ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การฟังธรรม แล้ว บรรลุธรรม นี้ทำอย่างไรครับ  (อ่าน 4482 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้อ่านประวัติในพระพุทธประวัติ แล้ว ก็ชื่นชมกับบุคคลสมัยก่อนมากคะ ว่าบรรลุธรรมได้ง่ายเพราะการฟัง

ก็เลยสงสัยว่า แล้วเราเอง จะฟัีงธรรมให้บรรลุธรรม นั้นทำอย่้างไร จึงจะฟังแล้วบรรลุได้

ซึ่งความเข้าใจ ก็คือ ไม่ต้องภาวนา สมถะ หรือ วิปัสสนา อันใด ก็สามารถบรรลุธรรมได้

ดังนั้น เราควรทำอย่างไร ถึงจะเป็นการฟังที่ถูกต้อง เพื่อการบรรลุธรรมจากการฟังได้ คะ

 :25:
บันทึกการเข้า

นิด_หน่อย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 90
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฟังธรรม แล้ว บรรลุธรรม นี้ทำอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 11:36:41 am »
0
พระอานนท์ ท่านฟังมาก นะคะ เป็นพหูสูตร ด้วย

ฟังแล้วยังไม่บรรลุธรรม

นิด_หน่อย คิดว่า การฟังธรรมอย่างเดียวยังบรรลุธรรม ไม่ได้หรอกคะ ต้องมีบารมีเต็มด้วยคะ
 :25:
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ จะท่องให้ขึ้นใจ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฟังธรรม แล้ว บรรลุธรรม นี้ทำอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 01:42:46 pm »
0
ในระหว่างการฟัง ถ้าจำไม่ผิดจะมีการกำหนด วิถีธรรม 2 อย่างคะ

1. โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

2. นิสัมมะกะระณังเสยโย กระทำให้เกิดการรู้แจ้ง

เรื่องของ บารมี น่าจะมีส่วนน่าจะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการสั่งสมบารมีไว้แล้ว

   เช่นพระปัญจวัคคีย์ พระสารีบุตร ทั้ง 5 เป็นต้น จัดเป็นอุคคิตัญญู

   

    :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฟังธรรม แล้ว บรรลุธรรม นี้ทำอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 08:21:28 am »
0
ได้อ่านประวัติในพระพุทธประวัติ แล้ว ก็ชื่นชมกับบุคคลสมัยก่อนมากคะ ว่าบรรลุธรรมได้ง่ายเพราะการฟัง

ก็เลยสงสัยว่า แล้วเราเอง จะฟัีงธรรมให้บรรลุธรรม นั้นทำอย่้างไร จึงจะฟังแล้วบรรลุได้

ซึ่งความเข้าใจ ก็คือ ไม่ต้องภาวนา สมถะ หรือ วิปัสสนา อันใด ก็สามารถบรรลุธรรมได้

ดังนั้น เราควรทำอย่างไร ถึงจะเป็นการฟังที่ถูกต้อง เพื่อการบรรลุธรรมจากการฟังได้ คะ

 :25:

การบรรลุธรรม ต้องใช้ สมถะและวิปัสสนา เป็นเครื่องมือ

คนสมัยพุทธกาลน่าจะ มีบุญเก่า(การทำสมถะและวิปัสสนา)

ติดตัวมาจากชาติก่อนๆ หรือที่เรียกว่า บารมีนั่นเอง

การฟังให้บรรลุธรรม ก็ต้องปฏิบัติไปด้วย ก็คือ ทำสมถะและวิปัสสนา นั่นเอง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ฟังธรรมอย่างไรให้บรรลุธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 08:38:56 am »
0
ฟังธรรมอย่างไรให้บรรลุธรรม


การฟังธรรม เขาฟังกันอย่างไร ในพระบาลีกล่าวว่า “สุสสูสัง ละภะเต ปัญญัง”
แปลว่า การฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา


แสดงว่าเวลาเขาฟังกันนะ เขาฟังกันแล้วเขาก็คิดใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ท่านพระโมคคัลลาน์มีปัญญามาก บวชเข้ามา 7 วัน ก็เป็นพระอรหันต์ และอีกองค์หนึ่งคือพระสารีบุตร 15 วันเป็นพระอรหันต์ แต่สำหรับท่านที่มีปัญญาน้อย คือบริวารของท่าน ฟังเทศน์จบเดียวก็เป็นพระอรหันต์

วิธีฟังนั้นไม่สำคัญ ฟังก็คือใช้หูฟัง แต่ว่าการฟังที่ใช้หูฟังเฉย ๆ นั่นมันไม่มีประโยชน์ถ้าเราจะฟังใช้สัญญา เป็นความจำ เช่น จำว่า ธาตุ 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ แล้วก็ธาติ 4 มาประชุมกันชั่วคราว ต่อไปก็มีความเสื่อม แล้วก็มีการสลายตัว แล้วก็จำได้เท่านี้ อย่างนี้เรียกว่า สัญญา จึงไม่มีการบรรลุมรรคผล

ท่านทั้งหลายที่ฟังธรรมจากองค์สมเด็จพระทศพล ท่านคิดตามจึงได้บรรลุมรรคผล

ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัท และภิกษุสามเณรทั้งหลาย อ่านแล้วก็จำ จำแล้วก็หมั่นคิด จิตของท่านจะตัดลงไปทีละน้อย ๆ อย่าเพิ่งประนามตัวของเราเองว่ามันไม่สามารถจะทำได้ จงคิดไว้เสมอว่า ท่านทั้งหลายที่เป็นพระอริยเจ้าได้ ท่านก็มีอาการ 32 เหมือนเรา พูดได้เดินได้เหมือนเราแต่ว่าท่านเหล่านั้น มีความไม่ประมาทในชีวิต มีความคิดที่จะตัด ที่จะละอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดอารมณ์จิตก็ชิน ชินแล้วก็ปรากฎว่า จิตก็ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้ ***

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะมีประโยชน์กับท่านผู้เข้ามาอ่านไม่มากก็น้อยนะครับ

(คัดลอกจากหนังสือ พ่อรักลูก โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง)
ที่มา  http://board.palungjit.com/f23/ฟังธรรมอย่างไรให้บรรลุธรรม-188364.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ในระหว่างการฟัง ถ้าจำไม่ผิดจะมีการกำหนด วิถีธรรม 2 อย่างคะ

1. โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

2. นิสัมมะกะระณังเสยโย กระทำให้เกิดการรู้แจ้ง

เรื่องของ บารมี น่าจะมีส่วนน่าจะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการสั่งสมบารมีไว้แล้ว

   เช่นพระปัญจวัคคีย์ พระสารีบุตร ทั้ง 5 เป็นต้น จัดเป็นอุคคิตัญญู

   

    :25:

ไม่มีธรรมอื่นอีกแล้ว ที่ขจัดข้อสงสัยได้เหมือน “โยนิโสมนสิการ”


หากท่านใด มีข้อสงสัยในข้อธรรมใดๆ พระพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้ โยนิโสมนสิการ
แก้ข้อสงสัยนั้น เพื่อนๆท่านใดยังไม่เข้าใจคำว่า “โยนิโสมนสิการ” เชิญพิจารณาได้เลยครับ

โยนิโสมนสิการ  การใช้ความคิดถูกวิธี คือ
- การกระทำในใจโดยแยบคาย
- มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย
- แยกแยะออก พิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบ และโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
- โยนิโสมนสิการนี้ อยู่ใน ฝ่ายปัญญา


พระพุทธพจน์ที่กล่าวถึง โยนิโสมนสิการ มีดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค(มรรคมีองค์ ๘) แก่ภิกษุ ฉันนั้น

“เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

“โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

ธรรมข้ออื่น ที่ได้รับยกย่องคล้ายกับโยนิโสมนสิการนี้ ในบางแง่ ได้แก่
อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท),
วิริยารัมภะ (การปรารภความเพียร, ทำความเพียรมุ่งมั่น),
อัปปิจฉตา (ความมักน้อย, ไม่เห็นแก่ได้),
สันตุฏฐี (ความสันโดษ),
สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว, สำนึกตระหนักชัดด้วยปัญญา);
กุสลธัมมานุโยค (การหมั่นประกอบกุศลธรรม);
ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ),
อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว),
ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ),
และ อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งอัปปมาทะ)


อ้างอิง   สํ.ม.๑๙/๕-๑๒๙/๒-๓๖; องฺ.เอก.๒๐/๖๐-๑๘๖/๑๓-๔๑; ขุ.อิติ. ๒๕/๑๙๔/๒๓๖
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)



พุทธศาสนสุภาษิต

นิสมฺม กรณํ เสยฺโย (อ่านว่า นิดสำมะ กะระนัง เสยโย)
 
ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า

ที่มา http://www.oknation.net/blog/Atata/2009/10/30/entry-1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2010, 08:49:31 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ