ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อปฏิบัติเดินตามสายกลาง คือ มรรค แล้วจะได้อะไร ?  (อ่าน 3578 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


สภาวะมรรคผลนิพพาน
“ จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ “
บางตอนของบทสวดมนต์ที่ แปลว่า คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเป็นบุรุษได้ ๘ บุรุษ เป็นผู้ที่ควรเคารพกราบไหว้บูชา เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว ปฏิบัติสมควรแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพ้นจากทุกข์แล้ว เป็นประโยคข้อความที่บอกถึงบุคคลที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้มรรค ๔ ผล ๔ เป็นผู้ละจากสัญโยชน์(เครื่องร้อยรัด) ๑๐ ประการตามลำดับ จนเป็นพระอริยะสาวก เป็นผู้รู้ธรรมเห็นธรรมซึ่งมีถึง ๘ ขั้น ที่เราเรียกว่าพระอริยะเจ้า การทรงสภาวะเป็นผู้ปลอดภัยจากอบายภูมิ และเป็นผู้เที่ยงแท้ในพระนิพพาน ผู้มีจิตในระดับนี้ย่อมเป็นผู้บริโภคสุขทางกายอันอาศัยอามิส(ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งภายนอก) ลดน้อยลงไปตามลำดับ สามารถมีความสุขได้ยิ่งและมั่นคง เมื่อมีสภาวะธรรมสูงยิ่งๆขึ้นไป
ลำดับการเป็นอริยะเจ้านั้นมีดังนี้
๑. พระโสดาปัตติมรรค ๒. พระโสดาปัตติผล (ผู้ละสัญโยขน์ ๓ )
๓. พระสกิทาคามิมรรค ๔. พระสกิทาคามิผล ( ผู้ทำโลภะ โทษะ โมหะ ให้ เบาบางลงไปอีก จากขั้นแรก)
๕. พระอนาคามีมรรค ๖. พระอนาคามีผล (ผู้ละสัญโยชน์ ๕)
๗. พระอรหัตมรรค ๘. พระอรหัตผล (ผู้ละสัญโยชน์ ๑๐)

สำหรับในชั้นของพระอริยะที่มีคำลงท้ายว่า “มรรค” นั้นเป็นผู้ที่กำลังพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปเข้าสู่ความเป็นผล แต่ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะ ๔ ขั้นที่ความเป็นผลสมบูรณ์ในการละสัญโยชน์ ดังนี้

๑. พระโสดาปัตติผล หรือ พระโสดาบัน(ผู้เข้ากระแสพระนิพพาน) เป็นผู้ที่ดำรงค์ตนมั่นคงอยู่ในศีล ๕ ทั้ง กาย วาจา ใจ มีศีล ๕ เป็นอริยะกันตศีล อาจเป็นเช่นผู้ครองเรือนโดยทั่วๆไปที่มีครอบครัว ในระดับนี้ยังไม่มากพอในด้านสมาธิและปัญญา ในสภาพที่จะละกิเลสบางอย่างได้ โดยเป็นผู้ละจากสัญโยชน์ ๓ คือ
๑.๑ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดยึดมั่นในตัวตน) ละการยึดมั่นตัวตนว่าเป็นเราเป็นของเรา เพราะเห็นกฎของไตรลักษณ์ (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ของสรรพสิ่งทั้งหลาย เห็นเป็นเพียงรูปกับนามหรือเห็นธรรมชาติของธาตุเท่านั้น ลดความหลงไหลการยึดติดกับโลกธรรมภายนอกอย่างหยาบออกไป เห็นทรัพย์สมบัตินอกกายเป็นเพียงเครื่องอาศัย ยินดีเฉพาะที่ได้มาตามทำนองคลองธรรมตามเหตุปัจจัยอันสมควร
๑.๒ วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย ) หมดความสงสัยในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่ามีจริงหรือไม่? ตรัสรู้อะไร? พระธรรมคำสอนของพระองค์ว่าดับทุกข์ได้จริงไหม? พระอริยะเจ้าอริยะสงฆ์เป็นอย่างไร? ความไม่แน่ใจในปฏิปทาแนวทางที่ปฏิบัติอยู่ถูกต้องหรือไม่? รวมถึงกรรม,ผลของกรรมที่เป็นกฏของธรรมชาติที่บันทึกในจิต เห็นความสลายอุปาทานออกไปจากจิตอย่างไร เข้าใจในอริยสัจสี่ เห็นความทุกข์ที่ดับลงไปจากใจตามภูมิธรรมที่ตนเองเข้าถึง ประจักษ์ชัดกับใจตนเองในการถึงมรรคผลนิพพาน เมื่อหมดความลังเลสงสัย ความศรัทธาฝังแน่นอยู่ในจิตใจโดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ไม่หวั่นไหวคลอนแคลนแม้ตนเองจะต้องเสียชีวิตก็ตาม
๑.๓ สีลัพตปรามาส (การถือศีลพรต การเชื่อโชคลาง) ละความเชื่อในข้อวัตรปฏิบัติ ลัทธิหรือ ศาสนาอย่างผิดๆ พึ่งพาอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย เพราะเห็นธรรมชาติอันมีเหตุปัจจัยเป็นมูล
เมื่อสามารถละสัญโยชน์ ทั้ง ๓ อย่าง เป็นพระโสดาบัน จะเป็นผู้ที่ไม่มีความอิจฉาริษยา ไม่มีเล่ห์กระเท่ ไม่ลบหลู่คุณคน ไม่หวงแหนทรัพย์ภายนอกจนยึดติด อาจมีหรือไม่มีครอบครัวก็ได้ ถ้ามาเกิดในโลกนี้อย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ หรือถ้ามีความเพียร มีสมาธิ สติ มีปัญญามาก ก็จะกลับมาเกิดอีกเพียง ๑ ครั้งเท่านั้น ภาวะจิตในระดับนี้ไม่จะเสื่อมถอย จิตมีปัญญาที่จะพัฒนาตนเองได้แล้วมีแต่เจริญยิ่งๆขึ้นไป
อริยะบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัติผลมี ๓ ประเภทคือ
๑.๑ เอกพีซี คือ ผู้ที่เกิดอีกเพียง ๑ ครั้ง
๑.๒ โลกังโกละ คือ ผู้ที่เกิดอีกเพียง ๒ - ๓ ครั้ง
๑.๓ สัตตักขัตตุปรมะ คือ ผู้ที่กลับมาเกิดอีกไม่เกิน ๗ ครั้ง

๒. พระสกิทาคามิผล หรือ พระสกทาคามี (ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว) เป็นผู้ที่สามารถลด โลภะ โทษะ โมหะ ให้เบาบางลงไปอีกจนเกือบไม่มีความยินดีใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธัมมารมณ์ ชนิดหยาบๆ ทางโลกหลงเหลืออยู่เลย แต่ถ้าอยู่ในเพศฆราวาสก็อาจจะมีครอบครัวยังเป็นผู้ครองเรือน เพราะยังมีความติดอยู่ในภาวะของโลกอยู่บ้างแต่ไม่ยึดมั่นเป็นอุปาทานอย่างปุถุชนทั่วๆไป เมื่อกายสังขารแตกดับไปแล้วก็จะเป็นผู้ที่จะกลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียว

๓. พระอนาคามิผล หรือ พระอนาคามี เป็นผู้ที่ละสัญโยชน์ ๕ ข้อได้ คือ
๓.๑ ราคะ ความกำหนัดยินดีในสัมผัส
กามราคะ คือ ความกำหนัดหรือยินดีในกามคุณต่างๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
กามฉันทะ คือ ความชอบ ความพอใจในโลกีย์วิสัย
๓.๒ ปฏิฆะ คือ ความโกรธขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ
ชั้นนี้สามารถละความรักความยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทางโลกอันหยาบได้โดยสิ้นเชิง เป็นผู้หมดสภาพอารมณ์ทางกามราคะ,ปฏิฆะ หมดความโกรธแม้มีใครมาทำร้ายก็ไม่มีความโกรธขึ้นมาได้ เมื่อสังขารร่างกายแตกดับไปจะเป็นผู้ผุดเกิดบนสวรรค์ชั้นแดนสุทธาวาส รอการบรรลุเป็นพระอรหัตผลในขั้นสุดท้าย

๔. พระอรหัตผล หรือ พระอรหันต์ สามารถละสัญโยชน์ทั้ง ๑๐ ได้ โดยละเพิ่มอีก ๕ ข้อดังนี้
รูปราคะ คือ ความติดใจในรูปธรรม หรือ รูปฌาณ
อรูปราคะ คือ ความติดใจในอรูปธรรม หรือ อรูปฌาณ
ความมานะ คือ ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น ตนดี,เลวเสมอ กว่าคนนั้นคนนี้เป็นต้น
อุทธัจจะ คือ ความคิดพล่าน ฟุ้งซ่าน
อวิชชา คือ ความไม่รู้ หรือความรู้ที่ไม่จริง
ในขั้นนี้เป็นผู้เห็นอริยสัจ ๔ โดยสมบูรณ์ เป็นผู้สิ้นทุกข์ดับทุกข์ทางใจโดยสิ้นเชิง หรือหมดเชื้อเกิดนั่นเอง เป็นการจบกิจที่ต้องทำต่อตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญเพียรอีกต่อไป

-------------------------------------------------
นิพพานคืออะไร....ความหมายของนิพพาน.....

นิพพาน(อายตนะ)

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ(นิพพาน)นั้นมีอยู่ ในอายตนะนั้นไม่มีในดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีในอากาสานัญจายตนะ วิญยาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญยายตนะ ไม่มีโลกนี้ไม่มีโลกอื่น ไม่ในมีพระจันทร์ ไม่มีในพระอาทิตย์ทั้งสอง เราย่อมกล่าวอายตนะนั้นว่ามิใช่ก ารมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การจุติ มิใช่การเกิดขึ้น ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีความเป็นไป ไม่มีอารมณ์ นั่นแหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์”


"ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350)

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90)

"อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แ
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุขอบคุณกับกระทู้ดีๆที่ท่านโพสท์ครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ