ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกชอบกวน ตอนทำสมาธิและสวดมนต์ ควรทำอย่างไร.?  (อ่าน 2146 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ลูกชอบกวน ตอนทำสมาธิและสวดมนต์ ควรทำอย่างไร.?
ปุจฉา-วิสัชนา กับ พระไพศาล วิสาโล

คุนกุน ตะวัน ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ ปกติดิฉันกับสามีจะสวดมนต์นั่งสมาธิเป็นประจำค่ะตั้งแต่ยังไม่มีลูกคนเล็ก ที่บ้านไม่มีห้องพระส่วนตัวค่ะจะสวดมนต์ในห้องนอนตอนนี้มีลูกเล็กๆ หนึ่งขวบกว่า ลูกจะเดินวนไปมานั่งตักตอนสวดมนต์และนั่งสมาธิ ทำอย่างนี้ลูกจะติดกรรมหรือลูกจะบาปไหมคะที่รบกวนการสวดมนต์นั่งสมาธิของพ่อแม่ เขาไม่ฟังเพราะยังเล็กมากไม่รู้เรื่องค่ะ ห้ามก็จะร้อง รู้สึกไม่สบายใจเลยค่ะ

วิสัชนา : การที่ลูกเห็นพ่อแม่สวดมนต์และนั่งสมาธิตั้งแต่เล็ก เป็นเรื่องดี ภาพและบรรยากาศเช่นนี้ช่วยน้อมใจให้เด็กมีศรัทธาและมีนิสัยที่ดี หากคุณกีดกันเด็กหรือตำหนิเด็ก เด็กอาจจะมีความรู้สึกไม่ดีกับการสวดมนต์และการนั่งสมาธิของพ่อแม่ พอเห็นพ่อแม่ทำเช่นนั้นเมื่อใดก็จะรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาที่ตนเองถูกทอดทิ้งละเลย การที่เด็กมานัวเนียกับพ่อแม่ตอนนั้น ก็เพราะความรักความผูกพันพ่อแม่ ไม่ได้มีเจตนารบกวนพ่อแม่แต่อย่างใด ลูกของคุณยังไม่รู้ความ จึงไม่ควรถือสาเขา

สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่พฤติกรรมของเด็ก แต่อยู่ที่การวางใจของคุณต่างหาก ขณะที่คุณสวดมนต์และนั่งสมาธิ แทนที่จะส่งจิตออกนอก มัวหงุดหงิดกังวลกับพฤติกรรมของลูก คุณควรหมั่นดูใจของตน ตามดูรู้ทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น หากนั่งสมาธิแล้ว ปล่อยใจให้หงุดหงิดกังวล แสดงว่าคุณวางใจไม่ถูกแล้ว ถ้าวางใจเป็น ทำสมาธิถูกต้อง ไม่ว่ามีอะไรมารบกวน ใจก็ยังสงบอยู่ได้



ขอบคุณบทความจาก http://www.komchadluek.net/detail/20140818/190318.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ลูกชอบกวน ตอนทำสมาธิและสวดมนต์ ควรทำอย่างไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 11:10:18 am »
0
อันที่จริง น่าจะอยู่ที่ กาลมากกว่า หรือ ต้องการทำ ๆ ให้ใคร ๆ เห็น และ ยอมรับการกระทำของเราอย่างนั้นว่าถูก การเข้าถึงธรรม อยู่ที่บารมีธรรม พื้นฐานก่อนเกิดด้วย ทุกคนมีบารมีสั่งสมกันมาแต่ชาติก่อน ๆ ด้วย ไม่ใช่ว่า จะชอบธรรมะกันเสมอไป มีเด็กคนหนึ่ง พ่อแม่กินเหล้า เล่นการพนัน ติดยาเสพติด เป็นโจรลักขโมย แต่ลูกคนนี้ กับเป็นไผ่แตกกอ เป็นลูกไม้ไกลต้น เธอหันมาสวดมนต์ภาวนา นั่งกรรมฐาน และบวชเป็นสามเณร ตัดช่องน้อยจากพ่อแม่ออกมา จากลูกจำนวนหลายคน เป็นเพียงคนเดียว ที่ไม่ติดคุก ติดตะราง เหมือน คนอื่น ๆ

   คำตอบก็คือ อุปนิสัยของทุกคนมีในธรรม มากน้อย ขนาดไหน ที่สั่งสมกันมาแต่ละภพ แต่ละชาต ไม่ใช่ว่าจะอบรมกันได้ในชาติ นี้เสมอไป

  จากคำตอบ ธัมมะวังโส

 คำถามลักษณะนี้ผมเคยถาม มาครับนำเอาคำตอบมาเผยแพร่ บ้างแต่ไม่รู้จะถูกกาละเทศะ หรือ ป่าว

   :49: :49: :49:
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ลูกชอบกวน ตอนทำสมาธิและสวดมนต์ ควรทำอย่างไร.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 05:19:25 pm »
0


 st11           :25:           st12           :25:           thk56         
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ลูกชอบกวน ตอนทำสมาธิและสวดมนต์ ควรทำอย่างไร.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 10:00:07 pm »
0
อย่างนี้ น่าจะเริ่ม ที่ควรจะรู้กาลนะจ๊ะ รู้กาลเวลา ว่า  เวลาไหนสะดวกที่จะทำ หรือไม่ อย่างไร และบวกกับสัปปายะ ด้วยนะจ๊ะ  อย่างนี้ เรียก ไม่สัปปายะ จ๊ะ 

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

   สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย — suitable things; things favorable to mental development)
       1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ — suitable abode)
       2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป — suitable resort)
       3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ — suitable speech)
       4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ — suitable person)
       5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก — suitable food)
       6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น — suitable climate)
       7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี — suitable posture)

ข้อนี้ดูจะเข้ากันกับ
    อาวาสสัปปายะ ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ  ในที่นี้ ไม่ได้มีคนมากจอแจ  แต่เป็นคุณลูกมาจอแจ แต่อาจจะไม่โดนคุณลูกมาจอแจ  ตอนที่คุณลูกหลับ
บันทึกการเข้า

suwannasut

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 10
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ลูกชอบกวน ตอนทำสมาธิและสวดมนต์ ควรทำอย่างไร.?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2014, 10:35:04 pm »
0
 :) st12
บันทึกการเข้า