติ ๖ ประการ

๑. ละความยินดี ยินร้าย ในรูป นามได้   
๒. ไม่ดีใจ เสียใจ มีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้รูปนาม พระไตรลักษณ์ได้ดี 
๓. วางเฉยในรูปนาม ไตรลักษณ์สังขารทั้งปวง
๔. ปัญญา ตั้งอยู่ได้นาน
๕. กำหนดรู้ ได้ละเอียดอ่อน
๖. เข้าถึงธรรม มีธรรมเป็นอำนาจ มีธรรมเป็นใหญ่


ที่มา
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ