ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
 91 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 03:14:33 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 92 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 12:55:11 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 93 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 10:39:35 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 94 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 10:27:27 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 95 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 07:27:28 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 96 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 07:10:04 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



"นิพพาน" ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
Nibbàna in Theravàda Buddhism


พระมหาดวงรัตน์ ฐิตรตโน1
สมบูรณ์ ตาสนธิ1, เทวัญ เอกจันทร์1, สุนทรี สุริยรังสี1, ปรุตม์ บุญศรีตัน2,
Phramaha Duangrat Tฺhitaratano1
Somboon tasonthi1, Tewan Eakjan1,
Soontree Suriyarangsee1, Parud Boonsriton2
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่1, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่2
Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chiang Mai Campus1, Chiang Mai University2
Corresponding Author, E-mail : phramahaduangrat@gmail.com




บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “นิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
    1) เพื่อศึกษานิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ
    2) เพื่อศึกษาการตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

ผลการวิจัยพบว่า ชื่อหรือไวพจน์ของนิพพานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกโดยเฉพาะในอนาสาวทิสูตร และคัมภีร์อภิธาน มีจำนวน 46 บท ที่ปรากฏในอรรถกถาและฎีกายังมีจำนาวนมากกว่านี้ ที่ปรากฎในพระไตรปิฎกจำนวนมาก ได้แก่ นิโรธ นิพพาน อสังขตะ โดยสภาวะ 2 ประเภท คือ
    - สอุปาทิเสสนิพพาน กิเลสตายชีวิตยังไม่ตาย และ
    - อนุปาทิเสสนิพพาน กิเลสตายชีวิตตาย

การตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท สรุปมี 3 ประเภท คือ
    1) ตีความโดยพยัญชนะ
    2) ตีความโดยสภาวะ
    3) ตีความโดยอุปมา กล่าวเปรียบเทียบสภาพแห่งนิพพาน

แท้จริงนิพพานเป็นโลกุตตระไม่สามารถอธิบายด้วยภาษาโลกได้ พระพุทธเจ้าจึงพยายามอธิบายได้ด้วยภาษาแห่งโลกิยะ อันเป็นกุศโลบายให้สรรพสัตว์เข้าไปสู่โลกุตตระคือ นิพพาน

คำสำคัญ : นิพพาน ; คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ; การตีความ


@@@@@@@

Research Articles

Received : 2019-02-27
Revised : 2019-06-13
Accepted : 2019-06-29

วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 | มกราคม - มิถุนายน 2562




Abstract

The thematic paper entitled “Nibbàna in TheravàdaBuddhism” consists of 2 objectives ; 1) To study the concept of Theravàda (the Unconditioned) in Theravada Buddhism and 2) To interpret the concept ofNibbàna in Theravàda Buddhism.

From the study, it found that : Names and synonyms of Nibbàna appeared in Tipiţaka, especially in Anàsàvadi-sutta as well as in Abhithànappadip ţkà, were consisted of 46 chapters. In addition, there are many of Nibbàna words in Commentaries and Sub-commentaries. Nirodha, Nibbàna, and Asa ñgata are frequently used in the Tipiţaka. Nibbàna is, by conditions, divided into two categories : Saupàdisesa - Nibbàna and Anupàdisesa- Nibbàna.

The interpretation of Nibbàna in Theravàda Buddhism can be classified into 3 aspects :
    1) By letters interpretation,
    2) By phenomena interpretation,
    3) By metaphors interpretation, all of which indicate a state of Nibbàna in various aspects interestingly.

As a matter of fact, Nibbàna which is transcendental cannot be explained by mundane languages. However, the Buddha has tried to explain for the sake of human beings to reach the Nibbàna deliberately.

Keywords : Nibbàna ; Theravàda Buddhism ; Interpretation



บทนำ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีในอดีตทั้งสิ้น 20 อสงไขยแสนกัป โดยใช้เวลาคิดอยู่ในใจ 7 อสงไขย เปล่งวาจาว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า 9 อสงไขย และทรงเปล่งวาจาพร้อมกับทำทางกาย 4 อสงไขย รวม 20 อสงไขยและอีกแสนกัป (พระคันถรจนาจาริยเถระ, 2552: 4) ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ที่ใช้ระยะเวลานานนับไม่ถ้วนเพื่อเป้าหมายสูงสุดอะไรบางอย่าง ขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์นั้น ทรงมีจิตใจที่แน่วแน่ต่อมรรค ผล นิพพาน

สุดท้ายพระองค์ก็ได้ตรัสรู้ความจริงตามธรรมชาติ 4 ประการ เรียกว่าอริยสัจ 4 แปลอีกนัยว่า ความจริงที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องตรัสรู้ หมายถึง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องตรัสรู้ในเรื่องเดียวกัน ดังตรัสว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการตามความเป็นจริง แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดเหล่านั้นจักตรัสรู้อริยสัจ 4ประการตามความเป็นจริง แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมตรัสรู้ตามความเป็นจริง
     พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการตามความเป็นจริง อริยสัจ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ (1) ทุกขอริยสัจ (2) ทุกขสมุทยอริยสัจ (3) ทุกขนิโรธอริยสัจ (4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” (พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่ม 19 ข้อ 1094: 607-608)

    ในบรรดาอริยสัจ 4 นี้ ธรรมขั้นสูงสุด คือ นิโรธสัจ ได้แก่ นิพพาน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
    “อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณ กรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ” (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 4 ข้อ 13: 13)
     แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 4 ข้อ 14 : 20)

     จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วทรงมีวัตถุประสงค์หลักคือชี้แนะ พาหมู่สรรพสัตว์ข้ามพ้นจากวัฏฏสงสารเข้าถึงเป้าหมายสูงสุด คือนิพพาน นิพพานจึงเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา (พระพรหมคุณาภรณ์, 2554: 166)

สังคมปัจจุบันรวมถึงนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาหลายรูป หลายท่านให้ความหมายนิพพานไว้หลายนัย เช่น สุข เย็น สงบ สันติ อาจผิดบ้าง ถูกบ้าง ซึ่งก็อันตรายเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา เพราะนิพพานเป็นหลักธรรมหรือเป้าหมายสูงสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ใช้เวลาแสวงหามาถึง 20 อสงไขย

แม้พระพรหมคุณาภรณ์ก็ได้กล่าวประเด็นนี้ไว้ว่า
    “นิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกหรือผู้ปฏิบัติยังไม่อาจจะรู้ไม่อาจจะเข้าใจหลักการนี้ด้วยประสบการณ์ตนเอง พระศาสดาจึงต้องแสดงหลักการนี้ไว้ให้ชัด เท่าที่จะใช้ภาษาสื่อสารให้สติปัญญาของผู้ปฏิบัติรู้เข้าใจได้ ถ้ามิฉะนั้นผู้ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติไปแทนที่จะบรรลุนิพพานของพระพุทธศาสนา ก็จะกลายเป็นนิพพานของฮินดูไป หรืออาจจะเข้าถึงฌานสมาบัติแล้วเข้าใจว่านี่เป็นนิพพาน หรือปฏิบัติไปรู้สึกว่าจิตไปเข้ารวมกับสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็นึกว่านั้นคือนิพพาน” (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต),2542: 17)

แนวคิดเช่นนี้ก็อาจจะเข้าข่ายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด แนวคิดเรื่องนิพพานเป็นภูมิที่อยู่ของพระอรหันต์บ้าง แนวคิดเรื่องนิพพานเป็นอัตตาบ้าง อนัตตาบ้าง มีมาตั้งแต่สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดำรงพระชนมายุอยู่การตีความนิพพานต้องตีความจากภาษาบาลีก่อน เพราะภาษาพระบาลี แปลว่า รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า (พุทฺธวจนํ ปาเลตีติ ปาลิ) (หลวงเทพดรุณานุศิษย์, 2550 : 238)

แล้วค่อยมาดูคำอธิบายขยายความจากคัมภีร์อรรถกถา ฎีกาตามลำดับมา พระเถระโบราณจารย์ก่อนจะรจนาคัมภีร์ภาษาบาลีได้เขียนสูตรอันดับที่ 1 ก่อนว่า “อตฺโถ อกฺขรสญฺญาโตแปลว่า เนื้อความ(สภาวะ) จะรู้ได้ด้วยอักขระ” (กัจจายนเถระ, 2536 : 1)

อายุพระพุทธศาสนาผ่านไป ประมาณ 2,500 กว่าปี การตีความนิพพานในยุคปัจจุบันจำนวนมากเป็นการตีความเข้าทิฏฐิของตนเอง การตีความทางพระพุทธศาสนาระดับปฐมภูมิคือ พระไตรปิฎกภาษาบาลี และคัมภีร์อรรถกถาตามกฎเกณฑ์แห่งไวยากรณ์บาลี เป็นต้น ตามลำดับ

เมื่อนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา และเป็นประเด็นปัญหาตั้งแต่ในยุคพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน หากมีการตีความนิพพานผิดกระบวนการหรือผิดวิธี เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาก็ผิดไปด้วย เมื่อเป้าหมายผิด กระบวนการหรือวิธีหรือแนวทางการปฎิบัติเพื่อถึงเป้าหมายก็ผิดด้วย

เมื่อเป้าหมายและกระบวนการสู่นิพพาน(สันติบท)ผิด ก็จะนำไปสู่อันตรานแห่งพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า ปัญหาเชิงปฏิจจสมุบปาท บทความวิจัยนี้จึงเป็นหลักฐานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกวิธีเป้าหมายสอุดมธรรมที่ถูกต้อง และเป็นหลักฐานอ้างอิง ศึกษา และวิจัยกันต่อไป




วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษานิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
2. เพื่อศึกษาการตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

วิธีดำเนินการวิจัย

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้
    1. ศึกษารวบรวมข้อมูลหลักฐานจากเอกสารระดับปฐมภูมิ (Primary Source)ได้แก่พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2500 และภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2539
    2. ศึกษารวบรวมข้อมูลหลักฐานเรื่องนิพพานจากเอกสารระดับทุติยภูมิ(Secondary Source) ได้แก่ คัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีและภาษาไทย พจนานุกรมคัมภีร์บาลีและฉบับภาษาไทย และตำราวิชาการด้านพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งหนังสือ บทความเอกสารงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
    3. การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อให้ได้ข้อมูล เรียบเรียง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตอบปัญหาที่ต้องการทราบ แล้วนำมาตีความ
    4. เสนอวิธีการตีความตามแนวคิดของผู้วิจัย ออกเป็น 3 ประเภท คือ โดยพยัญชนะ สภาวะและอุปมา
    5. เรียบเรียงเนื้อหาของแต่ละบทๆ ให้สอดคล้องกัน
    6. สรุปผลการศึกษาโดยเขียนรายงานในรูปแบบพรรณนา (Description) นำเสนอผลการศึกษา

ผลการวิจัย

ผู้วิจัยได้สรุปผลการำวิจัยตามวัตถุประสงค์ ออกเป็น 2 ประการคือ
    (1) นิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
    (2) การตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

ผลวิจัยมีดังนี้

(ยังมีต่อ...)

 97 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 06:07:10 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

กองทัพพม่าสวนสนามในเมืองเพียงมะนา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2007 (Photo by KHIN MAUNG WIN / AFP)

จากการรวบรวมและวิเคราะห์เหตุปัจจัยเกี่ยวกับการย้ายเมืองหลวงในรัฐพม่า ทำให้ทราบว่าการย้ายเมืองหลวงในยุคปัจจุบันล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยเงื่อนไขอันสลับซับซ้อนตลอดจนได้รับอิทธิพลจากสภาวะแวดล้อมแบบใหม่ของสภาพสังคมยุคหลังสงครามเย็น การสถาปนานครเพียงมะนา เนปิดอว์ จัดเป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลทหารพม่าซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร การพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่ตอนใน และการสร้างเอกภาพทางสังคมและวัฒนธรรม โดยรัฐบาลทหารได้ให้น้ำหนักกับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพและระบอบเผด็จการ

จากบริบทดังกล่าว รัฐบาลทหารได้เผชิญหน้ากับภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ เช่น การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในนครย่างกุ้ง การทำสงครามกลางเมืองกับชนกลุ่มน้อย และความกังวลใจเกี่ยวกับการโจมตีทางทะเลของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงจึงเป็นการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงโดยรวมเพื่อการรักษาอำนาจของระบอบทหาร…

ในขณะเดียวกัน การย้ายเมืองหลวงยังมีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ตอนใน เช่น การขยายพื้นที่ทางการเกษตรในเขตที่ราบภาคกลาง การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานในเขตภูเขา และการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่ง โดยเมืองหลวงแห่งใหม่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาพื้นที่ตอนในซึ่งส่งผลให้รัฐบาลทหารมีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

นอกจากนี้การย้ายเมืองหลวงยังถูกผลักดันด้วยปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อปรุงแต่งและเติมเต็มให้กระบวนการเคลื่อนย้ายเมืองหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์และชอบธรรมมากขึ้นตามโลกทรรศน์พม่า โดยกลุ่มผู้นำทหารได้ประยุกต์ใช้ธรรมเนียมราชสำนักโบราณ หลักโหราศาสตร์ และลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตก เพื่อสร้างความภาคภูมิใจทางประวัติศาสตร์และเสริมภาพลักษณ์ของรัฐบาลในการเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงจาก ย่างกุ้ง ไป เพียงมะนา จึงประกอบด้วยปัจจัยหลากหลายมิติตลอดจนเป็นยุทธศาสตร์ที่ลุ่มลึกและรอบด้านอันส่งผลให้รัฐบาลทหารสามารถผ่องถ่ายอำนาจในการปกครองประเทศพม่าต่อไปในอนาคต

อ่านเพิ่มเติม :-

    • ตามรอย “สำหรุดปาน” ผู้แสวงบุญจากสงขลาไป พม่า สู่นิราศพระธาตุเมืองย่างกุ้ง
    • ย่างกุ้ง “แบนมอเตอร์ไซค์” ไม่ใช่เพราะลูกสาว “เนวิน” ถูกมอเตอร์ไซค์เฉี่ยว

หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความ “เพียงมะนา เนปิดอว์ ราชธานีแห่งใหม่ของสหภาพพม่า” เขียนโดย ผศ. ดร. ดุลยภาค ปรีชารัชช ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2550





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2550
ผู้เขียน : ผศ. ดร. ดุลยภาค ปรีชารัชช
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 30 มีนาคม 2564
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_65062

 98 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 05:59:47 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



วิเคราะห์เหตุปัจจัย ทำไมพม่าย้ายเมืองหลวง จาก “ย่างกุ้ง” ไป “เนปิดอว์”

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศย้ายเมืองหลวงจากนครย่างกุ้งไปยังเมืองเพียงมะนา (Pyinmana หรือ เปียงมะนา) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบน (Upper Sittang Valley) ห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร โดยให้เหตุผลว่าเมืองเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหภาพพม่ามีความเหมาะสมทั้งทางภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาประเทศ

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 อันเป็นวันกองทัพ พม่า ราชธานีแห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่ตรงหมู่บ้านจั๊ตปเย (Kyatpyae) ทางด้านตะวันตกในเขตเมืองเพียงมะนาได้ถูกสถาปนาอย่างเป็นทางการโดยมีชื่อว่า กรุงเนปิดอว์ (Naypyidaw, Nay Pyi Taw หรือ เนปยีดอว์) ซึ่งแปลว่า บัลลังก์แห่งกษัตริย์ จากบริบทดังกล่าว เนปิดอว์ คือ ชื่อของเมืองหลวงแห่งใหม่ซึ่งถูกรับรองอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลทหารพม่า ในขณะที่เพียงมะนา คือ ชื่อของเมืองและเขตการปกครองอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงกล่าวโดยรวมแล้ว ราชธานีแห่งใหม่ของพม่ามีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า นครเพียงมะนา เนปิดอว์

สำหรับสาเหตุของการสถาปนาศูนย์อำนาจแห่งใหม่และลักษณะทางกายภาพของเมืองหลวงพม่านั้นจัดว่ามีรายละเอียดและประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ทำไมพม่าต้องย้ายเมืองหลวง.?

การย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปเพียงมะนาจัดเป็นยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลทหารพม่าที่ประกอบด้วยแรงผลักดันหลากหลายประการตลอดจนได้รับอิทธิพลจากหลักนิยมทางการทหารและสภาวะแวดล้อมของระบบโลกยุคหลังสงครามเย็นซึ่งส่งผลให้นครย่างกุ้งไม่สามารถทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงและฐานอำนาจของรัฐบาลทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร โดยต่อไปนี้ ผู้เขียนจะขอรวบรวมและวิเคราะห์เหตุปัจจัยว่าด้วยการย้ายเมืองหลวงของรัฐพม่าผ่านการบูรณาการองค์ความรู้เชิงสหวิทยาการอย่างเป็นระบบเพื่อฉายภาพการวิเคราะห์อย่างลุ่มลึกและรอบด้านโดยแบ่งประเด็นการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก 9 ปัจจัยย่อย ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

1. การรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร

รัฐบาลทหารพม่าชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council-SPDC) ได้ขึ้นครองอำนาจต่อจากระบอบเนวินผ่านการทำรัฐประหารและเข่นฆ่าประชาชนตลอดจนปฏิเสธการคืนอำนาจทางการปกครองให้กับนางอองซาน ซูจี หลังการชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี พ.ศ. 2533 รัฐบาลทหารพม่าได้ให้น้ำหนักกับการสร้างเอกภาพทางการเมืองและการขยายแสนยานุภาพทางการทหารเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพและระบอบเผด็จการ

นอกจากนี้กลุ่มคณะทหารยังได้หวาดระแวงภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ เช่น การลุกฮือของประชาชนในเขตนครย่างกุ้งซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) การขยายกำลังพลของชนกลุ่มน้อยในเขตชายแดนเพื่อทำสงครามต่อต้านรัฐบาล ตลอดจนการโจมตีจากมหาอำนาจตะวันตกเพื่อล้มระบอบทหารในปัจจุบัน



ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1988 นางอองซานซูจี ปราศรัยต่อต้านระบอบทหารในกรุงย่างกุ้ง (Photo by AFP / AFP FILES / AFP)

ผลจากความกังวลใจดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มรัฐบาลทหารดำเนินนโยบายรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralization) ขยายระบบสายลับเพื่อขจัดศัตรูทางการเมือง ตลอดจนนำหลักนิยมและระบบสายบังคับบัญชาทางการทหารเข้ามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินนโยบายสาธารณะ โดยหากยังมีบริเวณใดที่อำนาจการควบคุมของรัฐบาลยังเข้าไปไม่ถึง หรืออำนาจของรัฐบาลในนครย่างกุ้งเริ่มเกิดความผันผวนระส่ำระสาย หรือทำเลที่ตั้งของเมืองหลวงเสี่ยงต่อการโจมตีจากศัตรูภายนอก การย้ายเมืองหลวงไปยังทำเลที่มีความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์จึงจัดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อสถาปนาศูนย์อำนาจทางการเมืองและการทหารที่เข้มแข็งและเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

สำหรับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อการย้ายเมืองหลวงนั้นสามารถแบ่งแยกย่อยออกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้

1.1 ภัยคุกคามจากการลุกฮือของประชาชน

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบันมีความเชื่อว่าการแบ่งสันอำนาจให้กับประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ของพลเรือนโดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตยจัดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและอาจนำมาซึ่งการล่มสลายของสหภาพพม่า ตลอดจนคุกคามการถือครองอำนาจของกลุ่มคณะทหาร จากบริบทดังกล่าว นครย่างกุ้งไม่สามารถทำหน้าที่เป็นฐานอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เนื่องจากอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ที่พัดพาเอาแนวคิดประชาธิปไตยและวัฒนธรรมการเมืองแบบตะวันตกตลอดจนการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายเครือข่ายทางการเมืองของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล โดยทำให้อำนาจที่เข้มแข็งและมีเอกภาพของกลุ่มคณะทหารเริ่มมีลักษณะเปราะบางและกระจัดกระจายมากขึ้น

ประกอบกับประวัติศาสตร์การเมืองของนครย่างกุ้งยังเต็มไปด้วยการลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาล เช่น เหตุการณ์ประท้วงปี พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจจากรัฐบาลเนวิน เหตุการณ์ 8888 (8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 โดยกลุ่มประชาชนเพื่อขับไล่และโค่นล้มระบอบเผด็จการอันนำไปสู่โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาตร์พม่า หรือเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2539 โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งเพื่อขับไล่คณะทหารและเรียกร้องการคืนอำนาจทางการเมืองให้กับนางอองซาน ซูจี

ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มคณะทหารมีความกังวลใจเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและหวาดระแวงต่อการลุกฮือของประชาชนซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยฉับพลันและสร้างความระส่ำระสายให้กับอำนาจของรัฐบาล โดยคณะผู้นำทหารต่างมีความเชื่อว่าพลังเงียบของประชาชนและจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยล้วนฝังรากลึกและขยายเครือข่ายทางการเมืองทั่วเขตเมืองย่างกุ้ง ประกอบกับสถานที่ราชการและค่ายทหารบางแห่งล้วนตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นและอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการของสถานทูตตะวันตกและองค์กรระหว่างประเทศโดยลักษณะภูมิทัศน์ดังกล่าวย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกปิดล้อมจากประชาชนหากมีการประท้วงทางการเมืองหรือเสี่ยงต่อการถูกจารกรรมข้อมูลจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาล

ดังนั้นการย้ายศูนย์อำนาจทางการเมืองไปยังเพียงมะนา เนปิดอว์ เพื่อการจัดวางโครงสร้างผังเมืองและระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นระบบจึงเป็นการลดความกังวลใจทางการเมือง ถอยห่างจากวงปิดล้อมของประชาชนในนครย่างกุ้ง ตลอดจนเพิ่มสมรรถนะในการเคลื่อนกำลังพลและควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินหากมีการจลาจลเกิดขึ้น

1.2 ภัยคุกคามจากการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อย

ประวัติศาสตร์ พม่า จัดเป็นประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าพม่าแท้กับชนกลุ่มน้อยโดยมีการทำสงครามขับเคี่ยวยื้อแย่งดินแดนตั้งแต่สมัยจารีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การทำสงครามระหว่างพม่ากับอาณาจักรมอญและกลุ่มเจ้าฟ้าไทยใหญ่ หรือการที่ชนเผ่ากะเหรี่ยงถูกเกณฑ์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอังกฤษเพื่อกดขี่ชาวพม่าในสมัยอาณานิคม

สำหรับในมุมมองของรัฐบาลทหารพม่านั้นชนกลุ่มน้อยจัดเป็นชนชายขอบและเป็นภัยคุกคามที่บั่นทอนเสถียรภาพของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลทหารจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อแผ่อำนาจควบคุมดินแดนชนกลุ่มน้อยโดยถึงแม้จะมีการเจรจาหยุดยิงกับกองกำลังของชนเผ่าต่าง ๆ แต่ก็ยังคงหลงเหลือ 3 กองกำลังหลักที่เคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชจากรัฐบาลกลางซึ่งประกอบด้วย กองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ (Shan State Army-SSA) กองกำลังกะเหรี่ยงคริสต์ (Karen National Union-KNU) และกองกำลังแห่งชาติคะเรนนีย์ (Karenni National Progressive Party) โดยกองกำลังทั้ง 3 ฝ่ายล้วนมีฐานที่มั่นอยู่ตรงบริเวณชายแดนตะวันออกติดกับประเทศไทย

ในส่วนของการย้ายเมืองหลวงนั้น หากพิจารณาจากสภาพภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) จะพบว่าถึงแม้เมืองเพียงมะนาจะตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศแต่ก็มีอาณาเขตชนแดนชนกลุ่มน้อยทั้ง 3 กลุ่มซึ่งการย้ายเมืองหลวงไปยังบริเวณดังกล่าวย่อมส่งผลให้อำนาจของรัฐบาลมีความเข้มข้นและสามารถควบคุมชนกลุ่มน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถึงแม้จะมีข้อโต้แย้งว่าเมืองเพียงมะนาอาจถูกโจมตีจากกองกำลังชนกลุ่มน้อยแต่หากพิจารณาจากสมรรถนะทางการทหาร… จะพบว่ากองทัพพม่ามีอาวุธยุทโธปกรณ์และจำนวนกำลังพลมากกว่ากองกำลังทั้ง 3 ฝ่าย



กองกำลัง Shan State Army (SSA) ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2006 (Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP)

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจึงเป็นผลดีต่อรัฐบาลมากกว่าชนกลุ่มน้อยตลอดจนเป็นยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มคณะทหารเพื่อแผ่กระจายอำนาจให้เข้าถึงทั้งดินแดนตอนกลางและดินแดนชายขอบ ในขณะเดียวกันนครย่างกุ้งก็มีจุดอ่อนตรงที่อยู่ห่างไกลจากฐานที่มั่นของชนกลุ่มน้อยและไม่ได้ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศซึ่งทำให้อำนาจที่แผ่ออกจากเมืองหลวงมีความเบาบางแปรผันไปตามระยะทาง

ดังนั้นการสถาปนาเมืองเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ในเขตทับซ้อนระหว่างดินแดนของกลุ่มชนชาติพม่าแท้แถบภาคมัณฑะเลย์ มาเกว (Magway) และบาโก (Bago) กับดินแดนของชนกลุ่มน้อยแถบรัฐฉาน กะเหรี่ยง และคะยาห์ จะส่งผลให้ปริมณฑลของอำนาจที่แผ่กระจายออกจากเมืองหลวงมีความเข้มข้นและเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

1.3 ภัยคุกคามจากการรุกรานทางทะเลของสหรัฐอเมริกา

รัฐบาลทหารพม่ามีความเชื่อว่าสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจทางการเมืองโลกที่ต้องการโค่นล้มระบอบเผด็จการและเปลี่ยนแปลงพม่าไปสู่ประเทศประชาธิปไตยหากมีช่วงจังหวะที่เหมาะสม โดยความกังวลใจเกี่ยวกับการโจมตีจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตัวขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์ประท้วงในปี พ.ศ. 2531 เมื่อมีการปรากฏตัวของเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐในเขตน่านน้ำพม่าบริเวณอ่าวเมาะตะมะ นอกจากนี้หลังจากการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช สหรัฐอเมริกาได้ประณามรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่องตลอดจนออกรัฐบัญญัติว่าด้วยอิสรภาพและระบอบประชาธิปไตยพม่า (Burmese Freedom and Democratic Act of 2003) โดยมีเนื้อหาสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยและอนุมัติงบประมาณฟื้นฟูพม่าหลังการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ…

จากบริบทดังกล่าว ทำเลที่ตั้งของนครย่างกุ้งจัดว่ามีความเสี่ยงต่อการรุกรานทางทะเลซึ่งสามารถถูกยึดครองโดยกองทัพเรือต่างชาติในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปยังเพียงมะนาจึงเป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทหารพม่าในการใช้ภูเขาเป็นปราการในการรับศึกตลอดจนเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการตั้งรับเพื่อทำสงครามกองโจรระยะยาว

โดยหากวิเคราะห์ตามหลักภูมิยุทธศาสตร์ (Geo-Strategy) จะพบว่าหากมีสงครามเกิดขึ้นจริงสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องส่งกองกำลังนาวิกโยธินเข้าปฏิบัติการในเขตภาคพื้นทวีปเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทหารและแสดงชัยชนะที่เด็ดขาดคล้ายคลึงกับปฏิบัติการในอิรักและอัฟกานิสถาน ซึ่งมีการวางกำลังเรือรบในอ่าวเปอร์เซียแล้วส่งกองทหารราบเข้ายึดครองเมืองหลวง

จากกรอบแนวคิดดังกล่าวการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจะทำให้กองทัพพม่ามีโอกาสต้านทานการรุกรานได้มีประสิทธิภาพกว่าการตั้งรับอยู่ในเขตย่างกุ้งตลอดจนสะดวกต่อการได้รับความช่วยเหลือจากจีนผ่านเครือข่ายคมนาคมจากเมืองมัณฑะเลย์มุ่งตรงสู่เพียงมะนา นอกจากนี้การสถาปนาศูนย์บัญชาการภาคแห่งใหม่ในเขตเมืองหลวงยังเป็นการสะท้อนถึงการเลือกใช้กองทัพบกในการประจันหน้ากับศัตรูเนื่องจากกองทัพเรือของพม่ามีความอ่อนแอและเข้มแข็งน้อยกว่ากองทัพบก

@@@@@@@

2. การพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่ตอนใน

ถึงแม้ว่าการรักษาความมั่นคงทางการเมืองและการทหารจะมีอิทธิพลสำคัญต่อการย้ายเมืองหลวงครั้งล่าสุด แต่การดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ตอนในก็จัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในฐานะศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มคณะทหาร โดยรัฐบาลชุดปัจจุบันได้เริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจเข้าสู่ระบบการตลาดเพื่อพัฒนาพม่าให้เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่และทันสมัยตลอดจนนำเงินรายได้จากการขายทรัพยากรจำนวนมหาศาลเข้ามาเสริมเขี้ยวเล็บให้กับกองทัพและสร้างความเข้มแข็งให้กับระบอบเผด็จการ

จากบริบทดังกล่าว รัฐบาลทหารได้กำหนดให้บริเวณตอนใต้ของภาคมัณฑะเลย์ในเขตลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบนเป็นดินแดนหัวใจของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรกรรมในเขตลุ่มน้ำอิรวดีและเครือข่ายการพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้และพลังงานน้ำจากเขื่อนในเขตลุ่มน้ำสาละวิน แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาในประเทศพม่าก็ยังจัดว่าเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของระบอบทหาร ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนและแร้นแค้น สำหรับประเด็นการวิเคราะห์เพิ่มเติมนั้นจัดว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

2.1 การขยายตัวของการพัฒนาทางการเกษตร

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบันได้ดำเนินนโยบายปรับเปลี่ยนเขตแล้งทางตอนกลางของประเทศให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว (Green Area) โดยการขยายเครือข่ายชลประทานครอบลุ่มน้ำสำคัญ เช่น ลุ่มน้ำอิรวดี ลุ่มน้ำสะโตง ลุ่มน้ำมู และลุ่มน้ำมิตแหง่เพื่อพลิกฟื้นแผ่นดินอันแห้งแล้งและรกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นแปลงเพาะปลูกทางการเกษตร ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดพรมแดนทางการเกษตรในเขตภาคพื้นทวีปแล้วยังเป็นการจัดตั้งเครือข่ายผลิตเสบียงอาหารให้กับค่ายทหารของกองทัพบก ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในเขตพม่าภาคกลาง

จากกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว รัฐบาลทหารพม่าได้เลือกพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเพียงมะนาแถบลุ่มแม่น้ำสะโตงตอนบนให้เป็นดินแดนหัวใจของการพัฒนาเกษตรกรรม เนื่องจากประกอบด้วยสถานีวิจัยและสถาบันที่มีชื่อเสียงทางการเกษตร รวมถึงเป็นที่ตั้งของเขื่อนสำคัญหลายแห่ง เช่น เขื่อนปองลอง (Paungloung) และเขื่อนเยซิน (Yezin) ตลอดจนมีเครือข่ายชลประทานที่เชื่อมต่อกับลุ่มน้ำอิรวดีและอยู่ไม่ไกลจากลุ่มน้ำสาละวินในเขตที่ราบสูงฉาน

นอกจากนี้การสถาปนาเมืองหลวงแห่งใหม่ยังทำให้เกิดการกระจายตัวของประชากรในสภาวะสมดุลซึ่งเป็นนโยบายที่คล้ายคลึงกับการย้ายเมืองหลวงจากอิสตัลบูล (Istanbul) ไปอังการา (Ankara) ของประเทศตุรกี และจากลากอส (Lagos) ไปอาบูจา (Abuja) ของประเทศไนจีเรีย โดยกลุ่มประเทศดังกล่าวได้ย้ายเมืองหลวงเพื่อลดความหนาแน่นของประชากรในเขตชายฝั่งทะเลและเพิ่มจำนวนประชากรในเขตพื้นที่ตอนใน

สำหรับในกรณีของพม่านั้นจะเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่มักกระจุกตัวอยู่หนาแน่นในเขตพม่าตอนล่างแถบเมืองย่างกุ้งและเมาะลำไย (Moulmein) และเขตพม่าตอนบนแถบเมืองเมฆถิลาและมัณฑะเลย์ ซึ่งส่งผลให้บริเวณชายขอบด้านใต้ของเขตแล้งพม่า (Southern Edge of the Dry Zone) มีประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่ค่อนข้างเบาบาง

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงมายังบริเวณดังกล่าวผสมผสานกับการจัดตั้งเครือข่ายทางการเกษตรจึงส่งผลให้ประชากรจากทั้ง 2 ภูมิภาคอพยพเข้าสู่เขตปริมณฑลของเมืองหลวงแห่งใหม่มากขึ้นอันนำไปสู่การสร้างฐานอำนาจที่แข็งแกร่งของรัฐบาลในการคุมพม่าภาคกลาง ตลอดจนยังเป็นการเพิ่มความเข้มข้นให้กับการตั้งถิ่นฐานของชาวพม่าเพื่อแผ่อิทธิพลเข้าดูดกลืนและครอบงำชนกลุ่มน้อยในเขตชายแดนตะวันออก



กองทัพพม่าสวนสนามในเมืองเพียงมะนา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2006 (Photo by KHIN MAUNG WIN / AFP)

2.2 การขยายตัวของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน

นับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามเย็นเป็นต้นมา รัฐบาลทหารพม่าได้ขยายโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบริเวณเขตที่ราบและเขตภูเขาตามแนวชายแดนเพื่อรองรับการขยายตัวของยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ตอนในตลอดจนนำรายได้เข้าบำรุงกองทัพเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบทหาร เช่น การสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใต้ดินทางฟากตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี แหล่งเหมืองแร่ดีบุกและทังสเตนบริเวณรัฐฉานและคะยาห์ และแหล่งผลิตแร่ทองคำบริเวณยะแมตีง (Yamethin) ทางตอนเหนือของเพียงมะนา

โดยการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจัดว่าเป็นตัวสะท้อนถึงการแผ่อำนาจของรัฐบาลในการควบคุมทรัพยากรทั้งในเขตที่ราบและเขตภูเขาท่ามกลางการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด สำหรับในส่วนของการพัฒนาพลังงานนั้นจะเห็นว่ารัฐบาลทหารได้วางนโยบายลดการพึ่งพึงก๊าซธรรมชาติและหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนซึ่งจะกลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจพม่าในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) โดยเห็นได้จากการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ครอบคลุมลุ่มน้ำอิรวดี สะโตง และสาละวิน

ซึ่งหากพิจารณาตามหลักภูมิเศรษฐศาสตร์จะพบว่าเมืองเพียงมะนาตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มน้ำอิรวดีซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการพัฒนาทางการเกษตรและลุ่มน้ำสาละวินซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับประเทศไทยและจีน โดยในอนาคตเพียงมะนาจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทหารพม่าในการขยายเครือข่ายพลังงานครอบคลุมทั้ง 3 ลุ่มน้ำ ตลอดจนรองรับรายได้มหาศาลจากการขายกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศเพื่อนบ้านผ่านลุ่มน้ำสาละวิน ซึ่งนอกจากจะทำให้รัฐบาลมีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งแล้วยังทำให้กองทหารพม่าซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงแห่งใหม่เข้ามาวางกำลังเรียงรายไปตามเครือข่ายพลังงานในเขตชายแดนตะวันออกเพื่อเปลี่ยนสนามรบให้เป็นอ่างเก็บน้ำตลอดจนครอบครองพื้นที่ป่าไม้ของกองกำลังชนกลุ่มน้อย

2.3 การขยายตัวของเครือข่ายคมนาคมขนส่ง

รัฐบาลทหารพม่าชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) มีความเชื่อว่าการมีระบบโครงข่ายถนนที่โยงใยไปทั่วภูมิภาคจะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งให้กับประเทศ จากแนวยุทธศาสตร์ดังกล่าว รัฐบาลทหารได้จัดสร้างเครือข่ายถนนวงแหวนเพื่อเชื่อมโยงหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตภาคพื้นทวีปอย่างเป็นระบบ โดยเห็นได้จากการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำอิรวดีจำนวนหลายแห่ง ตลอดจนการสร้างทางด่วนสายมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งในแนวดิ่งและแนวระนาบ ยกตัวอย่างเช่น ทางด่วนจากย่างกุ้งไปมัณฑะเลย์ ตองอูไปยะแมตีง และเพียงมะนาไปพินลวง (Pinlaung)

จากสภาวะแวดล้อมดังกล่าวการย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศตลอดจนเป็นชุมทางรถไฟและศูนย์รวมของถนนสายต่าง ๆ ย่อมทำให้รัฐบาลกลางมีอำนาจในการเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศตลอดจนเคลื่อนกำลังพลอย่างรวดเร็วหากมีศึกสงครามทั้งภายในและภายนอก ในขณะเดียวกัน ระบบเครือข่ายถนนในประเทศพม่ายังมีการเชื่อมโยงกับทางหลวงสายเอเชีย (Trans Asian Highway) ซึ่งส่งผลให้ประเทศพม่ากลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อระหว่างอินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลจากการขยายตัวของทางหลวงสายเอเชียได้ส่งผลให้เมืองเพียงมะนาในอนาคตกลายเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในแนวดิ่งที่เชื่อมโยงหัวเมืองตอนใต้ของจีนและมัณฑะเลย์เข้ากับนครย่างกุ้งและท่าเรือสำคัญในอ่าวเมาะตะมะ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในแนวระนาบที่เชื่อมโยงหัวเมืองตะวันออกของอินเดียและรัฐอาระกันเข้ากับหัวเมืองชายแดนในเขตที่ราบสูงฉานและตัดเข้าสู่ประเทศลาว ไทย และเวียดนาม

ดังนั้นการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในเขตเมืองเพียงมะนาจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ลุ่มลึกของรัฐบาลทหารพม่าเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบการขนส่งภาคพื้นทวีปตลอดจนเสริมสร้างสมรรถนะของรัฐบาลในการเข้าถึงทุกส่วนภาคของประเทศ

@@@@@@@

3. การสร้างเอกภาพทางสังคมและวัฒนธรรม

รัฐบาลทหารชุดปัจจุบัน (พ.ศ. 2550 – กองบก.ออนไลน์) ได้ดำเนินนโยบายเพื่อที่จะสถาปนาเอกภาพทางจิตวิญญาณให้กับระบอบทหารและสหภาพพม่า (Union Spirit) โดยเห็นได้จากการปลุกระดมลัทธิราชาชาตินิยม (Monarchical Nationalism) เพื่อหวนกลับไปหาความรุ่งโรจน์ของจักรวรรดิพม่ายุคโบราณ การปลุกระดมลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตก เพื่อผลักดันการแทรกแซงจากต่างชาติและสร้างความภาคภูมิใจทางประวัติศาสตร์ การดำเนินโครงการบูรณปฏิสังขรณ์กลุ่มโบราณสถานและราชธานีเก่าเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนการใช้หลักโหราศาสตร์ในการประกอบพิธีสำคัญระดับชาติเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์และโน้มน้าวให้ประชาชนมีความศรัทธาในตัวผู้นำ

สำหรับการย้ายเมืองหลวงนั้นจัดเป็นส่วนหนึ่งของจารีตโบราณและเป็นสัญลักษณ์แห่งการเบิกยุคใหม่เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับประเทศตลอดจนเป็นการประกาศอำนาจของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วย ในฐานะผู้ปกครองที่เต็มเปี่ยมไปด้วยบารมีทางการเมือง จากบริบทดังกล่าว รัฐบาลทหารพม่าได้ประยุกต์ใช้ธรรมเนียมราชสำนักโบราณ หลักโหราศาสตร์ และลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตกเพื่อปรุงแต่งและเติมเต็มให้กระบวนการเคลื่อนย้ายเมืองหลวงมีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นตามโลกทรรศน์พม่า โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้



ภาพถ่ายกรุงย่างกุ้งเมื่อ ค.ศ. 1945

3.1 การปรับใช้และดัดแปลงธรรมเนียมราชสำนักโบราณ

หลังจากเหตุการณ์ประท้วงปี พ.ศ. 2531 รัฐบาลทหารพม่าได้รื้อฟื้นประเพณีราชสำนักโบราณตลอดจนลอกเลียนแบบพฤติกรรมของกษัตริย์พม่าในอดีตเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองและเสริมภาพลักษณ์ของสถาบันกองทัพให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสถาบันกษัตริย์ในยุคจารีต ยกตัวอย่างเช่น การยกยอดฉัตรเจดีย์ชเวดากองและเจดีย์สำคัญต่าง ๆ การบูรณะกลุ่มราชธานีเก่า เช่น พุกาม ตองอู อังวะ และหงสาวดี ตลอดจนการครอบครองช้างเผือกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิราชและเป็นเครื่องประดับบารมีของกษัตริย์พม่าในอดีต

จากสภาวะดังกล่าว การย้ายเมืองหลวงไปยังนครเนปิดอว์ซึ่งแปลว่าบัลลังก์แห่งกษัตริย์นั้นจัดว่าเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความพยายามของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วยในการประกาศตัวเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่เฉกเช่นกับกษัตริย์พม่าโบราณ ตลอดจนเป็นการสร้างชื่อในประวัติศาสตร์เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ประเทศพม่าประกาศย้ายเมืองหลวงหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ

นอกจากนี้แหล่งข่าวในพม่ายังกล่าวว่าประชาชนบางกลุ่มถูกบังคับให้เดินโดยเท้าเปล่าจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ ซึ่งคล้ายคลึงกับไพร่ราบของกษัตริย์พม่าในอดีต ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงครั้งล่าสุดจึงสะท้อนถึงการปรับใช้และดัดแปลงธรรมเนียมราชสำนักโบราณตลอดจนแสดงถึงมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในระบบความคิดและโลกทรรศน์ของผู้นำพม่าคนปัจจุบัน (พลเอกอาวุสโสตันฉ่วย – กองบก.ออนไลน์)

3.2 การปรับใช้และดัดแปลงหลักโหราศาสตร์

กรณีการย้ายเมืองหลวงในปัจจุบันนั้น แหล่งข่าวลือในพม่ามีความเชื่อว่าโหราจารย์ประจำตัวพลเอกอาวุสโสตันฉ่วยได้ทำนายว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และเมษายน ปี พ.ศ. 2548 ดาวประจำตัวของผู้นำพม่าเริ่มอับแสงอันส่งผลให้บัลลังก์แห่งอำนาจเริ่มสั่นคลอนโดยหนทางเดียวที่จะรักษาการดำรงอยู่ของระบอบทหารคือการย้ายเมืองหลวงออกจากนครย่างกุ้ง

นอกจากนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2547 เขตปกครองย่างกุ้ง (Yangon Division) และเมืองต่าง ๆ ในเขตพม่าตอนล่างยังได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวอันเกิดจากคลื่นยักษ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียซึ่งทำให้ยอดฉัตรของมหาเจดีย์ Mawdinsoon ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากเขตย่างกุ้งหักพังทลายลงมา ซึ่งส่งผลให้คนพม่าทั่วไปมองว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวคือสัญลักษณ์แห่งลางร้ายที่เข้าคุกคามนครย่างกุ้ง

ตลอดจนตามประวัติศาสตร์การเมืองของพม่านั้น การเกิดแผ่นดินไหวมักจะตามมาด้วยการลุกฮือของประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น การเกิดแผ่นดินไหวในเมืองพุกาม ปี พ.ศ. 2518 ซึ่งตามมาด้วยการเดินขบวนของกลุ่มนักศึกษาและผู้ใช้แรงงานเพื่อต่อต้านรัฐบาล หรือการเกิดแผ่นดินไหว 6.8 ริคเตอร์ แถบชายแดนพม่า-อินเดียซึ่งนำไปสู่การเดินขบวนประท้วงโค่นล้มระบอบเนวิน ในปี พ.ศ. 2531 ดังนั้นปัจจัยทางโหราศาสตร์จึงมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและเหตุการณ์สำคัญระดับชาติซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้พลเอกอาวุสโสตันฉ่วยตัดสินใจย้ายเมืองหลวงออกจากย่างกุ้ง

สำหรับการปรับใช้และดัดแปลงหลักโหราศาสตร์นั้น สามารถเห็นได้จากการประกาศโยกย้ายข้าราชการออกจากนครย่างกุ้งเวลา 6 นาฬิกา 37 นาที เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน (เดือน 11)  ปี พ.ศ. 2548 โดยรถบรรทุกจากหน่วยงานทหารจำนวน 1,100 คัน ได้เคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนกลุ่มข้าราชการพลเรือนจำนวน 11 กอง และข้าราชการทหารอีก 11 กอง มุ่งตรงสู่เมืองเพียงมะนา ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเลข 6 คือเลขนำโชคของพลเอกอาวุสโสตันฉ่วย และเลข 11 คือเลขมงคลที่สัมพันธ์กับดวงเมืองของราชธานีแห่งใหม่

3.3 การปรับใช้และดัดแปลงลัทธิต่อต้านอาณานิคมตะวันตก

ความขมขื่นจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมและการพังทลายของจักรวรรดิพม่านับตั้งแต่กองทัพอังกฤษ-อินเดียยาตราทัพเข้าเหยียบย่ำราชธานีมัณฑะเลย์ ยังคงอยู่ในความทรงจำของกลุ่มผู้นำทหารซึ่งยังคงยึดติดอยู่กับลัทธิชาตินิยมและการเสริมภาพลักษณ์ของกองทัพในฐานะผู้ปกป้องมาตุภูมิจากกองกำลังต่างชาติ ยุทธศาสตร์การย้ายเมืองหลวงไปเพียงมะนาจัดเป็นหนึ่งในกระบวนการต่อต้านและปลดแอกออกจากลัทธิอาณานิคม (Decolonization)

โดยหากพิจารณาตามกรอบประวัติศาสตร์และความผันผวนของระบบโลกจะพบว่า นครย่างกุ้งไม่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวงของพม่าตามมุมมองของกลุ่มคณะทหาร เนื่องจากถูกสถาปนาโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษผู้ปล้นเอกราช ตลอดจนเคยเป็นฐานทัพที่กองทัพอังกฤษใช้เป็นหัวหาดในการขยายอิทธิพลเข้ายึดราชธานีมัณฑะเลย์ ดังนั้นกรุงย่างกุ้งจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความอัปยศอดสูในประวัติศาสตร์พม่า ประกอบกับย่างกุ้งยังไม่ได้ตั้งอยู่ในดินแดนหัวใจของวัฒนธรรมพม่าแถบลุ่มน้ำอิรวดีและสะโตง แต่ในทางตรงข้ามกลับตั้งอยู่บริเวณชายขอบในเขตพม่าตอนล่างซึ่งเคยเป็นเขตอิทธิพลของมอญและเป็นศูนย์กลางทางการค้าเพื่ออำนวยผลประโยชน์ให้กับกองทัพอังกฤษ

ในขณะเดียวกันการถาโถมของวัฒนธรรมตะวันตกที่มาพร้อมกับการขยายตัวทางการค้ารอบอ่าวเมาะตะมะได้ส่งผลให้ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่ (Neo-Colonialism) เริ่มก่อตัวคุกคามอำนาจของรัฐบาลทหารตลอดจนวิถีชีวิตโดยรวมของชาวพม่าในเขตย่างกุ้งประกอบการเริ่มมีตึกระฟ้าสมัยใหม่ผุดขึ้นกลางเมืองเคียงคู่กับกลุ่มอาคารสมัยอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ซึ่งลักษณะทางภูมิทัศน์ดังกล่าวได้ส่งผลให้นครย่างกุ้งคือจุดหลอมรวมของมรดกจากยุคอาณานิคมและการแพร่กระจายของลัทธิจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ (Neo-Imperialism)

ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงไปยังเพียงมะนาจึงเป็นการถอยห่างจากอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและเป็นการสถาปนาศูนย์กลางทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ท่ามกลางความผันผวนของระบบโลกยุคหลังสงครามเย็น

 99 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 05:41:30 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ไฟไหม้โบสถ์วัดพระธาตุบังพวน วัดคู่บ้านคู่เมืองหนองคายเสียหายทั้งหลัง.!

เกิดเหตุเพลิงไหม้โบสถ์ วัดพระธาตุบังพวน วัดคู่บ้านคู่เมืองหนองคายเสียหายทั้งหลัง พบบุคคลต้องสงสัยเป็นคนวิกลจริต

เมื่อช่วงค่ำวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมา  ร.ต.ท.หญิง นาถอนงค์ โพธิสาร รอง สารวัตร (สอบสวน) สภ.เมืองหนองคาย รับแจ้งเหตุไฟไหม้โบสถ์ ภายในวัดพระธาตุบังพวน ต.พระธาตุบังพวน อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย หลังรับแจ้งจึงไปตรวจสอบ พร้อม พ.ต.อ.สกล สิทธิวิชัย รอง ผบก.ภ.จว.หนองคาย ,พ.ต.อ.ยุทธนา งามชัด ผกก.สภ.เมืองหนองคาย, นายอุรุยศ เอียสกุล นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย ปลัดอำเภอเมืองหนองคาย และประสานรถดับเพลิงหลายคัน และประสานหน่วยกู้ภัยในพื้นที่ ลงไปยังจุดเกิดเหตุ

เมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงพบกลุ่มควันจำนวนมากพวยพุ่งออกมาจากโบสถ์ โดยเพลิงลุกไหม้หลังคา พระสงฆ์ชาวบ้านช่วยกันดับเพลิงอยู่ก่อนแล้ว เจ้าหน้าที่ได้เร่งระดมฉีดน้ำเข้าไปไปภายในโบสถ์ ฉีดน้ำที่บริเวณหลังคาเพื่อควบคุมเพลิง ใช้เวลานานกว่า 40 นาที สามารถควบคุมเพลิงเอาไว้ได้




ทั้งนี้จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่าเพลิงไหม้โบสถ์ถูกความร้อนทำให้สีของโบสถ์ลอกออก ส่วนพระประธานและพระพุทธรูปที่อยู่ในโบสถ์ถูกความร้อนของเพลิงที่ไหม้ทำให้ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ข้าวของภายในโบสถ์ถูกเพลิงไหม้เสียหายหมด

สอบถามพระลูกวัดพระธาตุบังพวน เล่าว่า ขณะเกิดเหตุไม่มีใครอยู่บริเวณโบสถ์ มีชาวบ้านได้มาตะโกนบอกไฟไหม้โบสถ์จึงรีบวิ่งมาดู พบกลุ่มควันจำนวนมากพวยพุ่งออกมาจากโบสถ์ พระสงฆ์ชาวบ้านช่วยกันเอาถังดับเพลิง มาช่วยกันพยายามดับไฟแต่ไม่สามารถดับไฟได้ ส่วนสาเหตุยังไม่ทราบ

ด้าน พ.ต.อ.ยุทธนา งามชัด ผกก.สภ.เมืองหนองคาย กล่าวว่า จากการตรวจที่เกิดเหตุพบว่าภายในโบสถ์ซึ่งเป็นไม้ ไฟไหม้เสียหายทั้งหมด ซึ่งต้องรอการสอบสวนหาสาเหตุที่ชัดเจนอีกครั้ง แต่ในเบื้องต้นมีพยานเห็นบุคคลวิกลจริตป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุซึ่งต้องรอรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อสอบสวนต่อไป ซึ่งได้กั้นพื้นที่เกิดเหตุไว้เพื่อรอเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานมาตรวจสอบที่เกิดเหตุเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน และดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป





Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/221543
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 13 เม.ย. 2567 ,08:37น.

 100 
 เมื่อ: เมษายน 14, 2024, 05:35:41 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ศรัทธาแน่นวัด หลวงพ่อสิงห์ สรีระสังขารเหนือกาลเวลา 15 ปี ไม่เน่า ไม่เปื่อย

ศรัทธาแน่นวัด ปิดทอง เปลี่ยนผ้าครอง หลวงพ่อสิงห์  1 ปี มีครั้งเดียว สรีระสังขารเหนือกาลเวลา 15 ปี ไม่เน่า ไม่เปื่อย

วันที่ 13 เม.ย.67 ที่วัดไผ่เหลือง ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ผู้สื่อข่าวรายงาน ลูกศิษย์แน่นวัด แห่ร่วมสักการะกราบไหว้ครู อาจารย์ ในเทศกาลปีใหม่ไทยหรือ วันสงกรานต์ 2567 เปิดโลงแก้วสรีระสังขาร หลวงพ่อสิงห์ อดีตเจ้าคณะตำบลบางม่วง และอดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่เหลือง ปิดทอง เปลี่ยนผ้าครอง




พระครูสมุห์สิทธิโชค อภินนฺโท เจ้าอาวาสวัดไผ่เหลือง กล่าวว่า ได้จัดให้มีการปิดทอง เปลี่ยนผ้าครอง หลวงพ่อสิงห์ เป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย เพื่อเป็นการระลึกนึกถึงครูอาจารย์ ผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา และเป็นผู้ที่ทำให้วัดมีความเจริญในทุกวันนี้ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฎิบัติชอบ เป็นพระนักพัฒนา ที่มีลูกศิษย์มากมาย จากหลากหลายอาชีพ



ลูกศิษย์ที่นำธรรมะของหลวงพ่อไปปฏิบัติ แล้วได้ดี ประสบความสำเร็จ ก็กลับมาพัฒนาวัด กลับมาดูแลพุทธศาสนา แม้ว่าท่านจะละสังขารไปนานแล้ว แต่ลูกศิษย์ลูกหาก็ยังมากราบไหว้ ขอพรกันไม่ขาด ลูกศิษย์บางคนกลับไปมีโชคมีลาภ จึงทำให้มีการพูดถึงกันไปปากต่อปากอย่างกว้างขวาง

พระครูสมุห์สิทธิโชค อภินนฺโท กล่าวต่อว่า ในเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เชิญชวนประชาชน เข้าวัดทำบุญกราบขอพร 117 เกจิอาจารย์ สังขารเหนือกาลเวลา (ภาคกลาง) หลวงพ่อสิงห์ วัดไผ่เหลือง ท่านก็มีรายชื่อพระเกจิอาจารย์ สังขารเหนือกาลเวลาอยู่ด้วย




หลวงพ่อสิงห์ เกิดในสกุล วิระยะวงศ์ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2493 หมู่บ้านอองชุนนิ ประเทศเกาหลี บิดาชื่อ นายอนันต์ วิระยะวงศ์ เป็นอดีตทหารไทยที่ถูกส่งไปร่วมรบในสงครามเกาหลี มารดาเป็นชาวเกาหลี และเกิดที่ประเทศเกาหลี ท่านจึงเป็นลูกครึ่งไทย-เกาหลี

หลังบิดาเดินทางกลับประเทศไทย และอาศัยอยู่กับย่าที่ชุมชนหลังวัดบวรนิเวศวิหาร จนอายุได้ 15 ปี จึงย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับครอบครัวแม่บุญธรรมใน อ.บางเลน จ.นครปฐม และได้มีโอกาสเข้าไปรับใช้พระราชธรรมาภรณ์ หรือหลวงพ่อเงิน อดีตพระเกจิอาจารย์ วัดดอนยายหอม ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ถ่ายทอดวิชาวิปัสสนากรรมฐาน การเจริญภาวนาสมาธิ





Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/214023
13 เม.ย. 67

หน้า: 1 ... 8 9 [10]