ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถวาย นม หลังจากเที่ยงไปแล้ว เป็นบุญ หรือ บาป ครับ  (อ่าน 5386 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sompong

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 218
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การถือศีล ๘ แล้วดื่มน้ำปานะ ถ้าเป็นนมหรืออะไรที่ช่วยให้ท้องสบายจะถือว่าผิดศีลหรือไม่

ผมไปปฏิบัติกรรมฐาน พิเศษ ในสายวัดป่าที่ปากช่องมา

  นำนมไปถวาย ท่านรับแต่ไม่ฉัน กันบอกว่า นม เป็นไม่ใช่น้ำปานะ ฉันไม่ได้

 มีข้ออธิบายให้ผมเข้าใจหรือป่าวครับ  เพราะผมไม่สบายใจว่า ทำบุญไม่ได้บุญ ครับ

บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ถวาย นม หลังจากเที่ยงไปแล้ว เป็นบุญ หรือ บาป ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 12:56:43 pm »
0
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1032

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เพราะเหดุนั้นแล  เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย   อาศัยอำนาจประโยชน์  ๑๐  ประการ  คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก  ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก  ๑ 
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน  ๑ 
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต  ๑ 
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส  ๑   
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑   
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑   
เพื่อถือตามพระวินัย  ๑       
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้  ว่าดังนี้:-
                                      พระบัญญัติ
        ๔๒.  ๓.  อนึ่ง  มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ  คือ  เนยใส
เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว   พึงเก็บ
ไว้ฉันได้  ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง
  ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป  เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.                                                                 
                          เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ  จบ   
                                  สิกขาบทวิภังค์
        [๑๔๑]  คำว่า  มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ  เป็นต้น  มี
อธิบายดังต่อไปนี้:-

 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1033

        ที่ชื่อว่า  เนยใส  ได้แก่  เนยใสที่ทำจากน้ำมันโคบ้าง  น้ำนมแพะ
บ้าง  น้ำมันกระบือบ้าง   มังสะของสัตว์เหล่าใดเป็นของควร    เนยใสที่ทำ
จากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น  ก็ใช้ได้
        ที่ชื่อว่า  เนยข้น  ได้แก่  เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแล
        ที่ชื่อว่า  น้ำมัน   ได้แก่   น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงาบ้าง  จาก
เมล็ดพันธุ์ผักกาดบ้าง     จากเมล็ดมะซางบ้าง    จากเมล็ดละหุ่งบ้าง   จาก
เปลวสัตว์บ้าง       
        ที่ชื่อว่า   น้ำผึ้ง   ได้แก่   รสหวานที่แมลงผึ้งทำ           
        ที่ชื่อว่า  น้ำอ้อย  ได้แก่  รสหวานที่เกิดจากอ้อย
        คำว่า     ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว  พึงเก็บไว้ฉันได้  ๗  วัน
เป็นอย่างยิ่ง  คือเก็บไว้ฉันได้  ๗ วันเป็นอย่างมาก
        คำว่า    ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป  เป็นนิสสัคคีย์   ความว่า เมื่อ
อรุณที่ ๘ ขึ้นมา  เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ  หรือบุคคล
   
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็เเลภิกษุพึงเสียสละเภสัชนั้นอย่างนี้:-
                                         วิธีเสียสละ
                                    เสียสละแก่สงฆ์
        ภิกษุรูปนั้น   พึงเข้าไปหาสงฆ์    ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า   กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า  นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ  กล่าวอย่างนี้ว่า
        ท่านเจ้าข้า   เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง  ๗  วัน  เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่สงฆ์

ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
       ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
           ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
           ๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
           ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
           ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
           ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
           ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
           ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
           ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
       [color=rgb(0, 0, 153)]นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)[/color]
        วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก  เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี  (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร)  แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
       ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
           ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
               (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
           ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
               (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
           ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
               (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)


คำว่า น้ำปานะ  หมายถึง น้ำคั้นผลไม้ จากที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติได้แก่ น้ำคั้นจากผลไม้ ๘  ชนิด (น้ำอัฏฐบาน) คือ น้ำมะม่วง, น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า, น้ำกล้วยมีเมล็ด,  น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด, น้ำมะขางเจือจาง, น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น,  น้ำเหง้าอุบล, น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่        นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังทรงอนุญาต น้ำใบไม้ (ปัตตรส) ทุกชนิด เว้นน้ำผักต้ม  อนุญาตน้ำจากดอกไม้ (บุปผรส) ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะขาง และอนุญาตน้ำอ้อยสด  (อุจฉุรส) อีกด้วย น้ำนมไม่เรียกน้ำปานะ



น้ำนม จัดอยู่ใน เภสัช เนยข้น น้ำนม ทธิ
พึงอ่านข้ออนุโลมด้วย ว่าอนุญาต ไว้เพียงใด ว่าแต่ จิตปริวิตกเรื่องพวกนี้มาก เพราะมีวินิจฉัย จากมหาเถระสมาคม ก็อนุญาต พึงทานได้ไม่เป็นการผิด ในฝ่าย มหานิกาย ก็จะรับดื่มได้เป็นปกติ หลังจากเที่ยงไปแล้ว


จะบอกว่าถูก หรือ ผิด ก็ดูวินิจฉัย บริโภคเพื่ออะไร ในปัจจเวกขณ เรื่องของอาหาร และ เภสัช


ผู้ถวายได้บุญแล้วเมื่อถวาย ส่วนผู้รับเมื่อรับแล้ว จะบริโภค หรือ ไม่บริโภค ก็เป็นส่วนของผู้รับ
ดังนั้นอย่าพึงตามคิดถึงทานที่ได้นำถวายแล้ว ว่าผู้รับจะนำไปอย่างไร จะทิ้ง จะขว้าง จะใช้ ก็ไม่พึงไปติดตาม
เพราะบุญสำเร็จ ตามที่เราตั้งใจแล้ว พึงมั่นใจผู้รับ ถ้าเป็นผู้ทรงศีล มีธรรม ท่านก็จะให้เกิดเป็นประโยชน์เอง


เจริญพรเท่านี้นะจ๊ะ
 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ถวาย นม หลังจากเที่ยงไปแล้ว เป็นบุญ หรือ บาป ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2012, 03:19:02 pm »
0
ในส่วนร่ายกายของคนเรา ที่ต้องการมากกว่าส่วนอื่นๆ  คือ
       ๑.น้ำ 
       ๒.เกลือ(ความเค็ม)
       ๓.พลังงาน(น้ำตาล)
   
    ในที่นี้เห็นจะได้เป็นน้ำปานะ เพราะมีสิ่งที่ร่ายกายต้องการในตลอดทั้งวันอยู่พอเพียง คือ
          ๑.น้ำ ถ้าร่ายกายเราขาดน้ำก็อยู่ไม่ได้จักเสียชีวิต ตัวอย่างเช่นในพระวินัย เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๕๓๗ - ๕๗๕.  หน้าที่  ๒๓ - ๒๔.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=537&Z=575&pagebreak=0

                             เรื่องผ้ากรองน้ำ
 [๗๓] สมัยต่อมา ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไปในโกศลชนบท ภิกษุรูปหนึ่ง
ประพฤติอนาจาร ภิกษุเพื่อนเตือนภิกษุรูปนั้นว่า คุณอย่าทำอย่างนี้ซิ ขอรับ การ
ทำนี้ไม่ควร ภิกษุนั้นผูกโกรธภิกษุเพื่อน ครั้นภิกษุเพื่อนกระหายน้ำ พูดอ้อนวอน
ภิกษุรูปที่ผูกโกรธว่า โปรดให้ผ้ากรองน้ำแก่ผม ผมจักดื่มน้ำ ภิกษุรูปที่ผูกโกรธไม่
ยอมให้ ภิกษุเพื่อนกระหายน้ำถึงมรณภาพ ครั้นภิกษุรูปที่ผูกโกรธไปถึงวัดแล้ว
เล่าความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ถามว่า ท่านถูกเพื่อนอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ ก็
ไม่ให้เทียวหรือ เธอรับว่า อย่างนั้น ขอรับ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุเมื่อถูกขอผ้ากรองน้ำจึงไม่ให้กัน แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ
ประชุมสงฆ์สอบถาม
             [๗๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูกร
ภิกษุ ข่าวว่า เธอถูกอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ ก็ไม่ยอมให้ จริงหรือ
             ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเมื่อ
เธอถูกเขาอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำจึงไม่ยอมให้ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เดินทางเมื่อถูกเขาอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ
จะไม่พึงให้ ไม่ควร รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
             อนึ่ง ภิกษุไม่มีผ้ากรองน้ำ อย่าเดินทางไกล รูปใดเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ
             ถ้าผ้ากรองน้ำ หรือกระบอกกรองน้ำไม่มี แม้มุมผ้าสังฆาฏิ ก็พึงอธิษฐานว่า
เราจักกรองน้ำด้วยมุมผ้าสังฆาฏินี้ดื่ม ดังนี้ ฯ
       
          ๒.เกลือ(ความเค็ม) จากข่าวน้ำท่วม ได้มีหญิงชราคนหนึ่งได้นอนแช่น้ำมาตลอดหนึ่งวันหนึ่งคืน เพราะไม่สามารถออกมาเองได้ หลังจากเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจพบเจอจึงให้การช่วยเหลือได้ทัน นายแพทย์ภาคสนามได้ตรวจเช็คเบื้องต้นพบค่าความเค็มของร่ายกายอยู่ในคั้นวิกฤษ เพราะร่างกายสูญเสียความเค็มเนื่องจากนอนแช่น้ำมาหลายชั่วโมง  นายแพทย์กล่าว ถ้าให้การช่วยเหลือไม่ทันอาจจะเสียชีวิตได้ 
      หรืออีกเวลาที่เราเจ็บป่วย หมอมักจะให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล

      น้ำเกลือ ที่ให้ มิใช่จะมีแต่เพียงเกลือ แต่มีน้ำตาลอยู่ด้วย  จะเห็นได้จากสูตรทำน้ำเกลือ ที่พยาบาลบอกให้มาทำกินเองที่บ้านก็ได้ คือ น้ำเต็มแก้ว(ทรงสูง) เกลือครึ่งช้อนชา น้ำตาลสองช้อนโต๊ะ กินให้หมดภายในวัน ห้ามไม่ให้เก็บไว้

           ๓.พลังงาน(น้ำตาลหรือแป้ง) ความเป็นจริงแล้วข้าวที่เรากินกันก็คือแป้ง เมื่อรายกายได้รับก็ทำการย่อยและเปรี่ยนสะภาพเป็นน้ำตาล จะรู้สึกได้จากเวลาที่เรากินข้าวเปล่าๆ ออมไว้ในปาก พอผสมกับน้ำลายในปากแล้ว จะรู้สึกว่าหวานๆ นิดๆ เมื่อเป็นน้ำตาล ร่าวกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที จึงสามารถให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือดได้โดยตรง

   และจากการสังเกตุส่วนตัว ในเวลาที่เราเหนื่อยมากๆ ต้องการกินน้ำ เมื่อกินผลไม้เขาไปแล้วจะรู้สึกสดชื่นดับกระหายขึ้นมาในทันที
   
      ประสบการณ์จากตอนที่อยู่ต่างประเทศ เป็นที่นิยมของผู้คนที่มักจะนิยมนำกล้วยหรือแอปเปิ้ลติดไปด้วย สักหนึ่งลูกเผื่อหิว เราก็เอาแอปเปิ้ลติดไปด้วย แทนที่จะเป็นน้ำดื่ม ตามแบบฉบับของผู้ที่ชื่นชอบการปั่นจักรยาน  แล้วเหตุก็เกิด พอปั่นไปในป่าเลื่อยๆก็สนุกไปเลื่อย แต่เพราะเป็นป่า มีเขามาก ต้องปันขึ้นเขาสูงมากๆ เหนื่อยแทบตาย กระหายน้ำอย่างมาก ผู้คน บ้านคนก็ไม่มี อากาศก็หนาวเย็นอย่างมาก(หิมะตก) หายใจลำบากมาก ที่ทำได้ก็มีแค่แอปเปิ้ลผลเดียวที่นำติดตัวมาด้วย ก็กินแบบไม่มีทางเลือก  ผลปรากฏว่า กลับรู้สึกดีอย่างไม่น่าเชื่อ พอวันนี้มานึกดู ก็ในผลไม้มีทั้งกลูโคส(น้ำำำตาล) และวิทามิน ร่างกายนำไปใช้ได้ในทันที(แบบโอเวอร์)
      และจากอีกประสบการณ์นึง ในเวลาที่อากาศร้อนมากๆ จะหิวน้ำมากๆ แต่พอกินน้ำไปแล้ว เท่าไหร่ๆ ก็ไม่รู้สึกพอ กินน้ำจนเต็มท้องจุกไปหมดแล้ว ก็ยังกระหายน้ำอยู่  ก็คิดถึงเรื่องน้ำเกลือแร่ ที่มักจะโฆษณากันว่า สำหรับผู้ที่สูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย ก็เลยลองกินดู ปรากฏว่า ได้ผลแฮะ ดับกระหายได้ดี ไม่ทำให้หิวน้ำอืีก หลังจากนั้นจึงทำน้ำเกลือกินเอง และก็สังเกตุได้ว่า เวลาที่เราไปซื้อน้ำปั่นผลไม้ตามร้านค้า เห็นเขาก็จะใส่เกลือกับน้ำเชื่อมทุกน้ำที่คนสั่ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำกล้วยปั่น น้ำแอปเปิ้ลปั่น น้ำส้มปั่น
      จึงทำให้เขาใจ ในเรื่องของน้ำปานะในวันนี้ แล้วว่าเป็นอย่างนี้ นี่เอง ที่จริงแล้วถ้าเชื่อในพระพุทธองค์ก็จบ เพราะพระองค์รู้แจ้งในทุกๆอย่าง จะมีก็เราที่ตีความกันผิดไปเอง
     
      รู้อย่างนี้แล้ว ก็ทำน้ำปานะกันให้ถูกๆ นะจ๊ะ
      รู้แล้ว  อย่าลืมบอกต่อๆกันไปละ    :49:

บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม