ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ละสังขาร หมายความอย่างไร  (อ่าน 11852 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ละสังขาร หมายความอย่างไร
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2013, 10:01:51 am »
0
ละสังขาร หมายความว่าอย่างไร

   บางที่ ก็หมาย ถึง ตาย

   บางที่ ก็หมาย ถึง การละกิเลส

 สรุปแล้ว คือ ความหมายไหน กันครับ

    :s_hi: :49:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ละสังขาร หมายความอย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2013, 10:06:23 am »
0
น่าจะหมายถึง การมรณะภาพ เสียมากกว่า ละ กิเลส ครับ

 :s_hi:
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ละสังขาร หมายความอย่างไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 07:04:10 am »
0
ละ แปลว่า หมาย ว่า จาก ไม่เอา คืน ทอดทิ้ง
สังขาร แปลว่า การปรุงแต่ง
สังขาร ที่หมายถึง อัตภาพ กาย

  ดังนั้น ต่อเอาเอง นะคะ ใช่หรือ ไม่ ก็เพิ่มเติมความรู้กันด้วยนะคะ

   :34: :bedtime2:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ละสังขาร หมายความอย่างไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 08:09:34 pm »
0

ละ
ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ;
    ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ;
    เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย
    หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ...
    หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ ละ แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน.
ว. คําประกอบคํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.


สังขาร, สังขาร-
    [-ขาน, -ขาระ-, -ขานระ-]
     น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง;
         ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ).
     ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.


มรณภาพ
    [มอระนะพาบ] น. ความตาย.
         ก. ตาย (ใช้แก่พระสงฆ์).

______________________________________
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพจาก http://acsrband86.files.wordpress.com/



สังขาร
   1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด,
       ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น

   2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว,
       ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น;
       อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ
           ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา
           ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา
           ๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา

   3. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ
           ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
           ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร
           ๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา


สังขาร ๒
คือ
       ๑. อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง
       ๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง,
       โดยปริยายแปลว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

______________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.ezytrip.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 17, 2013, 08:11:45 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ละสังขาร หมายความอย่างไร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 08:20:17 pm »
0


 ask1 ask1 ask1
กระทู้ของคุณจิ้งจก
   ผมมีความสงสัยว่า เราจะใช้คำว่า "ละสังขาร" กับใครที่ตายในกรณีใดบ้าง
   เพราะผมอ่านเจอในบทความหลายบทความทั้งพระทั้งบุคคลทั่วไป ใช้คำว่า "ละสังขาร" กันไปทั่ว (ใช้กันมั่วไปหมด)
   เพราะผมรับรู้มาตั้งแต่เกิดว่า พระใช้คำว่า "มรณภาพ"
   แล้วไปๆ มาๆ ผมมาอ่านเจอในบทความต่างๆ ใช้กับพระว่า "ละสังขาร" ผมเลยเกิดความสงสัย
   ในขณะเดียวกันไปอ่านเว็บต่างๆ บทความที่กล่าวถึงอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ก็ใช้คำว่า "ละสังขาร" เช่นเดียวกัน


    ถ้าอย่างนั้นนั่นหมายความว่า อาการของการละสังขาร ต่างจาก มรณภาพ หรือตาย หรือเสียชีวิต เช่นนั้นหรือ แล้วอาการละสังขารต่างจากการเสียชีวิตทั่วไปอย่างไร เป็นโรคชราแล้วนอนหมดลมไปก็ "ละสังขาร" ตายเพราะโรคลมปัจจุบันล้มหัวฟาดพื้นไปก็ "ละสังขาร" นั่งสมาธิจนเสียชีวิตไปก็ "ละสังขาร" เป็นโรคตายคือ เป็นมะเร็ง อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด จนเสียชีวิต ฯลฯ ก็ "ละสังขาร" นอนชักดิ้นชักงอ ลิ้นจุกปากเสียชีวิตไปก็ "ละสังขาร"


 ans1 ans1 ans1
ความเห็นของคุณรณธรรม ธาราพันธุ์
ละ เป็นคำกริยา หมายถึงอาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกันอยู่ เช่น ละถิ่นกำเนิด ละบ้าน ละจากสมณเพศ เป็นต้น
สังขาร เป็นคำนาม แปลว่า ร่างกาย ตัวตน สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายกับจิตใจรวมกัน


เมื่อต้องการสื่อให้เห็นว่า "จิตใจ" ถูกแยกออกจาก "ร่างกาย" โดยสิ้นเชิงถาวรไม่ย้อนกลับคืน ก็อาศัยหลักของภาษาทำการ "สมาส" คำทั้งสองเข้าด้วยกันเป็น "ละสังขาร" หมายถึง การที่จิตแยกตัวพ้นไปจากร่างกาย

    ทีนี้คำว่า ละสังขาร นั้นเป็นคำที่ถูกปรุงขึ้นใหม่ มิได้มีมาแต่เก่า และมิใช่คำราชาศัพท์
    ดังนั้น คำนี้จึงสามารถใช้ได้กับทุกคนทุกเพศวัยครับ ไม่จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นพระสงฆ์เท่านั้นจึงจะใช้ได้ ต้องเป็นผู้มีอิสริยยศเท่านั้นจึงจะได้ใช้ หรือฆราวาสเท่านั้นที่ควรใช้
    เหตุเพราะเป็นคำกลางๆ ที่ชี้ให้เห็นลักษณะที่ว่า "จิต" ออกไปจาก "กาย" แล้ว เท่านั้นครับ


ที่มา http://www.navaraht.com/forum/forum40/topic709.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ละสังขาร หมายความอย่างไร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 08:40:00 pm »
0


หลวงตาพระมหาบัว ละสังขาร มรณภาพหรือนิพพาน

งานพระราชทานเพลิงสรีระหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน กำหนดไว้ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2554 ณ เมรุชั่วคราววักป่าบ้านตาด หากนับจากวันมรณภาพเป็นเวลาเพียงเดือนเศษๆเท่านั้น ในวันมรณภาพของหลวงตานั้นสื่อต่างๆส่วนมากจะใช้คำว่า “ละสังขาร”ซึ่งแตกต่างจากที่ใช้เรียกพระสงฆ์รูปอื่นๆซึ่งนิยมเรียกว่า“มรณภาพ”

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์2554 ที่ผ่านมาก็มีข่าว "พระพรหมกวี"พระเถระระดับรองสมเด็จพระราชาคณะมรณภาพ หนังสือพิมพ์ต่างก็ใช้คำว่า “มรณภาพ”ไม่เห็นมีสื่อไหนใช้คำว่า “ละสังขาร”เหมือนกับที่ใช้กับหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโนเลย

ทั้งๆที่หากนับตามสมณศักดิ์แล้ว "พระพรหมกวี"เป็นพระเถระระดับรองสมเด็จพระราชาคณะ ในขณะที่ “พระธรรมวิสุทธิมงคล”มีสมณศักดิ์ชั้นธรรม หากได้เลื่อนอีกขั้นจึงจะเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ เริ่มต้นปีได้ไม่ถึงสองเดือนคณะสงฆ์ไทยก็ต้องสูญเสียพระเถระไปถึงสองรูป

    คำว่า “มรณ” เป็นคำนามนปุงสกลิงค์แปลว่า “ความตาย” ใช้กับพระสงฆ์
    ในขณะที่คนธรรมดาเรียกว่า ตาย สิ้นชีวิต สิ้นใจ 
    ส่วนสมเด็จพระสังฆราชใช้คำว่า “สิ้นพระชนม์”
    ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตไม่มีคำว่า “ละสังขาร”อยู่เลย

    หากวิเคราะห์ตามสภาวะที่คนทั่วไปเข้าใจกันก็ต้องบอกว่า คำว่า “ละสังขาร”ใช้เรียกสื่อความหมายไปในทางที่บุคคลนั้น “อาจจะ”เป็นพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีใครยืนยันได้ เพราะถ้าสื่อทั้งหลายมั่นใจว่าหลวงตาเป็นพระอรหันต์ก็ต้องใช้คำว่า “นิพพาน”แสดงว่าแม้แต่สื่อทั้งหลายก็ยังลังเล แต่ลังเลไปในทางที่ค่อนข้างจะเชื่อว่าหลวงตามหาบัวนั้นเป็นพระอรหันต์จริง



ส่วนคำว่า “ปรินิพพาน” นิยมใช้เรียกเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ว่าในพระไตรปิฏกจะใช้เรียกพระเถระบางรูปเหมือนกันดังที่ปรากฎในพักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ (13/387/201)ความว่า       
     “ครั้งนั้นแลท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานแล้วในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ท่านพระกัสสปกล่าวว่า ข้อที่ท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานแล้วในท่ามกลางภิกษุสงฆ์นี้  พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ของท่านพระพักกุละ”
     ชาวพุทธส่วนมากก็ยังสงวนคำว่า “ปรินิพพาน” ไว้เป็นศัพท์เฉพาะของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
     ส่วนพระสาวกรูปอื่นนิยมใช้คำว่า “นิพพาน”


หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโนหรือพระธรรมวิสุทธิมงคลนั้นท่านยืนยันด้วยตัวท่านเองหลายครั้งหลายคนว่าท่านหมดกิเลสแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว ดังที่ปรากฎในคำเทศนาของหลวงตาที่เทศน์อบรมพระสงฆ์ ณ วัดป่าบ้านตาดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2552 เวลาประมาณ 17.30 น.เรื่อง “การฆ่ากิเลสได้เสร็จสิ้น” มีข้อความตอนหนึ่งที่หลวงตาบอกว่าหมดกิเลสแล้วความว่า

    “นี่พูดจริงๆ สุดท้ายล่ะ ได้พูดให้หมู่เพื่อนฟัง ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ในเรื่องที่จะมาเกิดมาตายซ้ำๆซากๆอยู่หมดในหัวใจ เปิดโล่งหมดแล้ว หายสงสัย ไม่มี เรียกว่า “วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ กตํ กรณียํ”  พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำก็คือการแก้กิเลส ฆ่ากิเลสได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะยิ่งกว่าการแก้กิเลสนี้ไม่มี ถ้าลงถึงที่นี่แล้วสบาย ไม่มีอะไรมาขัดข้องหัวใจ ใจไม่มีอารมณ์กับอะไร อยู่สะดวกสบายไปเลย
      นี้ก็เดชะนะได้มาเป็นครูเป็นอาจารย์ของหมู่ของเพื่อนให้ได้อาศัย เพราะภายในนี้มันเปิดโล่งหมดแล้ว เราหายสงสัยหมด ไม่มีอะไรที่จะติดในหัวใจ โล่งหมดเลย โลกวิทู โลกนอกโลกใน โลกผีโลกคน โลกนรกอเวจีตลอดถึงนิพพานมันแจ้งอยู่ในหัวใจนี้แล้วสบาย ไม่มีอะไรข้องใจ นี่เรียกว่าจิตว่างงาน ถ้าฆ่ากิเลสหมดแล้วจิตก็ว่างงาน ไม่มีงานทำ ไปที่ไหนก็โล่งตลอด ไม่คิดเลยว่าจะมีงานนั้นมาทำงานนี้มาทำไม่มี งานอันนี้เป็นงานโล่งหมดเลย ฆ่ากิเลสให้สิ้นซากไปหมดแล้วโล่ง ไม่มีอะไรเลยละ”

______________________________________________________
แหล่งที่มา http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=3859&CatID=2



คำว่า "ละสังขาร" ก็มีอ้างไว้ในการเทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2551 เรื่อง “สติอยู่กับพุทโธ” มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า
    “เอาพุทโธมาบังคับ บริกรรมพุทโธๆ ไม่ให้คิด สักเดี๋ยวจิตค่อยสงบลง เป็นระยะสงบลงแล้วถ้าจะพักนอน เอา นอนได้ พอถอนออกมาถ้าจะสงบให้เป็นสมาธิก็เป็นได้ทันที พอถอยออกมาปั๊บนี่ใส่เลยพุ่งๆ เลย มีกำลังวังชาจิตที่ได้พักตัว ถ้าไม่ได้พักไม่ได้ สมาธิเป็นเรือนพักของจิตของสติปัญญา เวลาทำหน้าที่อย่างเผ็ดร้อนต้องเอาสมาธิคือความสงบใจมาบังคับ
     เพราะฉะนั้นจึงต้องเอาพุทโธมาบังคับให้อยู่กับพุทโธ จิตก็สงบ ทีนี้จะหลับก็หลับได้ในระยะนั้น ไม่หลับจะปล่อยให้ลงรวมเป็นจิตสงบเลยก็ได้ในระยะนั้น พอถอยจากนั้นแล้วก็ออกทางด้านสติปัญญาพุ่งๆๆ เลย นั่นละธรรมพระพุทธเจ้าว่าสวากขาตธรรมตรัสไว้ชอบ ขอให้ปฏิบัติจะเป็นอย่างนั้นสดๆ ร้อนๆ ไม่ผิด ถ้าปฏิบัติให้ถูกทางตามศาสดาสอนไว้แล้วจะเป็นอย่างนั้น ถ้าปฏิบัติสุ่มสี่สุ่มห้ามันไม่ได้หน้าได้หลังอะไร เอาละ (ถ้าหลวงตาละสังขารพวกเราจะอาศัยใคร)อาศัยเราเอง ก็เรายังไม่ตายเข้าใจไหม ผู้ท่านตายไปแล้วก็ตายไป เรายังไม่ตายเราก็อาศัยสังขารของเรา ฯลฯ

______________________________________________________
แหล่งที่มา www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=4900&CatID=2

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=414&catid=5&Itemid=14
http://www.bangkokbiznews.com/ , http://www.jobmarket.co.th/
เผยแพร่เมื่อ วันอาทิตย์, 27 กุมภาพันธ์ 2554 20:17
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ละสังขาร หมายความอย่างไร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2013, 09:36:33 pm »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า