ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - arlogo
หน้า: [1] 2 3 ... 6
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จะรักษาแก่นได้ เปลือก กับ กระพี้ ต้องมีอยู่ ต้นไม้ถึงจะรอด เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2017, 10:01:22 am
ต้นไม้ ไม่ได้อยู่ด้วยแก่นอย่างเดียว
ต้นไม้ จะอยู่ได้ ต้องมีเปลือก และ กระพี้ อยู่ด้วย
ต้นไม้ ที่ไม่มีเปลือก ไม่มีกระพี้ คือต้นไม้ที่ถูกเขาตัดทำลายแล้ว
ดังนั้น ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า แม้มุ่งโลกุตตระ ก็ใช่ ว่า โลกียะนั้นไม่สำคัญ ดังนั้นข้อความธรรม พื้นฐานการเป็นมุนษย์ จึงมีอยู่ในคำสอน
ซึ่งพระพุทธเจ้า พระองค์ ก็จะสอนไปตามลำดับ ตั้งแต่ ทาน สีล สัคคะ อาทีนวะ เนกขัมมะ อย่างนี้เสมอ ๆ
ท่านที่เริ่มศึกษาใหม่ ไม่เข้าใจก็ควรจะเริ่ม จาก ทาน ไปก่อน เมื่อสร้างทาน ดีแล้วเข้าใจ ก็ค่อยเขยิบ ขึ้นมาตาม ฐานะและสาระ ที่ทำได้อยากสุด คือ เนกขัมมะ เพราะ เนกขัมมะ นั้น คือการบรรลุธรรม ด้วย มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนา อันใคร ๆ ผู้ที่ได้ พัฒนาตน ตาม มรรค มีองค์ 8 พร้อม ทั้งทำความเข้าใจ ใน อริยสัจจะ 4 แล้ว ย่อมสามารถไปได้
หลักคำสอนของศาสนาพุทธ จึงไม่ต้องเรียนมากมาย ถ้าต้องการภาวนา จริง ๆ


อนุปุพพิกถา หมายถึง เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังธรรมชั้นสูง คือ อริยสัจ มี ๕ ประการ คือ

๑. ทานกถา กล่าวคือทาน หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการให้ทานและอานิสงส์ของการให้ทาน ว่าเป็นเหตุให้ได้รับความสุข เพราะผู้รู้จักให้เป็นที่รักใคร่ของคนหมู่มาก เป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง เป็นหลักประกันของชีวิตในเวลาจะสิ้นใจเป็นต้น

๒. สีลกถา กล่าวคือศีล หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการรักษาศีลและอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้มีศีล ย่อมไม่ประสบความเดือดร้อนเนื้อร้อนใจจากที่ไหนๆ เพราะมีศีลเป็นเหมือนอาภรณ์อย่างประเสริฐ เป็นหลักประกันในการได้สมบัติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นต้น

๓.  สัคคกถา กล่าวคือสวรรค์ หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องสวรรค์ว่า เป็นที่อันเพรียบพร้อมด้วยกามสุขอันเป็นทิพย์มีแต่สิ่งที่น่ารื่นเริงบันเทิงเริงใจ เป็นผลที่ได้รับจากการให้ทาน รักษาศีล เป้นต้น

๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม หมายถึง การพรรณนาโทษเรื่องของกามว่า แม้จะเป็นความสุข แต่ก็มีความทุกข์เจือปน ไม่มีความจีรังยังยืน มีโทษมากแต่คุณน้อย เพราะเป็นเหตุให้เวียนวายอยู่ในสังสารวัฏ เป็นต้น

๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม หมายถึง การพรรณนาถึงการออกจากกามและอานิสงส์ว่าเป็นความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน เพื่อให้เกิดความพอใจที่จะคิดค้นหาวิธีการทำใจไม่ให้หมกมุ่นในกามนั้น วิธีการออกจากกามให้ได้ผลดีก็คือการออกบวชบำเพ็ญเพียร
2  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามที่ไม่มี คำตอบ มันก็มีอยู่ ไม่ใช่ถามมาแล้วต้องตอบ เป็นสิทธิ์ของผู้ตอบ เมื่อ: สิงหาคม 22, 2016, 01:52:47 pm
คำถาม นั้นถามได้ แต่ทุกคำถาม ถึงตอบได้ก็ใช่ว่าจะต้องตอบต้องพิจารณาถึงฐานะผู้ที่จะรับคำตอบด้วย เพราะคำตอบ ๆ ออกไปแล้ว ไม่มีฐานะที่จะเข้าใจ ก็ไม่มีทางเข้าใจ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงนั้น มีส่วนสองอย่าง 3 อย่างคือ
1.พยัญชนะ คืออักษรข้อความ ที่ปรากฏสื่อถึงใคร ๆ เป็นผู้สมควร พระไตรปิฏกทั้งเล่มไม่ใช่ ใครๆ ทุกคนก็จะอ่านได้และเข้าใจได้ทั้งหมด
2.อรรถะ คือ ความหมายของพยัญชนะ ที่ต้องอธิบายแต่ก็มีจำกัดอีก เพราะข้อธรรมบางอย่าง อาศัยแค่ ญาณ เกินขอบเขตที่อธิบาย
3.ญาณทัศนะ อันนี้ตรงเลย คือการมองเห็นตามสภาวะความเป็นจริงในธรรมนั้น และสภาวะนั้นอย่างชัดแจ้ง

ดังนั้นใช่ว่า ท่านถามกันมาแล้วฉันจะต้องตอบ ถ้าฉันพิจารณาแล้ว เป็นญาณทัศศนะ ก็ไม่ควรจะต้องเพราะตอบไปก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าใช้แต่เพียงแต่สมองคือสัญญา และ สังขาร เป็นตัวถาม ไม่ได้จิตวิญญาณเป็นตัวถาม

ถ้าใช้แค่สมอง ถามก็เป็นแค่ความพอใจ และ ความพอใจ ไมีมีเรื่องสิ้นสุดในคำตอบนั้น ๆ

เจริญธรรม / เจริญพร


3  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 ) เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2016, 09:21:24 am



ประเดิมธรรม วันแรก หลังจากอธิษฐาน เข้าพรรษา เมื่อวานนี้

  อิมัสสมิง อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ
 ข้าพเจ้าขออยู่ สถานที่นี้ ตลอด 3 เดือน ฤดูฝน

     ธรรมศึกษา เรื่องแรก คือ หยุด
    คำว่า หยุด ในภาษาตรง ๆ ใช้ คำว่า เว้น หรือ บวช
ดังนั้นผู้ที่เป็นชาวพุทธไม่ใช่ว่าแต่จะเป็นพระ แม้ ผู้ครองเรือง ซึ่งเป็น พุทธบริษัท คือ อุบาสก และ อุบาสิกา ก็สามารถ อธิษฐานธรรมการเข้าพรรษาได้เช่นกัน แต่ไม่เกี่ยวกับวินัยสงฆ์ เพราะการอธิษฐาน กระทำเรื่องดี ๆ ที่มีคุณค่า เป็นบุญกุศล อธฺษฐานทำให้จริงจัง เพิ่มขึ้นในหนึ่งพรรษา ถึงแม้จำนวนเดือนจะไม่มาก แต่การอธิษฐานสร้างกุศล ก็จะทำให้ บุคคลนั้น ก้าวผ่านอุปสรรค ใหญ่ ๆ ได้ คนที่จะอธิษฐานทำอะไรที่เป็นกุศลขึ้นมาเป็นพิเศษนั้น ต้อง อาศัย สัจจะ ความจริงใจ จึงจะสำเร็จได้ ดังนั้น อธิษฐาน สร้างกุศลกันบ้าง สักสามเดือน จะเป็นบุญกุศลเสบียงแก่ตน

   เช่น อธิษฐานเลิกเหล้า เลิกบุหรี อันนี้คือ ละชั่ว ละสิ่งที่ทำลายสุขภาพ
        อธิษฐานทำบุญใส่บาตร ทุกวันสามเดือน อันนี้คือ สร้างความดี
        อธฺษฐานภาวนากรรมฐาน ทุกอาทิตย์สามเดือน อันนี้คือ เพิ่มคุณภาพความดี รักษาความดี
        อธฺษฐานเรียนศึกษาธรรม ฟังธรรม ตลอดสามเดือน อันนี้คือสร้างสัมมาทิฏฐิ

       
       และยังมีอีกมากมาย หลายเรื่องที่ท่านทั้งหลายสามารถอธิษฐาน
       ทำกันในช่วง 1 พรรษา ( 3 เดือนนี้ )

    ก็ขอเป็นกำลังใจให้แก่ทุกท่าน ที่หมั่นสร้างกุศล ความดี ละจากอกุศล และสร้างใจให้ผ่องใส หมั่นเจริญวิปัสสนา ตามหลักธรรมในศาสนา ก็ขอให้ท่่านทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ ประสบความสำเร็จ ด้วยกัทุกท่าน ทุกคนเทอญ

     สร้างกุศล บ่มนิสัย  ให้ผุดผ่อง
   เหมือนแว่นส่อง ถึงใจสวย ช่วยโลกหลาย
   หมั่นอบรม ฝึกปรือยิ่ง ทั้งใจกาย   
   เพื่อเป้าหมาย ละจาก  สงสาร เอย

 เจริญธรรม / เจริญพร

     



ภาพนี้ มีความหมาย ดี เห็นแล้วชอบ

  การปฏิบัติธรรม นับหนึ่ง หมายถึง เริ่มที่ตัวเอง เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอใคร แต่การนับหนึ่ง แน่นอนย่อมมีปอุปสรรคขวากหนาม เกิดขึ้นไปตามสภาวะด้วย บางครั้งอุปสรรค บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็สาหัส แต่ผู้ที่นับหนึ่ง ต้องมีสัจจะ ต้องเป็นนักสู้ ไม่ท้อ ไม่ถอย ไม่หันหลัง

   อะไร คือ ความเจ็บปวดในการภาวนา
     การที่ แพ้ ต่อกิเลส โดยที่ไม่ได้ สู้ เลย ต่างหาก นั่นแหละคือ ความเจ็บปวด ทุกข์มากที่สุด

   
 
ไฟล์เสียง เชิญดาวน์โหลด ไปรับฟัง

http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYwOTh8YTY1Y2RhYTg3ZWY1OGZkODY0ZWU0MmNlNWZkMjVkZmZ8MzAyNTU=
4  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ใช้เวลา 3 เดือน เพื่อเข้าพรรษา ให้มีคุณและค่า เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2016, 04:15:15 pm



ตอนนี้สุขภาพ ร่วงลงไปตามวัย และอาการไม่ดีขึ้น ได้แต่ทรงเดิมทีว่าจะกลับไปจำพรรษาที่วัดแก่งขนุนแล้ว แต่ไม่มีคนอุปัฏฐาก และอาจจะทำกิจสงฆ์กับคณะไม่ได้ 100 % ดังนั้นจึงได้แจ้ง กับท่านเจ้าอาวาสไปเมื่อสักครู่นี้ว่า คงจะอยู่รักษาตัวก่อนสักอีกพรรษาอาการดีขึ้นแล้ว ค่อยกลับวัดจะได้ปฏิบัติกิจสงฆ์ได้ ไม่เป็นที่ครหา หรือรังเกียจจากคณะ ว่าทำกิจไม่ได้ 100 % ตอนนี้ส่วนใหญ่ ก็จะนอน และนั่ง เดิน เวียนหัวมาก ๆ ก็ต้องนอน แต่ถ้ามันอึดอัดขัดเนื้อขัดตัวมาก ก็ต้องเข้ากรรมฐานแทน อาศัยสมาธิช่วยข่มเวทนา ไว้ ดังนั้นท่านที่ถามอาการป่วยมา ก็ตอบได้คร่าว ๆได้เทำ่นี้ไม่อยากให้ใครมาเป็นห่วง มากนักเอาเป็นว่า ถ้ายังมีแรงถ่ายทอดธรรมแก่ คนที่ยังมีวาสนาด้วยกัน ก็ศึกษาและเรียนปฏิบัติไป ใช้เวลาที่มีลมหายใจให้คุ้มค่า ก่อนที่จะไม่มีเวลามาร้องโอ๊ย ๆ กันจน ธรรม ธรรม ธรรม ก็ไม่เข้าตอนนั้นมันจะสายไป สำหรับพรรษานี้อาจารย์ก็จะอธิษฐาน เนสัชชิกธุดงค์ เป็นปีที่ 3 อาการปวดคอสะสมมาเป็นปีนี้แล้ว ก็ทำตามที่ตั้งใจให้ครบ 3 ปีตามสัญญากับครูอาจารย์ ถึงจะต้องป่วยมากขึ้นก็ยินยอม
เจริญธรรม / เจริญพร
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เป็นคนต้องแกร่ง จะแกร่งได้ด้วยพระธรรม เมื่อ: เมษายน 09, 2016, 10:15:47 am


มองตามมุม ตรงนี้สอนหลายอย่าง
อย่าลืมสายต่าง ๆ จะมากมายรุงรัง สิ่งที่จะทำให้เสาอยู่ได้โดยไม่หักล้ม ก็คือ 1. ความแข็งแกร่งของตัวเสา 2.จุดเกี่ยวเกาะของตัวเสา 3.สายที่ช่วยยึดเกาะรั้งตัวเสา 4.ฐานที่วางตัวเสา 5.สายโยงต่างมาที่ตัวเสา

เปรียบเทียบ 1.เป็นคน ๆ หนึ่ง ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านกายและจิต 2.การเลี้ยงชีวิตที่ต้องสัมพันธ์กับชุมชน ทุกระดับ 3.มโนธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ที่เหนี่ยงรั้งใจไม่ให้ล้ม 4.ฐานการศึกษาการเรียนรู้ของคน ๆ นั้น 5.ความสัมพันธ์กับทุกองค์กร


 ;)
6  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป เมื่อ: เมษายน 02, 2016, 07:36:54 am
ย้อนกลับไปอ่าน ตอนที่ 2 ถ้ายังไม่เข้าใจ
รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ( หมายถึง เป็นเอกเทศโดยส่วนเดียว จากขันธ์ทั้ง 5 )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20904.0



ตอนที่ 3

บทตั้งท่องจำ อุปาทายรูป 24 (อุปาทายรูปํ   จตุวีสติวิธํ )
 อุปาทายรูปํ   จตุวีสติวิธํ  จกฺขุ  โสตํ  ฆานํ  ชิวฺหา  กาโย  รูปํ  สทฺโท   คนฺโธ   รโส   
 อิตฺถินฺทฺริยํ  ปุริสินฺทฺริยํ  ชีวิตินฺทฺริยํ หทยวตฺถุ
 กายวิญฺญตฺติ   วจีวิญฺญตฺติ   อากาสธาตุ   
 รูปสฺส   ลหุตา   รูปสฺส มุทุตา   รูปสฺส   กมฺมญตา   รูปสฺส   อุปจโย 
 รูปสฺส  สนฺตติ  รูปสฺส ชรตา รูปสฺส อนิจฺจตา กวฬิงฺกาโร อาหาโรติ ฯ 

2.อุปาทายรูป มี 24 ประการ
       1.จักขุ 2.โสตะ  3.ฆานะ  4.ชิวหา 5.กาโย  6.รูปัง  7.สัทโท 8.คันโธ 9.รโส
10.อิตถินทรีย์ 11.ปุริสินทรีย์  12.ชีวิตินทรีย์ 13.หทัยวัตถุ
14.กายวิญญัติ 15.วจีวิญญัติ 16.อากาสธาตุ
17.รูปลหุตา 18.รูปมุทุตา 19.รูปปาคุญญตา  20.รูปอุปจยะ
21.รูปสันตติ 22.รูปชรตา 23.รูปอนิจจตา 24.กวกฬิงการาหาร


     สำหรับศัพท์ในกรรมฐาน มูลกัจจายนะ นั้น เวลาเรียกรูป ที่เป็นภูตรูป อันประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 จะใช้คำว่า ภาชนะ เพื่อให้พ้นจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ภาชนะเครื่องปั้น ย่อมประกอบด้วยทั้งสี่ มี ไตรลักษณะ แต่ปราศจากส่วนที่เป็น ใจ ทั้งหมด ดังนั้นใน มหาภูตรูป จึงใช้คำเรียกว่า ภาชนะ หมายความเป็นที่ใส่ หรือ เครื่องใช้

     ส่วนอุปาทายรูป นั้น เป็น รูปที่เกิดได้ต้องอาศัยใจ ร่วมด้วย แต่ไม่อยู่ด้านนอกของภาชนะ เพียงแต่เป็นสมมุติส่วนใด ส่วนหนึ่ง หรือครอบคลุมแทนภาชนะได้

  ( ยังมีต่อ รอกันก่อน อันนี้ตอบส่วนที่สอง สำหรับคนที่ก้าวหน้า )

7  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / แกะหลัก ภาวนาอย่างชาวบ้าน ผู้ทำกสิกรรม เมื่อ: มีนาคม 16, 2016, 08:15:50 am


ศรัทธาของเราเป็นพืช
  ศรัทธา ( ความเชื่อ )
  พืช คือสิ่งที่จะปลูก เมื่อจะปลูก พืชอะไร ก็ย่อมได้พืชเช่นนั้น

ความเพียรของเราเป็นฝน
   ความเพียร ที่ย่อหย่อน และไม่ตึงเกิน     

ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ
   ความรอบรู้ในกสิกรรม ความรอบรู้ ในส่ิงที่กระทำ ไม่ใช่รู้ทุกอย่างในโลก แต่รอบรู้ในวิชากสิกรรมนั้น  เนื่องด้วยฝนมีฤดูกาลไม่ได้ตกทุกวัน ปัญญาความรอบรู้ในการบริหารจัดการน้ำ ให้มีอยู่เพื่อรักษาพืชผลจึงต้องใช้ปัญญาในการนำน้ำเข้าสู่นา

หิริของเราเป็นงอนไถ
   คันบังคับที่ต้องยึดไว้ให้มั่น คือความละอายใจ ๆ ก็จะสร้างความเกรงกลัวต่อบาป

ใจของเรา เป็นเชือก
   ใจเป็นเครื่องกระตุ้นให้ เดินต่อ วัวควายถ้าไม่กระตุ้นกระตุกเตือนมันก็จะยืนนิ่งอยู่อย่างนั้นดังนั้น ใจจึงต้องมีการกระตุ้นบ้าง

สติของเราเป็นผาลและปฏัก
    แต่บางครั้งการกระตุ้น มันก็ไม่ไหว จึงต้องมีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ทิ่มแทงไปบ้างเล็กน้อย 

เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา
    ขณะที่ทำงานอยู่ ก็ไม่ควรพูดมาก ทำเรื่องอย่างอื่น ต้องคอยคุ้มครองกาย เพราะการเหยียบย่ำลงไปในน้ำในผืนนานั้น มีอันตรายทั้งเสี้ยนหนามและสัตว์มีพิษที่อยู่ในดิน

สำรวมในอาหารในท้อง
    เมื่อการทำกสิกรรม มีอยู่การบริโภคอาหารในระหว่างกระทำกสิกรรม จึงไม่ควร ควรจะต้องหยุดพัก

ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ
    เมื่อหยุดการไถนาว่างเว้น ก็ใช้เวลาที่ควรในการกำจัดวัชชพืช เพราะวัชชพืชไม่ต้องปลูกมันสามารถขึ้นได้เอง ดังนั้ันนาที่ไม่มีการดูแลย่อมถูกวัชชพืชแย่งความอุดมสมบูรณ์ พืชผลอาจจะไม่ได้ หรือได้ก็ไม่สมบูรณ์

ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส
    ความสันโดษพอใจ ในสิ่งที่มีเป็นเหตุไม่ขยายการทำกสิกรรมมากไป เพราะรู้ความพอดี บางคนทำมากไปมีกำลังพอ ดูแลมากก็ทำไม่ไหว ดังนั้นการทำกสิกรรม แต่พอดีจึงเป็นการคลายความลำบากในการจัดการ

ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ
    เมื่อผืนนาที่ไถแล้ว ได้ลงพืชสิ่งที่ต้องทำก็คือการหมั่นประกอบการดูแลพืชผลอย่างต่อเนื่องไม่วางธุระ
เมื่อชาวนาดูแลนา คือ พืชผลที่ลงแรงไว้อย่างนี้ ผลย่อมออกตามต้องการ

ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
    ไม่เศร้าโศรก เพราะพืชผล ย่อมบริบูรณ์ ไม่ถึงภัยธรรมชาติ ย่อมไม่ทุกข์

การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้
     การไถนา ของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นอย่างนี้ แม้พระอริยะสาวก็เป็นอย่างนี้

การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ
    การไถนา ของพระพุทธเจ้า และ พระอริยะสาวก ย่อมมีผลเป็นอมตะ ( นิพพาน )

บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    บุคคลถ้าไถนาแบบนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ ทั้งปวง



8  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธาตุ ภายใน เป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลา่ย คบค้า เกื้อกูลกัน เมื่อ: มีนาคม 11, 2016, 07:31:59 am
         บุคคลผู้มีอัธยาศัยเหมือนกันจึงคบกันได้
            ครั้งนั้น    พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายเห็นสารีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีปัญญามาก
            เธอทั้งหลายเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีฤทธิ์มาก
            เธอทั้งหลายเห็นมหากัสสปะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนกล่าวเรื่องธุดงค์๑
            เธอทั้งหลายเห็นอนุรุทธะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีตาทิพย์
            เธอทั้งหลายเห็นปุณณมันตานีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นธรรมกถึก
            เธอทั้งหลายเห็นอุบาลีกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนทรงวินัย
            เธอทั้งหลายเห็นอานนท์กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพหูสูต
            เธอทั้งหลายเห็นเทวทัตกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีความปรารถนาชั่ว
             สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน    คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงามคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
            แม้ในอดีต    สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน    คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลวสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม    ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
            แม้ในอนาคต    สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน    คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลวสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม    จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
            ภิกษุทั้งหลาย    แม้ในปัจจุบันนี้    สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน    คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม    คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://owlsc.com

     
9  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระอริยะ ไม่พูดขัดกัน และ ย่อมยกย่องซึ่งกันและกัน เมื่อ: มีนาคม 11, 2016, 07:22:03 am
พระเถระทั้ง ๒ รูปกล่าวสรรเสริญคุณของกันและกัน
            [๒๖๐]    เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว    ท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า    “ท่านผู้มีอายุ    ท่านชื่ออะไร    และเพื่อนพรหมจารีรู้จักท่านว่าอย่างไร”
            ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า    “ท่านผู้มีอายุ    ผมชื่อว่าปุณณะ    แต่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายรู้จักผมว่า    มันตานีบุตร”
            ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า    “ท่านผู้มีอายุ    น่าอัศจรรย์จริง    ไม่เคยปรากฏปัญหาอันลึกซึ้งที่ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้น    นำมากล่าวแก้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งตามเยี่ยงอย่างพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว    รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้จะพึงกล่าวแก้ฉะนั้น    เป็นลาภอย่างมากของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย    เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายได้ดีแล้ว    ที่ได้พบเห็น    ได้นั่งใกล้ท่านปุณณมันตานีบุตร    แม้หากเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะเทิดทูนท่านปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะเหมือนเทริดผ้า    จึงจะได้พบเห็น    ได้นั่งใกล้    แม้ข้อนั้นก็นับว่าเป็นลาภมากของท่านเหล่านั้น    ท่านเหล่านั้นได้ดีแล้ว    อนึ่ง    นับว่าเป็นลาภอย่างมากของผมด้วย    ผมได้ดีแล้วด้วย    ที่ได้พบเห็นได้นั่งใกล้ท่านปุณณมันตานีบุตร”


พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๓.  โอปัมมวรรค]
๔.  รถวินีตสูตร


ขอบคุณภาพประกอบจากบ้านจอมยุทธ



    จากพระสูตร ต้องการยกให้ท่านทั้งหลาย เห็นว่า พระอริยะ กับ พระอริยะ ไม่มีปัญหาซึ่งกันและกัน แน่นอน และก็ไม่เพราะวัจนะ เพื่อยกตนข่มท่าน บัณฑิตผู้หวังในนิพพาน ย่อมเคารพต่อ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ไม่ใช่แต่ พุทธวัจน์ จนไม่ฟัง ธรรมวัจน์ หรือ สังฆวัจน์

    เพราะพระพุทธเจ้า มีไม่ได้ ถ้าไม่มี ธรรมวัจน์
    พระธรรม ก็มีไม่ได้ ถ้าขาดผู้ตรัสรู้
       ( พระธรรมที่มีอยู่ก่อนไม่ได้เรียกว่า พระธรรม เรียกว่า  ธรรมชาติ ได้ เป็นกลาง คือ เป็นได้ทั้งกุศล และ อกุศล และ อัพพยากฤต ธรรมส่วนนี้ไม่เรียกว่า พระธรรม เพราะขาดคำสอนหรือคำชี้นำ เป็นสภาวะที่ต้องตรัสรู้เอง)
    พระสงฆ์ ก็มีไม่ได้ ถ้าขาด พระพุทธเจ้า และ พระธรรม







10  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การรวม มรรค อาศัย สัมมาสมาธิ ในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อ: มีนาคม 10, 2016, 09:17:18 am
[๙๗]    “ภิกษุทั้งหลาย    แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร  บ่าไปสู่สมุท  หลากไปสู่สมุทร  แม้ฉันใด  ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน  เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์   ๘   ทำอริยมรรคมีองค์   ๘   ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน  โน้มไปสู่นิพพาน    โอนไปสู่นิพพาน

ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์    ๘    ทำอริยมรรคมีองค์    ๘    ให้มากย่อมน้อมไปสู่นิพพาน    โน้มไปสู่นิพพาน    โอนไปสู่นิพพาน    อย่างไร
      คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
       ๑.  เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๒.  เจริญสัมมาสังกัปปะอันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๓.  เจริญสัมมาวาจาอันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๔.  เจริญสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๕.  เจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๖.  เจริญสัมมาวิริยะ อันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๗.  เจริญสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๘.  เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก    อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
            ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์    ๘    ทำอริยมรรคมีองค์    ๘ ให้มาก    ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน    โน้มไปสู่นิพพาน    โอนไปสู่นิพพาน    อย่างนี้แล”


      พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  มหาวารวรรค  [๑.  มัคคสังยุต]
      ๘.  ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค  ๑๔.  โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

     
   ขอบคุณภาพประกอบจาก http://topicstock.pantip.com/
11  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / วัปัสสนา ต่อ จากสมาธิ อย่างไร ? เมื่อ: มีนาคม 10, 2016, 09:09:42 am
  [๑๔] “เมื่อจิตเป็นสมาธิ  บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน  ปราศจากความเศร้าหมอง    อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น  ไม่หวั่นไหวอย่างนี้  เรานั้นได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า  นี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย  นี้ทุกขนิโรธ  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา   นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย  นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ  อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ ก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว  รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว   ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว  ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป



ขอบคุณภาพประกอบจาก https://thebggaro.files.wordpress.com
12  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สุดท้าย ก็คือ การบินเดี่ยว ไปแต่เพียงผู้เดียว เมื่อ: มกราคม 05, 2016, 01:30:10 pm


   ฉันทำงานมาหลายแบบ ไม่เคยท้อ ถึงแม้ว่างานจะยาก ก็ยังมีความสำเร็จให้เห็น อยู่บ้าง แต่สำหรับงานด้านการเผยแผ่พระกรรมฐาน ตั้งแต่เริ่มทำมา สิ่งที่ครูท่านบอกว่า สร้างพระโสดาบัน เพียงรูปเดียว ก็สำเร็จเป้าหมายแล้ว แต่ทุกวันนี้ผ่านไป 9 ปีแล้ว พระโสดาบัน ยังไม่ได้เลย นั่นแสดงให้เห็นว่า ในยุคปัจจุบันนี้ คนแม้มีความตั้งใจในการฝึกฝนอบรมจิต ตามพระธรรมกรรมฐาน แต่คนปัจจุบันกับผูกยึดติด ด้วยความรู้สึกบาง ๆ อยู่นิดหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็คือ ความทะนงในปัญญา คิดว่า เมื่อเวลาเหมาะสมแล้ว จะสำเร็จธรรมได้เอง



    หลังส่วาง แต่ หน้ามืด

    สำหรับเจตนา นี้ ต้องการแสดงธรรม เรื่อง ปูชนียวัตถุ กับ ปูชนียบุคคล
ด้านหลังถึงสว่าง ก็เป็น วัตถุธรรม ให้คนระลึกถึง กุศลธรรม ด้านหน้าถึงมืด มันก็เพียงสังขาร ที่ประกอบด้วย ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ทั้งสองอย่างไม่ต่างกัน ถ้าล้วนแตกดับแล้ว ก็แยกเป็นธาตุ ทั้ง 5 ประการ แต่ มีอยู่เพียงธาตุเดียว ที่ไม่สูญหายไป ก็คือ มนายตนะธาตุ ที่ยังคงอยู่ แม้เพียงใครเห็นยกมือไหว้ จิตชื่นชม ก็ส่งผลให้แก่ผู้นั้น คือ ความสุข ( กุศลธรรม ) นั่นเอง ที่มืดก็เพราะว่า ให้ความหมาย ว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นบุคคลเราเขา ที่สว่าง ก็ให้ความหมายว่า เป็นกุศล เป็นที่บูชา ทั้งสองอย่างนี้ ไม่แตกต่างกัน เพราะท้ายที่สุด ก็เป็นเพียง ความว่างเปล่า

ปูชนียวัตถุ เป็น ดั่งเครื่องหมายแห่งความสว่าง ส่วนปูชนียบุคคล เป็นดั่งเครื่องหมายแห่ง ความสว่างในที่มืด ยามทุกข์ ร้อนจิตใจ สับสน วุ่นวาย สิ่งที่เป็นที่พึ่งอันดับแรก ก็คือ พระสงฆ์ พระธรรม และพระพุทธ ปัจจุบันการเข้าถึงรัตนะตรัย มาจากพระสงฆ์ก่อน ไม่ใช่มาจาก พระธรรม หรือ พระพุทธ เพราะพระสงฆ์ เป็นผู้ที่มากล่าวยกย่อง พระพุทธ และ สาธยายพระธรรม ในปัจจุบัน นะ หากปัจจุบันวันนี้ถิ่นใดมีพระสงฆ์ ที่เป็นสุปฏิปันโน จำนวนมาก ที่นั่นก็มีสุขมาก ถ้ามีพระสงฆ์ ที่เป็นพระสุปฏิปันโน น้อย ที่นั่นก็มีทุกข์ มากเช่นกัน วันนนี้พระพุทธศาสนา ที่ขยายไปทั่วโลก เป็นเพราะพระสงฆ์ ที่เป็นสุปฏิปันโน นั้นเผยแผ่พระธรรม สาธยายธรรม จนคนทั้งหลายระลึกได้ถึง การอุบัติของพระพุทธเจ้า เป็นสำคัญ
13  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สดุดี วีรธรรม สองพระ ในใจ ฉัน ที่ชื่นชม ( วัดบวร ) เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 03:41:58 pm


ภาพนี้ถ่ายได้อย่างคมชัด สมกับที่ไว้วางใจ เรื่องการถ่ายภาพ จึงนำท่านไปด้วย อันนี้เป็น โกศพระศพของ พระญาณสังวร พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ซึ่งมีกำหนดการ ปี 2560 ในการถวายพระเพลิง นะตั้งใจไปหลายครั้ง หลายหน ไม่สบโอกาส ก็ได้ครั้งนี้แหละ กะว่าไปวัดบวร ครั้งเดียว สองงานเลย
14  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฌาน บารมี ของเก่า ที่สามารถเข้าได้โดยไม่ได้คาดคิดไว้ เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2015, 01:31:55 pm

ตอนที่ 1

ว่าด้วยการระลึก ถึงคุณธรรมบารมีเก่า

    ( เมื่อวันหนึ่ง ฉันท้อเรื่องการปฏิบัติ อัปปนาจิตวิถี ที่ไม่สามารถกระทำให้เกิดได้ )




"เมื่อวันหนึ่งฉันท้อถอย ในเรื่องการปฏิบัติ ฌานสมาธิ ( เป็นขั้นอัปปนาจิต ) เพราะยิ่งทำ ก็ยิ่งฟุ้ง เพียรมากจัดเลยทำไม่ได้ ใจมันก็ร้อนรน เหมือนคนทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ เหมือนจะคว้าได้ ก็คว้าไม่ได้ จึงเรียนบอกครูว่า ผมขอฝึกแค่อุปจาระสมาธิ เพื่อ วิปัสสนาก็พอนะครับ ผมต้องการวิปัสสนา มากกว่า เรื่องอัปปนาจิต

  ครูฉันนิ่งไป ไม่ตอบอะไร แต่สักพักท่านก็พูดขึ้นว่า
 "แก สามารถเข้า ฌานบารมีเดิมได้ตอนอายุ 13 ปี แล้วทำไมจะทำ ฌานบารมีไม่ได้ "
  ผมทำได้ตอนไหนครับ ? ไม่รู้สึกตัวเลย
 "แกทำได้ แล้ว แต่ เพราะว่าจิตหน่วงปัญญามากไป ในสายธรรมใหม่ จึงขวางกุศลธรรมดีไว้ ไม่ให้เข้าใจ"
  ไม่เข้าใจครับ !
 "เนื่องด้วยในสายธรรมใหม่ นั้น เป็นการใช้ปัญญามากจึงสกัดกั้นขวางการทำ สมาธิ แต่บารมีเก่ายังมีอยู่ ของเก่าที่มีมาแล้วก็ยังมีอยู่ และเคยเข้าได้แล้ว ถ้าสงบใจ ระงับความรู้ ว่า ว่าง หรือ สุญญตา ลงไปบ้างจะมองเห็นอุปนิสัย ของตนเองได้ สิ่งที่มีปัญญาตอนนี้มันก้าวเกินระดับของสมาธิ ดังนั้นการเจริญปัญญาที่มากกว่าสมาธิ จะเป็นหนทางแห่งปัญญาวิมุตติ นั้นกับคำอธิษฐานมันขัดกัน เนื่องด้วยตั้งแต่อดีตชาติมาก ไม่เคยปรารถนา เป็นพระอริยะประเภทปัญญาวิมุตติ แต่ตั้งความปรารถนาเป็น อริยะเอตทัคคะ ด้วย "
  แล้วกระผม ควรทำอย่างไร ครับ ?
  "วันนี้งดการเจริญปัญญา และ สมาธิ ทั้งหมด แต่ให้ไปเจริญการสวดมนต์แทน "
  การสวดมนต์ ไม่ใช่การทำสมาธิ หรือ ครับ ?
  "ไม่ใช่ สำหรับวันนนี้ไม่ใช่ "
  ...... !
  "วันนี้ให้สวดมนต์ บทว่า เลิศ เพื่อให้จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และหยุดการใช้ สังขาร ( การคิดมาก) ลง"
  กระผมต้องสวดบทอะไร ครับ ?
 "บทที่ชื่อว่าเลิศ อัคคโต เว ให้สวดไปเรื่อย ๆ 4 ชม. สวดไปเรื่อย ให้สวดออกเสียงไม่ต้องดังเกิน เบาเกิน สวดแบบนิ่ม ๆ เรื่อย ๆ ทำนองสังโยค ไปเข้าใจนะ หลังจาก 4 ชม.แล้ว ก็จะจำเรื่องราว ตอนอายุ 13 ปีได้"
  ครับ กระผมจะปฏิบัติตาม ที่หลวงปู่สั่งครับ
"


  ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
  บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
15  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / หลักสูตร พระอภิธรรม เทียบเท่า ปริญญาตรี เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2015, 10:42:57 pm
วิทยาลัยแห่งนี้สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีครูทั้งพระและฆราวาส 36 คน แบ่งชั้นเรียนตามหลักสูตรคือ ตรีโทเอก รวมเวลาเรียน 7 ปี จบแล้วได้ประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.) เทียบเท่าปริญญาตรี

สิ่งพิเศษสำหรับการเรียนอภิธรรมคือ เรียนฟรี เว้นแต่ชำระค่าลงทะเบียน 50 บาท และค่าตำราตามราคา ไม่จำกัดอายุ และความรู้เบื้องต้น โดยทางวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนทุกวัน มีทั้งภาคบ่ายและภาคค่ำ และเปิดสอนรอบพิเศษ (วันเสาร์อาทิตย์) หยุดวันพระ วันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศมหาวิทยาลัย

หลักฐานในการสมัครเข้าศึกษา
1.รูปถ่ายสีขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว 2 ใบ
(ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 2 ปี)
2.สำเนาประกาศนียบัตร (เฉพาะผู้ที่เคยสอบผ่านในชั้นต้นมาแล้ว)
เปิดสอนรอบปกติ (วันจันทร์วันศุกร์)
ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.
ภาคค่ำ เวลา 17.00-19.00 น.
เปิดสอนรอบพิเศษ (วันเสาร์วันอาทิตย์)
ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.
ภาคค่ำ เวลา 17.00-20.00 น.
สำหรับหลักสูตรการศึกษาอภิธรรมนั้นแบ่งดังนี้

ชั้นที่ 1 จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ปริจเฉทที่ 1 จิตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ การจำแนกจิตโดยย่อและโดยพิสดาร
ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหะ
ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ ลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก
ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหะ นิพพาน
ศึกษาความหมาย โครงสร้างประกอบ เนื้อหาของรูปและนิพพาน

ชั้นที่ 2 จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ
ศึกษาความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลักสมุจจยสังคหะหมวดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ

ชั้นที่ 3 จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาสาระของคัมภีร์ธัมมสังคณีประเภทของมาติกา ติกมาติกา ทุกมาติกา อธิธัมมทุกมาติกา สุตตันติกทุกมาติกา
เมื่อเรียนจบสอบชั้นที่ 3 หรือจูฬอาภิธรรมิกะเอก จึงได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ

ชั้นที่ 4 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ
ศึกษาความหมายของวิถีจิต โครงสร้าง และกฎเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนกวิถีจิตโดยภูมิและบุคคล
ปริจเฉทที่ 5 วิมุตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง และเนื้อหาของวิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกะ

ชั้นที่ 5 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ปริจเฉทที่ 8 ปัจจัยสังคหะ
ศึกษาความหมายของปัจจยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัยความเป็นไปของเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกันตามปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหะ
ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถา และฎีกาประกอบ

ชั้นที่ 6 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถาในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา
จบชั้นที่ 6 หรือมัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก จะได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ

ชั้นที่ 7 มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (มูลยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และประเภทของมูลยมกการจำแนกมูลยมก ทั้ง 4 ประเภท โดยนัย 4 การจำแนกมูลยมก 4 และนัย 4 โดยยมก 3 ยมกสรูปัตถนิสสยะ (ขันธยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และประเภทของขันธยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ และปริญญาวาระ

ชั้นที่ 8 มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของอายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ประเภทของ อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ

ชั้นที่ 9 มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
มหาปัฏฐาน (ปัจจัยโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของปัฏฐาน และประเภทของปัฏฐาน สรุปเนื้อความ 3 ประการ การจำแนกปัจจัย 24 โดยความเป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะ

รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง 9 ชั้น 7 ปี 6 เดือน
จบชั้นนี้มีคุณสมบัติเท่ากับปริญญาตรี

ประวัติการศึกษาอภิธรรมในไทย
หนังสือที่ระลึกงานมอบประกาศนีบัตรอภิธรรมบัณฑิตเล่าประวัติความเป็นมาของการศึกษาพระอภิธรรมในเมืองไทยดังนี้

เมื่อพุทธศักราช 2494 พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เดินทางไปดูกิจการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่า ได้เห็นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศพม่าอย่างแพร่หลาย ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยยังไม่มี จึงได้ติดต่อรัฐบาลประเทศพม่าขออาราธนาพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พระเถระผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านพระอภิธรรมปิฎกจากประเทศพม่ามาดำเนินการเปิดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎกครั้งแรกที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งพุทธศักราช 2509 พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ถึงแก่มรณภาพ ศิษยานุศิษย์ได้ดำเนินการต่อเรื่อยมา



อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
พุทธศักราช 2511 ได้ก่อตั้งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานอำนวยการจัดการศึกษา โดยได้รับความอุปถัมภ์จากมูลนิธิสัทธัมมโชติกะ และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป จนกระทั่งพุทธศักราช 2524 ด้วยเมตตาธรรมและมองการณ์ไกลของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่หวังความเจริญก้าวหน้าของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ประกาศให้อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้ชื่อว่า “อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ขึ้นตรงต่อสำนักอธิการบดี

ปัจจุบัน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคมตามมาตรา 9 วรรคสอง และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข้อ 11 (3) เรื่องการแบ่งส่วนงาน พุทธศักราช 2541 ได้ดำเนินการจัดการศึกษามาเป็นเวลา 36 ปีแล้ว มีสาขาทั่วประเทศ 57 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีบทบาทเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบของการจัดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถา และฎีกาพระอภิธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมไทยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข และเกื้อกูลต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกๆ ด้าน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้พุทธบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในพระอภิธรรมปิฎก
2.เพื่อเป็นการรักษาพระปริยัติศาสนาส่วนของพระอภิธรรมปิฎกให้คงอยู่สืบต่อไป
3.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจในปรมัตถธรรมอันเป็นสภาวะที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน
4.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความสามารถศึกษาเชื่อมโยงกับพระสุตตันตปิฎกและพระวินัยปิฎก ที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ขัดแย้งกันเกื้อกูลกัน
5.เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
6.เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาของผู้ศึกษาให้มั่นคงในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป

รายการวิทยุ
นอกจากการเรียนการสอนตามปกติ ทางวิทยาลัยยังจัดรายการทางวิทยุ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
รายการวิทยุของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยทางสถานีวิทยุ พล.ม. 2 AM 963 KHz
รายการ “แก่นธรรมจากพระอภิธรรมปิฎก”
วันพุธ เวลา 23.30-24.00 น.
รายการ “พระอภิธรรมเพื่อคุณภาพชีวิต”
วันเสาร์ เวลา 20.30-21.00 น.

สุดท้ายในหนังสือนี้ให้ข้อมูลว่า จะติดต่อขอทราบรายละเอียดหรือร่วมอุปถัมภ์รายการได้ที่

อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร./โทรสาร 02224 3843, 026236101
พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist

หรือคลิกที่ http://www.mcu.ac.th หน่วยงาน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
16  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ว่าด้วยความหมาย แห่ง logo ประจำตัว เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2015, 12:25:17 pm


  มีหลายท่านสอบถามความหมาย ของ LOGO นี้มา

    บางท่านก็แซว ว่า ไม่เวียนหัว หรือ ? เป็นต้น
 
  ก็ตอบโดยรวม เลยก็แล้วกัน

      สำหรับ LOGO นี้ เป็น Logo ที่จัดทำขึ้นมา
      มีความหมายดังนี้
        1. ตัวชื่อ หมุนตามเข็มนาฬิกา
      มีความหมายถึง ธัมมะวังโส ก็อยู่ภายใต้ กฏ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ ระเบียบ วินัย ที่สำคัญมันก็ยังต้องวุ่น อยู่ แต่อยู่กรอบ ของการภาวนา นั่นก็คือ ฟันเฟือง ซึ่งการภาวนาก็ต้องมีต่อไป จนกว่า ธัมมะวังโส จะไม่มี อัตภาพ อยู่ในโลกนี้

       2. ฟันเฟือง ที่ยังคงหมุนคลุมชื่อ
      มีความหมายถึง แก่นแห่งการภาวนา ก็คือ ปฏิจจสมุปบาท เป็นแก่น ของการภาวนาที่แท้จริง ลำดับในญาณใดก็ตาม ล้วนแล้ว ก็คือ แก่น ที่ต้องปลดระวาง อวิชชา เพื่อ ออกจากสังสารวัฏ

     ( เท่านี้พอเนาะ พิมพ์ลำบาก ตัวหนังสือเล็กมาก มองไม่ค่อยเห็น )

    ;)

17  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / 9 มงคลกรรมฐาน เคล็ดวิชา ขรัวปู่อาจารย์เฒ่า ( ได้รับอนุญาตแล้ว ) เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2015, 11:41:58 am


9 มงคลกรรมฐาน เคล็ดวิชา ขรัวปู่อาจารย์เฒ่า ( ได้รับอนุญาตแล้ว )

  เก้าเคล็ดวิชา
เก้าสัมผัส (จ้อง)   เก้ากระทบ ( จับ ) เก้าฐานจิต ( แจ้ง ) 
         
เก้านิมิต (บ่อเกิด ) เก้าธาตุ (บ่อแปลง )  เก้านฤดล ( บ่อใช้)

เก้าดวงแก้ว (แสง ) เก้าชั้นธรรม ( สว่าง ) เก้ามรรคผล ( สงบ )

เก้ากมล (วิจยะ ) เก้าแห่งญาณ ( วิจารณัง ) เก้าสัจจ์  ( วิมุตติ )   เอย

   “มังคะลัง กัมมัฏฐานัง จิตตัง ประสิทธิ เม
ขอความสำเร็จมงคลในกรรมฐาน จงมีแก่ข้าพเจ้า”
    ขรัวปู่อาจารย์เฒ่า

    เมื่อก่อน พอภาวนากรรมฐาน จบ พระอาจารย์ ท่านจะบอกให้ยกมือพนม จรด ที่หน้าผาก แล้ว ว่า คาถา นี้ 3 ครั้ง ก่อนแผ่เมตตา หรือ ว่าคาถาใด ๆ สำหรับตัวเรา เห็นว่ามันเป็นเรื่อง พิธีรีตรอง ก็มักจะบ่นกับพระอาจารย์ ว่า ไม่ต้องว่าไม่ได้ หรือครับ ท่านมองหน้า แล้ว ก็บอกว่า ถ้าไม่ว่า ไม่บอก ตรงนี้ ภพชาติที่เคยอธิษฐานไว้ ไปอยู่กับพระศรีอาริย์เมตตรัย นั้นมันจะไม่ลด จะกระทำชาติปัจจุบันให้สำเร็จได้ยาก หากเราได้อธิษฐานไว้ การอธิษฐานนี้ เป็นการสร้าง บารมีสองอย่างคือ สัจจะบารมี และ อธิษฐานบารมี เพื่อการภาวนาให้สำเร็จในกรรมฐาน ความสำเร็จในกรรมฐาน ก็คือ มรรค ผล นิพพาน ถึงจะเป็น พิธีรีตรอง แต่ไม่ได้ พิธีรีตรองที่ขวางทางพระนิพพาน ก็ควรหมั่นสะสมไว้ แต่หากผู้ใด คิดแต่ว่าเป็นพิธีรีตรอง มันก็ไม่ต่างอะไร กับการนั่ง เอาขาวาทับขาซ้าย มือขวาวางบนมือซ้าย เช่นกัน ( เข้าใจความหมายไหม )

   


    บอกได้เท่านี้ ที่เหลือ อยู่ที่ วาสนา

 ;)
18  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / สงขลา ณ วันนี้ กับ ความทรงจำที่เหมือนไม่มีค่า เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2015, 05:58:06 pm


วัดเลียบ เป็นวัดในความทรงจำ ของ ฉัน ใน ครั้งที่ เป็น สามเณร เป็นสถานที่ใช้ชีวิตในการเรียนปริยัติเป็นทางการ คือ เอาดีทางการสอบ นักธรรมตรี บาลี ที่นี่ และ ยังต้องกลับไปสอบเรียน ที่ สำนักเรียนที่ สระบุรี อีกแห่ง นับว่า การใช้ชีวิตที่นี่มีหลายอย่าง ที่อยู่ในความทรงจำ ที่เริ่มลืมเลือนไปบ้าง


มหาดม หรือ หลวงพี่ดม เป็นพระที่นับถือกันอยู่ในตอนนั้น



ไปอยู่หลายปี แต่ไม่เคยสนใจเที่ยว เอาแต่เผยแผ่ธรรมะ ไป ๆ มา ๆ กับ ธรรมสถานหาดทรายแก้ว ด้วยความเคารพ พระอาจารย์สงวน จันทะวังโส



โบสถ์หลังนี้ เราใช้ชีวิต อยู่ที่นี่บ่อย ๆ เพราะไม่ชอบกุฏิ เวลาท่องหนังสือ มันชอบท่องเสียงดัง ที่โบสถ์จะสงัดมาก ดังนั้น สำหรับเด็กต่างถิ่นแล้ว ที่นี่เหมือนที่ให้ความอบอุ่นอีกทีหนึ่ง ฉันท่องหนังสือ ส่วนมากจะเป็นเวลา 20.00 - 01.00 น.แล้วก็หลับเคยหลับหน้าโบสถ์นี่แหละ แต่ยุงเยอะนะ ต้องจุดยากันยุงไว้ หรือ จุดธูปไว้




ตึกเรียนหลังนี้ เป็นที่ ครูอาจารย์ ท่านประสิทธิ์วิชาให้ ตอนนั้น เจ้าคณะตำบลลงสอนด้วยตัวเองเลย ท่านเคยเป็นหนึ่งในคณะที่ติดตาม พระชาวอิตาลี ร่วมกับหลวงพ่อปัญญา สไตล์การพูดเหมือนหลวงพ่อปัญญา แต่ เนิบกว่า
19  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สุขา สุขา สุขา ธรรมะในห้องน้ำ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2015, 12:08:34 pm


"ธรรมะในห้องน้ำ ก็มีได้ .....
ไม่สบายใจ ไม่สบายใจ ไม่สบายใจ ฉันบ่นของฉันอย่างนี้ มันมีมากหลายเรื่อง ที่ไม่สบายใจ ความเจ็บ ที่ทรมาน ความอดอยาก ที่หิวโหย ความทุกข์ที่ไม่มี ปัจจัยติดตัว ความไม่สบายใจจากการดูถูกเหยียดหยาม แหม มันสาระพัด เรื่อง ของความไม่สบายใจเลยนะ ฉันเดินบ่นไป อย่างนี้ ก็เลยเข้าไปที่ห้องน้ำ ฉันไม่มีธุระอะไรทางกายในห้องน้ำหรอก วันนี้ แต่ฉันมีธุระทางใจ ในห้องน้ำ ก็ห้องน้ำ เขาเรียกว่า ห้องสุขา ไม่ใช่หรือ ก็วันนี้ฉันไม่สบายใจ ก็เลยต้องไปห้อง สุขา เพื่อให้ได้สบายใจ เสียหน่อย พอเข้าไปฉันก็ไปยืนอยู่หน้ากระจกในห้องน้ำ แล้ว ก็พูดกับตัวเองในกระจก ( มันบ้าแล้วตอนนี้ ) ไหนแก ไม่สบายใจเรื่องอะไร บอกข้ามาสิ พอถามออกไป เงาที่สะท้อนก็บอกเรื่องทุกข์ เรื่องนั้น เรื่องนี้ เข้ามามากมายเลย มันช่างขยันพูด เสียจริง ไอ้เจ้าเงา นี่นะ มันบอกว่า วันนี้เจ็บท้องมากมาย ทรมานเหลือเกิน โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อย่างนี้แย่แล้ว จะทำอย่างไร ? เราก็ตอบลงไปว่า มันเป็นธรรมดา ความเจ็บมันเป็นธรรมดา การมีอัตภาพร่างกาย มันก็เป็นต้องมีความแก่ ความเจ็บ และ ความตาย มันเป็นธรรมดา ที่มันต้องมี ต้องเป็น ของมันอย่างนั้น แล้วหิวละ ไม่มีกิน ไม่มีฉัน มันทำให้กายลำบากนะ เราก็ตอบลงไปว่า อันการกินการฉัน ของ ผู้ภาวนาต้องถือว่าเป็นเรื่องรอง เมื่อไม่มีก็ต้องแสวง เมื่อแสวงไม่ได้ ก็ต้องรู้จักวางใจ ให้เห็นว่า บญมีน้อย ดื่มน้ำไปก่อน ให้เสริมบารมี ......"

ข้อความบางส่วน จาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
20  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การรับมือ กับ จิต ตกเข้าสู่ ภวังค์ เมื่อ: ธันวาคม 15, 2014, 12:12:42 pm
ภวังค์ หมายถึง ตามความหมายง่าย ๆ

  ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว หรือ ภาวะหลับลึก ( เหมือนคนไข้ ที่ถูกยานอนหลับ )

  ภวังค์ ในขั้นตอนของจิต ที่ฝึก สมาธิ มีไม่กี่อย่าง แต่ ลำดับของ ภวังค์ ถูกแบ่ง ไว้ 10 ประการ โดยจะให้ความหมายแก่ท่านผู้อ่าน ที่ง่าย ที่สุด ดังนี้

   1.อตีตะภวังคะ  หมายถึง จิตสู่ภาวะหลับ ที่เป็นไปในอดีต
       ( อตีตะ + ภวังคะ )
   2.ภวังคะจลนะ  หมายถึง ิจิตที่พยายามเคลื่อนออกจาก ภวังค์
       ( ภวังคะ + จลนะ )
   3.ภวังคุปัจเฉท  หมายถึง จิตที่ไม่สามารถรับรู้อะไรเลยในภวังค์นั้น
       ( ภวังคะ + อุปัจเฉท )
   4.ปัญจะทวาราวัชชนะ หมายถึง จิตที่นึก และ รู้ ด้วย มโนธาตุ ( มโนทวาราวัชชนะจิต )
       ( ปัญจะ + ทวารา + วัชชนะ )
       
          จิตที่ทำกิจ นึก และ รู้ ใน ทวารทั้ง 5 เป็นกิจในจิต ( อาวัชชนะจิต )
          กิจเห็น                         (ทัสสนกิจ)
          กิจได้ยิน                       (สวนกิจ)
          กิจได้กลิ่น                     (ฆายนกิจ)
          กิจลิ้มรส                       (สายนกิจ)
          กิจรู้โผฏฐัพพารมณ์            (ผุสสนกิจ)
   5.สันตีรณะ หมายถึง จิตต่อเนื่องในปัญจะทวารา ด้วยการพิจารณา ในการรู้
        ( สันตติ + จรณะ )
   6.สัมปฏิจจฉันนะ หมายถึง จิตต่อเนื่องใน การน้อมรับอารมณ์ที่พิจารณาไว้แล้ว
        ( สัมมปฏิจจะ+ ฉันนะ )
   7.โวฏฐัพพนะ หมายถึง จิตต่อเนื่องใน ที่ถือเอาอารมณ์ ที่พิจารณาไว้แล้ว
         ( วิถี + ฐานะ ( วุฏฐานะ ) + ขณะ )
   8.กามาพจรชวนะ หมายถึง จิตแล่นไปกามาวจร จิต 7 ขณะจิต
         ( กามาวจร + ชวนะ )
   9.ตทาลัมพนะ หมายถึง จิตรับเอาอารมณ์ได้สำเร็จ ( วิบากอารมณ์ คือ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ยินดี ไม่ยินดี เฉย ๆ กลาง )
      ( ตัง + อารัมมณะ )
   10.ภวังคะปาทะ  หมายถึง จิตย้อนกลับไปสู่ ภวังค์เก่าอีก
       ( ภวังคะ + ปท )


    อันนี้นำไว้แบบ พระอภิธรรม เพราะการอธิบาย ภวังคะจิต นั้นมีอธิบาย เฉพาะในแบบ พระอภิธรรม แต่สำหรับสายปฏิบัติ แล้ว ไม่ต้องไปกำหนด เพราะไม่สามารถกำหนดทัน ในภวังค์ แบบนี้ เพราะมันเกิดดับ เป็นล้าน ๆ ครั้ง ซึ่งไม่ใช่แนวปฏิบัติ ดังนั้นอันนี้แค่ปูพื้นฐาน ให้เข้าใจเรื่อง ภวังค์ แบบ สายอภิธรรม ก็เป็นอย่างนั้น



     เอากับมาที่ ภวังค์ แบบ สายปฏิบัติ กันดีกว่า

     ยามใด ที่ผู้ปฏิบัติ ภาวนาเข้าไปสู่ภาวะ แห่งภาวะ กำลังจะเป็นสมาธิ สภาวะจิต นั้นจะเข้าไประงับหยุดทุกครั้ง เพราะสภาวะแห่งสมาธินั้น เป็นสภาวะบังคับ ให้จิตมีการงานน้อยลง เมื่อจิตมีการงานน้อยลง หรือ มีงานเพียงแค่หนึ่งเดียว ในบริกรรม ( วิตก คำภาวนา ) และ การติตามตามอารมณ์ ( วิจาร ความพยายามให้จิตน้อปไปในวิตก ) ในสภาวะทีจิต มีสติ คือ ระลึกได้ในการภาวนา แต่ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวกำลังจะเต็ม สภาวะ ภวังค์จิต ก็จะดีดตัวเข้าสู่การหยุดการทำงาน เรียกว่า สภาวะ ชัตดาวน์ ( อาตมาเรียกว่า สภาวะ สกรีนเซพเวอร์ ) เพื่อที่จะพักจิต ในการพักจิตแบบนี้ จะคล้ายกับการนอนหลับ การเข้าสู่ภวังค์ มีอยู่ สองแบบ

     คือ 1. แบบที่จิตทำงานหนัก คือ มีการรับรู้อารมณ์ ปรุงแต่ง มากมาย ร่างกายก็จะเข้าสภาวะหลับ โดยธรรมชาติแห่งจิต เรียกว่า สภาวะฟื้นฟูจิต หรือ สมอง หรือ กาย อันนี้สภาวะการหลับ

         2. แบบที่จิตทำงานน้อย คือ การภาวนากรรมฐาน ทำให้จิต มีการทำงานเพียงเรื่องเดียว เมื่อการงานขาดในขณะนั้น คือ บริกรรมมันขาด จิต ก็ วูบ เข้าสู่สภาวะหลับ ในสมาธิ เรียกว่า การวูบกึ่งหลับ


       ดังนั้น แบบที่ 1 ไม่มีกลไก ในการแก้ ด้วยกรรมฐาน เพราะว่า เป็นกลไก ของ กาย และ จิต ที่ต้องสัมพันธ์ก่อน อันนั้น ต้องการการพักผ่อน คือ การนอนหลับ

       ส่วนแบบที่ 2 เป็นแบบที่เราจะต้อบรับมือ

 
       วิธีรับมือ ในการนี้ ก็คือ ต้องมอบงานให้แก่จิต อย่าให้ขาด ในงานเรื่องเดียว แต่ต้องมีลำดับของงาน อย่าให้ขาด นั้นก็คือ ลำดับพระกรรมฐาน ดังนั้นคนที่ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ กับอาตมา ไม่มีใครตกภวังค์ เลย แต่ ทั้ง 30 นาที 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง จิต เป็นสมาธิ ด้วย ฉันทะ สมาธิ เป็นการแก้ ปรากฏการณ์ ภวังค์ ในตัว

      สรุป ลำดับพระกรรมฐาน จะสามารถแก้เรื่องการตกภวังค์

     
21  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / มาทำความรู้จัก พระพุทธศาสนา ลังกาวงศ์ กันสักหน่อย ดีไหม ? เมื่อ: ธันวาคม 13, 2014, 01:01:15 pm


กระจกหกด้าน ตอน ลังกาวงศ์
https://www.youtube.com/watch?v=7gADbiLVkbg

 วีดีโอนำก่อน สำหรับคนที่ยังไม่มีพื้น ฐาน เพราะเนือ้หาค่อนข้างเป็น วิชาการ อ่านแล้ว พึงสังวรระวังเพราะ เมื่ออ่านถึงประวัติศาสตร์ มาก ๆ อาจจะทำให้บรรดาศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อาจจะต้องสั่นไหว เพราะว่า เนื้อหาจะย้อนสวนทางกับที่เคยรู้มาก่อนว่า

   พระโสณะ พระอุตตระ เป็นผู้นำพระพุทธศาสนา เข้ามาสู่ แดนดินสยาม
   แต่พออ่านศึกษาไป กลับเปลี่ยนเป็น พระอุบาลี แทน และ ลังกาวงศ์ มาจากไหน ?

   ต้องอ่านด้วยการวางใจ เพราะเรื่องเล่านี้เป็นเรื่อง ประวัติศาสตร์ ที่มีการบันทึกไว้ แตกต่างกันไปตามผู้บันทึก แต่ละท่าน แต่ละคน แต่ละที่ แต่ละทาง นั้นเป็นไปตามความศรัทธา และ อยู่กันคนละที่  คนละแห่ง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ จะพิสูจน์หลักฐานกัน ก็ต้อง ดูว่า ใครมีบันทึก ที่ชี้ชัดหลักฐาน ทางรูป โบราณคดี มากกว่า ก็เป็นอันชัดเจนกว่า กัน




เชิดชูพระอุบาลี 260 ปี จารึกนาม 'สยามวงศ์'
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12807.0

   พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย

ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์

เรื่องตำนานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาสู่ประเทศสยามนั้น เดิมเมื่อ พ.ศ. 1696 พระเจ้าปรักกรมพาหุได้ครองราชสมบัติในลังกาทวีป พระเจ้าปรักรมพาหุนี้นับเป็นมหาราชองค์หนึ่งในพงศาวดารลังกาเพราะมีอานุภาพมาก สามารถปราบปรามได้เมืองทมิฬทั้งปวงไว้ในอำนาจ และเป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทรงอาราธนาให้พระมหาเถรกัสปเถรเป็นประธานทำสังคายนาพระธรรมวินัย(อันนับในตำนานทางฝ่ายใต้ว่าเป็นสังคายนาครั้งที่ 7) แล้วจัดวางระเบียบข้อวัตรปฏิบัติแห่งสงฆ์นานาสังวาสให้กลับคืนเป็นนิกายอันเดียวกัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นในลังกาทวีป ครั้นกิติศัพท์นั้นเฟื่องฟุ้งมาถึงประเทศพม่า มอญ ไทย ก็มีพระภิกษุในประเทศเหล่านี้พากันไปสืบสวนยังเมืองลังกา เมื่อไปเห็นวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ชาวลังกาตามแบบแผนนั้นก็เลื่อมใสใคร่จะนำกลับมาประดิษฐานในบ้านเมืองของตน แต่พระสงฆ์ชาวลังการังเกียจว่าสมณวงศ์ในนานาประเทศแตกต่างกันมาเสียช้านานแล้ว จึงเกี่ยงให้พระภิกษุซึ่งไปจาต่างประเทศรับอุปสมบทใหม่ แปลงเป็นนิกายลังกาวงศ์อันเดียวกันเสียก่อน พระภิกษุชาวต่างประเทศก็ยอมกระทำตาม พระภิกษุชาวต่างประเทศอยู่ศึกษาลัทธิพระธรรมวินัยในลังกาทวีปจนรอบรู้แล้ว จึงกลับมายังประเทศของตน บางพวกก็พาพระสงฆ์ชาวลังกามาด้วย เมื่อมาถึงบ้านเมืองเดิมผู้คนเห็นว่าพระสงฆ์ลังกาวงศ์ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ก็พากันเลื่อมใสให้บุตรหลานบวชเรียนในสำนักพระสงฆ์ลังกาวงศ์มากขึ้นโดยลำดับทั้งในประเทศพม่า รามัญ และประเทศสยามตลอดไปจนประเทศลานนา ลานช้างและกัมพูชา เรื่องตำนานพระสงฆ์นิกายลังกาวงศ์นี้มีเนื้อความดังนี้


( พระอุบาลีมหาเถระ รอนแรมไปกลางทะเลกับเรือสินค้าสัญชาติดัตช์นานกว่า 5 เดือน เมื่อถึงศรีลังกาจึงเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทพระ 700 และบรรพชาสามเณร 2,300 รูป พระพุทธรูปในศรีลังกาจึงเจริญรุ่งเรืองกระทั่งปัจจุบันรวม 260 ปี และให้เกียรติตั้งชื่อว่า นิกายสยามวงศ์ หรือ อุบาลีวงศ์ )


ว่าโดยส่วนประเทศสยาม ดูเหมือนพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จะแรกมาถึงเมื่อราว พ.ศ. 1800 พวกพระภิกษุไทยซึ่งได้ไปบวชแปลง ณ เมืองลังกากลับมาตั้งคณะที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อนแล้วชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกาตามมาช่วยกันสร้างพระมหาธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราชแปลงเป็นรูปพระสถูปอย่างลังกา เมื่อเกียรติคุณของพระสงฆ์ลังกาวงศ์แพร่หลายขึ้นไปถึงกรุงสุโขทัยราชธานี เมื่อครั้งกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงเป็นใหญ่ก็ทรงเลื่อมใสโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ลังกาวงศ์ขึ้นไปตั้ง ณ กรุงสุโขทัย ลัทธิลังกาวงศ์จึงรุ่งเรืองในสยามแต่นั้นมา ความข้อนี้ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1820 ความว่า“พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบพระไตรปิฎก หัวก๊กกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกตนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา” ดังนี้ ตั้งแต่ลัทธิลังกาวงศ์มาเจริญ ลัทธิมหายานก็เสื่อมแล้วสูญไป คงมีแต่พระสงฆ์ถือลัทธิหินยาน แต่ว่าในชั้นแรกต่างกันเป็น 2นิกาย คือ พระสงฆ์พวกเดิมกับพวกที่อุปสมบทตามลัทธิลังกาวงศ์ ในที่สุดจึงรวมเป็นนิกายเดียวกัน เรื่องรวมนิกายนี้ที่เมืองมอญถึงพรระเจ้าแผ่นดินต้องบังคับ แต่ในสยามรวมกันได้ด้วยปรองดอง มีหลักฐาน คือ ในศิลาจารึกที่เมืองสุโขทัยและเชียงใหม่ปรากฏว่าพระสงฏ์ลังกาวงศ์มาอยู่วัดอรัญญิก เมื่อจะไปตรวจดูถึงท้องที่ทั้ง 2 แห่งนั้นก็เห็นสมจริง ด้วยที่เมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่ บรรดาวัดใหญ่มักสร้างในเมือง แต่ยังมีวัดอีกชนิดหนึ่งเป็นวัดขนาดย่อมๆ สร้างเรียงรายกันอยู่ในที่ตำบลหนึ่ง ระยะทางพอพระเดินเข้าไปบิณฑบาตในเมืองได้ ที่เป็นเช่นนั้นพึงเห็นเป็นเค้าว่าพระสงฆ์นำกายเดิมคงอยู่วัดใหญ่ๆในเมือง ส่วนพระสงฆ์ลังกาวงศ์ไม่ชอบอยู่ในละแวกบ้าน เพราะถือความมักน้อยสันโดษเป็นสำคัญ จึงไปอยู่ ณ ที่อรัญญิก จึงมีวัดเรียงรายต่อกันไปเป็นหลายวัด อันที่จริงพระสงฆ์นิกายเดิมกับนิกายลังกาวงศ์ก็ถือลัทธิหินยานด้วยกัน แต่เหตุที่ทำให้แตกต่างถึงไม่ร่วมสังฆกรรมกันได้มีอยู่บางอย่าง ว่าแต่เฉพาะข้อสำคัญอันมีเค้าเงื่อนยังทราบได้ในเวลานี้ คือพระสงฆ์นิกายเดิมเห็นจะสังวัธยายพระธรรมเป็นภาษาสันสกฤต แต่พวกนิกายลังกาวงศ์สังวัธยายเป็นภาษามคธ อีกอย่างหนึ่งพวกลังกาวงศ์รังเกียจสมณในสยาม คงเป็นเพราะว่าปะปนกับพวกถือลัทธิมหายานมาช้านาน ถือว่าเป็นนานาสังวาสไม่ยอมร่วมสังฆกรรม พระสงฆ์จึงแยกกันอยู่เป็น 2 นิกายทั้งที่เมืองสุโขทัยและเชียงใหม่ เหตุที่จะรวมพระสงฆ์เป็นนิกายเดียวกันนั้น สันนิษฐานว่าคงจะเกิดแต่พวกผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมบวชเรียนในนิกายลังกาวงศ์มากขึ้นทุกที เมื่อความนิยมแพร่หลายลงไปถึงพลเมือง ก็พากันบวชเรียนในนิกายลังกาวงศ์มากยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้พระสงฆ์นิกายเดิมน้อยลงเป็นลำดับมา จนที่สุดต้องรวมกับนิกายลังกาวงศ์ ข้อความที่ว่ารวมกันโดยปรองดองนั้น มีที่สังเกตอยู่ 2 อย่าง คือ ในวิธีบรรพชาอุปสมบท ผู้บรรพชาต้องรับพระไตรสรณคมน์เป็นภาษามคธและยังต้องรับพระไตรสรณคมน์เป็นภาษาสันสกฤตอีก ข้อนี้ส่อให้เห็นว่าพวกลังกาวงศ์สังวัธยายพระธรรมเป็นภาษามคธ พวกนิกายเดิมสังวัธยายเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อจะให้การบรรพชาสมบูรณ์ตามคติทั้ง 2 นิกาย จึงให้รับพระไตรสรณคมน์ 2 อย่าง ยังมีที่สังเกตอีกอย่างหนึ่ง ที่ใบสีมาพระอุโบสถ บรรดาวัดซึ่งสร้างแต่ครั้งสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ถ้าเป็นวัดหลวงมักทำใบเสมา 2 แผ่นปักซ้อนกัน ถ้าเป็นวัดราษฎร์ทำสีมาแต่แผ่นเดียว สันนิษฐานว่า เดิมคงปักสีมาแต่แผ่นเดียวเหมือนกันหมด ครั้นพวกพระสงฆ์ลังกาวงศ์เข้ามาตั้งรังเกียจสมณวงศ์ในประเทศสยาม จึงรังเกียจสีมาซึ่งพระสงฆ์สยามผูกไว้ ไม่ยอมทำสังฆกรรม เป็นการลำบากแก่พวกที่เคยอุปสมบทบุตรหลานในวัดสำหรับตระกูล หรือซึ่งเคยให้อยู่วัดใกล้บ้านเรือนอุปการะกันง่ายมาแต่ก่อน คงอาศัยเหตุเหล่านี่เป็นต้น พระเจ้าแผ่นดินจึงทรงอาราธนาพระสงฆ์ลังกาวงศ์ให้ผูกสีมาบรรดาวัดหลวงซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ทำสังฆกรรมได้ทั้งพระสงฆ์นิกายเดิมและนิกายลังกาวงศ์ วัดใดที่ได้ผูกสีมาซ้ำแล้ว จึงให้ปักใบสีมาเพิ่มขึ้นเป็น 2 ใบเป็นสำคัญ โบสถ์ที่มีใบสีมา 2 ใบจึงเป็นวัดหลวงเป็นพื้น ตั้งแต่ลัทธิลังกาวงศ์มารุ่งเรืองในประเทศสยาม ไทยก็รับแบบแผนของลังกามาประพฤติ ในการถือพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่าการสร้างพุทธเจดีย์ก็สร้างตามคติลังกา พระธรรมก็ทิ้งภาษาสันสกฤตกลับสาธยายเป็นภาษามคธ เป็นเหาตุให้การศึกษาภาษามคธเจริญรุ่งเรืองในสยามแต่นั้นมา ข้อนี้พึงเห็นได้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ในบางแผนกปรากฏนามคัมภีร์พระไตรปิฎกและนามพระเถระกับทั้งราชบัณฑิตที่ได้ทรงปรึกษาสอบสวนเป็นส่วนมาก ส่วนพระสงฆ์นั้นตั้งแต่รวมเป็นนิกายอันเดียวกันแล้ว ก็กำหนดต่างกันแต่โดยสมาทานธุระเป็น 2 พวกตามแบบอย่างในลังกา

แต่การที่ไทยรับถือลัทธิลังกาวงศ์ครั้งนั้น ไม่ได้ทิ้งขนบธรรมเนียมแม้เป็นฝ่ายศาสนาอื่น ซึ่งได้เคยประพฤติมาแต่ก่อนทั้งหมด ด้วยนิสัยเลือกใช้แต่ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ดังกล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นประเพณีการบ้านเมืองซึ่งเคยถือคติตามทางศาสนาพราหมณ์ อันมิได้ขัดแก่พระพุทธศาสนาก็คงถือต่อ แม้ภาษาสันสกฤตก็ยังศึกษาและใช้ปะปนในภาษาไทยมิได้เลิกถอนไปทีเดียว มีการบางอย่างซึ่งไทยรับลัทธิลังกามาแก้ไขให้เหมาะแก่ความนิยมในภูมิประเทศ เช่นตัวอักษรเขียนพระไตรปิฎกคงใช้ตัวอักษรขอม เป็นต้น พระพุทธศาสนาที่ถือกันในประเทศสยาม ควรนับว่าเกิดเป็นลัทธิสยามวงศ์ตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีสืบมา จนเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เมืองลังกาเกิดจลาจล หมดสิ้นสมณวงศ์ ได้มาขอคณะสงฆ์ไทยมีพระอุบาลีเป็นประธานออกไปให้อุปสมบท กลับมาตั้งสมณวงศ์ขึ้นในลังกาทวีป ยังเรียกว่านิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์อยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้
22  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะที่ละเอียด จะเข้าใจได้ ก็ต้องภาวนาด้วย ไม่ใช่ใช้จิตที่หยาบ ไปทำความเข้าใจ เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2014, 04:30:30 am
แจกธรรมยามเช้า นี้ เนื่องด้วย ในวัน ธัมมัสวนะ ( วันพระ )



"เมื่อเรียนธรรมกันใหม่ ๆ นั้น เราก็เห็นว่ามันง่าย เข้าใจง่าย จำได้ง่าย แต่ครั้นเรียนพระธรรมมานานวันมากขึ้นการเรียนธรรม รู้สึกได้เลยว่าไม่ง่าย รู้สึกว่าเข้าใจยาก เพราะความรู้สึกที่เกิดก็เลยรู้สึกท้อ แต่ครั้นมาลำดับความคิดใหม่ และพิจารณาความเป็นจริง นั่นก็เพราะว่าเราเรียนธรรมลาดลึกลงไปเรื่อยๆ ถึงขั้นขจัดกิเลส ตั้งแต่ หยาบ กลาง และ ละเอียด ที่เรารู้สึกว่ายาก ก็เพราะมันรู้สึกมาจากปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบัน ก็ยังขาดความเข้าใจในการภาวนา อันเกิดจากการไม่ได้ภาวนา พระธรรมที่ละเอียดลุ่มลึก ไม่ได้ใช้ความคิดเพื่อจะเข้าถึง แต่เกิดจากพากเพียร ภาวนาเพื่อเข้าถึง ธรรมย่อมเข้าถึงตามระดับ ลาดลุ่มลึกไปเรื่อย ตั้งแต่เบา กลาง และหนัก ในขั้นพระอริยะก็เช่นกัน ก็ต้องไล่กัน ตั้งแต่ ปุถุชน โคตรภู พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ก็เป็นไปตามลำดับ ธรรมที่เกิดก็มีสภาะแตกต่างกันไปตามระดับ หาได้เป็นอย่างเดียวกัน การละจากสังโยชน์ ย่อมมาจากการภาวนา ดังนั้นเวลาที่เราขาดความเข้าใจก็เป็นเพราะว่าเรามัวแต่เรียนท่องจำ ไม่ได้นำมาภาวนาจึงขาดความเข้าใจ สมัยก่อนอ่านพระอภิธรรมไม่เข้าใจก็เป็นเพราะว่าเรายังการภาวนา แต่ครั้นมาช่วงหลังๆ นี่ สามารถอ่านได้ แม้ธรรมะจะมีข้อความซับซ้อนแต่เมื่อเทียบการภาวนาลงไป ช่างน่าอัศจรรย์ ที่เราสามารถเข้าใจได้ โดยไม่ต้องมีผู้รู้ท่านใดมาสอนหรือแนะนำ เพียงหยิบขึ้นมาอ่าน ตอนนี้เลยอ่านพระอภิธรรมพระไตรปิฏก ตรง ๆ เลยอ่านแล้ว รู้สึกสนุก เหมือนได้ถูกเปิดตาให้เห็น เมื่อก่อน หยิบขึ้นมาอ่านแล้วก็ต้องวาง บอกตรง ๆ ว่าเล่มที่ชอบ ก็คือ ธาตุสังคหะ อันนี้ชอบมาก เมื่อก่อนอ่านแล้วไม่เข้าใจ แต่ตอนนี้หลังจากการภาวนาเรื่องธาตุมาตรง ๆ อ่านแเล้วเข้าใจมากขึ้น ถึงบางอ้อ ๆๆๆๆ ร้องในใจ อ้อ อย่างนี้นี่เอง ก็หลายครั้ง ......"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


23  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / สมาชิกแนะนำ วันนี้ "ปราโมทย์ อินทรจันทร์" 13 พ.ย.57 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2014, 10:03:35 pm


https://www.facebook.com/profile.php?id=100008399558022

สำหรับ อุบาสก ท่านนี้ ถึงแม้จะไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน กับพระอาจารย์ ในขั้นแนวหน้า คือ มาขึ้นกรรมฐาน ก็หลักร้อยไปแล้ว แต่ ก็มีเหตุให้ต้องทำอะไรกันเป็นพิเศษ ถึงสามครั้งด้วยกัน อาจจะเป็นเพราะด้วยคำอธิษฐานไว้ส่วนหนึ่ง นับว่าเป็นศิษย์ที่มีความเคารพ กันอย่างดี

     ในคราหนึ่ง นายปราโมทย์ แอบมาหาพระอาจารย์ ในเวลาบ่ายเขานั่งรถรอบเมืองมาคนเดียว วันนั้นออกจากสมาธิพอดี ก็เลยไปนั่งดักอยู่ที่ใต้ต้นพิกุลหน้าวิหารหลวงพ่อแผ้ว ก็บอกเธอว่า มานั่งรอยู่แล้ว .... นี่ก็เป็นครั้งหนึ่ง

     สำหรับ อุบาสก ท่านนี้จัดว่าเป็นสหายธรรม ในหมู่ของคุณธรรมธวัช ที่ยังเหนียวแน่ ด้วยศรัทธาในพระกรรมฐาน สายวัดพลับ หรือ เป็นอีกผู้หนึ่งที่เคารพในครูกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อย่างดี

      กาลเวลาล่วงเลยไป ศรัทธาก็ยังตั้งมั่น ถึงแม้ จะมีอุปสรรค จากอาชีพอยู่บ้าง ด้วยฐานะ แต่ก็จัดได้ว่าเป็นสมาชิกธรรมอีกผู้หนึ่ง ที่พอจะสนทนาพระกรรมฐาน สายวัดพลับอีกผู้หนึ่ง

      จึงแนะนำไว้

      เจริญธรรม / เจริญพร
24  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / สมาชิกแนะนำ วันนี้ "พิชชา จันทะหาร" แนะนำวันที่ 13 พ.ย. 57 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2014, 09:55:38 pm


https://www.facebook.com/rose.pitcha



สำหรับสมาชิก แนะนำวันนี้ เป็นอุบาสิกา อีกท่านหนึ่ง ที่นับว่าเป็นอุบาสิกา ที่มีประสบการณ์ทางธรรมกับหลวงปู่ อีกผู้หนึ่ง เธอได้ขึ้นกรรมฐานที่ วัดพลับ กับ หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ด้วยกัลยาณมิตร อย่างคุณณฐพลสรรค์ เป็นผู้นำไป บารมีธรรม ที่ได้ภาวนามากันสองสามปี มานี้ ทำให้สุขภาพของเธอดีขึ้นเรื่อย ๆ จากเมื่อก่อน

   นับว่าเป็นอุบาสิกา อีกผู้หนึ่ง ที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุน พระอาจารย์ ในด้านการเผยแผ่พระกรรมฐาน หลายอย่าง ถึงแม้บางอย่างได้ประกาศไป บ้าง บางอย่างก็ไม่ได้ประกาศ

    ความเคารพศรัทธา ที่มีตรงต่อการภาวนา ความทุกข์ที่เธอได้เห็น ต้องมีสักวันที่จะได้ถึงฝั่งแห่ง พระนิพพานถ้าเธอมุ่งมั่นในคุณงามความดี ทางกรรมฐาน อย่างมั่นคง

    ในบรรดาคนที่นิมนต์ พระอาจารย์ไปฉันเช้า ฉันเพล ในงานวันเกิดนี้ มีไม่น้อยใน 7 ปีนี้ แต่ไม่เคยรับนิมนต์ไปเลย มีเธอนี่แหละ ที่พระอาจารย์รับนิมนต์และก็นับว่า ได้กัลยาณมิตร อย่างคุณณฐพลสรรค์ ช่วยแบกพาไป ด้วยจึงทำให้เธอมีโอกาส และพระอาจารย์ก็มีโอกาสได้ไปเยี่ยมเธอ

     ดังนั้นนับว่า เป็นกัลยาณมิตร ที่ชื่นชมในกุศล มิได้ขาด อีกท่านหนึ่ง จึงขอแนะนำไว้

     เจริญธรรม / เจริญพร


 
25  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / สมาชิกแนะนำ วันนี้ "นงเยาว์ แกล้วกล้า" แนะนำวันที่ 13 พ.ย. 57 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2014, 09:44:11 pm

https://www.facebook.com/profile.php?id=100005218658240



https://www.facebook.com/profile.php?id=100002935604998


สำหรับ สมาชิกธรรม ที่จะแนะนำวันนี้ อีกคน ก็คือ อุบาสิกา ที่กล่าวได้ว่า เป็นศิษย์อุบาสิการุ่นแรก ในครั้งที่ พระอาจารย์ รับขึ้นกรรมฐาน กลุ่มอุบาสิกา มี 4 ( เดิมทีคิดว่า 6 เปิดดูบันทึกแล้วมีแค่ 4 คน ) คนด้วยกันที่มาขอขึ้นกรรมฐาน เป็นกลุ่มแรก หนึ่งในนั้น ก็คือ คุณนงเยาว์ แกล้วกล้า

    ซึ่งนับว่าเป็น อุบาสิกา ที่ช่วยสนับสนุน และเป็นกัลยาณมิตร ทั้งทางตรงและทาง อ้อมให้กับเว็บ และ สนง.พระกรรมฐาน เช่นกัน

    ถึงอาตมา ไม่ได้กล่าว กิตติคุณประกาศ ไว้หลายอย่าง แต่ก็นับว่า เป็น อุบาสิกา ที่ช่วยเหลือส่งเสริมทีมงานมัชฌิมา อีกท่านหนึ่ง

    กรรมฐาน ของ เธอก็จัดได้ว่า ก้าวหน้า ขึ้นในระดับที่พระอาจารย์ คลายกังวลลงได้เยอะ เพราะเนื่องด้วยเป็นอุบาสิกา ที่ครูท่านฝากสอนด้วย เกรงว่าจะสอนไม่ได้ดีเท่ากับครู (อันที่จริงก็ไม่เท่ากับครูสอนไว้ ) ก็คงต้องใช้เวลาอีก สักระยะ จนกว่า วิบากบางอย่าง บางประการ จะสิ้นสุดลงไป 

    การรับธรรม จัดได้ว่า อยู่ในขั้น ที่ พอใจ สำหรับครูอย่างอาตมา ซึ่งคิดว่า หลังจากวันหนึ่ง ที่ไม่มีเรา และเราจากไปแล้ว อุบาสิกาท่านนี้ ก็จักถึงฝั่งที่ตนปรารถนา ได้ตามที่ครูท่านบอกไว้

    แต่อย่างไรก็ตาม กรรม และ วิบาก ยังมีผลอยู่

    ก็ขออนุโมทนา กับ เธอด้วย

26  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / สมาชิกแนะนำ วันนี้ "นาฏนพิทย์ เพชรชาลี" แนะนำวันที่ 13 พ.ย. 57 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2014, 09:34:27 pm

รูปประจำตัวใน เฟคบุ๊ค
https://www.facebook.com/profile.php?id=100004481880330



  ด้านซ้ายของพระ นะ


สำหรับ สมาชิกธรรม ที่จะแนะนำวันนี้ อีกคน ก็คือ อุบาสิกา ที่กล่าวได้ว่า เป็นศิษย์อุบาสิการุ่นแรก ในครั้งที่ พระอาจารย์ รับขึ้นกรรมฐาน กลุ่มอุบาสิกา มี 4 ( เดิมทีคิดว่า 6 เปิดดูบันทึกแล้วมีแค่ 4 คน ) คนด้วยกันที่มาขอขั้นกรรมฐาน เป็นกลุ่มแรก หนึ่งในนั้น ก็คือ คุณนาฏนพิทย์ เพชรชาลี

    ซึ่งนับว่าเป็น อุบาสิกา ที่ช่วยเหลืองานเผยแผ่ ทั้งทางตรงและทาง อ้อมให้กับเว็บ และ สนง.พระกรรมฐาน เป็นอย่างมาก

    ถึงอาตมา ไม่ได้กล่าว กิตติคุณประกาศ ไว้หลายอย่าง แต่ก็นับว่า เป็น อุบาสิกา ที่ช่วยเหลือส่งเสริมทีมงานมัชฌิมา อีกท่านหนึ่ง 

    การรับธรรม จัดได้ว่า อยู่ในขั้น ที่ พอใจ สำหรับครูอย่างอาตมา ซึ่งคิดว่า หลังจากวันหนึ่ง ที่ไม่มีเรา และเราจากไปแล้ว อุบาสิกาท่านนี้ ก็จักถึงฝั่งที่ตนปรารถนา ได้ตามที่ครูท่านบอกไว้

    แต่อย่างไรก็ตาม กรรม และ วิบาก ยังมีผลอยู่

    ก็ขออนุโมทนา กับ เธอด้วย


   
27  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ก้าวแรก ๆ ก้าวน้อย ๆ ที่สำคัญ ก็คือ การเรียนรู้จัก ความจริงของทุกข์ ให้ได้ เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2014, 02:09:14 pm


บางทีเราก็ค้นหาวิธีการมากมาย ในการภาวนา แต่ถ้าไม่ลืมหลักการที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้เป็นลำดับดีแล้วละก็ จะไม่มีทางเดินผิดแน่ ดังนั้น ก้าวเล็ก ๆ ก้าวน้อย ๆ เป็นก้าวแรก ก็คือ การเข้าไปหาความจริง ของ ทุกข์ ให้รู้จักสภาวะทุกข์ เป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไรและกำหนดทุกข์นั้นให้ได้ และวางเป้าหมายเพื่อจะละจากความทุกข์นั้น อันนี้เป็น ก้าวแรกที่อยากแนะนำไว้ "


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของธมฺมวํโส ภิกฺขุ

28  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / บทเพลง ขอบเขตน์ และ พ้นขอบเขตน์ ( กำลังหาผู้ใส่ทำนอง ) เมื่อ: ตุลาคม 23, 2014, 10:07:25 am


ทุกข์ทน เวียนว่าย บุญบาป สนองมา
เกิดตาย หลายครั้ง จะสิ้นสุด ตอนไหน
รักโลภ โกรธหลง หน่วงไว้ กลับมา
รันทด คร่ำครวญ ปวดร้าว สิ้นหวัง
แสวงหา จุดหยุด ควาญหา อย่างไม่รู้
ตาบอด งมงาย ทุกข์ก็ไม่คลาย เกิดตายเช่นเดิม
ที่นี่วุ่นวาย ที่นี่ขัดข้อง พูดคิด ทุกที่
มาเถิด ท่านทั้งหลาย เปิดศรัทธา เอาไว้
ยินดีความสงบ  ละความยึดถือ กายนี้ว่าเป็นเรา
มุ่งใจ เป็นพุทธะ สงบสุข และตั้งมั่น
เห็นสัจจะ แห่งธรรม ตามสิ่ง ที่ควรจะเป็น
แจ้งรู้ ละทิฏฐิ จางคลาย และหลุดพ้น
ฝึกฝน ตามแก่น สาระธรรม ที่ปรากฏ
รวมจิต ชนแดน แผ่ไป อย่างไพศาล
รอบรู้ ฌานชำนาญ ประจักษ์แจ้ง ในใจตน
ปล่อยวาง เห็นเกิดดับ แจ้งชัด เป็นหมื่นหน
ก้าวล่วง ปุถุชน สำเร็จธรรม พ้นมายา
สงัดสุข ไม่วุ่นวาย ราบรื่นแท้ ไม่ขัดข้อง
ปฐมมรรค พลันปรากฏ ละได้ครบ องค์ทั้งสาม
ดวงจิต กำราบมาร ก้าวข้ามขีด พ้นอบาย
ทุติยะมรรค ส่งต่อเกิด พุทธะกาย มหาศาล
มุ่งตรง พ้นเขตมาร เข้าเขตฐาน บรมมุนี
ตติยะมรรค สิบสองรอบ บรรลุแจ้ง พ้นขอบเขต
ข้ามโอฆะ โลกที่ลวง  ไม่จมอยู่ ในตัณหา
ถึงธรรมขาว พรั่งพร้อม สุทธิธรรม พุทธปัญญา
จตุถะมรรค ไม่เกิดอีก พ้นขอบเขตน์ อันธกาล
ปฏิญาณ ตนไม่กลับ ไม่เกิด อีกต่อไป
ถึงสิ้นสุด อมตะ พรมหจรรย์ ที่เหนือโลก
พ้นเขตน์ แดนกั้น ไม่เกิดอีก อนันตา



อันนี้เป็นบทเพลง นะ ไม่ใช่คำกลอน ลองใส่ทำนองดูบ้างแล้ว แต่รอท่านที่ใส่ทำนองเก่ง ๆ มาใส่หน่อย บทเพลงนี้ให้ร้องอย่างเรียบง่าย ทำนองช้า เป็นบทเพลง ที่กล่าว วัฏฏะ ต้นทาง และ การออก จากวัฏฏะ ปลายทาง แต่ตรงกลางทาง คือ ปัญหาใหญ่ ที่หลายคนกำลังพยายามกันอยู่

     TRY FOR TRY Bypass wattasongsan

29  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมยาตรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงประกาศธรรมอันงาม เมื่อ: ตุลาคม 10, 2014, 09:46:21 am


   หลังจากกาล แห่งพรรษา ผ่านพ้นล่วงมา เมื่อบรรดาภิกษุทั้งหลาย มีพร้อมกันทั้ง 61 รูปร่วมทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันต์ผู้ทำกิจของตน ถึงพร้อมแล้ว จึงได้รับพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงประกาศธรรมอันงาม ทั้งในเบื้องต้น และท่ามกลาง และที่สุด แก่ชนทั้งหลายผู้ยังมี ธุลีในจักษุน้อย เธอจงไปสู่หนทางแห่งตนอย่าได้ ไปด้วยกัน


   นี้คือ ธรรมยาตรา ครั้งแรก ที่ออกสู่การเผยแผ่ พระสัจจะธรรม ชื่อว่า อริยะสัจจะ 4 และ อริยะมรรค มีองค์ 8 มีพระอรหันต์ 61 รูป ได้ปฏิบัตินี้เป็นครั้งแรก

    เมื่อถึงเวลานี้เป็นการสิ้นสุดแห่งการจำพรรษา หมดกิจในกรานกฐิน แล้ว ภิกษุผู้ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ ผู้ฝึกฝนตนด้วยดี จักต้องทำหน้าที่ประกาศธรรม อันงามในเบื้องต้น และท่ามกลาง และที่สุด แก่ชน ผู้ยังพอมีปัญญาเห็น อริยสัจจะทั้ง 4 และ มีความประพฤติมุ่งตรงต่อพระนิพพาน ด้วย อริยมรรค มีองค์ 8 ประการ นี้ต่อไป ดังนั้น ธรรมยาตรา ยังไม่สิ้นสุด จนกว่า กาลแห่งพระพุทธศาสนา จักหมดไปตามพุทธทำนาย

    ขอบคุณท่านทั้งหลายที่ได้มาร่วมกับ ธรรมยาตราเล็กๆ  ที่อาตมากับคณะศิษย์ พยายาม พากเพีียร เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้มีบุญกุุศลร่วมกัน เป็นศิษย์พี่ศิษย์น้องกันมาแต่อดีตอันยาวนาน และเชิญท่านมาร่วมกัในธรรมยาตรานี้ หากท่านใดมีความประสงค์ เพื่อแสวงหาธรรม เพื่อการภาวนา เพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ให้สิ้น จงเดินเข้ามา และร่วมธรรมยาตรา เพื่อประกาศธรรมแห่งพระสุคต อันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด นี้ด้วยกันต่อไป

    เจริญธรรม / เจริญพร
30  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นิมิต คือ อะไร สำคัญอย่างไร เกี่ยวพันอย่างไร กับผู้ภาวนา เมื่อ: ตุลาคม 07, 2014, 09:52:40 am


  (ภาพนี้ เป็นภาพที่ฝันบ่อย ๆ มาก จนกระทั่งต้องนั่งร่างรูปออกมา อย่างนี้ด้วยดินสอสี พอนำภาพออกมา ก็เที่ยวหาตามหาสถานที่ ๆ เป็นดังภาพหรือ คล้ายกับภาพนี้ ซึ่งในฝันนั้นเป็นเรื่องราวในอดีต ของตนเอง ที่เคยไปทำภาระกิจบางอย่างที่นี่ )


วันนี้ จะได้หยิบยก เรื่อง ของ นิมิต มา กล่าวสักเล็กน้อย เนื่องด้วยหลายท่าน ก็มักจะถาม และ ถามกันบ่อยมาก ๆ จริงเรื่องนี้ เพราะมันเป็นเรื่องใกล้ตัว สำหรับทุกคนต้องประสบเจอกันแบบใด แบบหนึ่ง ในก็คือ เรื่องของนิมิต นั่นเอง


  คำว่า นิมิต แปลว่า เครื่องกำหนด , สิ่งที่ปรากฏ , สัญญลักษณ์ , เครื่องหมาย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ว่าใช้กับอะไร เช่น ไปทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิต ก็หมายถึง พากันไปปิดทอง ลูกกลม ๆ ซึ่งเป็น สัญญลักษณ์บอกเขตของสงฆ์ ที่ใช้ทำสังฆกรรม กัน อย่างนี้เป็นต้น

   นิมิต มีอยู่สองประเภท คือ

   1.นิมิต ที่ได้รู้ เห็น หยั่งถึง สัมผัส ได้จากการหลับ อันนี้เรียกว่า นิมิต เช่นกัน ภาษาเราชาวบ้าน เรียกว่า ความฝัน ซึ่ง นิมิตที่เกิดในตอนนอนหลับนี้ มีได้หลายอย่างหลายประการ เป็นได้ทั้งจริง และไม่จริง แต่ ส่วนใหญ่ จะไม่จริง 98 เปอร์เซ็นต์ ของบุคคลที่ฝันล้วนแล้วไม่จริง ....



    แต่ที่เป็นจริงก็มีประมาณ 2 เปอร์เซันต์ เท่านั้้นที่จะเป็นจริง สำหรับบุคคลที่นอนฝันประเภทนี้ ต้องมีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันกับเรื่องราว เช่น ตัวอย่าง พระนางสิริมหามายา สุบิน ( ฝัน ) ว่า มีช้างเผือก ใช้งวงถือดอกบันวมามอบให้ และ เทวดา พยุงเตียงขึ้นบนอากาศ เมื่อฝันอย่างนี้ จึงนำความฝัน ปรึกษาผู้ชำนาญ เชี่ยวชาญด้านการทำนายฝัน ก็ได้ผลสรุปว่า พระนางสิิริมหามายา นั้นจะได้โอรส เป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ มีเดช มีสิริ มีเหล่าทวยเทพป้องกัน ดูแล ดังนี้ อันนี้เป็นคำทำนาย

    ดังนั้นหลายคนจึงชอบฝัน และ ชอบ นำความฝันออกมาตีความ ตีเป็นเรื่อง เป็นราวกันบางคนก็มัวหมอง เพราะความฝัน เพราะฝันไม่ดี แต่บางคนก็ร่าเริง เพราะฝันดี เห็นเลขเด็ด ตีความได้ตังค์ใช้ นับว่าเป็นเรื่อง นานาจิตตัง ของ ปุถุชน ที่ชอบฝัน และ ชอบฝันหวาน กันอยู่ หรือบางคนกล่าวว่า ชอบฝันกลางวัน ก็หมายความว่า หลงใหล มัวเมาในความฝัน เชื่อในสิ่งที่ฝันแต่ไม่เชื่อในสิ่งทีเป็นจริง

    ดังนั้น นิมิต ที่เกิดในตอนนอนนั้น จัดได้ว่าเป็นเรื่องที่หาสาระ ความจริง ได้น้อยมาก ในชีิวิตนี้ อาจจะมีไม่กี่ครั้ง จาก เป็นหมื่น ๆ ครั้งที่ฝัน ที่จะเป็นจริงได้ ดังนั้นท่านที่ชอบอาศัย นิมิต จากฝัน ต้องพึงสังวรณ์ไว้ว่า มันจริงได้ยาก มีความจริงน้อยนัก ในความฝันที่เกิดจากการนอน ของ ปุถุชน


   (ภาพนี้ เป็นภาพที่ปรากฏในสมาธิ ตั้งชื่อไว่า ว่า เหยียบต้นกล้วยข้ามแม่น้ำ เมื่อครูสอนกรรมฐาน สอบสมาธิว่า แก่กล้าแล้วขนาดไหน ท่านจึงเปลี่ยน ปฏิภาคนิมิตให้เป็นภาพที่ปรากฏในสมาธิ อย่างนั้น )
   
    2.นิมิต ที่เกิดขึ้นในระหว่าง ภาวนา และ ทรงการภาวนา อันนี้ มีอยู่  สามนิมิต ด้วยกัน เกิดขึ้นจริงในการภาวนา มีญาณ 9 ใช้งานได้ในนิมิตนั้น ๆ เป็นเรื่อง เป็นราว เป็นการ เป็นงาน แต่ต้องใช้เป็นด้วย นึกจะใช้ทั้งที่มีนั้น ไม่มีทางใช้ได้ คนเข้าฌาน ได้แต่ ญาณ 9 ไม่ได้ มีมาก ดังนั้น ถึงเข้าใช้ได้ ก็ต้องฝึกการใช้ ลหุสัญญา ให้เป็นด้วย ที่สำคัญ ที่เรียนมาจากครูอาจารย์ ท่านสอนไว้ ถ้าต้องการทำ ฤทธิ์ ให้อาศัยปัญจมฌาน เป็นบาทฐานในการใช้ ญาณ 9 วิธิขั้นตอนแต่ละญาณ นั้นไม่เหมือนกันเป็นไปตามอำนาจของกรรมฐานที่ฝึก บางกรรมฐานได้ ญาณมาก 1 ก็มี ไม่ใช่ว่า กรรมฐาน เดียว จะได้ ญาณ เดียว นะบางกรรมฐาน ได้หลาย ญาณ ยกตัวอย่าง พระอริยะจูฬปันถก ท่านสำเร็จเป็ฯพระอรหันต์ ด้วยบาทแห่ง ฌาน เป็น ปฏิสัมภิทาบุคคล นิรมิตกายได้ทั้งมากและน้อย เรียกว่า มโนมยิทธิ กรรมฐานที่ท่านฝึกนั้น สงเคราะห์ในกรรมฐาน ได้หลายกอง ผลการฝึกมีมากกว่า มโนมยิทธิ  ดังนี้เป็นต้น ดังนั้น ท่านที่เห็น นิมิต แล้วมีภาพปรากฏในนิมิต นั้น ๆ โดยเฉพาะ ถ้าปรากฏภายใน ปฏิภาคนิมิต แล้ว เชื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าเป็นไปตามนั้น อย่างเช่น การระลึกชาต อาศัยปฏิภาคนิิมิต ใน อาโลกกสิณ ก็ได้ โอทาตกกสิณก็ได้ อานาปานสติ ก็ได้ อรูปฌาน ก็ได้  กายคตาสติ ก็ได้ แม้บท พุทธคุณ ก็สามารถได้ เห็นรูปทิพย์ เสียงทิพย์ และ ความเป็นทิพย์ ทั้งสิบประการได้ เช่นกัน



     ดังนั้น นิมิต ที่ปรากฏในสมาธิ จึงเขืิ่อได้มากกว่า นิมิต ที่ปรากฏในตอนนอน

    ส่วนการนอน บางท่านกล่าวว่า จิตเข้าฌาน 1 ถึงหลับ ได้ แท้ที่จริงไม่ใช่เป็นฌาน เขาเรียกว่า ภวังค์ การหลับนั้น อาศัยภวังคจิต ไม่ใช่สมาธิ ดังนั้นในสมาธิแท้ ไม่มีการตกภวังค์ เพราะการตกภวังค์อยู่นั้น จะทำให้ขัดข้องในสมาธิ จัดเป็น ภวังคโวฏฐัพพนะ ตกและยึดอยู่ จิต ไม่เคลื่อนเข้าองค์แห่งฌาน เป็นไปด้วยอำนาจการขาดสติ อยู่ในภวังค์ เหมือนหลับ ไม่ใช่เป็นอยู่ในสมาธิ นะจ๊ะ ดังนั้นคนหลับไม่จัดเป็น ฌาน ใด ๆ ทั้งนั้น

    ขอให้ทำความเข้าใจให้ดี สิ่งใด ปรากฏ ในฝัน ก็ตาม ใน สมาธิ ก็ตาม สักว่าเป็นเครื่อง ระลึก เป็นเครื่อง รู้ ไม่ใช่ของจริง ไม่เป็นตัวตนเราเขา หรือสัตวบุคคลใด ๆ เป็นเพียงสภาวะจิตและธรรมมารมณ์ ว่างจากเรา ว่างจากของเรา ว่างจากตัว จากตนของเรา

 
     เจริญธรรม / เจริญพร


   
31  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คนรุ่นใหม่ ลำดับปัญหา ก่อน มาถาม ด้วย ผังก้างปลา หรือ ผังบันได นะจ๊ะ จะได้ตอบตรง เมื่อ: ตุลาคม 05, 2014, 10:23:47 am



คนรุ่นใหม่ เมื่อภาวนา มักจะสับสน ลำดับเหตุผลปัญหา จริง ๆ ไม่ค่อยได้ ลองใช้ map ladder (ผังบันได้ ) หรือ map bonefish (ผังก้างปลา ) หรือ Mind map ( ผังระดมความคิด ) ในการหาสาเหตุกันบ้าง เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหา ให้ถูกจุด ในรูปเป็นการแสดงตัวอย่าง ของการไล่ปัญหา เสริมปัญญา แก้ปัญหา การภาวนา ด้วยระบบผัง ต่าง ๆ จากตัวอย่าง เป็น ผังบันได

   เวลามาถาม หลาย ท่านมักถามไม่ตรงจุดที่ตนเอง ติดขัด แต่ ไปถามในส่วนที่ตนเองคิดว่าเข้าใจแล้ว เพื่อรับรองความเข้าใจ เสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้การแก้ปัญหา ทำไม่ได้ดี การแจ้งกรรมฐาน ไม่ใช่เวลามาก เพราะเป็นส่งอารมณ์ แสดงอารมณ์ สภาวะที่ได้ ที่ขัดข้อง อยู่ ดังนั้น การแจ้งกรรมฐาน อย่าได้ถามครอบจักรวาล เพื่อให้ ครูอาจารย์ มาตอบให้โดนใจ แต่ ควรถามในสิ่งที่ขัด และ รับวิธีแก้ไข ไปดำเนินการแก้ไขต่อไป

   เจริญธรรม / เจริญพร


 
32  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / 10 หน้าเนื้อหาด้านใน ตัวอย่าง หนังสือ ประพันธ์ บทความ อารมณ์ จาก 300 กว่าหน้า เมื่อ: กันยายน 30, 2014, 04:22:36 pm
33  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถ้าไม่ใช่พระโสดาบันขึ้นไป วัตถุเหล่านี้ ยังมีประโยชน์ แก่ท่าน เมื่อ: กันยายน 18, 2014, 07:11:04 pm



วันนี้ได้ยินคำถาม จากท่าน มาสั่งสมกันไว้มากเรื่อง ของวัตถุมงคลในพุทธศาสนา ที่เมืองไทย นั้น มีผลจริงหรือไม่ ? เป็นสิ่งปิดกั้นพระพุทธศาสนา ใช่หรือไม่ ? ชาวพุทธควรจะมีหรือสร้างดีหรือไม่ ?

   เรื่องแรก ต้องบอกว่า วัตถุมงคลทั้งหลายเหล่านี้ มีการใส่อำนาจจิตตามพลัง ของบุคคลที่สร้าง ด้วยวัตถุประสงค์ต่างกันไป บางท่านมีคุณทางด้านเมตตา ก็ใส่ความเมตตา บางท่านมีคุณด้านอืนก็ใส่ไปตามด้านอื่น การสร้างวัตถุมงคลในสมัยก่อน ๆ นั้น ไม่ใช่อย่างปัจจุบัน ไม่ได้สร้างกันไว้เป็นอาชีพ แต่ ปัจจุบัน เป็นอาชีพหนึ่ง ด้วยเทคโนโลยี  อำนวยในการสร้าง จึงมีโรงหล่อ โรงปั้น โรงสร้าง อย่างมากมาย  ประกอบกับวัด มีจำนวนมาก เวลาที่ต้องการสร้างวัด เรี่ียไรเงิน ถ้าแจกวัตถุมงคล หรือ จำหน่ายวัตถุมงคลทั้งหลายเหล่านี้ พระคุณเจ้าที่ดูแลวัด ก็ทำได้ง่าย วัดในเมืองไทย 80 เปอร์เซ็นต์ สร้างด้วยเงินปัจจัยจากวัตถุมงคล ที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ นั้นเกิดจากพระธรรม ความเป็นจริงก็เป็นอย่างนั้น เพราะในเมืองไทย ตอนนี้กล่าวได้ว่า ชนชั้นชาวพุทธที่มีปัญญาระดับเทวดา มีค่อนข้างมาก แต่เป็นระดับพระโสดาบันนั้น มีน้อย และ พระอริยะบุคคลขั้นอื่น ๆ ก็มีน้อย

   สำหรับวัตถุมงคลเหล่านี้ ยังมีความจำเป็นสำเร็จเทวดา เพื่อจะได้ระลึก ถึงพระพุทธคุณ กันบ้าง
   
   แต่สำหรับพระโสดาบัน ขึ้นมา วัตถุมงคลเหล่านี้ ไม่มีความจำเป็นเพื่อเป็นวัตถุภายนอก พระโสดาบันจึงไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะไม่หวั่นไหว ต่อการมี การเกิด การดับ การตั้งอยู่ ของพระรัตนตรัย ต่อไป

    บางคนว่าเป็นเรื่องงมงาย ก็ไม่ถูกซะทีเดียว วัตถุบางชิ้นได้อำนาจจิตที่ พระคณาจารย์ต่างๆ ใส่ไปแล้ว ก็ได้ผลทางพุทธคุณ เบื้องต้นหลายประการ อย่างเช่น พระผลจงอางศึก ที่ เป็นกล่าวขานในประเทศเวียตนาม ที่เหล่าทหารไทยไปสู้กับ สุดยอดทหารของเวียตนาม แต่ไม่ปรากฏว่าทหารไทยจะเพลี่ยงพล้ำ เรื่องเหล่านี้เกิดที่พิธีกรรม ที่วัดบวรนิเวศน์ วัตถุมงคลหลายอย่าง ถ้ามีอำนาจจิตที่พระคณาจารย์ใส่ไว้ได้แล้ว ไม่ว่าท่านจะมีศรัทธา หรือ ไม่ศรัทธา ก็ไม่มีผลที่จะทำให้วัตถุมงคลเหล่านั้นเสื่อม แต่หากมีศรัทธา ก็มีผลมากขึั้น

     ส่วนตัวอาตมาเคยได้รับผลแห่งอำนาจพุทธคุณตรง ๆ เลย 2 ครั้ง

     ครั้งที่ 1 ตกจากรถไฟ ร่วงลงไป ขณะที่กำลังเข้าไปที่ล้อรถไฟ ขณะนั้น ได้ปรากฏแรงดีดอย่างกระทันหัน ดีดตัวออกมาจากด้านใต้รถไฟ หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า ฟลุ๊ก หรือ โชคดี ก็แล้วแต่ ๆ ส่วนตัว ทราบดีขณะนั้น และที่สำคัญ ปรากฏพระยืนอยู่ข้าง ๆ ก้มกราบท่าน ตรงข้างทางรถไฟ แล้วท่านก็หายไป เหตุการณ์อย่างนี้ เกิดขึ้นก็รู้เห็นได้ด้วยตนเอง พระองค์นี้ ส่วนตัวเก็บไว้อย่างดี แม้บวชแล้ว ก็ยังไม่เคยแจกจ่ายให้ใคร ยังเก็บไว้อยู่เพราะนับถือมาก
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนอายุ 21 ปี

     ครั้งที่ 1.1 เรื่องนี้เกิดก่อน แต่ขอเล่าไว้ให้ฟังเป็นเรื่องที่สอง ในตอนอายุ 7 ขวบ ลงไปเล่นที่ริมแม่น้ำป่าสัก มีผู้หญิงคนหนึ่งกวักมือให้ลงไปเล่นน้ำด้วย ตอนนั้นเป็นเด็กอยากเล่นน้ำอยู่แล้วก็ลงไป ปรากฏผู้หญิงที่เรียกหายไป กลายเป็นว่า ตัวเราไปอยู่ในน้ำลึก และขณะที่กำลังสิ้นสติ ก็เห็นผู้หญิงอีกคนหนึ่ง แต่งชุดไทย สีเขียวอ่อนมาฉุดมือขึ้นหลังจากนั้น สติก็ดับวูบไป ฟื้นมาอีกครั้ง ก็พบพระชรารูปหนึ่ง ยืนอยู่ข้าง ๆ ซึ่งเป็นองค์เดียวกับที่เคยกราบที่ตกรถไฟนั่นเอง ท่านบอกว่า ไอ้หนู ข้าให้เขาช่วยเอ็งไว้ ตอนนี้เอ็งรอดตายแล้ว กลับบ้านไปหาพ่อแม่ ตอนนั้นอายุ เจ็ดขวบ แต่ก็จำเหตุการณ์นี้ได้อย่างไม่ลืม

   ดังนั้นส่วนตัว แล้ว วัตถุมงคลเหล่านี้ บางชิ้นก็มีอำนาจจิตที่ครูอาจารย์ใส่ไว้ให้เพื่อเป็นกำลังใจ ใครปฏิบัติกรรมาฐานเดินจิตในห้อง พระธรรมปีติ ก็สามารถสัมผัสได้

   สรุป วัตถุมงคลยังมีความจำเป็นสำหรับบุคคลที่ยังเป็นชาวพุทธเทวดา แต่หากเป็นพระโสดาบัน ขึ้นไปแล้ว วัตถุเหล่านี้ ก็เป็นเพียงสิ่งที่มีไว้เพื่อระลึกถึง คุณแห่งพระรัตนตรัยเท่านั้น


  เจริญธรรม / เจริญพร
34  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำไมต้องรู้ ค่า และ คุณ ของธาตุ ( ไม่เข้าใจก็ต้องอ่าน ) เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2013, 10:44:55 am
      พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  นิทานวรรค  [๓.  ธาตุสังยุต]
              ๔.  จตุตถวรรค  ๒.  ปุพเพสัมโพธสูตร
    เล่มที่ 16 หน้า 206 - 207

               ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร
               ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้
            [๑๑๕]    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  เขตกรุงสาวัตถี    ณ    ที่นั้น    พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย    ก่อนแต่ตรัสรู้    เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้    ได้มีความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า   
       ‘อะไรเป็นคุณ    อะไรเป็นโทษของปฐวีธาตุ    อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ
        อะไรเป็นคุณ    อะไรเป็นโทษของอาโปธาตุ    อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากอาโปธาตุ
        อะไรเป็นคุณ    อะไรเป็นโทษของเตโชธาตุ    อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเตโชธาตุ
        อะไรเป็นคุณ    อะไรเป็นโทษของวาโยธาตุ    อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ’
        เรานั้นได้มีความดำริว่า    ‘สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีธาตุ’    นี้เป็นคุณของปฐวีธาตุ
      ปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  มีความแปรผันเป็นธรรมดา  นี้เป็นโทษของปฐวีธาตุ
      ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ
         สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยอาโปธาตุ    ...
         สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยเตโชธาตุ    ...
         สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยวาโยธาตุ  ...  นี้เป็นคุณของวาโยธาตุ
         วาโยธาตุเป็นของไม่เที่ยง    เป็นทุกข์    มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของวาโยธาตุ
       ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ  ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวาโยธาตุ    นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ
 
           ภิกษุทั้งหลาย    ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ    โทษโดยความเป็นโทษและเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ    ๔    ประการนี้    ตามความเป็นจริง    ตราบนั้นเราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า    ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก    พร้อมทั้งเทวโลก    มารโลก    พรหมโลก    ในหมู่สัตว์    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์    เทวดาและมนุษย์’
 
           เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ    โทษโดยความเป็นโทษ    และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ    ๔    ประการนี้    ตามความเป็นจริง    เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณได้ว่า    ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก    พร้อมทั้งเทวโลก    มารโลก    พรหมโลก    ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์    เทวดาและมนุษย์’
            อนึ่ง    ญาณและทัสสนะ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า    วิมุตติของเราไม่กำเริบ    ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย    บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
               ปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๒ จบ





35  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภาพธรรมประจำวันที่ 21 ก.ค. 56 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2013, 05:01:09 pm




หลายคนถามว่า ในเฟคมี ทำไมในเว็บไม่มี

 ภาพธรรมเหล่านี้ จะใส่ไว้ที่ www.madchima.net
http://www.madchima.net/forum/index.php?board=2.0

ซึงในนั้นจะมีภาพที่ได้ทำไว้ เป็นประจำ มีทุกเดือน


36  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ในปฐมฌาน มี นิวรณ์ อยู่หรือไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2013, 09:38:12 am
 ask1
  ในปฐมฌาน มี นิวรณ์ อยู่หรือไม่ ?
 ข้อความในพระไตรปิฏก กล่าวว่า เพราะนิวรณ์ดับ ปฐมฌานจึงเกิด
 
  ans1

ไม่ค่อยได้เข้ามาอ่านนานแล้ว
คำตอบเรื่องนี้จะตอบได้อยู่ที่ได้ ภาวนาได้ปฐมฌานกันจริง
 นิวรณ์ 5 มีอะไรบ้าง
 กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ
พยาปาทะ ความไม่พอใจ
 ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา เศร้าซึม
 อุทธัจจะกุกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
 วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

 นิวรณ์มิได้ดับไปใน ปฐมฌาน เพียงแต่สงบลงชั่วคราว ปฐมฌาน ยังต้องใช้ วิตก วิจาร ดังนั้นเพียงเบาบางเท่านั้นยังมิได้ดับจริง แท้ที่จริง วิตก วิจาร อาศัย ฉันทะสมาธิ ซึ่งเป็นโลกียะอยู่ ไม่ได้เป็นโลกุตตระ ยังสงเคราะห์ ว่าเป็น กามฉันท์

ดังนั้น ปฐมฌาน ถึง ตติยฌาน นั้นยังคงมีนิวรณ์อยู่แต่เบาบางลง จนกว่าจะเข้า จตุตถฌาน ซึ่งเป็นอุเบกขา กับ เอกัคคตา ไม่ต่อไปอรูปฌาน ก็จบที่ ปัญจมฌาน

ดังนั้น เมื่อใดที่สุขดับไป เมื่อนั้น นิวรณ์ถึงจะดับได้จริง แต่ในชั้นต้นของการอธิบาย ก็ต้องกล่าวว่า ปฐมฌานมีการระงับนิวรณ์ทั้ง 5 เบื้องต้น ( แต่ไม่หมดจด )

สรุปการกล่าวทฤษฏี ทั้งสองประการ ยังกล่าวได้ว่า ผิด หรือ ถูก ยังไม่ได้ ขึ้นอยู่ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติภาวนาด้วย
37  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อานาปานสติ ประกอบด้วย ญาน ที่ควร ทราบ ดังนี้ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2013, 10:57:34 am


สูตรแห่งอานาปานสติ ทางแห่งความพ้นจากสังสารวัฏฏ์
 
 ( โปรดอย่าเข้าใจ ว่าเราสอนให้อยู่ในโลก ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการทำงาน
ไม่ใช่เครื่องเป็นอยู่ในสังคม ไม่ใช่ธรรมที่เป็นเพื่อการอยู่ในสังสารวัฏฏ์ แต่เป็นธรรมนำออกจากสังสารวัฏฏ์ )

  ญา่นในธรรม อันเป็น อันตรายแห่ง สมาธิ  8

  ญาณในธรรม อันเป็น อุปปการะแห่ง สมาธิ 8 

  ญาณในอุปกิเลส 18

  ญาณในโวทาน  13
 
        ทั้งหมดนี้ รอดได้ ทำได้ ภาวนาได้ อาศัย คำว่า พุุทโธ

   เมื่อภาวนา จะรู้จัก กาย นามกาย รูปกาย  ปีติ ธรรม และ สุข
   
      ยถาภูตญาณแห่งสมาธิจะพิจารณาความไม่เที่ยง  50 ลักษณะ

     ภาคนี้ ยังอยู่แค่ สมถกรรมฐาน
   

  ญาณในความเป็นผู้ทำสติ 32 ( เริ่มเป็น วิปัสนา )

     โทษแห่ง อวิชชา 5 ประการ และ อวิชชาที่สามารถดับได้ 8 ประการ

  ญาณ ด้วยสามารถ แห่ง สมาธิ 24 ( ผลของ โลกุตตระสมาธิ )

  ญาณ ด้วยสามารถ แห่ง วิปัสสนา 72  ( เป็น วิปัสสนา )

   นิพพิทาญาณ 8 ( โสดาปัตติมรรค )
   
   นิพพิทานุปัสสนาญาณ 8 ( โสดาปัตติผล )

   นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ 8 ( สกทาคามีมรรค ถึง อรหัตตผล )

   ญาณในวิมุตติสุข 21 ( พระอรหัตตผล )
   
       ธรรมที่เป็นปัจจเวกคือ อนุสัย 7 ประการ

  จบ อานาปานสติ


  เจริญธรรม พิจารณาจากสูตร กันไปก่อน ในวิธีภารภาวนา มีวิธีการอย่างชัดเจนเป็นไปตามลำดับ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการอ่าน และ รู้ แต่เป็นไปเพื่อผู้ที่มีความตั้งใจการภาวนาเพื่อออกจากสังสารวัฏฏ์


     ;)         
38  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ดูกรภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 12:56:01 pm



พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ - หน้าที่ 82 - 83

[๑๒๘]  ภิ.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ก็เมื่อรู้  เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา  ว่าของเรา  ในกายอันมีวิญญาณนี้  และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก  ฯ

        พ.  ดูกรภิกษุ  บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

       รูป  อย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีต  ทั้งที่เป็นอนาคต  ทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม  เลวหรือประณีตก็ตาม  อยู่  ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา 

      เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
      เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีต  ทั้งที่เป็นอนาคต  ทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม  เลวหรือประณีตก็ตาม  อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่น  ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา
      เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
      สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีตทั้งที่เป็นอนาคต  ทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายใน  หรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม  เลวหรือประณีตก็ตามอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่น  ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา 
      เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า 
      สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีต  ทั้งที่เป็นอนาคตทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม  เลวหรือประณีตก็ตาม  อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา 
      เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
      วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต  ทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม  อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่น  ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา

       ดูกรภิกษุ  เมื่อรู้  เมื่อเห็นอย่างนี้แล  จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเราในกายอันมีวิญญาณนี้  และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก  ฯ

39  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภิกษุที่ื่ืชื่อว่า สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ หมดจดด้วย สักกายทิฏฐิ เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 12:13:08 pm
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ - หน้าที่ 80
        พ.  ดูกรภิกษุ  อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ได้เห็น พระอริยะ  ฉลาดในธรรมของพระอริยะ  ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ  ได้เห็นสัตบุรุษ  ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ  ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง  ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง  ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้างไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง  ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง  ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง  ดูกรภิกษุ  อย่างนี้แล  สักกายทิฐิจึงไม่มี  ฯ


40  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อย่าพึงดูหมิ่น ว่าเล็กน้อย จงอย่าทำตนเหมือนตาลยอดด้วน เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 11:32:12 am
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค - หน้าที่ 87-88 ฉบับมหามงกุฏ

        [๓๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ๔ อย่างเป็นไฉน ของ ๔ อย่างคือ   

    ๑. กษัตริย์ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์         
    ๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก         
    ๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย       
    ๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม     

    ดูกรมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ฯ   
        [๓๒๖] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า     

    นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่น กษัตริย์ผู้ถึงพร้อมด้วยพระชาติ มีพระชาติสูง ผู้ทรงพระยศว่ายังทรงพระเยาว์  เพราะเหตุว่าพระองค์เป็นมนุษย์ชั้นสูง ได้เสวยราชสมบัติแล้ว ทรงพระพิโรธขึ้น ย่อมทรงลงพระราชอาชญาอย่างหนักแก่เขาได้ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการสบประมาทกษัตริย์นั้นเสีย ฯนรชนเห็นงูที่บ้านหรือที่ป่าก็ตาม ไม่พึงดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก(เพราะเหตุว่า) งูเป็นสัตว์มีพิษ (เดช) ย่อมเที่ยวไปด้วย  รูปร่างต่างๆ งูนั้นพึงมากัด ชายหญิงผู้พลั้งเผลอในบางคราวฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตนพึงงดเว้นการสบประมาทงูนั้นเสีย ฯ

    นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่นไฟที่กินเชื้อมาก ลุกเป็นเปลว มีทางดำ (ที่ๆ ไฟไหม้ไปดำ) ว่าเล็กน้อย เพราะว่าไฟนั้นได้เชื้อแล้วก็เป็นกองไฟใหญ่ พึงลามไหม้ชายหญิงผู้พลั้งเผลอในบางคราว ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการสบประมาทไฟนั้นเสีย ฯ(แต่ว่า) ป่าใดที่ถูกไฟไหม้จนดำไปแล้ว เมื่อวันคืนล่วงไปๆพรรณหญ้าหรือต้นไม้ยังงอกขึ้นที่ป่านั้นได้ ส่วนผู้ใดถูกภิกษุผู้มีศีลแผดเผา  ด้วย เดช บุตรธิดาและปศุสัตว์ของผู้นั้นย่อมพินาศ ทายาทของเขาก็ย่อม
ไม่ได้รับทรัพย์มรดก เขาเป็นผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ ย่อมเป็นเหมือนตาลยอดด้วน ฯ
   
    ฉะนั้นแลบุคคลผู้เป็นบัณฑิต พิจารณาเห็นงู ไฟ กษัตริย์ผู้ทรงยศ และภิกษุผู้มีศีล ว่าเป็นภัยแก่ตน พึงประพฤติต่อโดยชอบทีเดียว ฯ

        [๓๒๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสจบลงแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้   กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
        ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก บุคคลหงายของที่คว่ำ 
         เปิดของที่ปิด
         บอกทางแก่คนหลงทาง
        หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูป
        ฉันใด พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมโดยปริยายเป็นอันมากก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค   พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งเป็นที่ระลึก ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ   ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณคมน์จนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ           
   
                   ปุริสสูตรที่ ๒       


หน้า: [1] 2 3 ... 6