ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ทินกร
หน้า: [1] 2
1  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / ขอแจ้งเรื่องการบวชนะครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 09:17:03 am
ตอนนี้ผมได้กำหนดการลาอุปสมบท เรียบร้อยแล้ว จัดการเรื่อง ทั้งที่ำทำงาน และ ที่บ้าน และจะออกเดินทางไปอุปสมบท ที่วัดจุฬามณี พิษณุโลก เนื่องในวโรกาส 5 ธันวา มหาราช และ บวชแทนคุณ บิดามารดา

27 พ.ย. 2554 เดินทางไปจังหวัดพิษณุโลก
28 พ.ย. 2554 เข้าวัดโดยทางวัด ไม่อนุญาตให้ออกไปไหนแล้ว
30 พ.ย. 2554 ทางวัด อนุญาต ให้กลับไปให้พ่อ แม่ และ ญาติ โกนผม ที่บ้าน (พิษณุโลก)
1 ธ.ค. 2554 บวชเณร
3 ธ.ค. 2554 ช่วงเช้า บวชพระ
14 ธ.ค. 2554 ได้ฤกษ์สึก และ กลับบ้าน ที่สระบุรีครับ

ขอบคุณครับ
2  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / วิธีสมัครใช้บริการเว็บฝากรูปของ madchima.net เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2011, 03:43:41 pm
 :25:
 
ไม่พูดมากละนะครับเราเริ่มกันเลย
 

 
เป็นรูปแรกนะครับ  ทำตามรายละเอียด ที่รูปภาพเลยครับ เพื่อทำการสมัครสมาชิก
 

 
รูปนี้ยกตัวอย่างการสมัครสมาชิกครับ
 

 
ทำเสร็จก็กด register นะจ๊ะจะขึ้นข้อความตามรูปนะครับ
เสร็จแล้วให้ไปกดยืนยันที่ email ที่ท่านกรอกเอาไว้ (จะมี link ให้กดนะครับ)
 

 
รูปนี้เป็นส่วนที่เราจะต้องทำการ Login ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
 
 
3  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / เปิดการใช้งาน madchima.net ครับ เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2011, 06:40:50 pm
 :s_hi: :s_hi:

เว็ปเพื่อเพื่อนสมาชิก ทางธรรม ครับ
4  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / test test จ้า เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 07:59:52 pm
test การฝากรูปของ เว็ป madchima.org

Aeva Debug: 0 seconds.
5  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ย้ายแล้ว: การปฏิบัติธรรม ณ ศูนย์มัชฌิมา กรรมฐาน แบบลำดับ สระบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกา เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 10:09:26 pm
หัวข้อนี้ได้ถูกย้ายไปบอร์ด ประมวลภาพกิจกรรม เกี่ยวกับกรรมฐาน .

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1730.0
6  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / การใช้งานที่ผิดกฏ รบกวนแจ้งผู้ดูแลระบบครับ เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 08:05:40 pm
รบกวนสมาชิก หรือผู้ใช้งานเว็ปทุกท่าน
ถ้าพบเห็น การโพสซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อนใจ การพาดพิง ผู้อื่นหรือศาสนาอื่น
ให้ทำการแจ้งได้ที่

tentinnakorn@gmail.com

พร้อมเหตุผล(เอาพอเข้าใจก็ได้ครับ)

เพื่อผมจะได้เข้าไปดูและ ลบได้ทุกเวลา

ส่วนผู้ที่ทำผิด ผมมีเวลาลบครับ ไม่เป็นปัญหา (เชื่อผมซิ)
เพราะจะลบ ไอดี และ แบน ไอพี ไปเลย (มีเป็นร้อย ก็ลบได้ จะไปยืมคอมฯบ้านเพื่อนผมก็แบนได้)

ขอบคุณสมาชิก และ ผู้ใช้งานเว็บทุกท่าน ขอความร่วมมือด้วยนะครับ :97:
7  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รู้สึกจะขึ้นไว จังเลยครับ ขอคนดูแลบอร์ดหน่อย ใครอาสาบางครับ เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 11:22:20 pm
ส่งรายชื่อผู้ต้องการอาสาดูแลบอร์ดเฉพาะในนี้นะครับ
ขอบคุณครับ
อนุโมทนา
8  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / ฝาก เว็บตลาดป่าสัก ให้สมาชิกธรรม พิจารณาด้วย นะ สนับสนุนเว็บมาสเตอร์ เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 07:27:55 pm
ตอนนี้ผมทำเว็ป ประกาศ หรือ โฆษณา ซื้อ ขาย แลก เปลี่ยน เพื่อท่านใดสนใจ ในบริการ
กระผมเชิญทุกท่านใช้ บริการของผมนะครับ ประกาศได้ฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ถ้าต้องการ
ลงรูป ต้องสมัครสมาชิก เข้าไปก่อนนะครับ แล้วจะมี email แจ้ง รหัสผ่าน ไปได้
 
เปิดตัว แล้วครับ 
www.taradpasak.com
 
 
ขอบพระคุณครับ :25:




พระอาจารย์ ปักหมุดให้ สมาชิกจะได้ทราบ กันทุกคน ถือว่าเป็นคนที่สนับสนุนเว็บธรรมะ

เจริญพร


9  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เรื่องเล่าของหัวใจแม่ จาก forward mail เรื่องจริงของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 08:58:42 pm
ซึ้ง..
 อยากให้อ่าน ดีมาก (เรื่องจริงของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ) :
 เพื่อน ๆ ช่วยอ่านข้อความนี้ดีมาก ชีวิตคน มีคนเล่าให้ฟังว่า... สมัยก่อน...คุณพงษ์เทพ
 กระโดนชำนาญ...ศิลปิน เพลงเพื่อชีวิต..แกอยู่ในป่า...กับเพื่อน 5 - 6 คน...ทุก วันก็จะ
 เปลี่ยนเวรกัน...ล่าสัตว์ป่า...มาทำ อาหาร.วันหนึ่ง...เป็นเวรของคุณพงษ์เทพแกก็คว้าปืน
 สะพายบ่า.เดินเข้าป่าไป..อาหารโปรดของคุณพงษ์เทพ...คือแกงเนื้อ ลิง...พอเดินเข้าป่า
 ไปได้สักพัก.เห็นลิงตัว หนึ่ง...นั่งอยู่บนต้นไม้...หันหลังให้แกก็รีบยกปืนประทับบ่ายิงเปรี้ยง
 ไปที่ตัวลิง เหตุการณ์แปลกประหลาดได้เกิดขึ้น ปกติลิงพอถูกยิงจะหล่นตุ๊บจากต้นไม้ทันที
 แต่ ลิงตัวนี้นั่งจับกิ่งไม้เฉยไม่หล่นลงมาจะว่ายิงไม่ถูก..ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะคุณพงษ์เทพ
 แกยิงปืนแม่น...ระยะแค่นี้เป้า ใหญ่ขนาดนี้...ไม่พลาดแน่นอน...ในขณะที่กำลังสงสัย อยู่นั้น
 ลิงตัวที ่ถูกยิงร้องโหยหวนเสียงดังมาก ฝูงลิงที่แยกย้ายกัน ออกหากินอยู่บริเวณใกล้ ๆ...
 วิ่งแห่กันเข้ามาหาลิงตัวที่ถูกยิงแล้ว ร้องโหยหวนเหมือนกันหมด...แกตกใจ...ยืนตกตะลึง
 ไม่ รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น... สักครู่ ลิงตัวที่ถูกยิง โยนวัตถุเล็กๆสีดำ ๆชิ้นหนึ่งให้กับลิงตัวที่อยู่ใกล้ที่สุด แล้วก็หล่นตุ๊บ ลงมาจากต้นไม้คุณพงษ์เทพรีบวิ่งไปดูลิงถูกยิงเข้าที่หลัง ทะลุหน้าอก...เลือดแดงฉาน..เต็มตัวคุณพงษ์เทพ เห็น แล้วต้องเบือนหน้าหนี ลิงที่ตกลงมาเป็นลิงแม่ลูกอ่อนขณะที่ถูกยิงเธอกำลังให้นม ลูก...ลูกตัวน้อย กำลังดูดนมอย่างมีความสุข ทันทีที่ถูกยิง.ถ้าเป็นลิงตัวอื่น จะหล่นตุ๊บลงจากต้นไม้แม่ลิงตัวนี้ ยังหล่นไม่ได้ ยังตายไม่ได้ เพราะเธอยังมีภารกิจใหญ่หลวงที่ต้องทำ.คือรักษาชีวิตลูกน้อยให้พ้น อันตราย...
 เธอกัดฟัน...โหนกิ่งไม้ไว้.แม้จะ เจ็บปวดแทบขาดใจ... มองดูเลือดที่ไหลหยดเป็นทาง ด้วยความตกใจ.. พยายามรวบรวมพละกำลังที่ยังพอมี! เหลือ ทั้งหมดตะโกนสุดเสียง ร้องเรียก.ฝูงลิงเข้ามาใกล้ๆ..แล้วก็ ฝากฝังให้เลี้ยงลูกน้อยแทนเธอ หลังจากโยนลูกให้จ่าฝูงแล้วมองดูลูก...ถูกพาไป จนลับสายตาแล้ว..แน่ใจว่า...ลูกปลอดภัยแล้ว...จึงหลับตาแล้วหล่นลงมาตาย
 คุณพงษ์เทพก้มมองหน้าลิงแล้วร้องไห้เพราะที่เบ้าตาลิง...มีหยด น้ำตาใส ๆ. กำลังไหลริน
 ... คุณพงษ์เทพ..รีบ เดินกลับที่พัก...เอาปืนไปเผาทิ้งไม่ยอมออกล่าสัตว์ อีกเลยตลอดชีวิต
 และภาพความรักที่ยิ่งใหญ่ของ แม่ลิงที่มีต่อลูกน้อยเป็นแรงบันดาลใจให้พงษ์เทพแต่งเพลง
 ขึ้นมาเพลงหนึ่งชื่อว่า ' ลิงทะโมน 'เพื่อยกย่องเชิดชูคุณค่าของความรัก...ที่แม่...มีต่อลูก
 
 แม่นะหรือ... คือผู้สร้าง ทุกสิ่ง อันยิ่งใหญ่
 คือผู้รัก ลูกตน กว่าใครใคร
 คือผู้ คอย ห่วงใย ทุกเวลา
 คือคนร้อน เมื่อลูกรุ่ม กลุ้มเรื่องทุกข์
 คือคนสุข เมื่อลูกนั้น มีหรรษา
 คือคนปลอบ เมื่อลูกเหงา เศร้าอุรา
 คือคนคอย ให้เมตตา ลูกทุกคราว
 
 เป็น สายฝน คอยช่วยให้ ลูกสดชื่น
 เป็นผ้าผืนคอยห่ม ให้ เพื่อคลายหนาว
 เป็นกระโถน คอยรับทุกข์ ทุกเรื่องราว
 เป็นบันได ไต่ดาว ลูกก้าวไป
 เป็นคุณครู ผู้สอนสั่งทุกอย่างหนอ
 เป็นคุณหมอ คอยรักษา จะหาไหน
 เป็น ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ได้ดั่งใจ
 จะหาใครได้เท่าแม่ เหมือนไม่มี
 สาธยาย อย่างไร คงไม่หมด
 พระคุณแม่ ยากแทนทด เหมือนปลดหนี้
 สิ่ง ล้ำค่าใดใด ในปฐพี
 จะเทียมเท่า คุณแม่นี้ ไม่มีเอย.
10  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:01:19 pm

เริ่มจากการจัดเตรียมก่อนเวลางาน
11  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การจำแนกองค์คุณ 9 ประการ โดยระดับแห่งศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2010, 01:48:20 pm
การจำแนกองค์คุณ 9 ประการ โดยระดับแห่งศีล สมาธิ ปัญญา   
 
12  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ย้ายแล้ว: บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนวัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2010, 06:48:25 am
หัวข้อนี้ได้ถูกย้ายไปบอร์ด กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน.

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=357.0
13  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / 20 สาเหตุที่ควรรู้ของชาวพุทธ... เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 09:03:05 pm
20 สาเหตุที่ควรรู้ของชาวพุทธ...

 1. สาเหตุที่เกิดมาอายุสั้น
 ๑. : เข่นฆ่าชีวิตสัตว์น้อยใหญ่ไม่เว้น
 ๒. : เรียกให้ผู้อื่นฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า
 ๓. : ชื่นชมกับฝีมือการล่า/ฆ่าสัตว์ที่ตนไปเห็นมา
 ๔. : มีความสุขใจเมื่อเห็นคนกำลังล่า/ฆ่าสัตว์
 ๕. : หวังว่าคนที่เราเกลียดชังจะตายวันตายพรุ่ง
 ๖. : เห็นศัตรูคู่อริตายไป เกิดความสุขใจ
 ๗. : ทำลายรังของสัตว์เดรัจฉาน
 ๘. : เรียกให้ผู้อื่นทำลายหรือสั่งให้ทำลายรังของสัตว์
 ๙. : จัดงานบุญงานบวชแต่เอาชีวิตสัตว์น้อยใหญ่มาสังเวย
 ๑๐. : เห็นการทารุณสัตว์เป็นเรื่องสนุก (ชนไก่ ชนวัวฯ)
 ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมทีได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีอายุสั้น กล่าวคือมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ไม่นาน ต้องมี อันถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยเยาว์ วัยรุ่น หรือไม่พ้นวัยกลางคน อย่างไรก็ดี หากได้ชดเชยด้วยการทำความดีสร้างบุญกุศลบ้าง อาจต่อชะตาได้แค่ ช่วงหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ไม่เสียเที่ยวได้เกิดมา ที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนที่ยัง มัวตะบอยเสเพลเถลไถล ผลกรรมของการปาณาติบาตนั้นแรงมากยาก ผ่อนผัน ชีวิตต้องเผชิยเคราะห็ร้ายเป็นกิจวัตร พึงสำนึกอยู่เสมอว่า ความสุขสบายไม่ได้ช่วยให้อายุยืน จำต้องชดใช้ชีวิตคืนเมื่อถึงเวลา.
 
 2. สาเหตุที่เกิดมาอายุยืน
 ๑. : เว้นขาดจากการเข่นฆ่าทำร้ายชีวิตสัตว์น้อยใหญ่
 ๒. : ตักเตือนผู้อื่นให้ละเว้นการเข่นฆ่า
 ๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นผู้อื่นละเว้นการเข่นฆ่า
 ๔. : เกิดความสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นละเว้นการเข่นฆ่า
 ๕. : หาทางช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังถูกฆ่า ถูกทรมาน
 ๖. : ปลอบขวัญให้กำลังใจแก่คนที่กำลังหวาดกลัว
 ๗. : คิดหาอุบายช่วยคนขวัญอ่อน
 ๘. : เห็นคนประสบเหตุเภทภัยก็บังเกิดความสงสาร
 ๙. : เห็นคนกลุ้มอกกลุ้มใจก็คิดหาวิธีช่วยเหลือ
 ๑๐. : บริจาคข้าวปลาอาหารแก่ผู้อดอยากหิวโหย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมทีได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีอายุยืน แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ไม่ได้เข่นฆ่าทำลาย ชีวิตสัตว์ แต่เอาสัตว์มาขังไว้ในกรงเลี้ยงดูอุดมสมบูรณ์ เช่นนี้อนาคต ชาติแม้ว่าได้อายุขัยที่ยืนยาวก็จริงอยู่ แต่ชะรอนชะตาชีวิตนั้นก็ถูกริดรอน ทอนบุญบางอย่างไปตามเหตุที่สร้างไว้ กล่าวคือเป็นคนที่มีอายุยืนแต่ขาด อิสรภาพต้องอยู่เฝ้าบ้านไปจนแก่ เพราะอำนาจแห่งกรรมจำกัดขอบเขต ไว้แล้ว การออกนอกบ้านแต่ละครั้งไม่วายมีเหตุให้ต้องรีบร้อนกลับบ้าน ด้วยความเป็นห่วง ชีวิตเช่นนี้ก็ไม่ต่างจากนกในกรงทองนั่นเอง.
 
 
 3. สาเหตุที่เกิดมามีโรคมาก
 ๑. : ชอบทุบตีทรมานสัตว์อย่างโหดร้ายทารุณ
 ๒. : เรียกใช้ไหว้วานให้ผู้อื่นทำแทน
 ๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นผู้อื่นกระทำทารุณกับสัตว์
 ๔. : มีความสุขเมื่อเห็นคนกำลังจับสัตว์มาทรมาน
 ๕. : สร้างความหนักใจให้พ่อแม่เป็นทุกข์
 ๖. : ใส่ร้ายป้ายสีนักบวชผู้ทรงศีล
 ๗. : ดีใจเมื่อรู้ว่าศัตรูคู่อริล้มป่วยอาการหนัก
 ๘. : เห็นศัตรูคู่อริอาการดีขึ้นเกิดความไม่พอใจ
 ๙. : ใช้ยาปลอม จ่ายยาไม่ตรงโรค ไม่รักษาจรรยาแพทย์
 ๑๐. : กินตามใจปาก ไม่คำนึงถึงสภาพร่างกาย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงกลายเป็นคนขี้โรค กล่าวคือ มีโรคติดตัวมาตั้งแต่เกิด หรืออาจเป็นเมื่อโตขึ้น บาปกรรมที่ทำไว้คือโรคภัยที่เบียดเบียนความทุกข์ ทรมานเป็นผลมาจากแรงกรรม สามวันดีสี่วันไข้ไม่หยุดหย่อน โรคเรื้อรัง รักษากี่หมอผ่าตัดกี่ครั้งก็ยังไม่หาย วิทยาศาสตร์ตามไม่ทันเพราะโรคล้ำ หน้า เหตุจากจิตใจของมนุษย์ชั่วร้ายขึ้นทุกวัน ลองคิดดูสิว่าการแพทย์ เจริญแต่ทำไมผู้คนขยันเป็นโรคไม่หยุดหย่อน คนยุคใหม่ตายด้วยโรคมาก ที่สุด หากแก้ที่โรคไม่ได้ผลก็ลองหันมาแก้กรรมกันดูบ้าง.
 
 
 
 4. สาเหตุที่เกิดมาห่างไกลจากโรคภัย
 ๑. : เว้นขาดจากการทุบตีหรือทรมานสัตว์
 ๒. : ตักเตือนผู้อื่นไม่ให้จับสัตว์มาทุบตีหรือทรมาน
 ๓. : กล่าวชมเชยเมื่อผู้อื่นล้มเลิกการทารุณสัตว์
 ๔. : เกิดความสุขใจเมื่อเห็นสัตว์ปลอดภัยจากถูกทรมาน
 ๕. : ปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่หรือผู้ป่วยด้วยความเต็มใจ
 ๖. : ช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ภัยฯ
 ๗. : เห็นศัตรูคู่อริหายจากโรคภัยก็เกิดความเจริญใจ
 ๘. : บริจาคยารักษาโรค
 ๙. : เกิดความสงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ทรมาน
 ๑๐. : บริโภคอาหารโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีสุขภาพดี กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชราความ ทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บไม่มีย่างกรายมารบกวนแม้แต่น้อย เพราะ เหตุที่เคยได้ช่วยเหลือดูแลผู้อื่นไว้ในปางก่อน ชาตินี้จึงได้ร่างกายที่แข็ง แรงเป็นของขวัญ อีกทั้งเงินทองยังมีเหลือเอาไปทำบุญ เพราะการบุญ นั่นแล คือหลักประกันสุขภาพที่ได้ซื้อไว้ตั้งแต่ชาตินี้ ชาติหน้าไม่ต้องเสีย ทรัพย์เป็นเงินหมื่นเงินแสนเป็นค่ายารักษา อย่างนี้ก็มีความสุขไปตลอด ชีวิตดั่งคำพังเพยที่ว่า "ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ" นั่นเอง.
 
 
 
 5. สาเหตุที่เกิดมาอัปลักษณ์
 ๑. : อารมณ์หงุดหงิด ขุ่นเคือง โมโหง่าย
 ๒. : ฝังใจอาฆาตพยาบาทเคียดแค้น
 ๓. : ฉีกหน้า ไม่ไว้หน้า ทำให้คนอื่นขายขี้หน้า
 ๔. : ไม่ให้เกียรติผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส (หยามหน้า)
 ๕. : โกหกหลอกลวงต้มตุ๋น (ปั้นหน้า)
 ๖. : ใส่ร้ายป้ายสี (ทำผู้อื่นเสียหน้า)
 ๗. : ขัดขวางกีดกันไม่ให้คนทำดี
 ๘. : ทำลายสาธารณสมบัติ (หน้าตาของสังคม)
 ๙. : เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (ตำแหน่งบังหน้า)
 ๑๐. : เห็นคนหน้าตาอัปลักษณ์ รังเกียจหัวเราเยาะ
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ซาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นคนอัปลักษณ์ กล่าวคือ รูปร่างหน้าตาผิดแผกไป จากคนทั่ว ๆ ไปคือ รูปชั่ว ตัวดำดึก หน้าตาเหยเก ตัวเตี้ย แขนขาสั้น ฯ เหล่านี้เกิดจากใจอัปลักษณ์ เป็นผลกรรมที่มาถึงกาลสุกงอมในชาตินี้ เตือนหญิงชายอย่างหลงไหลรูปลักษณ์แค่ภาพพจน์เพียงภายนอก หากไม่ รู้จักยับยั้งชั่งใจใฝ่ทางชั่วกลั้วทางผิด มีหวังชาติหน้าได้อภิสิทธิ์รูปชั่วตัว อัปลักษณ์ สวยทางตรงคือสั่งสมความดี สวยชาตินี้ไม่กี่ปีก็สร่าง อยาก สวยอนันตกาลพึงบ่มความงามไว้ในจิตใจ.
 
 
 
 
 6. สาเหตุที่เกิดมาหน้าตาดี
 ๑. : อารมณ์เยือกเย็นสุขุม อดทนอดกลั้น
 ๒. : มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจ
 ๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นคนทำความดี
 ๔. : ยกคุณงามความดีให้ผู้อื่น
 ๕. : สุภาพอ่อนโยนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส
 ๖. : สมทบทุนหรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่ง
 ๗. : ดูแลทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติธรรม
 ๘. : ตกแต่งประดับประดาสถานที่ปฏิบัติธรรม
 ๙. : ให้เกียรติคนอัปลักษณ์โดยไม่คิดรังเกียจ
 ๑๐. : เชื่อว่ารูปร่างหน้าตา คือวาสนามาจากชาติก่อน
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ซาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีรูปร่างหน้าตาดี กล่าวคือเป็นที่ต้องตาต้องใจของ ผู้คนที่พบเห็น ใครต่อใครก็ชื่นชมในความสวยความงาม กล่าวได้ว่า ไม่เป็นสองรองใคร เข้าตากรรมการทุกเหลี่ยมทุกมุม หากเกิดเป็นชาย ก็หล่อเหลาเอาการ เป็นสตรีก็สวยปานนางฟ้านางงามเป็นดาวดารา เป็น บุญตากับคนได้พบเห็น อย่างไรก็ดีหากสวยแล้วโอหังอีกทั้งยังถือดี สวย อย่างนี้ชื่อว่าสวยแค่กระพี้ประชาชีจะครหา หากสวยทั้งทียังคงไว้ซึ้ง ความดีคือ คุณสมบัติของกุลสตรีศรีเรือนนั่นเอง.
 
 
 7. สาเหตุที่เกิดมาผู้คนรังเกียจ
 ๑. : มีใจอิจฉาริษยา
 ๒. : รู้สึกไม่พอใจไม่ว่าใครได้ดี
 ๓. : เห็นความฉิบหายล่มจมแล้วสะใจ
 ๔. : เห็นเขามีชื่อเสียงโด่งดังแล้วด่าว่าสาดเสียเทเสีย
 ๕. : เห็นเขาชื่อเสียงย่อยยับแล้วเกิดความสนุกสุขใจ
 ๖. : ทำลายสาธารณะสมบัติส่วนรวม
 ๗. : เป็นคนเนรคุณ หรือทรยศต่อผู้มีพระคุณ
 ๘. : ทำลายความสามัคคีให้แตกแยก
 ๙. : ขัดแย้งไม่ให้ผู้อื่นลงรอยกัน
 ๑๐. : ทำตัวเป็นอุปสรรค เป็นคนเจ้าปัญหา (ก่อกวน)
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นที่รังเกียจของผู้คน กล่าวคือเป็นบุคคลที่สังคมไม่ ต้อนรับไม่ยินดีด้วย ถึงแม้เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาอยู่ในตำแหน่ง เป็นเจ้าใหญ่นายโต แต่สุดท้ายจะต้องถูกประท้วง ถูกขู่ ถูกทำร้ายจาก คนส่วนใหญ่คือประชาชนหรือลูกจ้างบริวาร สร้างความไม่พอใจจนถูก ขับไล่ไสส่ง บุคคลเมื่อมีบาปติดตัวมาเช่นนี้เข้าไปสู่สังคมใดก็จะนำความ ฉิบหายไปสู่สังคมนั้น กล่าวได้ว่าเป็นตัวเสนียด เป็นอัปมงคล พึงระวัง พฤติกรรมของบุคคลอันนำมาซึ่งความพินาศเช่นนี้แล.
 
 
 
 8. สาเหตุที่เกิดมาผู้คนนิยมชมชอบ
 ๑. : ไม่มีใจอิจฉาริษยา
 ๒. : รู้สึกเบิกบานใจไม่ว่าใครได้ดี
 ๓. : เห็นความฉิบหายล่มจมก็แสงความเสียใจ
 ๔. : เห็นเขามีชื่อเสียงโด่งดังก็พลอยยินดีไปด้วย
 ๕. : เห็นเขาชื่อเสียงย่อยยับก็คิดหาทางช่วยเหลือ
 ๖. : บริจาคสิ่งปลูกสร้างเป็นสาธารณะสมบัติมากมาย
 ๗. : ประกาศคุณงามของผู้มีพระคุณให้ฟุ้งขจร
 ๘. : ส่งเสริมความสามัคคีให้เกิดขึ้น
 ๙. : สมานความขัดแย้งที่แตกร้าวให้ลงรอยกัน
 ๑๐. : คลี่คลายปัญหา เป็นที่ปรึกษาไขข้อข้องใจ
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน กล่าวคือเป็นบุคคลที่มหาชนให้ ความเคารพยกย่องอย่างท่วมท้นล้นหลาม พูดได้ว่าเป็นคนของประชาชน เป็นบุคคลแถวหน้าระดับผู้นำประเทศ ผู้นำกองทัพ ผู้นำองค์กรต่าง ๆ อีกทั้งบุคคลซึ่งเป็นขวัญใจของมหาชนที่ให้การต้อนรับอย่างคับคั่งไม่ว่า แฟนเพลง แฟนหนัง แฟนละคร แฟนฟุตบอล เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เนื่อง จากอำนาจแห่งกรรมดีที่สั่งสมไว้เป็นบารมีแผ่นไพศาลดั่งสนามแม่เหล็กซึ่ง ดึงดูดความนิยมและครองใจมหาชนไว้ตราบนานเท่านาน.
 
 
 
 
 9. สาเหตุที่เกิดมาต่ำต้อย
 ๑. : ทำตัวเย่อหยิ่งยโส จองหองลำพองตน
 ๒. : ไม่เคารพบิดามารดา ซ้ำดูถูกเหยียดหยาม
 ๓. : ไม่เคารพผู้มีพระคุณ ฯ
 ๔. : ไม่เคารพนักบวช ผู้ทรงศีล ฯ
 ๕. : ไม่เคารพต่อครูบาอาจารย์ ฯ
 ๖. : ไม่ให้เกียรติผู้ประพฤติพรหมจรรย์
 ๗. : ไม่เต็มใจรับใช้ผู้อาวุโสกว่า
 ๘. : ไม่มีสัมมาคารวะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
 ๙. : ปฏิเสธความหวังดีที่พ่อแม่พร่ำเตือนอบรมสั่งสอน
 ๑๐. : กดขี่ข่มเหงลูกจ้างบริวาร
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นคนต่ำต้อย กล่าวคือเป็นบุคคลที่ผู้อื่นดูถูกเหยียด หยาม เป็นคนไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีในสายตาของใคร ๆ (ดูไม่ขึ้น) ต้อง ใช้ชีวิตอยู่อย่างต่ำต้อยด้อยค่า ถึงความชั่วไม่มีแต่ความดีที่ปรากฏก็ไม่มี คนเห็น มักถูกมองข้ามเสมอแม้เป็นเจ้าของผลงานหรือถูกผู้อื่นฉวยเอา ประโยชน์ไป หากไม่ถูกกลั่นแกล้งก็ถูกโกงเงินค่าจ้างค่าแรง ถูกใช้แรง งานอย่างกดขี่ ชีวิตต้องเร่ร่อนหากินด้วยการแบมือขอและยกมือไหว้ซึ่ง เป็นกรรมแต่ปางก่อนที่ไม่เคยให้ความเคารพใคร ๆ นั่นเอง.
 
 
 
 
 10. สาเหตุที่เกิดมาสูงศักดิ์
 ๑. : ไม่เป็นคนเย่อหยิ่งยโส จองหองลำพองตน
 ๒. : เคารพบิดามารดา
 ๓. : เคารพผู้มีพระคุณ
 ๔. : เคารพผู้ออกบวช ผู้ทรงศีล นักบุญ
 ๕. : ให้เกียรติผู้บำเพ็ญพรหมจรรย์
 ๖. : เคารพครูบาอาจารย์
 ๗. : เต็มใจรับใช้ผู้สูงอายุ
 ๘. : มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน
 ๙. : รับฟังคำว่ากล่าวตักเตือน
 ๑๐. : มีความกรุณาต่อลูกจ้างบริวาร
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงสูงศักดิ์ กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีเกียรติ มีบารมี มียศ ศักดิ์ เป็นที่นับหน้าถือตาและเคารพยำเกรงของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นผู้มี ฐานะหรือชนชั้นธรรมดา กล่าวได้ว่ามหาชนให้ความเคารพยกย่องและ สรรเสริญ บุคคลเหล่านี้มักถูกเชิญไปเป็นเกียรติ เป็นประธาน เป็นผู้ มอบของรางวัลในพิธี รัฐพิธี หรือพระราชพิธีต่าง ๆ อย่างไรก็ดีบุคคล เช่นนี้เมื่อเข้าไปอยู่ร่วมในสังคมใดก็จะเป็นสิริมงคลนำมาซึ่งความรุ่งเรือง รุ่งโรจน์สู่สังคมนั้นนั่นเอง.
 
14  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / การโพสสำหรับผู้ไม่ได้สมัครสมาชิก เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 01:42:04 pm
สำหรับผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็นนะครับ แต่ไม่ประสงค์จะออกนาม(คือไม่ต้องการสมัครเป็นสมาชิก) คุณสามารถโพสกระทู้ลงไปได้แต่จะไม่สามารถเริ่มหัวข้อใหม่ได้  คือโพสได้ในกระทู้ใหญ่ที่มีสมาชิกเว็ปโพสไว้แล้ว นะครับ ติดปัญหาอย่างไร แจ้งผมได้ ที่เมล์
tentinnakorn@gmail.com
15  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / การโพสไฟล์ เมื่อ: มกราคม 28, 2010, 07:53:26 am
การโพสไฟล์นั้นจำเป็นต้องใ้ช้ไฟล์ที่มีนามสกุล doc,gif,jpg,mpg,pdf,png,txt,zip เท่านั้น
ถ้านอกนั้น ใช้ winzip ทำเป็นไฟล์ zip เพื่อทำให้สามารถโพสลงบอร์ดนะครับ
16  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) เมื่อ: มกราคม 27, 2010, 02:25:30 pm
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) มีเป็นไฟล์ให้อ่านนะครับ
นำมาจากเว็ป www.somdechsuk.com ครับ
17  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ขณิกะ อุปจาระ และ อัปนาสมาธิ มันมีความแตกต่างกันไหมครับ เมื่อ: มกราคม 27, 2010, 11:16:21 am
อยากหาใครสักคนให้ความกระจ่างจังครับ
18  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / อิสิคิลิสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เมื่อ: มกราคม 26, 2010, 07:35:20 am
อิสิคิลิสูตร  อิสิคิลิสูตร (บทนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า) เป็น สูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ด้วยพระองค์เอง อิสิคิลิสูตรจะกล่าวนามของพระปัจเจกพุทธเจ้ามากมายหลายองค์ พร้อมกับคำกล่าวนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วย ฉะนั้น อิสิคิลิสูตรก็คือสูตรที่นำมาสวดเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระปัจเจก พุทธเจ้าทั้งหลาย
พระปัจเจกพุทธเจ้าหมายถึงพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ด้วยองค์ท่านเองโดยมิต้อง มีใครสั่งสอน แต่ว่าท่านก็มิได้สั่งสอนใครให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามท่าน ฉะนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเป็นพระพุทธเจ้าที่ไม่มีพระสงฆ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าสามารถบังเกิดพร้อมกันหลายองค์ได้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติบังเกิดขึ้นในโลกครั้งละหนึ่งพระองค์เท่า นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสอนให้ผู้อื่นบรรลุมรรคผลนิพพานด้วย ฉะนั้น จึงมีพระสงฆ์บังเกิดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญการนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้าว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฉะนั้นพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาจึงนิยมนำอิสิคิลิสูตรมาสวดเพื่อนมัสการพระ ปัจเจกพุทธเจ้าเสมอมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล
  อิสิคิลิสุตตปาโฐ เย สัตตะสารา อะนิฆา นิราสา ปัจเจกะเมวัชฌะคะมุง สุโพธิง เตสัง วิสัลลานะ นะรุตตะมานัง นามานิ เม กิตตะยะโต สุณาถะ อะริฏโฐ อุปะริฏโฐ ตะคะระสิขี ยะสัสสี สุทัสสะโน ปิยะทัสสี จะ พุทโธ คันธาโร ปิณโฑโล อุปาสะโภ จะ นิโถ ตะโถ สุตะวา ภาวิตัตโต สุมโภ สุโภ เมถุโล อัฏฐะโม จะ อะถัสสุเมโฆ อะนิโฆ สุทาโฐ ปัจเจกะพุทธา ภะวะเนตติขีณา หิงคู จะ หิงโค จะ มะหานุภาวา ฯ ท๎เว ชาลิโน มุนิโน อัฏฐะโก จะ อะถะ โกสัลโล พุทโธ อะโถ สุพาหุ อุปะเนมิโส เนมิโส สันตะจิตโต สัจโจ ตะโถ วิระโช ปัณฑิโต จะ กาฬูปะกาฬา วิชิโต ชิโต จะ อังโค จะ ปังโค จะ คุติจฉิโต จะ ปัสสี ชะหิ อุปะธิง ทุกขะมูลัง อะปะราชิโต มาระพะลัง อะเชสิ ฯ สัตถา ปะวัตตา สะระภังโค โลมะหังโส อุจจังคะมาโย อะสิโต อะนาสะโว มะโนมะโย มานัจฉิโท จะ พันธุมา ตะทาธิมุตโต วิมะโล จะ เกตุมา ฯ เกตุมพะราโค จะ มาตังโค อะริโย อะถัจจุโต อัจจุตะคามัพ๎ยามะโก สุมังคะโล ทัพพิโล สุปะติฏฐิโต อะสัยโห เขมาภิระโต จะ โสระโต ทุรันนะโย สังโฆ อะโถปิ อุชชะโย อะปะโร มุนิ สัยโห อะโนมะนิกกะโม อานันทะ นันโท อุปะนันโท ท๎วาทะสะ ภารัท๎วาโช อันติมะเทหะธารี โพธิ มะหานาโม อะโถปิ อุตตะโร เกสี สิขี สุนทะโร ภารัท๎วาโช ติสสูปะติสสา ภะวะพันธะนัจฉิทา อุปะสีทะรี ตัณ๎หัจฉิโท จะ สีทะรี ฯ พุทโธ อะหุ มังคะโล วีตะราโค อุสะภัจฉิทา ชาลินิง ทุกขะมูลัง สันตัง ปะทัง อัชฌะคะมูปะณีโต อุโปสะโถ สุนทะโร สัจจะนาโม ฯ เชโต ชะยันโต ปะทุโม อุปปะโล จะ ปะทุมุตตะโร รักขิโต ปัพพะโต จะ มานัตถัทโธ โสภิโต วีตะราโค กัณโห จะ พุทโธ สุวิมุตตะจิตโต ฯ เอเต จะ อัญเญ จะ มะหานุภาวา ปัจเจกะพุทธา ภะวะเนตติขีณา เต สัพพะสังคาธิคะเต มะเหสี ปะรินิพพุเต วันทะถะ อัปปะเมยเยติ ฯ
คำแปลอิสิคิลิสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เมื่อกำลังเข้าไปสู่ภูเขานี้คนแลเห็น แต่ท่านเข้าไปแล้วคนแลไม่เห็น มนุษย์ทั้งหลายเห็นเหตุดังนี้นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า ภูเขาลูกนี้กลืนกินฤาษีเหล่านี้ ๆ ชื่อว่า อิสิคิลิๆ นี้แลจึงได้เกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักบอก จักระบุจักแสดงชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พวกเธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า.
พระนามพระปัจเจกพุทธเจ้า 
พระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อ อริฏฐะ ๑ ชื่ออุปริฏฐะ ๑ ชื่อตครสิขี ๑ ชื่อยสัสสี ๑ ชื่อสุทัสสนะ ๑ ชื่อปิยทัสสี ๑ ชื่อคันธาระ ๑ ชื่อปิณโฑละ ๑ ชื่ออุปาสภะ ๑ ชื่อนิถะ ๑ ชื่อตถะ ๑ ชื่อสุตวา ๑ ชื่อภาวิตัตะ ๑  ได้อาศัยอยู่กินที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน. 
เธอจงฟังเราระบุชื่อของท่าน ที่มีธรรมเป็นสาระกว่าสัตว์ ไม่มีทุกข์ หมดความอยากได้ บรรลุโพธิญาณอย่างดี เฉพาะตนผู้เดียว ผู้ปราศจากลูกศร สูงกว่านรชนต่อไปเถิด พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้นแล้ว คือ อริฏฐพุทธ ๑ อุปริฏฐพุทธ ๑ ตครสิขีพุทธ ๑ ยสัสสีพุทธ ๑ สุทัสสนพุทธ ๑ ปิยทัสสีพุทธ ๑ คันธารพุทธ ๑ ปิณโฑลพุทธ ๑ อุปาสภพุทธ ๑ นิถพุทธ ๑ ตถพุทธ ๑ สุตวาพุทธ ๑ ภาวิตตัตพุทธ ๑ สุมภพุทธ ๑ สุภพุทธ ๑ เมถุลพุทธ ๑ อัฏฐมพุทธ ๑ อถัสสเมฆพุทธ ๑ อนิฆพุทธ ๑ สุทาฐพุทธ ๑  พระปัจเจกพุทธ  ผู้มีอานุภาพมาก คือ  หิงคูพุทธ ๑ หิงคพุทธ ๑ พระมุนีชื่อชาลีมี ๒ องค์ และ อัฏฐกพุทธ ๑ โกสัลพุทธ ๑ อถพุทธ ๑ สุพาหุพุทธ ๑ อุปเนมิสพุทธ ๑ เนมิสพุทธ ๑ สันติจิตตพุทธ ๑ สัจจพุทธ ๑ ตถพุทธ ๑ วิรชพุทธ ๑ บัณฑิตพุทธ ๑ กาฬพุทธ ๑ อุปกาฬพุทธ ๑ วิชิตพุทธ ๑ ชิตพุทธ ๑ อังคพุทธ ๑ ปังคพุทธ ๑ คุติจฉิตพุทธ ๑ ปัสสีพุทธ ๑  ได้ละอุปธิอันเป็นมูลแห่งทุกข์แล้ว อปราชิต พุทธ ๑ ได้ชนะมารและพลมาร สัตถาพุทธ ๑ ปวัตตาพุทธ ๑ สรภังคพุทธ ๑ โลมหังสพุทธ ๑ อุจจังคมายพุทธ ๑ อลิตพุทธ ๑ อนาสวพุทธ ๑ มโนมยพุทธ ๑ พันธุมาพุทธ ๑  ผู้ตัดมานะได้  ตทาธิมุตพุทธ ๑ วิมลพุทธ ๑ เกตุมาพุทธ ๑ เกตุมพราคพุทธ ๑ มาตังคพุทธ ๑ อริยพุทธ ๑ อัจจุตพุทธ ๑ อัจจุตคามพยามกพุทธ ๑ สุมังคลพุทธ ๑ ทัพพิลพุทธ ๑ สุปติฏฐิตพุทธ ๑ อสัยหพุทธ ๑ เขมาภิรตพุทธ ๑ โสรตพุทธ ๑ ทุรันนยพุทธ ๑ สังฆพุทธ ๑ อุชุชยพุทธ ๑ พระมุนี ชื่อ สัยหะ อีกองค์หนึ่ง  ผู้มีความเพียรไม่ทราม พระพุทธชื่ออานันทะ  ชื่อนันทะ  ชื่ออุปนันทะ ๑๒ องค์  และภารทวาชพุทธ  ผู้ทรงร่างกายในภพสุดท้าย โพธิพุทธ ๑  มหานามพุทธ ๑  อุตตรพุทธ ๑  เกสีพุทธ ๑  สิขีพุทธ ๑  สุนทรพุทธ ๑  ภารทวาชพุทธ ๑  ติสสพุทธ ๑  อุปติสสพุทธ ๑  ผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกในภพได้ อุปสีทรีพุทธ ๑  และสีทรีพุทธ ๑  ผู้ตัดตัณหได้  มังคลพุทธ ๑  เป็นผู้ปราศจากราคะ  อุสภพุทธ ๑  ผู้ตัดข่ายอันเป็นมูลแห่งทุกข์ อุปณีตพุทธ ๑  ได้บรรลุบทอันสงบ  อุ โปสกพุทธ ๑ สุนทรพุทธ ๑ สัจจนามพุทธ ๑ เชตพุทธ ๑ ชยันตพุทธ ๑ ปทุม พุทธ ๑ อุปปลพุทธ ๑ ปุทุมุตตรพุทธ ๑ รักขิตพุทธ ๑ ปัพพตพุทธ ๑ มานัตถัทธพุทธ ๑ โสภิตพุทธ ๑ วีตราคพุทธ ๑ กัณหพุทธ ๑  ผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พระปัจเจกพุทธ  ผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้และอื่น ๆ  มีตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้นแล้ว 
เธอทั้งหลายจงไหว้พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น ผู้ล่วงเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้มีคุณนับไม่ถ้วน ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด.
จบ  อิสิคิลิสูตร

อิสิคิลิสูตร มาใน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
19  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / มหาราหุโลวาทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ เมื่อ: มกราคม 25, 2010, 03:24:31 pm
คัดลอกมาจาก www.larndham.net
 
พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 5
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค มหาราหุโลวาทสูตร

 
 

๒. มหาราหุโลวาทสูตร
เรื่องพระราหุล
      [๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
 เศรษฐี  เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคครองอันตราวาสกแล้ว
 ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังนครสาวัตถีเวลาเช้า. แม้ท่านพระราหุลก็ครอง
 อันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรตามพระผู้มีพระภาคไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์. ครั้งนั้น
 พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นอดีต เป็นอนาคต และเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียด
 ก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
 อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.
      พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่พระสุคต รูปเท่านั้น
 หรือ?
      พ. ดูกรราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ.
      [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มีพระภาคทรงโอวาท
 ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้ว
 นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ท่านพระสารีบุตรได้เห็น
 ท่านพระราหุลผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้ว
 บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า อานาปานสติภาวนา
 ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ครั้งนั้น เวลาเย็น
 ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
 แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
 อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผล มีอานิสงส์?

ธาตุ ๕
      [๑๓๕] ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตนเป็นของหยาบ
 มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
 เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
 อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ
 มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าปฐวีธาตุเป็นภายใน. ก็ปฐวีธาตุ
 เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน. ปฐวีธาตุนั้น
 เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
 ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ.
      [๑๓๖] ดูกรราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน? อาโปธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
 น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป
 มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน. ก็อาโปธาตุ
 เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุเหมือนกัน. อาโปธาตุนั้น
 เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
 ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.
      [๑๓๗] ดูกรราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน? เตโชธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกาย
 ให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือ
 สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายในอาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้า
 ไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
 อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน. เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
 จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็น
 เตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ จิตย่อม
 คลายกำหนัดในเตโชธาตุ.
      [๑๓๘] ดูกรราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน? วาโยธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
 ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้
 ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าวาโยธาตุเป็นภายใน. ก็
 วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุเหมือนกัน. วาโยธาตุ
 นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
 ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
 ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.
      [๑๓๙] ดูกรราหุล ก็อากาสธาตุเป็นไฉน? อากาสธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอก
 ก็มี. อากาสธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตนเป็นอากาศ มีลักษณะว่าง
 อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน
 ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง
 หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
 ไม่ทึบเป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน อันกรรมและกิเลส
 เข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาสธาตุ เป็นภายใน. ก็อากาสธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
 อันใด อากาสธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุเหมือนกัน. อากาสธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
 ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคล
 เห็นอากาสธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ จิต
 ย่อมคลายกำหนัดในอากาสธาตุ.

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕
      [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อ
 เธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จัก
 ไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
 มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือ
 เกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอ
 เจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
 ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอ
 ด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล
 เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
 น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด
 เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะ
 อันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
 ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลาย
 บ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอ
 จงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็น
 ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอ
 ได้ ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
 มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้น
 ก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วย
 ลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
      [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
 เสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
 ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ
 ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
 ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง
     [๑๔๕] ดูกรราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
 จักละพยาบาทได้. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละ
 วิหิงสาได้. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้.
 เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้. เธอจง
 เจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา
 ภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้.

อานาปานสติภาวนา
      [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
 เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
 ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
 อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
 หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
 ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.  เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
 ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
 ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
 สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
 สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
 ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
 สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
 หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
 ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
 ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
 ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
 สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
 อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
 ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
 ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
 อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
      พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
 พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
 
20  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / หายสงสัยแต่ยังข้องใจ เมื่อ: มกราคม 24, 2010, 08:28:00 pm
วันนี้ถามพระอาจารย์เรื่องฤทธิ์ ว่าทำไม กสิณ ฝึกตอนนี้แล้วจะล้างกรรมฐานเดิม ก็หายสงสัย(คือถ้าจะไปฝึกในตอนนี้ หมายถึงฝึกสลับกันอะครับ)
เพราะที่ฝึกอยู่เป็นพุทธานุสติ พระอาจารย์เลยบรรยายเรื่องฤทธิ์ให้ฟังว่า ไม่ต้องฝึก กสิณ เพื่อเอาฤทธิ์ หรอก เพราะถ้า
ฝึก กรรมฐานที่ฝึกอยู่นี้ ได้สักระยะ ถึงที่ระดับนึงแล้ว จิตจะเป็นผู้เลือกเองว่าจะไปวิปัสนา
หรือ เจโต แต่ท่านบอกว่า ส่วนใหญ่จะไป เจโต กันหมด ผมก็หายสงสัยครับ แต่ข้อง
ใจว่ามันจะเป็นยังงัยน่า สงสัย ต้องฝึกให้หนักขึ้น อิอิ


ขอบคุณ ผมแก้ไขให้แล้ว

21  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / รูปศาลาปฏิบัติ กรรมฐาน สระบุรี ( ศาลาการเปรียญ วัดแก่งขนุน ) เมื่อ: มกราคม 23, 2010, 07:54:33 am
เริ่มรูปแรกด้วย หลวงปู่เลยนะจ๊ะ


 
22  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ภาพไก่ป่า ตามที่ต่างๆ ตามป่าเขา ครับ สวยดี เมื่อ: มกราคม 15, 2010, 11:39:37 am
อันนี้เป็นความชอบส่วนตัวครับ แต่อยากให้คนอื่นได้ดูด้วยเพื่อใครไม่เคยเห็นไก่ป่า
เก็บมาจากบล็อก ครูขามสะแกแสงคนหนึ่ง
  และนมัสการพระธาตุ ณ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่ขาว อนาลโย
  แล้วจึงเดินทางกลับออกมา เพื่อถ่ายภาพฝูงไก่ป่า          Aeva Debug: 0.0004 seconds.
23  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ก่อนโพสควรอ่าน ทางนี้ก่อน ว่าด้วยเรื่องกฏ เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 02:47:10 am
1. ห้ามโฆษณาขายสินค้า ทุกชนิด
2. ห้ามยุยงให้เกิดความแตกแยก โดยเด็กขาด
3. ห้ามให้ร้ายหรือใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย
4. ห้ามนำลัทธิของตนหรือชมรมหรือสมาคม ที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมายมาเผยแพร่
5. เว็ปนี้เป็นเว็ปไซค์พระพุทธศาสนา กรุณาอย่านำภาพอนาจาร มาโพสโดยเด็ดขาด
24  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระอนาคตวงศ์ ทั้ง 10 พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:52:27 pm
นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ
ท่านสามารถเลือกอ่านประวัติแต่ละพระองค์ตามลิงค์รายชื่อนะครับ

พระอนาคตวงศ์
25  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / เอตทัคคะ เป็นตำแหน่งทางพุทธศาสนาที่พระบรมศาสดาได้ประทานแต่งตั้งให้พุทธบริษัท เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:48:59 pm
เอตทัคคะ ผู้เป็นเลิศ 74 ท่าน ตามพระไตรปิฏก

เอตทัคคะ

นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ
26  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / อานิสงส์การทำบุญ ทั้ง 40 อย่าง เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:47:00 pm
นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ

อานิสงส์การทำบุญ
27  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / บทสวดมนต์ ต่างๆ แบบรวม เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:45:23 pm
นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ

บทสวดมนต์
28  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:40:57 pm
ท่านสามารถคลิกเข้าไปหาอ่านได้จาก ลิงค์ด้านล่างครับ

พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ
29  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / หนังสือหมวดสำหรับบุคคลทั่วไป จำนวน ๘ เล่ม เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:33:14 pm
นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ

หนังสือหมวดสำหรับบุคคลทั่วไป จำนวน ๘ เล่ม
30  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / หนังสือหมวดเปรียญ ประโยค ๑ ถึง ๙ จำนวน ๘๐ เล่ม เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:32:14 pm
นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ

หนังสือหมวดเปรียญ ประโยค ๑ ถึง ๙ จำนวน ๘๐ เล่ม
31  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / หนังสือหมวดนักธรรม ตรี โท เอก จำนวน ๕๒ เล่ม เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:31:19 pm
นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ

หนังสือหมวดนักธรรม ตรี โท เอก จำนวน ๕๒ เล่ม
32  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับสยามรัฏฐ จำนวน ๔๕ เล่ม เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:30:15 pm
นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับสยามรัฏฐ จำนวน ๔๕ เล่ม
33  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทยฉบับสยามรัฏฐ จำนวน ๔๕ เล่ม เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:26:33 pm
นำมาจาก เว็ป www.84000.org ครับ

พระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทยฉบับสยามรัฏฐ จำนวน ๔๕ เล่ม
34  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / อรรถกถาบาลี เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:23:19 pm
เป็นไฟล์ให้ดาว์นโหลดจากเว็ป www.84000.org ครับ

อรรถกถาบาลี

มีทั้งหมด 48 เล่ม
35  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / โปรแกรมพระไตรปิฏก เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 03:20:16 pm
ในส่วนนี้นำมาจากทางเว็ป www.84000.org ถ้าต้องการเพิ่มเติม

โปรแกรมพระไตรปิฏก

แล้วให้ท่านลงโปรแกรมให้เรียบร้อย เสร็จแล้วโหลดไฟล์ต่างๆ ลงตามที่อยู่ที่กำหนดไว้คือ

C:Program FilesTPD

นะครับ ไม่ต้องแตก zip file นะครับ
มันเป็นส่วนหนึ่งของไฟล์โปรแกรมนะครับเพราะถ้าจะดูไฟล์พระไตรปิฏก ต้องใช้โปรแกรมดู

36  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 10:25:41 am
นำมาจากเว็ป www.84000.org ครับ

พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน          ๙๑ เล่ม

เพื่อผู้สนใจ
37  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปฏิจจสมุปบาท โดยย่นย่อ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 10:52:51 am
อยากจะเอามาลงให้หมดแต่เห็นว่าเจ้าของเว็ปเค้าทำไว้ดี เลยอยากให้เข้าไปดูที่เว็ปเค้าโดยตรง
เลยจะดีกว่า

http://www.nkgen.com/46.htm
38  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การโพสรูปในบอรด์นะครับ เมื่อ: ธันวาคม 05, 2009, 03:33:57 pm
การโพสรูปในบอรด์นะครับ

นี่เป็นวิธีการใส่รุปในบอรด์แบบเต็มนะครับ ไม่เปลืองเนื้อที่ด้วยครับ

1. ไปที่ เว็บฝากไฟล์นี้ได้นะครับดีเลย http://imageshack.us

2. กด browse หาไฟล์ที่ต้องการอัพโหลดในเครื่อง แล้ว ไปที่ start upload นะ




3. copy image's address(location) จาก imageshack.us มาใส่ไว้ที่ บอรด์เรา




4.ไฺฺฮไลน์ ลิงค์ รุปที่เราเอามา แล้วไปกดที่ ไอคอน รุปภาพ จะมี tag   img เกิดขึ้นนะ


โค้ตจะหน้าตาประมาณนี้


[ img ]http://img192.imageshack.us/img192/9601/55138330.jpg[ /img ]


5.  กด ตั่งกระทุ้ได้เลย
39  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / คุณเคยไปสถานปฏิบัติธรรมกันมากี่ที่ เมื่อ: ธันวาคม 05, 2009, 01:44:20 pm
ช่วยบอก สถานที่ ประสบการณ์ และ วิธี ปฏิบัติ หน่อยได้ไหมครับ

โดยส่วนตัวผม ไปมา 3 แล้ว
มีที่ บ้านกรินชัย  ศูนย์กรรมฐานหลวงพ่อฤาษีสระบุรี  แล้ว ก็ ที่วัดแก่งครับ
แต่ก็อยู่ในข่าย 40 กองทั้งนั้น
บ้านกรินชัย  ก็ สติปัฏฐาน 4
หลวงพ่อฤาษี ก็ มโนยิทธิ
วัดแก่งขนุน ก็ มัชฌิมา

และ ประสบการณ์ แต่ละที่ก็ ไม่เหมือนด้วย
บ้านกรินชัย เราได้อยู่กับสติ ตลอดเวลา รู้ตัว ผมตื่นรู้จากที่นั้นนะ รู้สึกดีเลย
ของหลวงพ่อฤาษี ผมไม่เอาไหนเอง ไม่ได้อะไรเลย
ส่วนวัดแก่งขนุน นี้ ผม ได้สมาธิ มากขึ้นเป็นลำดับ และอธิษฐาน อะไรก็สำเร็จดังใจ(ผมเลยได้เขียนเว็ป
ให้ที่นี้ด้วย)
40  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / บทสวดพาหุง เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2009, 10:03:41 pm
หน้า: [1] 2