ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประเพณีการเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดา  (อ่าน 1197 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 


ประเพณีการเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดา

ประเพณีการเรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระศาสดาและสำนักของพระสาวก ในครั้งพุทธกาล

จริงอยู่ ในครั้งพุทธกาล พวกภิกษุย่อมประชุมกัน ๒ วาระ คือ ในกาลจวนเข้าพรรษาอันใกล้เข้าแล้ว ๑ ในกาลปวารณา ๑. ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษาใกล้เข้ามา พวกภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง เป็นพวก ๆ ย่อมมาเพื่อต้องการกรรมฐาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันเทิงกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษา ใกล้เข้าแล้ว พวกเธอจึงเที่ยวกันอยู่.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มาเพื่อพระกรรมฐาน ขอพระองค์จงให้พระกรรมฐานเเก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้.

ด้วยสามารถแห่งความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น พระศาสดาจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้ราคะจริต ให้เมตตากัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้โทสจริต ให้อุทเทส ปริปุจฺฉา การฟังธรรมตามกาล การสนทนาธรรมตามกาล แก่ภิกษุผู้โมหะจริต

ตรัสบอกว่า กัมมัฏฐานนี้เป็นที่สบายของพวกเธอ ดังนี้ ทรงให้อานาปานัสสติกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้วิตกจริต ทรงประกาศ ความเป็นผู้ตรัสรู้ดี แห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม และความเป็นผู้ปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ ในปสาทนียสูตร แก่ภิกษุผู้สัทธาจริต ทรงตรัสพระสูตรทั้งหลายอันลึกซึ้ง อันปฏิสังยุตต์ด้วย อนิจจตา เป็นต้น แก่ภิกษุผู้ญาณจริต.

@@@@@@@

พวกภิกษุเหล่านั้น เรียนเอาพระกัมมัฏฐานแล้ว ถ้าที่ใด เป็นที่สบาย ก็อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ถ้าว่าไม่มีที่สบาย ถามถึงเสนาสนะ เป็นที่สบายแล้ว จึงไป.

พวกภิกษุเหล่านั้นอยู่ ในที่นั้น เรียนข้อปฏิบัติตลอด ๓ เดือน พากเพียรพยายามอยู่ เป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นพระสกทาคามีบ้าง เป็นพระอนาคามีบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง ออกพรรษา ปวารณาแล้ว จากที่นั้น จึงไปยังสำนักพระศาสดา บอกแจ้งคุณที่ตนได้เฉพาะว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ เรียนเอาพระกัมมัฏฐาน ในสำนักของพระองค์ บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว ฯลฯ ข้าพระองค์ บรรลุพระอรหัตต์อันเป็นผลอันเลิศแล้ว ดังนี้.

พวกภิกษุเหล่านี้ มาในที่นั้น ในดิถีเป็นที่จวนเข้าพรรษา อันใกล้เข้ามาแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงส่งเหล่าภิกษุผู้มาแล้วไปอยู่อย่างนั้น สู่สำนักของพระอัครสาวกทั้งหลาย.

    เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า.
   "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอำลาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด."
    พวกภิกษุกราบทูลว่า
   "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ยังมิได้อำลาพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเลย" ดังนี้





ที่มา :-
ข้อความบางตอนใน อรรถกถาทสุตตรสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364

ขอบคุณ :-
คอลัมน์ : พระไตรปิฎกศึกษา
web : dhamma.serichon.us/2022/01/22/ประเพณีการเรียนพระกรรม/
posted : 22 มกราคม 2022 ,By admin.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประเพณีการเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 24, 2022, 06:21:10 pm »
0
อสุภกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้ราคะจริต
ให้เมตตากัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้โทสจริต
ให้อุทเทส ปริปุจฺฉา การฟังธรรมตามกาล การสนทนาธรรมตามกาล แก่ภิกษุผู้โมหะจริต
ตรัสบอกว่า กัมมัฏฐานนี้เป็นที่สบายของพวกเธอ ดังนี้

ทรงให้อานาปานัสสติกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้วิตกจริต
ทรงประกาศ ความเป็นผู้ตรัสรู้ดี แห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม และความเป็นผู้ปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ ในปสาทนียสูตร แก่ภิกษุผู้สัทธาจริต
ทรงตรัสพระสูตรทั้งหลายอันลึกซึ้ง อันปฏิสังยุตต์ด้วย อนิจจตา เป็นต้น แก่ภิกษุผู้ญาณจริต.

ถามหน่อย ญาณจริต คือ พุทธิจริต ใช่หรือไม่คะ

บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ประเพณีการเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2022, 10:13:24 am »
0

 ans1 ans1 ans1

จริต หรือ จริยา 6 (ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน )
       
ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า จริต
       
1. ราคจริต (ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม) กรรมฐานคู่ปรับสำหรับแก้ คือ อสุภะและกายคตาสติ

2. โทสจริต (ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด) กรรมฐานที่เหมาะ คือ พรหมวิหารและกสิณ โดยเฉพาะวัณณกสิณ

3. โมหจริต (ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึมเงื่องงง งมงาย) กรรมฐานที่เกื้อกูล คือ อานาปานสติ และพึงแก้ด้วยมีการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาลหรืออยู่กับครู

4. สัทธาจริต (ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย) พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น พิจารณาอนุสติ 6 ข้อต้น

5. พุทธิจริต หรือ ญาณจริต (ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปในทางใช้ความคิดพิจารณา)

6. วิตกจริต (ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน) พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น

________________________________________________________
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

ข้อธรรม "จริตหรือจริยา 6" นี้ปรากฏอยู่ในหลายพระสุตร เช่น พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ดังนี้

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า
- บุคคลนี้เป็นราคจริต
- บุคคลนี้เป็นโทสจริต
- บุคคลนี้เป็นโมหจริต
- บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต
- บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต
- บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

- พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต.
- ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.
- ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียน ในการไต่ถามในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ในการอยู่ร่วมกับครู.
- ย่อมตรัสบอกอานาปาณสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต.
- ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต.
- ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.




 ask1 ans1
เพื่อความกระจ่าง จะนำเรื่อง "จริยา ๖" ในวิสุทธิมรรค มาแสดงโดยพิสดาร โปรดติดตาม.....
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ประเพณีการเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2022, 11:52:50 am »
0

 ans1 ans1 ans1

คัมภีร์วิสุทธิมรรค (แปลโดย มหาวงศ์ ชาญบาลี) เล่ม ๒ สมาธินิเทศ หน้า ๒

(ยกมาบางส่วน) โดยนัยแห่งอาจริยวัตต์ที่นำแสดงไว้ในมหาขันธ์นั้น เมื่อปฏิบัติอาจารย์มีกำหนดนานถึง ๑๐ วัน ๑๔ วันล่วงแล้ว จึงขอเรียนพระกรรมฐานในสำนักอาจารย์ อาจารย์นั้นก็พึงบอกพระกรรมฐานนั้นให้สมควรแก่จริตแห่งอันเตวาสิกแลประเภทแห่งจริตนั้น สำแดงโดยสังเขปมี ๖ ประการ คือ

     ราคจริตประการ ๑   
     โทสจริตประ ๑ 
     โมหจริตประการ ๑   
     สัทธาจริตประการ ๑   
     พุทธจริตประการ ๑ 
     วิตักกจริตประการ ๑
     เป็น ๖ ประการด้วยกัน

     - บุคคลอันเป็นราคจริตนั้นมีอัชฌาสัยมักโอ่โถงรักใคร่ที่งามที่ดี มีสันดานมากไปด้วยความกำหนัด ในปัญจพิธกามคุณ
     - บุคคลอันเป็นโทสจริตนั้น มีอัชฌาสัยมากไปด้วยโทมนัสมักขัดแค้นกริ้วโกรธร้าย
     - บุคคลอันเป็นโมหจริตนั้น มีอัชฌาสัย มักลุ่มมักหลงฟั่นเฟือนสติอารมณ์เป็นคนโลเลไม่ยั่งยืน
     - บุคคลอันเป็นสัทธาจริตนั้น มีสันดานมักเชื่อฟังผู้อื่นมากไปด้วยความเลื่อมใสในพุทธาทิคุณ ยินดีในศีลทานการกุศลสุจริตต่าง ๆ
     - บุคคลอันเป็นพุทธจริตนั้น มีอัชฌาสัยมากไปด้วยพินิจพิจารณาในคุณแลโทษบุญแลบาปมีปัญญาแหลม
     - บุคคลที่เป็นวิตักกจริตนั้น มีอัชฌาสัยมากไปด้วยวิตกวิจารสันดานโว้เว้ลังเลไม่ยั่งยืน

จริต ๖ ประการนี้ เมื่อจัดโดยมีสกนัยนั้น จำแนกแจกออกไปเป็นจริตถึง ๓๖ สำแดงแต่ ๖ ประการนี้โดยสังเขปสำแดงแต่มูลจริตมิได้สำแดงโดยมิสกนัย แลพระกรรมฐานที่เป็นจริยานุกูล อนุโลมตามอัชฌาสัยแห่งพระโยคาพจรนั้น

@@@@@@@

    - นักปราชญ์พึงรู้ว่าพระกรรมฐาน ๑๑ คือ อสุภ ๑๐ กายคตาสติ ๑ ทั้ง ๑๑ ประการนี้ อนุกูลตามราคจริตเป็นที่สบายแห่งราคจริต คนเป็นราคจริตมักกำหนัดยินดีด้วยราคะนั้น สมควรจะจำเริญพระกรรมฐาน ๑๑ ประการนี้ 

     - พรหมวิหาร ๔ แลวรรณกสิณแดง ๔ เป็น ๘ พระกรรมฐานทั้ง ๘ นี้อนุกูลตามโทสจริต เป็นที่สบายแห่งโทสจริต

     - แลอานาปาสติกรรมฐานนั้น เป็นที่สบายแห่งโมหจริตแลวิตกจริต คนมักลุ่มมักหลงคนมักวิตกวิจารนั้น สมควรที่จะจำเริญอานาปานสติกรรมฐาน

     - แลอนุสติ ๖ ประการ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ ทั้ง ๖ ประการนี้ สมควรที่บุคคลอันเป็นสัทธาจริตจะจำเริญ

     - แลมรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลมัญญา จตุธาตุวัตถาน ๔ ประการนี้ เป็นที่สบายแห่งพุทธจริต คนอันกอปรด้วยปัญญามากนั้น

     - ควรจะจำพระกรรมฐานทั้ง ๑๐ ประการ คือ อรูป ๔ ภูตกสิน ๔ อาโปกสิน ๑ อากาสกสิณ ๑ นั้น เป็นที่สบายแห่งจิตทั้งปวง จะได้เลือกจริตก็หามิได้

     - นักปราชญ์พึงสันนิษฐานเข้าใจว่ากรรมฐานคือ อรูป ๔ ประการนั้น แม้ว่าจะเป็นที่สบายแห่งจริตทั้งปวงก็ดี อาทิ กัมมิกบุคคลที่ไม่เคยบำเพ็ญพระกรรมฐานมาแต่ก่อน พึงจะฝึกสอนบำเพ็ญในปัจจุบันชาตินี้ บมิควรจะบำเพ็ญอรูปกรรมฐานทั้ง ๔ นี้ในเบื้องต้น อาทิกัมมิกบุคคลพึงเรียนกรรมฐานอันอื่นก่อน ได้พระกรรมฐานอันอื่นเป็นพื้นแล้ว จึงบำเพ็ญอรูปกรรมฐานภายหลัง



ที่มา : http://www.larnbuddhism.com/visut/2.2.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ประเพณีการเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2022, 12:04:30 pm »
0
 ans1 ans1 ans1

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ,ปริจเฉทที่ ๓ กัมมัฏฐานคหณนิเทศ ,สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถระ) แปลและเรียบเรียง

จริยา ๖ อย่าง
 
(๔๓) บัดนี้จะอรรถาธิบายความในหัวข้อสังเขปที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า อันเหมาะสมแก่จริยาของตน ฉะนี้ต่อไป

     คําว่า จริยา ได้แก่จริยา ๖ อย่าง คือ
     ๑. ราคจริยา(๑) ความประพฤติเป็นไปด้วยอํานาจราคะ
     ๒. โทสจริยา ความประพฤติเป็นไปด้วยอํานาจโทสะ
     ๓. โมหจริยา ความประพฤติเป็นไปด้วยอํานาจโมหะ
     ๔. สัทธาจริยา ความประพฤติเป็นไปด้วยอํานาจศรัทธา
     ๕. พุทธิจริยา ความประพฤติเป็นไปด้วยอํานาจปัญญา
     ๖. วิตกกจริยา ความประพฤติเป็นไปด้วยอํานาจวิตก

__________________________________________________
(๑) คําว่า ราคจริยา มีอรรถวิเคราะห์ว่า สนุตาเน ราคสุส อุสุสนุนภาเวน จรณ์ ปวตติ ราคจริยา ความท่อง เที่ยวไป ได้แก่ความเกิดขึ้นแห่งราคะในสันดานจนหนาแน่นเป็นอุปนิสัย เรียกว่า ราคจริยา จริยาอื่น ๆ ก็โดยทํานองเดียวกันนี้

แต่เกจิอาจารย์ประสงค์เอาจริยาถึง ๑๔ อย่าง โดยบวกจริยา เข้าด้วย ดังนี้ คือ
     จริยาอื่นอีก ๔ ด้วยอํานาจการคละกันและต่อกันของราคจริยา เป็นต้น คือ
     ราคโทสจริยา ๑
     ราคโมหจริยา ๑
     โทสโมหจริยา ๑
     ราคโทสโมหจริยา ๑

และจริยา ๔ อย่างอื่นอีกด้วยอํานาจการคละกันและต่อกันของสัทธาจริยา เป็นต้น คือ
     สัทธาพุทธิจริยา ๑
     สัทธาวิตกกจริยา ๑
     พุทธิวิตกกจริยา ๑
     สัทธาพุทธิวิตกกจริยา ๑

แต่เมื่อจะกล่าวประเภทแห่งจริยา ด้วยอํานาจการคละกันและต่อกันอย่างนี้แล้ว จริยาก็จะมีเป็นอเนกประการ โดยยกเอาราคจริยาเป็นต้น มาคละกันกับสัทธาจริยา เป็นต้น ความสําเร็จแห่งอรรถาธิบายที่ประสงค์ก็จะไม่พึงมี เพราะฉะนั้น นักศึกษา พึ่งเข้าใจแต่โดยสังเขปว่า จริยามีเพียง ๖ อย่างเท่านั้น(๒)

______________________________________________________
(๒)จริยานี้ท่านแสดงไว้โดยพิสดารในสังยุตตสุตตฎีกา ผู้ปรารถนาพึงตรวจดูเถิด

จริตบุคคล ๖ ประเภท

คําว่า จริยา ๑ ปกติ ๑ ความหนาแน่น ๑ โดยใจความเป็นอันเดียวกัน และด้วยอํานาจแห่งมูลจริยา ๖ อย่างนั้น บุคคลจึงมี ๖ ประเภทเหมือนกัน ดังนี้

     ๑. ราคจริตบุคคล คนราคจริต
     ๒. โทสจริตบุคคล คนโทสจริต
     ๓. โมหจริตบุคคล คนโมหจริต
     ๔. สัทธาจริตบุคคล คนศรัทธาจริต
     ๕. พุทธิจริตบุคคล คนพุทธิจริต และ
     ๖. วิตกกจริตบุคคล คนวิตกจริต


     (ยกมาแสดงบางส่วน)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2022, 12:11:54 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ประเพณีการเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2022, 12:38:57 pm »
0
 ans1 ans1 ans1

ข้อธรรม "จริตหรือจริยา 6" นี้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส พิมพ์เป็นภาษาบาลีอักษรไทย ไว้ดังนี้

- ราคจริตสฺส ภควา ปุคฺคลสฺส อสุภกถํ กเถติ ฯ
- โทสจริตสฺส ภควา ปุคฺคลสฺส เมตฺตาภาวนํ อาจิกฺขติ ฯ 
- โมหจริตํภควา ปุคฺคลํ อุทฺเทเส ปริปุจฺฉาย กาเลน ธมฺมสฺสวเน กาเลน ธมฺมสากจฺฉาย ครุสํวาเส นิเวเสติ ฯ 
- วิตกฺกจริตสฺส ภควา ปุคฺคลสฺส อานาปานสฺสตึ อาจิกฺขติ ฯ   
- สทฺธาจริตสฺส ภควา ปุคฺคลสฺส ปาสาทนียํ นิมิตฺตํ อาจิกฺขติ พุทฺธสุโพธึ ธมฺมสุธมฺมตํ สงฺฆสุปฏิปตฺตึ สีลานิ จ อตฺตโน ฯ 
- ญาณจริตสฺส ภควา ปุคฺคลสฺส วิปสฺสนานิมิตฺตํ อาจิกฺขติ อนิจฺจาการํ ทุกฺขาการํ อนตฺตาการํ ฯ 


จากภาษาบาลีอักษรไทยข้างต้น จะเห็นว่า ไม่ปรากฎคำว่า "พุทธจริต" จึงอาจกล่าวได้ว่า ในชั้นพระสูตรไม่มีคำว่า "พุทธจริต" มีแต่คำว่า ญาณจริตสฺส (ญาณจริต) คำว่า "พุทธจริต" นั้น ปรากฎอยู่ในชั้นอรรถกถา คือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค

การให้ความหมาย(โดยอรรถ)ของคำว่า ญาณจริตสฺส (ญาณจริต) ว่ามีความหมายเดียวกันกับ คำว่า "พุทธจริต" นั้น อาจเกิดจากการเปรียบเทียบลำดับของจริต ระหว่างพระสูตรกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็เป็นได้

คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ
:25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2022, 12:42:49 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ