ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประคองอารมณ์เป็น ก็ไม่ต้องเสื่อมจากสมาธิ ที่เสื่อมเพราะไม่รู้วิธี  (อ่าน 4315 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


การประคองจิต เมื่อจิตเป็นสมาธิ มีความสำคัญ สมัยที่พระอาจารย์ภาวนานั้น ก็มีเสือมด้วยเพราะประคองจิตไม่เป็น ดังนั้นตอนที่เสื่อมจิต มันหดหู่เป็นอย่างมาก เสียดาย มีความรู้สึกเหมือน บุคคลที่รักล้มหายตายจากไป ในช่วงนั้น มันเศร้า มันเงียบเหงา มันว้าเหว่ อารมณ์เหล่านี้ บรรยายไว้ยังน้อยไปมาก เพราะว่า ผู้ที่มีจิตเป็นสมาธิ แล้ว เสื่อมจากสมาธิ นั้น ต้องรีบขวนขวายสมาธิ ที่เสื่อมกลับมา หากประคองจิตไม่เป็น ปฏิบัติผิดวิธีอีก มันก็ไม่เกิด จนถึงจิตมันปริวิตกไปว่า เสื่อมอย่างถาวร นึกดูแล้ว สมัยครั้งพุทธกาล มีบรรดาพระที่ปฏิบัติได้ฌาน แล้ว เสื่อมจากฌาน เมื่อท่านไม่ได้ฌานนั้นกลับมา ท่านก็ปลงชีิวิต กันหลายรูปหลายองค์ ดูเยี่ยง พระโคธิกะ เชือดคอตนเองในขณะที่อยู่ในฌาน เพื่อไม่ให้ตนเสื่อมจากฌานเป็นต้น

ดังนั้นการประคองจิต เป็นอุเบกขา ก็คือ มัชฌิมา นั่นเอง ผู้ฝึกตามระบบของกรรมฐาน มัชฌิมา จึงไม่ต้องมาพะวงเรื่องเหล่านี้ เพราะฝึกการวาง อุเบกขารมณ์ ไปพร้อมกัน

ท่านทั้งหลายอย่าลืมเมื่อ ภาวนา อย่าลืม นิมิตทั้ง 3
คือ 1. ปัคคาหะนิมิต ฐานจิต
2. ปริกรรมนิมิต พุทโธ
3.อุเบกขานิมิต อุเบกขารมณ์

ถ้าท่านประคองจิตไว้ได้อย่างนี้ ท่านจะพ้นจาก ชอบ จากชัง และนิวรณ์ อันเป็นปฏฺิปักษ์ แห่งสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การได้สมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระฌาน ขึ้นไปเป็นเรื่องยาก
แต่การรักษา สมาธิที่ได้นั้น ก็ยากเช่นกัน
หากแต่ ปฏิบัติตามขั้นตอน ของพระกรรมฐาน ก็ไม่ต้องมากังวลกับเรื่องเหล่านี้เลย ดังนั้นท่านที่ยังไม่มีครู ควรเข้าหาครูกรรมฐาน และเรียนกรรมฐาน กับครูของท่านด้วยความเคารพ
ทุกครั้งที่ปฏิบัติ อย่าลืม การขอขมาต่อพระรัตนตรัย ถวายเป็นพุทธบูชา แผ่ส่วนบุญที่ได้ภาวนาให้แก่ สรรพสัตว์ทั่วจักรวาล จะมากจะน้อยตากำลังใจเถิด
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พูดถึงเรื่องการเสื่อมจากสมาธิ บางท่านคิดว่า เรื่องนี้ไม่มี อันที่จริงสำหรับผู้ภาวนาที่ได้สมาธิ แล้ว จะรู้ว่า การเสื่อมจากสมาธิ มีได้ บางท่านอยู่มาวันหนึ่ง สามารถเจริญกรรมฐาน ได้นานเป็นพิเศษ และ ครั้นต่อมาจะทำแบบนั้นอีก กลับทำไม่ได้ อันนี้เรียกว่า กรรมฐานเสื่อมใช่หรือไม่ ตอบตามภาษาก่อน

   กรรมฐานไม่ได้เสื่อม แต่ที่เสื่อมลงไป คือ สมาธิเสิื่อม

   แล้วอะไรเป็นเหตุให้สมาธิ เสื่อม

     มีหลายสาเหตุ แต่ลองฟังพระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ ก่อนดีไหม

    คัมภีร์พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสกสูตร
เรื่องโอภาสนิมิต อุคคหนิมิต ปฎิภาคนิมิต ไม่เกิดไม่เจริญไม่ตั้งมั่น เพราะอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองในสมาธิ ๑๑ ประการ

        ความว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ทรงแสดงให้พระอนุรุทธ์ฟังว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงกระทำทุกกรกิริยา บำเพ็ญเพียรเพื่อถึงความตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณ ด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงได้โอภาสแล้ว โอภาสนั้นก็กลับมืดเหมือนก่อน แต่อาศัยที่เพราะพระองค์ทรงพิจารณาเห็นเหตุ จึงได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

         เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงหลับพระเนตร เจริญสมาธิ ณ โพธิพฤษบัลลังก์ ก็ได้แสงสว่างมองเห็นสรรพรูปต่างๆ พระองค์จึงทรงสงสัยว่า นี่สิ่งใดหนอ นี่สิ่งใดหนอ โอภาสนิมิตนั้นก็ดับศูนย์ไป แล้วก็กลับมาสว่างขึ้นอีก เป็นดังนี้เนื่องๆ ภายหลังจากพระองค์จับได้ว่า เพราะความลังเลสงสัยคือ วิจิกิจฉา ที่คิดว่า นี่สิ่งใดหนอ นี่สิ่งใดหนอ เมื่อคิดดังนั้นจิตของพระองค์ ก็เคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ

            คราวนี้พระองค์จึงทรงวางจิตเป็น อนมสิการ คือจิตไม่นึก ไม่กำหนดว่านั้นอะไร จิตก็เลื่อนลอย ไม่มีที่เกาะ ที่ยึด แสงสว่างก็ดับอีก

           ต่อไปพระองค์ก็ควบคุมสติเพ่งเล็งดู รูปที่พอพระหฤทัย อันเป็นอารมณ์แห่งกัมมัฎฐาน เมื่อรูปที่พอพระหฤทัยดับไปหมด เหลือแต่รูปที่ไม่พอพระหฤทัย ไม่เป็นอารมณ์แห่งพระกัมมัฎฐาน จิตของพระองค์ก็ไม่กระทำนมสิการ ไม่อยากเพ่งเล็งนิมิตต่อไป ก็เกิด ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็จับเหตุได้ว่าเพราะละเลยความกำหนดนิมิต จิตจึงง่วงเหง่าหาวนอน เป็นเหตุให้แสงสว่างดับ

            เมื่อพระองค์ทรงทราบเหตุดังนี้แล้ว พระองค์จึงตั้งไว้ซึ่งวิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง กำหนดเพ่งดูรูปตามลำดับไป ก็ได้เห็นรูปที่น่าเกลียดน่ากลัว ก็เกิด ฉัมภิตัตต ความไหวจิต ไหวกาย เกิดขึ้น แสงสว่างจึงดับ รูปจึงดับ

        ต่อไปพระองค์ก็ไม่กำหนดดูรูปที่น่าเกลียดน่ากลัว เลือกดูแต่รูปที่ชอบอารมณ์ ภายหลังรูปที่ชอบอารมณ์เกิดขึ้นมากมาย จิตของพระองค์ก็กำเริบ กำหนดจิตทั้วไปในรูป ทุกรูปในนิมิต ทุกนิมิต จนเหลือความสามารถของจิต จิตก็ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็พิจารณาจับเหตุได้ว่า อุพพิลวิตก คือกิริยาที่จิตกำเริบกระทำความเพียรมักใหญ่ รวบรัดเพ่งเล็งดูรูปมากๆ แต่คราวเดียวกัน จิตก็คลาดจากสมาธิ โอภาสนิมิต อุคคหนิมิต ก็ดับ

            ต่อมาพระองค์ทรงกำหนดเพ่งเล็งดูรูปนิมิต โดยกำหนดแต่ช้าๆไม่รวบรัด จิตหย่อนคลายความเพียรลง จิตก็บังเกิด ทุฎฐุลล คร้านกาย มีอาการให้เกิดกระวนกระวายขึ้น แสงสว่างจึงดับไป

            เมื่อพระองค์จับเหตุได้แล้ว จึงกำหนดเหตุด้วย อัจจารัทธวิริยะ กำหนดความเพียรขึ้น ให้เคร่งครัดแรงกล้า เป็นเหตุให้แสงสว่างดับ จึงกำหนดลดความเพียรลงให้น้อย เรียกว่า อติลีนวิริยะ คือกระทำความเพียรอ่อนเกินไป แสงสว่างจึงดับ

           ต่อมาพระองค์จึงกำหนด กระทำความเพียรแต่พอปานกลาง สถานกลาง ในความเพียรพอให้แสงสว่างทรงอยู่ได้ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมความเพียรกล้าจึงให้โทษด้วย มีอุปมาว่าเหมือนคนที่จับนกกระจอก ต้องการจับนกได้ทั้งเป็น แต่จับบีบโดยเต็มแรง นกกระจอกก็ตาย ถ้าจับนกหลวมๆไม่ดีนกกระจอกก็จะหนีไป ต้องจับนกแต่พออยู่พอประมาณนกกระจอกก็ไม่ตาย จึงจะได้ประโยชน์ คือจิตเป็นสมาธิ

            การจับบีบนกโดยแรง เปรียบเหมือนมีความเพียรกล้า จับนกหลวมๆเปรียบเหมือนมีความเพียรน้อย จับนกแต่พออยู่ พอประมาณ เปรียบเหมือน มีความเพียรสถานกลาง

       เมื่อทรงทำความเพียรสถานกลางได้แล้ว จึงเห็นรูปเทวดา ที่งดงาม แลเห็นทิพย์สมบัติในเทวโลก จิตก็อยากเป็นอยากได้ ในทิพย์สมบัตินั้น แสงสว่างก็ดับไป พระองค์ก็ทราบว่าการกำหนดดูรูปปราณีต เช่นเทวดานั้นเป็นเหตุให้ เกิด อภิชัปปา ตัณหาเกิด แสงสว่างจึงดับ

        ต่อมาพระองค์จึงพิจารณาดูรูปที่ปราณีต และรูปที่หยาบพร้อมกัน จิตก็แยกเป็นสองฝัก สองฝ่าย สัญญาต่างกัน ก็เกิดขึ้นมีขึ้น เรียกว่า นานัตตสัญญา จิตก็เคลื่อนจากสมาธิ รูป และแสงสว่างจึงหายไป

           คราวนี้พระองค์จึงเพ่งพิจารณารูปมนุษย์ฝ่ายเดียว เมื่อเพ่งหนักรูปมนุษย์นานเข้า รูปมนุษย์งดงาม น่าพึงพอใจก็เกิด จึงเกิดความกำหนัดยินดี แสงสว่างจึงดับ พระองค์จึงทรงพิจารณาทราบว่า อตินิชฌายิตัตตะ การเพ่งหนักที่รูปมนุษย์ อันปราณีต เป็นเหตุให้ แสงสว่างดับ

        พระองค์ทรงกำหนดอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ๑๑ ประการได้แล้ว จึงป้องกันไม่ให้เข้ามาครอบงำในพระหฤทัยของพระองค์ได้ ต่อมาแสงสว่างของพระองค์ก็พ้นประมาณ หาเครื่องกำบังมิได้ พระองค์จึงบรรลุฌานสี่ วิชชาสาม สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    คัดจาก
    คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
  สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ) บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
พิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราชา ปีมหามงคล ๒๕๕๐
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12 st12

นี่คือทางที่ผมใฝ่หามาตั้งนานแต่ไม่เคยได้รับรูั้หรือมีใครสอน ได้แต่ปลงว่าสมาธิหรือฌาณ มันไม่ใช่ของเรา เราคงไม่ได้เกิดมาเพื่อมีฌาณ เพราะหากมันเป็นของเราแล้วมันคงไม่เสื่อมไปหรือแม้ตอนนี้มันจะเสื่อมไปมันก็ต้องกลับมาอีก ใม่ใช่เอากลับคืนมาไม่ได้อีกเลยอย่างนี้

ผมยอมรับมันแค่ตรงนี้แล้วก็ปลงทิ้งความเพียรไปแล้วโดยสิ้นเชิง เมื่อพระอาจารย์มาโพสท์สอนในกระทู้นี้ผมจึงเกิดความเพียรขึ้นใหม่

 st12 st12 st12 st12

ขอบพระคุณพระอาจารย์อย่างสูงครับ รบกวนฌพสท์ต่อเลยครับผมจะน้อมนำมาปฏิบัติในทุกขั้นตอนครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2014, 04:40:09 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กราบนมัสการพระอาจารย์

สาธุค่ะ ขอบพระคุณค่ะ  :25:  :25:  :25:
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ st11 st12 st12 st11
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่จริงรออ่านอยู่คะ เพราะคิดว่า มีประโยชน์ในการภาวนา มากคะ

  st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา